พบผลลัพธ์ทั้งหมด 546 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1503/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประนีประนอมยอมความในคดีเช็ค การสละสิทธิฟ้องอาญา และผลกระทบต่ออำนาจฟ้อง
บันทึกข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลย มีข้อความว่าโจทก์ตกลงให้จำเลยผ่อนชำระหนี้เป็นงวด ๆ โดยจ่ายเป็นเช็คจำนวน 7 ฉบับ เพื่อชำระหนี้แทนเช็คพิพาท ดังนี้ข้อความดังกล่าวจึงเป็นการระงับข้อพิพาทที่เกิดขึ้นจากธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คพิพาทโดยโจทก์ยอมผ่อนผันให้จำเลยผ่อนชำระหนี้ถือได้ว่าเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 850 แล้ว และการที่โจทก์นำเช็คที่จำเลยออกให้ใหม่ตามข้อตกลงดังกล่าวที่ถึงกำหนดไปเรียกเก็บเงิน แสดงว่าโจทก์เจตนาเข้าถือสิทธิตามเช็คฉบับใหม่และสละสิทธิที่จะดำเนินคดีอาญากับจำเลยตามเช็คพิพาทแล้ว มิฉะนั้นจะกลายเป็นว่า โจทก์มีสิทธิที่จะดำเนินคดีอาญากับจำเลยตามเช็คพิพาทและตามเช็คฉบับใหม่ซึ่งต่างเป็นเช็คที่ชำระหนี้รายเดียวกัน ส่วนที่โจทก์ยังคงเก็บเช็คพิพาทไว้ก็ไม่อาจตีความได้ว่าโจทก์ยังคงติดใจดำเนินคดีอาญาตามเช็คพิพาทต่อจำเลยแต่อย่างใด กรณีถือได้ว่ามีการยอมความกันโดยถูกต้องตามกฎหมายสำหรับเช็คพิพาทแล้ว สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(2)โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4795/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความเพียงพอของฟ้องอาญา: การระบุช่วงเวลาการกระทำความผิดที่ชัดเจนเพียงพอต่อการเข้าใจข้อหา
ฟ้องโจทก์ได้บรรยายถึงการกระทำของจำเลยทั้งสองว่า เมื่อระหว่างวันที่ 5 มกราคม 2537 ถึงเดือนตุลาคม 2537 เวลากลางวันและกลางคืน ติดต่อกัน วันเวลาใดไม่ปรากฏชัด จำเลยทั้งสองร่วมกัน ครอบครองทรัพย์ของผู้เสียหายเพื่อนำไปดำเนินการอัด เป็นเม็ดแล้วนำส่งกลับคืนให้ผู้เสียหาย แต่ในวันเวลาดังกล่าว จำเลยทั้งสองได้เบียดบังยักยอกทรัพย์ของผู้เสียหาย ที่อยู่ในความครอบครองของจำเลยทั้งสองไปเป็น ของจำเลยทั้งสองโดยทุจริต อันเป็นการบรรยายถึงการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำผิด ข้อเท็จจริงและรายละเอียดที่เกี่ยวกับเวลาและ สถานที่ซึ่งเกิดการกระทำนั้น ๆ พอที่จะให้จำเลยที่ 1 เข้าใจ ข้อหาได้ดีว่าวันเวลาที่จำเลยที่ 1 กระทำผิด เป็นช่วงวัน เวลา ในตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5) แล้วโจทก์หาจำต้องบรรยายระบุวันเวลาที่แน่ชัดว่าจะต้องเป็น วันที่เท่าใดเดือนใดเวลาอะไรที่แน่นอนไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4450/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอ้างบทมาตราผิดพลาดในฟ้องอาญา ศาลปรับบทลงโทษตามความผิดที่สืบได้ตามฟ้องได้
