พบผลลัพธ์ทั้งหมด 61 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1562/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีฉ้อโกงประชาชนตาม พ.ร.ก.กู้ยืมเงินฯ รัฐเท่านั้นมีอำนาจฟ้อง เอกชนไม่มีสิทธิ
พระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. 2527บัญญัติขึ้นเพื่อปราบปรามการกระทำที่เป็นการฉ้อโกงประชาชนกับวางมาตรการเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของประชาชนเป็นส่วนรวมรัฐเท่านั้นเป็นผู้มีอำนาจฟ้องคดีในความผิดตามพระราชกำหนดดังกล่าวเอกชนไม่ใช่ผู้เสียหายจึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4259/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ (มาตรา 158) เป็นของผู้เสียหายโดยนิตินัย (รัฐ) ไม่ใช่ผู้เสียหายโดยพฤตินัย (ประชาชน)
การกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 158 เป็นความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ ผู้กระทำความผิดเป็นเจ้าพนักงานของรัฐและทรัพย์หรือเอกสารใดซึ่งเป็นของทางราชการหรือของรัฐนั้น อยู่ในหน้าที่ของเจ้าพนักงานผู้นั้นที่จะปกครองหรือรักษาไว้ถูกทำให้เสียหาย ทำลาย ซ่อนเร้น เอาไปเสีย หรือทำให้สูญหายหรือทำให้ไร้ประโยชน์ หรือยินยอมให้ผู้อื่นกระทำเช่นนั้น ดังนี้ ย่อมเห็นได้ชัดเจนว่ารัฐเป็นผู้ได้รับความเสียหายโดยตรงและนับว่าเป็นผู้เสียหายโดยนิตินัย หากโจทก์ซึ่งเป็นราษฎรจะได้รับความเสียหายจากการกระทำของจำเลยก็เป็นเพียงผู้เสียหายโดยพฤตินัย มิใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัย ไม่มีอำนาจฟ้องคดีได้เอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 191/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการเป็นโจทก์ร่วมและการมีส่วนได้เสียในความผิดอาญา: ความผิดต่อรัฐ vs. ความผิดต่อบุคคล
ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 371 และความผิดต่อพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ รัฐเท่านั้นเป็นผู้เสียหาย โจทก์ร่วมมิใช่ผู้เสียหายจึงเป็นโจทก์ร่วมในข้อหาดังกล่าวไม่ได้ และไม่มีสิทธิฎีกาในข้อหาดังกล่าว แม้ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ร่วมเข้าเป็นโจทก์ร่วมในคดีนี้ได้ ก็น่าจะหมายถึงอนุญาตให้เข้าเป็นโจทก์ร่วมได้เฉพาะในข้อหาพยายามฆ่าผู้อื่นตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288,289,80ศาลฎีการับวินิจฉัยเฉพาะฎีกาในข้อหาพยายามฆ่าผู้อื่นเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3447/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีฉ้อโกงประชาชนและอั้งยี่: รัฐเป็นผู้เสียหายโดยตรง
ความผิดเกี่ยวกับความสงบสุขของประชาชน มิใช่กระทำโดยเฉพาะเจาะจงแก่บุคคลใดเป็นส่วนตัว รัฐเท่านั้นเป็นผู้เสียหายโดยตรง
พระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน เป็นบทบัญญัติที่มีลักษณะพิเศษแตกต่างไปจากความผิดฐานฉ้อโกง ตามประมวลกฎหมายอาญาดังจะเห็นได้ว่าบทบัญญัติและเจตนารมณ์ของพระราชกำหนดนี้ ตาม มาตรา 4 มาตรา 5 มาตรา 7 และมาตรา 8 บัญญัติถึงวิธีการและลักษณะของการกู้ยืมในกรณีเช่นนี้ไว้ และบัญญัติถึงการที่จะปราบปรามการกระทำที่เป็นการฉ้อโกงประชาชนกับวางมาตรการเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของประชาชนที่ได้รับความเสียหายจากการถูกหลอกลวง และรักษาความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศ โดยได้กำหนดมาตรการต่าง ๆ ไว้ เพื่อคุ้มครองประชาชนเป็นส่วนรวม และให้พนักงานเจ้าหน้าที่ของรัฐเท่านั้นมีอำนาจใช้มาตรการดังกล่าวนั้นได้ ทั้งนี้เพื่อให้กรณีเสร็จเด็ดขาดไปทันทีดังนั้น ความผิดตามพระราชกำหนดนี้ รัฐเท่านั้นเป็นผู้มีอำนาจฟ้องคดีได้.
(วรรคสองวินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 5/2530)
พระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน เป็นบทบัญญัติที่มีลักษณะพิเศษแตกต่างไปจากความผิดฐานฉ้อโกง ตามประมวลกฎหมายอาญาดังจะเห็นได้ว่าบทบัญญัติและเจตนารมณ์ของพระราชกำหนดนี้ ตาม มาตรา 4 มาตรา 5 มาตรา 7 และมาตรา 8 บัญญัติถึงวิธีการและลักษณะของการกู้ยืมในกรณีเช่นนี้ไว้ และบัญญัติถึงการที่จะปราบปรามการกระทำที่เป็นการฉ้อโกงประชาชนกับวางมาตรการเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของประชาชนที่ได้รับความเสียหายจากการถูกหลอกลวง และรักษาความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศ โดยได้กำหนดมาตรการต่าง ๆ ไว้ เพื่อคุ้มครองประชาชนเป็นส่วนรวม และให้พนักงานเจ้าหน้าที่ของรัฐเท่านั้นมีอำนาจใช้มาตรการดังกล่าวนั้นได้ ทั้งนี้เพื่อให้กรณีเสร็จเด็ดขาดไปทันทีดังนั้น ความผิดตามพระราชกำหนดนี้ รัฐเท่านั้นเป็นผู้มีอำนาจฟ้องคดีได้.
(วรรคสองวินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 5/2530)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3447/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีฉ้อโกงประชาชนและการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกง: รัฐเป็นผู้เสียหายแต่เพียงผู้เดียว
ความผิดเกี่ยวกับความสงบสุขของประชาชน มิใช่กระทำโดยเฉพาะเจาะจงแก่บุคคลใดเป็นส่วนตัว รัฐเท่านั้นเป็นผู้เสียหายโดยตรง
พระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน เป็นบทบัญญัติที่มีลักษณะพิเศษแตกต่างไปจากความผิดฐานฉ้อโกง ตามประมวลกฎหมายอาญาดังจะเห็นได้ว่าบทบัญญัติและเจตนารมณ์ของพระราชกำหนดนี้ ตาม มาตรา 4 มาตรา 5 มาตรา 7 และมาตรา 8 บัญญัติถึงวิธีการและลักษณะของการกู้ยืมในกรณีเช่นนี้ไว้ และบัญญัติถึงการที่จะปราบปรามการกระทำที่เป็นการฉ้อโกงประชาชนกับวางมาตรการเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของประชาชนที่ได้รับความเสียหายจากการถูกหลอกลวง และรักษาความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศ โดยได้กำหนดมาตรการต่าง ๆ ไว้ เพื่อคุ้มครองประชาชนเป็นส่วนรวม และให้พนักงานเจ้าหน้าที่ของรัฐเท่านั้นมีอำนาจใช้มาตรการดังกล่าวนั้นได้ ทั้งนี้เพื่อให้กรณีเสร็จเด็ดขาดไปทันทีดังนั้น ความผิดตามพระราชกำหนดนี้ รัฐเท่านั้นเป็นผู้มีอำนาจฟ้องคดีได้. (วรรคสองวินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ครั้งที่5/2530)
พระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน เป็นบทบัญญัติที่มีลักษณะพิเศษแตกต่างไปจากความผิดฐานฉ้อโกง ตามประมวลกฎหมายอาญาดังจะเห็นได้ว่าบทบัญญัติและเจตนารมณ์ของพระราชกำหนดนี้ ตาม มาตรา 4 มาตรา 5 มาตรา 7 และมาตรา 8 บัญญัติถึงวิธีการและลักษณะของการกู้ยืมในกรณีเช่นนี้ไว้ และบัญญัติถึงการที่จะปราบปรามการกระทำที่เป็นการฉ้อโกงประชาชนกับวางมาตรการเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของประชาชนที่ได้รับความเสียหายจากการถูกหลอกลวง และรักษาความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศ โดยได้กำหนดมาตรการต่าง ๆ ไว้ เพื่อคุ้มครองประชาชนเป็นส่วนรวม และให้พนักงานเจ้าหน้าที่ของรัฐเท่านั้นมีอำนาจใช้มาตรการดังกล่าวนั้นได้ ทั้งนี้เพื่อให้กรณีเสร็จเด็ดขาดไปทันทีดังนั้น ความผิดตามพระราชกำหนดนี้ รัฐเท่านั้นเป็นผู้มีอำนาจฟ้องคดีได้. (วรรคสองวินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ครั้งที่5/2530)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2857/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีความมั่นคงของรัฐ: สิทธิของผู้เสียหายโดยตรง
ความผิดต่อความมั่นคงของรัฐภายในราชอาณาจักร ตาม ป.อ.มาตรา 113,114 และ 116 เป็นการกระทำผิดต่อรัฐโดยตรง รัฐเท่านั้นเป็นผู้เสียหายที่มีอำนาจดำเนินคดีแก่ผู้กระทำผิด ผู้ร้องแม้จะเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรก็มิใช่ผู้เสียหายตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2(4) ไม่มีอำนาจฟ้อง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2857/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีความมั่นคงของรัฐ: รัฐเป็นผู้เสียหายแต่เพียงผู้เดียว
พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 113,114 และ 116 อันเป็นความผิดต่อความมั่นคงของรัฐภายในราชอาณาจักร เป็นการกระทำความผิดต่อรัฐโดยตรง รัฐเท่านั้นเป็นผู้เสียหายที่มีอำนาจดำเนินคดีแก่ผู้กระทำความผิด แม้ผู้ร้องจะเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรก็มิใช่เป็นผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(4) จึงไม่มีอำนาจฟ้องคดีนี้ตามมาตรา 28.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 773/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิของนิติบุคคลในการเช่าทรัพย์สินเพื่อรักษาประโยชน์ของรัฐ และอำนาจฟ้องคดีสัญญาเช่า
กรมชลประทานซึ่งเป็นนิติบุคคล ย่อมมีสิทธิเป็นเจ้าของครอบครองและดูแลรักษาทรัพย์สินที่มีไว้เพื่อใช้ตามวัตถุประสงค์ของกรมชลประทานได้ การที่กรมชลประทานเอาที่ดินพิพาทให้จำเลยเช่าในเวลาที่กรมชลประทานยังไม่จำเป็นต้องใช้ ย่อมเป็นการกระทำในการดูแลทรัพย์สินของทางราชการเอาไว้ไม่ให้ผู้อื่นแย่งการครอบครองเอาไปโดยมิชอบ โดยไม่ปรากฏว่าผิดต่อวัตถุประสงค์ของกรมชลประทาน เมื่อจำเลยสมัครใจเข้าทำสัญญากับกรมชลประทานและเป็นผู้ปฏิบัติผิดสัญญาเช่านั้น กรมชลประทานย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3251/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของรัฐต่อความเสียหายจากการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานตำรวจที่สำคัญผิด
พลตำรวจ พ. เข้าจับกุมคนร้ายรายเดียวกับที่ ส.ต.อ. น. บิดาโจทก์ได้รับคำสั่งจากผู้บังคับบัญชาให้เป็นผู้เข้าจับกุม การกระทำของพลตำรวจ พ. จึงเป็นการกระทำตามอำนาจหน้าที่ดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 2 (16), 17 การที่พลตำรวจ พ. สำคัญผิดว่า ส.ต.อ. น. ซึ่งแต่งกายนอกเครื่องแบบ และถือปืนยืนอยู่ในที่เกิดเหตุเป็นคนร้ายและได้ใช้อาวุธปืนยิง ส.ต.อ. น. ถึงแก่ความตายถือได้ว่าพลตำรวจ พ. ใช้ปืนยิง ส.ต.อ. น. เป็นไปในระหว่างปฏิบัติหน้าที่ราชการ ในฐานะเจ้าพนักงานตำรวจ เป็นการทำละเมิดต่อโจทก์ จำเลยในฐานะเป็นกรมในรัฐบาลและเป็นเจ้าสังกัดของพลตำรวจ พ. จึงมีหน้าที่ต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 76
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1392/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ที่ดินสาธารณสมบัติของแผ่นดิน: สิทธิครอบครองของเอกชนไม่มีผลยันรัฐ
ที่ดินที่ทางราชการสงวนไว้เพื่อสร้างโรงเรียนระดับประถมศึกษาโดยครูใหญ่เป็นผู้จับจองไว้ และต่อมาได้แจ้งการครอบครองตามแบบ ส.ค.1 ในนามของศึกษาธิการอำเภอ ขณะนั้นโรงเรียนระดับประถมศึกษาสังกัดกรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ต่อมาได้โอนมาสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดเพชรบูรณ์จำเลยร่วม จำเลยร่วมได้สร้างโรงเรียนในที่ดินดังกล่าวด้านทิศตะวันตก ส่วนทางด้านทิศตะวันออกอันเป็นที่ดินพิพาทเคยให้โจทก์เช่า ดังนี้ ที่ดินพิพาทเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินที่ทางราชการคือจำเลยร่วมสงวนไว้สำหรับสร้างโรงเรียน เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภทใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1304(3) (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 2798-2799/2523)
เมื่อที่ดินพิพาทเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดิน แม้โจทก์จะครอบครองมาและได้รับหนังสือรับรองการทำประโยชน์แล้วก็ไม่ได้สิทธิครอบครองและใช้ยันจำเลยร่วมไม่ได้
เมื่อที่ดินพิพาทเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดิน แม้โจทก์จะครอบครองมาและได้รับหนังสือรับรองการทำประโยชน์แล้วก็ไม่ได้สิทธิครอบครองและใช้ยันจำเลยร่วมไม่ได้