พบผลลัพธ์ทั้งหมด 41 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1769/2505 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือนาซาร์มีผลเมื่อตาย: การบังคับใช้กฎหมายอิสลามในเรื่องมรดกและการยกทรัพย์
ผู้ตายทำพินัยกรรม (นาซาร์) ปรารถนาจะให้ทรัพย์แก่โจทก์เมื่อตาย และโจทก์ยังไม่ได้ทรัพย์นั้นโดยการครอบครอง ทรัพย์นั้นยังคงเป็นของผู้ตายอยู่จนกระทั่งตาย และเป็นทรัพย์มรดกที่จะแบ่งปันตามกฎหมายอิสลาม (โจทก์จำเลยและผู้ตายเป็นอิสลามศาสนิก และเป็นคดีของศาลจังหวัดปัตตานี) เมื่อทรัพย์นั้นเป็นมรดกดะโต๊ะยุติธรรมต้องใช้กฎหมายอิสลามมาปรับแก่คดี
เจ้ามรดกทำหนังสือนาซาร์ไว้ หนังสือนี้เป็นพินัยกรรมหรือไม่ การแบ่งมรดกจะต้องแบ่งตามหนังสือนาซาร์หรือจะตกได้แก่ทายาท เป็นเรื่องของกฎหมายอิสลาม ดะโต๊ะยุติธรรมเป็นผู้มีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดข้อกฎหมายอิสลาม
เมื่อดะโต๊ะยุติธรรมวินิจฉัยว่า หนังสือนาซาร์นี้เป็นพินัยกรรมมีผลเมื่อผู้ทำยกให้ตายแล้ว แต่มิใช่พินัยกรรมธรรมดาที่เรียกว่า "วาซียะ" เพราะผลนั้นย้อนหลังไปถึงวันที่กำหนด คือ ก่อนเจ็บตาย 3 วัน ซึ่งเป็นอำนาจของพินัยกรรมชนิดนี้ตามกฎหมายอิสลามก็ต้องเป็นไปตามนั้น และคำวินิจฉัยย่อมเด็ดขาด ศาลอุทธรณ์จะวินิจฉัยใหม่ว่าเป็นการยกให้โดยมองผลย้อนหลังไม่ได้ เพราะหนังสือนี้มีผลเมื่อผู้ทำตาย จึงไม่เป็นการยกให้
เจ้ามรดกทำหนังสือนาซาร์ไว้ หนังสือนี้เป็นพินัยกรรมหรือไม่ การแบ่งมรดกจะต้องแบ่งตามหนังสือนาซาร์หรือจะตกได้แก่ทายาท เป็นเรื่องของกฎหมายอิสลาม ดะโต๊ะยุติธรรมเป็นผู้มีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดข้อกฎหมายอิสลาม
เมื่อดะโต๊ะยุติธรรมวินิจฉัยว่า หนังสือนาซาร์นี้เป็นพินัยกรรมมีผลเมื่อผู้ทำยกให้ตายแล้ว แต่มิใช่พินัยกรรมธรรมดาที่เรียกว่า "วาซียะ" เพราะผลนั้นย้อนหลังไปถึงวันที่กำหนด คือ ก่อนเจ็บตาย 3 วัน ซึ่งเป็นอำนาจของพินัยกรรมชนิดนี้ตามกฎหมายอิสลามก็ต้องเป็นไปตามนั้น และคำวินิจฉัยย่อมเด็ดขาด ศาลอุทธรณ์จะวินิจฉัยใหม่ว่าเป็นการยกให้โดยมองผลย้อนหลังไม่ได้ เพราะหนังสือนี้มีผลเมื่อผู้ทำตาย จึงไม่เป็นการยกให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1764/2498
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พินัยกรรมยกทรัพย์: สิทธิสามีในการจัดการทรัพย์สินหลังภรรยาเสียชีวิต และขอบเขตของข้อตกลงร่วม
