พบผลลัพธ์ทั้งหมด 25 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 89/2502
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148 แม้ศาลไม่อนุญาตแก้ฟ้องหรือสืบพยาน
เมื่อฟ้องของโจทก์ในคดีนี้มีประเด็นว่า ทรัพย์พิพาทเป็นของใคร นิติกรรมซื้อขายเป็นนิติกรรมอำพรางหรือไม่ เป็นประเด็นเช่นเดียวกับที่ได้ฟ้องร้องกันมาแล้วในคดีก่อน และศาลได้วินิจฉัยประเด็นข้อโต้เถียงระหว่างโจทก์จำเลยแล้วทุกประเด็น จึงเป็นฟ้องซ้ำซึ่งต้องห้ามตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148
การที่ศาลสั่งไม่อนุญาตให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องและคำให้การในคดีเรื่องก่อนก็ดี สั่งงดไม่ให้สืบพยานก็ดีล้วนแต่เป็นเรื่องดำเนินการพิจารณาในคดีทั้งสิ้น คำสั่งของศาลดังกล่าวจะเป็นการถูกต้องชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เป็นเรื่องที่จะต้องว่ากล่าวกันให้ถึงที่สุดไปด้วยการอุทธรณ์ฎีกาคู่ความจะหาวิธีแก้ด้วยการยื่นคำฟ้องใหม่โดยหวังจะให้คำพิพากษาในคดีเรื่องใหม่นี้ลบล้างคำพิพากษาเรื่องก่อนซึ่งมีผลบังคับตามกฎหมายผูกพันคู่ความอยู่แล้วในประเด็นเดียวกันหาได้ไม่
การที่ศาลสั่งไม่อนุญาตให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องและคำให้การในคดีเรื่องก่อนก็ดี สั่งงดไม่ให้สืบพยานก็ดีล้วนแต่เป็นเรื่องดำเนินการพิจารณาในคดีทั้งสิ้น คำสั่งของศาลดังกล่าวจะเป็นการถูกต้องชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เป็นเรื่องที่จะต้องว่ากล่าวกันให้ถึงที่สุดไปด้วยการอุทธรณ์ฎีกาคู่ความจะหาวิธีแก้ด้วยการยื่นคำฟ้องใหม่โดยหวังจะให้คำพิพากษาในคดีเรื่องใหม่นี้ลบล้างคำพิพากษาเรื่องก่อนซึ่งมีผลบังคับตามกฎหมายผูกพันคู่ความอยู่แล้วในประเด็นเดียวกันหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 329/2499
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: แม้ประเด็นต่างกัน หากเหตุฟ้องร้องเป็นเดียวกัน (ผิดสัญญา) และเคยขอสงวนสิทธิไว้แล้ว ถือเป็นฟ้องซ้ำตามมาตรา 148
คดีจะเป็นฟ้องซ้ำนั้นตาม มาตรา148 วางหลักสำคัญไว้ว่าคู่ความเดียวกันอย่างหนึ่ง ได้ฟ้องร้องกันจนคดีถึงที่สุดแล้วอย่างหนึ่งเหตุแห่งการฟ้องร้องเป็นอันเดียวกันอีกอย่างหนึ่ง ต้องห้ามมิให้รื้อฟื้นร้องฟ้องกันอีก
เมื่อปรากฏว่าคดีเรื่องก่อนเป็นคู่ความเดียวกันกับคดีนี้และได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้วแม้ประเด็นในคดีเรื่องก่อนจะเป็นการให้คืนหนองน้ำ ส่วนคดีเรื่องนี้เป็นการใช้ค่าเสียหายก็ดีแต่ก็คงรวมอยู่ในเหตุแห่งการฟ้องร้องอย่างเดียวกันคือจำเลยที่ 1 ประพฤติผิดสัญญานั่นเอง(ทั้งคดีก่อนศาลก็ไม่ได้ให้สิทธิแก่โจทก์ที่จะฟ้องเรียกค่าเสียหายใหม่ดังที่ได้ขอไว้) ดังนั้นการที่โจทก์มาฟ้องเป็นคดีนี้จึงต้องห้ามเพราะเป็นฟ้องซ้ำ
