คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
มูลหนี้

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 308 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 414/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้ค่าอากรกับเงินเพิ่มอากรเป็นคนละมูลหนี้ เงินเพิ่มไม่ใช่ดอกเบี้ย ใช้มาตรา 328 พ.ร.บ.แพ่งฯ ได้
หนี้ค่าอากรเกิดจากการที่โจทก์นำสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักร ส่วนหนี้เงินเพิ่มเกิดจากการที่โจทก์มิได้ชำระค่าอากรภายในกำหนด กล่าวคือมิได้เสียในเวลาที่พนักงานเจ้าหน้าที่ออกใบขนสินค้าให้ตาม พ.ร.บ.ศุลกากรฯ มาตรา 10 วรรคหนึ่ง ซึ่งต้องเสียเงินเพิ่มในอัตราร้อยละหนึ่งต่อเดือนของค่าอากรนับแต่วันที่พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจปล่อยสินค้าตามมาตรา 112 จัตวา หนี้ค่าอากรกับหนี้เงินเพิ่มจึงมิได้เป็นมูลหนี้รายเดียวกัน และเงินเพิ่มตามมาตรานี้มิใช่ดอกเบี้ยตาม ป.พ.พ. มาตรา 329 จึงไม่อาจนำมาตราดังกล่าวมาใช้บังคับได้ กรณีเป็นเรื่องลูกหนี้ต้องผูกพันต่อเจ้าหนี้ในอันจะกระทำการเพื่อชำระหนี้เป็นการอย่างเดียวกันโดยมูลหนี้หลายราย หนี้ถึงกำหนดชำระพร้อมกัน หนี้ค่าภาษีอากรเป็นรายที่ตกหนักที่สุดย่อมได้รับการปลดเปลื้องไปก่อนตาม ป.พ.พ. มาตรา 328 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1648/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำเลยต้องรับผิดในเช็คพิพาท แม้โอนให้ผู้อื่น หากพิสูจน์ไม่ได้ว่าไม่มีมูลหนี้
จำเลยผู้สั่งจ่ายเช็คพิพาทอ้างว่าเช็คพิพาทไม่มีมูลหนี้ และผู้โอนเช็คพิพาทกับโจทก์ผู้รับโอนคบคิดกันฉ้อฉล จำเลยมีหน้าที่นำสืบให้ได้ความตามที่อ้าง เมื่อจำเลยนำสืบรับฟังไม่ได้ว่าเช็คพิพาทไม่มีมูลหนี้ จำเลยจึงต้องรับผิดต่อผู้ทรงคนก่อน การที่ผู้ทรงคนก่อนโอนเช็คพิพาทแก่โจทก์ ทั้งเช็คพิพาทเป็นเช็คสั่งจ่ายเงินแก่ผู้ถือ การโอนเช็คพิพาททำได้เพียงด้วยส่งมอบให้กัน โจทก์จึงเป็นผู้ทรงเช็คพิพาทโดยชอบ จำเลยไม่มีข้อต่อสู้ที่เกี่ยวกับผู้ทรงคนก่อนที่จะใช้เป็นข้อต่อสู้โจทก์ ทั้งจำเลยจะอ้างว่าโจทก์และผู้ทรงคนก่อนไม่มีหนี้สินต่อกันหาได้ไม่ จำเลยจึงต้องรับผิดต่อโจทก์
(ปัญหานี้วินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 4/2547)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4637/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีแพ่งหลังศาลมีคำสั่งฟื้นฟูกิจการ: ศาลฎีกาอนุญาตฟ้องได้หากมูลหนี้เกิดหลังมีคำสั่งฟื้นฟู
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลล้มละลายมีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องฟ้องลูกหนี้เป็นคดีแพ่ง อันเป็นการขอให้ศาลล้มละลายมีคำสั่งเพื่อแก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือยกเลิกข้อจำกัดสิทธิของผู้ร้องตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 90/13 ประกอบมาตรา 90/12(4) เมื่อศาลล้มละลายได้มีคำสั่งยกคำร้องอันถือได้ว่าเป็นคำสั่งวินิจฉัยชี้ขาดคดีของศาลในส่วนที่เกี่ยวกับการฟื้นฟูกิจการ ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามมาตรา 90/79(4)
