คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
พินัยกรรม

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 953 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5712/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งมรดกโดยพินัยกรรมและสัญญาประนีประนอมยอมความ การสิ้นสุดสิทธิในทรัพย์สินที่ได้แบ่งแล้ว
โจทก์และ ส. ได้ตกลงแบ่งมรดกของเจ้ามรดกทั้งที่มีพินัยกรรมและไม่มีพินัยกรรมตามสัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งระบุว่าโจทก์ยอมสละที่ดินโฉนดเลขที่ 2893,68903,184852 และที่ 184853 พร้อมสิ่งปลูกสร้างบนที่ดินโฉนดเลขที่ 2893 แก่ ส. จึงต้องด้วยบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1750 วรรคสองเมื่อโจทก์และ ส. ลงลายมือชื่อไว้จึงต้องผูกพันตามสัญญาประนีประนอมยอมความย่อมถือได้ว่าที่ดินดังกล่าวพร้อมสิ่งปลูกสร้างตามที่โจทก์ฟ้องได้แบ่งปันไปเสร็จสิ้นแล้วโจทก์จึงไม่มีส่วนได้เสียในที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างอีกไม่ว่าในฐานะส่วนตัวหรือในฐานะผู้จัดการมรดกที่จะใช้สิทธิขอแบ่งหรือมีอำนาจจัดการอีกต่อไปไม่ ดังนั้น หากจำเลยซึ่งเป็นผู้เช่าที่ดินโฉนดเลขที่ 2893 ก่อให้เกิดความเสียหายหรือไม่ประการใด ก็เป็นเรื่องของเจ้าของที่ดินจะไปว่ากล่าวแก่จำเลยต่างหาก หาเกี่ยวข้องกับโจทก์ไม่ จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยได้โต้แย้งสิทธิหรือหน้าที่ของโจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลย
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยไม่ปฏิบัติตามสัญญาเช่าและสัญญาแบ่งผลประโยชน์ส่วนจำเลยฟ้องแย้งว่าโจทก์แกล้งฟ้องจำเลย เพื่อให้จำเลยต้องเสียค่าใช้จ่ายในการเดินทางแก่ อ. ภริยาของ ส. จากประเทศเบลเยี่ยมเพื่อมาต่อสู้คดีในฐานะผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลย และโจทก์รบกวนผู้เช่าจนผู้เช่ายกเลิกการเช่าและไม่เช่าพื้นที่เพิ่ม ทำให้จำเลยขาดประโยชน์อันเป็นการฟ้องแย้งในมูลละเมิดฟ้องแย้งของจำเลยจึงเป็นเรื่องอื่นไม่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิม ไม่อาจรวมพิจารณาไปกับคำฟ้องเดิมได้ จำเลยชอบที่จะไปฟ้องเป็นคดีต่างหาก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5560/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนำสืบพยานนอกประเด็นฟ้องในคดีพินัยกรรมโมฆะ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยประเด็นใหม่
