พบผลลัพธ์ทั้งหมด 103 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1032/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาความผิดฐานฟ้องเท็จ: จำเลยเชื่อโดยมีเหตุผลว่าโจทก์กระทำผิด จึงไม่มีเจตนา
ความผิดฐานฟ้องเท็จตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 175ต้องเป็นกรณีที่จำเลยเอาความเท็จฟ้องผู้อื่นต่อศาลว่ากระทำความผิดทางอาญา และจำเลยต้องมีเจตนาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 59โดยต้องรู้ว่าความที่นำมาฟ้องนั้นเป็นเท็จ เมื่อการกระทำของโจทก์ทำให้จำเลยเชื่อว่าโจทก์ถอนต้นยูคาลิปตัสของจำเลย จำเลยย่อมไม่รู้ว่าความที่นำมาฟ้องโจทก์ในข้อหาทำให้เสียทรัพย์นั้นเป็นเท็จการที่จำเลยฟ้องโจทก์โดยมีเหตุอันควรเชื่อว่าเป็นเช่นนั้นการกระทำของจำเลยจึงขาดเจตนาและไม่มีมูลความผิดฐานฟ้องเท็จและการที่จำเลยฟ้องกล่าวหาว่าโจทก์บุกรุกที่ดินของจำเลย เมื่อโจทก์ได้เข้าไปในที่ดินของจำเลยจริง ฟ้องดังกล่าวจึงไม่เป็นความเท็จ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3887/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แจ้งความเท็จ ฟ้องเท็จ เบิกความเท็จ กรณีสัญญากู้ยืมและสัญญาค้ำประกัน
จำเลยเข้ามาเป็นโจทก์ร่วมในคดีซึ่งพนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องโจทก์ในคดีนี้เป็นจำเลย ในข้อหาปลอมและใช้เอกสารปลอม เมื่อเอกสารที่ฟ้องไม่ใช่เอกสารปลอม ฟ้องดังกล่าวจึงเป็นเท็จ จำเลยย่อมมีความผิดฐานเอาความอันเป็นเท็จฟ้องโจทก์ต่อศาลว่ากระทำผิดอาญา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3019/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องเท็จและคำพิพากษาศาลที่อาศัยข้อมูลเท็จ โจทก์ต้องแสดงความเสียหายที่เกิดขึ้นต่อสิทธิของตนเอง
คดีก่อนจำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องว่าที่ดินโฉนด เลขที่ 5072 เป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ ล. ย. และ ป. ต่อมา ย. และ ป.ยกที่ดินเฉพาะ ส่วนของตน ให้จำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 ได้ ครอบครองจนได้กรรมสิทธิ์ ขอให้ศาลสั่งแสดงกรรมสิทธิ์ โจทก์มาฟ้องคดีนี้อ้างว่าจำเลยทั้งสองเบิกความเท็จในคดีก่อนเป็น 2 ประการ คือคำเบิกความที่ว่า ย. และ ป. มีกรรมสิทธิ์ภายในที่ดินโฉนด เลขที่ 5072ด้วย ประการหนึ่งและคำเบิกความที่ว่า ย. และ ป. ยกที่ดินให้จำเลยที่ 1 แล้วจำเลยที่ 1 ได้ ครอบครองโดย สงบ เปิดเผย ด้วย เจตนาเป็นเจ้าของติดต่อ กันเกิน 10 ปีแล้ว อีกประการหนึ่งในการไต่สวนมูลฟ้องคดีนี้ได้ความว่า ย. และ ป. มีกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินดังกล่าวโดย การแบ่งแยกการครอบครองแล้ว ดังนี้ จึงฟังไม่ได้ว่าคำเบิกความของจำเลยทั้งสองในประการแรกเป็นความเท็จและเมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า