พบผลลัพธ์ทั้งหมด 89 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6097/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การระงับคดีอาญาเมื่อผู้เสียหายถอนคำร้องทุกข์ และอำนาจศาลในการวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย
คดีความผิดต่อส่วนตัว เมื่อในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ผู้เสียหายได้ยื่นคำร้องขอถอนคำร้องทุกข์โดยไม่ประสงค์จะดำเนินคดีแก่จำเลยอีกต่อไป สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ย่อมระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(2) ดังนั้นการที่ศาลอุทธรณ์พิจารณาแล้วพิพากษายกฟ้องโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับผู้เสียหายที่ยื่นคำร้องขอถอนคำร้องทุกข์จึงไม่ชอบ เมื่อศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าจำเลยมิได้กระทำผิดฐานฉ้อโกงพนักงานอัยการย่อมไม่มีสิทธิเรียกทรัพย์สินหรือราคาแทนผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 43 ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยใช้เงินแก่ผู้เสียหาย จึงไม่ชอบ ปัญหาข้อนี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยจะมิได้อุทธรณ์ศาลอุทธรณ์มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4082/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดศุลกากรฐานหลีกเลี่ยงอากรและสำแดงเท็จเป็นความผิดต่างกรรมกัน การเปรียบเทียบปรับต้องทำก่อนฟ้องจึงมีผลระงับคดี
ความผิดตาม พ.ร.บ. ศุลกากรฯ มาตรา 27 ฐานหลีกเลี่ยงอากร กับมาตรา 99 ฐานสำแดงเท็จ เป็นความผิดต่างกรรมกัน คดีอาญาจะเลิกกันตาม ป.วิ.อ. มาตรา 37(4) โดยการเปรียบเทียบคดี ตาม พ.ร.บ. ศุลกากร มาตรา 102,102 ทวิ ก็ต่อเมื่อบุคคล ผู้กระทำความผิดตกลงยินยอมและใช้ค่าปรับก่อนถูกฟ้องเท่านั้น.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3491/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนคำร้องทุกข์ในคดีอาญาฐานยักยอก ย่อมระงับสิทธิการฟ้องคดีอาญาและคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่อง
ความผิดฐานยักยอก ซึ่งเป็นความผิดต่อส่วนตัวเมื่อผู้เสียหายขอถอนคำร้องทุกข์และแถลงว่าไม่ประสงค์ที่จะดำเนินคดีแก่จำเลยต่อไป ถือว่าเป็นการถอนคำร้องทุกข์และยอมความกันโดยถูกต้องตามกฎหมายสิทธินำคดีอาญามาฟ้องเกี่ยวกับความผิดดังกล่าวย่อมระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 39(2) และย่อมทำให้คำขอในคดีส่วนแพ่งของโจทก์ตกไปด้วย ศาลล่างพิพากษาให้จำเลยใช้ราคาทรัพย์แก่ผู้เสียหายย่อมไม่ชอบด้วยกฎหมาย ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยแม้จำเลยมิได้อุทธรณ์ฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นอ้างและแก้ไขให้ถูกต้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 119/2534 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินราคาศุลกากร การระงับคดีอาญา และการวางประกันค่าอากร
โจทก์นำสินค้าเข้า พนักงานของจำเลยเห็นว่าโจทก์สำแดงราคาสินค้าต่ำไปและสำแดงรายการสินค้าเท็จ จึงให้โจทก์นำเงินสดหรือหนังสือค้ำประกันมาวางโจทก์นำหนังสือสัญญาค้ำประกันของธนาคารมาวางประกันในวงเงิน 400,000 บาท และ 783,000 บาท ตามลำดับพนักงานของจำเลยจึงตรวจปล่อยสินค้าให้โจทก์ ต่อมาเจ้าพนักงานของจำเลยได้มีหนังสือเรียกโจทก์ไปตกลงระงับคดี แต่โจทก์ไม่ปฏิบัติตาม จึงได้ส่งเรื่องให้พนักงานสอบสวนดำเนินคดี อันเป็นการปฏิบัติตามขั้นตอนที่ พ.ร.