การขออนุญาตฟ้องลูกหนี้ผู้ร้องหลังจากที่ศาลล้มละลายมีคำสั่งรับคำร้องขอให้ฟื้นฟูกิจการตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 90/12(4) เป็นเรื่องสำคัญ เพราะกรณีของผู้ร้องยังมีปัญหาที่จะต้องวินิจฉัยให้กระจ่างชัดว่า ผู้ร้องอาจขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการได้ตามมาตรา 90/27 หรือไม่ เนื่องจากผู้ร้องกล่าวอ้างว่ามูลแห่งหนี้ของผู้ร้องเกิดขึ้นหลังวันที่ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ ซึ่งหากกรณีเป็นดังที่อ้างผู้ร้องก็ไม่อาจขอรับชำระหนี้ได้คงมีเพียงหนทางเดียวที่ผู้ร้องจะขอคุ้มครองประโยชน์ของผู้ร้องได้ก็ด้วยการขอให้ศาลมีคำสั่งแก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือยกเลิกข้อจำกัดสิทธิตามมาตรา 90/12(4) ในกรณีที่ศาลเห็นว่าการจำกัดสิทธิของผู้ร้องนั้นไม่มีความจำเป็นต่อการฟื้นฟูกิจการตามมาตรา 90/13(1) การที่ศาลล้มละลายมีคำสั่งให้ยกคำร้องโดยอ้างว่ามูลแห่งหนี้เกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการทั้ง ๆ ที่คำร้องได้ระบุไว้ชัดแจ้งว่า มูลแห่งหนี้เกิดขึ้นภายหลังจากศาลล้มละลายมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการและตั้งผู้ทำแผนแล้ว อีกทั้งเป็นคำสั่งซึ่งกระทำโดยผู้พิพากษาคนเดียว จึงเป็นการไม่ชอบ ดังนั้น เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมจำเป็นต้องแก้ไขข้อผิดพลาด อาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ. 2542 มาตรา 26 ศาลฎีกาเห็นสมควรรับพิจารณาพิพากษาคดีที่ต้องห้ามอุทธรณ์ดังกล่าวนั้นได้
ผู้ร้องมีหนังสือถึงลูกหนี้ในวันที่ 14 มิถุนายน 2544 อันเป็นวันก่อนที่ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ 1 วัน ระบุว่า ผู้ร้องขอเชิญลูกหนี้ยื่นข้อเสนอขายสินค้าที่แน่นอนให้ผู้ร้องพิจารณาสัญญาระหว่างผู้ร้องกับบริษัท อ. และลูกหนี้ซึ่งเป็นตัวแทนของบริษัท อ. ในการเสนอขายสินค้าจึงยังไม่เกิด จนกระทั่งวันที่ 18 มิถุนายน 2544 ภายหลังจากศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ ลูกหนี้โดยผู้ทำแผนจึงแจ้งแก่บริษัท อ. ว่า ผู้ร้องระบุการประกวดราคาไม่เกิน 69.5 เหรียญดอลลาร์สหรัฐสินค้า20.000เมตริกัน จึงขอให้บริษัท อ. หาเรือที่มั่นคงมีตารางแน่นอน ครั้นวันรุ่งขึ้นลูกหนี้โดยผู้ทำแผนจึงแจ้งแก่บริษัทดังกล่าวว่า ผู้ร้องได้ยืนยันการซื้อสินค้าตามหนังสือสั่งซื้อของผู้ร้องลงวันที่ 18 มิถุนายน 2544 ที่มีถึงบริษัท อ. ที่อยู่ ณ กรุงปารีส แสดงว่า มูลหนี้ระหว่างผู้ร้องและบริษัท อ. พร้อมทั้งลูกหนี้ได้เกิดขึ้นภายหลังศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการมิใช่เกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการอันจะเป็นเหตุให้ผู้ร้องอาจขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 90/27
ผู้ทำแผนกระทำการในนามของลูกหนี้ตามอำนาจหน้าที่ในการจัดการกิจการและทรัพย์สินของลูกหนี้เมื่อศาลมีคำสั่งตั้งผู้ทำแผนแล้วตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 90/25 ถือได้ว่าเป็นการกระทำที่จำเป็นเพื่อให้การดำเนินการค้าตามปกติของลูกหนี้สามารถดำเนินต่อไปได้ เพราะเป็นการดำเนินกิจการที่ต่อเนื่องมาจากการติดต่อทางการค้ากับผู้ร้องในนามของลูกหนี้ในฐานะของกรรมการลูกหนี้มาตั้งแต่ก่อนศาลมีคำสั่งฟื้นฟูกิจการ จึงไม่ต้องห้ามมิให้ลูกหนี้ก่อหนี้ตามมาตรา 90/12(9)
