คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 31 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3660/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลแขวงและขอบเขตการลงโทษปรับตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พร้อมการแก้ไขโทษปรับให้ถูกต้องตามกฎหมาย
โทษตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 65มีเพียงโทษปรับไม่เกิน 1 หมื่นบาท และปรับอีกวันละ 500 บาทตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืน จึงมิใช่โทษปรับเกินกว่า 6 หมื่นบาทตามความหมายในพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 22(5)ศาลแขวงมีอำนาจพิจารณาพิพากษา จำเลยฎีกาว่าศาลลงโทษปรับจำเลยหนักเกินควร เป็นการ โต้แย้งดุลพินิจในการลงโทษ และเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 โทษตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคารฯ มาตรา 65 วรรคสองที่ให้ปรับอีกวันละ 500 บาทนั้น เมื่อลดโทษให้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 กึ่งหนึ่งแล้ว คงปรับวันละ250 บาท แต่ศาลชั้นต้นพิพากษาปรับวันละ 500 บาท แม้จำเลย มิได้ฎีกา แต่เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกา มีอำนาจแก้ไขให้ถูกต้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 779/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจหน้าที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร และการฟ้องคดีที่ถูกต้อง การฟ้องจำเลยที่ 1 (สุขาภิบาล) และจำเลยที่ 2 (เจ้าพนักงานท้องถิ่น)
ตามพระราชบัญญัติสุขาภิบาล พ.ศ.2495 มาตรา 4 จำเลยที่1 มีฐานะเป็นนิติบุคคล และมาตรา 8 ให้นายอำเภอแห่งท้องที่ซึ่งสุขาภิบาลนั้นตั้งอยู่เป็นประธานกรรมการสุขาภิบาลโดยตำแหน่ง และพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 4ให้คำนิยาม "เจ้าพนักงานท้องถิ่น"' หมายความว่า ฯลฯ (2)ประธานกรรมการสุขาภิบาล สำหรับในเขตสุขาภิบาล เมื่อพิจารณาพระราชบัญญัติ ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 แล้วจะเห็นได้ว่าไม่มีบทบัญญัติให้สุขาภิบาล ซึ่งเป็นนิติบุคคลเข้าไปเกี่ยวข้องควบคุมการก่อสร้าง ดัดแปลง รื้อถอน เคลื่อนย้าย และใช้หรือเปลี่ยนการใช้อาคารแต่อย่างใดเลย การออกคำสั่งอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้ผู้ใดก่อสร้างอาคาร ดัดแปลงอาคาร รื้อถอนอาคารหรือเคลื่อนย้ายอาคารตามมาตรา 21,22,23 และมาตรา 24 นั้น เป็นอำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่อนุญาตหรือไม่อนุญาต ดังนั้น การที่เจ้าพนักงานท้องถิ่น คือประธานกรรมการสุขาภิบาลได้มีคำสั่งไม่อนุญาตให้โจทก์ดำเนินการก่อสร้างอาคารพิพาท จึงเห็นได้ว่าคำสั่งดังกล่าวมิใช่คำสั่งของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 จึงมิใช่ผู้ที่โต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่1 เจ้าพนักงานท้องถิ่น ได้มีคำสั่งไม่อนุญาตให้โจทก์ปลูกสร้าง อาคาร และคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้มีคำสั่งยืนตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น ไม่อนุญาตให้โจทก์ปลูกอาคารดังกล่าวดังนี้ หากโจทก์ไม่เสนอคดีต่อศาลภายในกำหนดสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ เจ้าพนักงานท้องถิ่นก็มีอำนาจที่จะปฏิบัติตามคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ย่อมเห็นได้ว่าสิทธิของโจทก์ถูกโต้แย้งโดยคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นเป็นมูลฐาน