บ. ศุลกากรฯ กำหนดไว้ ดังนี้ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องขอให้ศาลเพิกถอนข้อกล่าวหาหรือคำสั่งของจำเลยได้ และเมื่อยังโต้เถียง จำนวนค่าภาษีอากรกันอยู่ โจทก์ก็ไม่มีสิทธิบังคับให้จำเลยคืนหลักประกัน ในกรณีพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยตรวจพบว่าโจทก์กระทำผิดเกี่ยวกับ พ.ร.บ. ศุลกากรฯ ถ้า โจทก์ยอมเสียค่าปรับตามคำเปรียบเทียบก็ทำให้คดีอาญาระงับได้ตามมาตรา 102 และ 102 ทวิสินค้าที่โจทก์นำเข้าได้ระบุว่าเป็นกระบอกสูบเครื่องยนต์เครื่องหมายการค้า เอ็น.พี.อาร์. แต่ในตัวสินค้ามีเครื่องหมายรถยนต์ ฮีโน่ โตโยต้า และนิสสัน พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยจึงถือเอาราคาตามที่บริษัทรถยนต์ฮีโน่ โตโยต้า และนิสสัน นำเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นราคาเทียบเคียง โดยลดให้ร้อยละห้า และถือเป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาด เพื่อนำไปคำนวณหาอากรที่ขาด กำหนดเป็นเกณฑ์ให้โจทก์เสียค่าปรับอันจะได้ระงับคดีอาญา ดังนี้เป็นการปฏิบัติตามขั้นตอนของกฎหมายโดยชอบ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 119/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินราคาศุลกากร, การสำแดงเท็จ, และการระงับคดีอาญา: สิทธิในการโต้แย้งและการคืนหลักประกัน
เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยตรวจสินค้าที่โจทก์นำเข้ามาในราชอาณาจักร เห็นว่าโจทก์ยื่นใบขนสินค้าขาเข้าและสำแดงราคาสินค้าไม่ถูกต้อง โจทก์จะต้องเสียภาษีอากรเพิ่มขึ้น ให้โจทก์นำหนังสือค้ำประกันของธนาคารไปวางเป็นประกันค่าภาษีอากรไว้ ทั้งการกระทำของโจทก์มีความผิดฐานสำแดงเท็จตามพระราชบัญญัติศุลกากรพ.ศ. 2469 มาตรา 27 และ 99 จึงมีหนังสือเรียกให้โจทก์ไปตกลงระงับคดีอาญา ซึ่งหากโจทก์ยอมเสียค่าปรับ 2 เท่า ของอากรที่ขาดโดยคำนวณจากราคาอันแท้จริงในท้องตลาดของสินค้าที่โจทก์นำเข้าตามคำเปรียบเทียบของพนักงานเจ้าหน้าที่ก็ย่อมทำให้คดีอาญาระงับตามมาตรา 102 และ 102 ทวิ เมื่อโจทก์ไม่ยินยอมให้เปรียบเทียบปรับจำเลยจึงส่งเรื่องให้พนักงานสอบสวนดำเนินคดีแก่โจทก์ ซึ่งเป็นการปฏิบัติตามขั้นตอนที่พระราชบัญญัติศุลกากรกำหนดไว้ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนข้อกล่าวหาหรือคำสั่งของจำเลยที่ตีราคาสินค้าโจทก์แล้วนำไปกำหนดค่าปรับ และโจทก์ไม่มีสิทธิจะบังคับให้จำเลยคืนหลักประกันค่าภาษีอากรจนกว่าโจทก์จะชำระเงินอากรตามจำนวนที่ได้รับแจ้งให้ครบตามมาตรา 112 ทวิ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 980/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยอมความในชั้นฎีกา: ผลคือระงับสิทธิการฟ้องคดีอาญา และไม่อาจถอนคำร้องขอถอนฟ้องได้
โจทก์ยื่นคำร้องขอถอนฟ้อง คดีความผิดต่อส่วนตัวในชั้นฎีกาตาม คำร้องขอถอนฟ้องระบุว่าจำเลยทั้งสองได้ นำเงิน 40,000 บาท มาชำระให้แก่โจทก์พร้อมใบคู่มือจดทะเบียนรถจักรยานยนต์ โดย สัญญาว่าจะทำการโอนทะเบียนกรรมสิทธิ์รถจักรยานยนต์แก่โจทก์ภายใน 10 วัน หากไม่สามารถโอนได้ จะยอมรับผิดชดใช้เงินแก่โจทก์ 20,000 บาท โจทก์จึงไม่ประสงค์จะดำเนิน คดีกับจำเลยต่อไป จึงขอถอนฟ้อง และท้ายคำร้องจำเลยก็ได้ ร่วมลง ลายมือชื่อด้วยดังนี้ ตาม คำร้องขอถอนฟ้องดังกล่าวเป็นการยอมความกันโดย ถูกต้องตาม กฎหมายแล้ว สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตั้งแต่ มีการยอมความกันตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39(2) โจทก์จึงไม่อาจมายื่นคำร้องขอถอน คำร้อง ขอถอนฟ้องในภายหลังอีกได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2074/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีตามสัญญาประนีประนอมยอมความ แม้มีคดีเพิกถอนสัญญา ศาลไม่เห็นควรระงับการบังคับคดี
