พบผลลัพธ์ทั้งหมด 24 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 294/2483
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยืมเงิน vs. ยักยอกทรัพย์: กรรมสิทธิในทรัพย์สินที่ยืมย่อมโอนไปยังผู้ยืม
ข้าราชการเซ็นยืมเงินสดของค่าพาหนะไปจากพัศดีเรือนจำแล้วไม่ส่งคืนเงินที่เหลือจ่ายดังนี้ไม่เป็นผิดฐานยักยอกทรัพย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 139/2472
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยืมเงินและโฉนดที่ดิน: เจตนาทุจริตในการครอบครอง
วิธีพิจารณาอาญา เจตนา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6414/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยืมเงินเพื่อปฏิบัติหน้าที่ราชการ มิใช่การยืมตาม ป.พ.พ. และไม่อาจใช้บทบัญญัติใกล้เคียง
จำเลยเป็นข้าราชการในสังกัดของโจทก์ และได้รับมอบหมายจากโจทก์ให้เป็นผู้ดำเนินการอบรมลูกจ้างประจำโรงเรียนปฏิรูปการศึกษา เงินที่จำเลยขอยืมจากโจทก์ก็เพื่อนำไปใช้ในการอบรมลูกจ้างประจำโรงเรียนปฏิรูปการศึกษาดังกล่าวเป็นเรื่องของการปฏิบัติหน้าที่ราชการตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชา การทำสัญญาการยืมเงินเป็นเพียงขั้นตอนหนึ่งในการปฏิบัติหน้าที่ราชการของจำเลย จึงมิใช่เป็นการยืมตามลักษณะ 9 แห่ง ป.พ.พ. และกรณีนี้ก็ไม่อาจนำบทบัญญัติในลักษณะ 9 มาใช้บังคับในฐานะบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งได้ ส่วนจำเลยจะต้องรับผิดตาม พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ฯ หรือไม่นั้น เมื่อโจทก์ไม่ได้ฟ้องร้องให้จำเลยรับผิดตามกฎหมายในส่วนนี้ จึงไม่เป็นประเด็นที่จะต้องวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6414/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยืมเงินเพื่อปฏิบัติหน้าที่ราชการ ไม่เข้าข่ายการยืมตาม ป.พ.พ. และไม่อาจใช้บทบัญญัติใกล้เคียง
จำเลยเป็นข้าราชการในสังกัดของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติโจทก์ และได้รับมอบหมายจากโจทก์ให้เป็นผู้ดำเนินการอบรมลูกจ้างประจำโรงเรียนปฏิรูปการศึกษา การที่จำเลยขอยืมจากโจทก์เพื่อนำไปใช้ในการอบรมลูกจ้างประจำโรงเรียนปฏิรูปการศึกษาดังกล่าว เป็นเรื่องของการปฏิบัติหน้าที่ราชการ การทำสัญญาการยืมเงินเป็นเพียงขั้นตอนหนึ่งในการปฏิบัติหน้าที่ราชการของจำเลย จึงมิใช่เป็นการยืมตามลักษณะ 9 แห่ง ป.พ.พ. และไม่อาจนำบทบัญญัติในลักษณะ 9 มาใช้บังคับในฐานะบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งได้