พบผลลัพธ์ทั้งหมด 27 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4096/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีต้องห้ามอุทธรณ์ปัญหาข้อเท็จจริงตามมาตรา 224 พ.ร.บ.วิธีพิจารณาความแพ่ง กรณีค่าเช่าอาคารต่ำกว่าเกณฑ์
การที่โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากอาคารพิพาท และให้จำเลยใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์เดือนละ 20,000 บาทนั้น เมื่อโจทก์เรียกค่าเสียหายมาเป็นส่วนหนึ่งของการฟ้องขับไล่ มิได้เรียกมาอย่างเอกเทศในข้อหาอื่น และขณะยื่นคำฟ้องปรากฏว่าอาคารพิพาทมีค่าเช่าไม่ถึงเดือนละ 2,000 บาท จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224
ในคดีที่ต้องห้ามอุทธรณ์ปัญหาข้อเท็จจริง แม้ศาลอุทธรณ์จะวินิจฉัยปัญหาข้อเท็จจริงให้ก็เป็นการไม่ชอบ ถือว่าข้อเท็จจริงดังกล่าวมิใช่ข้อที่ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 เช่นเดียวกับฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์
แม้จำเลยจะได้ทำสัญญาเช่าอาคารพิพาทกับเจ้าของอาคารซึ่งได้เลิกสัญญาเช่ากับโจทก์แล้วก็ตาม แต่เมื่อโจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยก่อนที่จำเลยจะทำสัญญาเช่ากับเจ้าของอาคารโดยขณะนั้นโจทก์ยังเป็นผู้เช่าอาคารพิพาทอยู่จำเลยจึงหาอาจยกสัญญาเช่าของจำเลยมาเป็นข้อต่อสู้ไม่ยอมออกจากอาคารพิพาทที่จำเลยอาศัยอยู่โดยสิทธิของโจทก์ได้ไม่.
ในคดีที่ต้องห้ามอุทธรณ์ปัญหาข้อเท็จจริง แม้ศาลอุทธรณ์จะวินิจฉัยปัญหาข้อเท็จจริงให้ก็เป็นการไม่ชอบ ถือว่าข้อเท็จจริงดังกล่าวมิใช่ข้อที่ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 เช่นเดียวกับฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์
แม้จำเลยจะได้ทำสัญญาเช่าอาคารพิพาทกับเจ้าของอาคารซึ่งได้เลิกสัญญาเช่ากับโจทก์แล้วก็ตาม แต่เมื่อโจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยก่อนที่จำเลยจะทำสัญญาเช่ากับเจ้าของอาคารโดยขณะนั้นโจทก์ยังเป็นผู้เช่าอาคารพิพาทอยู่จำเลยจึงหาอาจยกสัญญาเช่าของจำเลยมาเป็นข้อต่อสู้ไม่ยอมออกจากอาคารพิพาทที่จำเลยอาศัยอยู่โดยสิทธิของโจทก์ได้ไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4997-4998/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องขับไล่และการอุทธรณ์ข้อเท็จจริงที่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์ซื้อที่ดินมาจากเจ้าของเดิม จำเลยปลูกบ้านอยู่ในที่ดินแปลงดังกล่าวโดยอาศัยเจ้าของเดิมโจทก์บอกกล่าวให้จำเลยรื้อบ้านและออกไปจากที่ดิน โดยบอกกล่าวหลังจากซื้อมาประมาณปีเศษ จำเลยเพิกเฉย ทำให้โจทก์ขาดประโยชน์จากการให้เช่าที่ดินเดือนละ 100 บาทขอให้ขับไล่และเรียกค่าเสียหาย จำเลยให้การว่าจำเลยเป็นเพียงผู้อาศัยอยู่ในบ้านของผู้มีชื่อ มิได้อาศัยอยู่ในที่ดินของโจทก์ ดังนี้เป็นคดีฟัองขับไล่ผู้อาศัยออกจากที่ดิน ซึ่งในขณะยื่นคำฟ้องอาจให้เช่าได้ไม่เกินเดือนละสองพันบาท และจำเลยมิได้กล่าวแก้เป็นข้อพิพาทด้วยกรรมสิทธิ์หรือยกข้อโต้เถียงในเรื่องแปลความหมายแห่งสัญญาอาศัย ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1652/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีขับไล่ผู้เช่าพ้นอาคารหลังสัญญาเช่าสิ้นสุด ศาลจำกัดสิทธิอุทธรณ์เฉพาะข้อกฎหมายตามมาตรา 224 ว.สอง
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยซึ่งเป็นบริวารของผู้เช่าออกจากตึกแถวที่เช่าเพราะครบกำหนดตามสัญญาเช่าแล้ว โดยเรียกค่าเสียหายที่ไม่อาจให้ผู้อื่นเช่าได้ค่าเช่าเดือนละ 1,500บาทมาด้วย จำเลยให้การต่อสู้ว่ายังไม่ครบกำหนดเวลาตามสัญญาเช่า และโจทก์ให้จำเลยเช่าต่อจากบิดาจำเลยเป็นคดีฟ้องขับไล่ผู้เช่าหรือผู้อาศัยออกจากอสังหาริมทรัพย์อันมีค่าเช่าในขณะยื่นคำฟ้องไม่เกินเดือนละ 2,000 บาทจึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 วรรคสอง แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 6)พ.ศ. 2518 มาตรา 3จำเลยจึงมีสิทธิอุทธรณ์ฎีกาได้เฉพาะปัญหาข้อกฎหมาย และศาลอุทธรณ์และศาลฎีกาจะต้องฟังข้อเท็จจริงตามที่ศาลชั้นต้นฟังมาจากพยานหลักฐานในสำนวน