สามีภรรยาต่างทำพินัยกรรมให้แก่กัน พินัยกรรมของภรรยามีข้อความว่า "เมื่อข้าพเจ้าวายชนม์แล้ว บรรดาทรัพย์สินและสิทธิทั้งหลายของข้าพเจ้าซึ่งมีอยู่ในเวลานี้และมีต่อไปภายหน้า ขอให้ตกเป็นกรรมสิทธิแก่สามี(ขุนอุปพงษ์ฯ) ผู้รับพินัยกรรม แต่ถ้าขุนอุปพงษ์ฯถึงแก่กรรมล่วงลับไปก่อนข้าพเจ้าก็ขอให้ทรัพย์สินและสิทธิทั้งหลายของข้าพเจ้าตกเป็นกรรมสิทธิ์แก่โจทก์ (คุณหญิงเลขวณิชฯ)เป็นผู้รับพินัยกรรม ฯลฯ" และตามพินัยกรรมของสามี (ขุนอุปพงษ์ฯ)ก็มีข้อความทำนองเดียวกัน ยกทรัพย์ให้แก่ภรรยา (นางจันทร์) ถ้านางจันทร์ล่วงลับไปก่อนก็ยกทรัพย์ให้แก่โจทก์ (คุณหญิงเลขวณิชฯ)
ดังนี้เมื่อภรรยา (นางจันทร์)ตายไปก่อน ทรัพย์มรดกของภรรยา(นางจันทร์) ก็ตกได้แก่สามี(ขุนอุปพงษ์) ตามพินัยกรรมสามีย่อมมีสิทธิที่จะยกทรัพย์ให้แก่ผู้อื่นได้ ไม่มีข้อผูกพันตาม กฎหมาย ที่สามี(ขุนอุปพงษ์ฯ)จำต้องยกทรัพย์ให้แก่โจทก์ เพราะทรัพย์นั้นเป็นของสามี(ขุนอุปพงษ์ฯ) โดยเด็ดขาด ตามกฎหมาย สามีมีสิทธิจะยกทรัพย์ให้ใครๆ ก็ได้แล้ว ต่อมาทำพินัยกรรมยกทรัพย์ไปให้ผู้อื่นมิได้ปฏิบัติตามที่ตกลงกันไว้กับภรรยา ว่าจะให้โจทก์ก็ตาม ก็ไม่เป็นการใช้สิทธิไม่สุจริตเพราะข้อตกลงนั้นฟังได้อย่างมากก็เพียงว่าผู้ทำพินัยกรรมทั้งสองตกลงจะยกทรัพย์ให้แก่โจทก์เมื่อตาย แต่เมื่อมิได้ทำพินัยกรรมยกให้ไว้โดยตรงดั่งบัญญัติไว้ใน มาตรา 536 แล้วก็ใช้บังคับไม่ได้ และเรื่องนี้เป็นการยกทรัพย์ให้กันตามพินัยกรรมไม่ใช่เรื่องคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งตกลงว่าจะชำระหนี้แก่บุคคลภายนอกตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 374
ข้อผูกพันให้ทรัพย์ตกได้แก่โจทก์ใช้บังคับมิได้เพราะขัดต่อ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1707 (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 24/2498)
ดังนี้เมื่อภรรยา (นางจันทร์)ตายไปก่อน ทรัพย์มรดกของภรรยา(นางจันทร์) ก็ตกได้แก่สามี(ขุนอุปพงษ์) ตามพินัยกรรมสามีย่อมมีสิทธิที่จะยกทรัพย์ให้แก่ผู้อื่นได้ ไม่มีข้อผูกพันตาม กฎหมาย ที่สามี(ขุนอุปพงษ์ฯ)จำต้องยกทรัพย์ให้แก่โจทก์ เพราะทรัพย์นั้นเป็นของสามี(ขุนอุปพงษ์ฯ) โดยเด็ดขาด ตามกฎหมาย สามีมีสิทธิจะยกทรัพย์ให้ใครๆ ก็ได้แล้ว ต่อมาทำพินัยกรรมยกทรัพย์ไปให้ผู้อื่นมิได้ปฏิบัติตามที่ตกลงกันไว้กับภรรยา ว่าจะให้โจทก์ก็ตาม ก็ไม่เป็นการใช้สิทธิไม่สุจริตเพราะข้อตกลงนั้นฟังได้อย่างมากก็เพียงว่าผู้ทำพินัยกรรมทั้งสองตกลงจะยกทรัพย์ให้แก่โจทก์เมื่อตาย แต่เมื่อมิได้ทำพินัยกรรมยกให้ไว้โดยตรงดั่งบัญญัติไว้ใน มาตรา 536 แล้วก็ใช้บังคับไม่ได้ และเรื่องนี้เป็นการยกทรัพย์ให้กันตามพินัยกรรมไม่ใช่เรื่องคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งตกลงว่าจะชำระหนี้แก่บุคคลภายนอกตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 374
