พบผลลัพธ์ทั้งหมด 26 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 866/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความยินยอมการเข้าอยู่อาศัยเคหะ: มติคณะกรรมการครั้งที่สองชอบด้วยกฎหมาย แม้ครั้งแรกไม่ชอบ
โจทก์ผู้เป็นเจ้าของเคหะได้เคยยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการควบคุมค่าเช่าและมีการสอบสวนแล้วมาครั้งหนึ่ง คณะกรรมการได้มีมติให้ความยินยอมให้โจทก์เข้าอยู่ในเคหะได้ แต่ศาลพิพากษาว่าคำสั่งของคณะกรรมการนั้นไม่ชอบ ใช้ไม่ได้ เนื่องจากกรรมการที่เป็นอธิบดีไม่ได้มาประชุมเอง เป็นแต่แต่งตั้งผู้แทนไปประชุม โจทก์จึงยื่นคำร้องใหม่ โดยยื่นตรงถึงคณะกรรมการท้าวความดังกล่าวมาแล้วได้โดยไม่ต้องทำคำร้องแบบ ค.ช. 2 และไม่ต้องยื่นต่อคณะอนุกรรมการควบคุมค่าเช่าส่วนท้องถิ่นตามกฎกระทรวงมหาดไทย เพราะคำร้องของโจทก์เพื่อที่จะให้ได้รับความยินยอมในครั้งที่ 2 นี้มิใช่เป็นคำร้องขอตั้งต้นกรณีใหม่ หากเป็นเรื่องติดต่อกับการเริ่มต้นและการสอบสวนที่ได้มีมาโดยถูกต้องแล้วแต่เดิม กรณีเป็นเรื่องเดียวกับ มติของคณะกรรมการในครั้งที่ 2 นี้ ย่อมถือได้ว่าเป็นมติเพื่อคำร้องขอฉะบับต้นและสำหรับการสอบสวนของอนุกรรมการที่กระทำมาแล้วเป็นความยินยอมที่ชอบด้วยมาตรา 16 (6) พ.ร.บ.ควบคุมค่าเช่า ฯ พ.ศ. 2489.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 866/2492
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความยินยอมในการเข้าอยู่อาศัยเคหะหลังคำสั่งศาลพิพากษา การพิจารณามติคณะกรรมการครั้งที่สอง
โจทก์ผู้เป็นเจ้าของเคหะได้เคยยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการควบคุมค่าเช่าและมีการสอบสวนแล้วมาครั้งหนึ่งคณะกรรมการได้มีมติให้ความยินยอมให้โจทก์เข้าอยู่ในเคหะได้ แต่ศาลพิพากษาว่าคำสั่งของคณะกรรมการนั้นไม่ชอบใช้ไม่ได้ เนื่องจากกรรมการที่เป็นอธิบดีไม่ได้มาประชุมเอง เป็นแต่แต่งตั้งผู้แทนไปประชุม โจทก์จึงยื่นคำร้องใหม่ โดยยื่นตรงถึงคณะกรรมการท้าวความดังกล่าวมาแล้วได้โดยไม่ต้องทำคำร้องแบบค.ช.2 และไม่ต้องยื่นต่อคณะอนุกรรมการควบคุมค่าเช่าส่วนท้องถิ่นตามกฎกระทรวงมหาดไทยเพราะคำร้องของโจทก์เพื่อที่จะให้ได้รับความยินยอมในครั้งที่ 2 นี้ มิใช่เป็นคำร้องขอตั้งต้นกรณีใหม่ หากเป็นเรื่องติดต่อกับการเริ่มต้นและการสอบสวนที่ได้มีมาโดยถูกต้องแล้วแต่เดิม กรณีเป็นเรื่องเดียวกัน มติของคณะกรรมการในครั้งที่ 2 นี้ย่อมถือได้ว่าเป็นมติเพื่อคำร้องขอฉบับต้น และสำหรับการสอบสวนของอนุกรรมการที่กระทำมาแล้ว เป็นความยินยอมที่ชอบด้วยมาตรา 16(6) พระราชบัญญัติควบคุมค่าเช่าฯ พ.ศ.2489
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9068/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีอาญาของโจทก์: ป.ป.ช. มีอำนาจส่งเรื่องฟ้องได้ แม้มติไม่ชัดเจนตามรูปแบบที่กฎหมายกำหนด
มติของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต (ฉบับที่ 2 ) พ.ศ.2554 มาตรา 69 เป็นไปตามวิธีการและขั้นตอนการประชุมโดยปกติทั่วไป กฎหมายดังกล่าวก็มิได้กำหนดรูปแบบและข้อความของมติดังกล่าว มิได้กำหนดขั้นตอนให้ทำเป็นหนังสือแจ้งผู้ร้องเรียน ผู้เสียหาย หรือผู้ถูกกล่าวหา และมิได้กำหนดผลบังคับว่าหากคณะกรรมการ ป.ป.