คำฟ้องโจทก์กล่าวอ้างว่าพินัยกรรมของผู้ตายเป็นโมฆะเนื่องจากพยานในพินัยกรรมลงลายมือชื่อโดยไม่เห็นผู้ตายพิมพ์ลายนิ้วมือต่อหน้า โดยโจทก์มิได้ปฏิเสธความถูกต้องของลายพิมพ์นิ้วมือของผู้ตายตลอดจนลายมือชื่อของพยาน ประเด็นตามคำฟ้องจึงมีว่าพินัยกรรมของผู้ตายเป็นโมฆะเนื่องจากพยานในพินัยกรรมลงลายมือชื่อโดยไม่เห็นผู้ตายพิมพ์ลายนิ้วมือต่อหน้าหรือไม่ และไม่มีประเด็นว่าลายมือชื่อของพยานในพินัยกรรมบางคนเป็นลายมือชื่อปลอมหรือไม่ การที่โจทก์นำสืบว่าลายมือชื่อของพยานสองในสามคนในพินัยกรรมเป็นลายมือชื่อปลอม ย่อมเป็นการนำสืบนอกประเด็นตามคำฟ้อง และเมื่อโจทก์มิได้ฎีกาว่าพินัยกรรมของผู้ตายเป็นโมฆะด้วยสาเหตุที่โจทก์กล่าวในฟ้อง ย่อมไม่มีทางที่ศาลฎีกาจะวินิจฉัยปัญหาในประเด็นดังกล่าวให้เป็นคุณแก่โจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4693/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดการมรดกตามพินัยกรรม: ความชอบด้วยกฎหมายของพินัยกรรม และอำนาจของผู้จัดการมรดก
การแต่งตั้งผู้เชี่ยวชาญเพื่อทำการตรวจพิสูจน์ลายมือชื่อในเอกสารประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 130 บัญญัติให้ผู้เชี่ยวชาญอาจแสดงความเห็นด้วยวาจาหรือเป็นหนังสือก็ได้ แล้วแต่ศาลจะต้องการ เมื่อพันตำรวจโท ป.ทำความเห็นในการตรวจพิสูจน์ลายมือชื่อของผู้ตายเป็นหนังสือมาแล้ว โดยให้ความเห็นว่าลายมือชื่อเขียนไม่คงที่ไม่อาจลงความเห็นใด ๆ ได้เช่นนี้ การให้พันตำรวจโท ป.มาเบิกความประกอบรายงานอีกจึงไม่มีประโยชน์ต่อการวินิจฉัยชี้ขาดข้อเท็จจริงแห่งคดีแต่อย่างใด คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้ผู้คัดค้านยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมจึงเป็นดุลพินิจที่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว
ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า พินัยกรรมของผู้ตายเป็นพินัยกรรมปลอมหรือไม่ ซึ่งพินัยกรรมปลอมกับพินัยกรรมที่ทำขึ้นโดยกลฉ้อฉลแตกต่างกันโดยสิ้นเชิงเพราะพินัยกรรมปลอมไม่มีผลบังคับเป็นพินัยกรรมแต่อย่างใด ส่วนพินัยกรรมที่ทำขึ้นโดยกลฉ้อฉลมีผลบังคับเป็นพินัยกรรมได้ แต่อาจจะถูกศาลสั่งเพิกถอนได้เมื่อผู้มีส่วนได้เสียร้องขอเมื่อผู้ทำพินัยกรรมตายแล้ว นอกจากนี้พินัยกรรมที่ได้ทำขึ้นโดยกลฉ้อฉลมีผลบังคับได้ เมื่อผู้ทำพินัยกรรมมิได้เพิกถอนพินัยกรรมนั้นภายใน 1 ปี นับแต่วันที่ได้รู้ถึงกลฉ้อฉลนั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1709 ฉะนั้น ประเด็นข้อพิพาทที่ว่าพินัยกรรมของผู้ตายเป็นพินัยกรรมปลอมหรือไม่ จึงมิได้รวมถึงการใช้กลฉ้อฉลหลอกลวงให้ผู้ตายทำพินัยกรรมด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4001/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความสมบูรณ์ของพินัยกรรม, การตัดสิทธิทายาท, และผลกระทบของพยานในพินัยกรรมต่อผู้รับผลประโยชน์
