พบผลลัพธ์ทั้งหมด 147 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 741/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของกรรมการสหกรณ์ต่อการยักยอกเงิน โดยไม่ได้ประมาทเลินเล่อ
โจทก์เป็นนิติบุคคลประเภทสหกรณ์การเกษตร มีจำเลยที่ 1เป็นผู้จัดการ จำเลยที่ 3 เป็นกรรมการและเลขานุการคณะกรรมการดำเนินการ และเป็นคนหนึ่งในจำนวน 5 คน ผู้มีอำนาจถอนเงินของโจทก์จากธนาคาร การถอนเงินตั้งแต่ 10,000 บาท มีระเบียบให้แจ้งให้พนักงานส่งเสริมสหกรณ์ทราบ จำเลยที่ 1 นำเช็คไปให้จำเลยที่ 3ลงชื่อร่วมเพื่อถอนเงินจากธนาคาร ในขณะที่จำเลยที่ 3 จะเข้าประชุมกรรมการสมาคมณาปนกิจสงเคราะห์สมาชิกเกษตรนางรอง จำเลยที่ 3ให้นายห. สมาชิกของโจทก์ไปกับจำเลยที่ 1 ส่วนการแจ้งต่อพนักงานส่งเสริมสหกรณ์นั้นแม้สมควรต้องเป็นหน้าที่ของจำเลยที่ 1ซึ่งเป็นผู้จัดการ แต่จำเลยที่ 3 ก็ได้กำชับจำเลยที่ 1 ให้แจ้งพนักงานส่งเสริมสหกรณ์เสียก่อน แต่จำเลยที่ 1 ก็ไม่แจ้ง ถือว่าจำเลยที่ 3 ใช้ความระมัดระวังในการปฏิบัติหน้าที่ตามสมควรที่วิญญูชนทั่วไปจะพึงกระทำแล้ว ไม่ประมาทเล่นเลิอ จึงไม่ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ ในการที่จำเลยที่ 1 ถอนเงินมาแล้วยักยอกเงินไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 623/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนายักยอกเงิน - ยินยอมให้ใช้เงินก่อนแล้วคืนภายหลัง ไม่ถือเป็นความผิดอาญา
จำเลยเป็นพนักงานทำหน้าที่เหรัญญิกและเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลของโจทก์ร่วม จำเลยรับเงินจำนวน 20,000 บาท จาก ท. ซึ่งนำมาวางค้ำประกันการเข้าทำงานกับโจทก์ร่วม แต่จำเลยนำเงินจำนวนดังกล่าวไปใช้ส่วนตัวโดยไม่นำเข้าบัญชีของโจทก์ร่วมตามคำสั่งของส.หุ้นส่วนผู้จัดการของโจทก์ร่วมเมื่อส. สอบถามจำเลยจำเลยก็แจ้งให้ทราบว่าขอเอาไปใช้ก่อนเพราะครอบครัวเดือดร้อนและจะนำมาคืนให้สิ้นเดือนมีนาคม 2532 ส. มิได้ดำเนินการอะไรเมื่อถึงกำหนดจำเลยผิดนัด ส. ก็ยังกำหนดเวลาให้จำเลยนำเงินมาคืนภายในวันที่ 29 เมษายน 2532 ครั้งถึงกำหนดจำเลยยังไม่นำเงินมาคืนอีกและจะออกจากงาน ส. ก็ขอร้องให้จำเลยทำงานต่อไปจนกระทั่งวันที่ 2 พฤษภาคม 2532 จำเลยไม่มาทำงาน ในวันที่ 13มิถุนายน 2532 ส. จึงไปร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน ตามพฤติการณ์จึงเป็นเรื่องที่โจทก์ร่วมยินยอมให้จำเลยนำเงินจำนวน 20,000 บาทไปใช้ก่อนแล้วเอามาคืนให้ครบจำนวนภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้การที่จำเลยผิดนัดไม่นำเงินมาคืนให้โจทก์ร่วมและต่อสู้ว่าไม่ได้เอาเงินจำนวนดังกล่าวไป ก็ยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยมีเจตนาทุจริตที่จะยักยอกเงินของโจทก์ร่วม จึงเป็นเรื่องที่จะกล่าวกันทางแพ่งไม่เป็นความผิดอาญาฐานยักยอก ดังนี้ พนักงานอัยการจึงไม่มีสิทธิที่จะเรียกเงินจำนวน 20,000 บาท คืนให้ผู้เสียหาย (โจทก์ร่วม) ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4094/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องไม่ชัดเจน ยักยอกเงินค่าสินค้า: ฟ้องเคลือบคลุมทำให้ศาลยกฟ้อง แม้ศาลมีอำนาจพิจารณาถึงจำเลยที่ไม่ยื่นอุทธรณ์
