คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
พ.ร.บ.จราจร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 44 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2096/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการเข้าร่วมเป็นโจทก์ในคดีความผิดตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก: ผู้เสียหายไม่ใช่โจทก์โดยตรง
ความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522เป็นความผิดที่รัฐมีหน้าที่ดำเนินการกับผู้กระทำผิดผู้เสียหายซึ่งถูกจำเลยขับรถชนมิใช่ผู้เสียหายในความผิดตามบทกฎหมายดังกล่าว การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ผู้เสียหายเข้าร่วมเป็นโจทก์เป็นการมิชอบ ศาลฎีกาให้ยกคำขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ของผู้เสียหายเฉพาะข้อหาตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1530/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำเลยหมดสติหลังเกิดอุบัติเหตุ ไม่สามารถช่วยเหลือผู้บาดเจ็บได้ ไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก
จำเลยขับรถยนต์ชนรถยนต์คันอื่นเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายและได้รับอันตรายแก่กายสาหัส ส่วนจำเลยก็หมดสติไปไม่อยู่ในสภาวะที่จะช่วยตนเองได้ การที่จำเลยงดเว้นไม่ช่วยเหลือผู้อื่นและแจ้งเหตุต่อพนักงานเจ้าหน้าที่มิใช่เพราะจำเลยมีเจตนาฝ่าฝืนกฎหมายจึงมิใช่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 78

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2762/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้ขับขี่ที่เกิดอุบัติเหตุและการตีความ มาตรา 160 วรรคสอง พ.ร.บ.จราจรทางบก
ผู้ขับขี่ที่จะได้รับโทษหนักขึ้นตาม พระราชบัญญัติจราจรทางบกฯมาตรา 160 วรรคสอง นั้น หมายถึงกรณีที่ขับขี่รถในทางก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลหรือทรัพย์สินของบุคคลอื่นแล้วผู้ขับขี่ได้หลบหนีไปจากที่เกิดเหตุโดยไม่หยุดให้ความช่วยเหลือตามสมควรและไม่แจ้งเหตุต่อพนักงานเจ้าหน้าที่อันเป็นการไม่ปฏิบัติตาม มาตรา 78 และการไม่ปฏิบัติตาม มาตรา 78 เป็นเหตุให้บุคคลอื่นได้รับอันตรายสาหัสหรือตาย หาใช่หมายถึงการขับขี่รถในทางก่อให้เกิดความเสียหายเป็นเหตุให้บุคคลอื่นถึงแก่ความตาย แล้วผู้ขับขี่ไม่ปฏิบัติตาม มาตรา 78 ซึ่งเป็นความผิดตามมาตรา 160 วรรคแรก ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3404/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขับรถแซงทางด้านซ้ายที่ไม่เข้าข่ายความผิดตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก เนื่องจากลักษณะถนนและเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
ถนนเกิดเหตุมีทางเดินรถสองทางคือทางไปและทางกลับ แต่ไม่มีช่องเดินรถ ทางเดินรถแต่ละทางกว้างขนาดรถยนต์แล่นเรียงไปได้ 3 คัน เช่นนี้ การที่จำเลยขับรถอยู่ชิดขอบทางด้านซ้ายโดยมีรถอีกคันหนึ่งขับไปทางทิศเดียวกันและอยู่ด้านขวา แต่มิได้แล่นตามหลังกันมาและรถยนต์คันดังกล่าวขับเลี้ยวซ้ายเมื่อถึงทางแยก จึงเกิดชนกับรถยนต์ที่จำเลยขับ ถือไม่ได้ว่าจำเลยขับรถยนต์แซงทางด้านซ้าย อันจะเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก ฯ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2962/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกำหนดช่องทางเดินรถสำหรับรถบรรทุกและรถโดยสาร ตามมาตรา 35 พ.ร.บ.จราจรทางบก