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยลักทรัพย์โดยใช้รถยนต์เป็นยานพาหนะเพื่อสะดวกแก่การกระทำผิด และการพาทรัพย์นั้นไป ซึ่งเข้าองค์ประกอบความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 336 ทวิ แต่โจทก์กลับอ้างบทมาตรา 336 ซึ่งเป็นบทมาตราที่เกี่ยวกับความผิดฐานวิ่งราวทรัพย์ ไม่เกี่ยวกับฐานความผิดที่โจทก์บรรยายมาในฟ้อง ถือได้ว่าโจทก์อ้างบทมาตรา 336 ทวิ ผิดพลาดไป เมื่อในชั้นพิจารณาโจทก์นำสืบข้อเท็จจริงได้สมตามฟ้อง ศาลย่อมมีอำนาจลงโทษจำเลยตามฐาน ความผิดที่ถูกต้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 192 วรรคห้า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4047/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คพิพาท: การฟ้องอาญาไม่ตัดสิทธิการใช้สิทธิทางแพ่ง หากมูลหนี้ยังไม่ระงับ
คดีนี้ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงตรงกันว่า จำเลยออกเช็คพิพาทชำระหนี้ค่าพิมพ์หนังสือแก่โจทก์ อันเป็นการรับฟังว่าเช็คพิพาทเป็นเช็คที่มีมูลหนี้อยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย การที่จำเลยฎีกาว่า โจทก์มีหน้าที่ต้องนำสืบให้เห็นชัดแจ้งถึงสาระสำคัญแห่งสัญญาว่าจ้าง และข้อเท็จจริงที่ยืนยันว่าจำเลยห้ามธนาคารมิให้ใช้เงินตามเช็คพิพาทโดยมีเจตนาทุจริต การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยโดยฟังว่าเช็คพิพาทที่จำเลยออกเป็นการชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมายไม่ต้องด้วยการรับฟังพยานหลักฐาน จึงเป็นฎีกาที่โต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังข้อเท็จจริงของศาลล่างทั้งสอง เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง เมื่อปรากฏว่าคดีนี้ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ลงโทษจำคุกจำเลย 2 เดือนคดีจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.อ.มาตรา 218 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 4ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
ขณะที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ยังไม่เกินกำหนดระยะเวลา 2 ปี ที่โจทก์อาจใช้สิทธิเรียกร้องทางแพ่งได้ จึงต้องฟังว่าขณะโจทก์ฟ้องคดีมูลหนี้ตามเช็คพิพาทยังคงมีอยู่ แม้ต่อมาโจทก์จะไม่ได้ใช้สิทธิเรียกร้องทางแพ่งขอให้จำเลยชำระหนี้ตามมูลหนี้ดังกล่าวก็เป็นคนละส่วนกับการกระทำผิดอาญาที่โจทก์ฟ้องจำเลยคดีในส่วนอาญาจะเลิกกันตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534มาตรา 7 หรือไม่ จะต้องเป็นกรณีที่มูลหนี้ที่ผู้กระทำผิดออกเช็คชำระหนี้นั้นได้สิ้นผลผูกพันไปก่อนที่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดในคดีอาญา ซึ่งหมายความถึงกรณีที่มูลหนี้นั้นได้ระงับไปตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. โดยการชำระหนี้ ปลดหนี้ หักกลบลบหนี้ หรือมีการแปลงหนี้ใหม่ ดังนั้น การที่เจ้าหนี้มิได้ใช้สิทธิเรียกร้องทางแพ่งจนเป็นเหตุให้หนี้ขาดอายุความจึงไม่อาจถือว่ามูลหนี้เดิมสิ้นความผูกพันโดยหนี้นั้นได้ระงับแล้วไม่เพราะมูลหนี้ที่จำเลยออกเช็คพิพาทชำระหนี้ยังมีอยู่ ยังไม่ได้ระงับไป เพียงแต่ต้องห้ามตามกฎหมายมิให้ใช้สิทธิเรียกร้องทางแพ่งจากจำเลยเนื่องจากโจทก์ละเลยมิได้ใช้สิทธิเรียกร้องดังกล่าวภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้ให้เท่านั้นกรณีจึงไม่ต้องด้วยมาตรา 7 แห่ง พ.ร.บ.อันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534
