คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
รถโดยสาร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 25 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 766/2507

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ประมาทเลินเล่อในการขับรถโดยสารรับส่งคนโดยสาร ทำให้เกิดอุบัติเหตุร้ายแรงถึงแก่ชีวิต
จำเลยมีอาชีพขับรถยนต์รับส่งคนโดยสารประจำทาง จำเลยมีหน้าที่ต้องใช้ความระมัดระวังตรวจสภาพของรถให้อยู่ในสภาพที่ปลอดภัยแก่ผู้โดยสารตลอดจนประชาชนคนเดินถนนและยวดยานต่างๆ ก่อนที่จะนำรถออกเดินรับส่งคนโดยสาร แต่กลับละเลยไม่ปฏิบัติ ได้ขับรถนั้นมาทั้งๆ ห้ามล้อมือใช้การไม่ได้ ทั้งยังฝ่าฝืนรับบรรทุกคนโดยสารเกินอัตราที่ได้รับอนุญาต เมื่อรถมีน้ำหนักมากลงสะพานจึงทำให้แล่นเร็วขึ้นยิ่งยากแก่การควบคุมขับขี่ ครั้นเมื่อรู้ว่าห้ามล้อเท้าใช้การไม่ได้ จำเลยก็ชอบที่จะบรรเทาผลร้ายโดยใช้ความระมัดระวังคุมพวงมาลัยบังคับรถให้เบียดชิดขอบทางไว้ตลอดเวลาให้รถหยุด แต่ก็มิได้ปฏิบัติทั้งๆ มีโอกาสปฏิบัติได้ รถจึงได้แล่นเปะปะไปชนรถยนต์และทับคนตาย ดังนี้ จำเลยต้องมีผิดฐานประมาทเป็นเหตุให้คนตาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 940/2496 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความประมาทในการขับรถราง ชนท้ายรถโดยสาร การประพฤติผิดตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก
จำเลยขับรถรางเร็ว ไม่ระมัดระวัง เป็นการประมาทเลินเล่อจึงชนรถยนต์ประจำทางตอนท้ายเสียหาย การประมาท ของจำเลยเป็นการฝ่าฝืน พ.ร.บ. จราจรทางบก 2477 มาตรา 29 ข้อ 4 ฉะนั้นความผิดของจำเลยจึงต้องผิด ก.ม.ลักษณะอาญามาตรา 336 (15) อีกบทหนึ่งด้วย./

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9526/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอนุมัติเพิ่มจำนวนรถโดยสารประจำทางมีผลเมื่อใด และการบังคับคดีเมื่อชำระหนี้ครบถ้วน
การอนุมัติให้จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางภายในจังหวัดอุบลราชธานีเพิ่มจำนวนรถและจำนวนเที่ยวการเดินรถ เป็นการพิจารณากำหนด (ปรับปรุง) เงื่อนไขการเดินรถตามที่นายทะเบียนจังหวัดอุบลราชธานีเสนอโดยได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งประจำจังหวัดอุบลราชธานี อันเข้าลักษณะเป็นการออกใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทาง ตาม พ.ร.บ.การขนส่งทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 31 (1) และ (11) หาใช่การพิจารณากำหนดเส้นทาง จำนวนผู้ประกอบการขนส่งและจำนวนรถสำหรับการขนส่งประจำทางตาม มาตรา 20 (1) อันจะต้องได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางอีกชั้นหนึ่ง การอนุมัติให้จำเลยที่ 1 เพิ่มจำนวนรถและจำนวนเที่ยวการเดินรถ จึงมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 21 ตุลาคม 2547 ซึ่งเป็นวันที่นายทะเบียนกำหนด (ปรับปรุง) เงื่อนไขการเดินรถดังกล่าว เมื่อจำนวนรถและจำนวนเที่ยวการเดินรถดังกล่าวไม่เกินกว่าจำนวนที่โจทก์กล่าวอ้างตามฟ้องว่าเป็นการละเมิดต่อโจทก์ ถือได้ว่าจำเลยทั้งสี่หยุดการกระทำที่เป็นการละเมิดต่อโจทก์ตั้งแต่วันที่ 21 ตุลาคม 2547 และเมื่อไม่มีประเด็นพิพาทเกี่ยวกับจำนวนเงินค่าเสียหายและค่าฤชาธรรมเนียมซึ่งจำเลยที่ 4 นำมาวางชำระจนถึงวันที่ 21 ตุลาคม 2547 ว่าไม่ครบถ้วนตามสัญญาแล้ว โจทก์ย่อมไม่สามารถบังคับคดีเอาแก่ทรัพย์สินของจำเลยทั้งสี่ได้อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3399/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าของรถและโรงเรียนเอกชน กรณีรถโดยสารรับ-ส่งนักเรียนก่อเหตุ
