คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ยินยอมโดยปริยาย

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 26 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1051-1055/2500

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยินยอมโดยปริยายของบริษัทต่อการกระทำของตัวแทน แม้ขัดต่อข้อบังคับบริษัท และการแก้ไขฟ้อง
แม้จำเลยจะได้รับสำเนาคำร้องของโจทก์ที่ขอแก้ไขและเพิ่มเติมฟ้องยังไม่ถึง 3 วันก่อนศาลชั้นต้นทำคำสั่งอนุญาตก็ดีแต่เมื่อปรากฏว่าจำเลยแถลงไม่คัดค้านที่โจทก์ขอแก้ทั้งได้ทำคำให้การแก้ฟ้องเพิ่มเติมแล้วจำเลยจะมาคัดค้านในชั้นฎีกาไม่ได้
พฤติการณ์ที่บริษัทจำกัดจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2ปฏิบัติมา เห็นได้ว่าบริษัทจำเลยที่ 1 รู้แล้วยอมให้จำเลยที่ 2 เชิดตัวเองแสดงกับบุคคลภายนอกว่าเป็นตัวแทนของตนแม้ข้อบังคับของบริษัทมีว่าต้องมีกรรมการ 2 นายลงชื่อในนิติกรรม จึงจะผูกพันจำเลยที่ 1 ได้บริษัทจำเลยที่ 1 ก็ไม่พ้นความรับผิดต่อโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกผู้ทำการโดยสุจริต

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 303/2499

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยินยอมโดยปริยายและการสละสิทธิเรียกร้องของผู้เยาว์ในกรรมสิทธิ์รวม
ระหว่างเป็นผู้เยาว์โจทก์มีกรรมสิทธิ์ร่วมในห้องพิพาทร่วมกับจำเลยที่ 2 เมื่อจำเลยที่ 2 ได้ขายห้องพิพาทนี้โดยจำเลยที่ 2 มิได้แสดงกรรมสิทธิรวมแต่ประการใดโจทก์ก็ได้ลงนามรับรองในหนังสือซื้อขายนั้นด้วย ต่อมาจำเลยที่ 1 ได้ฟ้องขับไล่บุคคลภายนอกออกจากห้องพิพาทจนได้คืนห้องพิพาทมาโจทก์มิได้คัดค้าน แสดงว่าโจทก์ได้จงใจและละเลยให้จำเลยที่ 1 แสดงตนเป็นเจ้าของห้องพิพาทมาตั้งแต่ต้น กระทำให้จำเลยที่ 1 หลงผิดว่าห้องพิพาทเป็นของจำเลยที่ 2 ดังนั้น โจทก์จะอ้างสิทธิแห่งความเป็นผู้เยาว์ทำเพิกถอนการซื้อขายห้องพิพาทระหว่างจำเลยทั้งสอง และขอให้ศาลสั่งว่าโจทก์มีกรรมสิทธิคนละครึ่งกับจำเลยที่ 2 ย่อมไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 728/2496

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การดัดแปลงอาคารเช่าโดยปริยาย: ผู้ให้เช่ายินยอมโดยการไม่โต้แย้ง
ผู้เช่าอาคารได้ทำการดัดแปลงเพิ่มเติมอาคารหลายอย่างบางอย่างก็ได้รับความยินยอมเห็นชอบโดยตรงจากผู้ให้เช่าบางอย่างผู้เช่าก็กระทำไปโดยลำพังแต่ปรากฏว่าผู้เช่ากับผู้ให้เช่าได้ติดต่อกันอยู่เสมอ และผู้ให้เช่าได้มายังอาคารที่เช่าเนืองๆ การที่ผู้เช่าซ่อมแซมดัดแปลงผู้ให้เช่าย่อมทราบดี มิได้ทักท้วงอย่างใด ต่อเมื่อเกิดผิดใจกันขึ้น จึงได้ถือเป็นเหตุมาฟ้องขับไล่นั้นย่อมไม่มีสิทธิที่จะกระทำได้ เพราะมีเหตุพอถือได้ว่าผู้ให้เช่าได้อนุญาตโดยปริยาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 581/2480

