คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ฟ้องแพ่ง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 28 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 716/2491 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทุนทรัพย์คดีแพ่ง: การเพิ่มเติมฟ้องค่าเสียหายและการคำนวณค่าธรรมเนียมศาลตาม ป.วิ.แพ่ง
ฟ้องเดิมขอให้บังคับจำเลยเป็นเงินเพียง 2000 บาท และได้เสียค่าขึ้นศาลในจำนวนทุนทรัพย์ดังกล่าวแล้ว ต่อมาแม้โจทก์จะได้ขอเพิ่มเติมฟ้องให้ศาลบังคับจำเลยใช้ค่าเสียหาย ตั้งแต่วันฟ้องจนกว่าคดีจะถึงที่สุด และศาลชั้นต้นอนุญาตตามคำขอก็ดี ดังนี้ ยังไม่ถือว่าทุนทรัพย์แห่งคดีได้เพิ่มขึ้นเพราะมิได้มีการเรียกค่าธรรมเนียมศาลเพิ่มขึ้นตามมาตรา 150 ป.วิ.แพ่ง
การที่จะบังคับให้จำเลยชำระค่าเสียหายอันต่อเนื่อง คำนวนถึงวันฟ้องจึงถึงวันชำระเสร็จตามคำพิพากษานั้น แม้โจทก์จะมิได้ขอมา เมื่อศาลเห็นสมควร ศาลจะพิพากษาให้ก็ได้
คำร้องขอเพิ่มเติมฟ้องในกรณีที่ขอเพิ่มค่าเสียหาย แม้ศาลชั้นต้นสั่งอนุญาตให้เพิ่มเติมฟ้องได้ แต่ศาลอุทธรณ์ไม่อนุญาต จึงต้องฟังว่า คดีฟ้องหากันด้วยทุนทรัพย์ตามฟ้องเดิม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 38/2491 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีแพ่งเท็จไม่เป็นความผิดตามมาตรา 158, 159 อาญา หากไม่มีคำขอให้ลงอาญา
ฟ้องกล่าวโทษหรือฟ้องว่าเกิดการกระทำผิดขึ้นตามความในกฎหมายอาญามาตรา 158, 159 นั้นเป็นเรื่องฟ้องว่ากระทำความผิดในทางอาญา
ฟ้องคดีแพ่ง แม้จะกล่าวว่าเป็นเรื่องยักยอก แม้จะเป็นเท็จก็ไม่มีผิดฐานฟ้องเท็จตาม ม.158, 159.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 926/2487

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องแพ่งไม่จำต้องระบุเวลาทำผิดชัดเจน หากจำเลยเข้าใจข้อหาได้ และศาลสามารถสอบถามเพื่อความชัดเจนได้
ฟ้องคดีแพ่งไม่ต้องระบุเวลาหย่างฟ้องคดีอาญา
ฟ้องระบุวันที่จำเลยเอาทรัพย์หย่าง 1 ไปแล้วระบุว่าต่อจากวันนั้นจำเลยเอาทรัพย์อีกหย่าง 1 ไป ขอไห้คืน จำเลยต่อสู้ว่าโจทขายไห้ดังนี้ สแดงว่าฟ้องของโจทไม่เคลือบคลุมและจำเลยเข้าไจข้อหาของโจท
ไนกรนีที่ฟ้องของโจทไม่เคลือบคลุม แต่สาลจะไห้ประเด็นชัดขึ้นก็สอบถามโจทได้เปนกรนีเข้ามาตรา 183 ไม่ไช่มาตรา 18 และไม่เปนเรื่องแก้ฟ้องกรนีไม่เข้ามาตรา 180

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 438/2479

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฉ้อโกง, การฟ้องแพ่งไม่หยุดอายุความ, อำนาจศาลโปริสภาในการไต่สวนและสั่งคดี
ในคดีความผิดส่วนตัวฐานฉ้อโกง ถ้าโจทก์มิได้ฟ้องคดีภายใน 3 เดือนนับแต่วันรู้เรื่องความผิดแลผู้กระทำผิด มิฉะนั้นคดีขาดอายุความ แลการที่ฟ้องคดีแพ่งหาว่าจำเลยสมคบกันโกงโอนทรัพย์โดยสมยอมนั้น หาทำให้เป็นเหตุอายุความสดุดหยุดลงไม่ ทั้งไม่เรียกว่าเป็นการร้องทุกข์ตามกฎหมาย วิธีพิจารณาอาญา พระธรรมนูญศาลยุตติธรรม +.127 ม.14-15 พ.ร.บ.วิธีพิจารณาความ+โทษฯ ม.6 คดีที่ฟ้องต่อศาลโปริสภาแลศาลโปริสภากระทำการไต่สวนพะยานโจทก์แต่ฝ่ายเดียวโดยวินิจฉียมูลคดีพิเคราะห์ถึงถ้อยคำพะยานว่าจะมีพิรุธตามโจทก์หาหรือไม่ แล้วมีคำสั่งให้ยกข้อหาเสียนั้น หาโปริสภากระทำการพิจารณาคดีไม่ คดีเช่นนี้ตามพระธรรมนูญ ม.14-15 ผู้พิพากษาแต่นายเดียวก็มีอำนาจสั่งได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 377/2475

