คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
มีไว้เพื่อขาย

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 31 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 904/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำหน่ายและมีวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทเพื่อขาย เป็นกรรมเดียวตาม พ.ร.บ.วัตถุออกฤทธิ์
พระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 มาตรา 13 บัญญัติห้ามเฉพาะการผลิต ขาย นำเข้า หรือส่งออกซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 1 หรือประเภท 2เท่านั้นว่ามีความผิดและมีบทกำหนดโทษตามมาตรา 89 และตามมาตรา 4 ได้วิเคราะห์ศัพท์คำว่า " ขาย " ว่าหมายความรวมถึง จำหน่าย จ่าย แจกแลกเปลี่ยนส่งมอบ หรือมีไว้เพื่อขาย ฉะนั้นการขายหรือมีไว้เพื่อขายตามนัยแห่งพระราชบัญญัตินี้จึงเป็นความผิดอย่างเดียวกัน
จำเลยขายวัตถุออกฤทธิ์ชนิดเมทแอมเฟตามีนให้สายลับ 2 เม็ดและต่อมาในเวลาใกล้เคียงกันตรวจค้นได้จากตัวจำเลยอีก 4 เม็ดวัตถุออกฤทธิ์ดังกล่าวทั้ง 6 เม็ดจึงเป็นจำนวนเดียวกัน ที่จำเลยขายและมีไว้ในครอบครองเพื่อขายในวันเวลาเดียวกันและต่อเนื่องกัน การกระทำของจำเลยจึงเป็นกรรมเดียวคือการขาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 904/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขายและมีไว้เพื่อขายวัตถุออกฤทธิ์ถือเป็นกรรมเดียวตาม พ.ร.บ.วัตถุออกฤทธิ์ฯ
พระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518มาตรา 13 บัญญัติห้ามเฉพาะการผลิต ขาย นำเข้า หรือส่งออกซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 1 หรือประเภท 2เท่านั้นว่ามีความผิดและมีบทกำหนดโทษตามมาตรา 89 และตามมาตรา 4 ได้วิเคราะห์ศัพท์คำว่า ' ขาย ' ว่าหมายความรวมถึง จำหน่าย จ่าย แจกแลกเปลี่ยน ส่งมอบ หรือมีไว้เพื่อขาย ฉะนั้นการขายหรือมีไว้เพื่อขายตามนัยแห่งพระราชบัญญัตินี้จึงเป็นความผิดอย่างเดียวกัน
จำเลยขายวัตถุออกฤทธิ์ชนิดเมทแอมเฟตามีนให้สายลับ 2 เม็ด และต่อมาในเวลาใกล้เคียงกันตรวจค้นได้จากตัวจำเลยอีก 4 เม็ด วัตถุออกฤทธิ์ดังกล่าวทั้ง 6 เม็ดจึงเป็นจำนวนเดียวกัน ที่จำเลยขายและมีไว้ในครอบครองเพื่อขายในวันเวลาเดียวกันและต่อเนื่องกันการกระทำของจำเลยจึงเป็นกรรมเดียวคือการขาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 500/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนิยามคำว่า 'ขาย' รวมถึง 'มีไว้เพื่อขาย' ในความผิดฐานมีวัตถุออกฤทธิ์ฯ และข้อยกเว้นการอุทธรณ์
มาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 ได้นิยามคำว่าขายให้หมายความรวมถึงมีไว้เพื่อขายด้วย ดังนั้นในทางกลับกันมีไว้เพื่อขายก็คือขาย
ฟ้องโจทก์บรรยายว่า จำเลยบังอาจมีแอมเฟตามีนอันเป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 ตามกฎหมายไว้ในครอบครองเพื่อขายแก่ผู้อื่นอันเป็นการขายโดยมิได้รับอนุญาตและคำขอท้ายฟ้องระบุมาตรา 13 กับมาตรา 62 มาด้วยนั้น เป็นการฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยเพียงกระทงเดียว คือฐานมีไว้ในครอบครองเพื่อขาย
