พบผลลัพธ์ทั้งหมด 45 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 550/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจเจ้าพนักงานประเมินในการกำหนดรายรับย้อนหลังเพื่อประเมินภาษีการค้าที่ถูกต้องตามกฎหมาย
โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการการค้าไว้ไม่ถูกต้องเจ้าพนักงานประเมินของจำเลยจึงไปควบคุมรายรับของโจทก์เพื่อนำมาเป็นข้อมูลในการกำหนดรายรับให้ถูกต้องตามความเป็นจริงซึ่งเป็นการกระทำโดยอาศัยอำนาจตามประมวลรัษฎากร มาตรา 87 วิ (7)และการกำหนดรายรับของผู้ประกอบการค้าด้วยวิธีดังกล่าวกฎหมายมิได้จำกัดว่าให้ทำได้เฉพาะรายรับของปีปัจจุบันเท่านั้น หากเจ้าพนักงานประเมินเห็นว่าปีใดผู้ประกอบการค้ายื่นแบบแสดงรายการการค้าไว้ไม่ถูกต้อง หรือมีข้อผิดพลาดทำให้จำนวนภาษีที่ต้องเสียคลาดเคลื่อนไปเจ้าพนักงานประเมินก็ย่อมมีอำนาจกำหนดรายรับของผู้ประกอบการค้าสำหรับในปีนั้นได้เพื่อจะนำมาประเมินภาษีตามมาตรา 87 และการประเมินดังกล่าวมาตรา 88 ทวิ (1)บัญญัติให้กระทำได้ภายในกำหนดเวลา 5 ปี นับแต่วันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการการค้า หรือวันที่ยื่นแบบแสดงรายการการค้าแล้วแต่วันใดจะเป็นวันหลังถ้ามีการยื่นแบบแสดงรายการการค้า ดังนั้น การที่เจ้าพนักงานประเมินกำหนดรายรับของโจทก์ด้วยวิธีควบคุมรายรับดังกล่าวแล้วประเมินภาษีย้อนหลังไปภายใน 5 ปี(นับแต่ปีที่ควบคุมรายรับ)จึงชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 919/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กฎหมายยกเว้นโทษอาวุธปืนใหม่มีผลย้อนหลังคุ้มครองผู้กระทำผิดก่อนกฎหมายมีผลบังคับใช้
แม้การกระทำของจำเลยจะเป็นความผิดและเจ้าพนักงานตรวจยึดอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืน กับอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนสำหรับใช้เฉพาะแต่ในการสงครามของกลางซึ่งเป็นของจำเลยกับพวกได้ก่อนพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ(ฉบับที่ 6)พ.ศ.2518 มีผลใช้บังคับ แต่ในระหว่างที่ยังไม่ได้ตัวจำเลยมาฟ้องได้มีพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯฉบับดังกล่าวออกใช้บังคับ ผู้ที่ปฏิบัติตามมาตรา 3 และมาตรา 5 แล้วไม่ต้องรับโทษพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ ฉบับดังกล่าวจึงเป็นกฎหมายที่ออกมาใหม่ได้ยกเว้นโทษอันเป็นคุณแก่ผู้กระทำผิด กรณีจึงต้องด้วยประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3 วรรคแรก จำเลย ไม่ต้องรับโทษ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2513/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรมธรรม์ประกันภัยหมดอายุแล้วทำสัญญาใหม่ย้อนหลัง สัญญาใหม่ไม่ครอบคลุมเหตุการณ์ก่อนวันที่เริ่มมีผล
กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์สิ้นอายุเมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม วันที่ 24 กรกฎาคม เกิดอุบัติเหตุ ต่อมาผู้รับประกันภัยออกกรมธรรม์ประกันใหม่ย้อนหลังไปถึงวันที่ 22 กรกฎาคมผู้รับประกันภัยไม่ต้องรับผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 600/2515