ขณะที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ยังไม่เกินกำหนดระยะเวลา 2 ปี ที่โจทก์อาจใช้สิทธิเรียกร้องทางแพ่งได้ จึงต้องฟังว่าขณะโจทก์ฟ้องคดีมูลหนี้ตามเช็คพิพาทยังคงมีอยู่ แม้ต่อมาโจทก์จะไม่ได้ใช้สิทธิเรียกร้องทางแพ่งขอให้จำเลยชำระหนี้ตามมูลหนี้ดังกล่าวก็เป็นคนละส่วนกับการกระทำผิดอาญาที่โจทก์ฟ้องจำเลยคดีในส่วนอาญาจะเลิกกันตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534มาตรา 7 หรือไม่ จะต้องเป็นกรณีที่มูลหนี้ที่ผู้กระทำผิดออกเช็คชำระหนี้นั้นได้สิ้นผลผูกพันไปก่อนที่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดในคดีอาญา ซึ่งหมายความถึงกรณีที่มูลหนี้นั้นได้ระงับไปตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. โดยการชำระหนี้ ปลดหนี้ หักกลบลบหนี้ หรือมีการแปลงหนี้ใหม่ ดังนั้น การที่เจ้าหนี้มิได้ใช้สิทธิเรียกร้องทางแพ่งจนเป็นเหตุให้หนี้ขาดอายุความจึงไม่อาจถือว่ามูลหนี้เดิมสิ้นความผูกพันโดยหนี้นั้นได้ระงับแล้วไม่เพราะมูลหนี้ที่จำเลยออกเช็คพิพาทชำระหนี้ยังมีอยู่ ยังไม่ได้ระงับไป เพียงแต่ต้องห้ามตามกฎหมายมิให้ใช้สิทธิเรียกร้องทางแพ่งจากจำเลยเนื่องจากโจทก์ละเลยมิได้ใช้สิทธิเรียกร้องดังกล่าวภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้ให้เท่านั้นกรณีจึงไม่ต้องด้วยมาตรา 7 แห่ง พ.ร.บ.อันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3348/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความสมบูรณ์ของฟ้องอาญา และเจตนาในการกระทำความผิดฐานฉ้อโกงภาษี
โจทก์บรรยายฟ้องว่า บิลเงินสดเป็นเอกสารสิทธิจึงไม่จำต้องบรรยายซ้ำลงในคำฟ้องอีกว่าเป็นเอกสารที่ก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวนหรือระงับซึ่งสิทธิ เมื่อคำฟ้องของโจทก์ ได้บรรยายการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้กระทำผิด ข้อเท็จจริงและรายละเอียดเกี่ยวกับเวลาและ สถานที่ซึ่งเกิดการกระทำนั้น อีกทั้งบุคคลหรือสิ่งของ ที่เกี่ยวข้อด้วยพอสมควร ที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 เข้าใจข้อหา ได้แล้ว คำฟ้องของโจทก์จึงเป็นฟ้องที่สมบูรณ์ การกระทำของจำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นการฉ้อโกงภาษี ซึ่งเงินที่เก็บได้จากภาษีนี้เป็นรายได้ของรัฐที่จะนำไป พัฒนาประเทศชาติ แม้การกระทำของจำเลยที่ 1 และที่ 2 จะคิดเป็นจำนวนเงินที่ไม่มากมาย แต่ก็ทำให้เกิดความเสียหาย ต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศ ถือได้ว่าเป็นความผิดที่ร้ายแรง การไม่รอการลงโทษให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 นั้นจึงเหมาะสม แก่พฤติการณ์แห่งรูปคดีแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 840/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องอาญาฐานปลอมและใช้เอกสารสิทธิปลอม: การบรรยายฟ้องที่สมบูรณ์และการพิจารณาโทษรอการลงโทษ
โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสี่ในข้อหาร่วมกันปลอมและใช้เอกสารสิทธิปลอม โดยได้บรรยายฟ้องว่า "จำเลยทั้งสี่ได้บังอาจร่วมกันทำปลอมหนังสือสัญญาหุ้นส่วนแก้ไขเพิ่มเติมของห้างหุ้นส่วนจำกัดกิจ พ.ซึ่งมีส.ผู้เสียหาย จำเลยที่ 1 และที่ 4 เป็นหุ้นส่วนของห้างดังกล่าว โดยจำเลยทั้งสี่ร่วมกันลงลายมือชื่อปลอมของผู้เสียหายในเอกสารสัญญาหุ้นส่วนแก้ไขเพิ่มเติมซึ่งมีข้อความว่าให้ผู้เสียหายออกจากการเป็นหุ้นส่วน โดยโอนเงินลงหุ้นจำนวน 200,000 บาท ให้แก่จำเลยที่ 1 โอนเงินลงหุ้นจำนวน50,000 บาท ให้แก่จำเลยที่ 2 และโอนเงินลงหุ้นจำนวน 150,000 บาทให้แก่จำเลยที่ 3 ทั้งนี้เพื่อให้ผู้หนึ่งผู้ใดหลงเชื่อว่าเอกสารที่จำเลยทั้งสี่ทำปลอมขึ้นทั้งฉบับนั้นเป็นเอกสารที่แท้จริง"ฟ้องโจทก์ดังกล่าวได้ระบุชัดแล้วว่า จำเลยทั้งสี่ได้ร่วมกันปลอมลายมือชื่อของโจทก์ร่วมในเอกสารสัญญาหุ้นส่วนแก้ไขเพิ่มเติมพร้อมทั้งระบุข้อความที่ปลอมนั้นด้วย จึงเป็นฟ้องที่สมบูรณ์ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5) แม้โจทก์จะไม่ได้บรรยายฟ้องให้ละเอียดว่าจำเลยคนใดร่วมกันปลอมเอกสารดังกล่าวอย่างไรก็เป็นเพียงรายละเอียดที่จะนำสืบในชั้นพิจารณาได้ จำเลยทั้งสี่ได้ร่วมกันมอบหมายให้ ส.นำเอกสารสัญญาหุ้นส่วนแก้ไขเพิ่มเติมไปยื่นต่อนายทะเบียน ณ สำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทจังหวัดเพื่อจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมจนเป็นเหตุให้นายทะเบียนรับจดทะเบียนให้ โดยจำเลยทั้งสี่ร่วมกันทำเอกสารดังกล่าว ซึ่งมีข้อความอันเป็นเท็จและลงลายมือชื่อของโจทก์ร่วมปลอมในเอกสารนั้น การกระทำของจำเลยทั้งสี่ดังกล่าวเป็นการร่วมกันทำเอกสารปลอมเพื่อให้ผู้หนึ่งผู้ใดหลงเชื่อว่าเอกสารนั้นทั้งฉบับเป็นเอกสารที่แท้จริงและจำเลยทั้งสี่ได้ใช้เอกสารปลอมดังกล่าวนี้ซึ่งเป็นเอกสารสิทธิในประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน จำเลยทั้งสี่จึงมีความผิดฐานร่วมกันปลอมและใช้เอกสารสิทธิปลอม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 840/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความสมบูรณ์ของฟ้องอาญาฐานปลอมและใช้เอกสารสิทธิปลอม และการรอการลงโทษ
โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสี่ในข้อหาร่วมกันปลอมและใช้เอกสารสิทธิปลอมโดยได้บรรยายฟ้องว่า"จำเลยทั้งสี่ได้บังอาจร่วมกันทำปลอมหนังสือสัญญาหุ้นส่วนแก้ไขเพิ่มเติมของห้างหุ้นส่วนจำกัดกิจพ. ซึ่งมีส.ผู้เสียหายจำเลยที่1และที่4เป็นหุ้นส่วนของห้างดังกล่าวโดยจำเลยทั้งสี่ร่วมกันลงลายมือชื่อปลอมของผู้เสียหายในเอกสารสัญญาหุ้นส่วนแก้ไขเพิ่มเติมซึ่งมีข้อความว่าให้ผู้เสียหายออกจากการเป็นหุ้นส่วนโดยโอนเงินลงหุ้นจำนวน200,000บาทให้แก่จำเลยที่1โอนเงินลงหุ้นจำนวน50,000บาทให้แก่จำเลยที่2และโอนเงินลงหุ้นจำนวน150,000บาทให้แก่จำเลยที่3ทั้งนี้เพื่อให้ผู้หนึ่งผู้ใดหลงเชื่อว่าเอกสารที่จำเลยทั้งสี่ทำปลอมขึ้นทั้งฉบับนั้นเป็นเอกสารที่แท้จริง"ฟ้องโจทก์ดังกล่าวได้ระบุชัดแล้วว่าจำเลยทั้งสี่ได้ร่วมกันปลอมลายมือชื่อของโจทก์ร่วมในเอกสารสัญญาหุ้นส่วนแก้ไขเพิ่มเติมพร้อมทั้งระบุข้อความที่ปลอมนั้นด้วยจึงเป็นฟ้องที่สมบูรณ์ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา158(5)แม้โจทก์จะไม่ได้บรรยายฟ้องให้ละเอียดว่าจำเลยคนใดร่วมกันปลอมเอกสารดังกล่าวอย่างไรก็เป็นเพียงรายละเอียดที่จะนำสืบในชั้นพิจารณาได้ จำเลยทั้งสี่ได้ร่วมกันมอบหมายให้ส.นำเอกสารสัญญาหุ้นส่วนแก้ไขเพิ่มเติมไปยื่นต่อนายทะเบียนณสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทจังหวัดเพื่อจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมจนเป็นเหตุให้นายทะเบียนรับจดทะเบียนให้โดยจำเลยทั้งสี่ร่วมกันทำเอกสารดังกล่าวซึ่งมีข้อความอันเป็นเท็จและลงลายมือชื่อของโจทก์ร่วมปลอมในเอกสารนั้นการกระทำของจำเลยทั้งสี่ดังกล่าวเป็นการร่วมกันทำเอกสารปลอมเพื่อให้ผู้หนึ่งผู้ใดหลงเชื่อว่าเอกสารนั้นทั้งฉบับเป็นเอกสารที่แท้จริงและจำเลยทั้งสี่ได้ใช้เอกสารปลอมดังกล่าวนี้ซึ่งเป็นเอกสารสิทธิในประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชนจำเลยทั้งสี่จึงมีความผิดฐานร่วมกันปลอมและใช้เอกสารสิทธิปลอม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8226/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความสมบูรณ์ของฟ้องอาญาเช็ค: ต้องระบุ 'หนี้ที่มีอยู่จริง' ตาม พ.ร.บ.เช็ค
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิด อันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 4 โดยบรรยายไว้เพียงว่า "โดยมีจำเลยเป็นผู้ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คเพื่อชำระหนี้ อันสามารถบังคับได้ตามกฎหมายให้แก่โจทก์ ฯลฯ" ซึ่งขาด องค์ประกอบคำว่า "ที่มีอยู่จริง" ดังนั้น แม้จำเลยจะ สั่งจ่ายเช็คเพื่อชำระหนี้โจทก์อันมีลักษณะบังคับได้หรือ อันสามารถบังคับได้ตามกฎหมายก็ตาม แต่หากไม่มีหนี้ที่มีอยู่จริง การกระทำของจำเลยก็ไม่เป็นความผิดเมื่อฟ้องโจทก์บรรยาย องค์ประกอบแห่งความผิดดังกล่าวขาดไป กรณีจึงเป็นฟ้องที่ ไม่สมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5)แม้จำเลยจะให้การรับสารภาพและมิได้ยกปัญหาข้อนี้ขึ้นฎีกาแต่ก็เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยศาลฎีกาชอบที่จะหยิบยกขึ้นพิจารณา และพิพากษายกฟ้องโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7283-7285/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือรับสภาพหนี้ไม่ตัดสิทธิโจทก์ฟ้องอาญาเช็ค การยอมความต้องชัดเจน