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยนำใบเสร็จรับเงินที่ลูกค้าของโจทก์สั่งซื้อสินค้าเป็นเงินเชื่อในเดือนมิถุนายน 2535 ไปเรียกเก็บเงินจากลูกค้าของโจทก์ในเขตจังหวัดลำปางแล้วยักยอกเงินไปเป็นของตน รวมเป็นเงิน 360,065.86 บาทในวันที่ 26 มิถุนายน 2535 ครบกำหนดจำเลยที่ 1 นำส่งค่าสินค้าแก่โจทก์ แต่จำเลยที่ 1 ไม่นำส่งเงินค่าสินค้า แต่ทิ้งงานและเอาเงินค่าสินค้าไป โดยไม่ได้บรรยายว่าจำเลยที่ 1 ยักยอกเงินของโจทก์เป็นค่าสินค้าอะไรบ้าง แต่ละรายการเป็นเงินเท่าใดและเรียกเก็บเงินดังกล่าวจากลูกค้าคนใดของโจทก์ ฟ้องของโจทก์จึงมิได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหา และข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้น จึงเป็นฟ้องที่เคลือบคลุม ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 172 วรรคสอง ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31 และเมื่อคดีนี้เป็นคดีเกี่ยวด้วยการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจพิพากษาให้มีผลถึงจำเลยที่ 1 ที่มิได้อุทธรณ์ด้วย ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 245 (1) ประกอบด้วยพ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4094/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องไม่ชัดเจน ยักยอกเงินค่าสินค้า ศาลฎีกายกฟ้อง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยนำใบเสร็จรับเงินที่ลูกค้าของโจทก์สั่งซื้อสินค้าเป็นเงินเชื่อในเดือนมิถุนายน 2535ไปเรียกเก็บเงินจากลูกค้าของโจทก์ในเขตจังหวัดลำปางแล้วยักยอกเงินไปเป็นของตน รวมเป็นเงิน 360,065.86 บาทในวันที่ 26 มิถุนายน 2535 ครบกำหนดจำเลยที่ 1 นำส่งค่าสินค้าแก่โจทก์ แต่จำเลยที่ 1 ไม่นำส่งเงินค่าสินค้าแต่ทิ้งงานและเอาเงินค่าสินค้าไป โดยไม่ได้บรรยายว่าจำเลยที่ 1 ยักยอกเงินของโจทก์เป็นค่าสินค้าอะไรบ้างแต่ละรายการเป็นเงินเท่าใดและเรียกเก็บเงินดังกล่าวจากลูกจ้างคนใดของโจทก์ ฟ้องของโจทก์จึงมิได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหา และข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้น จึงเป็นฟ้องที่เคลือบคลุม ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 วรรคสองประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 31 และเมื่อคดีนี้เป็นคดีเกี่ยวด้วยการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจพิพากษาให้มีผลถึงจำเลยที่ 1 ที่มิได้อุทธรณ์ด้วยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 245(1)ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 31
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4094/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องไม่ชัดเจน ยักยอกเงิน: ศาลฎีกายกฟ้อง เหตุโจทก์ไม่ได้ระบุรายละเอียดการยักยอก