พินัยกรรมใช้กระดาษที่มีตราครุฑและมีข้อความเป็นตัวพิมพ์ดีดเป็นส่วนใหญ่ กรอกข้อความด้วยลายมือเขียนเฉพาะบ้านเลขที่ วันเดือนปี อายุของเจ้ามรดกทั้งสอง และรายชื่อผู้รับพินัยกรรม มีลายมือชื่อและลายพิมพ์นิ้วมือของเจ้ามรดกทั้งสอง เมื่อปรากฏว่าพินัยกรรมได้ทำเป็นหนังสือลงวันเดือนปีขณะที่ทำ ผู้ทำพินัยกรรมลงลายมือชื่อและลายพิมพ์นิ้วมือไว้ต่อหน้าพยานสองคนพร้อมกัน และพยานลงลายมือชื่อไว้ครบถ้วนจึงสมบูรณ์เป็นพินัยกรรมตาม ป.พ.พ.มาตรา 1656
ผู้ทำพินัยกรรมมิได้ระบุชื่อทายาทผู้ถูกตัดมิให้รับมรดก แต่เมื่อเจ้ามรดกทำพินัยกรรมจำหน่ายทรัพย์มรดกทั้งหมดแล้ว ถือว่าทายาทโดยธรรมผู้ที่มิได้รับประโยชน์จากพินัยกรรมเป็นผู้ถูกตัดมิให้รับมรดก
การที่ ท. คู่สมรสของ ม. ผู้รับมรดกตามพินัยกรรมลงลายมือชื่อเป็นพยานในพินัยกรรม เป็นเหตุให้ ม. ไม่อาจเป็นผู้รับมรดกตามพินัยกรรมนั้นได้ เพราะข้อกำหนดในพินัยกรรมในส่วนของ ม.เป็นโมฆะ แต่ไม่มีกฎหมายห้ามศาลไม่ให้รับฟังคำเบิกความของ ท. และ น. เป็นพยานแต่อย่างใด และข้อกำหนดในพินัยกรรมในส่วนของผู้ร้องยังคงสมบูรณ์ ใช้บังคับได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3979/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ โมฆะภาพพินัยกรรมจากการไม่ปฏิบัติตามแบบตามกฎหมาย และสิทธิในการจัดการมรดก
ป.พ.พ. มาตรา 1656 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้ผู้ทำพินัยกรรมต้องลงลายมือชื่อไว้ต่อหน้าพยานอย่างน้อยสองคนพร้อมกัน ซึ่งพยานสองคนนั้นต้องลงลายมือชื่อรับรองลายมือชื่อของผู้ทำพินัยกรรมไว้ในขณะนั้น เมื่อนาย ว. ซึ่งเป็นพยานในพินัยกรรมคนหนึ่งไม่รับรองลายมือชื่อของผู้ตายซึ่งเป็นผู้ทำพินัยกรรมและมิได้กระทำต่อหน้าพยานอย่างน้อยสองคนพร้อมกัน ดังนี้ พินัยกรรมฉบับนี้จึงมิได้ทำขึ้นตามแบบที่กฎหมายบัญญัติไว้ ย่อมเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 1705 ทรัพย์มรดกของผู้ตายจึงตกทอดได้แก่ทายาทโดยธรรมของผู้ตายเสมือนมิได้ทำพินัยกรรมไว้ ผู้ร้องจึงไม่มีอำนาจร้องขอต่อศาลขอให้ตั้งตนเองเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายตามพินัยกรรม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3979/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พินัยกรรมโมฆะเนื่องจากไม่ได้ลงลายมือชื่อต่อหน้าพยานพร้อมกัน ทรัพย์มรดกตกแก่ทายาทโดยธรรม
พินัยกรรมซึ่งยกทรัพย์มรดกให้ผู้ร้องมีผู้ลงลายมือชื่อเป็นพยานแต่ผู้ตายมิได้ลงลายมือชื่อในพินัยกรรมต่อหน้าพยานอย่างน้อยสองคนพร้อมกัน จึงมิได้ทำตามแบบที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1656 วรรคหนึ่ง บัญญัติไว้ ย่อมเป็นโมฆะตามมาตรา 1705 ทรัพย์มรดกของผู้ตายจึงตกทอดได้แก่ทายาทโดยธรรมของผู้ตายเสมือนหนึ่งมิได้มีการทำพินัยกรรมไว้ ผู้ร้องซึ่งเป็นภริยาไม่ชอบด้วยกฎหมายของผู้ตายจึงไม่มีอำนาจร้องขอต่อศาลขอให้ตั้งตนเองเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายตามพินัยกรรม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3776/2545 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พินัยกรรมไม่สมบูรณ์-สละมรดก: ผลต่อการจัดการมรดกและการมีส่วนได้เสียของผู้ร้อง
