คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
พิพาท

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 102 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6920/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำร้องขอคุ้มครองประโยชน์ระหว่างพิจารณาคดี ต้องเกี่ยวข้องกับทรัพย์สินหรือสิทธิที่พิพาทในคดีเท่านั้น
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งสองซื้อหุ้นของโจทก์โดยไม่ชอบขอให้จำเลยทั้งสองคืนหุ้นและใบหุ้นที่ซื้อไว้โดยไม่ชอบให้ตัดสิทธิจองซื้อหุ้นใหม่โดยอาศัยหุ้นดังกล่าวและรับเงินค่าหุ้นนั้นคืนไปจากโจทก์จำเลยทั้งสองให้การต่อสู้ว่าซื้อหุ้นไว้โดยชอบโดยมิได้ฟ้องแย้งเรียกเงินปันผลของหุ้นดังนี้คำร้องขอคุ้มครองประโยชน์ของจำเลยทั้งสองโดยขอให้โจทก์นำเงินปันผลของหุ้นดังกล่าวมาชำระให้แก่จำเลยทั้งสองพร้อมดอกเบี้ยจึงไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา264

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6754/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิพาทเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ที่ดินและค่าเสียหาย การคำนวณทุนทรัพย์เพื่อการฎีกา
คดีนี้ทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาคือราคาที่พิพาทจำนวน162,000บาทและค่าเสียหายอันเกี่ยวเนื่องกับที่พิพาทจนถึงวันฟ้องจำนวน40,200บาทรวมเป็นเงิน202,200บาทซึ่งเป็นคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้เกิน200,000บาทจึงไม่ต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา248วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 400/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการฎีกาในคดีที่ราคาทรัพย์สินพิพาทต่ำกว่าสองแสนบาท และการโต้เถียงข้อเท็จจริง
คดีที่โจทก์ฟ้องและจำเลยฟ้องแย้ง จะอุทธรณ์ฎีกาได้เพียงใดหรือไม่ต้องแยกพิจารณาคนละส่วน เมื่อฟ้องโจทก์และฟ้องแย้งต่างมีราคาทรัพย์สินหรือทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาท คดีจึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง ที่โจทก์ฎีกาว่าที่ดินพิพาทในคดีนี้เป็นที่ดินคนละแปลงกับที่ดินที่ศาลพิพากษาว่าเป็นของจำเลยในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 1489/2528 ของศาลชั้นต้น พยานหลักฐานของจำเลยในคดีดังกล่าวรับฟังไม่ได้ว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลย โจทก์มีพยานเอกสารและพยานบุคคลหลายปากยืนยันว่าโจทก์เป็นผู้ครอบครองที่ดินพิพาท ที่ดินพิพาทจึงเป็นของโจทก์นั้นเป็นการฎีกาโต้เถียงข้อเท็จจริง ต้องห้ามฎีกาตามบทบัญญัติดังกล่าวศาลชั้นต้นรับฎีกาของโจทก์เป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2829/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทุนทรัพย์พิพาทในชั้นอุทธรณ์ต้องคำนวณจากราคาที่ดินตามที่ฟ้องในชั้นต้น แม้จะมีการถอนฟ้องบางส่วน
โจทก์ทั้งสองฟ้องขอให้จำเลยที่1โอนที่ดินน.ส.3เลขที่359และให้จำเลยที่2โอนที่ดินน.ส.3เลขที่517คืนสู่กองมรดกจึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ตามราคาที่ดินทั้งสองแปลงระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้นโจทก์ถอนฟ้องจำเลยที่1เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์ทั้งสองอุทธรณ์ขอให้จำเลยที่2โอนที่ดินน.ส.3เลขที่517คืนราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์จึงต้องถือตามราคาที่ดินแปลงนี้เท่านั้นและต้องถือตามจำนวนทุนทรัพย์ในขณะฟ้องคดีต่อศาลชั้นต้นเมื่อมีราคา40,000บาทจึงต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2672/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พิพาทสิทธิในที่ดิน: การทับซ้อนระหว่าง น.ส.3 กับโฉนดที่ดิน และการขอออกโฉนดใหม่
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นเจ้าของที่ดินพิพาทตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3) เนื้อที่ 1 ไร่ 32 ตารางวา โจทก์ได้นำเจ้าหน้าที่รังวัดที่ดินพิพาทเพื่อขอออกโฉนดที่ดิน จำเลยได้คัดค้านการขอออกโฉนดที่ดิน ขอให้เพิกถอนคำคัดค้านการขอออกโฉนดที่ดิน จำเลยให้การและฟ้องแย้งว่า หนังสือรับรองการทำประโยชน์ของโจทก์ทั้งสองออกทับที่ดินโฉนดที่ 972 ของจำเลยขอให้ยกฟ้องและให้เพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ของโจทก์ทั้งสองคดีจึงมีประเด็นว่า หนังสือรับรองการทำประโยชน์ของโจทก์ออกทับโฉนดที่ดินของจำเลยหรือไม่ ซึ่งเป็นกรณีพิพาทกันว่าที่ดินพิพาทเป็นของใคร จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ตามราคาที่ดินพิพาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2547/2538 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีกรรมสิทธิ์ที่ดิน: การพิพาทเกี่ยวกับแนวเขตและผลกระทบต่อการอุทธรณ์ตามทุนทรัพย์