โจทก์ไม่ได้บรรยายว่า จำเลยที่ 1 ยักยอกเงินของโจทก์เป็นค่าสินค้าอะไรบ้าง แต่ละรายการเป็นเงินเท่าใด และเรียกเก็บเงินดังกล่าวจากลูกค้าคนใดของโจทก์ ฟ้องของโจทก์จึงมิได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นจึงเป็นฟ้องที่เคลือบคลุมไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสองประกอบด้วย พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 31 เมื่อเป็นคดีเกี่ยวด้วยการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจพิพากษาให้มีผลถึงจำเลยที่ 1 ที่มิได้อุทธรณ์ด้วยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 245(1) ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 486/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของพนักงานรัฐวิสาหกิจฐานยักยอกเงิน ยอมรับสารภาพเป็นหลักฐานสำคัญ
จำเลยเป็นหัวหน้าแผนกการเงินของธนาคาร มีหน้าที่เก็บรักษาเงินเมื่อถูกตรวจสอบพบว่าเงินหายก็ยอมรับว่าเป็นผู้ยักยอกเงินที่เก็บรักษาไว้ไปในทันทีและโดยสมัครใจ ย่อมเป็นการเพียงพอที่จะฟังได้แล้วว่าจำเลยกระทำความผิดตามฟ้อง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4121/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางละเมิดของกรรมการรับจ่ายเงินที่ไม่ปฏิบัติตามระเบียบและปล่อยปละละเลยให้เกิดการยักยอกเงิน
โจทก์บรรยายฟ้องว่า การที่ จ. ยักยอกเงินไปได้เป็นเพราะจำเลยที่ 1 ซึ่งมีหน้าที่วางระเบียบการเก็บรักษาเงินและเบิกจ่ายเงินเพื่อป้องกันมิให้ผู้ใดฉวยโอกาสเอาเงินไปใช้ส่วนตัว ได้ละเลยไม่วางข้อกำหนดการเบิกจ่ายเงินจากธนาคารอย่างเช่นผู้อื่นพึงปฏิบัติคือยินยอมให้ จ. เบิกเงินของทางราชการไปได้ ดังนี้คำฟ้องโจทก์แสดงโดยแจ้งชัดแล้วว่าความประมาทเลินเล่อของจำเลย ที่ 1 คือ การไม่วางข้อกำหนดหรือระเบียบการเบิกจ่ายเงินจากธนาคารตามหน้าที่ของจำเลยที่ 1 เป็นเหตุให้ จ. เบิกเงินของทางราชการไปเป็นประโยชน์ส่วนตัวได้ ทั้งจำเลยที่ 1 ได้ให้การต่อสู้คดีว่า จำเลยที่ 1ไม่ต้องรับผิดเพราะไม่มีอำนาจหน้าที่กำหนดระเบียบการเก็บรักษาเงินและการเบิกจ่ายเงิน การที่ จ. ยักยอกเงินไปได้มิใช่เพราะข้อกำหนดหรือระเบียบบกพร่องและมิใช่เพราะจำเลย ที่ 1 ยินยอมให้จ. เบิกเงินจากธนาคารได้แต่อย่างใดแต่เป็นเพราะเหตุอื่นซึ่งแสดงว่าจำเลยที่ 1 ก็เข้าใจข้ออ้างที่โจทก์อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาดีจึงให้การกล่าวแก้เช่นนั้น ส่วนข้อกำหนดการเบิกจ่ายเงินจะต้องวางอย่างไรและการที่จำเลยที่ 1 มิได้วางข้อกำหนดดังกล่าวเป็นเหตุให้จ. ยักยอกเงินไปได้อย่างไรเป็นรายละเอียดที่โจทก์นำสืบได้ในชั้นพิจารณา ฟ้องโจทก์เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 ไม่เคลือบคลุม จำเลยที่ 2 ที่ 3 ได้รับแต่งตั้งให้เป็นกรรมการรับเงินจะต้องปฏิบัติตามระเบียบร่วมกับ จ. ให้เสร็จสิ้นทุกขั้นตอน จนถึงการโอนเงินเข้าบัญชีที่ธนาคารและจัดเก็บเอกสารให้ถูกต้องตามระเบียบการที่จำเลยที่ 2 มิได้ร่วมปฏิบัติหน้าที่ในบางขั้นตอนและจำเลย ที่ 3มิได้จัดการเกี่ยวกับเอกสารการโอนเงินให้เป็นไปตามระเบียบโดยมิได้นำเข้าเก็บรักษาในตู้นิรภัย แต่ยอมให้ จ. เก็บไว้เอง เป็นเหตุให้ จ. ยักยอกเงินของโจทก์ทั้งสี่ไปได้ถือว่าจำเลยที่ 