โจทก์ไม่ได้เข้าเป็นคู่ความในคดีก่อนและคำฟ้องโจทก์ในคดีนี้ก็มิได้กล่าวว่าโจทก์มีส่วนได้เสียหรือมีสิทธิในที่ดินของ ย. และ ป. อย่างไร คำเบิกความของจำเลยทั้งสองในประการที่ 2 จึงไม่กระทบกระเทือนถึง สิทธิของโจทก์ และคำฟ้องของโจทก์ไม่ปรากฏเหตุที่ทำให้เห็นได้ว่าโจทก์ได้ รับความเสียหายจากคำเบิกความของจำเลยทั้งสอง ข้อที่โจทก์อ้างว่าโจทก์เป็นผู้ครอบครองที่ดินส่วนของ ย. และ ป. นั้น เป็นการนำสืบนอกเหนือจากที่กล่าวในฟ้องคำเบิกความของจำเลยทั้งสองที่บางส่วนไม่เป็นเท็จบางส่วนไม่ทำให้โจทก์เสียหายเช่นนี้คดีโจทก์จึงไม่มีมูล
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1359-1360/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องเท็จและเบิกความเท็จ: ข้อวินิจฉัยศาลยังไม่ถึงที่สุด การพิสูจน์ลายมือเป็นสาระสำคัญ
จำเลยฟ้องกล่าวหาโจทก์ว่าออกเช็คโดยเจตนามิให้มีการใช้เงินตามเช็ค และเบิกความว่าโจทก์นำเช็คมาขายลดกับจำเลยโดยเป็นผู้ลงวันที่สั่งจ่ายต่อหน้าจำเลย แม้ศาลชั้นต้นจะพิพากษายกฟ้องในคดีที่จำเลยฟ้องโจทก์ โดยวินิจฉัยว่าโจทก์ออกเช็คพิพาทให้จำเลยเพื่อประกันการกู้เงิน และมิได้ลงวันที่สั่งจ่ายก็ยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยฟ้องเท็จและเบิกความเท็จ เพราะข้อวินิจฉัยของศาลเป็นเพียงการแสดงความเห็นในการชี้ขาดตัดสินคดีอย่างหนึ่งเท่านั้น จะเป็นเท็จหรือไม่เป็นปัญหาที่ต้องมีการวินิจฉัยในเนื้อแท้ของความจริงให้เป็นที่ประจักษ์ต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1359-1360/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องเท็จและเบิกความเท็จ: ศาลฎีกาพิจารณาพยานหลักฐานและข้อเท็จจริงที่ไม่ชัดเจน ทำให้ไม่สามารถรับฟังว่าเป็นความเท็จได้
จำเลยฟ้องกล่าวหาโจทก์ว่าออกเช็คโดยเจตนามิให้มีการใช้เงินตามเช็คและเบิกความว่าโจทก์นำเช็คมาขายลดกับจำเลยโดยเป็นผู้ลงวันที่สั่งจ่ายต่อหน้าจำเลย แม้ศาลชั้นต้นจะพิพากษายกฟ้องในคดีที่จำเลยฟ้องโจทก์โดยวินิจฉัยว่าโจทก์ออกเช็คพิพาทให้จำเลยเพื่อประกันการกู้เงิน และมิได้ลงวันที่สั่งจ่าย ก็ยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยฟ้องเท็จและเบิกความเท็จ เพราะข้อวินิจฉัยของศาลในคดีเดิมเป็นเพียงการแสดงความเห็นในการชี้ขาดตัดสินคดีอย่างหนึ่งเท่านั้น จะเป็นเท็จหรือไม่เป็นปัญหาที่ต้องมีการวินิจฉัยในเนื้อแท้ของความจริงให้เป็นที่ประจักษ์ในคดีนี้ต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1359-1360/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องเท็จและเบิกความเท็จ: การวินิจฉัยศาลเป็นเพียงความเห็น ไม่ถือเป็นเท็จโดยตัวมันเอง
