คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
มูลเหตุ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 26 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 347/2472

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจับกุมโดยเจ้าพนักงานที่มีมูลเหตุอันสมควร: อำนาจจับกุมและการพิจารณาคดี
เจ้าพนักงานจับคนโดยมีมูลเหตุ จะลงโทษเจ้าพนักงานไม่ได้ วิธีพิจารณาปัญหากฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9976/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบอกล้างโมฆียะกรรมสัญญาประกันชีวิต ต้องนับระยะเวลาจากวันที่ตัวแทนจำเลยทราบมูลเหตุ ไม่ใช่ผู้มีอำนาจ
ช. เป็นพนักงานของจำเลยได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่ตรวจสอบและรวบรวมประวัติการรักษาพยาบาลของ ล. ถือได้ว่า ช. เป็นตัวแทนของจำเลยแล้ว ในการตรวจสอบประวัติการเข้ารับการรักษาพยาบาลของ ล. นั้น ช. เป็นผู้ติดตามประวัติ ทำบันทึกข้อความรายงานว่า พบประวัติการรักษาที่โรงพยาบาล อ. และโรงพยาบาล ส. ซึ่งแพทย์วินิจฉัยว่า ล. เป็นโรคถุงลมโป่งพอง และในส่วนของเอกสารประวัติการตรวจรักษาที่โรงพยาบาล ส. มีรายการครั้งสุดท้ายระบุว่า วันที่ 26 มกราคม 2541 ธนาคาร อ. ขอประวัติ เช่นนี้ไม่ว่า ช. จะได้รับประวัติการตรวจรักษาในวันดังกล่าว หรือได้รับในวันที่ 31 มกราคม 2541 กำหนดระยะเวลาหนึ่งเดือนในการใช้สิทธิบอกล้างโมฆียะกรรม ป.พ.พ. มาตรา 865 วรรคสอง ก็ต้องเริ่มนับตั้งแต่วันที่ ช. ได้รับประวัติการตรวจรักษาของ ล. ซึ่งเป็นการทราบมูลอันจำเลยจะบอกล้างโมฆียะกรรมได้ มิใช่ต้องมีการเสนอเรื่องให้ผู้มีอำนาจของจำเลยพิจารณาหรือรับทราบเสียก่อน เพราะการบอกล้างโมฆียะกรรมเพียงแต่ทราบเค้าเรื่องที่ตกเป็นโมฆียะกรรมก็เป็นการทราบมูลอันจะบอกล้างแล้ว เมื่อจำเลยได้รับประวัติการตรวจรักษาของ ล. จากโรงพยาบาล ข้อเท็จจริงที่ ล. ปกปิดไว้ได้ปรากฏขึ้นจำเลยจึงต้องแสดงเจตนาใช้สิทธิบอกล้างสัญญาประกันชีวิตไปยังผู้รับประโยชน์ภายในหนึ่งเดือนนับแต่เวลานั้น อีกทั้งหนังสือบอกล้างโมฆียะกรรมที่ผู้รับประกันภัยมีถึงผู้รับประโยชน์นั้นย่อมมีผลนับแต่เวลาที่ผู้รับประโยชน์ได้รับหนังสือดังกล่าว ซึ่งโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4 ได้รับหนังสือบอกเลิกสัญญาเมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2541 โดยจำเลยมิได้โต้แย้งคัดค้าน ดังนี้ การแสดงเจตนาบอกล้างโมฆียะกรรมของจำเลยจึงไปถึงโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4 เมื่อพ้นกำหนดหนึ่งเดือนนับแต่จำเลยทราบมูลอันจะบอกล้างโมฆียะกรรมได้ ไม่ว่าจะถือว่าจำเลยทราบมูลอันจะบอกล้างโมฆียะกรรมได้ในวันที่ 26 มกราคม 2541 หรือวันที่ 31 มกราคม 2541 ก็ตาม การใช้สิทธิบอกล้างโมฆียะกรรมของจำเลยจึงไม่ชอบตามมาตรา 865 วรรคสอง
ที่โจทก์ที่ 1 ขอให้พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลอุทธรณ์เป็นว่า โจทก์ที่ 1 มีอำนาจฟ้องมาในคำแก้ฎีกานั้น โจทก์ที่ 1 ชอบที่จะยื่นคำฟ้องฎีกาโต้แย้งคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ที่พิพากษายกฟ้องโจทก์ที่ 1 เพราะโจทก์ที่ 1 ไม่มีอำนาจฟ้อง จะยื่นมาในคำแก้ฎีกามิได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7890/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้อน: การกระทำใหม่หลังฟ้องคดีก่อน ไม่ถือเป็นฟ้องซ้อนหากเป็นคนละมูลเหตุ