ทั้งพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 ก็ไม่มีบทบัญญัติว่ากรณีเช่นนี้ผู้ขอใบอนุญาตจะต้องฟ้องคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ด้วย ฉะนั้นการที่โจทก์ฟ้อง จำเลยที่ 2 ในฐานะเจ้าพนักงานท้องถิ่นซึ่งเป็นผู้โต้แย้งสิทธิของโจทก์โดยตรงก็เป็นการเพียงพอแล้ว ไม่จำเป็นต้องฟ้องคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 71/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมการบริษัทร่วมรับผิดในความผิดตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร แม้ไม่ได้รู้เห็นยินยอมโดยตรง และความผิดฐานก่อสร้างโดยไม่ขออนุญาตกับฝ่าฝืนคำสั่งเจ้าพนักงานเป็นคนละกรรม
จำเลยเป็นกรรมการของบริษัท ช. และให้การรับสารภาพว่าได้ร่วมกับบริษัท ช. กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 จำเลยจึงต้องร่วมรับผิดกับบริษัท ช. ตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522. มาตรา 72
โจทก์บรรยายฟ้องยืนยันถึงวันเวลาที่จำเลยกับพวกร่วมกันก่อสร้างอาคารพาณิชย์โดยไม่รับอนุญาต กับวันเวลาที่จำเลยกับพวกฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นเป็นคนละวันและเวลากัน การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 71/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมการบริษัทต้องรับผิดร่วมกับบริษัทในความผิดตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร หากมีส่วนรู้เห็นหรือยินยอม
จำเลยเป็นกรรมการของบริษัท ช. และให้การรับสารภาพว่าได้ร่วมกับบริษัท ช. กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 จำเลยจึงต้องร่วมรับผิดกับบริษัท ช. ตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522. มาตรา 72
โจทก์บรรยายฟ้องยืนยันถึงวันเวลาที่จำเลยกับพวกร่วมกันก่อสร้างอาคารพาณิชย์โดยไม่รับอนุญาต กับวันเวลาที่จำเลยกับพวกฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นเป็นคนละวันและเวลากัน การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 423/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีฝ่าฝืน พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร: การระบุวันกระทำความผิดและระยะเวลาค่าปรับรายวัน
พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 47 ทวิ กำหนดให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นแจ้งคำสั่งให้รื้อถอนอาคารโดยทำเป็นหนังสือส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับให้ผู้ซึ่งจะต้องรับคำสั่งดังกล่าว ณ ภูมิลำเนาของผู้นั้น และให้ปิดประกาศคำสั่งดังกล่าวไว้ในที่เปิดเผยและเห็นได้ง่าย ณ อาคารหรือบริเวณที่มีการกระทำดังกล่าว และให้ถือว่าผู้ซึ่งจะต้องรับคำสั่งได้ทราบคำสั่งนั้นแล้วเมื่อพ้นกำหนดสามวันนับแต่วันที่ได้มีการปิดประกาศดังกล่าว ดังนั้น วันที่ปิดประกาศคำสั่งจึงเป็นวันเริ่มนับระยะเวลาที่ให้ถือว่าจำเลยทราบคำสั่งและมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามคำสั่งดังกล่าวภายในกำหนด อันเป็นวันที่บ่งบอกวันกระทำความผิด คดีนี้ โจทก์บรรยายฟ้องว่า วันที่ 16 ตุลาคม 2546 นายกเทศมนตรีตำบลทุ่งควายกินมีคำสั่งเป็นหนังสือให้จำเลยรื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง และจำเลยทราบคำสั่งเมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2546 ซึ่งมิใช่ระยะเวลาเมื่อพ้นกำหนดสามวันนับแต่วันปิดประกาศ อันถือเป็นวันทราบคำสั่งตามกฎหมายดังกล่าว จึงไม่อาจทราบได้ว่าจำเลยกระทำความผิดฐานนี้เมื่อใด จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์บรรยายรายละเอียดเกี่ยวกับวันเวลาที่เกิดการกระทำความผิดตาม ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) ครบถ้วนแล้ว
