คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
รัฐวิสาหกิจ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 171 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8926/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิค่าล่วงเวลาของพนักงานรัฐวิสาหกิจงานขนส่ง: ไม่มีสิทธิหากนายจ้างไม่ได้ตกลงจ่าย
จำเลยเป็นรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายประกอบกิจการงานขนส่งเดินรถโดยสารประจำทาง โจทก์เป็นพนักงานประจำรายเดือนตำแหน่งพนักงานขับรถจึงเป็นพนักงานซึ่งทำงานขนส่ง ซึ่งตามระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง มาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2534 ข้อ 28 กำหนดว่า พนักงานที่ทำงานขนส่งไม่มีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลาตามข้อ 25 และ 26เว้นแต่รัฐวิสาหกิจซึ่งเป็นนายจ้างตกลงจ่ายค่าล่วงเวลาให้แก่พนักงาน แม้จำเลยมีคำสั่งเกี่ยวกับเบี้ยเลี้ยงพิเศษและอัตราเงินส่วนแบ่ง ให้พนักงานขับรถโดยสารและพนักงานเก็บค่าโดยสารได้รับเบี้ยเลี้ยงพิเศษเนื่องจากทำงานเกินวันละ 8 ชั่วโมง อันเป็นเวลาทำงานตามปกติและได้รับเงินส่วนแบ่งจากจำนวนตั๋วที่จำหน่ายได้ก็ตามแต่คำสั่งดังกล่าวมิใช่ข้อตกลงจ่ายค่าล่วงเวลาให้แก่พนักงานขับรถโดยสารและพนักงานเก็บค่าโดยสาร โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8926/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิค่าล่วงเวลาพนักงานรัฐวิสาหกิจขนส่ง: ต้องมีข้อตกลง จ่ายเบี้ยเลี้ยง/ส่วนแบ่ง ไม่ถือเป็นค่าล่วงเวลา
แม้ระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง มาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจฯ ที่ออกตามความในพระราชบัญญัติพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ฯ ข้อ 25 และข้อ 26 จะกำหนดให้รัฐวิสาหกิจจ่ายค่าล่วงเวลาให้แก่พนักงานที่ทำงานเกินเวลาทำงานปกติหรือทำงานในวันหยุดเกินเวลาปกติของวันทำงานก็ตาม แต่ข้อ 28 ก็กำหนดว่าพนักงานที่ทำงานขนส่งไม่มีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลาตามข้อ 25 และข้อ 26 เว้นแต่รัฐวิสาหกิจซึ่งเป็นนายจ้างตกลงจ่ายค่าล่วงเวลาให้แก่พนักงาน
จำเลยเป็นรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายประกอบกิจการงานขนส่งเดินรถโดยสารประจำทาง โจทก์เป็นพนักงานประจำรายเดือนตำแหน่งพนักงานขับรถ จึงเป็นพนักงานซึ่งทำงานขนส่ง และแม้จำเลยมีคำสั่งเกี่ยวกับเบี้ยเลี้ยงพิเศษและอัตราเงินส่วนแบ่งให้พนักงานขับรถโดยสารและพนักงานเก็บค่าโดยสารได้รับเบี้ยเลี้ยงพิเศษเนื่องจากทำงานเกินวันละ 8 ชั่วโมง อันเป็นเวลาทำงานปกติและได้รับเงินส่วนแบ่งจากจำนวนตั๋วที่จำหน่ายได้ก็ตาม แต่คำสั่งดังกล่าวมิใช่ข้อตกลงจ่ายค่าล่วงเวลาให้แก่พนักงานขับรถโดยสารและพนักงานเก็บค่าโดยสารโจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8755-8784/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงสถานะเป็นรัฐวิสาหกิจกระทบสิทธิค่าชดเชย พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานไม่ครอบคลุม
กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ซึ่งเป็นองค์กรของรัฐได้เข้าถือหุ้นในบริษัทจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นสถาบันการเงินและเป็นบริษัทมหาชน จำกัด เกินกว่าร้อยละ 50 ตั้งแต่ วันที่ 1 กันยายน 2541 สถานภาพของจำเลยที่ 1 จึงเปลี่ยนมาเป็นรัฐวิสาหกิจตั้งแต่วันดังกล่าวตาม พ.ร.บ. วิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2502 มาตรา 4 ทั้ง พ.ร.บ. พนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2534 มาตรา 4 (2) ซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น และ พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 4 (2) บัญญัติมิให้นำ พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงานดังกล่าวมาใช้บังคับแก่รัฐวิสาหกิจ จึงไม่อาจนำ มาตรา 13 ของ พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาใช้บังคับนับแต่จำเลยที่ 1 เปลี่ยนเป็นรัฐวิสาหกิจ จำเลยที่ 1 ไม่ต้องรับไปทั้งสิทธิและหน้าที่ที่โจทก์มีต่อจำเลยที่ 1 ก่อนจะเปลี่ยนเป็นรัฐวิสาหกิจ โดยไม่ต้องรับสิทธิของโจทก์ ที่จะได้รับค่าชดเชยตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 สิทธิของโจทก์จะได้รับค่าชดเชยเพียงใดต้องเป็นไปตาม พ.