พบผลลัพธ์ทั้งหมด 66 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3990/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีสรรพสามิตกรณีสินค้าผลิตในราชอาณาจักร และฐานภาษีตามราคาขาย ณ โรงอุตสาหกรรม
ฟ้องอุทธรณ์ของโจทก์ทั้งหมดเมื่ออ่านรวมกันแล้วก็คือโจทก์ประสงค์จะอุทธรณ์ว่าการประเมินภาษีสรรพสามิต ของเจ้าพนักงานสรรพสามิตไม่ชอบนั่นเอง ประเด็นในชั้นอุทธรณ์จึงมีว่าการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ชอบหรือไม่ในการพิจารณาปัญหานี้จำเป็นที่ศาลจะต้องพิจารณาถึงตัวบทกฎหมายในเรื่องการเสียภาษีสรรพสามิตว่ามีอยู่อย่างไร คำวินิจฉัยของศาลภาษีอากรที่พิจารณาพิพากษาถึงภาษีสรรพสามิตจึงเป็นเรื่องอยู่ในประเด็น หาใช่เป็นการพิจารณาพิพากษานอกประเด็นไม่ คำสั่งกรมสรรพสามิตที่ 41/2535 เป็นคำสั่งที่อธิบดีกรมสรรพสามิตออกเพื่อตีความว่า สิ่งใดบ้างเป็นเครื่องปรับอากาศตามพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิตที่ 03.01 ในกรณีที่มีผู้นำของเข้ามา ซึ่งจะต้องเสียภาษีสรรพสามิตในขณะนำเข้าโดยกฎหมายถือว่าความรับผิดในอันจะต้องเสียภาษีสรรพสามิตนั้นเกิดขึ้นในเวลาเดียวกับความรับผิดในอันจะต้องเสียภาษีศุลกากรสำหรับของที่นำเข้าตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร ส่วนฐาน ในการคำนวณภาษีคือ มูลค่าที่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีจะต้องเสียภาษีนั้น ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่พระราชบัญญัติสรรพสามิต พ.ศ. 2527 มาตรา 7 มาตรา 8 บัญญัติไว้ กล่าวโดยสรุปมาตรา 7 เป็นการวางหลักว่าผู้มีหน้าที่เสียภาษีมีหน้าที่เสียภาษีตามมูลค่าหรือปริมาณของสินค้าหรือบริการนั้นตามอัตราที่ระบุไว้ในกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิตที่ใช้อยู่ในเวลาที่ความรับผิดในอันจะต้องเสียภาษีเกิดขึ้นส่วนมาตรา 8 เป็นการกำหนดหลักเกณฑ์การคำนวณภาษี หรือวิธีการ หาฐานภาษีนั่นเอง โดยแยกออกเป็นกรณี ๆ ไป ได้แก่กรณีสินค้า ที่ผลิตในราชอาณาจักร กรณีสินค้านำเข้า และกรณีบริการ กรณีของโจทก์โจทก์สั่งชิ้นส่วนของเครื่องปรับอากาศเข้ามา แล้วโจทก์จึงมาสั่งคอมเพรสเซอร์มาประกอบเข้ากับชิ้นส่วน ที่นำเข้า ขายเป็นเครื่องปรับอากาศรถยนต์ให้แก่บุคคลภายนอก อีกต่อหนึ่ง ถือเป็นกรณีสินค้าผลิตในราชอาณาจักรตามความหมายของคำว่าผลิต ที่ระบุไว้ ในมาตรา 4 ของพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 การคำนวณค่าภาษีต้องเป็นไปตามมาตรา 8(1) คือ ถือตามราคาขาย ณ โรงอุตสาหกรรม ซึ่งโจทก์รับอยู่แล้วว่า ต้องมีชิ้นส่วนต่าง ๆ นอกเหนือจากที่สั่งเข้ามา จึงจะประกอบ เป็นเครื่องปรับอากาศได้ เพราะฉะนั้นราคาของเครื่องปรับอากาศแต่ละเครื่องที่โจทก์ขายจึงต้องมีราคาทุนเพิ่มขึ้นจากเดิมราคาขายจึงต้องสูงขึ้น เมื่อโจทก์เสียภาษีไว้ไม่ถูกต้องเจ้าพนักงานตรวจสอบพบก็มีอำนาจประเมินใหม่ให้ถูกต้องได้โจทก์จะอ้างว่าได้เสียภาษีสรรพสามิตไปแล้วตอนนำเข้าตามคำสั่งที่ 41/2535 จึงไม่ต้องเสียอีกไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4377/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานภาษีสรรพสามิต: การนำรถยนต์ออกจากโรงอุตสาหกรรมโดยมิได้เสียภาษี และมีไว้เพื่อขาย
พ.ร.บ.ภาษีสรรพสามิต พ.ศ.2527 มาตรา 20 บัญญัติให้ผู้ประกอบอุตสาหกรรมใดมีสินค้าอยู่ในโรงอุตสาหกรรมในวันที่กฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิตใช้บังคับแก่สินค้านั้น ให้ผู้ประกอบอุตสาหกรรมนั้นยื่นแบบรายการแสดงชนิดและปริมาณของสินค้านั้นตามแบบที่อธิบดีกำหนดต่อเจ้าพนักงานสรรพสามิต ณ สถานที่ตามมาตรา 53 ก่อนหรือพร้อมกับการยื่นแบบรายการภาษีครั้งแรกตามมาตรา 48 ซึ่งตามมาตรา 48 (1) ระบุว่า ในกรณีสินค้าที่ผลิตขึ้นในราชอาณาจักรให้ยื่นแบบรายการภาษีพร้อมกับชำระภาษีก่อนความรับผิดในอันจะต้องเสียภาษีเกิดขึ้น และตามมาตรา 10 ระบุให้ความรับผิดในอันจะต้องเสียภาษีกรณีสินค้าที่ผลิตในราชอาณาจักร โดยถ้าสินค้าอยู่ในโรงอุตสาหกรรม ให้ถือว่าความรับผิดในอันจะต้องเสียภาษีเกิดขึ้นในเวลาที่นำสินค้าออกจากโรงอุตสาหกรรมดังนี้ เมื่อได้มีการเคลื่อนย้ายรถยนต์ของกลางออกจากโรงอุตสาหกรรมแล้วความรับผิดในอันจะต้องเสียภาษีจึงเกิดขึ้นแล้ว และเมื่อจำเลยที่ 1 และที่ 2มิได้ยื่นแบบรายการต่อเจ้าพนักงานสรรพสามิตตามที่กฎหมายกำหนด จำเลยที่ 1และที่ 2 จึงมีความผิดตามมาตรา 20, 48 (1), 148
