คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ฟ้องขับไล่

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 584 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5626/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องขับไล่และการเรียกค่าเสียหายจากผู้เช่านาต้องรอการพิจารณาของ คชก. ก่อน จึงจะสามารถฟ้องร้องต่อศาลได้
เดิมโจทก์ที่ 1 เป็นเจ้าของที่ดินพิพาท ต่อมาโจทก์ที่ 1 ยกที่ดินพิพาทให้เป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4 เมื่อปี 2534 ระหว่างที่ที่ดินพิพาทยังเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ที่ 1 โจทก์ที่ 1 ให้จำเลยเช่าที่ดินพิพาททำนาตั้งแต่วันที่ 30 มิถุนายน 2527 จนกระทั่งวันที่ 27 มีนาคม 2538 โจทก์ทั้งสี่บอกเลิกการเช่าที่ดินพิพาทต่อจำเลยพร้อมกับส่งสำเนาหนังสือบอกกล่าวนั้นต่อประธานคชก. ตำบล จำเลยไม่คัดค้านการบอกกล่าวเลิกการเช่าต่อคชก. ตำบล และคชก. ตำบล มิได้พิจารณาวินิจฉัยหนังสือบอกเลิกการเช่าของโจทก์ทั้งสี่ เมื่อ พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524 มาตรา 13 (3) บัญญัติให้คชก. ตำบลมีอำนาจหน้าที่อื่นตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้ หรือตามที่คชก. จังหวัด มอบหมายด้วย และหาได้มีอำนาจแต่เฉพาะตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 13 (2) ไม่ และตามมาตรา 37 วรรคสอง กำหนดให้คชก. ตำบล ต้องพิจารณาวินิจฉัยการบอกเลิกการเช่านาตามสำเนาหนังสือบอกเลิกการเช่านาที่ผู้ให้เช่าส่งมาทุกกรณีโดยไม่มีข้อยกเว้นว่าสมควรให้การเช่านาสิ้นสุดลงหรือไม่หรืออยู่ในบังคับแห่งเงื่อนไขใดภายใต้กรอบอำนาจที่กำหนดไว้ในตามมาตรา 37 (1) ถึง (4) หรือไม่ แม้ผู้เช่าจะไม่คัดค้านการบอกเลิกการเช่านาหรือไม่มีคำร้องขอให้คชก. วินิจฉัยก็ตาม เมื่อคชก. ตำบลวินิจฉัยแล้ว ผู้เช่านา ผู้เช่าช่วงนา หรือผู้ให้เช่านาที่เป็นคู่กรณีหรือผู้มีส่วนได้เสียในการเช่านาอาจอุทธรณ์คำวินิจฉัยของ คชก. ตำบล ต่อคชก. จังหวัด ได้ตามมาตรา 56 วรรคหนึ่ง และคู่กรณีหรือผู้มีส่วนได้เสียในการเช่านาที่ไม่พอใจ คำวินิจฉัยของคชก. จังหวัด มีสิทธิอุทธรณ์ต่อศาลได้ตามมาตรา 57 วรรคหนึ่ง ในกรณีของโจทก์เมื่อคชก. ตำบล ยังมิได้พิจารณาวินิจฉัยหนังสือบอกกล่าวเลิกการเช่านาตามขั้นตอนที่ พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524 มาตรา 37 วรรคสอง ได้บัญญัติไว้ โจทก์จึงยังไม่มีสิทธิอุทธรณ์โดยเสนอคดีต่อศาลได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 385/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองปรปักษ์ต้องเริ่มนับจากมีโฉนด และการฟ้องขับไล่เมื่อไม่ได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์
เดิมที่ดินพิพาทยังมิได้ออกโฉนดที่ดิน แม้ว่าบิดามารดาผู้ร้องและผู้ร้องครอบครองก็ย่อมครอบครองปรปักษ์ไม่ได้ จะครอบครองปรปักษ์ได้ต่อเมื่อเป็นที่ดินมีโฉนดที่ดินเท่านั้น ระยะเวลาการครอบครองปรปักษ์ต้องเริ่มนับแต่วันที่ที่ดินพิพาทมีโฉนดที่ดิน
