คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ระงับ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 196 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1505/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนคำร้องทุกข์ของผู้เสียหายทำให้สิทธิในการฟ้องคดีอาญาของโจทก์ระงับ
การถอนคำร้องทุกข์เป็นสิทธิของผู้เสียหายเมื่อได้ถอนคำร้องทุกข์แล้ว สิทธิที่ผู้เสียหายหรือพนักงานอัยการ ที่จะนำความผิดอันยอมความได้นั้นมาฟ้องผู้กระทำผิด ย่อมเป็นอันระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(2) ผู้เสียหายจะถอนคำร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนหรือ ต่อพนักงานอัยการหรือต่อศาลก็ได้ แม้ขณะคดีจะอยู่ในระหว่าง การพิจารณาของศาลก็ไม่มีบทบัญญัติกฎหมายใดกำหนดให้ผู้เสียหาย ต้องถอนคำร้องทุกข์ต่อศาลเท่านั้น เมื่อได้ความว่าพนักงานอัยการที่เป็นโจทก์ได้รับคำร้อง ขอถอนคำร้องทุกข์ของผู้เสียหายโดยชอบแล้ว สิทธิในการนำคดีนี้ ของโจทก์มาฟ้องจำเลยย่อมเป็นอันระงับไป เมื่อโจทก์ แถลงยืนยันต่อศาลในวันนัดสืบพยานโจทก์ว่าผู้เสียหาย ได้ถอนคำร้องทุกข์ต่อโจทก์แล้ว ก็ชอบที่ศาลจะสั่งจำหน่ายคดีได้โดยศาลไม่จำต้องสอบถามผู้เสียหายที่ไม่ได้มาศาลอีกเพราะผู้เสียหายไม่ได้ขอถอนคำร้องทุกข์ต่อศาล

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6790/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนคำร้องทุกข์และการระงับสิทธิฟ้องคดีอาญา กรณีความผิดตาม พ.ร.บ. เช็ค
ตามรายงานประจำวันรับแจ้งเป็นหลักฐานระบุว่า"บัดนี้ผู้เสียหายไม่มีความประสงค์จะให้พนักงานสอบสวนดำเนินคดีกับ ช. อีกต่อไป เนื่องจากจะนำคดีฟ้องร้องในทางแพ่งเองจึงขอถอนคำร้องทุกข์" ดังนี้ แสดงว่าโจทก์ไม่ประสงค์ดำเนินคดีอาญาแก่จำเลยอีกต่อไป เพราะหากโจทก์ ขอถอนคำร้องทุกข์เพื่อประสงค์ดำเนินคดีอาญาเองแล้วก็ไม่เป็นการยากที่ระบุไว้เช่นเดียวกับที่ระบุว่าจะนำคดี ไปฟ้องร้องในทางแพ่งเอง กรณีจึงถือได้ว่าโจทก์ขอถอนคำร้องทุกข์ไปโดยไม่ประสงค์ดำเนินคดีอาญาแก่จำเลยอีกต่อไป สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 602/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการเช่าเป็นสิทธิเฉพาะตัว เมื่อผู้เช่าถึงแก่กรรม สัญญาเช่าระงับ ทายาทไม่มีสิทธิในสัญญาเช่าเดิม
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์กับจำเลยที่ 1 และที่ 2ต่างเป็นทายาทของ อ.เจ้ามรดกก่อนอ.ถึงแก่กรรมได้เช่าที่ดินพิพาทจากจำเลยที่ 3 แล้วมอบที่ดินพิพาทให้โจทก์ ปลูกบ้านอยู่อาศัยและทำประโยชน์โดยโจทก์ทำสวนผลไม้ตลอดมาหลังจาก อ.ถึงแก่กรรม จำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้จัดการมรดกของ อ. ตามคำสั่งศาล จำเลยที่ 1 และที่ 2 ไปขอเช่าที่ดินพิพาทโดยไม่ได้รับความยินยอมจากโจทก์การที่จำเลยที่ 3 ให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 เช่าที่ดินพิพาทตามสัญญาเช่าฉบับพิพาท เป็นการใช้สิทธิโดยมิชอบฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับ สมคบกับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ใช้สิทธิโดยไม่สุจริต ไม่คำนึงถึงความยุติธรรมที่โจทก์จะพึงได้รับขอให้เพิกถอนสัญญาเช่าที่ดินพิพาทดังกล่าว