พ.ร.บ.ภาษีสรรพสามิต พ.ศ.2527 มาตรา 19 บัญญัติ"ห้ามมิให้ผู้ใดนำสินค้าที่ยังมิได้เสียภาษีโดยถูกต้องและครบถ้วนออกไปจากโรงอุตสาหกรรมหรือคลังสินค้าทันฑ์บน เว้นแต่ (1) เป็นการนำสินค้าออกจากโรงงานอุตสาหกรรมไปเก็บไว้ในคลังสินค้าทัณฑ์บนตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนด... คดีนี้ จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคล จำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการคนเดียวของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 ย่อมมีหน้าที่ดูแลบริหารกิจการและสั่งงานเกี่ยวกับกิจการของจำเลยที่ 1 ไม่ว่าโดยทางตรงหรือโดยปริยายการนำรถยนต์ออกจากโรงอุตสาหกรรมเพื่อไปแสดงและจำหน่ายเป็นกิจการของจำเลยที่ 1 เมื่อรถยนต์ของกลางยังมิได้เสียภาษี และจำเลยที่ 1 และที่ 2ไม่อาจนำสืบหักล้างพยานหลักฐานโจทก์ให้ศาลเห็นเป็นอย่างอื่น จึงถือว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นผู้นำรถยนต์ของกลางออกจากโรงอุตสาหกรรมไปไว้ที่เกิดเหตุและเมื่อไม่ปรากฏว่าที่เกิดเหตุเป็นคลังสินค้าทัณฑ์บน ซึ่งอาจได้รับการยกเว้นตามมาตรา 19 (1) ทั้งการกระทำของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ก็ไม่ได้รับการยกเว้นตามที่ระบุไว้ในมาตรา 19 (2) ถึง (5) จำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงมีความผิดในข้อหานี้ตามมาตรา 19, 147
ความผิดฐานร่วมกันมีไว้เพื่อขายซึ่งสินค้าโดยรู้อยู่ว่าเป็นสินค้าที่มิได้เสียภาษีหรือเสียภาษีไม่ครบถ้วนตาม พ.ร.บ.ภาษีสรรพสามิต พ.ศ.2527มาตรา 162 (1) ที่บัญญัติห้ามผู้ใดขายหรือมีไว้เพื่อขายซึ่งสินค้าโดยรู้ว่าเป็นสินค้าที่มิได้เสียภาษีหรือเสียภาษีไม่ครบถ้วน เว้นแต่ในกรณีที่ผู้ประกอบอุตสาหกรรมมีไว้ในโรงอุตสาหกรรมหรือในคลังสินค้าทัณฑ์บนนั้น ไม่มีระเบียบปฏิบัติใดอนุโลมให้ไปเสียภาษีหลังจากที่มีผู้ซื้อแล้วแต่อย่างใด
พ.ร.บ.ภาษีสรรพสามิต พ.ศ.2527 มาตรา 19 บัญญัติ"ห้ามมิให้ผู้ใดนำสินค้าที่ยังมิได้เสียภาษีโดยถูกต้องและครบถ้วนออกไปจากโรงอุตสาหกรรมหรือคลังสินค้าทันฑ์บน เว้นแต่ (1) เป็นการนำสินค้าออกจากโรงงานอุตสาหกรรมไปเก็บไว้ในคลังสินค้าทัณฑ์บนตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนด... คดีนี้ จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคล จำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการคนเดียวของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 ย่อมมีหน้าที่ดูแลบริหารกิจการและสั่งงานเกี่ยวกับกิจการของจำเลยที่ 1 ไม่ว่าโดยทางตรงหรือโดยปริยายการนำรถยนต์ออกจากโรงอุตสาหกรรมเพื่อไปแสดงและจำหน่ายเป็นกิจการของจำเลยที่ 1 เมื่อรถยนต์ของกลางยังมิได้เสียภาษี และจำเลยที่ 1 และที่ 2ไม่อาจนำสืบหักล้างพยานหลักฐานโจทก์ให้ศาลเห็นเป็นอย่างอื่น จึงถือว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นผู้นำรถยนต์ของกลางออกจากโรงอุตสาหกรรมไปไว้ที่เกิดเหตุและเมื่อไม่ปรากฏว่าที่เกิดเหตุเป็นคลังสินค้าทัณฑ์บน ซึ่งอาจได้รับการยกเว้นตามมาตรา 19 (1) ทั้งการกระทำของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ก็ไม่ได้รับการยกเว้นตามที่ระบุไว้ในมาตรา 19 (2) ถึง (5) จำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงมีความผิดในข้อหานี้ตามมาตรา 19, 147