ข้อผูกพันให้ทรัพย์ตกได้แก่โจทก์ใช้บังคับมิได้เพราะขัดต่อ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1707 (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 24/2498)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 816/2496 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เอกสารระบุเจตนา ยกทรัพย์ให้ผู้อื่น ถือเป็นพินัยกรรมได้ แม้ไม่มีข้อความระบุผลเมื่อตาย
เจ้ามรดกเขียนพินัยกรรม์ยกทรัพย์สินให้บุตรและบุตรเขย แม้จะไม่มีข้อความว่าให้คำสั่งของคนมีผลเมื่อตายแล้ว ก็ดี แต่เมื่ออ่านเอกสารนี้ รวมกันทั้งฉะบับแล้ว คงได้ความว่า ทรัพย์ของเจ้ามรดกที่มีอยู่เมื่อตายเจ้ามรดกไม่ปลงใจ ยกให้แก่ใคร นอกจากบุตรและบุตรเขย ฯลฯ ที่ระบุไว้ในคำสั่งนั้ นั้น จึงย่อมเป็นคำสั่งของเจ้ามรดกได้กำหนดการ เผื่อตายในเรื่องทรัพย์สินของตนอันจะให้เกิดมีผลบังคับได้ตามกฎหมายเมื่อตายแล้ว จึงเป็นพินัยกรรม์ที่ชอบด้วย กฎหมาย ป.ม.แพ่งฯมาตรา 1646./
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 862/2495 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การก่อตั้งตรัสต์ต้องมีเจตนาชัดเจนยกทรัพย์และผูกมัดการใช้ประโยชน์ให้ชัดเจน มิฉะนั้นถือเป็นทรัพย์มรดก
กรณีจะเป็นตรัสต์นั้น ต้องมีข้อความให้เห็นได้ว่า ยกกรรมสิทธิในทรัพย์ให้ แต่ผูกมัดไว้ว่า ผู้รับกรรมสิทธินั้จะต้องใช้ทรัพย์นั้นให้เป็นประโยชน์แก่บุคคลใด ๆ อันกำหนดตัวได้แน่นอนหรือเพื่อสาธารณะกุศลอันแน่นอน
การสั่งให้ทรัพย์สมบัติทุกอย่างเป็นกองกลาง เพื่อให้บุตรหลานมีสิทธิได้อยู่อาศัยและเก็บกิน ซึ่งผลประโยชน์ไปจนตลอดชีวิต เมื่อบุตรหลานคนใดไม่มีทุนรอน ก็ให้เงินทำทุนพอสมควร โดยตั้งให้ทายาทคนหนึ่งเป็นผู้ปกครองทรัพย์ กับมีหน้าที่เก็บเงิน ทำบุญวัดและบ้านนั้น เป็นคำสั่งที่ใช้คำกว้าง ๆ ไม่แน่นอนมิได้กำหนดให้ชัดว่าทำบุญอะไร วัดไหน และบ้านแห่งใด ดังนี้ จึงไม่ใช่เป็นกรณีก่อให้ตั้งตรัสต์ และต้องถือว่าข้อกำหนดในพินัยกรรมดังกล่าวแล้ว ไม่มีผล ทรัพย์มรดกจึงตกทอดไปยังทายาทโดยธรรมไป
การสั่งให้ทรัพย์สมบัติทุกอย่างเป็นกองกลาง เพื่อให้บุตรหลานมีสิทธิได้อยู่อาศัยและเก็บกิน ซึ่งผลประโยชน์ไปจนตลอดชีวิต เมื่อบุตรหลานคนใดไม่มีทุนรอน ก็ให้เงินทำทุนพอสมควร โดยตั้งให้ทายาทคนหนึ่งเป็นผู้ปกครองทรัพย์ กับมีหน้าที่เก็บเงิน ทำบุญวัดและบ้านนั้น เป็นคำสั่งที่ใช้คำกว้าง ๆ ไม่แน่นอนมิได้กำหนดให้ชัดว่าทำบุญอะไร วัดไหน และบ้านแห่งใด ดังนี้ จึงไม่ใช่เป็นกรณีก่อให้ตั้งตรัสต์ และต้องถือว่าข้อกำหนดในพินัยกรรมดังกล่าวแล้ว ไม่มีผล ทรัพย์มรดกจึงตกทอดไปยังทายาทโดยธรรมไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 38/2495
