คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
มารดา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 93 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6434/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญชาติไทยของบุตรที่เกิดจากมารดาถูกถอนสัญชาติไทยตามประกาศคณะปฏิวัติ
มารดาโจทก์เกิดโดยบิดามารดาเป็นคนสัญชาติญวนซึ่งเป็นคนต่างด้าว มารดาโจทก์จึงต้องถูกถอนสัญชาติไทยตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 ลงวันที่ 13 ธันวาคม2515 ข้อ 1 และถือได้ว่ามารดาโจทก์เป็นคนต่างด้าว การที่นายทะเบียนไม่ออกบัตรประจำตัวคนต่างด้าวให้แก่มารดาโจทก์ตาม พ.ร.บ. การทะเบียนคนต่างด้าว พ.ศ.2493 มาตรา 5และ 8 ก็ไม่ทำให้มารดาโจทก์เป็นคนมีสัญชาติไทย
ขณะโจทก์เกิดบิดามารดาโจทก์ยังไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน มารดาโจทก์ถูกถอนสัญชาติเป็นคนต่างด้าว โจทก์เกิดภายหลังที่ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337ใช้บังคับ แม้จะเกิดในราชอาณาจักร โจทก์ก็ไม่ได้สัญชาติไทย และถึงแม้บิดามารดาโจทก์จดทะเบียนสมรสกันในภายหลังก็มีผลเพียงให้โจทก์เป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายตาม ป.พ.พ.มาตรา 1547 ไม่ทำให้โจทก์ได้สัญชาติไทยตาม พ.ร.บ.สัญชาติ พ.ศ.2508

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 16/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องผู้ให้กู้ แม้เงินกู้มาจากผู้อื่น: กรณีมารดาออกเงินกู้แทนบุตร
จำเลยที่ 1 ทำสัญญากู้ยืมเงินโจทก์โดยมารดาโจทก์เป็นผู้ออกเงินกู้และมอบให้แก่จำเลยที่ 1 เป็นเรื่องที่มารดาโจทก์มีเจตนาช่วยออกเงินกู้แทนโจทก์ โจทก์ในฐานะผู้ให้กู้จึงมีอำนาจฟ้องบังคับจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้กู้และฟ้องจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ค้ำประกันได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6184/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิพากษาสัญชาติไทยของบุคคลที่มีมารดาเป็นคนต่างด้าวและมีประวัติการอพยพเข้าประเทศ
การที่โจทก์ทั้งสิบสามไปรายงานตัวต่อสำนักงานกิจการญวนอพยพจังหวัดอุบลราชธานีว่าเป็นคนญวนอพยพตามที่ผู้ว่าราชการจังหวัดประกาศให้คนญวนอพยพที่มีอายุ 12 ปี ขึ้นไปมารายงานตัวต่อสำนักงานกิจการญวนอพยพก็เพราะกลัวว่าจะถูกจับกุม และก่อนฟ้องคดีนี้บิดาของโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 8 และเป็นตา ของโจทก์ที่ 12 ถึงที่ 13ได้มีหนังสือถึงผู้ว่าราชการจังหวัดว่าโจทก์ทั้งสิบสามเป็นคนสัญชาติไทย ขอให้เพิกถอนชื่อโจทก์ทั้งสิบสามออกจากทะเบียนบ้านญวนอพยพ แต่ได้รับการปฏิเสธ แสดงว่าจำเลยทั้งสองยืนยันว่าโจทก์ดังกล่าวยังเป็นคนสัญชาติญวนอยู่ จึงเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 แล้ว โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 8 เป็นบุตรของนาง จ. โจทก์ที่ 9 ถึงที่ 11เป็นบุตรของโจทก์ที่ 1 ซึ่งนาง จ. และโจทก์ที่ 1 เป็นคนต่างด้าวเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรโดยมิได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองและไม่ปรากฏบิดาที่ชอบด้วยกฎหมาย แม้โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 8จะได้สัญชาติไทยโดยการเกิด สัญชาติไทยของโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 8ก็ต้องถูกถอนตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 ลงวันที่ 13ธันวาคม 2515 ข้อ 1 โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 8 จึงมิใช่ผู้ที่มีสัญชาติไทย โจทก์ที่ 12 และที่ 13 เกิดในราชอาณาจักรโดยมีโจทก์ที่ 5และที่ 6 เป็นมารดาโจทก์ไม่ปรากฏบิดาที่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ที่ 12และที่ 13 จึงได้สัญชาติไทยโดยการเกิดตามพระราชบัญญัติสัญชาติพ.ศ. 2508 มาตรา 7(3) ถึงแม้โจทก์ที่ 5 และที่ 6 ซึ่งเป็นมารดาจะได้ถูกถอนสัญชาติไทย แต่มารดาโจทก์ก็เกิดในราชอาณาจักรมิใช่คนต่างด้าวที่เข้ามาในราชอาณาจักรโดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง โจทก์ที่ 12 และที่ 13 จึงมิใช่บุคคลที่จะต้องถูกถอนสัญชาติไทยตามที่กำหนดไว้ในประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337ลงวันที่ 13 ธันวาคม 2515.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4892/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิสูจน์สัญชาติไทยของบุตรที่เกิดจากมารดาถูกถอนสัญชาติภายหลังเกิด และผลกระทบต่อสิทธิในการได้สัญชาติ