ความผิดฐานร่วมกันมีไว้เพื่อขายซึ่งสินค้าโดยรู้อยู่ว่าเป็นสินค้าที่มิได้เสียภาษีหรือเสียภาษีไม่ครบถ้วนตาม พ.ร.บ.ภาษีสรรพสามิต พ.ศ.2527มาตรา 162 (1) ที่บัญญัติห้ามผู้ใดขายหรือมีไว้เพื่อขายซึ่งสินค้าโดยรู้ว่าเป็นสินค้าที่มิได้เสียภาษีหรือเสียภาษีไม่ครบถ้วน เว้นแต่ในกรณีที่ผู้ประกอบอุตสาหกรรมมีไว้ในโรงอุตสาหกรรมหรือในคลังสินค้าทัณฑ์บนนั้น ไม่มีระเบียบปฏิบัติใดอนุโลมให้ไปเสียภาษีหลังจากที่มีผู้ซื้อแล้วแต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4377/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาษีสรรพสามิต: การเคลื่อนย้ายสินค้าออกจากโรงงานก่อนชำระภาษีและความผิดตามกฎหมาย
พระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 มาตรา 20 บัญญัติให้ผู้ประกอบอุตสาหกรรมใดมีสินค้าอยู่ในโรงอุตสาหกรรมในวันที่กฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิตใช้บังคับแก่สินค้านั้น ให้ผู้ประกอบอุตสาหกรรมนั้นยื่นแบบรายการแสดงชนิดและปริมาณของสินค้านั้นตามแบบที่อธิบดีกำหนดต่อเจ้าพนักงานสรรพสามิต ณ สถานที่ตามมาตรา 53 ก่อนหรือพร้อมกับการยื่นแบบรายการภาษีครั้งแรกตามมาตรา 48 ซึ่งตามมาตรา 48(1) ระบุว่า ในกรณีสินค้าที่ผลิตขึ้นในราชอาณาจักรให้ยื่นแบบรายการภาษีพร้อมกับชำระภาษีก่อนความรับผิดในอันจะต้องเสียภาษีเกิดขึ้น และตามมาตรา 10 ระบุให้ความรับผิดในอันจะต้องเสียภาษีกรณีสินค้าที่ผลิตในราชอาณาจักร โดยถ้าสินค้าอยู่ในโรงอุตสาหกรรม ให้ถือว่าความรับผิดในอันจะต้องเสียภาษีเกิดขึ้นในเวลาที่นำสินค้าออกจากโรงอุตสาหกรรม ดังนี้ เมื่อได้มีการเคลื่อนย้ายรถยนต์ของกลางออกจากโรงอุตสาหกรรมแล้วความรับผิดในอันจะต้องเสียภาษีจึงเกิดขึ้นแล้ว และเมื่อจำเลยที่ 1 และที่ 2 มิได้ยื่นแบบรายการต่อเจ้าพนักงานสรรพสามิตตามที่กฎหมายกำหนด จำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงมีความผิดตามมาตรา 20,48(1),148
พระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 มาตรา 19 บัญญัติ "ห้ามมิให้ผู้ใดนำสินค้าที่ยังมิได้เสียภาษีโดยถูกต้องและครบถ้วนออกไปจากโรงอุตสาหกรรมหรือคลังสินค้าทันฑ์บน เว้นแต่ (1) เป็นการนำสินค้าออกจากโรงงานอุตสาหกรรมไปเก็บไว้ในคลังสินค้าทัณฑ์บนตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนด... คดีนี้ จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคล จำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการคนเดียวของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 ย่อมมีหน้าที่ดูแลบริหารกิจการและสั่งงานเกี่ยวกับกิจการของจำเลยที่ 1 ไม่ว่าโดยทางตรงหรือโดยปริยาย การนำรถยนต์ออกจากโรงอุตสาหกรรมเพื่อไปแสดงและจำหน่ายเป็นกิจการของจำเลยที่ 1 เมื่อรถยนต์ของกลางยังมิได้เสียภาษี และจำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่อาจนำสืบหักล้างพยานหลักฐานโจทก์ให้ศาลเห็นเป็นอย่างอื่น จึงถือว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นผู้นำรถยนต์ของกลางออกจากโรงงานอุตสาหกรรมไปไว้ที่เกิดเหตุและเมื่อไม่ปรากฏว่าที่เกิดเหตุเป็นคลังสินค้าทัณฑ์บน ซึ่งอาจได้รับการยกเว้นตามมาตรา 19(1) ทั้งการกระทำของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ก็ไม่ได้รับการยกเว้นตามที่ระบุไว้ในมาตรา 19(2) ถึง (5) จำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงมีความผิดในข้อหานี้ตามมาตรา 19,147
ความผิดฐานร่วมกันมีไว้เพื่อขายซึ่งสินค้าโดยรู้อยู่ว่าเป็นสินค้าที่มิได้เสียภาษีหรือเสียภาษีไม่ครบถ้วนตามพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 มาตรา 162(1)ที่บัญญัติห้ามผู้ใดขายหรือมีไว้เพื่อขายซึ่งสินค้าโดยรู้ว่าเป็นสินค้าที่มิได้เสียภาษีหรือเสียภาษีไม่ครบถ้วน เว้นแต่ในกรณีที่ผู้ประกอบอุตสาหกรรมมีไว้ในโรงอุตสาหกรรมหรือในคลังสินค้าทัณฑ์บนนั้น ไม่มีระเบียบปฏิบัติใดอนุโลมให้ไปเสียภาษีหลังจากที่มีผู้ซื้อแล้วแต่อย่างใด
พระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 มาตรา 19 บัญญัติ "ห้ามมิให้ผู้ใดนำสินค้าที่ยังมิได้เสียภาษีโดยถูกต้องและครบถ้วนออกไปจากโรงอุตสาหกรรมหรือคลังสินค้าทันฑ์บน เว้นแต่ (1) เป็นการนำสินค้าออกจากโรงงานอุตสาหกรรมไปเก็บไว้ในคลังสินค้าทัณฑ์บนตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนด... คดีนี้ จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคล จำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการคนเดียวของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 ย่อมมีหน้าที่ดูแลบริหารกิจการและสั่งงานเกี่ยวกับกิจการของจำเลยที่ 1 ไม่ว่าโดยทางตรงหรือโดยปริยาย การนำรถยนต์ออกจากโรงอุตสาหกรรมเพื่อไปแสดงและจำหน่ายเป็นกิจการของจำเลยที่ 1 เมื่อรถยนต์ของกลางยังมิได้เสียภาษี และจำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่อาจนำสืบหักล้างพยานหลักฐานโจทก์ให้ศาลเห็นเป็นอย่างอื่น จึงถือว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นผู้นำรถยนต์ของกลางออกจากโรงงานอุตสาหกรรมไปไว้ที่เกิดเหตุและเมื่อไม่ปรากฏว่าที่เกิดเหตุเป็นคลังสินค้าทัณฑ์บน ซึ่งอาจได้รับการยกเว้นตามมาตรา 19(1) ทั้งการกระทำของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ก็ไม่ได้รับการยกเว้นตามที่ระบุไว้ในมาตรา 19(2) ถึง (5) จำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงมีความผิดในข้อหานี้ตามมาตรา 19,147
ความผิดฐานร่วมกันมีไว้เพื่อขายซึ่งสินค้าโดยรู้อยู่ว่าเป็นสินค้าที่มิได้เสียภาษีหรือเสียภาษีไม่ครบถ้วนตามพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 มาตรา 162(1)ที่บัญญัติห้ามผู้ใดขายหรือมีไว้เพื่อขายซึ่งสินค้าโดยรู้ว่าเป็นสินค้าที่มิได้เสียภาษีหรือเสียภาษีไม่ครบถ้วน เว้นแต่ในกรณีที่ผู้ประกอบอุตสาหกรรมมีไว้ในโรงอุตสาหกรรมหรือในคลังสินค้าทัณฑ์บนนั้น ไม่มีระเบียบปฏิบัติใดอนุโลมให้ไปเสียภาษีหลังจากที่มีผู้ซื้อแล้วแต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4377/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาษีสรรพสามิต: การนำรถยนต์ออกจากโรงงานก่อนชำระภาษี และการมีไว้เพื่อขายโดยมิได้เสียภาษี
พระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 มาตรา 20 บัญญัติให้ผู้ประกอบอุตสาหกรรมใดมีสินค้าอยู่ในโรงอุตสาหกรรมในวันที่กฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิตใช้บังคับแก่สินค้านั้น ให้ผู้ประกอบอุตสาหกรรมนั้นยื่นแบบรายการแสดงชนิดและปริมาณของสินค้านั้นตามแบบที่อธิบดีกำหนดต่อเจ้าพนักงานสรรพสามิต ณ สถานที่ตามมาตรา 53 ก่อนหรือพร้อมกับการยื่นแบบรายการภาษีครั้งแรกตามมาตรา 48 ซึ่งตามมาตรา 48(1) ระบุว่า ในกรณีสินค้าที่ผลิตขึ้นในราชอาณาจักรให้ยื่นแบบรายการภาษีพร้อมกับชำระภาษีก่อนความรับผิดในอันจะต้องเสียภาษีเกิดขึ้น และตามมาตรา 10 ระบุให้ความรับผิดในอันจะต้องเสียภาษีกรณีสินค้าที่ผลิตในราชอาณาจักร โดยถ้าสินค้าอยู่ในโรงอุตสาหกรรม ให้ถือว่าความรับผิดในอันจะต้องเสียภาษีเกิดขึ้นในเวลาที่นำสินค้าออกจากโรงอุตสาหกรรม ดังนี้ เมื่อได้มีการเคลื่อนย้ายรถยนต์ของกลางออกจากโรงอุตสาหกรรมแล้วความรับผิดในอันจะต้องเสียภาษีจึงเกิดขึ้นแล้ว และเมื่อจำเลยที่ 1 และที่ 2 มิได้ยื่นแบบรายการต่อเจ้าพนักงานสรรพสามิตตามที่กฎหมายกำหนด จำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงมีความผิดตามมาตรา 20,48(1),148
พระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 มาตรา 19 บัญญัติ "ห้ามมิให้ผู้ใดนำสินค้าที่ยังมิได้เสียภาษีโดยถูกต้องและครบถ้วนออกไปจากโรงอุตสาหกรรมหรือคลังสินค้าทันฑ์บน เว้นแต่ (1) เป็นการนำสินค้าออกจากโรงงานอุตสาหกรรมไปเก็บไว้ในคลังสินค้าทัณฑ์บนตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนด... คดีนี้ จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคล จำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการคนเดียวของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 ย่อมมีหน้าที่ดูแลบริหารกิจการและสั่งงานเกี่ยวกับกิจการของจำเลยที่ 1 ไม่ว่าโดยทางตรงหรือโดยปริยาย การนำรถยนต์ออกจากโรงอุตสาหกรรมเพื่อไปแสดงและจำหน่ายเป็นกิจการของจำเลยที่ 1 เมื่อรถยนต์ของกลางยังมิได้เสียภาษี และจำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่อาจนำสืบหักล้างพยานหลักฐานโจทก์ให้ศาลเห็นเป็นอย่างอื่น จึงถือว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นผู้นำรถยนต์ของกลางออกจากโรงงานอุตสาหกรรมไปไว้ที่เกิดเหตุและเมื่อไม่ปรากฏว่าที่เกิดเหตุเป็นคลังสินค้าทัณฑ์บน ซึ่งอาจได้รับการยกเว้นตามมาตรา 19(1) ทั้งการกระทำของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ก็ไม่ได้รับการยกเว้นตามที่ระบุไว้ในมาตรา 19(2) ถึง (5) จำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงมีความผิดในข้อหานี้ตามมาตรา 19,147
ความผิดฐานร่วมกันมีไว้เพื่อขายซึ่งสินค้าโดยรู้อยู่ว่าเป็นสินค้าที่มิได้เสียภาษีหรือเสียภาษีไม่ครบถ้วนตามพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 มาตรา 162(1)ที่บัญญัติห้ามผู้ใดขายหรือมีไว้เพื่อขายซึ่งสินค้าโดยรู้ว่าเป็นสินค้าที่มิได้เสียภาษีหรือเสียภาษีไม่ครบถ้วน เว้นแต่ในกรณีที่ผู้ประกอบอุตสาหกรรมมีไว้ในโรงอุตสาหกรรมหรือในคลังสินค้าทัณฑ์บนนั้น ไม่มีระเบียบปฏิบัติใดอนุโลมให้ไปเสียภาษีหลังจากที่มีผู้ซื้อแล้วแต่อย่างใด
พระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 มาตรา 19 บัญญัติ "ห้ามมิให้ผู้ใดนำสินค้าที่ยังมิได้เสียภาษีโดยถูกต้องและครบถ้วนออกไปจากโรงอุตสาหกรรมหรือคลังสินค้าทันฑ์บน เว้นแต่ (1) เป็นการนำสินค้าออกจากโรงงานอุตสาหกรรมไปเก็บไว้ในคลังสินค้าทัณฑ์บนตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนด... คดีนี้ จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคล จำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการคนเดียวของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 ย่อมมีหน้าที่ดูแลบริหารกิจการและสั่งงานเกี่ยวกับกิจการของจำเลยที่ 1 ไม่ว่าโดยทางตรงหรือโดยปริยาย การนำรถยนต์ออกจากโรงอุตสาหกรรมเพื่อไปแสดงและจำหน่ายเป็นกิจการของจำเลยที่ 1 เมื่อรถยนต์ของกลางยังมิได้เสียภาษี และจำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่อาจนำสืบหักล้างพยานหลักฐานโจทก์ให้ศาลเห็นเป็นอย่างอื่น จึงถือว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นผู้นำรถยนต์ของกลางออกจากโรงงานอุตสาหกรรมไปไว้ที่เกิดเหตุและเมื่อไม่ปรากฏว่าที่เกิดเหตุเป็นคลังสินค้าทัณฑ์บน ซึ่งอาจได้รับการยกเว้นตามมาตรา 19(1) ทั้งการกระทำของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ก็ไม่ได้รับการยกเว้นตามที่ระบุไว้ในมาตรา 19(2) ถึง (5) จำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงมีความผิดในข้อหานี้ตามมาตรา 19,147
ความผิดฐานร่วมกันมีไว้เพื่อขายซึ่งสินค้าโดยรู้อยู่ว่าเป็นสินค้าที่มิได้เสียภาษีหรือเสียภาษีไม่ครบถ้วนตามพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 มาตรา 162(1)ที่บัญญัติห้ามผู้ใดขายหรือมีไว้เพื่อขายซึ่งสินค้าโดยรู้ว่าเป็นสินค้าที่มิได้เสียภาษีหรือเสียภาษีไม่ครบถ้วน เว้นแต่ในกรณีที่ผู้ประกอบอุตสาหกรรมมีไว้ในโรงอุตสาหกรรมหรือในคลังสินค้าทัณฑ์บนนั้น ไม่มีระเบียบปฏิบัติใดอนุโลมให้ไปเสียภาษีหลังจากที่มีผู้ซื้อแล้วแต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1647/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
รถยนต์โฟล์คสวาเกน กอล์ฟ แบบ 3 ประตู เข้าข่ายเป็นรถยนต์นั่งเสียภาษีสรรพสามิต ไม่ใช่รถกระบะ