โจทก์ฟ้องว่า ที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ จำเลยสร้างรั้วรุกล้ำเข้ามา ขอให้บังคับจำเลยรื้อถอนรั้วออกไปจากที่ดินพิพาทของโจทก์จำเลยให้การว่า จำเลยกั้นรั้วตามแนวเขตที่ดินของจำเลยที่จำเลยได้กรรมสิทธิ์มาโดยการครอบครองปรปักษ์ เป็นข้อพิพาทด้วยกรรมสิทธิ์ จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ ที่ดินพิพาทราคา 9,600 บาท แม้จะมีคำขอให้จำเลยรื้อถอนรั้วที่รุกล้ำออกไปจากที่ดินพิพาทด้วยก็ตาม แต่ประเด็นสำคัญของคดีอยู่ที่ว่าที่ดินพิพาทเป็นของใคร ส่วนคำขอให้รื้อถอนรั้วออกไปเป็นผลต่อเนื่องในเรื่องกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทเท่านั้น ถือไม่ได้ว่าเป็นคดีมีคำขอปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้แยกกันได้จากคำขอปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์อย่างเดียว เมื่อราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ไม่เกินห้าหมื่นบาทจึงต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 838/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทเรื่องทางสาธารณะและทางภารจำยอม ศาลฎีกาวินิจฉัยกลับคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ว่าไม่ใช่ทางสาธารณะ
โจทก์ทั้งสองฟ้องว่า ทางพิพาทเป็นทางภารจำยอมและเป็นทางสาธารณะ ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าทางพิพาทเป็นทางภารจำยอมไม่เป็นทางสาธารณะ โจทก์อุทธรณ์ว่าทางพิพาทเป็นทางสาธารณะเมื่อศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าทางพิพาทเป็นทางสาธารณะ คงมีแต่จำเลยฎีกามาฝ่ายเดียวว่าทางพิพาทมิใช่ทางสาธารณะ ส่วนโจทก์มิได้ฎีกา ปัญหาว่าทางพิพาทเป็นทางภารจำยอมหรือไม่จึงยุติไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ในชั้นฎีกาคงมีปัญหาเพียงว่าทางพิพาทเป็นทางสาธารณะหรือไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3056/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลภาษีอากร: คดีพิพาทเกี่ยวกับการยึดทรัพย์สิน ไม่ใช่คดีภาษีอากร
การที่โจทก์ฟ้องอธิบดีกรมสรรพากรให้เพิกถอนคำสั่งยึดทรัพย์และประกาศขายทอดตลาดทรัพย์ของอธิบดีกรมสรรพากรซึ่งใช้อำนาจตามประมวลรัษฎากร มาตรา 12 โดยอ้างว่าทรัพย์ที่ถูกยึดเป็นของโจทก์มิใช่ของผู้ต้องรับผิดเสียภาษีอากรนั้น มิใช่คดีพิพาทเกี่ยวกับภาษีอากรดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 ศาลภาษีอากรกลางจึงไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4655/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องเพิกถอนคำสั่งเจ้าพนักงานที่ดิน: ต้องฟ้องพิพาทกรรมสิทธิ์ ไม่ใช่ฟ้องเจ้าพนักงาน
แม้ฟ้องโจทก์อ้างว่า คำสั่งของจำเลยในฐานะเจ้าพนักงานที่ดินที่ให้ออกโฉนดที่ดินพิพาท เป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เป็นการฝ่าฝืนต่อบทกฎหมายและความเป็นจริง เพราะที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์เหตุผลเพียงเท่าที่อ้างจะถือว่าจำเลยกระทำการไปโดยไม่ชอบด้วยเหตุผลและไม่สุจริตหาได้ไม่ ทั้งมิได้บรรยายว่าจำเลยรับฟังข้อเท็จจริงหรือใช้ดุลพินิจโดยไม่มีพยานหลักฐานหรือเหตุผลสนับสนุนเพียงพอหรือโดยไม่สุจริต โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องเพิกถอนคำสั่งของจำเลย ประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 60 ที่ระบุให้ฝ่ายที่ไม่พอใจคำสั่งของเจ้าพนักงานที่ดินไปดำเนินการฟ้องต่อศาลภายในกำหนด 60 วันนับแต่วันทราบคำสั่ง หมายถึงให้คู่กรณีฟ้องเพื่อขอให้ศาลพิจารณาพิพากษาเกี่ยวด้วยเรื่องกรรมสิทธิ์ว่าผู้ใดมีสิทธิดีกว่ากัน โดยเจ้าพนักงานที่ดินจะรอเรื่องการออกโฉนดไว้ก่อน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2317/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้าม เหตุพิพาทไม่ใช่กรรมสิทธิ์ - คดีขับไล่บุคคลออกจากที่ดิน
คดีที่โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยออกไปจากที่ดินโจทก์อ้างว่าจำเลยทั้งห้าบุกรุก เป็นคดีฟ้องขับไล่บุคคลในกรณีอื่นออกจากอสังหาริมทรัพย์ ไม่ปรากฏว่าขณะยื่นฟ้องที่ดินโจทก์จะให้เช่าได้เกิดเดือนละ 5,000 บาท และจำเลยทั้งห้าให้การต่อสู้ว่าที่พิพาทเป็นของ ฉ.จำเลยทั้งห้าครอบครองโดยอาศัยสิทธิฉ. ซึ่งถือไม่ได้ว่าเป็นการกล่าวแก้เป็นข้อพิพาทด้วยกรรมสิทธิ์ เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้น คดีจึงต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคสอง.
of 11