ศาลชั้นต้นกำหนดค่าเสียหายให้โจทก์เดือนละ 1,000 บาทเป็นดุลพินิจของศาลชั้นต้นและเป็นปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้จำเลยอุทธรณ์ แม้ศาลอุทธรณ์จะรับวินิจฉัยให้ก็เป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย และถือว่าข้อเท็จจริงเป็นอันยุติไปตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้นศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
ถึงแม้สัญญาเช่าระหว่างโจทก์กับบิดาจำเลยจะเป็นสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดา ก็ไม่ทำให้จำเลยมีสิทธิอยู่ในตึกแถวพิพาทหลังจากสัญญาเช่าครบกำหนดได้
เมื่อสัญญาเช่าระหว่างโจทก์กับบิดาจำเลยระงับลงตามกำหนดเวลาที่ได้ตกลงกันไว้แล้ว โจทก์ผู้ให้เช่าจึงไม่ต้องบอกกล่าวเลิกสัญญาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 564
หลังจากบิดาจำเลยซึ่งเป็นผู้เช่าถึงแก่กรรม แม้โจทก์ยังเก็บค่าเช่าจากจำเลยและออกใบเสร็จรับเงินให้ แต่ออกให้ในนามของบิดาจำเลย กรณีจึงถือไม่ได้ว่าใบเสร็จรับเงินดังกล่าวเป็นหลักฐานการเช่าเป็นหนังสือระหว่างโจทก์กับจำเลย
ศาลชั้นต้นกำหนดค่าเสียหายให้โจทก์เดือนละ 1,000 บาทเป็นดุลพินิจของศาลชั้นต้นและเป็นปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้จำเลยอุทธรณ์ แม้ศาลอุทธรณ์จะรับวินิจฉัยให้ก็เป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย และถือว่าข้อเท็จจริงเป็นอันยุติไปตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้นศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
ถึงแม้สัญญาเช่าระหว่างโจทก์กับบิดาจำเลยจะเป็นสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดา ก็ไม่ทำให้จำเลยมีสิทธิอยู่ในตึกแถวพิพาทหลังจากสัญญาเช่าครบกำหนดได้
เมื่อสัญญาเช่าระหว่างโจทก์กับบิดาจำเลยระงับลงตามกำหนดเวลาที่ได้ตกลงกันไว้แล้ว โจทก์ผู้ให้เช่าจึงไม่ต้องบอกกล่าวเลิกสัญญาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 564
หลังจากบิดาจำเลยซึ่งเป็นผู้เช่าถึงแก่กรรม แม้โจทก์ยังเก็บค่าเช่าจากจำเลยและออกใบเสร็จรับเงินให้ แต่ออกให้ในนามของบิดาจำเลย กรณีจึงถือไม่ได้ว่าใบเสร็จรับเงินดังกล่าวเป็นหลักฐานการเช่าเป็นหนังสือระหว่างโจทก์กับจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2153/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีฟ้องขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ แม้มีเรียกค่าเสียหาย ก็ไม่อยู่ในข้อจำกัดการอุทธรณ์ตามมาตรา 224 วรรคสอง
โจทก์ฟ้องขอให้ห้ามจำเลยทำการซ่อมรถยนต์ ไม่ว่าจะเป็นการซ่อมเครื่องยนต์หรืออุปกรณ์ต่าง ๆ รวมทั้งการเคาะและพ่นสีซึ่งก่อให้เกิดเสียงดัง หรือส่งกลิ่นเหม็นทำความเดือดร้อนรำคาญและเป็นอันตรายต่อร่างกายกับอนามัยของโจทก์นั้น ถือได้ว่าเป็นคดีฟ้องขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ซึ่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224วรรคสอง แก้ไขโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง(ฉบับที่ 6) พ.ศ.2518 มาตรา 3 มิได้ห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงถึงแม้โจทก์จะมีคำขอให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ 10,000 บาท และค่าเสียหายในอนาคตเดือนละ 5,000 บาท นับแต่วันฟ้องจนกว่าจำเลยจะไม่ละเมิดสิทธิของโจทก์อีกต่อไป ก็ไม่ทำให้เป็นคดีมีทุนทรัพย์ตามความหมายของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 224วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1143/2482
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือมอบฉันทะไม่ใช่หนังสือสำคัญตามกฎหมายอาญา มาตรา 224 ผู้ปลอมจึงไม่ผิด
หนังสือใบมอบฉันทะให้ไปรับของกลางที่อำเภอนั้นไม่ใช่หนังสือสำคัญตามความหมายในกฎหมายอาญา ม.6(20) ผู้ปลอมไม่มีผิดตามกฎหมายอาญามาตรา 224