การพิจารณาว่ารถยนต์พิพาทเป็นรถยนต์นั่งที่ต้องเสียภาษี-สรรพสามิตหรือเป็นรถยนต์กระบะ (รถบรรทุกชนิดแวน) ที่ไม่ต้องเสียภาษี-สรรพสามิตนั้นจะต้องพิจารณาหลักเกณฑ์ ตาม พ.ร.บ.ภาษีสรรพสามิต พ.ศ.2527มาตรา 7 แก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.ภาษีสรรพสามิต (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2534มาตรา 4 และตามพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิตท้าย พ.ร.บ.พิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต(ฉบับที่ 3) พ.ศ.2534 ตอนที่ 5 รถยนต์พิพาทเป็นรถยนต์ยี่ห้อโฟล์คสวาเกนตรงท้ายรถด้านหลังมีอักษรภาษาอังกฤษเขียนว่า GOLF CL ลักษณะที่นั่งตอนหน้าเป็นเบาะคู่ มีที่นั่งคนขับ 1 ที่นั่งและที่นั่งผู้โดยสารอยู่ติดกับที่นั่งคนขับ บริเวณตัวถังด้านข้างทั้งสองด้านของรถมีแผ่นเหล็กเชื่อมติดตายเป็นแผ่นทึบ ส่วนของหลังคาเป็นเหล็กชิ้นเดียวกันตลอดทั้งคัน ส่วนท้ายของรถเป็นประตูชิ้นเดียวเปิดยกขึ้น โดยส่วนบนของประตูเป็นกระจก ส่วนล่างเป็นแผ่นเหล็ก ภายในตัวรถแบ่งเป็น 2 ส่วนส่วนหน้าเป็นที่นั่งคนขับ ด้านหลังไม่มีที่นั่งผู้โดยสาร แต่เป็นพื้นไม้อัดแผ่นเรียบระหว่างที่นั่งตอนหน้าและส่วนพื้นด้านหลังมีแผ่นเหล็กกั้น ภายในรถตอนท้ายมีวัตถุทำด้วยไฟเบอร์บุตัวถังเหมือนรถยนต์นั่งทั่วไป โดยสามารถใช้เป็นที่วางแขนผู้นั่งตอนหลังได้และส่วนที่เป็นพื้นไม้ หากถอดออกไปสามารถนำเบาะที่นั่งมาติดตั้งได้ทันทีเนื่องจากตัวถังทำขึ้นเพื่อใช้รองรับเบาะที่นั่งและมีพนักพิงสำหรับผู้โดยสารที่นั่งตอนหลังอยู่แล้ว สำหรับแผ่นเหล็กที่กั้นอยู่ด้านหลังคนขับไม่มีลักษณะถาวร เพราะยึดติดด้วยนอตข้างละ 1 ตัว สามารถถอดออกได้ง่าย ตำแหน่งของห้องโดยสารตอนหลัง ด้านข้างมีรูเจาะไว้เพื่อยึดติดเข็มขัดนิรภัยสำหรับที่นั่งตอนหลัง ภายในรถทั้งตอนหน้าและตอนหลังกรุด้วยไฟเบอร์ที่ผนังมีลักษณะเหมือนรถยนต์นั่งทั่วไป บริเวณผนังรถตอนท้ายซึ่งเชื่อมด้วยแผ่นเหล็กตรงตำแหน่งซึ่งควรจะเป็นหน้าต่างของรถยนต์นั่งทั่วไปยังมีขอบยางติดอยู่ หากตัดแผ่นเหล็กออกสามารถนำกระจกติดตั้งแทนแผ่นเหล็กได้ จากลักษณะรถยนต์พิพาทดังกล่าวมาเป็นที่เห็นได้ว่า รถยนต์พิพาทมิใช่รถยนต์กระบะตามความหมายที่ระบุไว้ในพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิตเนื่องจากรถยนต์พิพาทมีหลังคาปิดตลอดทั้งคัน และรถยนต์ยี่ห้อโฟล์คสวาเกน รุ่นกอล์ฟ ที่มีการผลิตจำหน่ายเป็นรถยนต์นั่งมีทั้งแบบรุ่น 3 ประตู และ 5 ประตู รถยนต์พิพาทเป็นรถยนต์ยี่ห้อโฟล์คสวาเกน รุ่นกอล์ฟ แบบ 3 ประตู คงมีข้อแตกต่างจากรถยนต์รุ่นเดียวกันโดยห้องโดยสารด้านหลังของรถยนต์พิพาทปิดทึบหมด ไม่มีกระจก แต่ตัวถังด้านท้ายรถยนต์พิพาทบริเวณที่มีลักษณะคล้ายหน้าต่างเป็นการนำแผ่นเหล็กมาเชื่อมติดกับตัวถังแล้วนำยางมาติดไว้ตรงรอยเชื่อม หากนำรถยนต์พิพาทมาตัดแผ่นเหล็กที่เชื่อมในลักษณะเป็นรูปหน้าต่างออก และนำเบาะหลังไปใส่ไว้ รถยนต์พิพาทก็จะมีสภาพเช่นเดียวกับรถโฟล์คสวาเกน รุ่นกอล์ฟ แบบ 3 ประตู แสดงว่าโครงสร้างของรถทั้งหมดมีลักษณะเช่นเดียวกับรถยนต์ยี่ห้อโฟล์คสวาเกน รุ่นกอล์ฟ แบบ 3 ประตูรถยนต์พิพาททั้งสองคันจึงเป็นรถยนต์นั่งตามคำจำกัดความที่หมายความว่ารถเก๋งหรือรถยนต์ที่ออกแบบสำหรับเพื่อใช้สำหรับนั่งเป็นปกติวิสัย และให้หมายความรวมถึงรถยนต์ในลักษณะทำนองเดียวกันตามกฎหมายดังกล่าวข้างต้น รถยนต์พิพาทจึงมิใช่รถยนต์กระบะ (รถบรรทุกชนิดแวน) แต่เป็นรถยนต์นั่งตามพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิตประเภทที่ 05.01 ท้าย พ.ร.บ.พิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต พ.ศ.2527 แก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.พิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2534
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1647/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
รถยนต์พิพาทเป็นรถยนต์นั่งหรือไม่: การตีความลักษณะรถยนต์ตามพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต
รถยนต์ที่โจทก์นำเข้ามาในราชอาณาจักรยี่ห้อโฟล์คสวาเกนรุ่นกอล์ฟ แบบ 3 ประตูห้องโดยสารด้านหลังปิดทึบหมดไม่มีกระจก โดยนำแผ่นเหล็กมาเชื่อมติดกับตัวถึงแล้วนำยางมาติดไว้ตรงรอยเชื่อม หากตัดแผ่นเหล็กที่เชื่อมในลักษณะเป็นรูปหน้าต่างออกและนำเบาะหลังไปใส่ไว้ ก็จะมีสภาพเช่นเดียวกับรถโฟล์คสวาเกนรุ่นกอล์ฟ แบบ 3 ประตูจึงเป็นรถยนต์นั่งตามคำจำกัดความในพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิตท้ายพระราชบัญญัติพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2534 มิใช่รถยนต์บรรทุกชนิดแวน จึงต้องเสียภาษีตามพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิตประเภทที่ 05.01
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9479/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีสรรพสามิตและการงดเบี้ยปรับ กรณีผู้ประกอบการไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์
พระราชบัญญัติภาษีสรรพาสามิตพ.ศ.2527มาตรา100บัญญัติว่า"สินค้าที่ส่งออกนอกราชอาณาจักรให้ได้รับยกเว้นหรือคืนภาษีหรือลดอัตราภาษีตามหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง"ซึ่งก็คือกฎกระทรวงฉบับที9(พ.ศ.2527)และฉบับที่17(พ.ศ.2529)ซึ่งมีผลเป็นกฎหมายเช่นกันดังนั้นการที่โจทก์จะได้รับยกเว้นหรือคืนภาษีหรือลดอัตราภาษีนั้นโจทก์จะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวงดังกล่าวโจทก์จะอ้างว่าโจทก์ไม่รู้หลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขที่จะต้องปฏิบัติตามกฎกระทรวงไม่ได้การที่โจทก์ไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขตามกฎกระทรวงย่อมมีผลให้โจทก์ไม่ได้รับการยกเว้นภาษีและจะต้องเสียภาษีในอัตราภาษีที่ใช้บังคับในขณะที่นำสินค้าออกจากโรงงานตามที่ระบุไว้ในกฎกระทรวงดังกล่าวอีกด้วย หลักเกณฑ์ในการงดหรือลดเบี้ยปรับและเงินเพิ่มย่อมจะต้องเป็นไปตามกฎกระทรวงฉบับที่13(พ.ศ.2527)ซึ่งมีข้อความระบุว่าให้กระทำได้เฉพาะกรณีที่ผู้ประกอบอุตสากรรมไม่มีเจตนาหลีกเลี่ยงภาษีและได้ให้ความร่วมมือในการตรวจสอบภาษีเป็นอย่างดีเมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าสินค้าที่ถูกประเมินภาษีเป็นสินค้าที่โจทก์ผลิตและส่งออกไปนอกราชอาณาจักรซึ่งตามปกติได้รับการยกเว้นภาษีอยู่แล้วการที่โจทก์ไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขตามกฎกระทรวงเพื่อให้ได้รับยกเว้นภาษีจนเป็นเหตุให้ไม่ได้รับยกเว้นภาษีเช่นนี้ย่อมแสดงอยู่ในตัวเองว่าโจทก์ไม่มีเจตนาหลีกเลี่ยงภาษีประกอบกับในทางพิจารณาก็ไม่ปรากฏว่าโจทก์ขัดขวางการตรวจสอบภาษีของพนักงานเจ้าหน้าที่แต่ประการใดพฤติการณ์ดังกล่าวแสดงว่าโจทก์ได้ให้ความร่วมมือในการตรวจสอบภาษีเป็นอย่างดีกรณีจึงมีเหตุสมควรงดเบี้ยปรับและเงินเพิ่มให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 766/2539 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความคำว่า 'น้ำมัน' ตามพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต สารละลายเคมีไวท์สปิริตไม่เข้าข่ายเสียภาษี
สารละลายหรือโซลเว้นท์ชนิดต่าง ๆ ไม่ใช่น้ำมันอื่น ๆที่คล้ายกับน้ำมันที่ได้ออกชื่อมาแล้วตามคำจำกัดความคำว่า"น้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมัน" ตามพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิตท้ายพระราชบัญญัติพิกัดอัตราภาษีสรรพามิต (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2534 แม้สารละลายและโซลเว้นท์ชนิดต่าง ๆ นั้น จะมีคุณสมบัติอยู่ในข้อกำหนดคุณภาพน้ำมันก๊าด ตามประกาศกระทรวงพาณิชย์ ฉบับที่ 1(พ.