ถนนพระราม 4 ระหว่างสี่แยกศาลาแดงกับสี่แยกวิทยุมีเกาะแบ่งทางเดินรถกลางถนน มีช่องเดินรถข้างละ 4 ช่องทาง และในแต่ละข้างมีเกาะแบ่งช่องเดินรถออกอีกเป็นข้างละ 2 ช่องทาง สำหรับ 2 ช่องทางเดินรถด้านซ้ายสุดได้จัดให้เฉพาะรถยนต์โดยสารประจำทางวิ่งในเวลาบังคับแต่นอกเวลาบังคับแล้วรถยนต์บรรทุกคนโดยสารเกินเจ็ดคน รถจักรยานยนต์ และรถบรรทุกอื่น ๆ ต้องวิ่งในช่องทางเดินรถด้านซ้ายสุดวันเกิดเหตุเป็นวันอาทิตย์ ไม่มีเวลาบังคับ จำเลยขับรถยนต์บรรทุกคนโดยสารเกินเจ็ดคน โดยจำเลยขับรถดังกล่าวในช่องทางเดินรถด้านขวามือ คือในช่องทางที่ 3 จึงเป็นการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2522 การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 744/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีความผิดพ.ร.บ.จราจรทางบก: ผู้เสียหายโดยตรง
โจทก์มิใช่ผู้ได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกฯ โดยตรง โจทก์จึงมิใช่ผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(4) สำหรับความผิดนี้โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 685/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องในคดีความผิดพ.ร.บ.จราจรทางบก: เจ้าของรถที่เสียหายไม่มีอำนาจฟ้องเอง
พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องว่า จำเลยขับรถยนต์ด้วยความประมาท ชนเฉี่ยวรถที่ บ. ขับมาได้รับความเสียหาย ขอให้ลงโทษตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2477 มาตรา 29, 66 ตามที่แก้ไข ดังนี้ ด. เจ้าของรถคันที่ถูกชนไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยในข้อหาความผิดต่อพระราชบัญญัติจราจรทางบก เพราะยังเรียกไม่ได้ว่าได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระทำผิดฐานใดฐานหนึ่งตามความหมายของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2 (4) แม้ศาลชั้นต้นจะได้อนุญาตให้ ด. เข้าร่วมเป็นโจทก์ และเมื่อศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง ด. อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ย่อมยกอุทธรณ์เสีย โดยเหตุที่โจทก์ร่วมไม่ใช่ผู้เสียหายไม่มีอำนาจฟ้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2176/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นิยาม 'ทางแยก' ตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก: รวมถนนซอยที่แยกจากถนนสายหลักด้วย
ทางแยกนั้นมิได้หมายความ.เฉพาะบริเวณตรงที่ถนนอันเป็นทางตามความหมายของพระราชบัญญัติจราจรทางบกมาตัดผ่านกันเท่านั้น แต่หมายความรวมตลอดถึงตรงบริเวณที่มีถนนซอยเป็นทางแยกจากถนนอีกสายหนึ่งด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1322-1324/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจหน้าที่สถานีขนส่ง: ความขัดแย้งระหว่าง พ.ร.บ.จราจรทางบก กับ พ.ร.บ.การขนส่ง และการรับฟังพยานหลักฐาน
