พบผลลัพธ์ทั้งหมด 44 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3562/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการนำภาษีซื้อมาใช้คำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม แม้ผู้ขายมีผลประกอบการผิดปกติ
บริษัทท. เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มขายผ้าสำเร็จรูปให้โจทก์ในเดือนสิงหาคม 2538 จำนวน 2 ครั้ง และ ในเดือนกันยายน 2538 จำนวน 2 ครั้ง เป็นเงิน 322,509 บาท และบริษัทดังกล่าวได้เบิกเงินจากบัญชีเงินฝากกระแสรายวัน (ธนาคารกสิกรไทย จำกัด) ของหุ้นส่วนผู้จัดการโจทก์ไปแล้วกับยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มต่อจำเลยสำหรับเดือนภาษี สิงหาคมและกันยายน 2538 และได้มีการขายสินค้าและออกใบกำกับ ภาษีของบริษัทดังกล่าวให้โจทก์ประกอบกับบริษัท ท. ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม เป็นผู้ประกอบการที่มีมูลค่าของฐานภาษี (รายรับ) เกิน 600,000 บาท แต่ไม่เกิน 1,200,000 บาทต่อปี มีความประสงค์จะเสียภาษีมูลค่าเพิ่มโดยคำนวณจากภาษี ขายหักด้วยภาษีซื้อในแต่ละเดือนภาษีด้วย ดังนั้น บริษัทดังกล่าว จึงเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนที่มีสิทธิออกใบกำกับภาษีได้ ภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีพิพาทจึงออกโดยผู้มีสิทธิออกใบ กำกับภาษี แม้บริษัทดังกล่าวเป็นผู้ประกอบการขายส่งผ้า ยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ในปี 2537 ถึง 2539 ทุกเดือน แต่ไม่มีภาษีที่ต้องชำระเลย คงมีแต่รายการขอคืนภาษีทุกเดือน เป็นการประกอบกิจการที่ผิดปกติการค้าโดยทั่วไปที่มีรายการ ยอดซื้อมากกว่ายอดขายก็ตามแต่ก็เป็นเรื่องผลประกอบกิจการของ บริษัทอื่น ไม่เกี่ยวกับโจทก์แต่อย่างใด โจทก์จึงมีสิทธินำภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีพิพาทมาใช้ในการคำนวณภาษีตามมาตรา 82/3 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1499/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้ประกอบการที่ไม่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ไม่มีสิทธิออกใบกำกับภาษี และภาษีซื้อที่จ่ายให้ไม่มีสิทธิหัก
ตาม ป. รัษฎากร มาตรา 86 และมาตรา 86/13 ผู้ที่มีสิทธิออกใบกำกับภาษีได้คือ ผู้ประกอบการจดทะเบียนเท่านั้น ส่วนผู้ประกอบการอื่นที่มิได้จดทะเบียน แม้จะประกอบกิจการที่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 77/2 ก็ไม่มีสิทธิออกใบกำกับภาษี และหากผู้ประกอบการซึ่งมิใช่ผู้ประกอบการจดทะเบียนฝ่าฝืนออกใบกำกับภาษี มาตรา 88/1 ก็บัญญัติให้เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มตามจำนวนที่ปรากฏในใบกำกับภาษี พร้อมทั้งเบี้ยปรับและเงินเพิ่มได้
บริษัท พ. ขายสินค้าให้โจทก์มีราคาถึง 4,300,000 บาท การประกอบการของบริษัทดังกล่าวจึงมีมูลค่าของฐานภาษีในการประกอบกิจการเกินมูลค่าของฐานภาษีของกิจการขนาดย่อม ซึ่ง พ.ร.ฎ. ออกตามความใน ป. รัษฎากร ว่าด้วยการกำหนดมูลค่าของฐานภาษีของกิจการขนาดย่อม ซึ่งได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มและมูลค่าของฐานภาษีของกิจการที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 82/12 แห่ง ป. รัษฎากร (ฉบับที่ 237) พ.ศ. 2534 กำหนดไว้ไม่เกิน 600,000 บาท ดังนั้น บริษัท พ. จึงเป็นผู้ประกอบการที่มีหน้าที่ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเพื่อเข้าสู่ระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่ปรากฏว่าบริษัท พ. มิได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม บริษัท พ. จึงไม่มีสิทธิเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มและออกใบกำกับภาษีให้แก่โจทก์ การที่บริษัท พ. เรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากโจทก์เป็นเงิน 301,000 บาท จึงเป็นการกระทำโดยไม่มีอำนาจที่จะกระทำได้ และออกใบกำกับภาษีโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ไม่มีหน้าที่ชำระภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่บริษัท พ.