เมื่อปรากฏว่าคดีเรื่องก่อนเป็นคู่ความเดียวกันกับคดีนี้และได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้วแม้ประเด็นในคดีเรื่องก่อนจะเป็นการให้คืนหนองน้ำ ส่วนคดีเรื่องนี้เป็นการใช้ค่าเสียหายก็ดีแต่ก็คงรวมอยู่ในเหตุแห่งการฟ้องร้องอย่างเดียวกันคือจำเลยที่ 1 ประพฤติผิดสัญญานั่นเอง(ทั้งคดีก่อนศาลก็ไม่ได้ให้สิทธิแก่โจทก์ที่จะฟ้องเรียกค่าเสียหายใหม่ดังที่ได้ขอไว้) ดังนั้นการที่โจทก์มาฟ้องเป็นคดีนี้จึงต้องห้ามเพราะเป็นฟ้องซ้ำ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 628/2494 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ-กรรมสิทธิ์ที่ดิน: กรณีที่ดินพิพาทเป็นสินสมรส การฟ้องซ้ำตาม ป.วิ.แพ่ง ม.148
คดีก่อนจำเลยฟ้องสามีโจทก์ขอให้ศาลแสดงกรรมสิทธิ์และขับไล่สามีโจทก์และบริวารนอกจากที่พิพาท สามีโจทก์ต่อสู้คดีว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์ได้รับมรดกมาในระหว่างที่สามีโจทก์กับโจทก์เป็นสามีภรรยากันแล้ว ซึ่งนับว่าเป็นสินสมรสระหว่างสามีโจทก์กับโจทก์เมื่อศาลพิพากษาขับไล่สามีโจทก์และบริวารออกจากที่พิพาทแล้วโจทก์กลับมาฟ้องจำเลยขอให้แสดงกรรมสิทธิในที่พิพาทว่าเป็นของโจทก์และให้เพิกถอนคำพิพากษาในคดีก่อนนั้นโดยอ้างว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์ได้รับมรดกมาในในระหว่างเป็นสามีภรรยากันคือเป็นสินสมรส อย่างที่สามีโจทก์เคยให้การต่อสู้ไว้ในคดีก่อน เช่นนี้ ย่อมเป็นฟ้องซ้ำตามบทบัญญัติ ป.ม.วิ.แพ่งมาตรา 148 จะถือว่าโจทก์เป็นบุคคลภายนอกตามความหมายแห่งมาตรา 145(2) ไม่ได้ ต้องถือว่าโจทก์เป็นบริวารของสามี
โจทก์จำเลยโต้เถียงกรรมสิทธิที่ดินกัน จำเลยได้ให้การต่อสู้คดีว่าโจทก์ฟ้องซ้ำด้วย ศาลชั้นต้นวินิจฉัยไม่เป็นฟ้องซ้ำแต่ฟังข้อเท็จจริงว่า เป็นที่ของจำเลย จึงพิพากษายกฟ้องโจทก์ จำเลยจึงไม่อยู่ที่จะเป็นผู้อุทธรณ์คดี แต่จำเลยกล่าวแก้อุทธรณ์โจทก์ ได้หยิบยกปัญหาข้อนี้ขึ้นกล่าวไว้ในคำแก้อุทธรณ์ด้วย ดังนี้ ย่อมถือได้ว่าจำเลยได้อ้างอิงข้อกฎหมายนี้ให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยด้วยแล้ว ศาลอุทธรณ์จึงมีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้
โจทก์จำเลยโต้เถียงกรรมสิทธิที่ดินกัน จำเลยได้ให้การต่อสู้คดีว่าโจทก์ฟ้องซ้ำด้วย ศาลชั้นต้นวินิจฉัยไม่เป็นฟ้องซ้ำแต่ฟังข้อเท็จจริงว่า เป็นที่ของจำเลย จึงพิพากษายกฟ้องโจทก์ จำเลยจึงไม่อยู่ที่จะเป็นผู้อุทธรณ์คดี แต่จำเลยกล่าวแก้อุทธรณ์โจทก์ ได้หยิบยกปัญหาข้อนี้ขึ้นกล่าวไว้ในคำแก้อุทธรณ์ด้วย ดังนี้ ย่อมถือได้ว่าจำเลยได้อ้างอิงข้อกฎหมายนี้ให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยด้วยแล้ว ศาลอุทธรณ์จึงมีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 792/2493
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีซ้ำโดยไม่เสนอพยานหลักฐานใหม่: ศาลยกฟ้องตามมาตรา 148 ว.พ.พ.