จำเลยทำหนังสือรับสภาพหนี้เอกสารหมาย จ.1 มีความโดยสรุปว่า จำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ ทำหนังสือสัญญาฉบับนี้ให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ เพื่อตกลงหักกลบลบหนี้และแปลงหนี้ตามสัญญาฉบับอื่นโดยจำเลยยอมรับว่าเป็นหนี้โจทก์รวมเป็นเงินทั้งสิ้น2,100,000 บาท ซึ่งเป็นเรื่องหนี้สินที่ค้างชำระกันอยู่ก่อนแล้วจึงตกลงทำหนังสือรับสภาพหนี้ดังกล่าวขึ้นโดยจำเลยยอมผ่อนชำระหนี้เป็นงวด ๆ ด้วยการออกเช็คพิพาทจำนวน 11 ฉบับ ให้แก่โจทก์ ดังนี้ เมื่อเช็คพิพาททั้งหมดธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินความผิดในทางอาญาของจำเลยจึงเกิดขึ้นนับแต่วันที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คแต่ละฉบับเป็นต้นไป และเมื่อข้อตกลงตามหนังสือรับสภาพหนี้ดังกล่าวไม่มีผลผูกพันให้สิทธิฟ้องคดีอาญาเช็คพิพาททั้งหมดระงับไปเนื่องจากไม่มีข้อความใดแสดงให้เห็นว่าเจ้าหนี้จะไม่ฟ้องหรือดำเนินคดีอาญากับลูกหนี้ คงเป็นเพียงข้อตกลงที่ลูกหนี้รับว่าเป็นหนี้และจะชดใช้หนี้ให้โจทก์อันเป็นสิทธิทางแพ่งที่โจทก์สามารถเรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้ได้อีกทางหนึ่งเท่านั้น กรณีจึงไม่ใช่เป็นการยอมความอันมีผลให้สิทธิการดำเนินคดีอาญาเกี่ยวกับเช็คพิพาทของโจทก์ระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5095/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความไม่เคลือบคลุมของฟ้องอาญาและการสั่งแก้ฟ้องเพื่อตรวจสอบอายุความ
โจทก์บรรยายฟ้องว่า "เมื่อระหว่างวันที่ 1 กรกฎาคม 2536 ถึงวันที่ 12 กรกฎาคม2536 เวลากลางวัน จำเลยทั้งสองกับ ป. ซึ่งถึงแก่ความตายไปแล้วได้ร่วมกันกระทำความผิดต่อกฎหมายอาญา โจทก์เพิ่งทราบความจริงเมื่อปลายเดือนกรกฎาคม 2537"เป็นคำฟ้องที่ระบุวันเวลาที่บ่งว่าจำเลยทั้งสองกระทำผิดพอสมควรที่จำเลยทั้งสองจะเข้าใจข้อหาได้ดีแล้วและจำเลยทั้งสองก็นำสืบต่อสู้คดีโจทก์ไว้ ดังนั้น จำเลยทั้งสองย่อมเข้าใจวันเวลาที่โจทก์กล่าวหาได้ดีโดยมิได้หลงต่อสู้ ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
วันที่รู้เรื่องความผิดไม่ใช่องค์ประกอบของความผิดและไม่ใช่รายละเอียดที่เกี่ยวกับเวลาที่จำเลยกระทำผิด ทั้งในชั้นตรวจคำฟ้องแม้ฟ้องไม่ถูกต้องตามกฎหมาย ศาลก็มีอำนาจสั่งโจทก์แก้ฟ้องให้ถูกต้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 161 วรรคหนึ่ง ดังนั้นเพื่อทราบว่าคดีโจทก์ขาดอายุความหรือไม่ ศาลชั้นต้นจึงมีอำนาจสั่งให้โจทก์แก้ฟ้องได้
วันที่รู้เรื่องความผิดไม่ใช่องค์ประกอบของความผิดและไม่ใช่รายละเอียดที่เกี่ยวกับเวลาที่จำเลยกระทำผิด ทั้งในชั้นตรวจคำฟ้องแม้ฟ้องไม่ถูกต้องตามกฎหมาย ศาลก็มีอำนาจสั่งโจทก์แก้ฟ้องให้ถูกต้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 161 วรรคหนึ่ง ดังนั้นเพื่อทราบว่าคดีโจทก์ขาดอายุความหรือไม่ ศาลชั้นต้นจึงมีอำนาจสั่งให้โจทก์แก้ฟ้องได้