โจทก์อุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายพร้อมกับยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกา แม้ศาลชั้นต้นมิได้สั่งอนุญาต แต่การที่จำเลยได้รับสำเนาคำร้องแล้วไม่คัดค้าน และศาลชั้นต้นสั่งให้ส่งสำนวนไปยังศาลฎีกา พอแปลได้ว่าศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ยื่นอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 223 ทวิ วรรคหนึ่ง
แม้คดีก่อนซึ่งโจทก์ยื่นฟ้องเป็นคดีแพ่งหมายเลขดำที่ 227/2546 กับคดีนี้มีประเด็นข้อพิพาทอย่างเดียวกันว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์หรือไม่ แต่การวินิจฉัยเรื่องฟ้องซ้อนจะต้องพิจารณาว่าโจทก์ฟ้องในมูลคดีอันเป็นเรื่องเดียวกันหรือไม่เป็นสำคัญ คำฟ้องคดีก่อนเป็นเรื่องที่โจทก์กล่าวอ้างว่า จำเลยทำลายรั้วอิฐบล็อกของโจทก์แล้วก่อสร้างรั้วอิฐบล็อกขึ้นใหม่รุกล้ำเขตที่ดินของโจทก์ โจทก์จึงฟ้องขับไล่ให้จำเลยรื้อถอนรั้วดังกล่าวออกไปจากเขตที่ดินและเรียกค่าเสียหาย ส่วนคดีนี้เป็นเรื่องที่เพิ่งเกิดขึ้นภายหลัง โดยโจทก์กล่าวอ้างว่า ขณะคดีก่อนอยู่ระหว่างพิจารณาเกิดคลื่นยักษ์สึนามิซัดรั้วอิฐบล็อกที่จำเลยก่อสร้างรุกล้ำที่ดินโจทก์พังทลาย ต่อมาจำเลยตัดฟันต้นมะพร้าวของโจทก์ แล้วก่อสร้างอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กขึ้นใหม่โดยบางส่วนของอาคารรุกล้ำเข้าไปในเขตที่ดินของโจทก์ ดังนี้ แม้หากจะถือว่าจำเลยยังคงยึดถือที่ดินบริเวณที่พิพาทกับโจทก์ต่อเนื่องมาก็ตาม แต่การกระทำของจำเลยที่เพิ่งเกิดขึ้นใหม่ในภายหลังนั้น โจทก์ย่อมไม่มีทางที่จะยกขึ้นกล่าวอ้างเพื่อขอให้บังคับจำเลยรื้อถอนอาคารและชดใช้ราคาต้นมะพร้าวขณะยื่นฟ้องคดีก่อนได้ ทั้งค่าเสียหายเกี่ยวกับที่ดินที่โจทก์เรียกร้องมาในคดีนี้ก็เป็นคนละส่วนกับคดีก่อน การที่โจทก์มาฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ขึ้นใหม่ จึงไม่อาจถือว่าเป็นคำฟ้องในเรื่องเดียวกันกับคดีก่อน ฟ้องโจทก์จึงไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1) ส่วนการที่โจทก์ได้ยื่นคำร้องขอคุ้มครองชั่วคราวในคดีก่อนโดยกล่าวถึงการก่อสร้างอาคารจำเลยและขอให้สั่งระงับการก่อสร้างไว้ก่อนนั้น ก็มิใช่การยื่นคำฟ้อง จึงไม่อาจนำมาเป็นเหตุถือว่าฟ้องโจทก์เป็นฟ้องซ้อนกับคดีก่อนดังที่จำเลยอ้างมาในคำแก้อุทธรณ์ได้
โจทก์อุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกา เมื่อศาลฎีกาวินิจฉัยว่าฟ้องโจทก์ไม่เป็นฟ้องซ้อนแล้ว จำต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาและวินิจฉัยประเด็นอื่นที่ยังมิได้วินิจฉัยต่อไป อุทธรณ์ของโจทก์เช่นนี้เป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ต้องเสียค่าขึ้นศาลเพียง 200 บาท ตามตาราง 1 ข้อ 2 (ก) ท้าย ป.วิ.พ. ต้องคืนค่าขึ้นศาลส่วนที่เกิน 200 บาท แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8615/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา: ใช้บังคับอายุความอาญาเมื่อมูลเหตุเกิดจากความผิดอาญา
คดีนี้โจทก์ทั้งสองบรรยายฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยโดยกล่าวหาว่าจำเลยเอาความอันเป็นเท็จฟ้องโจทก์ทั้งสองต่อศาล โดยประสงค์จะให้โจทก์ทั้งสองรับโทษทางอาญา ทำให้โจทก์ทั้งสองเสียหายเพราถูกฟ้องคดีอาญา จึงเป็นการฟ้องคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา โจทก์ทั้งสองยื่นฟ้องจำเลยเป็นคดีอาญาข้อหาฟ้องเท็จและเบิกความเท็จ คดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น ส่วนคดีนี้เป็นการฟ้องเรียกร้องค่าเสียหายในมูลอันเป็นความผิดมีโทษตาม ป.