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยินยอมโดยปริยายและการโอนสิทธิในที่ดินโดยสุจริต ผู้ให้ยินยอมไม่อาจฟ้องขอเพิกถอนได้
สามีปล่อยให้ภรรยาเอาชื่อผู้อื่นใส่ในโฉนด แล้วภายหลังโอนที่ให้บุคคลภายนอกในนามของผู้มีชื่อในโฉนดนั้น บุคคลตายนอกรับโอนไว้โดยสุจริตดังนี้ สามีจะฟ้องขอให้ทำลายนิติกรรมการโอนไม่ได้ ที่ดิน ชื่อในโฉนด กรรมสิทธิ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8799-8801/2559

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดการทรัพย์สินร่วม (สินสมรส) การยินยอมโดยปริยาย และสิทธิในการฟ้องเพิกถอนนิติกรรม
โจทก์เป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของ บ. คู่สมรสของจำเลยที่ 1 ย่อมมีฐานะเป็นทายาทโดยธรรม ทั้งยังเป็นผู้จัดการมรดกของ บ. ตามคำสั่งศาล การที่จำเลยที่ 1 จดทะเบียนสมรสกับจำเลยที่ 5 มีผลกระทบต่อสิทธิในครอบครัวและสิทธิในการรับมรดกของโจทก์หรือทายาทโดยธรรมอื่นของ บ. โจทก์จึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียที่จะกล่าวอ้างหรือร้องขอให้ศาลพิพากษาว่าการสมรสระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 5 เป็นโมฆะ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1497 และมีอำนาจฟ้องขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมซึ่งเป็นการจัดการสินสมรสที่จำเลยที่ 1 ทำไปโดยปราศจากความยินยอมของ บ. มารดาโจทก์ได้
จำเลยที่ 1 จดทะเบียนสมรสกับจำเลยที่ 5 ในขณะที่จำเลยที่ 1 มี บ. เป็นคู่สมรสแล้ว การสมรสระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 5 จึงเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 1497 ประกอบมาตรา 1452 ซึ่งศาลมีอำนาจพิพากษาได้ แม้ศาลชั้นต้นจะไม่ได้กล่าวไว้ในประเด็นว่า การสมรสดังกล่าวเป็นโมฆะหรือไม่ก็ตาม เพราะเมื่อศาลเห็นว่าจำเลยที่ 1 กับ บ. จดทะเบียนสมรสกันโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว ย่อมวินิจฉัยต่อไปได้ว่าการจดทะเบียนสมรสระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 5 ในภายหลังเป็นโมฆะ ที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยว่าการสมรสระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 5 เป็นโมฆะนั้น จึงเป็นการวินิจฉัยที่เกี่ยวเนื่องกับประเด็นข้อพิพาท ไม่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น
การที่ บ. ยินยอมให้ใส่ชื่อจำเลยที่ 1 เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่ดินอันเป็นสินสมรสทุกแปลงย่อมแสดงให้เห็นว่า บ. มอบให้จำเลยที่ 1 มีอำนาจในการจัดการสินสมรสโดยเฉพาะที่ดินได้โดยลำพัง ไม่จำต้องได้รับความยินยอมเป็นหนังสือจาก บ. อีก ดังจะเห็นได้จากจำเลยที่ 1 เคยยกที่ดินให้แก่บุตรที่เกิดจาก บ. และ ส. และเคยซื้อบ้านและที่ดินให้แก่โจทก์ก็ไม่ปรากฏว่า บ. โต้แย้งคัดค้านการจัดการสินสมรสของจำเลยที่ 1 เช่นเดียวกับที่ดินพิพาททั้งสามแปลง จำเลยที่ 1 โอนให้แก่จำเลยที่ 2 และที่ 5 ไปโดยลำพังในระหว่างที่ บ. ยังมีชีวิตอยู่ น่าเชื่อว่า บ. ยินยอมในการจัดการสินสมรสของจำเลยที่ 1 แล้วจึงไม่ได้โต้แย้งคัดค้านจนกระทั่งถึงแก่ความตายไปนานกว่า 13 ปี สำหรับการโอนที่ดินพิพาทโฉนดเลขที่ 12348 และนานกว่า 4 ปี สำหรับการโอนที่ดินพิพาทโฉนดเลขที่ 27458 และ 6999 พฤติการณ์ดังกล่าวของ บ. จึงเป็นการให้ความยินยอมในจัดการสินสมรสที่ดินพิพาทของจำเลยที่ 1 ไว้ล่วงหน้าโดยปริยายแล้ว ข้อเท็จจริงจึงไม่อาจรับฟังได้ว่า จำเลยที่ 1 โอนที่ดินพิพาททั้งสามแปลงซึ่งเป็นสินสมรสให้แก่จำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 5 โดยปราศจากความยินยอมของ บ. โจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินพิพาททั้งสามแปลง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 186/2565