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยกสินบริคณห์ให้บุตรต้องมียินยอมจากสามี หากศาลชั้นต้นวินิจฉัยแล้ว ศาลอุทธรณ์ไม่รับพิจารณาข้อกฎหมายใหม่
ภรรยาเอาที่ดินและบ้านเรือน อันเป็นทรัพย์สินบริคณห์ไปทำหนังสือยกให้แก่บุตร ณ ที่ว่าการอำเภอ โดยสามีได้รู้เห็นยินยอมด้วยครั้นภายหลังบุตรถูกเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา ยึดทรัพย์นั้น สามีจะไปร้องขอให้ปล่อยทรัพย์โดยอ้างว่าเป็นสินบริคณห์ ไม่ได้
สามีร้องขัดทรัพย์ โดยอ้างว่าภรรยาเอาสินบริคณห์ไปยกให้แก่บุตรโดยตนมิได้รู้เห็นยินยอม สัญญายกให้จึงใช้ไม่ได้ ครั้นศาลชั้นต้นฟังว่าสามีรู้เห็นยินยอมในการยกให้แล้ว ให้ยกคำร้อง สามีกลับคัดค้านในชั้นศาลอุทธรณ์อีกว่า สามีจะต้องให้ความยินยอมเป็นหนังสือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1476 อีก ศาลอุทธรณ์ย่อมไม่รับวินิจฉัยให้ เพราะข้อกฎหมายนี้มิได้ยกขึ้นอ้างมาแต่ศาลชั้นต้น และมิใช่ข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน
สามีร้องขัดทรัพย์ โดยอ้างว่าภรรยาเอาสินบริคณห์ไปยกให้แก่บุตรโดยตนมิได้รู้เห็นยินยอม สัญญายกให้จึงใช้ไม่ได้ ครั้นศาลชั้นต้นฟังว่าสามีรู้เห็นยินยอมในการยกให้แล้ว ให้ยกคำร้อง สามีกลับคัดค้านในชั้นศาลอุทธรณ์อีกว่า สามีจะต้องให้ความยินยอมเป็นหนังสือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1476 อีก ศาลอุทธรณ์ย่อมไม่รับวินิจฉัยให้ เพราะข้อกฎหมายนี้มิได้ยกขึ้นอ้างมาแต่ศาลชั้นต้น และมิใช่ข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 999/2493 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พินัยกรรมยกทรัพย์และการยินยอมให้มอบทรัพย์หลังพินัยกรรมมีผลใช้บังคับ
เอกสารที่ผู้ทำ ทำยกทรัพย์ให้บุตร ได้ทำตามแบบพินัยกรรม์ความตอนต้นก็บ่งว่าผู้ทำ ทำพินัยกรรม์เป็นคำสั่งเด็ดขาดและจะยกทรัพย์ให้ต่อเมื่อตนตายแล้ว ตอนท้ายก็มีบันทึกของผู้นั่งพินัยกรรม์ตามแบบเดิม และเซ็นชื่อผู้นั่งพินัยกรรม์ถึง 6 คน ดังนี้ย่อมถือว่าเป็นพินัยกรรม์
ทำพินัยกรรม์ยกทรัพย์ให้แก่บุตร แล้วภายหลังสั่งให้ผู้รับฝากทรัพย์ตามพินัยกรรม์ให้มอบทรัพย์นั้นแก่บุตรไปในระวห่างที่ตนมีชีวิตอยู่ ก็หาเป็นเหตุลบล้างลักษณะของเอกสารนั้นให้กลับไม่เป็นพินัยกรรม์ได้ไม่
ผู้รับฝากทรัพย์ของเขาไว้เพื่อมอบให้แก่บุตรของผู้ฝากภายหลังได้มอบทรัพย์นั้นแก่บุตรของผู้ฝาก ๆ รู้แล้วมิได้คัดค้านย่อมถือได้ว่าผู้ฝากยินยอมให้ผู้รับฝากมอบทรัพย์ให้แก่บุตรผู้รับฝากย่อมพ้นหน้าที่รับผิดชอบใน ทรัพย์ส่วนนี้ และผู้ฝากก็สิ้นสิทธิที่จะเรียกทรัพย์ส่วนนี้คืนจากผู้รับฝาก
