คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
รัฐมนตรี

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 44 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8363/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งปิดป่าโดยรัฐมนตรีชอบด้วยกฎหมาย ไม่เป็นละเมิด สิทธิเรียกร้องค่าชดเชยต้องยื่นตามขั้นตอน
โจทก์บรรยายฟ้องพอสรุปได้ว่าการประกาศยกเลิกสัมปทานทำไม้ของจำเลยทั้งสองที่มีต่อโจทก์ไม่เข้าหลักเกณฑ์ตามมาตรา 68 ทวิ แห่งพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 การกระทำของจำเลยทั้งสองเป็นการจงใจกระทำผิดกฎหมายผิดสัญญาและเป็นการละเมิดต่อโจทก์และเรียกค่าเสียหายตามฟ้องอันเป็นการฟ้องให้จำเลยทั้งสองรับผิดต่อโจทก์ในลักษณะละเมิดและผิดสัญญามิใช่เป็นการฟ้องเรียกเงินชดเชยความเสียหายเพียงประการเดียวกรณีไม่อยู่ในบังคับของพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484มาตรา 68 ทศ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองได้ คำว่า "สัมปทาน" ตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถานพ.ศ. 2525 หมายถึง การอนุญาตให้มีสิทธิที่จะทำได้แต่ผู้เดียวในกิจการบางอย่างเช่นเหมืองแร่และป่าไม้และตามมาตรา 63 แห่งพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 ได้บัญญัติไว้ว่า "ภายใต้บังคับบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้ รัฐบาลมีอำนาจให้สัมปทานในการทำไม้ชนิดใด หรือเก็บของป่าอย่างใดโดยมีขอบเขตเพียงใดและในสัมปทานนั้นจะให้มีข้อกำหนดและเงื่อนไขอย่างใดก็ได้"เนื้อความสัมปทานทำไม้ของห้าม เป็นเรื่องที่รัฐบาลโดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์จำเลยที่ 1 ให้บริษัทตากทำไม้ จำกัดโจทก์เข้าทำไม้หวงห้ามภายในเขตพื้นที่ที่กำหนด โดยกำหนดเวลาและเงื่อนไขให้โจทก์ต้องปฏิบัติด้วย และตามข้อกำหนดในสัมปทานโจทก์เป็นผู้ได้รับผลประโยชน์ส่วนใหญ่โดยเสียผลตอบแทนให้รัฐบาลเพียงเล็กน้อยเป็นเงินค่าภาคหลวงและค่าตอบแทนตามที่กำหนดไว้ในข้อ 5 ของสัมปทาน การให้สัมปทานเป็นวิธีการอนุญาตวิธีหนึ่งซึ่งผู้ได้รับสัมปทานมีสิทธิที่จะทำกิจการที่ได้รับสัมปทานโดยไม่ผิดกฎหมาย เช่นเดียวกับการได้รับใบอนุญาตให้มีอาวุธปืนดังนี้ สัมปทานทำไม้ตามฟ้องจึงเป็นเอกสารการอนุญาตให้โจทก์มีสิทธิทำไม้ได้โดยไม่ผิดกฎหมายเท่านั้น มิใช่สัญญาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ การออกคำสั่งของจำเลยที่ 1 ที่ให้สัมปทานตามฟ้องสิ้นสุดลงเป็นการออกโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 68 ทวิ แห่งพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 ซึ่งเป็นคำสั่งที่ออกโดยชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งในคำสั่งดังกล่าวที่ได้ระบุเหตุผลไว้ชัดแจ้งว่าเนื่องจากปัจจุบันนี้พื้นที่ป่าไม้ถูกทำลายและเสื่อมโทรมลงจนเป็นเหตุให้เกิดสภาวะการขาดความสมดุลของสภาพแวดล้อม กรณีเป็นการจำเป็นต้องใช้พื้นที่ป่าไม้ในเขตสัมปทาน เมื่อไม่ปรากฏหลักฐานหรือข้อเท็จจริงที่จะแสดงว่า จำเลยทั้งสองออกคำสั่งเป็นการกลั่นแกล้งโจทก์ การออกคำสั่งดังกล่าวเป็นการออกโดยกฎหมายให้อำนาจไว้ จึงเป็นคำสั่งที่ออกโดยชอบด้วยกฎหมายโจทก์ได้ยื่นคำร้องเรียกร้องเงินชดเชยความเสียหายต่ออธิบดีกรมป่าไม้ตามพระราชบัญญัติป่าไม้ มาตรา 68 อัฎฐแล้ว แต่โจทก์ได้รับชดใช้ค่าเสียหายส่วนนี้เพียงบางส่วน โจทก์ไม่พอใจ จึงยื่นอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีตามมาตรา 68 ทศ และได้นำคดีมาฟ้องจำเลยทั้งสองในขณะที่รัฐมนตรียังไม่ได้มีคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์และยังไม่พ้นกำหนดเวลาที่จะวินิจฉัย การที่โจทก์มายื่นฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นคดีนี้ก่อนที่รัฐมนตรีจะได้วินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์หรือก่อนที่จะพ้นกำหนดเวลาพิจารณาอุทธรณ์ของโจทก์ซึ่งเป็นการยื่นฟ้องที่ผิดขั้นตอนของบทบัญญัติกฎหมายดังกล่าวโจทก์จึงยังไม่มีสิทธินำคดีมาฟ้องศาลในส่วนที่เกี่ยวกับเงินชดเชยค่าจ้างคนงานได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3753/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีละเมิดต่อที่ราชพัสดุ: ต้องเป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง หรือผู้ได้รับมอบหมาย