ฟ้องอ้างว่าโจทก์ทั้งสี่มีสัญชาติไทย ถูกจำเลยซึ่งเป็นเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติสัญชาติและพระราชบัญญัติบัตรประจำตัว ประชาชนเพิ่มชื่อโจทก์ทั้งสี่ลงในทะเบียนบ้านญวนอพยพ และปฏิเสธไม่รับคำร้องขอของโจทก์ที่ 2ที่ขอมีบัตรประจำตัวประชาชน ดังนี้มีข้อโต้แย้งเกิดขึ้นเกี่ยวกับสิทธิของโจทก์ทั้งสี่ตามกฎหมายแพ่ง โจทก์ทั้งสี่จึงมีอำนาจฟ้องจำเลย
โจทก์ที่ 1 เป็นบุคคลที่เกิดในราชอาณาจักรไทยโดยมารดาเป็นคนต่างด้าว แต่ไม่ปรากฏบิดาที่ชอบด้วยกฎหมาย ในขณะที่เกิดมารดาเป็นผู้ที่เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทยโดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง โจทก์ที่ 1 จึงย่อมเป็นผู้ถูกถอนสัญชาติไทยตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 ข้อ 1
โจทก์ที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 เกิดในราชอาณาจักรไทย ส่วนมารดาคือโจทก์ที่ 1 ได้สัญชาติไทยโดยการเกิด โจทก์ที่ 2 ที่ 3 และที่ 4จึงได้สัญชาติไทยโดยการเกิดตามพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. 2508มาตรา 7(3) เมื่อขณะที่โจทก์ที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 เกิดนั้นโจทก์ที่ 1 ยังมีสัญชาติไทย มิใช่คนต่างด้าว โจทก์ที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 จึงหาถูกเพิกถอนสัญชาติไทยตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 337 ข้อ 1 ไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4892/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิพากษาเรื่องสัญชาติไทยของบุตรเมื่อมารดาถูกถอนสัญชาติหลังบุตรเกิด และอำนาจฟ้องคดีสัญชาติ
ฟ้องอ้างว่าโจทก์ทั้งสี่มีสัญชาติไทย ถูกจำเลยซึ่งเป็นเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติสัญชาติและพระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชนเพิ่มชื่อโจทก์ทั้งสี่ลงในทะเบียนบ้านญวนอพยพ และปฏิเสธไม่รับคำร้องขอของโจทก์ที่ 2ที่ขอมีบัตรประจำตัวประชาชน ดังนี้มีข้อโต้แย้งเกิดขึ้นเกี่ยวกับสิทธิของโจทก์ทั้งสี่ตามกฎหมายแพ่ง โจทก์ทั้งสี่จึงมีอำนาจฟ้องจำเลย โจทก์ที่ 1 เป็นบุคคลที่เกิดในราชอาณาจักรไทยโดยมารดาเป็นคนต่างด้าว แต่ไม่ปรากฏบิดาที่ชอบด้วยกฎหมาย ในขณะที่เกิดมารดาเป็นผู้ที่เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทยโดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง โจทก์ที่ 1 จึงย่อมเป็นผู้ถูกถอนสัญชาติไทยตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 ข้อ 1 โจทก์ที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 เกิดในราชอาณาจักรไทย ส่วนมารดาคือโจทก์ที่ 1 ได้สัญชาติไทยโดยการเกิด โจทก์ที่ 2 ที่ 3 และที่ 4จึงได้สัญชาติไทยโดยการเกิดตามพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. 2508มาตรา 7(3) เมื่อขณะที่โจทก์ที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 เกิดนั้นโจทก์ที่ 1 ยังมีสัญชาติไทย มิใช่คนต่างด้าว โจทก์ที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 จึงหาถูกเพิกถอนสัญชาติไทยตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 337 ข้อ 1 ไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3237/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำฟ้องค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรและมารดา อำนาจบิดามารดาฟ้องแทนบุตร ฟ้องเคลือบคลุม