อ. จึงต้องใช้อายุความทางอาญาซึ่งยาวกว่ามาบังคับ ซึ่งตามบทมาตราที่จำเลยถูกฟ้องว่ากระทำผิดอาญานั้น มีโทษสูงสุดจำคุกไม่เกิน 5 ปี คดีนี้จึงมีอายุความ 10 ปี คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ เมื่อคดียังมีปัญหาต้องวินิจฉัยต่อไปว่า จำเลยกระทำละเมิดต่อโจทก์ทั้งสองหรือไม่ โจทก์ทั้งสองได้รับความเสียหายจากการกระทำของจำเลยเพียงใด ซึ่งศาลชั้นต้นยังไม่ได้วินิจฉัยและเป็นปัญหาข้อเท็จจริง ศาลฎีกาเห็นสมควรย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยแล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดี
อนึ่ง อุทธรณ์ปัญหาข้อกฎหมายของโจทก์เช่นนี้ เป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ต้องเสียค่าขึ้นศาล 200 บาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8252-8254/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำ: คดีเดิมพิพากษาถึงที่สุดแล้ว การฟ้องคดีใหม่ด้วยเหตุเดิมแม้มีรายละเอียดต่างกัน ถือเป็นการฟ้องซ้ำ
คดีเดิมที่โจทก์ฟ้องจำเลยต่อศาลแรงงานกลางกล่าวอ้างว่าการทำหนังสือยินยอมให้จำเลยลดเงินเดือนเพื่อรับตำแหน่งใหม่ไม่ถูกต้องเพราะเป็นการทำตามระเบียบที่ออกมาภายหลังจากโจทก์ได้สอบคัดเลือกแล้ว จึงเรียกเงินเดือนส่วนที่ลดลงไปนับแต่เดือนสิงหาคม 2544 ศาลแรงงานกลางพิพากษายกฟ้องและคดีถึงที่สุดแล้ว การที่โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้อ้างว่าการที่จำเลยให้โจทก์ทำหนังสือยินยอมให้จำเลยลดเงินเดือนเป็นการฉ้อฉล ไม่สุจริต ผิดข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่จำเลยทำไว้กับสหภาพแรงงาน ขัดต่อกฎหมาย แล้วเรียกเงินเดือนส่วนที่ลดลงไปนับแต่เดือนสิงหาคม 2544 เงินค่าครองชีพ เงินโบนัส ค่าชดเชยวันหยุด ค่าชดเชยวันพักร้อน และเงินอื่นๆ แม้ว่าโจทก์จะอ้างเหตุที่แสดงว่าการทำหนังสือยินยอมให้จำเลยลดเงินเดือนไม่ชอบด้วยเหตุที่แตกต่างจากในคดีเดิม และเรียกเงินอื่นเพิ่มมาจากในคดีก่อน แต่เป็นการกระทำสืบเนื่องมาจากมูลกรณีเดียวกัน ซึ่งโจทก์สามารถอ้างในการฟ้องและเรียกร้องเงินอื่นที่เพิ่มขึ้นมาในคดีเดิมได้ จึงเป็นฟ้องซ้ำต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5096/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำ: แม้เปลี่ยนฐานความรับผิดเป็นละเมิด หากมูลเหตุยังคงเป็นการว่าจ้างเดิม ศาลยกฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148
โจทก์เคยฟ้องจำเลยทั้งสองคดีนี้เรื่องจ้างทำของโดยอ้างว่าจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นลูกจ้างและเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1 ว่าจ้างให้โจทก์พิมพ์งาน ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า จำเลยที่ 2 ไม่ได้เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นคดีนี้โดยบรรยายฟ้องในเรื่องมูลหนี้ที่เกิดจากการพิมพ์งานของโจทก์เช่นเดียวกับในคดีเดิม โดยบรรยายอีกว่าเป็นการว่าจ้างจากจำเลยที่ 1 โดยมีจำเลยที่ 2 เป็นตัวแทน แม้โจทก์จะบรรยายฟ้องเป็นเรื่องละเมิดก็เพียงเพื่อให้ความรับผิดของจำเลยทั้งสองอยู่ในรูปแบบของนายจ้างลูกจ้างเท่านั้น การกล่าวอ้างว่าจำเลยที่ 2 กรอกรายการในใบเสร็จรับเงินให้เป็นของบริษัท ด. เป็นการประทุษร้ายต่อสิทธิในการรับเงินค่าจ้างของโจทก์ก็มีผลเท่ากับโจทก์ยังคงกล่าวอ้างว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้ว่าจ้างให้โจทก์พิมพ์งานเช่นในคดีเดิม จึงเป็นฟ้องซ้ำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148
of 3