ตาม ป. รัษฎากร มาตรา 82/4 วรรคท้าย มีความหมายว่าหากเป็นภาษีมูลค่าเพิ่มที่ผู้ประกอบการที่ไม่ได้จดทะเบียนเรียกเก็บแล้ว ย่อมไม่เป็นภาษีซื้อของผู้ประกอบการจดทะเบียนที่เป็นผู้ซื้อสินค้านั้น ดังนั้น แม้โจทก์จะได้ชำระภาษีมูลค่าเพิ่มให้บริษัท พ. ไปแล้วก็ตาม โจทก์ก็ไม่มีสิทธิที่จะนำภาษีซื้อดังกล่าวไปหักออกจากภาษีขายของโจทก์ตามมาตรา 82/3 ได้ ทั้งนี้ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 82/5 เนื่องจากบริษัท พ. ไม่อยู่ในระบบภาษีมูลค่าเพิ่มเช่นเดียวกับโจทก์ แม้โจทก์จะชำระภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่บริษัท พ. ไปโดยสุจริต เนื่องจากเข้าใจว่าบริษัทดังกล่าวมีสิทธิเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มและออกใบกำกับภาษีให้โจทก์ได้โดยชอบก็ตาม แต่เป็นหน้าที่ของโจทก์ที่จะต้องตรวจสอบให้ได้ความแน่ชัดว่าบริษัท พ. ซึ่งเป็นคู่สัญญาของโจทก์มีสิทธิที่จะเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มและออกใบกำกับภาษีให้แก่โจทก์ได้ การที่โจทก์มิได้ตรวจสอบถือเป็นความบกพร่องของโจทก์ส่วนหนึ่ง โจทก์จึงชอบที่จะว่ากล่าวเอากับบริษัท พ. เอง โจทก์จะนำภาษีซื้อดังกล่าวไปหักออกจากภาษีขายของโจทก์ไม่ได้ เมื่อโจทก์นำภาษีซื้อดังกล่าวไปหักออกจากภาษีขาย จึงมีผลเท่ากับโจทก์เสียภาษีไม่ครบถ้วน เจ้าพนักงานประเมินย่อมมีอำนาจประเมินให้โจทก์ชำระภาษีมูลค่าเพิ่มที่ชำระไม่ครบถ้วนดังกล่าว พร้อมเงินเพิ่มได้
บริษัท พ. ขายสินค้าให้โจทก์มีราคาถึง 4,300,000 บาท การประกอบการของบริษัทดังกล่าวจึงมีมูลค่าของฐานภาษีในการประกอบกิจการเกินมูลค่าของฐานภาษีของกิจการขนาดย่อม ซึ่ง พ.ร.ฎ. ออกตามความใน ป. รัษฎากร ว่าด้วยการกำหนดมูลค่าของฐานภาษีของกิจการขนาดย่อม ซึ่งได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มและมูลค่าของฐานภาษีของกิจการที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 82/12 แห่ง ป. รัษฎากร (ฉบับที่ 237) พ.ศ. 2534 กำหนดไว้ไม่เกิน 600,000 บาท ดังนั้น บริษัท พ. จึงเป็นผู้ประกอบการที่มีหน้าที่ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเพื่อเข้าสู่ระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่ปรากฏว่าบริษัท พ. มิได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม บริษัท พ. จึงไม่มีสิทธิเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มและออกใบกำกับภาษีให้แก่โจทก์ การที่บริษัท พ. เรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากโจทก์เป็นเงิน 301,000 บาท จึงเป็นการกระทำโดยไม่มีอำนาจที่จะกระทำได้ และออกใบกำกับภาษีโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ไม่มีหน้าที่ชำระภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่บริษัท พ.
ตาม ป. รัษฎากร มาตรา 82/4 วรรคท้าย มีความหมายว่าหากเป็นภาษีมูลค่าเพิ่มที่ผู้ประกอบการที่ไม่ได้จดทะเบียนเรียกเก็บแล้ว ย่อมไม่เป็นภาษีซื้อของผู้ประกอบการจดทะเบียนที่เป็นผู้ซื้อสินค้านั้น ดังนั้น แม้โจทก์จะได้ชำระภาษีมูลค่าเพิ่มให้บริษัท พ. ไปแล้วก็ตาม โจทก์ก็ไม่มีสิทธิที่จะนำภาษีซื้อดังกล่าวไปหักออกจากภาษีขายของโจทก์ตามมาตรา 82/3 ได้ ทั้งนี้ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 82/5 เนื่องจากบริษัท พ. ไม่อยู่ในระบบภาษีมูลค่าเพิ่มเช่นเดียวกับโจทก์ แม้โจทก์จะชำระภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่บริษัท พ. ไปโดยสุจริต เนื่องจากเข้าใจว่าบริษัทดังกล่าวมีสิทธิเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มและออกใบกำกับภาษีให้โจทก์ได้โดยชอบก็ตาม แต่เป็นหน้าที่ของโจทก์ที่จะต้องตรวจสอบให้ได้ความแน่ชัดว่าบริษัท