ช. มิได้มีมติดังกล่าวอย่างชัดแจ้งแล้วผลจะเป็นอย่างไร จึงเป็นข้อบ่งชี้ได้ว่าพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญดังกล่าวมิได้มีวัตถุประสงค์ที่เคร่งครัดกับรูปแบบและวิธีการของการมีมติดังกล่าว ทั้งนี้เนื่องจากเป็นกรณีที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีอำนาจหน้าที่รับไว้พิจารณาอยู่ก่อนแล้วตามกฎหมายเดิมคือ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 มาตรา 19 (3) ดังนั้น แม้คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติในภายหลังโดยเห็นชอบกับคณะอนุกรรมการไต่สวนว่าจำเลยกระทำความผิดตามที่ถูกกล่าวหาก็มีผลเท่ากับว่าคณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติให้มีการดำเนินการพิจารณาความผิดของจำเลยต่อไปตามมาตรา 69 ดังกล่าวแล้ว ดังนั้น เมื่อคณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติให้ส่งเรื่องให้โจทก์ฟ้องคดีนี้ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8898/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประชุมใหญ่, ผู้จัดการนิติบุคคล, งบดุลที่ไม่ถูกต้อง, มติที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย, การปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ
การที่คณะกรรมการมอบอำนาจให้ผู้จัดการนิติบุคคลอาคารชุดดำเนินการจัดให้มีการประชุมในบางเรื่องย่อมกระทำได้ ดังนั้น การมอบอำนาจให้ผู้จัดการนิติบุคคลอาคารชุดเป็นผู้มีอำนาจออกหนังสือเชิญประชุมใหญ่ย่อมกระทำได้และไม่ถือว่าขัดต่อกฎหมาย ทั้งไม่ทำให้การเรียกประชุมใหญ่เสียไปแต่อย่างใด การจัดให้มีการประชุมใหญ่ แม้พ้นกำหนดเวลาหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันสิ้นปีทางบัญชีย่อมเป็นผลดีแก่ผู้เป็นเจ้าของร่วม หากมีการประชุมตามวาระและลงมติโดยถูกต้องแล้ว การประชุมใหญ่ดังกล่าวย่อมชอบด้วยกฎหมาย เมื่อข้อเท็จจริงไม่อาจรับฟังได้ว่างบดุลและรายงานประจำปี 2555 ไม่ถูกต้อง และที่ประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2555 มีมติรับรองแล้ว จึงไม่มีเหตุที่จะเพิกถอนมติที่ประชุมใหญ่ ส่วนการประชุมวาระที่ 6 และวาระที่ 7 ที่ประชุมใหญ่มีมติให้ปรับขึ้นค่าใช้จ่ายส่วนกลางด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของคะแนนเสียงเจ้าของร่วมทั้งหมดตาม พ.ร.บ.อาคารชุด พ.ศ.2522 มาตรา 48 (5) จึงไม่มีเหตุให้เพิกถอนมติที่ประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2555 ในวาระดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1728/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเรียกประชุมใหญ่วิสามัญของสหกรณ์ ต้องผ่านมติคณะกรรมการดำเนินการก่อน ไม่สามารถเรียกโดยประธานหรือเลขานุการได้โดยลำพัง
แม้ตาม พ.ร.บ.สหกรณ์ พ.ศ.2542 มาตรา 116 วรรคสาม จะบัญญัติไว้ว่า "ในกรณีที่สมาชิกเป็นผู้ร้องขอให้เรียกประชุมใหญ่วิสามัญ ให้คณะกรรมการดำเนินการสันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทยเรียกประชุมใหญ่วิสามัญภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือร้องขอ" อันมีลักษณะเป็นสภาพบังคับให้คณะกรรมการดำเนินการฯ ต้องเรียกประชุมใหญ่วิสามัญตามที่สมาชิกร้องขอก็ตาม แต่ก็ไม่ใช่อำนาจของกรรมการดำเนินการคนหนึ่งคนใดหรือหลายคนที่จะเรียกประชุมได้โดยลำพัง เมื่อคณะกรรมการดำเนินการฯ ได้รับหนังสือร้องขอให้เรียกประชุมใหญ่วิสามัญก็ชอบที่เรียกประชุมคณะกรรมการดำเนินการฯ เพื่อพิจารณากันเสียก่อน และมติที่ประชุมคณะกรรมการดำเนินการฯ จะต้องถือเอาเสียงข้างมากเป็นการกระทำของคณะกรรมการดำเนินการฯ นั้น ตามระเบียบสันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทยว่าด้วย การเลือกตั้ง การประชุม และการดำเนินกิจการของคณะกรรมการดำเนินการสันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทย พ.ศ.2542 ข้อ 78