ทางราชการออกโฉนดที่ดินสำหรับที่ดินพิพาทเมื่อปี 2508 โดยม.มีชื่อถือกรรมสิทธิ์ หลังจากปี 2508 ช.และผู้ร้องก็อยู่ร่วมบ้านเดียวกันโดยอาศัยสิทธิของ ม. แม้เมื่อปี 2515 ผู้ร้องจะได้ปลูกบ้านขึ้นใหม่เลขที่ 17/1 แทนบ้านเดิมบนที่ดินพิพาทและอยู่ต่อมาโดย ม.มิได้ว่ากล่าว ก็เป็นเรื่องที่ผู้ร้องอาศัยสิทธิของ ม.ครั้นปี 2523 ม. ขายที่ดินโฉนดที่พิพาทให้แก่บริษัท ส. ผู้ร้องก็มิได้โต้แย้งคัดค้านแม้จะปรากฏว่าในปี 2524 ม.ได้รื้อบ้านของตนออกจากที่ดินพิพาทไปปลูกบ้านขึ้นใหม่และมารดาผู้ร้องได้ย้ายออกไปอยู่ที่บ้านที่ปลูกขึ้นใหม่ด้วย ส่วนผู้ร้องยังคงอยู่ในที่ดินพิพาทมาจนถึงวันยื่นคำร้องขอเป็นเวลาประมาณ 15 ปี ก็ฟังไม่ได้ว่า ผู้ร้องครอบครองปรปักษ์ที่ดินพิพาทเพราะ ม. ขายที่ดินพิพาทให้แก่ อ. ผู้ซื้อแล้ว อ. ฝากให้ ม. ช่วยดูแล ม.จึงอนุญาตให้ผู้ร้องเข้ามาอยู่อาศัย จึงต้องถือว่าผู้ร้องได้ครอบครองที่ดินพิพาทแทนบริษัท ส. เมื่อไม่ปรากฏว่าผู้ร้องได้เปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือโดยบอกกล่าวไปยังเจ้าของตาม ป.พ.พ. มาตรา 1381 ดังนี้ แม้ผู้ร้องจะอยู่ในที่ดินพิพาทมาเป็นเวลาช้านานเท่าใด ผู้ร้องก็ไม่ได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ตามมาตรา 1382
เมื่อผู้ร้องได้ยื่นคำร้องขอแสดงกรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์อันเป็นคดีไม่มีข้อพิพาทและมีผู้คัดค้านขึ้นมา ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 188 (4) ให้ดำเนินคดีไปอย่างคดีมีข้อพิพาท ผู้ร้องจึงมีฐานะเป็นโจทก์ ผู้คัดค้านย่อมมีฐานะเป็นจำเลย จึงย่อมมีสิทธิฟ้องแย้งผู้ร้องได้
ตามคำคัดค้านและฟ้องแย้ง ผู้คัดค้านระบุว่า ผู้ร้องไม่ได้เข้าทำประโยชน์ใด ๆ ในที่ดิน เพียงแต่พักอาศัยอยู่ในบ้านโดยอาศัยสิทธิของ ม. และบ้านดังกล่าวมีบริเวณเพียง 100 ตารางวา เห็นได้ว่า ผู้คัดค้านมิได้คัดค้านเฉพาะบริเวณบ้านที่ผู้ร้องอยู่อาศัย แต่คัดค้านที่ดินส่วนที่ผู้ร้องมายื่นคำร้องขอแสดงกรรมสิทธิ์ว่าผู้ร้องมิได้ใช้ทำประโยชน์อะไร เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่าผู้ร้องได้ครอบครองที่ดินพิพาทเป็นเนื้อที่ประมาณ 3 ไร่ 2 งาน 74 ตารางวา โดยไม่มีสิทธิย่อมทำให้ผู้คัดค้านได้รับความเสียหาย ที่ศาลล่างทั้งสองกำหนดค่าเสียหายให้ผู้ร้องชดใช้แก่ผู้คัดค้านเดือนละ 10,000 บาท นั้น เหมาะสมแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5587/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พระภิกษุมีอำนาจฟ้องขับไล่: การยกทรัพย์ให้ไม่ถือเป็นการเรียกร้องมรดก
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากบ้านและที่ดินที่โจทก์ได้รับการยกให้จาก ล. จำเลยต่อสู้คดีว่าบ้านพิพาทเป็นของจำเลยและบิดาจำเลย คดีมีประเด็นเฉพาะบ้านพิพาท ซึ่งคู่ความตีราคาไว้ 200,000 บาท จึงต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริง
ป.พ.พ.มาตรา 1622 วรรคหนึ่ง ที่บัญญัติว่า พระภิกษุนั้น จะเรียกร้องเอาทรัพย์มรดกในฐานะที่เป็นทายาทโดยธรรมไม่ได้ เว้นแต่จะได้สึกจากสมณเพศมาเรียกร้องภายในกำหนดอายุความตามมาตรา 1754 นั้น หมายถึงกรณีที่เจ้ามรดกตายโดยมิได้ทำพินัยกรรมไว้ และพระภิกษุเป็นทายาทโดยธรรมที่มีสิทธิในการรับมรดกด้วย ได้ฟ้องทายาทคนอื่น ๆ ขอแบ่งมรดก แต่โจทก์ได้รับการยกให้ซึ่งบ้านและที่ดินจาก ล. ในขณะที่ ล.มีชีวิตอยู่ โจทก์จึงเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในบ้านและที่ดินดังกล่าว การฟ้องขับไล่จำเลยออกจากบ้านและที่ดินของโจทก์จึงมิใช่ฟ้องเรียกร้องเอาส่วนแบ่งทรัพย์มรดกในฐานะทายาทโดยธรรม แม้โจทก์จะเป็นพระภิกษุก็ย่อมมีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6655/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนกรรมสิทธิ์อสังหาริมทรัพย์ที่ไม่สมบูรณ์และการฟ้องขับไล่: จำเลยยังไม่ใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์โดยสมบูรณ์จึงยกข้อต่อสู้ไม่ได้
เดิมจำเลยเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์บ้านพิพาท ต่อมาได้ขายให้แก่ ค. และ ค.ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากบ้านพิพาทระหว่างพิจารณาคดีค. และจำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความว่า จำเลยจะซื้อที่ดินพร้อมบ้านพิพาทคืนและจะชำระเงินให้ภายใน 6 เดือน ซึ่งศาลได้พิพากษาไปตามสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าว แต่หลังจากที่จำเลยชำระราคาบ้านและที่ดินให้แก่ ค.ครบถ้วนแล้วค. ได้ขายบ้านพิพาทให้แก่โจทก์ โดยทำหนังสือสัญญาและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ปรากฏว่าหลังจากจำเลยชำระราคาบ้านและที่ดินให้ ค. แล้วก็ยังไม่มีการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์แต่อย่างใด ทำให้บ้านพิพาทดังกล่าวยังไม่ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลย จำเลยจึงเป็นเพียงบุคคลผู้อยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้อยู่ก่อนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1300 เท่านั้น ซึ่งจำเลยอาจยกเป็นข้อต่อสู้โจทก์ได้ หากการโอนกรรมสิทธิ์ระหว่างโจทก์และ ค. ไม่เสียค่าตอบแทนหรือกระทำการโดยไม่สุจริต แต่เมื่อคำให้การของจำเลยมิได้ให้การต่อสู้ว่าโจทก์รับโอนบ้านพิพาทโดยไม่มีค่าตอบแทนหรือโดยไม่สุจริตอย่างไรคดีจึงไม่มีประเด็นที่จำเลยจะนำสืบเพื่อยกเป็นข้อต่อสู้โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1300 ได้แม้ก่อนหน้านี้จำเลยจะเคยแถลงต่อศาลทำนองว่า โจทก์รับโอนบ้านพิพาทมาโดยไม่สุจริต แต่การตั้งประเด็นในคดีต้องตั้งด้วยคำคู่ความ จะตั้งด้วยคำแถลงของคู่ความเพียงฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดหาได้ไม่ ดังนั้น เมื่อโจทก์ได้รับโอนบ้านพิพาทมาจาก ค. ตามสัญญาซื้อขายที่สมบูรณ์และมีผลบังคับโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว โจทก์จึงเป็นเจ้าของบ้านพิพาทมีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5204/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายที่ดินขัดต่อกฎหมายนิคมสร้างตนเอง สัญญาเป็นโมฆะ และจำเลยหมดสิทธิฟ้องขับไล่