พ. ซึ่งเป็นคู่สัญญาของโจทก์มีสิทธิที่จะเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มและออกใบกำกับภาษีให้แก่โจทก์ได้ การที่โจทก์มิได้ตรวจสอบถือเป็นความบกพร่องของโจทก์ส่วนหนึ่ง โจทก์จึงชอบที่จะว่ากล่าวเอากับบริษัท พ. เอง โจทก์จะนำภาษีซื้อดังกล่าวไปหักออกจากภาษีขายของโจทก์ไม่ได้ เมื่อโจทก์นำภาษีซื้อดังกล่าวไปหักออกจากภาษีขาย จึงมีผลเท่ากับโจทก์เสียภาษีไม่ครบถ้วน เจ้าพนักงานประเมินย่อมมีอำนาจประเมินให้โจทก์ชำระภาษีมูลค่าเพิ่มที่ชำระไม่ครบถ้วนดังกล่าว พร้อมเงินเพิ่มได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1499/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้ประกอบการที่ไม่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มไม่มีสิทธิออกใบกำกับภาษี และภาษีซื้อจากผู้ออกใบกำกับภาษีที่ไม่ถูกต้องหักลดหย่อนไม่ได้
ประมวลรัษฎากร มาตรา 86 กำหนดให้ผู้ประกอบการจดทะเบียน จัดทำใบกำกับภาษี สำหรับการขายสินค้าหรือการให้บริการ ทุกครั้ง และมาตรา 86/13 ระบุห้ามมิให้บุคคลซึ่งมิใช่ ผู้ประกอบการจดทะเบียน ออกใบกำกับภาษี ดังนั้น ผู้ที่มีสิทธิ ออกใบกำกับภาษีได้คือผู้ประกอบการจดทะเบียนเท่านั้น ส่วนผู้ประกอบการอื่นที่มิได้จดทะเบียน แม้จะประกอบกิจการที่อยู่ในบังคับ ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 77/2 แห่งประมวลรัษฎากร ก็ไม่มีสิทธิออกใบกำกับภาษี หากผู้ประกอบการซึ่งมิใช่ผู้ประกอบการ การจดทะเบียนฝ่าฝืนออกใบกำกับภาษี มาตรา 88/1 ให้เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มตามจำนวนที่ปรากฏ ในใบกำกับภาษี พร้อมทั้งเบี้ยปรับและเงินเพิ่มได้ เมื่อบริษัท พ. ขายสินค้าให้โจทก์มีราคาถึง 4,300,000 บาท การประกอบการของบริษัทดังกล่าวจึงมีมูลค่าของฐานภาษีในการประกอบกิจการเกินมูลค่าของฐานภาษีของกิจการขนาดย่อม ซึ่ง พระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการกำหนดมูลค่าของฐานภาษีของกิจการขนาดย่อมซึ่งได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม และมูลค่าของฐานภาษีของกิจการที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 82/12 แห่งประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 237) พ.ศ. 2534 กำหนดไว้ไม่เกิน 600,000 บาท ดังนั้น บริษัทพ. จึงเป็นผู้ประกอบการที่มีหน้าที่ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเพื่อเข้าสู่ระบบภาษีมูลค่าเพิ่มแต่บริษัทพ. มิได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม บริษัทดังกล่าวจึงไม่มีสิทธิเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มและออกใบกำกับภาษีให้แก่โจทก์ การที่บริษัทพ. เรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากโจทก์เป็นเงิน301,000 บาท จึงเป็นการกระทำโดยไม่มีอำนาจที่จะกระทำได้ และออกใบกำกับภาษีโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ไม่มีหน้าที่ชำระ ภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่บริษัทพ.และถึงแม้ว่าโจทก์จะได้ชำระภาษีมูลค่าเพิ่มให้บริษัทพ.ไปแล้วก็ตาม โจทก์ก็ไม่มีสิทธิที่จะนำภาษีซื้อดังกล่าวไปหักออกจากภาษีขายของโจทก์ตามมาตรา 82/3 ได้เนื่องจากบริษัทพ.ไม่อยู่ในระบบภาษีมูลค่าเพิ่มเช่นเดียวกับโจทก์ แม้โจทก์จะชำระภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่บริษัทพ.ไปโดยสุจริตเนื่องจากเข้าใจว่าบริษัทดังกล่าวมีสิทธิเรียกเก็บ ภาษีมูลค่าเพิ่มและออกใบกำกับภาษีให้โจทก์โดยชอบก็เป็น ความบกพร่องของโจทก์ส่วนหนึ่ง โจทก์จึงชอบที่จะว่ากล่าว เอากับบริษัทพ. เอง โจทก์จะนำภาษีซื้อดังกล่าวไปหักออกจากภาษีขายจึงมีผลเท่ากับโจทก์เสียภาษีไม่ครบถ้วนเจ้าพนักงานประเมินย่อมมีอำนาจประเมินให้โจทก์ชำระภาษีมูลค่าเพิ่มที่ชำระไม่ครบถ้วนพร้อมเงินได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 962/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแยกยื่นภาษีของสำนักงานสาขา และการหักภาษีซื้อข้ามสถานประกอบการ