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนทรัพย์สินให้คู่สมรสเป็นสินส่วนตัว และการยินยอมโดยปริยายต่อการนำเงินจากการขายทรัพย์สินไปใช้เลี้ยงดูบุตร
โจทก์ยกที่ดินพิพาททั้ง 5 แปลง ให้แก่จําเลย มิใช่ให้จําเลยถือครองที่ดินแทนโจทก์ และตามสำเนาโฉนดที่ดินระบุว่า โจทก์ได้รับที่ดินโฉนดเลขที่ 30376 ดังกล่าวมาโดยการรับโอนมรดก ที่ดินจึงเป็นสินส่วนตัวของโจทก์ เมื่อโจทก์จดทะเบียนให้ที่ดินแก่จําเลยโดยไม่ได้ระบุว่า ให้เป็นสินสมรส ที่ดินจึงเป็นสินส่วนตัวของจําเลย ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1471 (3) และ 1474 (2) จําเลยย่อมเป็นผู้มีอำนาจจัดการที่ดินดังกล่าวได้เอง ตามมาตรา 1473 ดังนั้น การที่จําเลยจดทะเบียนขายที่ดินดังกล่าวให้แก่บริษัท ผ. ไปในวันที่ 8 พฤศจิกายน 2559 นิติกรรมการขายที่ดินดังกล่าวจึงเป็นอันเสร็จสิ้นสมบูรณ์แล้ว โดยไม่จําต้องพิจารณาว่า โจทก์ได้ให้ความยินยอมในการขายที่ดินของจําเลยหรือไม่ ดังนั้น แม้โจทก์ได้จดทะเบียนให้ที่ดินดังกล่าวแก่จําเลยในระหว่างสมรส อันเป็นสัญญาที่เกี่ยวกับทรัพย์สินที่ได้ทำไว้ต่อกันในระหว่างเป็นสามีภริยากัน ซึ่งฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดจะบอกล้างเสียในระหว่างที่เป็นสามีภริยากันอยู่ก็ได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1469 ก็ตาม แต่เมื่อจําเลยได้ขายที่ดินไปเสร็จสิ้นสมบูรณ์แล้วก่อนวันที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ ประกอบกับหลังจากปี 2559 โจทก็ไม่ได้ส่งค่าเลี้ยงดูบุตรให้แก่จําเลย เนื่องจากจําเลยผิดข้อตกลงเรื่องหย่า และโจทก์คิดว่าจําเลยมีเงินส่งเสียบุตร เพราะจําเลยขายที่ดินที่โจทก์ยกให้ไปแล้ว ถือได้ว่าโจทก์ได้ตกลงยินยอมโดยปริยายให้นําเงินที่ได้จากการขายที่ดินเป็นค่าใช้จ่ายในการอุปการะเลี้ยงดูจําเลยและบุตรของโจทก์ เฉพาะอย่างยิ่งบุตรโจทก์กําลังศึกษาอยู่ที่คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา จึงไม่เป็นกรณีที่โจทก์จะฟ้องขอให้จําเลยคืนเงินที่ได้รับจากการขายที่ดินดังกล่าวแก่โจทก์อีก
of 3