เมื่อผู้แทนของสหกรณ์ที่เป็นสมาชิกของโจทก์ที่ 1 จำนวน 56 คน มีจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสิบของผู้แทนของสหกรณ์ที่เป็นสมาชิกทั้งหมด 400 คน ทำหนังสือร้องขอต่อคณะกรรมการดำเนินการฯ ให้เรียกประชุมใหญ่วิสามัญในวันที่ 9 มกราคม 2544 การที่ ช. กรรมการดำเนินการกำหนดนัดประชุมใหญ่วิสามัญตามที่สมาชิกโจทก์ที่ 1 ร้องขอ โดยไม่ปรากฏว่ามีการเรียกประชุมคณะกรรมการดำเนินการฯ เพื่อพิจารณาในเรื่องดังกล่าวก่อนมีมติให้เรียกประชุมใหญ่วิสามัญแต่อย่างใด ดังนั้น การเรียกประชุมใหญ่วิสามัญ การประชุมและการลงมติในที่ประชุมใหญ่วิสามัญ ครั้งที่ 1/2544 เมื่อวันที่ 9 มกราคม 2544 จึงเป็นการฝ่าฝืนบทบัญญัติของกฎหมายและระเบียบข้อบังคับของโจทก์ที่ 1 จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย และมติที่กำหนดนัดวันประชุมใหญ่วิสามัญ ครั้งที่ 2/2544 ในวันที่ 22 มกราคม 2544 ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายนั้น ถือว่าการประชุมใหญ่วิสามัญ ครั้งที่ 2/2544 เป็นการประชุมที่ไม่มีการเรียกนัดประชุมไว้ก่อน การประชุมและการมีมติในที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 2/2544 จึงไม่ชอบด้วยกฎหมายเช่นกัน
เมื่อผู้แทนของสหกรณ์ที่เป็นสมาชิกของโจทก์ที่ 1 จำนวน 56 คน มีจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสิบของผู้แทนของสหกรณ์ที่เป็นสมาชิกทั้งหมด 400 คน ทำหนังสือร้องขอต่อคณะกรรมการดำเนินการฯ ให้เรียกประชุมใหญ่วิสามัญในวันที่ 9 มกราคม 2544 การที่ ช. กรรมการดำเนินการกำหนดนัดประชุมใหญ่วิสามัญตามที่สมาชิกโจทก์ที่ 1 ร้องขอ โดยไม่ปรากฏว่ามีการเรียกประชุมคณะกรรมการดำเนินการฯ เพื่อพิจารณาในเรื่องดังกล่าวก่อนมีมติให้เรียกประชุมใหญ่วิสามัญแต่อย่างใด ดังนั้น การเรียกประชุมใหญ่วิสามัญ การประชุมและการลงมติในที่ประชุมใหญ่วิสามัญ ครั้งที่ 1/2544 เมื่อวันที่ 9 มกราคม 2544 จึงเป็นการฝ่าฝืนบทบัญญัติของกฎหมายและระเบียบข้อบังคับของโจทก์ที่ 1 จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย และมติที่กำหนดนัดวันประชุมใหญ่วิสามัญ ครั้งที่ 2/2544 ในวันที่ 22 มกราคม 2544 ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายนั้น ถือว่าการประชุมใหญ่วิสามัญ ครั้งที่ 2/2544 เป็นการประชุมที่ไม่มีการเรียกนัดประชุมไว้ก่อน การประชุมและการมีมติในที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 2/2544 จึงไม่ชอบด้วยกฎหมายเช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1040/2561
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจเรียกประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น ต้องผ่านมติคณะกรรมการก่อน
คำว่า "กรรมการ" ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1172 วรรคหนึ่ง หมายถึงคณะกรรมการ มิได้หมายถึงกรรมการคนหนึ่งคนใดหรือหลายคน การจะเรียกประชุมใหญ่วิสามัญหรือไม่ กรรมการคนหนึ่งคนใดชอบที่จะนัดเรียกประชุมกรรมการเพื่อพิจารณากันเสียก่อนตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 1162 มติของคณะกรรมการจะต้องถือเอาเสียงข้างมากเป็นใหญ่ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 1161 เมื่อปรากฏว่าผู้คัดค้านทั้งสองเรียกประชุมใหญ่โดยมิได้กระทำตามขั้นตอนดังกล่าว ดังนั้น การนัดเรียกประชุมใหญ่ตลอดจนการประชุมและการลงมติจึงเป็นการฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ดังกล่าว