คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ภริยา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 261 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8195/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการจัดการมรดก: ภริยาโดยชอบธรรมมีสิทธิมากกว่าผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์สินร่วม
แม้ผู้คัดค้านและผู้ตายจะมีทรัพย์สินที่ทำมาหาได้ร่วมกันโดยต่างมีส่วนในทรัพย์สินดังกล่าวในฐานะเจ้าของรวม แต่เมื่อผู้ตายถึงแก่ความตายทรัพย์สินเหล่านั้นย่อมตกเป็นของผู้คัดค้านส่วนหนึ่งและตกเป็นมรดกของผู้ตายที่จะต้องเอามาแบ่งให้แก่ทายาทของผู้ตายอีกส่วนหนึ่ง ผู้ร้องซึ่งเป็นภริยาที่ชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย เป็นทายาทมีสิทธิได้รับมรดกของผู้ตายโดยตรงจึงสมควรได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย ผู้คัดค้านเป็นเพียงผู้มีสิทธิเฉพาะในทรัพย์สินที่เป็นของผู้คัดค้านและผู้ตายแต่ไม่มีสิทธิได้รับมรดกของผู้ตายเลย จึงไม่สมควรเป็นผู้จัดการมรดกร่วมด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 445/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้ร่วมในสมรสและการยึดทรัพย์สินส่วนตัว: สิทธิภริยาที่ได้รับการคุ้มครอง
จำเลยที่ 2 สามีของผู้ร้องได้ทำสัญญาค้ำประกันหนี้ของบริษัท บ.แก่โจทก์ โดยผู้ร้องได้ให้ความยินยอมในภายหลังและให้ถือเสมือนหนึ่งว่าเป็นการกระทำของผู้ร้องเอง ถือได้ว่า หนี้ตามสัญญาค้ำประกันที่จำเลยที่ 2 เป็นผู้ก่อขึ้นในระหว่างสมรส ผู้ร้องได้ให้สัตยาบันแล้ว จึงเป็นหนี้ร่วมระหว่างผู้ร้องและจำเลยที่ 2 ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1490 (4) แต่สินส่วนตัวของภริยาไม่ใช่ทรัพย์สินที่เป็นของภริยาซึ่งตามกฎหมายอาจถือได้ว่าเป็นทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาหรือเป็นทรัพย์สินที่อาจบังคับเอาชำระหนี้ตามคำพิพากษาได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา282 วรรคท้าย โจทก์มิได้ฟ้องผู้ร้องเป็นจำเลย ผู้ร้องมิได้เป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาของโจทก์ แม้หนี้ที่จำเลยที่ 2 เป็นหนี้โจทก์จะเป็นหนี้ร่วมระหว่างจำเลยที่ 2 กับผู้ร้อง โจทก์ก็ไม่มีอำนาจยึดสินส่วนตัวของผู้ร้องเพื่อชำระหนี้แก่โจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 445/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในทรัพย์สินส่วนตัวของภริยาเมื่อสามีเป็นผู้ค้ำประกันหนี้ร่วม และการบังคับชำระหนี้จากทรัพย์สินส่วนตัว
หนังสือให้ความยินยอมของผู้ร้องมีข้อความให้คู่สมรสของผู้ร้องคือจำเลยที่2มีอำนาจทำนิติกรรมทุกชนิดเกี่ยวกับการจัดสินสมรสของผู้ร้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1477และผู้ร้องยังให้ความยินยอมแก่จำเลยที่2ให้มีอำนาจทำนิติกรรมทุกชนิดกับธนาคารโจทก์ได้โดยให้ถือเสมือนหนึ่งเป็นการกระทำของผู้ร้องเองเมื่อจำเลยที่2ทำสัญญาค้ำประกันหนี้ของบริษัทบ. แก่โจทก์โดยผู้ร้องได้ให้ความยินยอมในภายหลังถือได้ว่าหนี้ตามสัญญาค้ำประกันที่จำเลยที่2เป็นผู้ก่อขึ้นในระหว่างสมรสผู้ร้องได้ให้สัตยาบันแล้วจึงเป็นหนี้ร่วมระหว่างผู้ร้องและจำเลยที่1ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1490(4)แต่สินส่วนตัวของภริยาไม่ใช่ทรัพย์ที่เป็นของภริยาซึ่งตามกฎหมายอาจถือได้ว่าเป็นทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาหรือเป็นทรัพย์สินที่อาจบังคับเอาชำระหนี้ตามคำพิพากษาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา282วรรคท้ายโจทก์มิได้ฟ้องผู้ร้องเป็นจำเลยผู้ร้องมิได้เป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาของโจทก์แม้หนี้ที่จำเลยที่2เป็นหนี้โจทก์จะเป็นหนี้ร่วมระหว่างจำเลยที่2กับผู้ร้องโจทก์ไม่มีอำนาจยึดที่พิพาทซึ่งเป็นสินส่วนตัวของผู้ร้องเพื่อชำระหนี้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 339/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภริยาร่วมรับผิดในหนี้กู้เงิน หากให้ความยินยอมให้คู่สมรสทำนิติกรรมกับเจ้าหนี้
จำเลยที่3เป็นภริยาของจำเลยที่1ได้ลงลายมือชื่อในหนังสือให้ความยินยอมระบุว่าจำเลยที่3ยินยอมให้จำเลยที่1คู่สมรสของตนทำนิติกรรมทุกอย่างกับโจทก์ได้จึงถือว่าจำเลยที่3ได้ร่วมรับรู้หนี้ที่จำเลยที่1ได้ก่อให้เกิดขึ้นตามสัญญากู้เงินและจำเลยที่3ได้ให้สัตยาบันในหนี้ดังกล่าวหนี้ตามสัญญากู้เงินจึงเป็นหนี้ร่วมระหว่างจำเลยที่1กับจำเลยที่3ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1490(4)จำเลยที่1และจำเลยที่3ต้องรับผิดใช้หนี้ร่วมกันต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7254/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สถานะภริยาโดยชอบด้วยกฎหมาย: การสมรสซ้อนและการคุ้มครองภริยาเดิม
ตามกฎหมายลักษณะผัวเมียอนุญาตให้ชายมีภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายได้หลายคนในเวลาเดียวกัน ทั้งได้จัดลำดับชั้นของภริยาตามวิธีการที่ชายได้หญิงนั้นมาเป็นภริยาออกเป็น 3 ประเภทด้วยกัน ได้แก่เมียกลางเมือง เมียกลางนอกหรืออนุภรรยา และเมียกลางทาษีหรือทาษภรรยา สำหรับเมียกลางเมืองนั้นหมายถึง หญิงอันบิดามารดากุมมือยกให้เป็นภริยาของชายซึ่งถือเป็นภริยาหลวง ส่วนภริยาอีก 2 ประเภท ก็มีฐานะลดหลั่นกันลงมาตามวิธีการที่ชายได้หญิงนั้นมาเป็นภริยาหรือตามลักษณะที่ชายเลี้ยงดูเชิดชูหญิงว่าเป็นภริยา แต่ไม่ว่าจะเป็นภริยาในลำดับชั้นใดก็ตาม ต่างก็ถือว่าเป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายด้วยกันทั้งสิ้น ดังนั้น แม้ข้อเท็จจริงจะไม่ปรากฏชัดแจ้งว่า บิดามารดาของโจทก์จะได้กุมมือยกโจทก์ให้เป็นภริยาของผู้ตาย ก็ยังถือไม่ได้ว่าโจทก์มิได้เป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย
ผู้ตายกับโจทก์ได้อยู่กินกันฉันสามีภริยามาตั้งแต่ปี 2462 ก่อนป.พ.พ. บรรพ 5 เดิม มีผลบังคับใช้ และมีบุตรด้วยกันถึง 6 คน และตามพ.ร.บ.ให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่ง ป.พ.พ.ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ.2519มาตรา 5 บัญญัติไว้ว่า บทบัญญัติบรรพ 5 แห่ง ป.พ.พ.ที่ได้ตรวจชำระใหม่ ท้ายพ.ร.บ.นี้ ไม่กระทบกระเทือนถึงความสมบูรณ์ของการหมั้น การสมรส ฯลฯ ที่ได้มีอยู่แล้วในวันใช้บังคับบทบัญญัติบรรพ 5 แห่ง ป.พ.พ.ที่ได้ตรวจชำระใหม่ ท้ายพ.ร.บ. นี้ เมื่อมีข้อเท็จจริงที่แสดงให้เห็นว่าผู้ตายกับโจทก์อยู่กินเป็นสามีภริยากันโดยเปิดเผย เป็นที่รู้กันทั่วไปและมิได้ทิ้งร้างกันแต่อย่างใด ผู้ตายกับโจทก์จึงยังเป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมายอยู่ตลอดมา ส่วนจำเลยนั้นเพิ่งอยู่กินกับผู้ตายเมื่อปี 2491 ซึ่งเป็นเวลาภายหลังจากที่ ป.พ.