ผู้ร้องอ้างว่าลูกหนี้ผิดสัญญาจึงดำเนินการฟ้องเรียกร้องค่าเสียหายจากลูกหนี้ เป็นกรณีที่ผู้ร้องฟ้องลูกหนี้เป็นคดีแพ่งเกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้ ซึ่งมูลแห่งหนี้เกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผน จึงต้องห้ามตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 90/12(4) แต่ผู้ร้องอาจมีคำร้องขอเพื่อให้ศาลมีคำสั่งแก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือยกเลิกข้อจำกัดสิทธิของตนได้ตามมาตรา 90/13 หากข้อจำกัดสิทธินั้นไม่มีความจำเป็นต่อการฟื้นฟูกิจการ เมื่อผู้ร้องไม่อาจขอคุ้มครองสิทธิด้วยการขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการตามมาตรา 90/27 ได้ จึงถือได้ว่าการจำกัดสิทธิมิให้ผู้ร้องฟ้องลูกหนี้ต่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ เป็นกรณีที่ไม่มีความจำเป็นต่อการฟื้นฟูกิจการตามมาตรา 90/13(1) ศาลจึงมีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องฟ้องลูกหนี้เป็นคดีแพ่งได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1375/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนเช็คพิพาทโดยทุจริตและการพิสูจน์มูลหนี้ที่ชอบ โจทก์เป็นผู้ทรงเช็คโดยชอบ ผู้สั่งจ่ายต้องรับผิด
คำให้การของจำเลยที่ 2 ที่ว่าโจทก์ได้เช็คพิพาทไว้ในครอบครองโดยทุจริตนั้นทุจริตอย่างไรก็ไม่ได้กล่าวไว้ชัด ที่ว่าคบคิดกับบุคคลอื่น บุคคลอื่นนั้น เป็นผู้ทรงเช็คคนก่อนหรือไม่ หรือเป็นผู้ใดไม่ปรากฏ ที่ว่าโจทก์ควรรู้ว่าเช็คพิพาทมีการชำระหนี้แล้ว ก็ไม่ใช่คำยืนยันว่าโจทก์รู้ แปลความว่าอาจไม่รู้ก็ได้เช่นกันแล้วให้การว่าโจทก์ได้เช็คพิพาทมาด้วยความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง เป็นคำให้การไม่ชัดแจ้ง ถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 ต่อสู้ว่าโจทก์ได้รับโอนเช็คพิพาทจาก ร. โดยคบคิดกันฉ้อฉล จึงไม่มีประเด็นที่จะนำสืบ ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยให้ก็เป็นการไม่ชอบ เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นพิพาท
จำเลยที่ 2 ให้ ร. นำเช็คแลกเงินสดจากโจทก์และมีการเปลี่ยนเช็คเรื่อยมาต่อมาได้รวมจำนวนเงินที่เป็นหนี้และกู้เงินเพิ่มอีกแล้วจำเลยทั้งสองออกเช็คพิพาททั้งสองฉบับให้ไว้แก่โจทก์โดยเป็นการกู้เงินและการแลกเปลี่ยนเช็ค โจทก์และจำเลยที่ 2 ไม่ได้ติดต่อกันโดยตรงแต่ติดต่อผ่าน ร. เช็คพิพาทจึงมีมูลหนี้โดยชอบ โจทก์เป็นผู้ทรงเช็คพิพาท จำเลยทั้งสองเป็นผู้สั่งจ่าย เมื่อธนาคารผู้จ่ายปฏิเสธการจ่ายเงิน จำเลยทั้งสองจึงต้องรับผิดต่อโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 900,987และ 989

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6296/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีแรงงาน และการฟ้องซ้ำ: มูลหนี้ต่างกัน ย่อมฟ้องได้
โจทก์บรรยายฟ้องเสนอข้อหาว่าจำเลยทำผิดสัญญาจ้างแรงงานเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหาย แม้โจทก์จะตั้งข้อหาหรือฐานความผิดในคำฟ้องว่าเป็นเรื่องละเมิดและบรรยายฟ้องด้วยว่าโจทก์ตรวจสอบรู้ตัวผู้รับผิดว่าคือจำเลยก็ตามก็หาทำให้คำฟ้องคดีนี้เป็นคำฟ้องที่โจทก์เสนอข้อหาว่าจำเลยทำละเมิดต่อโจทก์แต่เพียงอย่างเดียวไม่
สิทธิเรียกร้องในกรณีผิดสัญญาจ้างแรงงานไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะจึงมีกำหนดอายุความ 10 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30