ทำพินัยกรรม์ยกทรัพย์ให้แก่บุตร แล้วภายหลังสั่งให้ผู้รับฝากทรัพย์ตามพินัยกรรม์ให้มอบทรัพย์นั้นแก่บุตรไปในระวห่างที่ตนมีชีวิตอยู่ ก็หาเป็นเหตุลบล้างลักษณะของเอกสารนั้นให้กลับไม่เป็นพินัยกรรม์ได้ไม่
ผู้รับฝากทรัพย์ของเขาไว้เพื่อมอบให้แก่บุตรของผู้ฝากภายหลังได้มอบทรัพย์นั้นแก่บุตรของผู้ฝาก ๆ รู้แล้วมิได้คัดค้านย่อมถือได้ว่าผู้ฝากยินยอมให้ผู้รับฝากมอบทรัพย์ให้แก่บุตรผู้รับฝากย่อมพ้นหน้าที่รับผิดชอบใน ทรัพย์ส่วนนี้ และผู้ฝากก็สิ้นสิทธิที่จะเรียกทรัพย์ส่วนนี้คืนจากผู้รับฝาก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 999/2493
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พินัยกรรมยกทรัพย์และการยินยอมให้มอบทรัพย์ก่อนตาย ทำให้สิ้นสิทธิเรียกร้องคืน
เอกสารที่ผู้ทำ ทำยกทรัพย์ให้บุตร ได้ทำตามแบบพินัยกรรมความตอนต้นก็บ่งว่าผู้ทำ ทำพินัยกรรมเป็นคำสั่งเด็ดขาดและจะยกทรัพย์ให้ต่อเมื่อตนตายแล้ว ตอนท้ายก็มีบันทึกของผู้นั่งพินัยกรรมตามแบบเดิม และเซ็นชื่อผู้นั่งพินัยกรรมถึง 6 คน ดังนี้ย่อมถือว่าเป็นพินัยกรรม
ทำพินัยกรรมยกทรัพย์ให้แก่บุตร แล้วภายหลังสั่งให้ผู้รับฝากทรัพย์ตามพินัยกรรมให้มอบทรัพย์นั้นแก่บุตรไปในระหว่างที่ตนมีชีวิตอยู่ ก็หาเป็นเหตุลบล้างลักษณะของเอกสารนั้นให้กลับไม่เป็นพินัยกรรมได้ไม่
ผู้รับฝากทรัพย์ของเขาไว้เพื่อมอบให้แก่บุตรของผู้ฝากภายหลังได้มอบทรัพย์นั้นแก่บุตรของผู้ฝาก ผู้ฝากรู้แล้วมิได้คัดค้านย่อมถือได้ว่าผู้ฝากยินยอมให้ผู้รับฝากมอบทรัพย์ให้แก่บุตร ผู้รับฝากย่อมพ้นหน้าที่รับผิดชอบในทรัพย์ส่วนนี้ และผู้ฝากก็สิ้นสิทธิที่จะเรียกทรัพย์ส่วนนี้คืนจากผู้รับฝาก
ทำพินัยกรรมยกทรัพย์ให้แก่บุตร แล้วภายหลังสั่งให้ผู้รับฝากทรัพย์ตามพินัยกรรมให้มอบทรัพย์นั้นแก่บุตรไปในระหว่างที่ตนมีชีวิตอยู่ ก็หาเป็นเหตุลบล้างลักษณะของเอกสารนั้นให้กลับไม่เป็นพินัยกรรมได้ไม่
ผู้รับฝากทรัพย์ของเขาไว้เพื่อมอบให้แก่บุตรของผู้ฝากภายหลังได้มอบทรัพย์นั้นแก่บุตรของผู้ฝาก ผู้ฝากรู้แล้วมิได้คัดค้านย่อมถือได้ว่าผู้ฝากยินยอมให้ผู้รับฝากมอบทรัพย์ให้แก่บุตร ผู้รับฝากย่อมพ้นหน้าที่รับผิดชอบในทรัพย์ส่วนนี้ และผู้ฝากก็สิ้นสิทธิที่จะเรียกทรัพย์ส่วนนี้คืนจากผู้รับฝาก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 79/2493
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปฏิบัติหน้าที่ผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรม: การตกลงยกทรัพย์ให้บุตรแล้วถือเป็นเสร็จสิ้น แม้ผู้จัดการบางคนจะกลับใจ