โจทก์และจำเลยต่างเป็นสมาชิกนิคมสร้างตนเองและต่างได้รับจัดสรรที่ดินคนละหนึ่งแปลง ต่อมาจำเลย ขายที่ดินซึ่งได้รับการจัดสรรให้โจทก์แต่ไม่สามารถโอนสิทธิให้โจทก์ได้เนื่องจากติดเงื่อนไขข้อห้ามโอนตาม พ.ร.บ. จัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ. 2511 จำเลยจึงได้ส่งมอบที่ดินพิพาทให้โจทก์เข้าครอบครองเพียงอย่างเดียวโดย มีข้อตกลงระหว่างกันเองว่าจำเลยจะจดทะเบียนโอนสิทธิให้โจทก์เมื่อมีกฎหมายหรือกฎระเบียบอนุญาตให้ทำได้ ดังนี้เมื่อโจทก์และจำเลยจงใจหลีกเลี่ยงข้อห้ามตามพระราชบัญญัติดังกล่าว ข้อสัญญาระหว่างโจทก์และจำเลยจึงมี วัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย จึงตกเป็นโมฆะ แม้จำเลยจะไม่ยอมจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ โจทก์ก็ไม่อาจบังคับจำเลยให้ปฏิบัติตามสัญญาได้ และในเมื่อจำเลยก็ปฏิบัติฝ่าฝืนพระราชบัญญัติดังกล่าวเช่นเดียวกับโจทก์ การที่จำเลยได้สละสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทแล้ว จำเลยย่อมหมดสิทธิทุกประการเหนือ ที่ดินพิพาท จึงไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่โจทก์ออกจากที่ดินพิพาทเช่นกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5204/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายที่ดินขัดต่อกฎหมายจัดที่ดินเพื่อการครองชีพ สัญญาเป็นโมฆะ จำเลยหมดสิทธิฟ้องขับไล่
โจทก์และจำเลยเป็นสมาชิกนิคมสร้างตนเองลำตะคอง ซึ่งต่างฝ่ายต่างได้รับจัดสรรที่ดินให้เข้าครอบครอง ต่อมาจำเลยขายที่ดินพิพาทให้โจทก์และสามีโจทก์โดยมีการส่งมอบที่ดินให้เข้าครอบครองแล้ว แต่โจทก์และสามีไม่อาจอ้างชื่อตนเหนือที่ดินพิพาทแสดงต่อนิคมหรือทางราชการได้ เนื่องจากโจทก์และสามีมีที่ดิน ที่ได้รับจัดสรรอยู่ก่อนแล้วเมื่อนำมารวมกับที่ดินพิพาทจะเกินสิทธิที่จะพึงได้รับ และพระราชบัญญัติจัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ. 2511 ห้ามโอนสิทธิการเข้าทำประโยชน์ให้ผู้อื่นในขณะนั้นโดยไม่ได้รับอนุญาตโจทก์และสามีจึงต้องปล่อยให้ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินจัดสรรในนามจำเลย โดยมีข้อตกลงระหว่างกันเองว่า จำเลยจะจดทะเบียนโอนสิทธิในที่ดินพิพาทให้โจทก์และสามีเมื่อถึงเวลาที่กฎหมายหรือกฎระเบียบอนุญาตให้กระทำได้ การกระทำของโจทก์จึงเป็นการจงใจหลีกเลี่ยงข้อห้ามตามพระราชบัญญัติจัดที่ดินเพื่อการครองชีพฯ มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย จึงตกเป็นโมฆะ โจทก์และสามีไม่อาจบังคับจำเลยให้ปฏิบัติตามสัญญาได้ แต่จำเลยเองก็ปฏิบัติฝ่าฝืน พระราชบัญญัติจัดที่ดินเพื่อการครองชีพฯ และจำเลยได้สละสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทแล้ว จำเลยย่อมหมดสิทธิทุกประการเหนือที่ดินพิพาท จึงไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่โจทก์ออกจากที่ดินพิพาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 405/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าวิชาชีพทนายความ: คดีต่อเนื่องกับการฟ้องขับไล่ และคดีฟ้องเรียกค่าเสียหายแยกต่างหาก