โจทก์มีสำนักงานสาขาแยกต่างหากจากสำนักงานใหญ่ ถือว่าโจทก์มีสถานประกอบการหลายแห่ง โจทก์จึงมีหน้าที่ต้องแยกยื่นแบบแสดงรายการภาษีและชำระภาษีเป็นรายสถานประกอบการ การที่โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการภาษีและชำระภาษีของสำนักงานใหญ่และสำนักงานสาขารวมกันโดยไม่ได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากร จึงเป็นการฝ่าฝืน ป.รัษฎากร มาตรา 83 วรรคสี่ เมื่อโจทก์ได้รับใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.20) เฉพาะของสำนักงานใหญ่ แบบแสดงรายการภาษีที่ยื่นจึงเป็นแบบแสดงรายการภาษีเฉพาะของสำนักงานใหญ่ การที่โจทก์นำภาษีซื้อของสำนักงานสาขามาหักในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มของสำนักงานใหญ่โดยไม่ได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากรจึงไม่ชอบ
แม้คำฟ้องโจทก์จะบรรยายว่า การที่อธิบดีกรมสรรพากรไม่อนุมัติให้โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการภาษีและชำระภาษีรวมกันไม่ชอบ แต่โจทก์ก็มิได้มีคำขอท้ายฟ้องให้เพิกถอนคำสั่งไม่อนุมัติดังกล่าว คำสั่งไม่อนุมัติดังกล่าวจะชอบหรือไม่ จึงไม่เป็นประเด็นในคดีนี้ แม้ศาลภาษีอากรกลางจะรับวินิจฉัยปัญหาดังกล่าวให้ก็เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น ถือเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลภาษีอากรกลาง ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 29 ประกอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 225 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
ตามหนังสือแจ้งการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่ม เจ้าพนักงานประเมินอาศัยอำนาจตามมาตรา 88 (2) แห่ง ป.รัษฎากร ประเมินภาษีโจทก์ ดังนั้นเจ้าพนักงานประเมินจะมีอำนาจประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 88 (1) แห่งป.รัษฎากรหรือไม่ จึงไม่เป็นประเด็นในคดีนี้ อุทธรณ์ของโจทก์ในข้อนี้จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลภาษีอากรกลางตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 29 ประกอบด้วยป.วิ.พ.มาตรา 225 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
แม้คำฟ้องโจทก์จะบรรยายว่า การที่อธิบดีกรมสรรพากรไม่อนุมัติให้โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการภาษีและชำระภาษีรวมกันไม่ชอบ แต่โจทก์ก็มิได้มีคำขอท้ายฟ้องให้เพิกถอนคำสั่งไม่อนุมัติดังกล่าว คำสั่งไม่อนุมัติดังกล่าวจะชอบหรือไม่ จึงไม่เป็นประเด็นในคดีนี้ แม้ศาลภาษีอากรกลางจะรับวินิจฉัยปัญหาดังกล่าวให้ก็เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น ถือเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลภาษีอากรกลาง ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 29 ประกอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 225 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
ตามหนังสือแจ้งการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่ม เจ้าพนักงานประเมินอาศัยอำนาจตามมาตรา 88 (2) แห่ง ป.รัษฎากร ประเมินภาษีโจทก์ ดังนั้นเจ้าพนักงานประเมินจะมีอำนาจประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 88 (1) แห่งป.รัษฎากรหรือไม่ จึงไม่เป็นประเด็นในคดีนี้ อุทธรณ์ของโจทก์ในข้อนี้จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลภาษีอากรกลางตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 29 ประกอบด้วยป.วิ.พ.มาตรา 225 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2959/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักภาษีซื้อ: หลักเกณฑ์ใบกำกับภาษีถูกต้องตามกฎหมาย แม้มีข้อผิดพลาดเล็กน้อย