จำเลยทั้งสองทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับโจทก์ และมิได้ปฏิบัติตาม คำพิพากษาของศาลชั้นต้นซึ่ง ถึงที่สุดแล้ว โจทก์ย่อมขอให้ศาลบังคับคดีแก่จำเลยทั้งสองได้ ทันที การที่จำเลยที่ 1 อ้างว่าสัญญาประนีประนอมยอมความเกิดจากกลฉ้อฉล เจตนาลวง ก็เป็นข้ออ้างของจำเลยที่ 1 เพียงฝ่ายเดียว ซึ่ง โจทก์มิได้ยอมรับตาม ข้ออ้างของจำเลยที่ 1 ด้วย และเป็นคดีโต้เถียง กันอยู่ในคดีที่จำเลยที่ 1ฟ้องขอให้เพิกถอนสัญญาประนีประนอมยอมความ จึงไม่มีเหตุสมควรที่จะงดการบังคับคดี.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1009/2533 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยอมความโดยทนายโจทก์มีอำนาจประนีประนอม ย่อมผูกพันโจทก์ สิทธิฟ้องอาญาจึงระงับ
โจทก์ฟ้อง ขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯระหว่างพิจารณาคดีในศาลชั้นต้น โจทก์จำเลยตกลงกันได้และต่างแถลงร่วมกันว่าจำเลยได้ชำระเงินแก่โจทก์เกือบหมดแล้ว ส่วนที่เหลือจำเลยจะนำเงินมาชำระให้โจทก์ในวันรุ่งขึ้นจากวันที่ตกลงกันโดยจำเลยจะออกเช็คเงินสดให้โจทก์ไว้ โจทก์รับว่าเมื่อได้รับเงินตามเช็คที่จำเลยออกให้แล้ว โจทก์จะคืนเช็คอีก2 ฉบับที่จำเลยที่ 3 ออกให้ไว้ล่วงหน้าแก่จำเลย และโจทก์จะถอนฟ้องจำเลย ศาลชั้นต้นจึงเลื่อนการอ่านคำพิพากษาไป เมื่อถึงวันนัดฟังคำพิพากษา ทนายโจทก์ยื่นคำร้องว่าจำเลยได้ชำระหนี้ตามเช็คแล้ว ทนายโจทก์เห็นควรให้ถอนฟ้อง แต่โจทก์ไม่ยอมถอนฟ้อง ดังนี้เมื่อคดีเป็นความผิดต่อส่วนตัว และใบแต่งทนายความปรากฏว่าทนายโจทก์มีอำนาจประนีประนอมยอมความแทนโจทก์ได้ทนายโจทก์ย่อมจะขอยอมความได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 35 วรรคสองและมีผลผูกพันโจทก์ เมื่อโจทก์ได้รับเงินตามเช็คที่จำเลยออกให้แก่โจทก์แล้ว จึงมีผลเป็นการยอมความ ทำให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39(2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3630/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยอมความระหว่างดำเนินคดีเช็ค ศาลระงับคดีตามกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
คดีความผิดต่อส่วนตัว ระหว่างนัดฟังคำพิพากษาศาลฎีกา โจทก์ยื่นคำร้องเป็นใจความว่า จำเลยชำระหนี้ตามเช็คที่นำมาฟ้องให้แก่โจทก์เป็นที่พอใจแล้ว โจทก์ไม่ประสงค์จะดำเนินคดีแก่จำเลยอีกต่อไปขอถอนคำร้องทุกข์ จำเลยไม่คัดค้าน ปรากฏว่าโจทก์เป็นผู้เสียหายฟ้องคดีเอง และไม่เคยแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน คำร้องดังกล่าวจึงพอแปลความได้ว่าโจทก์จำเลยยอมความกันสิทธินำคดีอาญามาฟ้องจึงระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 39(2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3630/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยอมความระหว่างดำเนินคดีเช็ค สิทธิฟ้องอาญาจึงระงับตามกฎหมาย
คดีความผิดต่อส่วนตัว ระหว่างนัดฟังคำพิพากษาศาลฎีกา โจทก์ยื่นคำร้องเป็นใจความว่า จำเลยชำระหนี้ตามเช็คที่นำมาฟ้องให้แก่โจทก์เป็นที่พอใจแล้ว โจทก์ไม่ประสงค์จะดำเนินคดีแก่จำเลยอีกต่อไปขอถอนคำร้องทุกข์ จำเลยไม่คัดค้าน ปรากฏว่าโจทก์เป็นผู้เสียหายฟ้องคดีเอง และไม่เคยแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน คำร้องดังกล่าวจึงพอแปลความได้ว่าโจทก์จำเลยยอมความกันสิทธินำคดีอาญามาฟ้องจึงระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 39(2).