แต่ระเบียบข้อบังคับของจำเลยที่ 3 มีข้อความว่าอย่างใด โจทก์มิได้ระบุไว้ให้ชัด เป็นเพียงกล่าวอ้างโดยไม่มีข้อเท็จจริงสนับสนุน เมื่อจำเลยทั้งสามให้การต่อสู้คดีปฏิเสธว่าการทำสัญญาเช่าที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 3 กับจำเลยที่ 1และที่ 2 กระทำโดยสุจริต มิได้สมคบกับฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับของจำเลยที่ 3 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง ดังนี้ ข้ออ้างของโจทก์ในส่วนนี้จึงไม่เป็นประเด็นแห่งคดี อ. บิดาโจทก์ จำเลยที่ 1 และที่ 2 ผู้เช่าที่ดินพิพาทจากจำเลยที่ 3 ถึงแก่กรรม เมื่อสิทธิการเช่าเป็นสิทธิเฉพาะตัว และเมื่อผู้เช่าถึงแก่กรรม สัญญาเช่าระหว่างจำเลยที่ 3 และ อ. ย่อมเป็นอันระงับไป ไม่ตกทอดเป็นมรดกแก่ทายาทจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้ให้เช่าจึงมีสิทธิที่จะพิจารณาให้ ผู้ใดเช่าที่ดินพิพาทต่อไปก็ได้ ไม่ผูกพันจำเลยที่ 3 จะต้องให้โจทก์เป็นผู้เช่าต่อไป เมื่อการเช่าของจำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นการขอเช่าส่วนตัวไม่เกี่ยวกับหน้าที่ผู้จัดการมรดกของ อ.ผู้ตาย ที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นอยู่ จึงไม่ก่อให้เกิดสิทธิแก่โจทก์ผู้เป็นทายาทของ อ.ที่จะฟ้องแย้งบังคับให้เพิกถอนสัญญาเช่าที่ดินพิพาทที่ทำขึ้นระหว่างจำเลยที่ 3 กับจำเลยที่ 1 และที่ 2 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5460/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแปลงหนี้ใหม่จากการรวมหนี้กู้ยืมเดิมเข้ากับหนี้จำนอง ทำให้หนี้เดิมระงับ
โจทก์จำเลยตกลงให้นำหนี้เงินกู้จำนวน 80,000 บาทตามสัญญากู้ยืมเงินฉบับพิพาทมารวมเป็นหนี้เงินกู้ยืมจำนวน 200,000 บาท ตามสัญญาจำนอง และต่อมาจำเลยได้ชำระหนี้ ตามสัญญาจำนองดังกล่าวให้แก่โจทก์ครบถ้วนกับจดทะเบียน ไถ่จำนองตามกฎหมายแล้ว การกระทำดังกล่าวเป็นการเปลี่ยนสิ่ง ซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งหนี้ เป็นการแปลงหนี้ใหม่ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 349 ทำให้หนี้ตาม สัญญากู้ยืมเงินเป็นอันระงับไป เมื่อหนี้เงินกู้ยืมดังกล่าว ระงับไปโดยผลของการแปลงหนี้ใหม่ มิใช่ระงับไปเพราะการใช้เงิน จำเลยจึงไม่จำต้องนำสืบถึงหลักฐานการใช้เงินกู้ยืม เป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ให้กู้มาแสดง หรือเอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมนั้นได้เวนคืนแล้ว หรือได้แทงเพิกถอนลงในเอกสารนั้นแล้วตามมาตรา 653 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4967/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ถอนคำร้องทุกข์คดีอาญาโดยโจทก์ร่วม ย่อมระงับการดำเนินคดี
คดีอาญาความผิดต่อส่วนตัวและยังไม่ถึงที่สุด เมื่อปรากฏตามคำร้องของโจทก์ร่วมว่า โจทก์ร่วมไม่ติดใจดำเนินคดีอาญากับจำเลย โดยโจทก์และจำเลยไม่คัดค้าน แสดงว่าโจทก์ร่วมซึ่งเป็นผู้เสียหายประสงค์ที่จะถอนคำร้องทุกข์ แต่โจทก์ร่วมใช้ข้อความผิดไปเป็นถอนฟ้องเนื่องจากคดีนี้พนักงานอัยการเป็นโจทก์ ส่วนผู้เสียหายเป็นเพียงโจทก์ร่วม เช่นนี้ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ.มาตรา 39 (2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4959/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ มูลหนี้เช็คสิ้นผลผูกพันจากคำพิพากษาประนีประนอม คดีอาญาจึงระงับ