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 3 ถึงที่ 5 มิได้ตรวจสอบพิจารณาใบกำกับภาษีของโจทก์ให้ครบถ้วนตามความจริง โดยตรวจสอบเพียงบางส่วน หากพิจารณาใบกำกับภาษีของโจทก์แล้วจะเห็นได้ว่าการยื่นแบบรายการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มของโจทก์ถูกต้อง โจทก์หาจำต้องระบุรายละเอียดว่ามีใบกำกับภาษีฉบับใดบ้างที่ไม่ได้หยิบยกขึ้นมาพิจารณา เพราะเป็นเรื่องที่โจทก์สามารถนำสืบในชั้นพิจารณาได้ ทั้งปรากฏว่าใบกำกับภาษีดังกล่าวก็อยู่ในครอบครองของจำเลยทั้งห้า ซึ่งจำเลยทั้งห้าตรวจสอบได้เองอยู่แล้ว ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
ระเบียบของอธิบดีกรมสรรพากรจำเลยที่ 1 ที่กำหนดหลักเกณฑ์การยกเลิกใบกำกับภาษีฉบับเดิมแล้วออกฉบับใหม่ เป็นเพียงระเบียบภายใน ย่อมไม่มีผลผูกพันโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกให้ต้องถือปฏิบัติตาม ทั้งใบกำกับภาษีพิพาทก็ได้ระบุไว้แล้วว่าออกแทนฉบับเดิม ย่อมมีความหมายอยู่ในตัวว่าเป็นการยกเลิกใบกำกับภาษีฉบับเดิมนั่นเอง ใบกำกับภาษีบางฉบับแม้มีข้อความไม่ครบถ้วนตามที่อธิบดีกรมสรรพากรได้วางหลักเกณฑ์ไว้ตามหนังสือดังกล่าว แต่ข้อความที่ปรากฏในช่องหมายเหตุในใบกำกับภาษีข้างต้นก็คงมีความหมายให้เข้าใจว่าเป็นการยกเลิกใบกำกับภาษีฉบับเดิมเช่นกันส่วนใบกำกับภาษีที่ไม่ได้นำค่าขนส่งรวมเข้ากับมูลค่าของสินค้าเพื่อนำมาคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม ใบกำกับภาษีฉบับดังกล่าว ได้มีการแยกมูลค่าของสินค้าและค่าขนส่งออกจากกันอย่างชัดแจ้ง และได้ระบุเฉพาะจำนวนภาษีมูลค่าเพิ่มของสินค้าที่โจทก์จะขอเครดิตภาษีเท่านั้น ซึ่งรายการต่าง ๆ ที่ระบุไว้ในใบกำกับภาษีฉบับดังกล่าวมีข้อความครบถ้วนตามที่มาตรา 86/4 แห่ง ป.รัษฎากรได้บัญญัติไว้ กรณีเช่นนี้ไม่ทำให้ใบกำกับภาษีข้างต้นมีข้อความไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์ในส่วนที่เป็นสาระสำคัญ ตามมาตรา 82/5 (2) เมื่อปรากฏว่าใบกำกับภาษีดังกล่าวทั้งหมดมีรายการครบถ้วนตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 86/4 ภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีดังกล่าวจึงไม่ต้องห้ามมิให้นำมาหักในการคำนวณภาษีตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 82/5 โจทก์จึงนำภาษีซื้อมาหักในการคำนวณภาษีตาม มาตรา 82/3 ได้
ใบกำกับภาษีซึ่งระบุที่อยู่ของโจทก์ไม่ถูกต้องนั้น มีข้อผิดพลาดเฉพาะตัวเลขที่บ้านที่อยู่ด้านหน้าเท่านั้น ส่วนข้อความอื่นตรงกันทั้งหมด ข้อผิดพลาดดังกล่าวเป็นเรื่องเล็กน้อย ภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีดังกล่าวจึงไม่ต้องห้ามมิให้นำมาหักในการคำนวณภาษีตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 82/5 โจทก์จึงนำภาษีซื้อมาหักในการคำนวณภาษีได้ตามมาตรา 82/3
ระเบียบของอธิบดีกรมสรรพากรจำเลยที่ 1 ที่กำหนดหลักเกณฑ์การยกเลิกใบกำกับภาษีฉบับเดิมแล้วออกฉบับใหม่ เป็นเพียงระเบียบภายใน ย่อมไม่มีผลผูกพันโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกให้ต้องถือปฏิบัติตาม ทั้งใบกำกับภาษีพิพาทก็ได้ระบุไว้แล้วว่าออกแทนฉบับเดิม ย่อมมีความหมายอยู่ในตัวว่าเป็นการยกเลิกใบกำกับภาษีฉบับเดิมนั่นเอง ใบกำกับภาษีบางฉบับแม้มีข้อความไม่ครบถ้วนตามที่อธิบดีกรมสรรพากรได้วางหลักเกณฑ์ไว้ตามหนังสือดังกล่าว แต่ข้อความที่ปรากฏในช่องหมายเหตุในใบกำกับภาษีข้างต้นก็คงมีความหมายให้เข้าใจว่าเป็นการยกเลิกใบกำกับภาษีฉบับเดิมเช่นกันส่วนใบกำกับภาษีที่ไม่ได้นำค่าขนส่งรวมเข้ากับมูลค่าของสินค้าเพื่อนำมาคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม ใบกำกับภาษีฉบับดังกล่าว ได้มีการแยกมูลค่าของสินค้าและค่าขนส่งออกจากกันอย่างชัดแจ้ง และได้ระบุเฉพาะจำนวนภาษีมูลค่าเพิ่มของสินค้าที่โจทก์จะขอเครดิตภาษีเท่านั้น ซึ่งรายการต่าง ๆ ที่ระบุไว้ในใบกำกับภาษีฉบับดังกล่าวมีข้อความครบถ้วนตามที่มาตรา 86/4 แห่ง ป.