คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
พ้นกำหนด

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 37 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กำหนดระยะเวลาฟ้องคดีเด็กและเยาวชน หากพ้นกำหนดต้องได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมอัยการ
พนักงานอัยการโจทก์ยื่นฟ้องคดีอาญาต่อศาลคดีเด็กและเยาวชนไม่ทันภายในกำหนด 30 วันนับแต่วันที่ผู้ต้องหาถูกจับกุม พนักงานสอบสวนได้ยื่นคำร้องขอผัดฟ้องไว้ 3 คราว แต่พนักงานสอบสวนมีความเห็นสั่งไม่ฟ้องและขอให้ศาลปล่อยตัวผู้ต้องหาไปก่อนครบกำหนดผัดฟ้องครั้งที่ 3 และศาลได้ปล่อยตัวผู้ต้องหาไปแล้ว โดยมิได้ขอผัดฟ้องต่อไปอีกกรณีเช่นนี้ต้องถือว่าคดีนี้พ้นกำหนดระยะเวลาการยื่นฟ้องดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 24 ทวิ แล้ว และไม่ว่ากรณีพนักงานสอบสวนมีความเห็นควรสั่งฟ้องหรือสั่งไม่ฟ้องผู้ต้องหา ก็ต้องอยู่ในบังคับของมาตรา 24 ทวิ ทั้งสิ้น จะนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 141 มาใช้บังคับไม่ได้ ซึ่งโจทก์จะฟ้องคดีได้จักต้องได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมอัยการตามมาตรา 24 จัตวา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 781/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อาวุธปืนไม่มีทะเบียนพ้นกำหนดจดทะเบียน จำเลยยกเว้นโทษ แต่ริบของกลาง
อาวุธปืนของกลางเป็นปืนไม่มีทะเบียนและล่วงเลยระยะเวลาที่จะนำไปขอจดทะเบียนตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ (ฉบับที่ 6)พ.ศ.2518 แล้ว จำเลยได้รับยกเว้นโทษ แต่ต้องริบปืน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2653/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีอาญาพ้นกำหนดระยะเวลาและขาดการอนุญาตจากอธิบดีอัยการ ทำให้โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
โจทก์ฟ้องจำเลยเมื่อพ้นระยะเวลาที่ศาลอนุญาตให้โจทก์ผัดฟ้องแล้วโดยโจทก์ไม่ได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมอัยการ จึงไม่มีอำนาจฟ้องศาลจำต้องพิพากษายกฟ้องกรณีมิใช่เรื่องจะนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 161มาใช้บังคับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2292/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งไม่อนุญาตยื่นคำให้การพ้นกำหนด – คำสั่งระหว่างพิจารณา – ไม่อุทธรณ์ได้
จำเลยมิได้ยื่นคำให้การภายในกำหนด ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ จำเลยยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นคำให้การ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การโดยไม่มีเหตุอันสมควร ไม่อนุญาตให้ยื่นคำให้การ โดยยังมิได้ตรวจดูคำให้การจำเลย คำสั่งของศาลชั้นต้นเช่นนี้ไม่ใช่คำสั่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 18แต่เป็นคำสั่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 199และเป็นคำสั่งโดยปกติในระหว่างการพิจารณาของศาลก่อนที่จะได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดี จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์คำสั่งนั้นในระหว่างพิจารณา ศาลอุทธรณ์รับอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยไว้พิจารณาเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาย่อมพิพากษายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้ศาลชั้นต้นดำเนินการพิจารณาต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 582/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยื่นฎีกาพ้นกำหนดและไม่อนุญาตอ้างสำนวนคดีอาญาเป็นพยานเพิ่มเติมในชั้นฎีกาเนื่องจากประเด็นยุติแล้ว
ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้คู่ความฟังเมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2507 กำหนดระยะเวลา 1 เดือนสำหรับการยื่นฎีกา เริ่มนับหนึ่งในวันที่ 29 ตุลาคม 2507 ครบ 1 เดือนในวันที่ 28 พฤศจิกายน 2507 แต่วันที่ 28, 29 พฤศจิกายน 2507 ตรงกับวันหยุดราชการ โจทก์จึงยื่นฎีกาในวันที่ 30 พฤศจิกายน 2507 ซึ่งเป็นวันที่เริ่มทำงานใหม่ได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 161