คดีอาญา จำเลยอ้างพยานเอกสารซึ่งอยู่ในความครอบครองของจำเลยและโจทก์ไม่รับรองความถูกต้อง เมื่อจำเลยไม่สืบพยานประกอบ พยานเอกสารนั้นก็รับฟังไม่ได้แต่ถ้าพยานเอกสารนั้นเป็นหนังสือราชการ ซึ่งต้นฉบับอยู่ในความครอบครองของทางราชการและที่จำเลยอ้างส่งต่อศาลเป็นสำเนาซึ่งเจ้าหน้าที่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 93 (3) รับรองถูกต้อง ก็รับฟังได้ ไม่ต้องสืบพยานประกอบ
ตามพระราชบัญญัติการขนส่ง พ.ศ. 2497 เป็นอำนาจของรัฐมนตรีที่จะกำหนดสถานที่ที่จะใช้เป็นสถานีขนส่ง และต้องประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อประกาศกำหนดสถานที่ที่จะใช้เป็นสถานีขนส่งแล้ว ผู้ประกอบการขนส่งจะต้องใช้สถานที่นั้นเป็นที่หยุดหรือจอดยานพาหนะ ถ้าฝ่าฝืนมีความผิดตามมาตรา 69 และอธิบดีมีอำนาจกำหนดค่าบริการที่ผู้ประกอบการขนส่งจะต้องชำระให้แก่สถานีขนส่งตามมาตรา 50 (1) แต่ถ้ารัฐมนตรียังไม่ได้กำหนดสถานที่ให้เป็นสถานีขนส่ง ผู้ประกอบการขนส่งจัดหาสถานที่จอดพักรถโดยสารให้คนขึ้นลงได้เอง โดยไม่ให้ขัดขวางต่อการจราจร
เจ้าพนักงานจราจรมีอำนาจออกข้อบังคับหรือคำสั่งกำหนดสถานที่จอดพักรถได้ตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2477 แต่ถ้าสถานที่จอดพักรถนั้นอยู่ในความครอบครองของเอกชนและเอกชนเป็นผู้เรียกเก็บค่าบริการในการจอดรถ ก็ไม่เป็นสถานที่จอดพักรถตามความหมายของพระราชบัญญัติจราจรทางบก แต่เป็นสถานีขอส่งตามพระราชบัญญัติการขนส่ง พ.ศ. 2497 ซึ่งบัญญัติให้เป็นอำนาจของรัฐมนตรีเป็นผู้กำหนดสถานทีที่ใช้เป็นสถานีขนส่ง เจ้าพนักงานจราจรไม่มีอำนาจกำหนด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1322-1324/2510

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจการกำหนดสถานที่จอดพักรถและสถานีขนส่ง: ความขัดแย้งระหว่าง พ.ร.บ.จราจรทางบก และ พ.ร.บ.การขนส่ง
คดีอาญา จำเลยอ้างพยานเอกสารซึ่งอยู่ในความครอบครองของจำเลยและโจทก์ไม่รับรองความถูกต้อง เมื่อจำเลยไม่สืบพยานประกอบ พยานเอกสารนั้นก็รับฟังไม่ได้ แต่ถ้าพยานเอกสารนั้นเป็นหนังสือราชการ ซึ่งต้นฉบับอยู่ในความครอบครองของ ทางราชการและที่จำเลยอ้างส่งต่อศาลเป็นสำเนาซึ่งเจ้าหน้าที่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 93(3) รับรองถูกต้อง ก็รับฟังได้ ไม่ต้องสืบพยานประกอบ
ตามพระราชบัญญัติการขนส่ง พ.ศ. 2497 เป็นอำนาจของรัฐมนตรี ที่จะกำหนดสถานที่ที่จะใช้เป็นสถานีขนส่ง และต้องประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อประกาศกำหนดสถานที่ที่จะใช้เป็นสถานีขนส่งแล้ว ผู้ประกอบการขนส่งจะต้องใช้สถานที่นั้นเป็นที่หยุดหรือจอดยานพาหนะ ถ้าฝ่าฝืนมีความผิดตามมาตรา 69 และอธิบดีมีอำนาจกำหนดค่าบริการที่ผู้ประกอบการขนส่งจะต้องชำระให้แก่สถานีขนส่งตามมาตรา 50(1) แต่ถ้ารัฐมนตรียังไม่ได้กำหนดสถานที่ให้เป็นสถานีขนส่งผู้ประกอบการขนส่งจัดหาสถานที่จอดพักรถโดยสารให้คนขึ้นลงได้เอง โดยไม่ให้ขัดขวางต่อการจราจร
เจ้าพนักงานจราจรมีอำนาจออกข้อบังคับหรือคำสั่งกำหนดสถานที่จอดพักรถได้ตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2477 แต่ถ้าสถานที่จอดพักรถนั้นอยู่ในความครอบครองของเอกชนและเอกชนเป็นผู้เรียกเก็บค่าบริการในการจอดรถ ก็ไม่เป็นสถานที่จอดพักรถตามความหมายของพระราชบัญญัติจราจรทางบก แต่เป็นสถานีขนส่งตามพระราชบัญญัติการขนส่ง พ.ศ. 2497 ซึ่งบัญญัติให้เป็นอำนาจของรัฐมนตรีเป็นผู้กำหนดสถานที่ที่ใช้เป็นสถานีขนส่ง เจ้าพนักงานจราจรไม่มีอำนาจกำหนด
of 5