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับชำระหนี้จากจำเลยที่ไม่มีทรัพย์สิน: สิทธิในการขอให้จำเลยจำแทนและการไม่ตัดสิทธิจากการฟ้องแพ่ง
วิธีพิจารณาอาชญา
ศาลตัดสินให้จำคุกและใช้ทรัพย์แต่ไม่ได้บังคับให้จำแทนเจ้าทรัพย์ขอให้จำแทนได้เมื่อจำเลยไม่มีทรัพย์สินให้ยึด คนนอกสำนวนเป็นเจ้าทุกข์มีอำนาจยื่นคำร้องได้ เสียงใดฟ้องคดีแพ่งเรียกเงินแล้วแต่ได้ไม่พอ ไม่ตัดสิทธิขอให้จำแทนในคดีอาชญา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1059/2475

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หมิ่นประมาท: ฟ้องค่าเสียหายแพ่งได้ แม้ถูกลงโทษอาญาแล้ว
หมิ่นประมาท
วิธีพิจารณาแพ่ง ความรับผิดในทางแพ่งถูกฟ้องคดีอาชญาศาลลงโทษแล้วหาตัดสิทธิฟ้องเรียกค่าสินใหมในทางแพ่งไม่ คู่ความเป็นคนบังคับอังกฤษ ฎีกาได้แต่ในข้อกฎหมาย พ.ร.บ.ฎีกาอุทธรณ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12454/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีแพ่งจากความเสียหายทรัพยากรธรรมชาติ: กำหนดตามอายุความอาญาที่เกี่ยวข้อง
จำเลยถูกเจ้าพนักงานตำรวจจับกุมดำเนินคดีอาญาตาม พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 และ พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484 แม้พนักงานอัยการจะมีคำสั่งไม่ฟ้องจำเลยในความผิดตามพระราชบัญญัติดังกล่าวซึ่งเป็นอำนาจของพนักงานอัยการที่มีความเห็นในการสั่งคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาก็ตาม แต่เป็นกรณีถือได้ว่าไม่มีผู้ใดฟ้องทางอาญาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 51 วรรคหนึ่ง ทั้งคดีนี้โจทก์บรรยายฟ้องว่าการกระทำของจำเลยเป็นการทำลาย ทำให้สูญหายและเสียหายแก่ทรัพยากรธรรมชาติซึ่งเป็นของรัฐที่โจทก์มีหน้าที่ดูแลรักษา ส่งเสริม ทำนุบำรุงป่าและการเกี่ยวกับการป่าไม้ ฯลฯ ทำให้พื้นที่ป่าต้นน้ำลำธารและติดอยู่ในเขตพื้นที่โซนอนุรักษ์ตามมติคณะรัฐมนตรีได้รับความเสียหายทางด้านป่าไม้ คิดเป็นค่าเสียหายให้แก่โจทก์ตาม พ.ร.บ.ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ.2535 ซึ่งเป็นความผิดตามมาตรา 97 และมีโทษทางอาญาตามมาตรา 99 ประกอบมาตรา 43 ถือว่า โจทก์ซึ่งเป็นผู้เสียหายฟ้องทางแพ่งเนื่องจากความผิดทางอาญาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 51 วรรคหนึ่ง จึงต้องใช้อายุความฟ้องคดีอาญาตามมาตรา 99 ดังกล่าวซึ่งมีระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี และมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.อ. มาตรา 95 (3) ประกอบ ป.พ.พ. มาตรา 448 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2069/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องแพ่งไม่ซ้อนคดีอาญา: การรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างจากการบุกรุกที่ดิน แม้คดีอาญาไม่มีคำขอในส่วนแพ่ง
คดีอาญาซึ่งพนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งสองในคดีนี้บุกรุกที่ดินของผู้เสียหายซึ่งเป็นโจทก์คดีนี้ เป็นคดีที่มิใช่คดีใดคดีหนึ่งในคดีความผิด 9 สถาน ซึ่งบัญญัติไว้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 43 ที่ให้พนักงานอัยการเมื่อยื่นฟ้องคดีความผิดนั้นๆ มีอำนาจเรียกทรัพย์สินหรือราคาแทนผู้เสียหายด้วย ดังนั้น แม้พนักงานอัยการในคดีอาญาดังกล่าวมีคำขอให้จำเลยทั้งสองรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกจากที่ดินรวมทั้งให้จำเลยทั้งสองและบริวารออกจากที่ดินโดยโจทก์คดีนี้เข้าร่วมเป็นโจทก์ และศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าจำเลยทั้งสองไม่มีเจตนาบุกรุกอันจะเป็นความผิดตามฟ้อง แล้วพิพากษายกฟ้อง คดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 2 ก็ตาม เมื่อความผิดฐานบุกรุกไม่มีกฎหมายรับรองให้พนักงานอัยการมีคำขอในส่วนแพ่ง แม้โจทก์คดีนี้จะขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ในคดีอาญาดังกล่าว ก็มีผลเฉพาะในส่วนอาญาที่ขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองเท่านั้น ศาลในคดีอาญาไม่อาจพิพากษาบังคับให้จำเลยทั้งสองรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างและออกไปจากที่ดินที่บุกรุก มูลคดีของโจทก์ในคดีนี้เป็นเรื่องทางแพ่งโดยเฉพาะ มิใช่เรื่องเดียวกันกับคดีอาญาในความหมายที่บัญญัติไว้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1) ฟ้องโจทก์ไม่เป็นฟ้องซ้อน โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
of 3