ที่ดินที่ตั้งโรงเรียนพิพาทเป็นที่ราชพัสดุตามพระราชบัญญัติที่ราชพัสดุพ.ศ.2518มาตรา4ซึ่งตามมาตรา5ประกอบด้วยมาตรา11ให้กระทรวงการคลังเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์เมื่อเหตุละเมิดเป็นการกระทำต่อที่ราชพัสดุซึ่งเป็นอำนาจของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเป็นผู้มีอำนาจฟ้องเมื่อไม่ปรากฏว่ารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้มอบหมายให้โจทก์ฟ้องคดีโจทก์ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสาม ศาลชั้นต้นวินิจฉัยให้จำเลยทั้งสามรับผิดฐานละเมิดจำเลยที่2และที่3อุทธรณ์โจทก์ไม่ได้อุทธรณ์และไม่ได้แก้อุทธรณ์ในประเด็นความรับผิดตามสัญญาของจำเลยที่1ประเด็นความรับผิดตามสัญญาของจำเลยที่1จึงยุติในชั้นอุทธรณ์แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5123/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเช่าช่วงทำเหมือง: สัญญาผูกพันจนกว่ารัฐมนตรีไม่อนุญาต และอายุความฟ้องละเมิดสัญญา
ตาม พ.ร.บ.แร่ พ.ศ.2510 มาตรา 76 และ 77 บัญญัติห้ามผู้ถือประทานบัตรยอมให้ผู้อื่นรับช่วงการทำเหมือง เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีหรือผู้ที่รัฐมนตรีมอบหมาย และให้ผู้ถือประทานบัตรยื่นคำขอต่อทรัพยากรธรณีประจำท้องที่ และให้รัฐมนตรีหรือผู้ที่รัฐมนตรีมอบหมายเป็นผู้ออกใบอนุญาตให้มีการรับช่วงการทำเหมืองให้ตามที่จะพิจารณาเห็นสมควร บทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวจึงมิได้ห้ามการรับช่วงทำเหมืองโดยเด็ดขาด หากรัฐมนตรีอนุญาตก็ย่อมรับช่วงการทำเหมืองได้ ดังนั้นสัญญาเช่าช่วงหรือรับช่วงทำเหมืองพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงเกิดขึ้นแล้วและมีผลใช้บังคับ ส่วนกรณีที่รัฐมนตรีจะอนุญาตหรือไม่เป็นอีกส่วนหนึ่งต่างหาก ซึ่งหากรัฐมนตรีไม่อนุญาต การชำระหนี้ตามสัญญาดังกล่าวก็อาจเป็นพ้นวิสัยเท่านั้น แม้โจทก์จะมีบิดาเป็นคนต่างด้าวหรือไม่ก็ตามก็เป็นเพียงเงื่อนไขในการพิจารณาอนุญาตของรัฐมนตรี เมื่อรัฐมนตรียังไม่มีคำสั่งไม่อนุญาตให้มีการเช่าช่วงทำเหมืองพิพาท สัญญาเช่าช่วงหรือรับช่วงทำเหมืองพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยก็มีผลผูกพันให้คู่สัญญาไปดำเนินการยื่นคำขออนุญาตรับช่วงทำเหมืองพิพาทตามกฎหมายต่อไป
การที่โจทก์ฟ้องขอให้บังคับตามสัญญารับช่วงทำเหมืองหิน และขอให้ชดใช้ค่าเสียหาย โดยอ้างเหตุที่จำเลยเข้าทำเหมืองเสียเองเป็นการละเมิดก็ตามเป็นการฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการขาดประโยชน์ตามสัญญาอย่างหนึ่งซึ่งเป็นกรณีที่ไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา193/30 จำเลยบอกเลิกสัญญาทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายเมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม2522 นับถึงวันฟ้องยังไม่ถึง 10 ปี คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5123/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าช่วงทำเหมือง: ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าสัญญาเกิดขึ้นได้ หากยังไม่ได้รับคำสั่งไม่อนุญาตจากรัฐมนตรี
ตามพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2510 มาตรา 76 และ 77 บัญญัติห้ามผู้ถือประทานบัตรยอมให้ผู้อื่นรับช่วงการทำเหมือง เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีหรือผู้ที่รัฐมนตรีมอบหมาย และให้ผู้ถือประทานบัตรยื่นคำขอต่อทรัพยากรธรณีประจำท้องที่ และให้รัฐมนตรีหรือผู้ที่รัฐมนตรีมอบหมายเป็นผู้ออกใบอนุญาตให้มีการรับช่วงการทำเหมืองให้ตามที่จะพิจารณาเห็นสมควร บทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว จึงมิได้ห้ามการรับช่วงทำเหมืองโดยเด็ดขาด หากรัฐมนตรีอนุญาตก็ย่อมรับช่วงการทำเหมืองได้ ดังนั้นสัญญาเช่าช่วงหรือรับช่วงทำเหมืองพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงเกิดขึ้นแล้วและมีผลใช้บังคับ ส่วนกรณีที่รัฐมนตรีจะอนุญาตหรือไม่เป็นอีกส่วนหนึ่งต่างหาก ซึ่งหากรัฐมนตรีไม่อนุญาต การชำระหนี้ตามสัญญาดังกล่าวก็อาจเป็นพ้นวิสัยเท่านั้น แม้โจทก์จะมีบิดาเป็นคนต่างด้าวหรือไม่ก็ตามก็เป็นเพียงเงื่อนไขในการพิจารณาอนุญาตของรัฐมนตรี เมื่อรัฐมนตรียังไม่มีคำสั่งไม่อนุญาตให้มีการเช่าช่วงทำเหมืองพิพาทสัญญาเช่าช่วงหรือรับช่วงทำเหมืองพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยก็มีผลผูกพันให้คู่สัญญาไปดำเนินการยื่นคำขออนุญาตรับช่วงทำเหมืองพิพาทตามกฎหมายต่อไป การที่โจทก์ฟ้องขอให้บังคับตามสัญญารับช่วงทำเหมืองหินและขอให้ชดใช้ค่าเสียหาย โดยอ้างเหตุที่จำเลยเข้าทำเหมืองเสียเองเป็นการละเมิดก็ตามเป็นการฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการขาดประโยชน์ตามสัญญาอย่างหนึ่งซึ่งเป็นกรณีที่ไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะจึงมีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30จำเลยบอกเลิกสัญญาทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายเมื่อวันที่ 6กรกฎาคม 2522 นับถึงวันฟ้องยังไม่ถึง 10 ปี คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3535/2536 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิฟ้องคดีเวนคืน: ต้องอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีก่อน จึงมีสิทธิฟ้องคดีต่อศาล
พ.ร.บ. เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 ซึ่งใช้บังคับในขณะเกิดกรณีพิพาทกำหนดสิทธิฟ้องคดีต่อศาลของผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนตามมาตรา 18 ไว้เป็นการเฉพาะในมาตรา 26 ว่า ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนที่จะฟ้องคดีต่อศาลได้นั้นจะต้องเป็นผู้ที่ไม่พอใจคำวินิจฉัยของรัฐมนตรีตามมาตรา 25หรือในเมื่อรัฐมนตรีมิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ให้เสร็จสิ้นภายในกำหนดเวลาตามมาตรา 25วรรคสอง ดังนั้นโจทก์ซึ่งเป็นผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนตามมาตรา 18 จึงต้องดำเนินการอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีภายในเวลาที่กำหนดตามมาตรา 25 วรรคแรกแต่โจทก์มิได้อุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีตามมาตรา 25 วรรคแรก เสียก่อน จึงไม่มีสิทธิฟ้องคดีต่อศาล
คำว่ามีสิทธิอุทธรณ์ตามมาตรา 25 หมายความเพียงว่าเป็นสิทธิของผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนที่จะอุทธรณ์หรือไม่อุทธรณ์ก็ได้ มิได้หมายความว่าผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนมีสิทธิเลือกอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีหรือฟ้องคดีต่อศาล เพราะสิทธิการฟ้องคดีต่อศาลได้มีบัญญัติไว้แล้วในมาตรา 26

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3535/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์: ต้องอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรี ก่อนฟ้องคดีต่อศาล
พระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 กำหนดสิทธิฟ้องคดีต่อศาลของผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนตามมาตรา 18 ไว้เป็นการเฉพาะในมาตรา 26 วรรคแรก ซึ่งแสดงว่า ผู้ที่จะฟ้องคดีต่อศาลได้นั้นจะต้องเป็นผู้ที่ไม่พอใจ คำวินิจฉัยของรัฐมนตรีตามมาตรา 25 หรือในเมื่อรัฐมนตรี มิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ให้เสร็จสิ้นภายในกำหนดเวลาตาม มาตรา 25 วรรคสอง ดังนั้น โจทก์ซึ่งเป็นผู้มีสิทธิได้รับเงินทดแทนตามมาตรา 18 จึงต้องดำเนินการตามมาตรา 25 วรรคแรก แต่เมื่อโจทก์มิได้อุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีตามมาตรา 25 วรรคแรก เสียก่อน โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องคดีต่อศาล คำว่ามีสิทธิอุทธรณ์ตามมาตรา 25 แห่งพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 นั้น หมายความเพียงว่าเป็นสิทธิของผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนที่จะอุทธรณ์หรือไม่อุทธรณ์ก็ได้แต่มิได้หมายความว่าโจทก์มีสิทธิ เลือกอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีหรือฟ้องคดีต่อศาลก็ได้ เพราะสิทธิการฟ้องคดีต่อศาลได้มีบัญญัติไว้แล้วในมาตรา 26

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3535/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิฟ้องคดีเวนคืนต้องอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีก่อน หากไม่ทำ ไม่มีสิทธิฟ้องต่อศาล
พระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530ซึ่งใช้บังคับในขณะเกิดกรณีพิพาทกำหนดสิทธิฟ้องคดีต่อศาลของผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนตามมาตรา 18ไว้เป็นการเฉพาะในมาตรา 26 ว่า ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนที่จะฟ้องคดีต่อศาลได้นั้นจะต้องเป็นผู้ที่ไม่พอใจคำวินิจฉัยของรัฐมนตรีตามมาตรา 25 หรือในเมื่อรัฐมนตรีมิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ให้เสร็จสิ้นภายในกำหนดเวลาตามมาตรา 25 วรรคสอง ดังนั้นโจทก์ซึ่งเป็นผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนตามมาตรา 18 จึงต้องดำเนินการอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีภายในเวลาที่กำหนดตามมาตรา 25 วรรคแรก แต่โจทก์มิได้อุทธรณ์ ต่อรัฐมนตรีตามมาตรา 25 วรรคแรก เสียก่อน จึงไม่มีสิทธิ ฟ้องคดีต่อศาล คำว่ามีสิทธิอุทธรณ์ ตามมาตรา 25 หมายความเพียงว่าเป็นสิทธิของผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนที่จะอุทธรณ์หรือไม่อุทธรณ์ก็ได้ มิได้หมายความว่าผู้มีสิทธิได้รับเงิน ค่าทดแทนมีสิทธิเลือกอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีหรือฟ้องคดีต่อศาล เพราะสิทธิการฟ้องคดีต่อศาลได้มีบัญญัติไว้แล้วในมาตรา 26

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3535/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิฟ้องคดีเวนคืนต้องอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีก่อน ตาม พ.ร.บ.เวนคืนฯ มาตรา 26
ตามพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 ได้กำหนดสิทธิฟ้องคดีต่อศาลของผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนไว้เป็นการเฉพาะคือผู้ที่จะฟ้องคดีต่อศาลได้จะต้องเป็นผู้ที่ไม่พอใจคำวินิจฉัยของรัฐมนตรี หรือเมื่อรัฐมนตรีมิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ให้เสร็จสิ้นภายในเวลากำหนด เมื่อโจทก์มิได้อุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีเสียก่อนโจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องคดีต่อศาล คำว่า "มีสิทธิอุทธรณ์" ตามมาตรา 25 นั้น หมายความเพียงว่าเป็นสิทธิของผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนที่จะอุทธรณ์หรือไม่อุทธรณ์ก็ได้ มิได้หมายความว่าโจทก์มีสิทธิเลือกอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรี หรือฟ้องคดีต่อศาล เพราะสิทธิฟ้องคดีต่อศาลได้มีบัญญัติไว้แล้วในมาตรา 26

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3479/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกดอกเบี้ยสูงกว่าอัตราปกติของสถาบันการเงินต้องมีการนำสืบหลักฐานยืนยันอัตราที่ได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรี
การที่โจทก์อ้างว่า โจทก์เป็นสถาบันการเงินมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยสูงกว่าอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ตาม พ.ร.บ. ดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงิน พ.ศ. 2523 แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2524ซึ่งให้อำนาจรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังประกาศกำหนดอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยที่สถาบันการเงินอาจคิดจากผู้กู้ยืมสูงกว่าร้อยละ 15 ต่อปี แต่ไม่เกินร้อยละ 19 ต่อปีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้ประกาศให้สถาบันการเงินมีสิทธิคิดดอกเบี้ยเงินกู้ตามกฎหมายดังกล่าวแล้ว แม้ประกาศดังกล่าวหากมีอยู่จริงไม่ใช่ข้อกฎหมายที่ศาลจะรับรู้เอง และมิใช่เป็นข้อเท็จจริงที่ศาลรับรู้ได้เอง แต่เป็นข้อเท็จจริงที่โจทก์จะต้องนำสืบ เมื่อโจทก์ไม่ได้นำสืบให้ปรากฏ ข้อเท็จจริงจึงฟังไม่ได้ว่าโจทก์มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยจากจำเลยในอัตราตามที่โจทก์อ้าง ซึ่งเกินไปจากอัตราปกติตามที่กฎหมายกำหนด.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 613/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เสรีภาพแสดงความคิดเห็นของรัฐมนตรี – การวิจารณ์การสั่งคดีของอัยการ
การที่จำเลยให้สัมภาษณ์หนังสือพิมพ์ว่า "การที่อัยการเขต 8(หมายถึง ตัว โจทก์) สั่งกลับคำสั่งของอัยการจังหวัดไม่ให้ฟ้องนาย โสภณกิจประสาน เป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย หากก่อให้เกิดบรรทัดฐานเช่นนี้ จะทำให้เกิดการทุจริตกันอย่างใหญ่โต..."และว่า จำเลยจะสอบสวนกรมอัยการซึ่ง ทุก วันนี้เละเทะจนไม่น่าจะปล่อยปละละเลยอีกต่อไปได้ ประเด็นที่จะสอบคืออัยการพิเศษประจำเขต 8 สั่งไม่ฟ้องนาย โสภณ ไม่รู้ว่าไปสอบสวนเพิ่มเติมจากพนักงานสอบสวนที่ไหนมาสั่งคดีสำคัญ และเรื่องนี้จำเลยจะจัดการสะสาง ทั้งตัว เล็กตัว ใหญ่ และว่า จำเลยรู้ว่ามีการรับเงินรับทองนั้น เป็นการให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับเรื่องที่โจทก์สั่งไม่ฟ้องนาย โสภณกิจประสานแม้โจทก์จะอ้างว่ามีอำนาจสั่งไม่ฟ้องนาย โสภณ แต่ การสั่งไม่ฟ้องมีพฤติการณ์ที่ทำให้น่าสงสัยหลายประการ และจำเลยเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทยในขณะนั้นและเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ได้รับการร้องเรียนจากภริยาและมารดาผู้ตายว่า การที่โจทก์มีคำสั่งดังกล่าวเป็นการ ไม่ชอบด้วยกฎหมาย จำเลยเห็นว่าพฤติการณ์ในการสั่งไม่ฟ้องเป็นที่น่าสงสัยว่าจะเป็นการไม่ชอบประกอบกับเป็นคดีที่มีอิทธิพลซึ่งประชาชนรวมทั้งสื่อมวลชนให้ความสนใจ เมื่อผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์ไปสัมภาษณ์ความเห็นของจำเลยจำเลยก็ให้สัมภาษณ์ไปตาม ความคิดเห็นของตน แม้ถ้อยคำที่ใช้ จะรุนแรงอยู่บ้าง แต่ก็เห็นได้ว่า ได้แสดงความคิดเห็นโดยสุจริตและติ ชมด้วย ความเป็นธรรม อันเป็นวิสัยของจำเลยในฐานะ ที่เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย มีหน้าที่บำบัดทุกข์บำรุงสุขให้แก่ประชาชน และในฐานะ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพึงกระทำเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม จึงไม่เป็นความผิดฐาน หมิ่นประมาทและดูหมิ่นเจ้าพนักงานตามที่โจทก์ฟ้อง คดีที่ผู้เสียหายซึ่งเป็นราษฎรเป็นโจทก์ฟ้องเอง และต้องห้ามฎีกาโดย มาตรา 218219 และ 220 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ถ้า อธิบดีกรมอัยการลงลายมือชื่อรับรองฎีกาว่ามีเหตุอันควรที่ศาลสูงสุดจะได้ วินิจฉัยก็รับฎีกาไว้พิจารณาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 221.
of 5