รัษฎากรได้บัญญัติไว้ กรณีเช่นนี้ไม่ทำให้ใบกำกับภาษีข้างต้นมีข้อความไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์ในส่วนที่เป็นสาระสำคัญ ตามมาตรา 82/5 (2) เมื่อปรากฏว่าใบกำกับภาษีดังกล่าวทั้งหมดมีรายการครบถ้วนตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 86/4 ภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีดังกล่าวจึงไม่ต้องห้ามมิให้นำมาหักในการคำนวณภาษีตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 82/5 โจทก์จึงนำภาษีซื้อมาหักในการคำนวณภาษีตาม มาตรา 82/3 ได้
ใบกำกับภาษีซึ่งระบุที่อยู่ของโจทก์ไม่ถูกต้องนั้น มีข้อผิดพลาดเฉพาะตัวเลขที่บ้านที่อยู่ด้านหน้าเท่านั้น ส่วนข้อความอื่นตรงกันทั้งหมด ข้อผิดพลาดดังกล่าวเป็นเรื่องเล็กน้อย ภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีดังกล่าวจึงไม่ต้องห้ามมิให้นำมาหักในการคำนวณภาษีตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 82/5 โจทก์จึงนำภาษีซื้อมาหักในการคำนวณภาษีได้ตามมาตรา 82/3
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2959/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การวินิจฉัยความถูกต้องของใบกำกับภาษี และขอบเขตการนำภาษีซื้อมาหักลดหย่อนตามประมวลรัษฎากร
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 3 ถึงที 5 มิได้ตรวจสอบพิจารณาใบกำกับภาษีของโจทก์ให้ครบถ้วนตามความจริง โดยตรวจสอบ เพียงบางส่วน หากพิจารณาใบกำกับภาษีของโจทก์แล้วจะเห็นได้ว่า การยื่นแบบรายการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มของโจทก์ถูกต้อง โจทก์ หาจำต้องระบุรายละเอียดว่ามีใบกำกับภาษีฉบับใดบ้างที่ไม่ได้ หยิบยกขึ้นมาพิจารณา เพราะเป็นเรื่องที่โจทก์สามารถนำสืบ ในชั้นพิจารณาได้ ทั้งปรากฏว่าใบกำกับภาษีดังกล่าวก็อยู่ในครอบครองของจำเลยทั้งห้า ซึ่งจำเลยทั้งห้าตรวจสอบได้เองอยู่แล้ว ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม ระเบียบของอธิบดีกรมสรรพากรจำเลยที่ 1 ที่กำหนดหลักเกณฑ์การยกเลิกใบกำกับภาษีฉบับเดิมแล้วออกฉบับใหม่เป็นเพียงระเบียบภายใน ย่อมไม่มีผลผูกพันโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกให้ต้องถือปฏิบัติตาม ทั้งใบกำกับภาษีพิพาท ก็ได้ระบุไว้แล้วว่าออกแทนฉบับเดิม ย่อมมีความหมายอยู่ ในตัวว่าเป็นการยกเลิกใบกำกับภาษีฉบับเดิมนั่นเอง ใบกำกับภาษีบางฉบับแม้มีข้อความไม่ครบถ้วนตามที่อธิบดีกรมสรรพากรได้วางหลักเกณฑ์ไว้ตามหนังสือดังกล่าว แต่ข้อความที่ปรากฏใน ช่องหมายเหตุในใบกำกับภาษีข้างต้นก็คงมีความหมายให้เข้าใจว่าเป็นการยกเลิกใบกำกับภาษีฉบับเดิมเช่นกันส่วนใบกำกับภาษีที่ไม่ได้นำค่าขนส่งรวมเข้ากับมูลค่าของสินค้าเพื่อนำมาคำนวณ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ใบกำกับภาษีฉบับดังกล่าว ได้มีการแยกมูลค่า ของสินค้าและค่าขนส่งออกจากกันอย่างชัดแจ้ง และได้ระบุ เฉพาะจำนวนภาษีมูลค่าเพิ่มของสินค้าที่โจทก์จะขอเครดิตภาษี เท่านั้น ซึ่งรายการต่าง ๆ ที่ระบุไว้ในใบกำกับภาษีฉบับดังกล่าวมีข้อความครบถ้วนตามที่มาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากรได้บัญญัติไว้ กรณีเช่นนี้ไม่ทำให้ใบกำกับภาษีข้างต้นมีข้อความไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์ในส่วนที่เป็นสาระสำคัญตามมาตรา 82/5(2) เมื่อปรากฏว่าใบกำกับภาษีดังกล่าวทั้งหมดมีรายการครบถ้วนตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 86/4 ภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีดังกล่าวจึงไม่ต้องห้ามมิให้นำมาหักในการคำนวณภาษีตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 82/5 โจทก์จึงนำภาษีซื้อมาหักในการคำนวณภาษีตาม มาตรา 82/3 ได้ ใบกำกับภาษีซึ่งระบุที่อยู่ของโจทก์ไม่ถูกต้องนั้นมีข้อผิดพลาดเฉพาะตัวเลขที่บ้านที่อยู่ด้านหน้าเท่านั้นส่วนข้อความอื่นตรงกันทั้งหมด ข้อผิดพลาดดังกล่าวเป็นเรื่องเล็กน้อย ภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีดังกล่าวจึงไม่ต้องห้ามมิให้นำมาหักในการคำนวณภาษีตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 82/5 โจทก์จึงนำภาษีซื้อมาหักในการคำนวณภาษีได้ตามมาตรา 82/3
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1116/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาระการพิสูจน์ความถูกต้องของใบกำกับภาษีซื้อ และผลของการใช้ใบกำกับภาษีที่ไม่ถูกต้อง
คดีนี้โจทก์เป็นผู้ได้รับประโยชน์ในการนำใบกำกับภาษีซื้อไปใช้เครดิตภาษี ภาระการพิสูจน์ว่าใบกำกับภาษีซื้อออกโดยถูกต้องแท้จริงและชอบด้วยกฎหมาย จึงตกอยู่แก่โจทก์
ร้าน ก.และบริษัท ท.ออกใบกำกับภาษีซื้อให้แก่โจทก์ โดยไม่มีการขายสินค้า จึงถือว่าใบกำกับภาษีดังกล่าวเป็นใบกำกับภาษีที่ออกโดยไม่ถูกต้องโจทก์จึงไม่อาจนำภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีนั้น มาหักในการคำนวณภาษีตามมาตรา82/5 (5) เมื่อโจทก์นำใบกำกับภาษีดังกล่าวมาใช้ จึงต้องเสียเบี้ยปรับอีกสองเท่าของจำนวนภาษีตามใบกำกับภาษี ดังที่กำหนดไว้ในมาตรา 89 (7) และเงินเพิ่มตามมาตรา 89/1 แห่ง ป.รัษฎากร
ร้าน ก.และบริษัท ท.ออกใบกำกับภาษีซื้อให้แก่โจทก์ โดยไม่มีการขายสินค้า จึงถือว่าใบกำกับภาษีดังกล่าวเป็นใบกำกับภาษีที่ออกโดยไม่ถูกต้องโจทก์จึงไม่อาจนำภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีนั้น มาหักในการคำนวณภาษีตามมาตรา82/5 (5) เมื่อโจทก์นำใบกำกับภาษีดังกล่าวมาใช้ จึงต้องเสียเบี้ยปรับอีกสองเท่าของจำนวนภาษีตามใบกำกับภาษี ดังที่กำหนดไว้ในมาตรา 89 (7) และเงินเพิ่มตามมาตรา 89/1 แห่ง ป.รัษฎากร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2004/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยื่นแบบแสดงรายการภาษีซื้อผิดพลาดและการลดเบี้ยปรับกรณีความผิดพลาดนั้นไม่ก่อให้เกิดความเสียหาย
ในเดือนกรกฎาคม 2535 โจทก์มียอดซื้อเพียง 19,562.69 บาทและมีภาษีซื้อ 1,369.38 บาท โดยยอดซื้อดังกล่าวมียอดซื้อที่เกี่ยวกับกิจการของโจทก์เพียง 2,144.87 บาท ขอภาษีคืนตามกฎหมายได้เพียง 150.13 บาท แต่โจทก์ได้ยื่นแบบ ภ.พ.30 แสดงรายการภาษีไว้ผิดพลาดไม่ถูกต้อง โดยแสดงตัวเลขยอดซื้อไว้เป็น 19,562,069 บาท ยอดภาษีซื้อ 1,369,344.83 บาท ภาษีขายไม่มี และขอภาษีคืนเป็นจำนวนเงิน 1,369,344.83 บาท ดังนั้น การยื่นแบบแสดงรายการของโจทก์จึงเป็นเหตุให้จำนวนภาษีซื้อในเดือนภาษีที่แสดงไว้คลาดเคลื่อนไป โจทก์จึงต้องเสียเบี้ยปรับอีกหนึ่งเท่าของจำนวนภาษีซื้อที่แสดงไว้เกินตาม ป.รัษฎากร มาตรา89 (4) แม้จะเป็นการกระทำไปโดยมีเจตนาหรือไม่ โจทก์ก็ยังคงต้องรับผิดตามบทบัญญัติดังกล่าว แต่เมื่อโจทก์ตรวจพบข้อผิดพลาดแล้วโจทก์ได้ทำหนังสือแจ้งให้เจ้าหน้าที่ของจำเลยที่เกี่ยวข้องทราบ และได้ให้ความร่วมมือกับจำเลยด้วยดี ทั้งข้อผิดพลาดของโจทก์ก็ยังมิได้ก่อให้เกิดความเสียหายแก่จำเลย จึงสมควรลดเบี้ยปรับให้โจทก์ลงอีกร้อยละ 25