แม้พินัยกรรมจะมีพยานลงลายมือชื่อสองคน แต่มิได้ลงวันเดือนปีในขณะที่ทำพินัยกรรม ต้องถือว่าเป็นพินัยกรรมที่ทำขึ้นโดยขัดต่อบทบัญญัติแห่งมาตรา 1615 ย่อมเป็นโมฆะตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 1705
ผู้ร้องในฐานะผู้จัดการมรดกแบ่งเงินฌาปนกิจสงเคราะห์ให้ผู้คัดค้านที่ 1 ในฐานะทายาทจำนวน 10,000 บาท แล้วทำบันทึกว่าจะไม่เรียกร้องใดๆ ทั้งสิ้นอีก โดยผู้ร้องและผู้คัดค้านที่ 1 ลงลายมือชื่อไว้ ข้อตกลงดังกล่าวเป็นข้อตกลงระงับข้อพิพาทในทรัพย์มรดกที่จะมีขึ้นในอนาคตให้หมดไปจึงเป็นการประนีประนอมยอมความตามป.พ.พ. มาตรา 850 และข้อความดังกล่าวเป็นการสละมรดกทั้งหมดมิใช่สละมรดกบางส่วนเพราะเงินฌาปนิจสงเคราะห์มิใช่ทรัพย์มรดก การประนีประนอมยอมความดังกล่าวจึงเป็นการสละมรดกตามป.พ.พ. มาตรา 1612 และมีผลย้อนหลังในถึงเวลาเข้ามรดกตามมาตรา 1615 ไม่มีอำนาจร้องขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกหรือถอนผู้จัดการมรดก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3776/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พินัยกรรมไม่สมบูรณ์ & การสละมรดกมีผลย้อนหลัง ทำให้ผู้ร้องและผู้คัดค้านที่ 1 ไม่มีอำนาจขอเป็นผู้จัดการมรดก
แม้พินัยกรรมจะมีพยานลงลายมือชื่อสองคน แต่มิได้ลงวันเดือนปีในขณะที่ทำพินัยกรรม ต้องถือว่าเป็นพินัยกรรมที่ทำขึ้นโดยขัดต่อบทบัญญัติแห่งมาตรา 1656 ย่อมเป็นโมฆะตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 1705
ผู้ร้องในฐานะผู้จัดการมรดกแบ่งเงินฌาปนกิจสงเคราะห์ให้ผู้คัดค้านที่ 1 ในฐานะทายาทจำนวน 10,000 บาท แล้วทำบันทึกว่าจะไม่เรียกร้องใด ๆ ทั้งสิ้นอีก โดยผู้ร้องและผู้คัดค้านที่ 1 ลงลายมือชื่อไว้ ข้อตกลงดังกล่าวเป็นข้อตกลงระงับข้อพิพาทในทรัพย์มรดกที่จะมีขึ้นในอนาคตให้หมดไปจึงเป็นการประนีประนอมยอมความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 850 และข้อความดังกล่าวเป็นการสละมรดกทั้งหมดมิใช่สละมรดกบางส่วนเพราะเงินฌาปนกิจสงเคราะห์มิใช่ทรัพย์มรดก การประนีประนอมยอมความดังกล่าวจึงเป็นการสละมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1612 และมีผลย้อนหลังไปถึงเวลาเจ้ามรดกตายตามมาตรา 1615 ไม่มีอำนาจร้องขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกหรือถอนผู้จัดการมรดก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3776/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พินัยกรรมไม่สมบูรณ์ & สละมรดก: สิทธิในการจัดการมรดก & อำนาจร้องขอถอนผู้จัดการมรดก