โจทก์ซึ่งเป็นทนายความรับว่าความให้แก่จำเลยเพื่อฟ้องขับไล่ ช. กับพวกผู้เช่าออกไปจากตึกแถวและแผงลอยทั้งหมดโดยตกลงค่าวิชาชีพกันไว้เป็นจำนวนแน่นอน เมื่อโจทก์ดำเนินการให้จำเลยจนบรรลุวัตถุประสงค์แล้ว คือฟ้องขับไล่และดำเนินการให้ผู้เช่าขนย้ายออกจากที่ดินที่เช่า เพื่อให้จำเลยซึ่งเป็นตัวความเข้าครอบครองที่ดินและ รื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง โจทก์ชอบที่จะได้รับค่าวิชาชีพเต็มตามจำนวน แม้จำเลยจะมีส่วนในการทำความตกลงกับผู้เช่าบางรายจนมีการประนีประนอมยอมความกันก็ตาม
ในระหว่างที่โจทก์ดำเนินการขับไล่ผู้เช่า ช. กับพวกซึ่งเป็นผู้เช่าได้ยื่นฟ้องจำเลยกับพวกเป็นคดีแพ่ง หมายเลขดำที่ 10425/2534 กล่าวหาว่าจำเลยกับพวกร่วมกันทำสัญญาเช่าที่ดินโดยทุจริต ขอให้เพิกถอนสัญญาเช่าและชดใช้ค่าเสียหาย ต่อมาจำเลยได้ยื่นฟ้อง ช. กับพวกเป็นคดีแพ่งหมายเลขดำที่ 16093/2534 ฐานละเมิด ให้ร่วมกันชดใช้ค่าเสียหาย คดีทั้งสองเรื่องดังกล่าวจำเลยได้มอบให้โจทก์เป็นทนายความแก้ต่างและยื่นฟ้อง เมื่อคดีทั้งสองไม่มี ความสัมพันธ์กับคดีที่จำเลยฟ้องขับไล่ ช. กับพวก จึงไม่ใช่คดีที่ต่อเนื่องกัน จำเลยจึงต้องชำระค่าวิชาชีพในคดีแพ่งทั้งสองแยกต่างหากจากค่าวิชาชีพในคดีที่โจทก์ฟ้องขับไล่ ช. กับพวก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1592/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การห้ามฎีกาในคดีฟ้องขับไล่และคดีเกี่ยวกับการบังคับผู้ร้องที่เป็นบริวารของจำเลย
เดิมโจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยและบริวารออกจากบ้าน ซึ่งจำเลยเช่าไปจากโจทก์ อันเป็นคดีฟ้องขับไล่บุคคลใด ๆ ออกจากอสังหาริมทรัพย์ แต่ข้อเท็จจริงไม่ปรากฏในสำนวนว่า โจทก์ให้จำเลยเช่าบ้านพิพาทในอัตราค่าเช่าเท่าใด คงได้ความว่า ผู้ร้องเสียค่าเช่าให้โจทก์ในอัตราเดือนละ 120 บาท จึงฟังได้ว่าค่าเช่าในขณะยื่นคำฟ้องไม่เกินเดือนละหนึ่งหมื่นบาท คู่ความในคดีฟ้องขับไล่เดิมย่อมต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 248 วรรคสอง เมื่อคดีนี้เป็นคดีเกี่ยวกับการบังคับผู้ร้อง ซึ่งเป็นบริวารของจำเลยผู้ถูกฟ้องขับไล่และศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำสั่งของศาลชั้นต้นไม่ว่าศาลจะฟังว่าผู้ร้องสามารถแสดงอำนาจพิเศษให้ศาลเห็นได้หรือไม่ก็ตาม คดีนี้ก็ต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม มาตรา 248 วรรคสาม
คดีนี้ผู้ร้องยื่นคำร้องแสดงอำนาจพิเศษต่อศาลอ้างว่ามิใช่บริวารของจำเลยตาม ป.วิ.พ.มาตรา 296 จัตวา (3) การที่คดีฟ้องขับไล่ระหว่างโจทก์จำเลยในคดีเดิม จะมีการส่งสำเนาคำฟ้องและหมายเรียกไปยังภูมิลำเนาของจำเลยถูกต้องผิดพลาดหรือไม่ หาได้มีผลเกี่ยวข้องกับคดีของผู้ร้องไม่ ดังนั้น ผู้ร้องจะร้องขอให้ศาลเพิกถอนกระบวนพิจารณาคดีเดิมหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 93/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองปรปักษ์และการฟ้องขับไล่ผู้บุกรุกที่ดิน โดยไม่มีสัญญาเช่า