โจทก์ฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูจากจำเลย แม้ในคำบรรยายฟ้องกล่าวว่าโจทก์ขอค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรจากจำเลย แต่ในเอกสารท้ายฟ้องกับคำขอท้ายฟ้องก็ได้ขอให้จำเลยจ่ายเงินค่าอุปการะเลี้ยงดูแก่โจทก์และบุตร ดังนี้ เป็นคำฟ้องที่พอเข้าใจได้ว่าขอให้จ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรและตัวโจทก์เองด้วย แม้ไม่ได้บรรยายฟ้องว่าโจทก์กระทำแทนบุตรก็ไม่ทำให้จำเลยหลงข้อต่อสู้ จึงไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1565 ให้บิดาหรือมารดานำคดีที่เกี่ยวกับการร้องขอค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรขึ้นว่ากล่าวก็ได้ แสดงว่ากฎหมายให้อำนาจบิดามารดาเป็นพิเศษที่จะยกคดีขึ้นว่ากล่าวเอง โจทก์ไม่ต้องระบุในคำฟ้องว่าโจทก์ในฐานะมารดาผู้กระทำการแทนบุตร โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3237/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรและตนเอง: ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าคำฟ้องไม่เคลือบคลุม และมารดามีอำนาจฟ้องได้
โจทก์ฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูจากจำเลย แม้ในคำบรรยายฟ้องกล่าวว่าโจทก์ขอค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรจากจำเลย แต่ในเอกสารท้ายฟ้องกับคำขอท้ายฟ้องก็ได้ขอให้จำเลยจ่ายเงินค่าอุปการะเลี้ยงดูแก่โจทก์และบุตร ดังนี้ เป็นคำฟ้องที่พอเข้าใจได้ว่าขอให้จ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรและตัวโจทก์เองด้วย แม้ไม่ได้บรรยายฟ้องว่าโจทก์กระทำแทนบุตรก็ไม่ทำให้จำเลยหลงข้อต่อสู้ จึงไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1565 ให้บิดาหรือมารดานำคดีที่เกี่ยวกับการร้องขอค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรขึ้นว่ากล่าวก็ได้ แสดงว่ากฎหมายให้อำนาจบิดามารดาเป็นพิเศษที่จะยกคดีขึ้นว่ากล่าวเอง โจทก์ไม่ต้องระบุในคำฟ้องว่าโจทก์ในฐานะมารดาผู้กระทำการแทนบุตร โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3035/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจปกครองบุตรและความเหมาะสมในการเลี้ยงดู พิจารณาจากความอบอุ่นและการดูแลใกล้ชิดจากมารดา ค่าอุปการะเลี้ยงดูไม่ถือเป็นฟ้องซ้ำ
เมื่อทั้งโจทก์จำเลยต่างสามารถเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ได้ส่วนการให้บุตรผู้เยาว์อยู่กับมารดาได้รับความอบอุ่นมากกว่า จึงสมควรให้จำเลยเป็นผู้ปกครองบุตรผู้เยาว์และแม้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์จะตก แก่จำเลยก็ตาม โจทก์มีสิทธิจะติดต่อกับบุตรผู้เยาว์ได้ตามสมควรแล้วแต่พฤติการณ์ คดีก่อนถึงที่สุดโดยศาลยังมิได้วินิจฉัยประเด็นเรื่องค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ จำเลยจึงมีสิทธิฟ้องแย้งโจทก์ในคดีนี้ให้โจทก์จ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ได้อีกไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3031/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เนรคุณและการถอนคืนการให้: การใช้คำพูดดูหมิ่นและหมิ่นประมาทมารดาถือเป็นเนรคุณ
ที่จำเลยด่าโจทก์ว่า "อี หัวอ่อน มึงทำไปเถอะ เดี๋ยวมึงก็ตาย มึงขโมยวัดที่ดินกู กูจะสู้มึง ถึงไม่ได้สักหน่อยกูก็จะเอา กูไม่นับถือมึงหรอก" นั้น จำเลยใช้คำพูดขึ้นมึงกูกับโจทก์ซึ่งเป็นมารดาของตนเอง แสดงว่าสิ้นความเคารพนับถือยำเกรงอยู่แล้ว ทั้งยังกล่าวถ้อยคำหาว่าโจทก์ขโมยวัดที่ดินของจำเลย ถือได้ว่าเป็นการกล่าวถ้อยคำหมิ่นประมาทโจทก์อย่างร้ายแรง และทำให้โจทก์เสียชื่อเสียง อันเป็นการประพฤติเนรคุณตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 531 (2) โจทก์จึงถอนคืนการให้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4105/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประพฤติเนรคุณและการหมิ่นประมาทอย่างร้ายแรงเป็นเหตุให้ถอนคืนการให้ได้
โจทก์พูดห้ามปรามมิให้จำเลยขายที่ดินที่โจทก์ยกให้ จำเลยชี้หน้าด่าโจทก์ด้วยเสียงอันดังว่า "อีเฒ่า หน้าด้าน อีเฒ่า หน้าหมาอีเฒ่า หมาแม่ ไม่นับถือว่ามึงเป็นแม่กูหรอกจะไปตายที่ไหนก็ไปกูบ่เลี้ยงมึงแล้ว กูจะขายมึงอยากได้ให้ไปฟ้องเอา" การกระทำของจำเลยถือได้ว่าเป็นการหมิ่นประมาทโจทก์อย่างร้ายแรง ตามความหมายของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 531(2) อันเป็นการประพฤติเนรคุณที่โจทก์จะเรียกถอนคืนการให้ได้
of 10