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า มูลหนี้ตามเช็คที่โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นมูลหนี้เดียวกันกับที่โจทก์ร่วมเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีแพ่งเรียกเงินตามเช็ค เมื่อโจทก์ร่วมและจำเลยตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันในคดีแพ่ง และศาลได้พิพากษาตามยอมแล้วจึงทำให้มูลหนี้ตามเช็คสิ้นผลผูกพันก่อนศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุด คดีจึงเลิกกันสิทธินำคดีอาญามาฟ้องจึงระงับไป ให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความ เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายืน ผลเท่ากับศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์ จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.อ.มาตรา 220

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4743/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ประนีประนอมยอมความในคดีแพ่งมีผลระงับคดีอาญาเช็คที่เกี่ยวข้อง
ศาลชั้นต้นเห็นว่าโจทก์และจำเลย ได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน และศาลชั้นต้นได้พิพากษาตามยอม คดีถึงที่สุดแล้ว ทำให้หนี้ที่จำเลยได้ออกเช็คเพื่อใช้เงินนั้นได้สิ้นผลผูกพันไปก่อนศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดคดีจึงเป็นอันเลิกกันตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 7 สิทธิของโจทก์ในการนำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39 จึงมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีออกเสียจากสารบบความ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนย่อมมีผลเท่ากับว่าศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 220 ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของโจทก์มาโดยไม่ชอบศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3308/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการใช้พื้นที่ประทานบัตรทำเหมืองแร่เพื่อเกษตรกรรม แม้เป็นการค้า ศาลยกคำสั่งระงับ
จำเลยรับโอนประทานบัตรจากบริษัทซึ่งได้รับอนุญาตจากกรมทรัพยากรธรณีให้ทำเหมืองแร่ดีบุกโดยวิธีเหมืองเรือขุดบริเวณป่าชายเลนที่เกิดเหตุเนื้อที่ 591 ไร่เศษ แต่ต่อมาราคาแร่ดีบุกในตลาดโลกตกต่ำทำให้ไม่คุ้มค่าแก่การลงทุน จำเลยจึงขออนุญาตหยุดการทำเหมืองแร่เป็นรายปี ระหว่างการหยุดทำเหมืองจำเลยทำบ่อเลี้ยงกุ้งในที่เกิดเหตุซึ่งอยู่ในเขตประทานบัตรรวม 11 บ่อ เนื้อที่100 ไร่เศษ การที่ทรัพยากรธรณีจังหวัดที่เกิดเหตุมีคำสั่งให้จำเลยระงับการใช้พื้นที่ประทานบัตรเพื่อเลี้ยงกุ้ง และให้ถมหรือทำที่ดินที่ไม่ได้ใช้ในการทำเหมืองแร่ให้เป็นไปในสภาพเดิมภายใน 10 วัน และจำเลยเพิกเฉยไม่ปฏิบัติตาม แต่พื้นที่ที่จำเลยใช้เลี้ยงกุ้งในเขตประทานบัตรดังกล่าวเป็นพื้นที่ที่มีแหล่งแร่ไม่สมบูรณ์พอที่จะเปิดการทำเหมืองได้จริง และการเลี้ยงกุ้งหรือทำนากุ้งของจำเลยในพื้นที่ประทานบัตรที่เกิดเหตุเป็นการกระทำเพื่อเกษตรกรรมตาม พ.