ศ. 2532)เรื่องกำหนดคุณภาพของน้ำมันเบนซินและน้ำมันก๊าด ก็ไม่ใช่น้ำมันก๊าดตามคำจำกัดความข้างต้น ดังนี้ พิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต ตอนที่ 1ท้ายพระราชบัญญัติพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2534ในประเภทที่ 01.03 รายการน้ำมันก๊าดและน้ำมันที่จุดให้แสงสว่างที่คล้ายกัน จึงไม่รวมถึงสารละลายหรือโซลเว้นท์ชนิดต่าง ๆ ด้วยสารละลายเคมีไว้ท์สปิริตพิพาทจึงไม่ใช่สินค้าที่จะต้องเสียภาษีตามพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต ประเภทที่ 01.03 ท้ายพระราชบัญญัติพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2534 และเมื่อตามพระราชบัญญัติดังกล่าวไม่เรียกเก็บภาษีจากสารละลายหรือโซลเว้นท์ชนิดต่าง ๆ จำเลยก็ไม่มีสิทธิเรียกเก็บภาษีจากโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 766/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความคำว่า 'น้ำมัน' ใน พ.ร.บ.ภาษีสรรพสามิต สารละลายไวท์สปิริตไม่เข้าข่ายต้องเสียภาษี
ตามพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิตท้าย พระราชบัญญัติพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2534 ให้คำจำกัดความคำว่า "น้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมัน" หมายความว่าผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจากปิโตรเลี่ยมได้แก่น้ำมันเบนซินน้ำมันก๊าด น้ำมันเชื้อเพลิงหนักน้ำมันเตา และน้ำมันอื่น ๆ ที่คล้ายกับน้ำมันที่ได้ออกชื่อมาแล้วสารละลายหรือโซลเว้นท์ชนิดต่าง ๆ ตามคำจำกัดความดังกล่าวสารละลายหรือโซลเว้นท์ชนิดต่าง ๆ ระบุแยกออกจากคำว่าน้ำมันอื่นๆที่คล้ายกับน้ำมันที่ออกชื่อมาแล้ว ดังนั้น สารละลายหรือโซลเว้นท์ชนิดต่าง ๆ จึงไม่ใช่น้ำมันอื่น ๆ ที่ออกชื่อมาแล้ว และแม้สารละลายหรือโซลเว้นท์ชนิดต่าง ๆ นั้น จะมีคุณสมบัติอยู่ในข้อกำหนดคุณภาพน้ำมันก๊าดตามประกาศกระทรวงพาณิชย์ ฉบับที่ 1(พ.ศ. 2532) เรื่องกำหนดคุณภาพของน้ำมันเบนซินและน้ำมัดก๊าด ก็ไม่ใช่น้ำมันก๊าดตามคำจำกัดความข้างต้น ดังนี้ พิพักอัตราภาษีสรรพสามิตตอนที่ 1 ในประเภทที่ 01.03 รายการน้ำมันก๊าดและน้ำมันที่จุดให้แสงสว่างที่คล้ายกันจึงไม่รวมถึงสารละลายหรือโชลเว้นท์ชนิดต่างๆด้วยสารละลายเคมีไวท์สปิริตจึงไม่ใช่สินค้าที่จะต้องเสียภาษีตามพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต ประเภทที่ 01.03 ท้ายพระราชบัญญัติพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2534 และเมื่อตามพระราชบัญญัติดังกล่าวไม่เรียกเก็บภาษีจากสารละลายหรือโซลเว้นท์ชนิดต่าง ๆ จำเลยก็ไม่มีสิทธิเรียกเก็บภาษีจากโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 766/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาษีสรรพสามิต: สารละลาย/โซลเว้นท์ ไม่จัดเป็นน้ำมันก๊าด แม้มีคุณสมบัติทางคุณภาพใกล้เคียงกัน
สารละลายหรือ โซลเว้นท์ชนิดต่างๆไม่ใช่น้ำมันอื่นๆที่คล้ายกับน้ำมันที่ได้ออกชื่อมาแล้วตามคำจำกัดความคำว่า"น้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมัน"ตามพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิตท้ายพระราชบัญญัติพิกัดอัตราภาษีสรรพามิต(ฉบับที่3)พ.ศ.2534แม้สารละลายและ โซลเว้นท์ชนิดต่างๆนั้นจะมีคุณสมบัติอยู่ในข้อกำหนดคุณภาพน้ำมันก๊าดตามประกาศกระทรวงพาณิชย์ฉบับที่1(พ.ศ.2532)เรื่องกำหนดคุณภาพของน้ำมันเบนซินและน้ำมันก๊าดก็ไม่ใช่น้ำมันก๊าดตามคำจำกัดความข้างต้นดังนี้พิกัดอัตราภาษีสรรพสามิตตอนที่1ท้ายพระราชบัญญัติพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต(ฉบับที่3)พ.ศ.2534ในประเภทที่01.03รายการน้ำมันก๊าดและน้ำมันที่จุดให้แสงสว่างที่คล้ายกันจึงไม่รวมถึงสารละลายหรือ โซลเว้นท์ชนิดต่างๆด้วยสารละลายเคมีไว้ท์สปิริตพิพาทจึงไม่ใช่สินค้าที่จะต้องเสียภาษีตามพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิตประเภทที่01.03ท้ายพระราชบัญญัติพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต(ฉบับที่3)พ.ศ.2534และเมื่อตามพระราชบัญญัติดังกล่าวไม่เรียกเก็บภาษีจากสารละลายหรือ โซลเว้นท์ชนิดต่างๆจำเลยก็ไม่มีสิทธิเรียกเก็บภาษีจากโจทก์