การฝ่าฝืนปลูกสร้างอาคารโดยไม่ได้รับใบอนุญาตตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคารฯ มาตรา 21 ย่อมสิ้นสุดลงเมื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้มีคำสั่งให้จำเลยรื้อถอนอาคาร แล้วจำเลยไม่ปฏิบัติตาม การกระทำของจำเลยต่อจากนั้นที่ไม่ยอมรื้อถอนย่อมเป็นความผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่ให้รื้อถอนอาคารตามมาตรา 42, 66 ทวิ แต่ไม่เป็นความผิดตามมาตรา 21, 65 วรรคสอง อีก ดังนั้นจำเลยจึงต้องชำระค่าปรับรายวันตามมาตรา 21, 65 วรรคสอง ถึงวันก่อนครบกำหนดรื้อถอนตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นเท่านั้น มิใช่จนถึงวันที่จำเลยรื้อถอนเสร็จสิ้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1576/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าปรับรายวันตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร: ศาลยืนตามคำพิพากษาเดิม แม้จำเลยอยู่ระหว่างดำเนินคดีเพื่อขออนุญาต
คดีนี้โจทก์ฟ้องและจำเลยทั้งสองให้การรับสารภาพ ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาโดยไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ คดีจึงถึงที่สุด ต้องฟังเป็นยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นว่า จำเลยทั้งสองกระทำความผิดตามฟ้อง จำเลยทั้งสองจึงมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามคำพิพากษา จะมาโต้เถียงในชั้นบังคับคดีว่า การกระทำของจำเลยทั้งสองไม่เป็นความผิดและศาลชั้นต้นลงโทษปรับหนักเกินไปหาได้ไม่ หากศาลฟังข้ออ้างของจำเลยทั้งสองดังกล่าว จะมีผลเป็นการแก้ไขคำพิพากษาซึ่งถึงที่สุดแล้ว ขัดต่อ ป.วิ.อ. มาตรา 190
ตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้นที่ให้จำเลยทั้งสองชำระค่าปรับอีกวันละ 500 บาท จนกว่าจะปฏิบัติให้ถูกต้องนั้น หมายความว่า จนกว่าจะปฏิบัติให้ถูกต้องตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 ซึ่งมาตรา 21 บัญญัติว่า "ผู้ใดจะก่อสร้าง ดัดแปลง หรือเคลื่อนย้ายอาคาร ต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น หรือแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นและดำเนินการตามมาตรา 39 ทวิ" มาตรา 65 บัญญัติว่า "ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา 21... ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามเดือน หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ" และในวรรคสองบัญญัติว่า "นอกจากต้องระวางโทษตามวรรคหนึ่งแล้ว ผู้ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา 21... ยังต้องระวางโทษปรับอีกวันละไม่เกินหนึ่งหมื่นบาทตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืนหรือจนกว่าจะได้ปฏิบัติให้ถูกต้อง" ดังนั้น จำเลยทั้งสองจึงต้องชำระค่าปรับวันละ 500 บาท จนกว่าจะได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามมาตรา 21 กล่าวคือ จนกว่าจำเลยทั้งสองจะได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นหรือใบรับแจ้งตามมาตรา 39 ทวิ แล้ว
พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 ไม่มีบทบัญญัติใดให้การชำระค่าปรับรายวันสะดุดหยุดอยู่หรือให้อำนาจศาลในการใช้ดุลพินิจมีคำสั่งทุเลาหรืองดการบังคับชำระค่าปรับไว้ชั่วคราวในระหว่างที่จำเลยทั้งสองกำลังดำเนินคดีเพื่อให้ได้มาซึ่งเอกสารอันเป็นหลักฐานในการยื่นขอใบอนุญาตต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้ คงมีแต่เพียงบทบัญญัติที่ให้ศาลมีอำนาจสั่งทุเลาการบังคับโทษจำคุกไว้ก่อนตาม ป.วิ.อ. มาตรา 246 เท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7027/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความความผิด พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร และองค์ประกอบความผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่งรื้อถอน
ความผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่งให้ระงับการก่อสร้างอาคารตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคารฯ มาตรา 40 เกิดขึ้นตั้งแต่วันที่จำเลยได้ทราบคำสั่งให้ระงับการก่อสร้างอาคารแล้วไม่ปฏิบัติตามคำสั่งติดต่อกันไปจนถึงวันที่จำเลยดำเนินการก่อสร้างอาคารแล้วเสร็จหาใช่ความผิดต่อเนื่องตลอดระยะเวลาที่จำเลยยังฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นอยู่จนถึงวันฟ้องไม่ เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยทราบคำสั่งให้ระงับการก่อสร้างอาคารเมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2532 แล้วไม่ปฏิบัติตามคำสั่งติดต่อกันไปจนถึงวันที่จำเลยดำเนินการก่อสร้างอาคารแล้วเสร็จประมาณเดือนตุลาคม 2533 อายุความจึงเริ่มนับถัดจากวันที่ก่อสร้างอาคารพิพาทแล้วเสร็จ เมื่อโจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้วันที่ 7 ตุลาคม 2541 เกินกำหนด 1 ปี ฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความตาม ป.อ. มาตรา 95 (5)
ฟ้องของโจทก์บรรยายเพียงว่าจำเลยได้ก่อสร้างอาคารพิพาทรุกล้ำเข้าไปในบริเวณที่ไม่อนุญาตให้ก่อสร้างอันเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมายเท่านั้น มิได้บรรยายว่าการกระทำของจำเลยเป็นกรณีที่ไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้ อันเป็นองค์ประกอบความผิดของบทบัญญัติในมาตรา 42 แห่ง พ.ร.บ.ควบคุมอาคารฯ ฟ้องโจทก์จึงไม่ครบองค์ประกอบความผิดตามบทมาตราดังกล่าว เป็นคำฟ้องที่ไม่สมบูรณ์ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7622/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นิยาม 'อาคาร' ตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร: โครงสร้างชั่วคราวที่บุคคลใช้สอยได้ถือเป็นอาคาร
ตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 4 คำว่า อาคาร หมายความว่า ตึก บ้าน เรือน โรง ร้าน แพ คลังสินค้า สำนักงานและสิ่งที่สร้างขึ้นอย่างอื่น ซึ่งบุคคลอาจเข้าอยู่หรือเข้าใช้สอยได้ การที่จำเลยก่อสร้างอาคารไม้ชั่วคราว โดยต่อเติมพื้นไม้และหลังคาสังกะสีมีขนาด 2.50 เมตร x 20 เมตร ออกไปทางด้านหลังของร้านอาหารซึ่งบุคคลอาจเข้าอยู่หรือเข้าใช้สอยได้ แม้ไม่มีลักษณะของโครงสร้างติดตรึงตราถาวรก็มีสภาพเป็นอาคารตามความหมายที่กฎหมายได้บัญญัติไว้แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4785/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเช่าที่ดินสาธารณสมบัติหมดอายุสัญญาแล้วไม่รื้อถอนถือเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร
จำเลยเช่าที่ดินสาธารณสมบัติซึ่งอยู่ในบริเวณเขตปรับปรุงอาคารมีกำหนด 10 ปี เมื่อครบกำหนดอายุสัญญาเช่าแล้วจำเลยไม่รื้อถอนขนย้ายอาคารหรือสิ่งปลูกสร้างออกจากที่ดิน จึงเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 77 วรรคสี่ กรณีไม่จำต้องให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นแจ้งคำสั่งให้จำเลยรื้อถอนอาคารก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4785/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเช่าที่ดินสาธารณสมบัติหมดอายุสัญญา ไม่รื้อถอนอาคาร มีความผิดตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร
พ.ร.บ.ควบคุมอาคารฯ มาตรา 77 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "ท้องที่ใดมีอาคารก่อสร้างขึ้นเป็นจำนวนมากในที่ดินที่เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินก่อนวันที่ พ.ร.บ.นี้ใช้บังคับ และมีสภาพหรืออาจทำให้เกิดสภาพที่ไม่เหมาะสม หรือไม่ปลอดภัยในการอยู่อาศัย การป้องกันอัคคีภัย การสาธารณสุข การรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม การผังเมือง และการอำนวยความสะดวกแก่การจราจร เมื่อมี พ.ร.ฎ.กำหนดเขตปรับปรุงอาคารในท้องที่นั้นแล้ว ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีคำสั่งอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง ดังต่อไปนี้ (4) มีคำสั่งให้เจ้าของอาคารทำสัญญาเช่าที่ดินกับเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และอัตราค่าเช่าที่กระทรวงมหาดไทยกำหนด" และวรรคสี่ บัญญัติว่า "สัญญาเช่าที่ดินที่ทำขึ้นตามวรรคหนึ่ง (4) ให้มีระยะเวลาเช่าตามที่ตกลงกันแต่ต้องไม่เกินสิบปี การต่อระยะเวลาเช่าจะกระทำมิได้ เมื่อสิ้นกำหนดเวลาเช่าที่ดินแล้ว เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารผู้ใดไม่รื้อถอนขนย้ายอาคาร หรือสิ่งปลูกสร้างของตนออกจากบริเวณที่กำหนดใน พ.ร.ฎ.ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินสามหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ และต้องระวางโทษปรับเป็นรายวันอีกวันละหนึ่งพันบาทตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืน หรือจนกว่าผู้นั้นยินยอมให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นเข้าดำเนินการรื้อถอนอาคารนั้นเอง ในกรณีหลังนี้ให้นำมาตรา 42 วรรคสี่และวรรคห้า มาใช้บังคับโดยอนุโลม"
โจทก์บรรยายฟ้องว่า เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2534 เทศบาลตำบลหัวหินซึ่งเป็นเจ้าพนักงานท้องถิ่นตกลงให้จำเลยเช่าที่ดินที่เป็นสาธารณสมบัติเนื้อที่ 26.80 ตารางเมตร ซึ่งอยู่ในบริเวณเขตปรับปรุงอาคารตาม พ.ร.ฎ.กำหนดเขตปรับปรุงอาคารในท้องที่ตำบลหัวหิน อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ฯ มีกำหนด 10 ปี ครบกำหนดอายุสัญญาเช่าในวันที่ 31 พฤษภาคม 2544 จำเลยได้เข้าไปปลูกสร้างอาคารและใช้ประโยชน์ในที่ดินดังกล่าวแล้ว เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2544 อันเป็นวันที่สิ้นกำหนดเวลาเช่าตามสัญญาเช่าที่ดินดังกล่าวถึงวันฟ้องต่อเนื่องกันตลอดมารวม 852 วัน จำเลยไม่รื้อถอน ขนย้ายอาคาร หรือสิ่งปลูกสร้างของตนออกจากที่ดินบริเวณดังกล่าว เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพ ข้อเท็จจริงจึงรับฟังได้ตามฟ้องว่าจำเลยเช่าที่ดินที่เป็นสาธารณสมบัติเนื้อที่ 26.80 ตารางเมตร ซึ่งอยู่ในบริเวณเขตปรับปรุงอาคารมีกำหนด 10 ปี เมื่อครบกำหนดอายุสัญญาเช่าแล้วจำเลยไม่รื้อถอนขนย้ายอาคาร หรือสิ่งปลูกสร้างออกจากที่ดิน การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตามมาตรา 77 วรรคสี่ แห่ง พ.ร.บ. ดังกล่าวแล้ว กรณีไม่จำต้องให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นต้องแจ้งคำสั่งให้จำเลยรื้อถอนอาคารก่อนดังที่จำเลยฎีกา
of 4