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9880/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำกัดจำนวนหนี้ในสัญญาจำนำหุ้น และการหักภาษีซื้อที่มิใช่รายจ่ายเพื่อหากำไร
ป.รัษฎากร มาตรา 104 บัญญัติว่า "ตราสารที่ระบุไว้ในบัญชีท้ายหมวดนี้ต้องปิดแสตมป์บริบูรณ์ ตามอัตราที่กำหนดไว้ในบัญชีนั้น" ซึ่งตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ ข้อ 18 ได้บัญญัติลักษณะแห่งตราสารจำนำ ต้องเสียค่าอากรแสตมป์ 1 บาท ต่อจำนวนหนี้ทุก 2,000 บาท หรือเศษของ 2,000 บาท ถ้าการจำนำมิได้จำกัดจำนวนหนี้ไว้ ต้องเสียค่าอากรแสตมป์ 1 บาท เมื่อตามสัญญาจำนำ ฉบับลงวันที่ 29 สิงหาคม 2545 ระบุว่า "ผู้จำนำเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในหุ้นสามัญจำนวนหนึ่งอันเป็นหุ้นทุนซึ่งออกโดยบริษัท อ.ตามที่ปรากฏในเอกสารแนบท้าย 1 ของสัญญานี้ และผู้จำนำตกลงจะจำนำหุ้นกับผู้รับจำนำเพื่อเป็นหลักประกันการชำระเงินทั้งปวงไม่ว่าจะเป็นต้นเงิน ดอกเบี้ย ค่าธรรมเนียม ดอกเบี้ยผิดนัด ค่าปรับ ค่าเสียหาย การใช้เงินคืน หรือเงินอื่นใด ("หนี้สิน") ที่บริษัท อ. ต้องชำระหรือจะต้องชำระให้กับผู้รับจำนำภายใต้สัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้..." แสดงให้เห็นถึงเจตนาของคู่สัญญาที่ประสงค์จะจำนำประกันหนี้ของบริษัท อ. เฉพาะหนี้ที่ระบุไว้ตามสัญญาปรับโครงสร้างหนี้ที่บริษัท อ. จะต้องชำระให้แก่โจทก์ จึงถือไม่ได้ว่าการจำนำรายนี้มิได้จำกัดจำนวนหนี้ไว้ซึ่งกำหนดให้เสียค่าอากรแสตมป์เพียง 1 บาท ดังที่โจทก์อ้าง ฉะนั้น โจทก์ในฐานะผู้รับจำนำจึงต้องรับผิดชำระค่าอากรแสตมป์ 1 บาท ต่อจำนวนหนี้ทุก 2,000 บาท หรือเศษของ 2,000 บาท ของจำนวนหนี้ตามสัญญาปรับโครงสร้างหนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 963/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับกิจการขนส่งระหว่างประเทศ: การจำกัดสิทธิในการหักภาษีซื้อ
การประกอบกิจการให้บริการขนส่งระหว่างประเทศโดยเรือเดินทะเลที่กระทำโดยผู้ประกอบการที่เป็นนิติบุคคลที่จะอยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มนั้น หมายถึงกิจการขนส่งที่บางส่วนได้ทำหรือได้ใช้บริการนั้นในราชอาณาจักรตาม ป.รัษฎากร มาตรา 77/2 วรรคสองและวรรคสาม กิจการของโจทก์ในส่วนที่เป็นการขนส่งสินค้าจากในราชอาณาจักรออกไปนอกราชอาณาจักร และในส่วนที่เป็นการขนส่งสินค้าจากนอกราชอาณาจักรเข้ามาในราชอาณาจักร ถือว่าเป็นกิจการที่บางส่วนได้ทำหรือได้ใช้บริการนั้นในราชอาณาจักรจึงอยู่ในบังคับที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่สำหรับกิจการของโจทก์ในส่วนที่เป็นการขนส่งสินค้าจากนอกราชอาณาจักรแห่งหนึ่งไปยังนอกราชอาณาจักรอีกแห่งหนึ่งมีลักษณะเป็นการรับขนสินค้านอกราชอาณาจักรทั้งสิ้น ถือว่าเป็นกิจการที่ไม่มีส่วนใดได้ทำหรือได้ใช้บริการนั้นในราชอาณาจักร จึงไม่อยู่ในบังคับที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 77/2 ภาษีซื้อที่เกี่ยวกับกิจการในส่วนนี้ย่อมไม่อาจนำมาหักในการคำนวณภาษีได้ ดังนั้น แม้ในเดือนภาษีพิพาทโจทก์ผู้ประกอบการจดทะเบียนถูกผู้ประกอบการจดทะเบียนอื่นเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มก็ตาม เมื่อไม่ปรากฏว่าภาษีซื้อดังกล่าวเกี่ยวข้องโดยตรงกับกิจการขนส่งสินค้าจากในราชอาณาจักร ออกไปนอกราชอาณาจักร หรือจากนอกราชอาณาจักรเข้ามาในราชอาณาจักรที่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม โจทก์จึงไม่อาจนำภาษีมูลค่าเพิ่มที่ถูกเรียกเก็บดังกล่าวมาหักในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มได้ เนื่องจากเป็นภาษีซื้อที่ไม่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการประกอบกิจการตาม ป.รัษฎากร มาตรา 82/5 (3)