ร.บ.แร่ พ.ศ.2510 มาตรา 73 (3)แต่ตามบทกฎหมายดังกล่าวมิได้มีบทบัญญัติห้ามมิให้กระทำในเชิงพาณิชย์ไว้ ทั้งมิได้กำหนดไว้ว่าพื้นที่ดังกล่าวให้ทำเพื่อเกษตรกรรมได้เพียงบางส่วน ดังนั้นจึงเป็นสิทธิที่จำเลยจะใช้ที่ดินดังกล่าวเพื่อการเกษตรกรรมได้ ไม่ว่าจะเป็นการใช้ในเชิงพาณิชย์หรือไม่ก็ตาม คำสั่งของทรัพยากรธรณีจังหวัดที่ให้จำเลยระงับใช้พื้นที่ประทานบัตรทำนากุ้ง และให้ทำที่ดินให้เหมือนสภาพเดิมภายใน 90 วัน จึงเป็นการมิชอบ แม้จำเลยเพิกเฉยไม่ปฏิบัติตาม การกระทำของจำเลยก็ไม่เป็นความผิดตาม ป.อ.มาตรา 368

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8046/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้เช็คเพื่อระงับคดีอาญา: เมื่อหนี้สิ้นสุดก่อนมีคำพิพากษา คดีอาญาจึงระงับ
คดีแดงที่ 8046-8047/2540
เช็คพิพาทที่โจทก์อาศัยเป็นมูลฟ้องจำเลยในคดีอาญา เป็นฉบับเดียวกับที่โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีแพ่งเรียกเงินตามเช็ค ดังนั้น ในระหว่างพิจารณาของศาลจำเลยนำเงินตามเช็คพิพาทไปวาง ณ สำนักงานวางทรัพย์ก่อนศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์และขณะคดีอยู่ระหว่างฎีกาจำเลยได้นำเงินอีกจำนวนหนึ่งซึ่งเป็นดอกเบี้ยและค่าฤชาธรรมเนียมไปวางศาลโดยมีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อชำระหนี้แก่โจทก์และเพื่อมิให้ต้องรับโทษทางอาญา หาใช่จำเลยมีเจตนาชำระหนี้โดยมุ่งหมายให้โจทก์ได้เปรียบเจ้าหนี้อื่นอันเป็นกรณีอยู่ในบังคับตามพ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 115 เมื่อหนี้ที่จำเลยได้ออกเช็คเพื่อใช้เงินนั้นได้สิ้นผลผูกพันไปก่อนศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุด คดีจึงเป็นอันเลิกกันตามพ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 มาตรา 7 ซึ่งบัญญัติขึ้นภายหลังจำเลยกระทำความผิดแล้ว และเป็นกฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่จำเลยสิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6194/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การระงับความรับผิดจากการชำระหนี้ร่วมกัน แม้ชนะคดีฎีกาแต่ไม่มีประโยชน์ในการบังคับคดี
โจทก์ฎีกาขอให้พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ให้จำเลยที่ 3 ถึงที่ 5 ร่วมกับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ชำระเงินตามฟ้องให้แก่โจทก์ เมื่อปรากฎว่า หลังจากศาลชั้นต้นพิพากษาคดีแล้ว จำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้ชำระหนี้ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้แก่โจทก์ครบถ้วนแล้ว ดังนั้น ความรับผิดของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ต่อโจทก์ที่จะให้จำเลยที่ 3 ถึงที่ 5 ต้องร่วมรับผิดด้วยนั้นจึงได้ระงับสิ้นไปโดยการชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 และที่ 2 แล้ว แม้โจทก์ชนะคดีในชั้นฎีกาก็ไม่เป็นประโยชน์แก่คดีโจทก์ในอันที่จะบังคับเอาสิ่งใดจากจำเลยที่ 3 ถึงที่ 5 ได้อีก จึงไม่จำต้องวินิจฉัยฎีกาของโจทก์ต่อไป
of 20