ในการอุทธรณ์คดีอาญาในปัญหาข้อเท็จจริงนั้น ศาลจะต้องพิจารณาถึงอัตราโทษที่กำหนดไว้ในกฎหมายสำหรับข้อหาแต่ละกระทงความผิดไปว่าต้องห้ามอุทธรณ์หรือไม่สำหรับความผิดฐานมีแอมเฟตามีนอันเป็นวัตถุออกฤทธิ์ไว้ในครอบครองเพื่อขาย ซึ่งถือได้ว่าเป็นการขายมีอัตราโทษตามมาตรา 89 ให้จำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาทถึงห้าแสนบาท จึงไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193 ทวิ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 500/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนิยามความผิด 'มีไว้เพื่อขาย' เทียบเท่า 'ขาย' ใน พ.ร.บ.วัตถุออกฤทธิ์ฯ และขอบเขตการอุทธรณ์คดีอาญา
มาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทพ.ศ. 2518ได้นิยามคำว่าขายให้หมายความรวมถึงมีไว้เพื่อขายด้วยดังนั้นในทางกลับกันมีไว้เพื่อขายก็คือขาย
ฟ้องโจทก์บรรยายว่า จำเลยบังอาจมีแอมเฟตามีนอันเป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 ตามกฎหมายไว้ในครอบครองเพื่อขายแก่ผู้อื่นอันเป็นการขายโดยมิได้รับอนุญาตและคำขอท้ายฟ้องระบุมาตรา 13 กับมาตรา 62 มาด้วยนั้นเป็นการฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยเพียงกระทงเดียว คือฐานมีไว้ในครอบครองเพื่อขาย ในการอุทธรณ์คดีอาญาในปัญหาข้อเท็จจริงนั้น ศาลจะต้องพิจารณาถึงอัตราโทษที่กำหนดไว้ในกฎหมายสำหรับข้อหาแต่ละกระทงความผิดไปว่าต้องห้ามอุทธรณ์หรือไม่สำหรับความผิดฐานมีแอมเฟตามีนอันเป็นวัตถุออกฤทธิ์ไว้ในครอบครองเพื่อขายซึ่งถือได้ว่าเป็นการขายมีอัตราโทษตามมาตรา 89 ให้จำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาทถึงห้าแสนบาท จึงไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193 ทวิ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1917/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานขายยาเสื่อมคุณภาพ เจตนาทั่วไปก็เพียงพอ ฟ้องระบุ 'มีไว้เพื่อขาย' ถือเป็นการขายตามกฎหมาย
ฟ้องโจทก์มีใจความว่า "จำเลยบังอาจมียา ....ซึ่งเป็นยาสิ้นอายุตามที่แสดงไว้ในสลากแล้ว (คือยาเสื่อมคุณภาพ) ไว้ในความครอบครองของจำเลยเพื่อขายและตามบทวิเคราะห์ศัพท์ในมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติยา คำว่า "มีไว้เพื่อขาย" มีความหมายเช่นเดียวกับคำว่า "ขาย" ฟ้องของโจทก์จึงได้ความตรงตามมาตรา 121 วรรคแรกแล้ว และความผิดตามมาตรานี้ (มาตรา 121) ต้องการเพียงเจตนาธรรมดาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 59 เท่านั้นเมื่อโจทก์ใช้คำว่า"จำเลยบังอาจ" ก็เป็นการแสดงความหมายอยู่ในตัวว่าจำเลยเจตนากระทำผิดกฎหมายโจทก์หาจำต้องกล่าวในฟ้องว่า จำเลยรู้อยู่แล้วว่าเป็นยาเสื่อมคุณภาพไว้ด้วยอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1198/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำความผิดฐานมีและขายยาเสพติด แม้เป็นยาเสพติดชุดเดียวกัน ก็ถือเป็นความผิดต่างกรรมกัน