จำเลยฟ้องกล่าวหาโจทก์ว่าออกเช็ค โดย เจตนามิให้มีการใช้ เงินตามเช็ค และเบิกความว่าโจทก์นำเช็ค มาขายลดกับจำเลยโดย เป็นผู้ลงวันที่สั่งจ่ายต่อหน้าจำเลย แม้ศาลชั้นต้นจะพิพากษายกฟ้องในคดีที่จำเลยฟ้องโจทก์ โดย วินิจฉัยว่าโจทก์ออกเช็คพิพาทให้จำเลยเพื่อประกันการกู้เงิน และมิได้ลงวันที่สั่งจ่ายก็ยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยฟ้องเท็จและเบิกความเท็จ เพราะข้อวินิจฉัยของศาลเป็นเพียงการแสดงความเห็นในการชี้ขาดตัดสินคดีอย่างหนึ่งเท่านั้น จะเป็นเท็จหรือไม่เป็นปัญหาที่ต้อง มีการวินิจฉัยในเนื้อแท้ของความจริงให้เป็นที่ประจักษ์ต่อไป.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 975/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องเท็จและหมิ่นประมาทจากคำบรรยายฟ้อง: การอธิบายความหมายถ้อยคำไม่ถือเป็นยืนยันข้อเท็จจริง
จำเลยซึ่งเป็นพนักงานอัยการฟ้องโจทก์ในข้อหาดูหมิ่น หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ ฯ โดยบรรยายฟ้องเป็นสองตอน คือตอนแรกเป็นข้อความที่อ้างว่าโจทก์เป็นผู้กล่าวซึ่งได้ระบุไว้ในเครื่องหมายอัญประกาศ ส่วนตอนหลังมีใจความเป็นการแปลหรืออธิบายความหมายของข้อความในตอนแรก ดังนี้ เมื่อพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158 (5) ประกอบด้วยแล้ว แสดงว่าข้อความที่พนักงานอัยการระบุไว้ในเครื่องหมายอัญประกาศ คือ 'ถ้อยคำพูด' ที่พนักงานอัยการต้องกล่าวไว้ในฟ้องตามบทกฎหมายดังกล่าว และข้อความตอนหลังเป็นการอธิบายความหมายเท่านั้น เมื่อข้อความที่โจทก์ฟ้องอ้างว่าจำเลยบรรยายฟ้องอันเป็นความเท็จเป็นส่วนหนึ่งของคำบรรยายฟ้องในตอนหลังและมีลักษณะเป็นการอธิบายความหมายด้วยเช่นกัน จึงเห็นได้ว่าข้อความที่โจทก์อ้างว่าเป็นเท็จนั้นพนักงานอัยการมีความประสงค์จะอธิบายความหมายของถ้อยคำพูดของโจทก์เท่านั้น แม้จะใช้ถ้อยคำผิดพลาดคลาดเคลื่อนไปบ้าง กรณีก็ไม่อาจถือได้ว่าพนักงานอัยการยืนยันข้อเท็จจริงดังกล่าว การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานฟ้องเท็จ ไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 200 และจำเลยย่อมไม่มีเจตนาหมิ่นประมาทโจทก์แต่อย่างใด กับไม่มีมูลเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 975/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบรรยายฟ้องที่ไม่เป็นเท็จและการไม่มีเจตนาหมิ่นประมาท ไม่ถือเป็นความผิดฟ้องเท็จหรือหมิ่นประมาท
จำเลยซึ่งเป็นพนักงานอัยการฟ้องโจทก์ในข้อหาดูหมิ่นหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ โดยบรรยายฟ้องเป็นสองตอน คือตอนแรกเป็นข้อความที่อ้างว่าโจทก์เป็นผู้กล่าวซึ่งได้ระบุไว้ในเครื่องหมายอัญประกาศส่วนตอนหลังมีใจความเป็นการแปลหรืออธิบายความหมายของข้อความในตอนแรก ดังนี้ เมื่อพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5) ประกอบด้วยแล้วแสดงว่าข้อความที่พนักงานอัยการระบุไว้ในเครื่องหมายอัญประกาศคือ "ถ้อยคำพูด" ที่พนักงานอัยการต้องกล่าวไว้ในฟ้องตามบทกฎหมายดังกล่าว และข้อความตอนหลังเป็นการอธิบายความหมายเท่านั้นเมื่อข้อความที่โจทก์ฟ้องอ้างว่าจำเลยบรรยายฟ้องอันเป็นความเท็จเป็นส่วนหนึ่งของคำบรรยายฟ้องในตอนหลังและมีลักษณะเป็นการอธิบายความหมายด้วยเช่นกัน จึงเห็นได้ว่าข้อความที่โจทก์อ้างว่าเป็นเท็จนั้นพนักงานอัยการมีความประสงค์จะอธิบายความหมายของถ้อยคำพูดของโจทก์เท่านั้น แม้จะใช้ถ้อยคำผิดพลาดคลาดเคลื่อนไปบ้าง กรณีก็ไม่อาจถือได้ว่าพนักงานอัยการยืนยันข้อเท็จจริงดังกล่าว การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานฟ้องเท็จไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 200และจำเลยย่อมไม่มีเจตนาหมิ่นประมาทโจทก์แต่อย่างใด กับไม่มีมูลเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 975/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องเท็จและหมิ่นประมาทจากคำบรรยายฟ้อง: การตีความถ้อยคำและเจตนาของพนักงานอัยการ
จำเลยซึ่งเป็นพนักงานอัยการฟ้องโจทก์ในข้อหาดูหมิ่นหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ โดยบรรยายฟ้องเป็นสองตอน คือตอนแรกเป็นข้อความที่อ้างว่าโจทก์เป็นผู้กล่าวซึ่งได้ระบุไว้ในเครื่องหมายอัญประกาศ ส่วนตอนหลังมีใจความเป็นการแปลหรืออธิบายความหมายของข้อความในตอนแรก ดังนี้ เมื่อพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5) ประกอบด้วยแล้ว แสดงว่าข้อความที่พนักงานอัยการระบุไว้ในเครื่องหมายอัญประกาศ คือ 'ถ้อยคำพูด' ที่พนักงานอัยการต้องกล่าวไว้ในฟ้องตามบทกฎหมายดังกล่าว และข้อความตอนหลังเป็นการอธิบายความหมายเท่านั้น เมื่อข้อความที่โจทก์ฟ้องอ้างว่าจำเลยบรรยายฟ้องอันเป็นความเท็จเป็นส่วนหนึ่งของคำบรรยายฟ้องในตอนหลังและมีลักษณะเป็นการอธิบายความหมายด้วยเช่นกัน จึงเห็นได้ว่าข้อความที่โจทก์อ้างว่าเป็นเท็จนั้นพนักงานอัยการมีความประสงค์จะอธิบายความหมายของถ้อยคำพูดของโจทก์เท่านั้น แม้จะใช้ถ้อยคำผิดพลาดคลาดเคลื่อนไปบ้าง กรณีก็ไม่อาจถือได้ว่าพนักงานอัยการยืนยันข้อเท็จจริงดังกล่าว การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานฟ้องเท็จ ไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 200 และจำเลยย่อมไม่มีเจตนาหมิ่นประมาทโจทก์แต่อย่างใด กับไม่มีมูลเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ด้วย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3330/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องเท็จในชั้นศาลต้องแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของหลักฐานต่อคดี
ฟ้องว่าแสดงพยานหลักฐานอันเป็นเท็จในการพิจารณาคดีแต่มิได้บรรยายว่าพยานหลักฐานอันเป็นเท็จที่จำเลยแสดงต่อศาลนั้นเป็นข้อสำคัญในคดีอย่างไร อีกทั้งเมื่ออ่านคำฟ้องของโจทก์ทั้งหมดแล้วก็ไม่อาจเข้าใจได้เช่นนั้นคำฟ้องของโจทก์จึงขาดองค์ประกอบความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 180.