จำเลยอยู่ในที่ดินพิพาทโดยไม่มีหนังสือสัญญาเช่า และข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าจำเลยอาศัยอยู่ในที่ดินพิพาทโดยการเช่าจาก ป.ญาติของโจทก์ หรือโจทก์ที่ 1 เชิด ป.เป็นตัวแทน ดังที่จำเลยต่อสู้ การที่จำเลยอาศัยอยู่ในที่ดินพิพาทโดยไม่มีสิทธิตามกฎหมายจึงเป็นการละเมิดสิทธิของโจทก์ที่ 1 ในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์และโจทก์ที่ 2 ผู้มีสิทธิเช่าที่ดินพิพาท โจทก์ทั้งสองย่อมฟ้องขับไล่จำเลยผู้กระทำละเมิดได้โดยไม่ต้องบอกกล่าว และไม่จำต้องบอกกล่าวล่วงหน้า ตาม ป.พ.พ.มาตรา 566

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7339/2541 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลคดีถึงที่สุดผูกพันคู่ความเดิม การฟ้องขับไล่ของผู้ไม่มีกรรมสิทธิ์
คู่ความท้ากันว่า ให้ถือเอาผลคดีถึงที่สุดในคดีแพ่งเป็นข้อแพ้ชนะโดยหากผลในคดีดังกล่าวศาลพิพากษายกฟ้องโจทก์ ถือว่าจำเลยคดีนั้นยอมรับข้อเท็จจริงเป็นดังที่โจทก์ฟ้อง จำเลยยอมแพ้ หากศาลพิพากษาว่าโจทก์ในคดีดังกล่าวได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ ถือว่าโจทก์คดีนี้ยอมรับข้อเท็จจริงตามคำให้การของจำเลยโจทก์ยอมแพ้ คู่ความไม่ติดใจสืบพยานอีกต่อไป ศาลฎีกาได้มีคำวินิจฉัยชี้ขาดคดีดังกล่าวคดีถึงที่สุดแล้วว่าจำเลยคดีนี้เป็นผู้ซื้อที่ดินพิพาทและว่าจ้างให้ปลูกสร้างบ้านบนที่ดินพิพาทโดยโจทก์คดีนี้ได้ช่วยออกเงินบางส่วนให้จำเลยโดยมีเงื่อนไขให้โอนที่ดินพิพาทใส่ชื่อโจทก์เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ และเมื่อจำเลยชำระหนี้คืนให้โจทก์ครบถ้วนแล้วโจทก์จะโอนที่ดินพิพาทคืนให้จำเลย ซึ่งมีผลเท่ากับโจทก์คดีนี้มิใช่ผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่แท้จริง โจทก์เพียงลงชื่อเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์แทนเท่านั้น เมื่อคำวินิจฉัยของศาลฎีกาไม่ตรงกับคำท้า เพราะศาลฎีกามิได้พิพากษาว่าโจทก์ได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์หรือไม่ และที่ศาลฎีกาพิพากษายกฟ้องโจทก์โดยไม่ตัดสิทธิที่จะนำคดีมาฟ้องใหม่เพราะเหตุที่โจทก์ในคดีนี้มิใช่ผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่แท้จริง จึงไม่ได้ผลชี้ขาดตามคำท้า ข้อที่ท้ากันย่อมตกไปศาลจะต้องดำเนินการพิจารณาพิพากษาคดีนี้ตามประเด็นในคดีต่อไป
คู่ความในคดีนี้เป็นคู่ความเดียวกันกับคู่ความที่ศาลฎีกาพิพากษาในคดีก่อน ผลแห่งคำพิพากษาศาลฎีกาในคดีดังกล่าวจึงผูกพันคู่ความในคดีนี้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 145 และเมื่อข้อเท็จจริงในคดีก่อนปรากฏว่าโจทก์มิใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทที่แท้จริง โจทก์ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยเป็นคดีนี้ การที่ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์โดยไม่ได้สืบพยานจึงเป็นการชอบแล้ว
of 59