รถโดยสารคันเกิดเหตุมีชื่อจำเลยที่ 2 เป็นเจ้าของรถและเป็นผู้ประกอบการขนส่ง โดยรถคันดังกล่าวนำมาใช้สำหรับการรับ - ส่งนักเรียนของโรงเรียน ส. มาตั้งแต่วันที่ 19 สิงหาคม 2547 ทั้งกิจการโรงเรียน ส. ก็เป็นกิจการของครอบครัวจำเลยที่ 2 ซึ่งทำสืบทอดต่อเนื่องมาจากบิดา แม้ต่อมาจะได้มีกฎหมาย คือ พ.ร.บ.โรงเรียนเอกชน พ.ศ.2550 ออกมาใช้บังคับและในมาตรา 24 มีข้อบัญญัติว่า เมื่อได้รับใบอนุญาตให้จัดตั้งโรงเรียนในระบบแล้ว ให้โรงเรียนในระบบเป็นนิติบุคคลนับแต่วันที่ได้รับใบอนุญาต และให้ผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้แทนของนิติบุคคล แต่ในมาตรา 25 (3) ยังมีข้อบัญญัติว่า เมื่อโรงเรียนในระบบเป็นนิติบุคคลตามมาตรา 24 แล้ว ผู้รับใบอนุญาตยังต้องโอนทรัพย์สินอื่นซึ่งเป็นทุนนอกจากที่ดินให้แก่โรงเรียนในระบบภายในเวลาที่ผู้อนุญาตกำหนด เมื่อรถโดยสารคันเกิดเหตุยังไม่ได้มีการโอนทางทะเบียนเป็นของโรงเรียน ส. การที่จำเลยที่ 1 ขับรถโดยสารคันเกิดเหตุไปก่อเหตุละเมิด ย่อมถือว่าจำเลยที่ 2 เป็นตัวการที่ได้มอบหมายหรือมีคำสั่งหรือจ้างวานใช้ให้จำเลยที่ 1 ขับรถโดยสารคันเกิดเหตุ เพื่อให้สมประโยชน์ในกิจการของจำเลยที่ 2 และโรงเรียน ส. จำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมรับผิดในผลละเมิดร่วมกับจำเลยที่ 1 ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6560/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความละเมิด: เริ่มนับเมื่อรู้ตัวผู้ต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนที่แท้จริง แม้ฟ้องผิดคันก่อน
โจทก์ยื่นฟ้องคดีแพ่งหมายเลขดำที่ 15602/2547 ต่อศาลชั้นต้น สืบเนื่องจากโจทก์ได้รับแจ้งหมายเลขทะเบียนรถโดยสารคันที่ก่อเหตุละเมิดผิดพลาดจากพนักงานสอบสวน กรณีจึงยังไม่อาจถือได้ว่าโจทก์ได้ทราบเหตุละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้สินไหมทดแทนตั้งแต่วันเกิดเหตุ ต่อมาวันที่ 3 พฤศจิกายน 2549 ป. ผู้รับมอบอำนาจโจทก์ได้รับแจ้งว่าพนักงานสอบสวนได้ทำการเปรียบเทียบปรับคนขับรถโดยสารคันที่ก่อเหตุละเมิดแล้ว จึงทราบว่ารถโดยสารคันที่ก่อเหตุละเมิดที่แท้จริงคือ หมายเลขทะเบียน 11-9221 กรุงเทพมหานคร กรณีจึงถือว่าโจทก์รู้ตัวผู้จะพึงใช้ค่าสินไหมทดแทนที่แท้จริงในวันที่ 3 พฤศจิกายน 2549 อายุความทางละเมิดจึงเริ่มนับตั้งแต่วันดังกล่าวตาม ป.พ.พ. มาตรา 448 วรรคหนึ่ง บัญญัติไว้
โจทก์เคยยื่นฟ้องจำเลยที่ 2 ในคดีแพ่งหมายเลขดำที่ 15602/2547 ต่อศาลชั้นต้นมาก่อน เป็นการเรียกให้จำเลยที่ 2 รับผิดในฐานะเป็นตัวการผู้ประกอบการขนส่งรถโดยสารประจำทาง โดยรับรถโดยสารหมายเลขทะเบียน 11-2921 กรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นคนละคันกับคดีนี้เข้าร่วมในการประกอบกิจการและได้รับประโยชน์จากรถโดยสารคันดังกล่าว หาได้เรียกให้จำเลยที่ 2 รับผิดเกี่ยวกับรถโดยสารหมายเลขทะเบียน 11-9221 กรุงเทพมหานคร ในคดีนี้แต่อย่างใด กรณีไม่อาจถือได้ว่าโจทก์รู้ตัวจำเลยที่ 2 ว่าเป็นผู้จะพึงใช้ค่าสินไหมทดแทนแล้วดังที่จำเลยที่ 2 ฎีกาไม่ เมื่อโจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2550 ยังไม่เกิน 1 ปี คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ ฎีกาของจำเลยที่ 2 ฟังไม่ขึ้น
of 3