2 ที่ 3ประมาทเลินเล่อในการปฏิบัติหน้าที่ แม้ รากฏว่ามีการปล่อยปละละเลยให้จ. ปฏิบัติหน้าที่เพียงคนเดียวมานานก็ไม่เป็นเหตุผลที่จำเลยที่ 2ที่ 3 จะอ้าง เพื่อให้พ้นผิด จำเลยที่ 1 ไม่มีหน้าที่ต้องวางข้อกำหนดเกี่ยวกับการเบิกจ่ายเงินจากธนาคาร โดยให้มีบุคคลสองหรือสามคนลงชื่อร่วมกัน ทั้งไม่ปรากฏว่าการเบิกจ่ายเงินจากธนาคารของสำนักงานศึกษาธิการอำเภอก่อนหน้าจำเลยที่ 1 ย้ายมาดำรงตำแหน่งศึกษาธิการอำเภอ มี วิธีการแตกต่างไปจากเมื่อจำเลยที่ 1 ย้ายมาดำรงตำแหน่งแล้ว การที่จำเลยที่ 1 มิได้วางข้อกำหนดดังกล่าว ยังไม่เพียงพอให้รับฟังว่าจำเลยที่ 1ประมาทเลินเล่อ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5817/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตความรับผิดของผู้ค้ำประกันจำกัดตามสัญญา แม้มีการยักยอกเงิน และอายุความฟ้องคดี
พระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2511 มาตรา 9 บัญญัติว่า"ถ้าสหกรณ์เกี่ยวข้องในกิจการใดที่กฎหมายกำหนดให้จดทะเบียนสำหรับการได้มา การจำหน่าย การยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ หรือการยึดหน่วงซึ่งกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์หรือทรัพย์สิทธิอันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ การจดทะเบียนเช่นว่านั้นให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียม" สัญญาค้ำประกันมิได้มีกฎหมายกำหนดให้จดทะเบียนจึงเป็นนิติกรรมธรรมดา แม้สหกรณ์โจทก์จะเป็นคู่สัญญาก็ไม่ได้รับการยกเว้นที่จะไม่ต้องเสียค่าอากรแสตมป์หรือค่าธรรมเนียมแต่อย่างใด
แม้สัญญาค้ำประกันจะมิได้ปิดอากรแสตมป์บริบูรณ์ แต่ผู้ค้ำประกันยอมรับว่าได้ทำสัญญาค้ำประกันดังกล่าวจริง จึงต้องร่วมรับผิดในฐานะผู้ค้ำประกันตามจำนวนที่ระบุไว้ในสัญญาค้ำประกันโดยไม่จำเป็นต้องใช้สัญญาค้ำประกันเป็นพยานหลักฐาน ส่วนการที่จะให้ผู้ค้ำประกันต้องร่วมรับผิดในฐานะผู้ค้ำประกันเกินกว่าจำนวนเงินที่ระบุในสัญญาค้ำประกันนั้น ย่อมต้องอาศัยหนังสือสัญญาค้ำประกันมาเป็นพยานหลักฐานอันเป็นการต้องห้ามตามประมวลรัษฎากรมาตรา 118 ผู้ค้ำประกันจึงไม่ต้องร่วมรับผิดเต็มตามจำนวนที่ฟ้อง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ทุจริตต่อหน้าที่ ปลอมแปลงลายมือชื่อสมาชิกโจทก์ แล้วทำเรื่องราวขอกู้เงินฉุกเฉินจากโจทก์ในนามของสมาชิกดังกล่าวรวมหลายคราวเป็นเงิน 728,070 บาทซึ่งโจทก์หลงเชื่อว่าเป็นลายมือชื่อของสมาชิกจริงจึงอนุมัติจ่ายให้ไป คำฟ้องของโจทก์ชัดแจ้งพอเพียงแล้ว จำเลยที่ 1 จะปลอมแปลงลายมือชื่อสมาชิกโจทก์ด้วยวิธีใด หลักฐานการปลอมแปลงมีหรือไม่และมีการตรวจสอบไปแล้วเพียงใดเป็นเรื่องรายละเอียด ไม่จำต้องบรรยายมา ฟ้องของโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
โจทก์ฟ้องเรียกเงินของโจทก์ที่จำเลยที่ 1 ยักยอกคืน และฟ้องให้จำเลยที่ 2 รับผิดตามสัญญาค้ำประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 ซึ่งกฎหมายมิได้บัญญัติอายุความไว้เป็นอย่างอื่น จึงมีอายุความ 10 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164.
