คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
มอบหมาย

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 181 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1331/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้รับขนส่งตามกฎหมาย แม้ไม่มีใบอนุญาตและรถบรรทุกเอง ก็ต้องรับผิดชอบความเสียหายจากการขนส่งที่มอบหมายให้ผู้อื่น
โจทก์มอบให้จำเลยที่1ซึ่งมีจำเลยที่2เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการติดต่อดำเนินการเกี่ยวกับพิธีการศุลกากรและการลากจูงตู้บรรจุสินค้าไปบรรจุสินค้าที่โรงงานของโจทก์ซึ่งอยู่ต่างจังหวัดและลากจูงตู้บรรจุสินค้าดังกล่าวไปส่งมอบให้บริษัท น. ที่ท่าเรือของการท่าเรือแห่งประเทศไทยแม้จำเลยที่1จะไม่มีใบอนุญาตให้ประกอบการขนส่งและไม่มีรถบรรทุกเป็นของตนเองแต่การขนส่งและรับขนสินค้าเป็นวัตถุประสงค์ข้อหนึ่งของจำเลยที่1ที่ได้จดทะเบียนไว้ก็ถือว่าจำเลยที่1ประกอบการเป็นผู้รับขนส่งของเพื่อบำเหน็จเป็นทางค้าโดยปกติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา608การที่จำเลยที่1ว่าจ้างให้จำเลยที่3นำรถไปลากจูงตู้บรรจุสินค้าดังกล่าวย่อมเป็นการมอบหมายของนั้นไปอีกทอดหนึ่งเมื่อของที่รับขนสูญหายไปเพราะความผิดของจำเลยที่3จำเลยที่1และที่2จึงต้องร่วมกับจำเลยที่3รับผิดต่อโจทก์ด้วยตามมาตรา617

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5342/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการเพิกถอนการขายทอดตลาดในคดีล้มละลาย หากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มอบหมายให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการแทน
การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้มอบให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการขายทอดตลาดที่ดินของจำเลยที่ 2 ผู้ถูกพิทักษ์ทรัพย์ในคดีล้มละลายแทนโดยที่ดินดังกล่าวได้ถูกยึดในคดีแพ่งเพื่อบังคับคดีตามคำพิพากษาตามยอมก่อนแล้วนั้น ถือได้ว่าเป็นการกระทำอย่างหนึ่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 146 การที่จำเลยที่ 2 ยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดอ้างว่าการขายทอดตลาดกระทำไปโดยไม่สุจริต ซึ่งหากเป็นความจริงย่อมถือได้ว่าจำเลยที่ 2 เป็นบุคคลผู้ได้รับความเสียหายโดยการกระทำของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ จึงมีสิทธิยื่นคำร้องในคดีล้มละลายขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2128/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีของสหกรณ์: ต้องได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการดำเนินการ
โจทก์มีคณะกรรมการดำเนินการ 15 คน โดยมี ช.เป็นประธานกรรมการ ตามข้อบังคับของโจทก์ระบุอำนาจและหน้าที่ของคณะกรรมการดำเนินการในเรื่องอำนาจฟ้องคดีเป็นอำนาจของคณะกรรมการดำเนินการโดย-เฉพาะ เว้นแต่จะได้มอบหมายให้กรรมการหรือผู้จัดการทำแทนตาม มาตรา 24แห่ง พ.ร.บ.สหกรณ์ พ.ศ.2511 แต่ในการฟ้องคดีนี้ไม่ปรากฏว่าคณะกรรมการได้มอบหมายให้ ช.ประธานกรรมการและ ก. ผู้จัดการของโจทก์ดำเนินการฟ้องคดีแทนโจทก์ แม้ ช.เป็นกรรมการผู้หนึ่งของโจทก์ แต่ลำพังเพียง ช.คนเดียวมิใช่เสียงข้างมากของคณะกรรมการดำเนินการของโจทก์ ตามความใน ป.พ.พ.มาตรา 77 เดิม จึงไม่อาจดำเนินกิจการของโจทก์ได้ ดังนั้น การที่ ช.และ ก.ลงลายมือชื่อและประทับตราของโจทก์ในใบแต่งทนายความ จึงไม่มีอำนาจฟ้องคดีแทนโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2128/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีของสหกรณ์: คณะกรรมการดำเนินการต้องมอบหมายให้ผู้มีอำนาจดำเนินการแทน
