พบผลลัพธ์ทั้งหมด 70 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2321/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างเนื่องจากกระทำผิดระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานโดยการทำร้ายร่างกาย ถือเป็นเหตุเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
ตามระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยระบุไว้ว่าห้ามเล่นการพนัน ก่อการทะเลาะวิวาท ทำร้ายร่างกาย ลักทรัพย์หรือก่อกวนความสงบสุขหรือก้าวก่ายการปฏิบัติงานของพนักงานอื่นซึ่งหากคนงานกระทำผิดข้อบังคับดังกล่าว จำเลยมีสิทธิเลิกจ้างโดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าและไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยได้การที่โจทก์มิได้เป็นผู้บังคับบัญชาของ อ. ไม่มีอำนาจหน้าที่ในการตรวจสอบงานของ อ.และอ. จะตอบคำถามของโจทก์หรือไม่ก็ได้ เมื่อ อ.ไม่ยอมพูดด้วยโจทก์ก็น่าจะรู้ว่าอ.ไม่ต้องการให้โจทก์ไปรบกวนเวลาที่กำลังทำงานระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานก็ระบุห้ามไว้ซึ่งโจทก์ต้องปฏิบัติตาม แต่โจทก์กลับหาเรื่องชกต่อย อ.ถึง 2 ที เมื่อโจทก์เป็นฝ่ายไปก่อเหตุขึ้นก่อน จะอ้างว่าได้กระทำไปเพราะบันดาลโทสะเนื่องจาก อ. แสดงอาการยียวนหาได้ไม่ การกระทำของโจทก์เป็นการจงใจฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลย และเป็นความผิดทางอาญาด้วย จึงเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของนายจ้างกรณีที่ร้ายแรงตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ 47(4) และเป็นการกระทำความผิดอย่างร้ายแรงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583 ด้วยจำเลยมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยและไม่จำต้องบอกกล่าวล่วงหน้า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5296/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างกรณีละเลยหน้าที่จนกระทบความเชื่อถือของกิจการส่งเอกสาร ถือเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับร้ายแรง
กิจการของจำเลยในการให้บริการรับส่งเอกสารและพัสดุภัณฑ์ด่วนพิเศษจะดำเนินการอยู่ได้หรือไม่ขึ้นอยู่กับความเชื่อถือของลูกค้าในการให้บริการของจำเลยที่จะต้องจัดการนำส่งเอกสารและพัสดุภัณฑ์ให้แก่ลูกค้าอย่างรวดเร็วและถูกต้องปรากฏว่าเอกสารของลูกค้าจำเลยส่งมาถึงจำเลยตั้งแต่วันที่25กรกฎาคม2538พนักงานแยกเอกสารได้นำเอกสารดังกล่าวไปใส่ในช่องเอกสารของโจทก์แล้วแต่โจทก์ละเลยไม่นำเอกสารไปส่งให้แก่ลูกค้าจำเลยจนเป็นเหตุให้ลูกค้าต้องโทรศัพท์ทวงถามเอกสารจากจำเลยในวันที่29กรกฎาคม2538จึงได้มีการตรวจค้นพบเอกสารอยู่ในกระเป๋าใส่เอกสารประจำตัวของโจทก์ซึ่งทิ้งไว้ที่บริษัทจำเลยพฤติการณ์การกระทำของโจทก์ย่อมส่งผลกระทบกระเทือนต่อความเชื่อถือของลูกค้าที่มีแก่บริการรับส่งเอกสารของจำเลยเป็นอย่างยิ่งถือได้ว่าเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานข้อ70ข้อ96และข้อ99.6กรณีร้ายแรงจำเลยมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ47(4)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8013/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการใช้ดุลพินิจศาลแรงงานในการลงโทษทางวินัย การลงโทษต้องสอดคล้องกับระเบียบข้อบังคับและพฤติการณ์
แม้ตามคำขอท้ายคำร้องของนายจ้างผู้ร้องได้ขอให้ศาลแรงงานอนุญาตลงโทษลูกจ้างผู้คัดค้านด้วยการตักเตือนเป็นหนังสือก็ตาม แต่ตามระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของผู้ร้องได้กำหนดโทษทางวินัยไว้ว่า พนักงานผู้ใดฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานจะถูกพิจารณาลงโทษตามที่เห็นสมควรดังนี้(1) ตักเตือนด้วยวาจา (2) ตักเตือนเป็นลายลักษณ์อักษร (3) ตัดค่าจ้าง(4) ลดค่าจ้าง (5) พักงานโดยไม่จ่ายค่าจ้างไม่เกิน 7 วัน (6) เลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชย จะเห็นได้ว่า การพิจารณาลงโทษพนักงานตามระเบียบข้อบังคับดังกล่าวต้องดูพฤติการณ์ของพนักงานที่กระทำการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับตามความร้ายแรงเป็นเรื่อง ๆ ไป กรณีคดีนี้ ผู้คัดค้านขัดคำสั่งของผู้บังคับบัญชาเป็นครั้งแรกและผู้ร้องมิได้เกิดความเสียหาย ที่ศาลแรงงานมีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องลงโทษตักเตือนผู้คัดค้านด้วยวาจา จึงเป็นการใช้ดุลพินิจตามที่เห็นสมควรและเหมาะสมแก่พฤติการณ์แห่งรูปคดีแล้ว ทั้งโทษตักเตือนด้วยวาจาที่ศาลแรงงานมีคำสั่งอนุญาตก็เป็นโทษที่กำหนดไว้ในระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของผู้ร้อง หาใช่เป็นการอนุญาตให้ลงโทษต่ำกว่าโทษที่กำหนดไว้ในระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานไม่ และคำสั่งของศาลแรงงานที่อนุญาตให้ลงโทษตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518มาตรา 52 ดังกล่าวมีผลเป็นเพียงการอนุญาตให้สิทธิแก่ผู้ร้องที่จะตักเตือนด้วยวาจาแก่ผู้คัดค้านได้เท่านั้น มิใช่เป็นคำสั่งแทนผู้ร้องให้มีผลลงโทษตักเตือนด้วยวาจาแก่ผู้คัดค้านได้โดยทันที หากผู้ร้องประสงค์จะใช้สิทธิลงโทษตักเตือนผู้คัดค้านด้วยวาจาดังกล่าวก็จะต้องดำเนินการตักเตือนด้วยวาจาแก่ผู้คัดค้านเป็นอีกส่วนหนึ่ง นอกจากนี้โทษตักเตือนด้วยวาจาก็เป็นโทษสถานเบากว่าโทษตักเตือนเป็นหนังสือตามที่ผู้ร้องร้องขอ คำสั่งของศาลแรงงานที่อนุญาตให้ลงโทษตักเตือนผู้คัดค้านด้วยวาจาดังกล่าวจึงไม่เป็นการฝ่าฝืน พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ.2522 มาตรา 52 ที่บัญญัติห้ามมิให้ศาลแรงงานพิพากษาหรือสั่งเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6213/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคำนวณเงินบำเหน็จจากระเบียบข้อบังคับของนายจ้าง และการไม่อุทธรณ์ประเด็นที่ศาลชั้นต้นตัดสินแล้ว
ที่โจทก์อุทธรณ์ว่า ระเบียบเงินบำเหน็จขัดต่อประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน จึงไม่มีผลใช้บังคับนั้น โจทก์มิได้กล่าวเรื่องนี้มาในคำฟ้อง จึงเป็นอุทธรณ์ในข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลแรงงานแม้เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกาก็ไม่เห็นสมควรยกขึ้นวินิจฉัย ระเบียบเงินบำเหน็จของจำเลยได้ให้คำนิยาม เงินบำเหน็จว่าเงินตอบแทนที่จำเลยจ่ายให้พนักงานเมื่อออกจากงาน เงินบำเหน็จจึงเป็นเงินที่จำเลยจ่ายให้แก่พนักงานนอกเหนือไปจากค่าจ้างตามที่กฎหมายเกี่ยวกับแรงงานบัญญัติไว้ และตามระเบียบดังกล่าวก็ได้กำหนดวิธีคำนวณเงินบำเหน็จว่า ให้เอาเงินเดือนเดือนสุดท้ายตั้ง แล้วคูณด้วยจำนวนปีและเศษของปีตามปฏิทินของเวลาทำงาน ทั้งได้ให้คำจำกัดความคำว่า เงินเดือนไว้ว่า หมายถึง เงินเดือนหรือค่าจ้างที่จำเลยจ่ายให้แก่พนักงานแต่ละคน เป็นรายเดือนหรือรายงวด จะเห็นว่าถ้อยคำคำว่า เงินเดือน ในระเบียบเงินบำเหน็จดังกล่าวได้ระบุไว้ชัดให้หมายถึงเฉพาะเงินเดือนที่แท้จริงเท่านั้นหาได้มีความหมายให้นำประโยชน์อื่น