พินัยกรรมที่ไม่ได้ลงวัน เดือน ปี ไว้ แม้จะมีพยานลงลายมือชื่อ 2 คน ในขณะทำพินัยกรรม ก็ต้องถือว่าเป็นพินัยกรรมที่ทำขึ้นโดยขัดต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1656 ย่อมตกเป็นโมฆะตามมาตรา 1705 ผู้ร้องซึ่งมีชื่อเป็นผู้รับมรดกตามพินัยกรรมดังกล่าวจึงไม่มีส่วนได้เสียในอันที่จะร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกได้
การที่ผู้คัดค้านที่ 1 ทำบันทึกมีข้อความว่า ได้รับเงินจากผู้ร้องในนามผู้จัดการมรดกแล้วและจะไม่เรียกร้องใด ๆ อีกนั้น เป็นข้อตกลงระงับข้อพิพาทในทรัพย์มรดกที่จะมีขึ้นในเรื่องการแบ่งปันทรัพย์มรดกของผู้ตายในอนาคตให้หมดไป จึงเป็นการประนีประนอมยอมความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 850 ทั้งยังปรากฏว่าเงินที่ผู้คัดค้านที่ 1 รับไปนั้นเป็นเงินฌาปนกิจสงเคราะห์ซึ่งมิใช่ทรัพย์มรดกเพราะมิใช่ทรัพย์สินที่ผู้ตายมีอยู่ก่อนหรือขณะถึงแก่ความตาย ดังนั้น การที่ผู้คัดค้านที่ 1 ทำบันทึกดังกล่าวจึงเป็นการสละมรดกทั้งหมดมิใช่เพียงบางส่วนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1612 ไม่เป็นการฝ่าฝืนมาตรา 1613 ซึ่งมีผลย้อนหลังไปถึงเวลาที่เจ้ามรดกตายตามมาตรา 1615 ผู้คัดค้านที่ 1 จึงไม่ใช่ทายาทและผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดก ไม่มีอำนาจมาร้องขอถอนผู้จัดการมรดก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3776/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พินัยกรรมไม่สมบูรณ์และผลของการสละมรดกต่อการเป็นผู้จัดการมรดก
พินัยกรรมที่มีพยานลงลายมือชื่อสองคน แต่มิได้ลงวัน เดือน ปี ที่ทำพินัยกรรมถือว่าเป็นพินัยกรรมที่ทำขึ้นโดยขัดต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1656ย่อมเป็นโมฆะตามมาตรา 1705
บันทึกข้อตกลงที่มีข้อความว่า ผู้คัดค้านที่ 1 ได้รับเงินจากผู้ร้องในนามผู้จัดการมรดกของ ส. ไปในวันนี้แล้วและจะไม่เรียกร้องใด ๆ ทั้งสิ้นอีก เป็นข้อตกลงระงับข้อพิพาทในทรัพย์มรดก ที่จะมีขึ้นในเรื่องการแบ่งปันทรัพย์มรดกของผู้ตายในอนาคตให้หมดไป จึงเป็นการประนีประนอมยอมความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 850 นอกจากนี้เงิน 10,000 บาท ที่ผู้ร้องจ่ายให้ผู้คัดค้านที่ 1 ก็เป็นเงินฌาปนกิจสงเคราะห์ ซึ่งมิใช่ทรัพย์มรดกเพราะมิใช่ทรัพย์สินที่ผู้ตายมีอยู่ก่อนหรือขณะถึงแก่ความตาย ดังนั้น การที่ผู้คัดค้านที่ 1 รับเงินดังกล่าวไป แล้วทำบันทึกว่าจะไม่เรียกร้องใด ๆ ทั้งสิ้นอีก จึงเป็นการสละมรดกทั้งหมดมิใช่สละมรดกเพียงบางส่วนจึงมีผลเป็นการสละมรดกตามมาตรา 1612 และไม่เป็นการฝ่าฝืนมาตรา 1613เมื่อผู้คัดค้านที่ 1 สละมรดกแล้วมีผลย้อนหลังไปถึงเวลาเจ้ามรดกตายตามมาตรา 1615 ผู้คัดค้านที่ 1 จึงไม่ใช่ทายาทและผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกไม่มีอำนาจร้องขอถอนผู้จัดการมรดก
of 96