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาโทษจำคุกตลอดชีวิตและการบวกโทษที่รอลงอาญา โดยบทบัญญัติกฎหมายที่แก้ไขเพิ่มเติมย่อมไม่มีผลย้อนหลัง
ฟ้องโจทก์ขอให้บวกโทษที่รอไว้เข้ากับโทษในคดีนี้เมื่อศาลพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยตลอดชีวิตแล้ว แม้ว่าในระหว่างพิจารณาของศาลฎีกาได้มีประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 11 ออกใช้บังคับซึ่งข้อ 1 ของประกาศดังกล่าวได้ยกเลิกความในมาตรา 51 ของประมวลกฎหมายอาญาให้ใช้ความใหม่แทน ซึ่งข้อความที่บัญญัติใหม่มีผลให้เพิ่มโทษหรือบวกโทษแก่จำเลยได้ก็ตาม แต่บทบัญญัติที่ประกาศใช้ในภายหลังนี้หาเป็นคุณแก่จำเลยไม่ จึงไม่อาจนำมาใช้บังคับได้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 153/2505
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับใช้กฎหมายย้อนหลังกับบุคคลที่เข้ามาในประเทศก่อนมีกฎหมาย
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยเป็นคนต่างด้าวเข้ามาในราชอาณาจักรไทยเมื่อ พ.ศ.2463 โดยมิได้รับอนุญาต ขอให้ลงโทษตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ.2493 ปรากฏว่า พระราชบัญญัติคนเข้าเมืองได้ประกาศใช้ในประเทศไทยเป็นครั้งแรก ในพ.ศ.2470 จำเลยเข้ามาในราชอาณาจักรไทยเมื่อ พ.ศ.2463 ซึ่งยังไม่มีการประกาศใช้ พ.ร.บ.คนเข้าเมืองในขณะนั้นจำเลยจึงไม่มีหน้าที่ต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานการเข้ามาในราชอาณาจักรไทยของจำเลยใน พ.ศ.2463 จึงเป็นการเข้าได้โดยเสรี จำเลยย่อมไม่มีความผิดตามฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1938/2500
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ไม้หวงห้ามและการตีความกฎหมาย: การออกกฎหมายย้อนหลัง และความรับผิดชอบของผู้แปรรูปไม้
ไม้ไข่เขียวเป็นไม้หวงห้าม ซึ่งตามหลักวิชาแล้วฟังว่าอยู่ในจำพวก "ไม้ตะเคียนชนิดอื่นๆ" แต่กรมป่าไม้เพิ่งชี้ขาดและทางราชการเพิ่งประกาศเมื่อ 8 มิ.ย. 2498 หลังจากที่จำเลยไปตัดไม้นี้มาไว้แล้วถือว่าจำเลยยังไม่ควรมีผิด
ตามพระราชกฤษฎีกาไม้หวงห้าม "ไม้ตะเคียนสามพอน" ถือว่าเป็นไม้ตะเคียนอยู่ในพวก "ไม้ตะเคียนชนิดอื่นๆ" นี้ครอบคลุมถึงไม้ตะเคียนทุกชนิด และคำนี้ก็แสดงว่าเป็นไม้ตะเคียนอยู่ในตัวแล้ว
จำเลยมิได้เป็นเจ้าของโรงงานไม้แปรรูป ขนไม้ที่ยังมิได้เสียค่าภาคหลวงเข้าไปในโรงงานไม้แปรรูปเพื่อทำการแปรรูปจำเลยยังไม่ผิดตาม พระราชบัญญัติป่าไม้ 2494 มาตรา 16 เพราะไม่ใช่เจ้าของโรงงานไม้แปรรูป จึงไม่ใช่ผู้รับอนุญาตทำการแปรรูปไม้ฯ
ตามพระราชกฤษฎีกาไม้หวงห้าม "ไม้ตะเคียนสามพอน" ถือว่าเป็นไม้ตะเคียนอยู่ในพวก "ไม้ตะเคียนชนิดอื่นๆ" นี้ครอบคลุมถึงไม้ตะเคียนทุกชนิด และคำนี้ก็แสดงว่าเป็นไม้ตะเคียนอยู่ในตัวแล้ว
จำเลยมิได้เป็นเจ้าของโรงงานไม้แปรรูป ขนไม้ที่ยังมิได้เสียค่าภาคหลวงเข้าไปในโรงงานไม้แปรรูปเพื่อทำการแปรรูปจำเลยยังไม่ผิดตาม พระราชบัญญัติป่าไม้ 2494 มาตรา 16 เพราะไม่ใช่เจ้าของโรงงานไม้แปรรูป จึงไม่ใช่ผู้รับอนุญาตทำการแปรรูปไม้ฯ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 410/2498