พินัยกรรมที่กำหนดให้ผู้จัดการมรดกยกทรัพย์ให้บุตรคนใดคนหนึ่งของเจ้ามรดกนั้น ใช้ได้ตามมาตรา 1706 ข้อ 2
ผู้จัดการมรดกหลายคนครั้งแรกได้ตกลงพร้อมกันเป็นหนังสือว่าจะยกทรัพย์ให้แก่บุตรของเจ้ามรดกคนใดคนหนึ่งตามข้อกำหนดในพินัยกรรมแล้วแม้ภายหลังผู้จัดการมรดกส่วนมาก จะกลับใจยกทรัพย์ให้บุตรของเจ้ามรดกคนอื่นอีกก็ไม่มีผลเพราะถือว่าได้ปฏิบัติหน้าที่ผู้จัดการมรดกเสร็จแล้วตั้งแต่เมื่อตกลงกันครั้งแรก
ผู้จัดการมรดกหลายคนครั้งแรกได้ตกลงพร้อมกันเป็นหนังสือว่าจะยกทรัพย์ให้แก่บุตรของเจ้ามรดกคนใดคนหนึ่งตามข้อกำหนดในพินัยกรรมแล้วแม้ภายหลังผู้จัดการมรดกส่วนมาก จะกลับใจยกทรัพย์ให้บุตรของเจ้ามรดกคนอื่นอีกก็ไม่มีผลเพราะถือว่าได้ปฏิบัติหน้าที่ผู้จัดการมรดกเสร็จแล้วตั้งแต่เมื่อตกลงกันครั้งแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1548/2493
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนายกทรัพย์โดยพินัยกรรม: การตีความพินัยกรรมสั่งให้ยกทรัพย์เมื่อเสียชีวิต มิใช่การยกทรัพย์โดยเสน่หา
ความในพินัยกรรมข้อหนึ่งกล่าวว่า ผู้ตายเจตนายกทรัพย์ให้ผู้มีชื่อตั้งแต่วันทำพินัยกรรมฉบับนี้ มีข้อความเริ่มต้นระบุไว้ชัดว่าขอทำหนังสือพินัยกรรมเป็นคำสั่งเผื่อตายไว้ และตอนท้ายก็ยังกล่าวยืนยันว่าผู้ตายได้ทำพินัยกรรมไว้ด้วยความเต็มใจและมีสติดี มีพยานลงชื่ออย่างพินัยกรรมทุกประการ เช่นนี้ ย่อมถือว่าเป็นพินัยกรรมที่ผู้ตายมุ่งหมายจะยกทรัพย์ให้เมื่อผู้ตายตายลง หาใช่เป็นหนังสือยกทรัพย์ให้โดยเสน่หาไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 122/2490 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หน้าที่นำสืบในคดีมรดก: จำเลยต้องนำสืบการยกทรัพย์ให้ก่อนตาย และข้อต่อสู้เรื่องแบ่งทรัพย์
คดีฟ้องแบ่งมฤดก จำเลยให้การต่อสู้ว่า ได้แบ่งทรัพย์กันเสร็จไปแล้ว โจทก์แถลงว่าให้เข้าครอบครองที่ดินสองแปลงจริง แต่ไม่ใช่เพราะจำเลยแบ่งให้ ดังนี้ไม่ใช่คำรับ จำเลยคงมีหน้าที่นำสืบตามข้อต่อสู้
เมื่อจำเลยรับว่า ทรัพย์ตามบัญชีท้ายฟ้องเป็นของเจ้ามฤดกแล้ว การที่จำเลยอ้างว่าเจ้ามฤดกยกให้ตนก่อนตาย ก็เป็นหน้าที่ของจำเลยต้องนำสืบ
แม้ศาลกำหนดหน้าที่นำสืบไว้อย่างไร ถ้าคู่ความไม่สืบพะยาน ศาลก็วินิจฉัยให้แพ้ชนะตามแต่หน้าที่ที่จะต้องนำสืบตามกฎหมาย
เมื่อจำเลยรับว่า ทรัพย์ตามบัญชีท้ายฟ้องเป็นของเจ้ามฤดกแล้ว การที่จำเลยอ้างว่าเจ้ามฤดกยกให้ตนก่อนตาย ก็เป็นหน้าที่ของจำเลยต้องนำสืบ
แม้ศาลกำหนดหน้าที่นำสืบไว้อย่างไร ถ้าคู่ความไม่สืบพะยาน ศาลก็วินิจฉัยให้แพ้ชนะตามแต่หน้าที่ที่จะต้องนำสืบตามกฎหมาย