ๆ ที่ลูกจ้างได้รับเป็นการตอบแทนการทำงานเข้ามารวมเป็นเงินเดือนด้วยไม่เมื่อเป็นเช่นนี้ เงินเดือนตามระเบียบเงินบำเหน็จดังกล่าวจึงไม่รวมถึงเงินค่าครองชีพ จะนำเงินค่าครองชีพมารวมเป็นเงินเดือนเพื่อคำนวณเงินบำเหน็จหาได้ไม่ อุทธรณ์ของโจทก์มิได้โต้แย้งคำพิพากษาศาลแรงงานว่าไม่ถูกต้องแต่อย่างใด อุทธรณ์ของโจทก์จึงไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1995/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตระเบียบข้อบังคับการทำงาน การเลิกจ้างลูกจ้าง การทะเลาะวิวาทนอกเวลางาน
ผู้คัดค้านซึ่งเป็นกรรมการลูกจ้างทะเลาะวิวาทตบตีกับพนักงานด้วยกันตรงประตูทางเข้าออกโรงงานนอกบริเวณโรงงานเมื่อเวลา 17.02 นาฬิกา ซึ่งเป็นเวลานอกเหนือจากเวลาทำงานตามปกติ ดังนี้ แม้การกระทำของผู้คัดค้านจะเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของผู้ร้องก็ตามแต่พฤติการณ์เพียงเท่านี้ยังไม่มีเหตุผลอันสมควรที่จะอนุญาตให้ผู้ร้องเลิกจ้างผู้คัดค้านได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5959/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงเวลาทำงานไม่ตรงตามความเป็นจริง ไม่ถือเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับร้ายแรง หรือทุจริตต่อหน้าที่ หากนายจ้างไม่ถือเป็นสาระสำคัญ
ตามระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน ลูกจ้างจะต้องมาทำงานระหว่าง 8 นาฬิกา ถึง 17 นาฬิกา การที่ลูกจ้างลงเวลาทำงานไว้ว่าได้มาทำงานและเลิกงานตามเวลาดังกล่าว โดยมีลูกจ้างซึ่งเป็นผู้ควบคุมการทำงานลงชื่อกำกับความถูกต้องในช่องหมายเหตุทุกวัน แสดงว่านายจ้างไม่ได้ถือว่าการลงเวลามาทำงานและเลิกงานเป็นสาระสำคัญ แม้จะลงเวลาไม่ตรงกับความเป็นจริง ผู้ควบคุมการทำงานลูกจ้างก็ลงชื่อกำกับความถูกต้องให้ ไม่ปรากฎว่า ลูกจ้างถูกหักค่าจ้างจากการมาทำงานสายและเลิกงานก่อนเวลา จึงมิใช่เป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานในกรณีที่ร้ายแรง และการกระทำดังกล่าวก็ไม่ถือว่าเป็นการทุจริตต่อหน้าที่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 340/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างกรณีประกาศดูหมิ่นนายจ้าง – การกระทำที่เป็นเหตุให้เลิกจ้างได้ตามระเบียบข้อบังคับ
การที่ผู้คัดค้านได้ร่วมกันเขียนประกาศที่มีข้อความดูหมิ่นเสียดสีและเหยียดหยามผู้ร้องซึ่งเป็นนายจ้างและผู้บังคับบัญชาไปปิดไว้ที่บอร์ดโดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้ร้อง ย่อมทำให้พนักงานของผู้ร้องขาดความยำเกรง เป็นการส่งเสริมและยังยุให้พนักงานกระด้างกระเดื่องต่อผู้ร้องทำให้เกิดความแตกแยกระหว่างผู้ร้องกับพนักงาน อันจะส่งผลเสียหายต่อผู้ร้องและพนักงาน เมื่อผู้ร้องสั่งให้เอาออก ผู้คัดค้านไม่ปฏิบัติตามเป็นการฝ่าฝืนคำสั่งโดยชอบของผู้บังคับบัญชากระทำตนเป็นปฏิปักษ์ต่อผู้ร้อง เป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของผู้ร้อง และไม่เกรงกลัวความผิดที่ตนได้กระทำจงใจให้ผู้ร้องได้รับความเสียหาย ถือว่ามีเหตุสมควรให้ผู้ร้องเลิกจ้างผู้คัดค้านได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3080/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินบำเหน็จตามระเบียบข้อบังคับนายจ้าง ไม่ถือเป็นค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย
ระเบียบข้อบังคับของนายจ้างมีข้อความว่า "อัตราการจ่ายเงินจำนวนเท่ากับอัตราเงินเดือนหรือค่าจ้างปกติในขณะนั้น หนึ่งเดือนทุกเวลาหนึ่งปีเต็มที่ผู้นั้นได้ทำงานกับบริษัทโดยติดต่อกัน หักด้วยเงินชดเชยการบอกเลิกจ้างล่วงหน้าหรือเงินทดแทนอื่นใดในการสูญเสียงาน ซึ่งพนักงานผู้นั้นมีสิทธิได้รับตามข้อความในสัญญาจ้างหรือกฎหมาย" คำว่า "เงินชดเชยการบอกกล่าวเลิกจ้างล่วงหน้า" นั้นมีความหมายชัดเจนว่าหมายถึงเงินที่ให้แทนการบอกเลิกจ้างล่วงหน้า ไม่อาจแปลว่าเป็นเงิน"ค่าชดเชย" ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2434/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ระเบียบข้อบังคับนายจ้างจ่ายเงินชดเชยมากกว่ากฎหมาย เป็นคุณแก่ลูกจ้าง
แม้ระเบียบข้อบังคับของนายจ้างจะกำหนดให้จ่ายเงินชดเชยแก่ลูกจ้างในกรณีลาออกไว้ด้วย ก็เป็นการกำหนดเพิ่มเติมนอกเหนือจากหลักเกณฑ์ตามที่กำหนดไว้ในประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46ซึ่งเป็นคุณแก่ลูกจ้างมากกว่า เมื่อหลักเกณฑ์การคำนวณเงินชดเชยในกรณีที่นายจ้างให้ลูกจ้างออกจากงานตามระเบียบข้อบังคับของนายจ้างคล้ายกับหลักเกณฑ์ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยฉบับดังกล่าวกำหนดไว้ การจ่ายเงินชดเชยตามระเบียบข้อบังคับเช่นว่านั้น จึงเป็นการจ่ายค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงาน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1750/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าชดเชยและเงินบำเหน็จกรณีเกษียณอายุ: การตีความระเบียบและข้อบังคับของรัฐวิสาหกิจ
จำเลยมีคำสั่งที่ 240/2528 เรื่อง หลักเกณฑ์การคำนวณค่าชดเชยการอนุมัติและการจ่ายค่าชดเชย ซึ่งในคำสั่งดังกล่าวได้กำหนดไว้ในข้อ 1.3 ว่า พนักงานประจำซึ่งทำงานติดต่อกันครบ 3 ปีขึ้นไป ให้ได้รับค่าชดเชยไม่น้อยกว่าอัตราค่าจ้างสุดท้ายหนึ่งร้อยแปดสิบวันนอกจากนี้จำเลยยังได้มีข้อบังคับฉบับที่ 47 ว่าด้วยเงินบำเหน็จพ.ศ. 2524 ซึ่งกำหนดไว้ในข้อ 6(1) ว่าพนักงานที่ออกจากงานในวันสิ้นปีงบประมาณที่มีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ จะได้รับเงินบำเหน็จตามข้อบังคับนี้ และกำหนดไว้ในข้อ 8 ว่าพนักงานที่ออกจากงานโดยมีสิทธิได้รับค่าชดเชยตามกฎหมายเกี่ยวกับแรงงานแล้วไม่มีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จตามข้อบังคับนี้ แต่ถ้าค่าชดเชยที่มีสิทธิได้รับนั้นต่ำกว่าเงินบำเหน็จที่จะได้รับตามข้อบังคับนี้ก็ให้จ่ายเพิ่มให้เท่าจำนวนที่ต่ำกว่านั้น จากคำสั่งที่ 240/2528ประกอบกับข้อบังคับฉบับที่ 47 เห็นได้ว่าจำนวนเงินที่จำเลยจ่ายให้แก่โจทก์ทั้งสี่สิบหกมีเงินค่าชดเชยรวมอยู่ด้วยแล้ว ข้อบังคับฉบับที่ 47 ข้อ 8 เป็นข้อยกเว้นของข้อ 6 เมื่อเข้าตามเงื่อนไขในข้อ 8 แล้วก็จะไม่มีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จตาม ข้อ 6 อีก ดังนั้น จึงหาได้หมายความว่าถ้ามีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จตามข้อ 6 แล้วจะนำข้อ 8 มาใช้บังคับอีกไม่ได้ คำสั่งของจำเลยที่ 240/2528 เป็นระเบียบที่ใช้รวมถึงการจ่ายค่าชดเชย กรณีพนักงานพ้นจากตำแหน่งเพราะเหตุเกษียณอายุด้วย ค่าชดเชยที่จำเลยจ่ายให้แก่โจทก์ทั้งสี่สิบหกตามคำสั่งดังกล่าวจึงต้องถือว่าเป็นเงินทั้งหมดที่จ่ายให้เพื่อตอบแทนความชอบในการทำงานตามระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์เรื่องมาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2534ข้อ 47 วรรคสองแล้ว จำเลยจึงไม่ต้องจ่ายเงินเพื่อตอบแทนความชอบในการทำงานตามข้อ 47 วรรคหนึ่งอีก.