ฟ้องโจทก์ขอให้ลงโทษจำเลยฐานมีเฮโรอีนไว้เพื่อขายกระทงหนึ่ง และฐานขายเฮโรอีนอีกกระทงหนึ่ง แม้เฮโรอีนที่ขายจะเป็นจำนวนเดียวกันกับที่จำเลยมีไว้เพื่อขาย ก็เป็นความผิดต่างกรรมกัน
(วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 11/2519)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1198/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานมีไว้เพื่อขายและจำหน่ายยาเสพติด แม้เป็นยาเสพติดชุดเดียวกัน ถือเป็นความผิดต่างกรรมกัน
ฟ้องโจทก์ขอให้ลงโทษจำเลยฐานมีเฮโรอีนไว้เพื่อขายกระทงหนึ่ง และฐานขายเฮโรอีนอีกกระทงหนึ่ง แม้เฮโรอีนที่ขายไปจะเป็นจำนวนเดียวกันกับที่จำเลยมีไว้เพื่อขาย ก็เป็นความผิดต่างกรรมกัน(วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 11/2519)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 412/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การมีน้ำมันก๊าดไว้โดยไม่แจ้ง ไม่ถือเป็นหลักฐานการมีไว้เพื่อขาย จึงไม่ริบ
จำเลยมีน้ำมันก๊าดของกลาง แม้จะมีจำนวนมากและไม่แจ้งปริมาณและสถานที่เก็บก็ไม่เป็นเหตุที่จะรับฟังว่าจำเลยมีไว้เพื่อขายหรือจำหน่าย ดังนั้น น้ำมันก๊าดของกลางจึงไม่ใช่ของควรริบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6858/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษตามกฎหมายยาที่แก้ไขใหม่ แม้โจทก์อ้างอิงกฎหมายเก่า และความผิดฐานมีไว้เพื่อขายซึ่งยาอันตราย
โจทก์ขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองตาม พ.ร.บ.ยา พ.ศ.2510 มาตรา 4, 32, 107 พ.ร.บ.ยา (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2522 ซึ่งมาตรา 4 ที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.ยา (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2522 ได้ถูกยกเลิกไปตาม พ.ร.บ.ยา (ฉบับที่ 5) พ.ศ.2530 นั้น เห็นว่า แม้โจทก์ขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองโดยอ้าง พ.ร.บ.ยา (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2522 ซึ่งถูกยกเลิกและแก้ไขใหม่แล้ว และมิได้อ้าง พ.ร.บ.ยา (ฉบับที่ 5) พ.ศ.2530 ที่แก้ไขใหม่ แต่คำว่า ขาย ตามมาตรา 4 ซึ่งแก้ไขใหม่ยังคงหมายความรวมถึงมีไว้เพื่อขายและถือเป็นความผิด ดังนั้นการกระทำของจำเลยทั้งสองจึงยังเป็นความผิดตามบทบัญญัติที่แก้ไขใหม่ การที่โจทก์ยังคงขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองตาม พ.ร.บ.ยา (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2522 เป็นเพียงการอ้างบทบัญญัติกฎหมายผิดพลาดไปเท่านั้น แม้โจทก์จะไม่อ้างบทบัญญัติของกฎหมายที่แก้ไขใหม่ และข้อเท็จจริงฟังว่าจำเลยทั้งสองกระทำความผิดตามฟ้อง ศาลก็มีอำนาจลงโทษจำเลยทั้งสองตามบทบัญญัติของกฎหมายที่แก้ไขใหม่ที่ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคห้า
การกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.ยา พ.ศ.2510 มาตรา 32 จะต้องมีการขายยาแผนปัจจุบันที่เป็นยาอันตรายจริง ๆ หรือไม่ เห็นว่า พ.ร.บ.ยา พ.ศ.2510 มาตรา 4 ได้วิเคราะห์ศัพท์คำว่า "ขาย" หมายความว่า ขายปลีก ขายส่ง จำหน่าย จ่าย แจก แลกเปลี่ยนเพื่อประโยชน์ในทางการค้า และให้หมายความรวมถึงการมีไว้เพื่อขายด้วย ฉะนั้น การขายหรือมีไว้เพื่อขายซึ่งยาแผนปัจจุบันที่เป็นยาอันตรายในระหว่างที่เภสัชกรไม่อยู่ปฏิบัติหน้าที่ จึงเป็นความผิดอย่างเดียวกัน หาใช่ต้องมีการขายกันจริง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 16066/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขายน้ำมันดีเซลโดยไม่ได้รับอนุญาตในน่านน้ำภายในและเขตต่อเนื่อง, การมีไว้เพื่อขาย, และการลงโทษ
เรือ ช. บรรทุกน้ำมันที่ได้รับยกเว้นภาษีสรรพสามิตสำหรับการนำไปจำหน่ายเฉพาะในบริเวณเขตต่อเนื่อง โดยประเทศไทยได้ประกาศใช้ความกว้างของทะเลอาณาเขตเป็นระยะ 12 ไมล์ทะเล และได้มีการประกาศเขตต่อเนื่อง ได้แก่ บริเวณที่อยู่ถัดออกไปจากทะเลอาณาเขต มีความกว้าง 24 ไมล์ทะเล วัดจากเส้นฐานที่ใช้วัดความกว้างของทะเลอาณาเขต เจ้าพนักงานจับจำเลยทั้งสองขณะที่เรือ ช. ถ่ายน้ำมันให้แก่เรือ ป.ไทยประดิษฐ์ ซึ่งในบริเวณดังกล่าวอยู่ภายใต้ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีเรื่องเส้นฐานตรงและน่านน้ำของประเทศไทยบริเวณที่สี่ จึงอยู่ในน่านน้ำภายใน เพราะทะเลที่เป็นส่วนต่อจากน่านน้ำภายในคือทะเลอาณาเขตที่มีความกว้าง 12 ไมล์ทะเล เมื่อสุดระยะของทะเลอาณาเขตจึงเป็นบริเวณของเขตต่อเนื่อง
เมื่อจำเลยที่ 1 ผู้เป็นนายเรือ มีอำนาจควบคุมเรือ ช. ต้องถือว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้ขายน้ำมันดีเซลดังกล่าว ส่วนจำเลยที่ 2 เป็นรองต้นกลเรือ เป็นผู้ควบคุมเครื่องยนต์ ซึ่งขณะถ่ายน้ำมันลงเรือ ป.ไทยประดิษฐ์ต้องมีการเดินเครื่องยนต์ จึงถือว่าจำเลยทั้งสองขายสินค้าที่ได้รับยกเว้นหรือได้รับคืนภาษีแล้วตามหมวด 7 แห่ง พ.ร.บ.ภาษีสรรพสามิต มาตรา 162 (2)
แม้เรือ ช. จะได้รับน้ำมันดีเซลโดยชอบ เพื่อนำไปจำหน่ายให้แก่ชาวประมงในเขตต่อเนื่อง แต่จากพฤติการณ์แสดงว่าการมีน้ำมันจำนวนดังกล่าวมุ่งประสงค์ในการนำเข้ามาจำหน่ายโดยฝ่าฝืนประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ยกเว้นภาษีสรรพสามิต (ฉบับที่ 63) ลงวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2544 การมีน้ำมันในเรือ ช. จึงเป็นการมีไว้เพื่อขายโดยไม่มีสิทธิ ส่วนจำเลยที่ 2 เป็นเพียงรองต้นกลเรือ มีหน้าที่เพียงควบคุมเครื่องยนต์เรือ และไม่ปรากฏพฤติการณ์ว่ามีส่วนร่วมในการมีน้ำมันดีเซลไว้เพื่อขาย จึงยังไม่อาจรับฟังว่าจำเลยที่ 2 ร่วมกับจำเลยที่ 1 มีน้ำมันดังกล่าวไว้เพื่อขายโดยไม่ชอบ
of 4