แม้สัญญาค้ำประกันจะมิได้ปิดอากรแสตมป์บริบูรณ์ แต่ผู้ค้ำประกันยอมรับว่าได้ทำสัญญาค้ำประกันดังกล่าวจริง จึงต้องร่วมรับผิดในฐานะผู้ค้ำประกันตามจำนวนที่ระบุไว้ในสัญญาค้ำประกันโดยไม่จำเป็นต้องใช้สัญญาค้ำประกันเป็นพยานหลักฐาน ส่วนการที่จะให้ผู้ค้ำประกันต้องร่วมรับผิดในฐานะผู้ค้ำประกันเกินกว่าจำนวนเงินที่ระบุในสัญญาค้ำประกันนั้น ย่อมต้องอาศัยหนังสือสัญญาค้ำประกันมาเป็นพยานหลักฐานอันเป็นการต้องห้ามตามประมวลรัษฎากรมาตรา 118 ผู้ค้ำประกันจึงไม่ต้องร่วมรับผิดเต็มตามจำนวนที่ฟ้อง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ทุจริตต่อหน้าที่ ปลอมแปลงลายมือชื่อสมาชิกโจทก์ แล้วทำเรื่องราวขอกู้เงินฉุกเฉินจากโจทก์ในนามของสมาชิกดังกล่าวรวมหลายคราวเป็นเงิน 728,070 บาทซึ่งโจทก์หลงเชื่อว่าเป็นลายมือชื่อของสมาชิกจริงจึงอนุมัติจ่ายให้ไป คำฟ้องของโจทก์ชัดแจ้งพอเพียงแล้ว จำเลยที่ 1 จะปลอมแปลงลายมือชื่อสมาชิกโจทก์ด้วยวิธีใด หลักฐานการปลอมแปลงมีหรือไม่และมีการตรวจสอบไปแล้วเพียงใดเป็นเรื่องรายละเอียด ไม่จำต้องบรรยายมา ฟ้องของโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
โจทก์ฟ้องเรียกเงินของโจทก์ที่จำเลยที่ 1 ยักยอกคืน และฟ้องให้จำเลยที่ 2 รับผิดตามสัญญาค้ำประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 ซึ่งกฎหมายมิได้บัญญัติอายุความไว้เป็นอย่างอื่น จึงมีอายุความ 10 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5036-5038/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมเดียวกัน: ยักยอกเงินกับปลอมเอกสาร ทำให้สิทธิฟ้องความผิดฐานปลอมเอกสารระงับเมื่อถูกตัดสินคดีฐานยักยอกแล้ว
จำเลยเป็นผู้ช่วยสมุห์บัญชีธนาคาร ทำปลอมสมุดเงินฝากของผู้เสียหายทั้งสาม จากนั้นนำไปอ้างต่อผู้เสียหายเพื่อให้ผู้เสียหายเข้าใจว่าจำเลยนำเงินของผู้เสียหายฝากธนาคารเรียบร้อยแล้วการปลอมเอกสารและใช้เอกสารปลอมแม้จะเกิดขึ้นต่างวาระกันกับความผิดฐานยักยอกก็ตามแต่จำเลยมีเจตนาที่จะใช้เอกสารปลอมดังกล่าวเป็นหลักฐานเพื่อยักยอกเงินของผู้เสียหาย การกระทำของจำเลยจึงเป็นกรรมเดียวกัน เมื่อจำเลยถูกศาลพิพากษาลงโทษในความผิดฐานยักยอกคดีถึงที่สุดแล้ว สิทธิของโจทก์ที่จะฟ้องจำเลยในความผิดฐานปลอมเอกสารและใช้เอกสารปลอม ก็ย่อมระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(4)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2620/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สามีร่วมรู้เห็นการยักยอกเงินซื้อทรัพย์สิน จึงไม่มีสิทธิขอรับส่วนแบ่งจากการยึดทรัพย์
ผู้ร้องซึ่งเป็นสามีของจำเลยได้ร่วมรู้เห็นในการที่จำเลยยักยอกเงินของโจทก์แล้วนำไปซื้อที่ดิน (พร้อมสิ่งปลูกสร้าง) และเครื่องอิเล็กโทนที่โจทก์นำยึดไว้มาโดยตลอด จึงไม่อาจอ้างได้ว่าทรัพย์ดังกล่าวเป็นทรัพย์สินอันชอบด้วยกฎหมายของผู้ร้องตามส่วนที่พึงได้รับตามกฎหมาย และได้รับความคุ้มครองในฐานะเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วม เมื่อโจทก์นำยึดทรัพย์ดังกล่าว แล้วผู้ร้องมาขอกันส่วนเงินอันได้จากการขายทอดตลาดทรัพย์นั้น จึงเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต ผู้ร้องไม่มีสิทธิขอกันส่วน