พ. บรรพ 5 เดิม ใช้บังคับแล้วแม้จำเลยกับผู้ตายจะมีบุตรด้วยกัน 4 คน แต่เมื่อรับฟังได้ว่าผู้ตายกับโจทก์ยังเป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมายอยู่แล้ว การที่ผู้ตายได้จดทะเบียนสมรสกับจำเลยอีกเช่นนี้ การสมรสระหว่างจำเลยกับผู้ตายจึงเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. บรรพ 5ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2519 มาตรา 1452 และมาตรา 1496 ที่ใช้บังคับในขณะนั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2554/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจจัดการสินสมรส: ที่ดินรับมรดกเป็นสินสมรส สามีมีอำนาจจำหน่ายได้โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากภริยา
โจทก์เป็นภริยา ผ. จดทะเบียนสมรสกันเมื่อปี 2510ผ.จดทะเบียนรับโอนมรดกที่ดินพิพาทเมื่อปี 2513 ที่ดินพิพาทจึงเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์กับ ผ. และเป็นส่วนหนึ่งของสินบริคณห์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1466,1462 วรรคสอง เดิมที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น เมื่อไม่ปรากฏว่ามีสัญญาก่อนสมรสระหว่างโจทก์กับ ผ.ตกลงกันเป็นอย่างอื่นผ.จึงเป็นผู้มีอำนาจจัดการที่ดินพิพาทซึ่งรวมถึงการจำหน่ายที่ดินพิพาทด้วย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1468,1473 วรรคหนึ่ง เดิมแม้ภายหลังจะได้มีการประกาศใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์แล้วบรรพ 5 ที่แก้ไขใหม่ในปี 2519 พระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่พ.ศ. 2519 มาตรา 7 ก็บัญญัติรับรองอำนาจจัดการสินสมรสของ ผ.ดังนั้นผ. เพียงผู้เดียวย่อมมีอำนาจจำหน่ายที่ดินพิพาทได้โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากโจทก์ผู้เป็นภริยา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2554/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจจำหน่ายสินสมรส: สามีมีอำนาจจำหน่ายที่ดินซึ่งเป็นสินบริคณห์ได้โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากภริยา
โจทก์เป็นภริยาผ. จดทะเบียนสมรสกันเมื่อปี2510ผ.จดทะเบียนรับโอนมรดกที่ดินพิพาทเมื่อปี2513ที่ดินพิพาทจึงเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์กับผ. และเป็นส่วนหนึ่งของสินบริคณห์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1466,1462วรรคสองเดิมที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้นเมื่อไม่ปรากฏว่ามีสัญญาก่อนสมรสระหว่างโจทก์กับผ. ตกลงกันเป็นอย่างอื่นผ.จึงเป็นผู้มีอำนาจจัดการที่ดินพิพาทซึ่งรวมถึงการจำหน่ายที่ดินพิพาทด้วยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1468,1473วรรคหนึ่งเดิมแม้ภายหลังจะได้มีการประกาศใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์แล้วบรรพ5ที่แก้ไขใหม่ในปี2519พระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ5แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่พ.ศ.2519มาตรา7ก็บัญญัติรับรองอำนาจจัดการสินสมรสของผ. ดังนั้นผ. เพียงผู้เดียวย่อมมีอำนาจจำหน่ายที่ดินพิพาทได้โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากโจทก์ผู้เป็นภริยา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2554/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจจัดการสินสมรส: สามีมีอำนาจจำหน่ายที่ดินที่เป็นสินสมรสได้โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากภริยา
โจทก์เป็นภริยาผ. จดทะเบียนสมรสกันเมื่อปี2510ผ.จดทะเบียนรับโอนมรดกที่ดินพิพาทเมื่อปี2513ที่ดินพิพาทจึงเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์กับผ. และเป็นส่วนหนึ่งของสินบริคณห์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1466,1462วรรคสองเดิมที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้นเมื่อไม่ปรากฎว่ามีสัญญาก่อนสมรสระหว่างโจทก์กับผ. ตกลงกันเป็นอย่างอื่นผ. จึงเป็นผู้มีอำนาจจัดการที่ดินพิพาทซึ่งรวมถึงการจำหน่ายที่ดินพิพาทด้วยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1468,1473วรรคหนึ่งเดิมแม้ภายหลังจะได้มีการประกาศใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ5ที่แก้ไขใหม่ในปี2519พระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ5แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่พ.ศ.2519มาตรา7ก็บัญญัติรับรองอำนาจจัดการสินสมรสของผ. ดังนั้นผ. เพียงผู้เดียวย่อมมีอำนาจจำหน่ายที่ดินพิพาทได้โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากโจทก์ผู้เป็นภริยา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1094/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกค่าทดแทนจากชู้สาว: ไม่ต้องรอการหย่า
สิทธิเรียกค่าทดแทนจากหญิงอื่นที่แสดงตนโดยเปิดเผยว่าตนมีความสัมพันธ์กับสามีในทำนองชี้สาว ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1523 วรรคสองกฎหมายมิได้มีเงื่อนไขว่าภริยาต้องฟ้องหรือหย่าขาดจากสามีเสียก่อนจึงจะฟ้องได้จึงไม่ต้องอาศัยเหตุหย่าตาม ป.พ.พ. มาตรา 1516 (1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8264/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายอสังหาริมทรัพย์โดยเจ้าของรวม และความยินยอมของภริยา
จำเลยซึ่งเป็นสามีทำสัญญาจะขายที่พิพาทอันเป็นอสังหาริมทรัพย์และการขายต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ จำเลยร่วมผู้เป็นภริยาจึงต้องให้ความยินยอมเป็นหนังสือ โจทก์จะอ้างว่าการนั้นได้รับความยินยอมแล้วโดยไม่มีหลักฐานการให้ความยินยอมเป็นหนังสืออันเป็นการฝ่าฝืนกฎหมายเช่นนี้ย่อมฟังไม่ได้
โจทก์นำสืบเพียงว่าพบจำเลยร่วมหลังจากทำสัญญาในขณะไปรังวัดที่ดิน โดยไม่มีพฤติการณ์อื่นใดที่พอจะฟังว่าจำเลยร่วมได้ให้สัตยาบัน ทั้งการพบครั้งสุดท้ายจำเลยร่วมยังบอกให้จำเลยคืนมัดจำโดยจะไม่มีการขาย ซึ่งจำเลยร่วมก็นำสืบหักล้างว่า ไม่ทราบเรื่องจำเลยทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินกับโจทก์และไม่เคยเห็นโจทก์ไปรังวัดที่พิพาทแต่อย่างใด ดังนี้ ไม่อาจรับฟังได้ว่าจำเลยร่วมให้สัตยาบันแล้ว
จำเลยและจำเลยร่วมร่วมกันครอบครองทำประโยชน์ในที่พิพาทในระหว่างอยู่กินกันตั้งแต่ปี 2500 แต่เพิ่งจดทะเบียนสมรสเมื่อปี 2519 การถือครองที่พิพาทในขณะนั้นจึงเป็นลักษณะเจ้าของรวม ที่พิพาทจึงเป็นสินส่วนตัวของจำเลยและจำเลยร่วมฝ่ายละครึ่งหนึ่ง หาใช่สินสมรสไม่ การที่จำเลยทำสัญญาจะขายที่พิพาทแก่โจทก์โดยไม่ได้รับความยินยอมจากจำเลยร่วมผู้เป็นเจ้าของรวม สัญญาดังกล่าวจึงมีผลสมบูรณ์ผูกพันที่พิพาทเฉพาะส่วนที่เป็นของจำเลย โจทก์ชอบที่จะขอให้บังคับจำเลยจดทะเบียนโอนที่พิพาทส่วนที่เป็นของจำเลยได้
of 27