โจทก์มีคณะกรรมการดำเนินการ 15 คน โดยมี ช. เป็นประธานกรรมการ ตามข้อบังคับของโจทก์ระบุอำนาจและหน้าที่ของคณะกรรมการดำเนินการในเรื่องอำนาจฟ้องคดีเป็นอำนาจของคณะกรรมการดำเนินการโดยเฉพาะ เว้นแต่จะได้มอบหมายให้กรรมการหรือผู้จัดการทำแทนตาม มาตรา 24 แห่ง พระราชบัญญัติสหกรณ์พ.ศ. 2511 แต่ในการฟ้องคดีนี้ไม่ปรากฏว่าคณะกรรมการได้มอบหมายให้ ช. ประธานกรรมการและ ก. ผู้จัดการของโจทก์ดำเนินการฟ้องคดีแทนโจทก์ แม้ ช. เป็นกรรมการผู้หนึ่งของโจทก์ แต่ลำพังเพียง ช. คนเดียวมิใช่เสียงข้างมากของคณะกรรมการดำเนินการของโจทก์ ตามความในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 77 เดิมจึงไม่อาจดำเนินกิจการของโจทก์ได้ ดังนั้น การที่ ช. และก.ลงลายมือชื่อและประทับตราของโจทก์ในใบแต่งทนายความ จึงไม่มีอำนาจฟ้องคดีแทนโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 694/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความละเมิดขยายเมื่อศาลสั่งคืนคำฟ้อง และนายจ้างต้องรับผิดต่อละเมิดของลูกจ้างที่มอบหมายให้คนอื่นขับรถ
ศาลสั่งคืนคำฟ้องให้โจทก์ไปยื่นต่อศาลที่มีเขตอำนาจภายในกำหนดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 176 เดิม ซึ่งบังคับใช้อยู่ในขณะนั้นคดีของโจทก์ย่อมขยายอายุความออกไป 6 เดือน เมื่อโจทก์นำฟ้องมายื่นใหม่ภายใน 6 เดือน ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ เมื่อบุคคลอื่นขับรถแทนลูกจ้างในทางการที่จ้างของจำเลย ต้องถือว่าการที่ลูกจ้างให้คนอื่นขับรถแทนจนก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์จำเลยผู้เป็นนายจ้างจึงต้องร่วมรับผิดในผลแห่งละเมิดที่ลูกจ้างได้กระทำไปในทางการที่จ้าง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 634/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิครอบครองและการเป็นผู้เสียหายในคดีบุกรุก: กรณีมอบหมายดูแลสถานประกอบการ
พ่อตาผู้เสียหายมอบให้ผู้เสียหายกับภริยาเป็นผู้ดูแลร้านอาหารที่เกิดเหตุโดยผู้เสียหายพักอาศัยอยู่ที่ร้านด้วย จึงมีสิทธิครอบครองและเป็นผู้เสียหายตามกฎหมายในความผิดฐานบุกรุก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1292/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าพนักงานเบียดบังทรัพย์ที่ได้รับมอบหมาย แม้ไม่ใช่หน้าที่โดยตรง
จำเลยเป็นข้าราชการอยู่ภายใต้บังคับบัญชาของนายกเทศมนตรีเมืองเพชรบูรณ์และได้รับคำสั่งมอบหมายจากนายกเทศมนตรีให้ไปรับเงินจากศาลมามอบให้เทศบาล แม้จะไม่ใช่หน้าที่ตามตำแหน่งของจำเลยโดยตรง แต่เมื่อจำเลยได้รับมอบหมายให้จัดการแล้ว จำเลยจึงเป็นเจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่จัดการเกี่ยวกับเงินที่ได้รับมอบหมายนั้น เมื่อจำเลยมีเจตนาทุจริตเบียดบังเอาเงินนั้นเป็นของตนจำเลยจึงมีความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานเบียดบังทรัพย์ที่ได้รับมอบหมายให้มีหน้าที่จัดการเป็นของตนโดยทุจริต ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 147

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 815/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทนายความรับเงินแทนลูกหนี้โดยไม่ได้รับมอบหมาย ไม่ถือเป็นการยักยอกทรัพย์ของผู้เสียหาย