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำกฎหมายใหม่มาใช้ย้อนหลังกับฟ้องที่ไม่ถูกต้อง และอำนาจศาลในการพิจารณาคดีอาญา
โจทก์ฟ้องจำเลยว่าทำร้ายเจ้าพนักงานและฆ่าคนตายโดยเจตนาฟ้องก่อน พระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร(ฉบับที่ 5) พ.ศ.2496 ออกใช้บังคับ
ศาลมณฑลทหารบกที่ 7 ยกฟ้องโดยเห็นว่าข้อเท็จจริงตามทางพิจารณาต่างกับฟ้อง(ฟ้องว่าเหตุเกิดเวลากลางวัน ทางพิจารณาได้ความว่าเวลากลางคืน) ศาลทหารกลางเห็นว่าข้อต่อสู้และการนำสืบของจำเลยแสดงได้ชัดว่าจำเลยมิได้หลงข้อต่อสู้ซึ่งตาม พระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร(ฉบับที่ 5) พ.ศ.2496 มาตรา 100 มิให้ถือว่าต่างกันในข้อสาระสำคัญอันจะเป็นเหตุให้ศาลยกฟ้อง พิพากษายกคำพิพากษาศาลทหารบกที่ 7 ให้พิจารณาพิพากษาใหม่
ดังนี้แม้จำเลยจะมิได้ฎีกาคัดค้านคำพิพากษาของศาลทหารกลางแต่อย่างใดในชั้นนั้นเมื่อศาลมณฑลทหารบกที่ 7 พิจารณาใหม่แล้วพิพากษาลงโทษจำเลยและศาลทหารกลางพิพากษายืนดังนี้ จำเลยจะคัดค้านขึ้นมาในชั้นฎีกาว่าข้อเท็จจริงตามทางพิจารณาต่างกับฟ้องก็ได้เพราะปัญหาข้อนี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยและเมื่อศาลทหารกลางพิพากษาให้ยกคำพิพากษาของศาลมณฑลทหารบกที่ 7 ให้พิจารณาพิพากษาใหม่นั้น คดีก็ยังไม่ถึงที่สุดคู่ความหรือศาลย่อมยกขึ้นกล่าวอ้างได้
พระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร(ฉบับที่ 5)พ.ศ.2496 มาตรา 100นี้ ใช้บังคับแก่ฟ้องที่ไม่ถูกต้องซึ่งเกิดขึ้นภายหลังวันใช้บังคับเท่านั้นจะนำเอากฎหมายที่ออกใช้ภายหลังมาลงโทษจำเลยไม่ได้และกฎหมายใหม่ในกรณีเช่นนี้หาอาจไปแก้ไขฟ้องที่ไม่ถูกต้องให้เป็นการถูกต้องขึ้นได้ไม่
ศาลมณฑลทหารบกที่ 7 ยกฟ้องโดยเห็นว่าข้อเท็จจริงตามทางพิจารณาต่างกับฟ้อง(ฟ้องว่าเหตุเกิดเวลากลางวัน ทางพิจารณาได้ความว่าเวลากลางคืน) ศาลทหารกลางเห็นว่าข้อต่อสู้และการนำสืบของจำเลยแสดงได้ชัดว่าจำเลยมิได้หลงข้อต่อสู้ซึ่งตาม พระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร(ฉบับที่ 5) พ.ศ.2496 มาตรา 100 มิให้ถือว่าต่างกันในข้อสาระสำคัญอันจะเป็นเหตุให้ศาลยกฟ้อง พิพากษายกคำพิพากษาศาลทหารบกที่ 7 ให้พิจารณาพิพากษาใหม่
ดังนี้แม้จำเลยจะมิได้ฎีกาคัดค้านคำพิพากษาของศาลทหารกลางแต่อย่างใดในชั้นนั้นเมื่อศาลมณฑลทหารบกที่ 7 พิจารณาใหม่แล้วพิพากษาลงโทษจำเลยและศาลทหารกลางพิพากษายืนดังนี้ จำเลยจะคัดค้านขึ้นมาในชั้นฎีกาว่าข้อเท็จจริงตามทางพิจารณาต่างกับฟ้องก็ได้เพราะปัญหาข้อนี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยและเมื่อศาลทหารกลางพิพากษาให้ยกคำพิพากษาของศาลมณฑลทหารบกที่ 7 ให้พิจารณาพิพากษาใหม่นั้น คดีก็ยังไม่ถึงที่สุดคู่ความหรือศาลย่อมยกขึ้นกล่าวอ้างได้
พระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร(ฉบับที่ 5)พ.ศ.2496 มาตรา 100นี้ ใช้บังคับแก่ฟ้องที่ไม่ถูกต้องซึ่งเกิดขึ้นภายหลังวันใช้บังคับเท่านั้นจะนำเอากฎหมายที่ออกใช้ภายหลังมาลงโทษจำเลยไม่ได้และกฎหมายใหม่ในกรณีเช่นนี้หาอาจไปแก้ไขฟ้องที่ไม่ถูกต้องให้เป็นการถูกต้องขึ้นได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 931/2497 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีเงินได้ย้อนหลังก่อนมี พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติม ป.ม.รัษฎากร (ฉบับที่ 10) ต้องวินิจฉัยตามกฎหมายเดิม
การปรเมินเรียกเก็บภาษีเงินได้ตาม ม.61 ในกกรณีที่เกิดขึ้นก่อนมี พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 10) พ.ศ.2496 ใช้บังคับ ต้องวินิจฉัยคดีตาม ม.61 ก่อนที่ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติม ป.ม.รัษฎากร (ฉบับที่ 10 )
โจทก์เข้าหุ้นส่วนกับผู้อื่นทำการขนส่งชักลากไม้กับบริษัทยอมเบยืเบอร์ม่าโดยโจทก์เป็นผู้ทำสัญญากับบริษัทเมื่อสิ้นปีโจทก์และผู้ถือหุ้นแต่ละคนได้เสียภาษีเงินได้ของแต่ละคนแล้วดังนี้ เจ้าพนักงานสรรพากรจะเรียกเก็บภาษีเงินได้จากโจทก์ตามสัญญาที่ทำไว้ กับบริษัทบอมเบย์เบอร์มาอีกหาได้ไม่
โจทก์เข้าหุ้นส่วนกับผู้อื่นทำการขนส่งชักลากไม้กับบริษัทยอมเบยืเบอร์ม่าโดยโจทก์เป็นผู้ทำสัญญากับบริษัทเมื่อสิ้นปีโจทก์และผู้ถือหุ้นแต่ละคนได้เสียภาษีเงินได้ของแต่ละคนแล้วดังนี้ เจ้าพนักงานสรรพากรจะเรียกเก็บภาษีเงินได้จากโจทก์ตามสัญญาที่ทำไว้ กับบริษัทบอมเบย์เบอร์มาอีกหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 63/2494 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กฎหมายใหม่ใช้บังคับย้อนหลังได้หรือไม่: เลือกใช้กฎหมายที่มีโทษเบาเมื่อความผิดยังคงอยู่
จำเลยกระทำความผิดในขณะที่ใช้ พ.ร.บ.ภาษีชั้นใน จ.ศ. 1248 โจทก์จึงฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.ภาษีชั้นใน จ.ศ. 1248 แต่ในวันที่โจทก์ยื่นฟ้อง ได้มี ก.ม.ใหม่คือ พ.ร.บ.สุรา พ.ศ.2493 ซึ่งบัญญัติให้ยกเลิก พ.ร.บ.ภาษีชั้นใน จ.ศ. 1248 เสีย และได้ประกาศใช้มา 9 วันแล้ว ดังนี้ เมื่อปรากฎว่าการกระทำของจำเลย ก็เป็นความผิดตามที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.สุรา 2493 ด้วยและมีโทษเบากว่า ที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.ภาษีชั้นใน จ.ศ. 1248 แล้ว กรณีต้องตาม ก.ม.ลักษณะอาญามาตรา 8 และศาลอาศัยอำนาจตาม ป.ม.วิ.อาญามาตรา 192 วรรค 4 ลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.สุรา 2493 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1148/2493
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กฎหมายใหม่เข้ามาใช้กลางคดี โทษเบากว่าใช้บังคับย้อนหลังได้
ในระหว่างพิจารณาคดีในชั้นศาลฎีกา ได้มีพระราชบัญญัติสุรา พ.ศ.2493 ประกาศออกใช้เป็นกฎหมายแล้ว โดยยกเลิก พระราชบัญญัติภาษีชั้นใน จ.ศ.1248 และ พระราชบัญญัติภาษีชั้นในแก้ไขเพิ่มเติมพ.ศ.2476 ที่โจทก์ฟ้องอ้างเป็นบทลงโทษจำเลยแล้ว มีบัญญัติความผิดและกำหนดโทษไว้ใหม่ตามมาตรา 32 ซึ่งมีโทษเบากว่ามาตรา 8 พระราชบัญญัติภาษีชั้นในแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.2476 จึงต้องใช้กฎหมายใหม่เป็นบทลงโทษจำเลยตามกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 8