โจทก์ขออ้างสำนวนคดีอาญาเป็นพยานหลักฐานเพิ่มเติมในชั้นฎีกาเพื่อแสดงว่าผู้ร้องกับจำเลยเป็นสามีภริยาที่ชอบด้วยกฎหมายโดยได้จดทะเบียนสมรส นั้น เห็นว่าข้อเท็จจริงดังกล่าวได้ยุติมาแต่ศาลชั้นต้น โดยโจทก์ไม่ติดใจอุทธรณ์ในข้อนี้ และยอมรับในอุทธรณ์ว่า ผู้ร้องกับจำเลยมิใช่สามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมาย เพราะมิได้จดทะเบียนสมรส คงอุทธรณ์เฉพาะประเด็นที่ว่า เรือนพิพาทเป็นทรัพย์ที่ผู้ร้องกับจำเลยต่างมีกรรมสิทธิ์คนละครึ่งข้อเดียวเท่านั้น ศาลฎีกาจึงไม่อนุญาตให้อ้าง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1236/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยื่นบัญชีระบุพยานหลังพ้นกำหนด ศาลพิจารณาเหตุผลและความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น
คดีแพ่ง เมื่อคู่ความไม่ได้ยื่นบัญชีระบุพยานภายในกำหนด หากศาลได้พิเคราะห์ถึงเหตุต่าง ๆ ที่อ้างในการขออนุญาตระบุพยานประกอบพฤติการณ์อย่างอื่นในสำนวน เห็นไม่สมควรอนุญาตให้ยื่นบัญชีระบุพยาน ศาลก็ไม่อนุญาต (เทียบดูกับฎีกาที่ 1034/2503)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 552/2502

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยื่นอุทธรณ์พ้นกำหนดและเหตุผลทางสุขภาพที่ไม่ถือเป็นเหตุสุดวิสัย
จำเลยยื่นอุทธรณ์เมื่อพ้นกำหนดระยะเวลายื่นอุทธรณ์และยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นขอให้รับอุทธรณ์ อ้างว่าป่วยศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์ไว้ ดังนี้ เป็นการไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23 เพราะจำเลยไม่ได้ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลารับอุทธรณ์ไว้ก่อนสิ้นระยะเวลายื่นอุทธรณ์และเหตุที่อ้างว่าป่วยก็ไม่ใช่กรณีที่มีเหตุสุดวิสัย เพราะจำเลยมีทนายแก้ต่างอยู่แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 249/2501 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนคำให้การทั้งหมดและการยื่นคำให้การใหม่พ้นกำหนด: ศาลไม่อนุญาต
จำเลยยื่นคำให้การต่อสู้คดีแพ่งแล้ว ต่อมาขอยื่นคำร้องขอถอนคำให้การเดิมเสียทั้งหมด แล้วขอให้การใหม่ไม่เกี่ยวข้องกับคำให้การเดิมเลย ถ้าให้ถอนไปหมดเท่ากับคำให้การเดิมไม่มี ทั้งการยื่นคำให้การใหม่พ้นกำหนดเวลาแห่งกฎหมาย เช่นนี้ศาลไม่อนุญาตให้ ๆ การใหม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 769/2499 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กำหนดระยะเวลาการยื่นคำให้การหลังปิดหมาย: การนับเวลาผัดยื่นและการถือว่าพ้นกำหนด
การส่งหมายเรียกให้แก้คดีโดยวิธีปิดหมายนั้นตาม ป.วิ.แพ่ง ม.179 กำหนดให้เวลาล่วงแล้ว 15 วันจึงจะมีผล พนักงานส่งจดหมายในวันที่ 4 ก.ย.98 เรื่องการนับระยะเวลาล่วงพ้น 15 วัน จะต้องเริ่มนับแต่วันที่ 5 แล้วเริ่มนับกำหนดยื่นคำให้การภายใน 8 วันตั้งแต่วันที่ 20 ก.ย.98 ครบในวันที่ 28 ก.ย.98 แต่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้จำเลยผัดยื่นคำให้การได้ 3 วันโดยได้ระบุว่านับแต่วันใด จึงต้องนับต่อจากวันสุดท้ายแห่งระยะเวลาเดิม คือ เริ่มนับหนึ่งแต่วันที่ 28 ก.ย.98 จำเลยยื่นคำให้การวันที่ 1 ต.ค.98 จึงพ้นกำหนดไป 1 วัน แล้วจึงไม่รับเป็นคำให้การได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 733/2496 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อุทธรณ์ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เหตุไม่วางค่าธรรมเนียมพร้อมอุทธรณ์ แม้แก้ปัญหาภายหลังก็สายเกินไป
จำเลยยื่นอุทธรณ์โดยมิได้นำเงินค่าธรรมเนียม ซึ่งจะต้องใช้แก่โจทก์ตามคำพิพากษามาวางศาลพร้อมกับอุทธรณ์ ตาม ป.ม.วิ.แพ่งมาตรา 229 ศาลอุทธรณ์จึงวินิจฉัยว่า อุทธรณ์ของจำเลยเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายที่จะพึง รับไว้พิจารณา จึงให้ยกอุทธรณ์ของจำเลยเสีย เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษาแล้ว 22 วัน จำเลยได้ยื่นคำร้องขอวางเงิน ค่าธรรมเนียมที่จะต้องใช้แทนโจทก์ (ซึ่งขณะนั้นเป็นเวลาพ้นกำหนดอายุความอุทธรณ์นานถึง 5 เดือนเศษแล้ว) แล้วฎีกาขอให้ศาลฎีกาสั่งให้ศาลอุทธรณ์รับอุทธรณ์ของจำเลย ดังที่คดีไม่มีเหตุที่ศาลฎีกาจะสั่งให้รับอุทธรณ์ของจำ เลยได้./
of 4