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5779/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์ฟ้องแย้งต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง กรณีทุนทรัพย์น้อยกว่าห้าหมื่นบาท
ที่จำเลยฎีกาขอให้โจทก์ชำระราคาสินค้าที่ค้างชำระเป็นเงิน 11,329.38 บาท ให้แก่โจทก์ตามฟ้องแย้งของจำเลย เนื่องจากทุนทรัพย์ตามฟ้องแย้งมีจำนวนไม่เกินห้าหมื่นบาท ต้องห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง ที่โจทก์อุทธรณ์ว่า แม้โจทก์ยังไม่ชำระราคาสินค้าจำนวน 11,329.38 บาท ให้แก่จำเลยก็ตาม แต่เมื่อจำเลยส่งมอบแผ่นหลังคาเหล็กให้แก่โจทก์ไม่ตรงตามสัญญา โจทก์ชอบที่จะยึดหน่วงราคาสินค้าไว้ได้ เป็นอุทธรณ์ที่โต้เถียงคำพิพากษาของศาลชั้นต้นในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง แม้ศาลชั้นต้นจะสั่งรับอุทธรณ์มาและศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยให้ก็เป็นการไม่ชอบ ต้องถือว่าฟ้องแย้งของจำเลยเป็นอันยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นไม่เป็นปัญหาที่ต้องวินิจฉัยในชั้นอุทธรณ์ จำเลยจึงไม่อาจฎีกาขอให้โจทก์ชำระเงิน 11,329.38 บาท ให้แก่จำเลยได้ เพราะไม่ใช่ปัญหาที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในชั้นอุทธรณ์ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง แม้ศาลชั้นต้นจะสั่งรับฎีกามา ศาลฎีกาก็ไม่รับวินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14296/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อุทธรณ์ต้องห้ามตามมาตรา 224 วรรคหนึ่ง ป.วิ.พ. กรณีทุนทรัพย์ไม่เกินห้าหมื่นบาท และหน้าที่การยื่นคำร้องขอรับรองเหตุอุทธรณ์
คดีที่ราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ไม่เกินห้าหมื่นบาท ซึ่งต้องห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงนั้น ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง บัญญัติข้อยกเว้นให้คู่ความอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงได้ เมื่อผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีนั้นในศาลชั้นต้นได้ทำความเห็นแย้งไว้หรือได้รับรองว่ามีเหตุอันควรอุทธรณ์ได้ ถ้าไม่มีความเห็นแย้งหรือคำรับรองเช่นว่านี้ ต้องได้รับอนุญาตให้อุทธรณ์เป็นหนังสือจากอธิบดีผู้พิพากษาชั้นต้นหรืออธิบดีผู้พิพากษาภาคผู้มีอำนาจ แล้วแต่กรณีซึ่งการขอให้ผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาในคดีในศาลชั้นต้นรับรองว่ามีเหตุอันควรอุทธรณ์ได้นั้นมาตรา 224 วรรคสาม บัญญัติให้ผู้อุทธรณ์ยื่นคำร้องถึงผู้พิพากษานั้นพร้อมกับคำฟ้องอุทธรณ์ต่อศาลชั้นต้น เมื่อศาลได้รับคำร้องเช่นว่านั้น ให้ศาลส่งคำร้องพร้อมด้วยสำนวนความไปยังผู้พิพากษาดังกล่าวเพื่อพิจารณารับรอง ดังนั้น หากโจทก์ประสงค์จะขอให้ผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาในคดีในศาลชั้นต้นรับรองว่ามีเหตุอันควรอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงโจทก์มีหน้าที่ต้องยื่นคำร้องพร้อมกับคำฟ้องอุทธรณ์ต่อศาลชั้นต้น เมื่อโจทก์ยื่นคำฟ้องอุทธรณ์โดยไม่ได้ยื่นคำร้องเพื่อให้ดำเนินการในเรื่องดังกล่าว อุทธรณ์ของโจทก์จึงต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับอุทธรณ์ของโจทก์จึงเป็นการฝ่าฝืนบทบัญญัติว่าด้วยอุทธรณ์ เมื่อศาลอุทธรณ์ตรวจสำนวนความแล้วเห็นว่าอุทธรณ์นั้นต้องห้ามตามกฎหมาย ศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจพิพากษายกอุทธรณ์ของโจทก์เสียได้ตามมาตรา 242 (1) ทั้งการที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้รับอุทธรณ์ของโจทก์มาโดยไม่ชอบนั้น มิใช่กรณีที่ศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติว่าด้วยคำพิพากษาและคำสั่งตามมาตรา 243 (1) อันจะเป็นเหตุให้ศาลอุทธรณ์มีอำนาจยกคำสั่งของศาลชั้นต้นแล้วส่งสำนวนคืนไปยังศาลชั้นต้นเพื่อให้มีคำสั่งใหม่ได้