จำเลยมิได้ต่อสู้คดีไว้ในคำให้การว่าฟ้องโจทก์คดีนี้เป็นฟ้องซ้ำกับคดีแรกซึ่งศาลพิพากษาเสร็จเด็ดขาดแล้ว แต่ปัญหาข้อนี้เป็นเรื่องอำนาจฟ้องอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จำเลยย่อมยกปัญหาข้อนี้ขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 วรรคสอง ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 31
คดีทั้งสองเป็นคดีที่โจทก์กล่าวหาว่าจำเลยทำผิดสัญญาจ้างแรงงานทำให้โจทก์เสียหาย แต่คดีแรกเป็นเรื่องจำเลยร่วมกับพวกทำให้สินค้าขาดจำนวนไปจากบัญชีรายรับรายจ่าย ส่วนคดีนี้เป็นเรื่องจำเลยรับฝากเงินจากสมาชิกของโจทก์แล้วไม่ลงบัญชีเงินสดรับครบจำนวนที่รับฝาก เป็นเหตุให้เงินขาดหายไป มูลหนี้ที่โจทก์ฟ้องเรียกให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายจึงเป็นคนละกรณีกัน แม้โจทก์จะตรวจสอบทางบัญชีว่ามีสินค้าของโจทก์ขาดหายไปจากบัญชีและยังมีเงินขาดบัญชีอีกส่วนหนึ่งก็ตาม โจทก์ก็ยังมีอำนาจฟ้องให้จำเลยรับผิดชดใช้ค่าเสียหายเป็นคนละคดีได้หาจำต้องรวมฟ้องเป็นคดีเดียวกันไม่ฟ้องโจทก์ในคดีนี้มิใช่เป็นการรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน ไม่เป็นฟ้องซ้ำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 31

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4491/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าขึ้นศาลคดีแพ่ง: การคำนวณจากมูลหนี้ที่เกี่ยวข้องกัน และการคิดค่าขึ้นศาลสูงสุด
การคำนวณค่าขึ้นศาลจะต้องพิจารณาจากคำฟ้องแต่ละคดีเป็นเกณฑ์ และในคดีที่คำฟ้องมีหลายข้อหา หากทุนทรัพย์แต่ละข้อหาไม่มีความเกี่ยวข้องกัน สามารถแยกจากกันได้โดยชัดแจ้ง โจทก์จะต้องเสียค่าขึ้นศาลเป็นรายข้อหาไป
โจทก์ฟ้องให้จำเลยทั้งสี่ร่วมกันชำระหนี้ตามมูลหนี้เบิกเงินเกินบัญชี กู้เงิน และขายลดตั๋วเงินรวมเป็นเงิน 30,490,930.10 บาท แม้แยกได้หลายข้อหา แต่หนี้ทั้งหมดจำเลยที่ 2 ได้นำห้องชุดจดทะเบียนจำนองเป็นประกัน และจำเลยที่ 3 กับที่ 4 ได้ผูกพันตนเป็นผู้ค้ำประกัน มิได้แบ่งแยกเพื่อการประกันหนี้ประเภทใดรายการใด มูลหนี้ทั้งหมดจึงมีความเกี่ยวข้องกัน การที่โจทก์เสียค่าขึ้นศาลในศาลชั้นต้นตามจำนวนทุนทรัพย์ที่เรียกร้องในอัตราสูงสุดตามตาราง 1 ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ข้อ (1)(ก) จึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3045/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหักกลบลบหนี้ระหว่างมูลหนี้อันมีวัตถุเป็นอย่างเดียวกัน ไม่ต้องได้รับความยินยอม
ตามบทบัญญัติ ป.พ.พ. มาตรา 341 ไม่ได้กำหนดเป็นเงื่อนไขไว้แต่ประการใดว่าการหักกลบลบหนี้ระหว่างกันนั้นจะต้องได้รับความยินยอมของอีกฝ่ายหนึ่ง จำเลยได้แสดงเจตนาหักกลบลบหนี้ไปยังโจทก์แล้ว ดังนั้นเมื่อข้อเท็จจริงไม่ปรากฎว่าการฝากเงินของโจทก์ไว้กับจำเลยนั้นได้มีการกำหนดเวลาคืนเงินฝากไว้แน่นอน กรณีจึงต้องถือว่าหนี้เงินฝากดังกล่าวถึงกำหนดชำระหนี้ทันทีที่โจทก์ได้ฝากเงินไว้กับจำเลยและก็ไม่ปรากฎเช่นกันว่าทั้งสองฝ่ายได้แสดงเจตนาไม่ให้นำหนี้ที่มีอยู่ต่อกันมาหักกลบลบกันไว้แต่อย่างใด จำเลยจึงมีสิทธิที่จะนำเงินฝากในบัญชีของโจทก์ไปหักกลบลบกับหนี้ที่โจทก์กู้เงินไปจากจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2905/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำฟ้องไม่เคลือบคลุม แม้เอกสารท้ายฟ้องเป็นหลักฐานมูลหนี้ การบรรยายรายละเอียดเอกสารในคำฟ้องไม่จำเป็น