จำเลยได้รับแต่งตั้งจากผู้เสียหายให้เป็นทนายความโดยมิได้รับมอบหมายให้รับเงินแทนผู้เสียหาย จำเลยในฐานะเป็นทนายความของผู้เสียหายจึงเพียงแต่มีอำนาจว่าความและดำเนินกระบวนพิจารณาใด ๆแทนผู้เสียหายได้เท่านั้น ไม่มีอำนาจที่จะรับเงินซึ่งลูกหนี้จะชำระแก่ผู้เสียหาย ผู้เสียหายจ้างจำเลยเป็นทนายความให้ฟ้องเรียกเงินกู้จากค.ต่อมาผู้เสียหายกับค. ได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันโดย ค. ยอมชำระเงิน 45,000 บาท แก่ผู้เสียหาย ชำระให้ในวันทำสัญญาประนีประนอมยอมความ 10,000 บาท ส่วนที่เหลืออีก 35,000บาท จะผ่อนชำระ ต่อมา ค. ได้นำเงิน 35,000 บาท ที่เหลือไปชำระให้แก่จำเลย จำเลยรับเงินจำนวน 35,000 บาท โดยผู้เสียหายไม่ได้มอบหมายให้จำเลยมีอำนาจรับเงินจาก ค. แทนผู้เสียหายฉะนั้น เงินที่จำเลยรับไว้จาก ค. จึงยังมิใช่เป็นเงินของผู้เสียหาย แม้จำเลยได้เบียดบังเอาเงินจำนวนดังกล่าวไว้เป็นของตนโดยทุจริตก็ตาม ก็ยังไม่เป็นความผิดฐานยักยอกทรัพย์ของผู้เสียหาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 815/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทนายความรับเงินแทนลูกความโดยไม่ได้รับมอบหมาย ไม่ถือเป็นการยักยอกทรัพย์
จำเลยได้รับแต่งตั้งจากผู้เสียหายให้เป็นทนายความของผู้เสียหายโดยมิได้รับมอบหมายให้รับเงินแทนผู้เสียหาย ดังนั้นจำเลยในฐานะเป็นทนายความของผู้เสียหายจึงเพียงแต่มีอำนาจว่าความและดำเนินกระบวนพิจารณาใด ๆ แทนผู้เสียหายได้เท่านั้น จำเลยหามีอำนาจที่จะรับเงินซึ่งจะชำระแก่ผู้เสียหายไม่ ผู้เสียหายจ้างจำเลยเป็นทนายความให้ฟ้องเรียกเงินกู้จาก ค.ต่อมาผู้เสียหายกับ ค.ได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันโดยค.ยอมชำระเงิน 45,000 บาท แก่ผู้เสียหาย ชำระให้ในวันทำสัญญาประนีประนอมยอมความ 10,000 บาท ส่วนที่เหลืออีก 35,000 บาทจะผ่อนชำระ ต่อมา ค.ได้นำเงิน 35,000 บาท ที่เหลือไปชำระให้แก่จำเลย จำเลยรับเงินดังกล่าวโดยผู้เสียหายไม่ได้มอบหมายให้จำเลยมีอำนาจรับเงินจาก ค.แทนผู้เสียหาย ฉะนั้น เงินที่จำเลยรับไว้จาก ค. จึงยังมิใช่เป็นเงินของผู้เสียหาย แม้จะฟังว่าจำเลยได้เบียดบังเอาเงินจำนวนดังกล่าวไว้เป็นของตนโดยทุจริตก็ตามก็ยังไม่เป็นความผิดฐานยักยอกทรัพย์ของผู้เสียหาย ผู้เสียหายจึงไม่มีสิทธิร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนให้ดำเนินคดีแก่จำเลยโจทก์จึงไม่มีอำนาจนำคดีมาฟ้อง (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 190/2532)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3323/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตนายจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย ผู้รับมอบหมายทำงานแทนกรรมการถือเป็นนายจ้าง
จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคล จำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 เป็นกรรมการ จำเลยที่ 5 เป็นผู้จัดการ มีอำนาจแต่งตั้งพนักงานและทำการแทนจำเลยที่ 1 ได้ เป็นการได้รับมอบหมายให้ทำงานแทนกรรมการของจำเลยที่ 1 จึงถือว่าจำเลยที่ 5 เป็นนายจ้างของโจทก์ทั้งยี่สิบสองตามคำนิยามของคำว่า "นายจ้าง" ในข้อ 2 แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ซึ่งให้คำนิยามของคำว่า"นายจ้าง" ไว้ว่าให้หมายความรวมถึงผู้ซึ่งได้รับมอบหมายให้ทำงานแทนผู้มีอำนาจกระทำแทนนิติบุคคลด้วย.
of 19