ศาลพิพากษายกฟ้องเพราะโจทก์มิได้ยื่นบัญชีระบุพยานนั้นถือว่าพยานหลักฐานของโจทก์ต้องห้ามมิให้รับฟังตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 87(2) อันเป็นเหตุให้ศาลวินิจฉัยประเด็นแห่งคดีว่า คำฟ้องโจทก์ไม่มีพยานหลักฐานสนับสนุนโจทก์จะมารื้อฟ้องขึ้นใหม่อีกไม่ได้ คดีต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 206/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: คดีแพ่งที่ศาลเคยวินิจฉัยชี้ขาดแล้ว ห้ามฟ้องซ้ำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148
คดีก่อนจำเลยที่ 2 คดีนี้ ฟ้องโจทก์ทั้งสองในคดีนี้เป็นจำเลยว่า จำเลยที่ 2 ในฐานะโจทก์คดีดังกล่าวจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลประเภทกองทุนรวมตาม พ.ร.บหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ.2535 โดยมีบริษัท ว. เป็นผู้จัดการ เมื่อวันที่ 12 มกราคม 2542 ระหว่างที่จำเลยที่ 2 ดำเนินการจัดตั้งเป็นกองทุนรวม ได้มอบให้ อ. ซื้อสินทรัพย์ด้อยคุณภาพจากจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ขาย ตาม พ.ร.ก. การปฏิรูประบบสถาบันการเงิน พ.ศ.2540 ซึ่งสินทรัพย์ด้อยคุณภาพที่ อ. ซื้อมารวมถึงมูลหนี้ตั๋วสัญญาใช้เงิน สัญญาค้ำประกัน สัญญาจำนอง ที่จำเลยที่ 2 นำมาฟ้องโจทก์ทั้งสองให้รับผิด และต่อมาเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2542 จำเลยที่ 2 ได้รับอนุมัติให้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลประเภทกองทุนรวมจึงได้ให้สัตยาบันการกระทำของ อ. จำเลยที่ 2 จึงอยู่ในฐานะเป็นผู้รับโอนสิทธิเรียกร้อง ซึ่งโจทก์ทั้งสองให้การต่อสู้ในคดีดังกล่าวว่า จำเลยที่ 2 ไม่มีสภาพเป็นนิติบุคคล และไม่อยู่ในฐานะผู้รับโอนสิทธิเพราะมิได้มอบให้ อ. ทำการซื้อขายแทน ต่อมาโจทก์ทั้งสองได้แถลงขอสละข้อต่อสู้ตามคำให้การทั้งหมดและยอมรับว่าเป็นหนี้จำลยที่ 2 ซึ่งเป็นโจทก์ในคดีดังกล่าวจริง ดังนี้ ข้อต่อสู้ดังกล่าวรวมถึงข้ออ้างของโจทก์ทั้งสองในคดีนี้ที่ว่าการซื้อขายทรัพย์สินด้อยคุณภาพระหว่างจำเลยทั้งสองขัดต่อกฎหมาย และ ม. ไม่มีอำนาจลงนามในสัญญาซื้อขายแทนจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงที่มีอยู่แล้วในคดีก่อนที่จะนำมาอ้างว่าจำเลยที่ 2 ไม่อยู่ในฐานะเป็นผู้รับโอนสิทธิเรียกร้องโดยชอบด้วยกฎหมายในคดีนี้ ถือได้ว่าศาลได้วินิจฉัยชี้ขาดแล้ว ที่โจทก์ทั้งสองมาฟ้องจำเลยที่ 2 คดีนี้ จึงเป็นฟ้องซ้ำ ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148
เมื่อโจทก์ทั้งสองต้องห้ามมิให้ฟ้องจำเลยที่ 2 เป็นคดีนี้ในประเด็นที่ขอให้เพิกถอนนิติกรรมที่จำเลยที่ 2 ทำกับจำเลยที่ 1 ฎีกาของโจทก์ทั้งสองในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 จึงไม่เป็นสาระอันควรได้รับการวินิจฉัย
เมื่อโจทก์ทั้งสองต้องห้ามมิให้ฟ้องจำเลยที่ 2 เป็นคดีนี้ในประเด็นที่ขอให้เพิกถอนนิติกรรมที่จำเลยที่ 2 ทำกับจำเลยที่ 1 ฎีกาของโจทก์ทั้งสองในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 จึงไม่เป็นสาระอันควรได้รับการวินิจฉัย