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยสั่งซื้อปูนสำเร็จรูปและน้ำยาผสมปูนไปจากโจทก์รวม13 ครั้ง เป็นเงิน 236,871.25 บาท โดยบรรยายรายละเอียดของการสั่งซื้อสินค้าแต่ละครั้งพร้อมจำนวนเงินค่าสินค้าตามเอกสารท้ายฟ้องและจำเลยได้รับสินค้าไปจากโจทก์แล้ว จำเลยไม่ชำระราคาค่าสินค้าภายในกำหนด ขอให้จำเลยชำระราคาค่าสินค้าพร้อมดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ คำฟ้องของโจทก์จึงแสดงสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาโดยแจ้งชัดแล้ว แม้โจทก์จะแนบเอกสารใบกำกับภาษี อันเป็นหลักฐานแห่งมูลหนี้มาท้ายฟ้องก็เป็นเพียงเอกสารประกอบคำบรรยายฟ้อง โจทก์สามารถนำสืบถึงรายละเอียดของรายการตามเอกสารดังกล่าวได้ในชั้นพิจารณา ไม่จำเป็นต้องบรรยายรายละเอียดของเอกสารไว้ให้ปรากฏในคำฟ้อง คำฟ้องของโจทก์ไม่เคลือบคลุม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 279/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิเรียกร้องมูลหนี้จากการปฏิรูปสถาบันการเงิน ไม่ทำให้จำเลยหลุดพ้นจากความรับผิดทางอาญา
แม้สัญญากู้เงินซึ่งเป็นมูลหนี้ที่ออกเช็คพิพาทที่โจทก์นำมาฟ้องจำเลยจะรวมอยู่ในกลุ่มสินทรัพย์ของโจทก์ซึ่งถูกองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงินเข้าควบคุมกิจการและได้ขายให้แก่บริษัท ก. ไปแล้วก็ตาม แต่ก็เป็นเพียงการโอนสิทธิเรียกร้องมูลหนี้ที่ออกเช็คที่ถูกบังคับโอนตามพระราชกำหนดการปฏิรูประบบสถาบันการเงินพ.ศ. 2540 มาตรา 27 ไม่ทำให้จำเลยหลุดพ้นจากมูลหนี้ที่ออกเช็คจนกว่าจะได้มีการใช้เงิน เมื่อจำเลยไม่ได้ชำระเงินตามสัญญากู้เงิน ย่อมถือไม่ได้ว่ามูลหนี้ตามสัญญากู้เงินที่จำเลยได้ออกเช็คนั้นสิ้นผลผูกพัน โดยไม่คำนึงว่าโจทก์จะสามารถดำเนินกิจการและรับชำระหนี้จากลูกหนี้ได้หรือไม่ คดีจึงไม่เลิกกันตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 7

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 279/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิเรียกร้องมูลหนี้จากการปฏิรูปสถาบันการเงิน ไม่ทำให้สิทธิฟ้องคดีอาญาตามเช็คลดลง
แม้สัญญากู้เงินซึ่งเป็นมูลหนี้ที่ออกเช็คพิพาทที่โจทก์นำมาฟ้องจำเลยทั้งสามจะรวมอยู่ในกลุ่มสินทรัพย์ของโจทก์ซึ่งถูกองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงินเข้าควบคุมกิจการและได้ขายให้แก่บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ก. ไปแล้วก็ตาม แต่ก็เป็นเพียงการโอนสิทธิเรียกร้องมูลหนี้ที่ออกเช็คที่ถูกบังคับโอนตามพระราชกฤษฎีกาการปฏิรูประบบสถาบันการเงินฯ มาตรา 27ไม่ทำให้จำเลยที่ 1 หลุดพ้นจากมูลหนี้ที่ออกเช็คพิพาทแต่อย่างใดจนกว่าจะได้มีการใช้เงิน เมื่อจำเลยทั้งสามยังมิได้ชำระเงินตามสัญญากู้เงินอันเป็นมูลหนี้ที่ออกเช็คดังกล่าวมูลหนี้ตามสัญญากู้เงินยังไม่สิ้นผลผูกพัน ทั้งนี้โดยไม่ต้องคำนึงว่าโจทก์จะสามารถดำเนินกิจการและรับชำระหนี้จากลูกหนี้ได้หรือไม่คดีจึงไม่เลิกกันตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯมาตรา 7 สิทธินำคดีอาญามาฟ้องยังไม่ระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39
of 31