ร.บ. รัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2534 และระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง มาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2534 ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 เคยจัดสิทธิประโยชน์ไว้สูงกว่าระเบียบดังกล่าว โจทก์ถูกเลิกจ้างหลังจากจำเลยที่ 1 เปลี่ยนเป็นรัฐวิสาหกิจแล้ว จึงมีสิทธิได้รับค่าชดเชยตามพระราชบัญญัติ และระเบียบ ดังกล่าว ข้อ 45 เมื่อโจทก์รับค่าชดเชยตาม ข้อ 45 ไปครบถ้วนแล้ว จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าชดเชยที่ เพิ่มขึ้นตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 84/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิค่าชดเชยพนักงานรัฐวิสาหกิจหลังเปลี่ยนสถานะจากบริษัทเอกชน กฎหมายที่ใช้บังคับและข้อยกเว้น
เดิมจำเลยเป็นสถาบันการเงินและเป็นบริษัทมหาชนจำกัดต่อมาเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2541 กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินเข้าแทรกแซงกิจการของจำเลยโดยถือหุ้นเกินร้อยละ 50 ฐานะของจำเลยจึงเปลี่ยนเป็นรัฐวิสาหกิจตั้งแต่วันดังกล่าวตาม พ.ร.บ.วิธีการงบประมาณ พ.ศ.2502มาตรา 4 และ พ.ร.บ.พนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2534 มาตรา 4 (2)โจทก์ย่อมเปลี่ยนจากการเป็นลูกจ้างจำเลยในฐานะบริษัทมหาชนจำกัดมาเป็นพนักงานของจำเลยในฐานะรัฐวิสาหกิจตั้งแต่วันดังกล่าวเช่นเดียวกัน สิทธิของโจทก์ที่จะได้รับค่าชดเชยกรณีถูกเลิกจ้างหรือไม่เพียงใด จึงต้องบังคับตามบทบัญญัติของ พ.ร.บ.พนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2534 โดยไม่บังคับตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ลงวันที่ 16 เมษายน 2515 ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามความในข้อ 2 และข้อ 14 แห่งประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 ลงวันที่ 16 มีนาคม2515 เพราะมีประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กำหนดกิจการที่ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 ลงวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2515 ไม่ใช้บังคับ กำหนดไว้ในข้อ 2 ให้รัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์เป็นกิจการที่ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 ลงวันที่ 16 มีนาคม 2515 ไม่ใช้บังคับ ประกาศกระทรวงมหาดไทยฉบับนี้ประกาศ ณ วันที่ 12 กันยายน 2534 จึงเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในวันที่จำเลยมีฐานะเป็นรัฐวิสาหกิจ แม้ต่อมาเมื่อ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานพ.ศ. 2541 มีผลใช้บังคับและเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับขณะที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ได้มีการยกเลิกประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 ลงวันที่ 16 มีนาคม 2515 ไปแล้วตามมาตรา 3 (1) ก็ตาม แต่มาตรา 4 (2) ก็ได้บัญญัติมิให้นำ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาใช้บังคับแก่รัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ กรณีจึงไม่อาจนำมาตรา 13 ของ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานพ.ศ. 2541 มาใช้บังคับแก่กรณีของโจทก์ได้
ตาม พ.ร.บ.พนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2534 และระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง มาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2534 ข้อ 45 (3) กำหนดว่า พนักงานซึ่งทำงานติดต่อกันครบ 3 ปี ขึ้นไปโดยรวมวันหยุด วันลา และวันที่รัฐวิสาหกิจสั่งให้หยุดงานเพื่อประโยชน์ของรัฐวิสาหกิจ ให้รัฐวิสาหกิจจ่ายค่าชดเชยแก่พนักงานไม่น้อยกว่าเงินเดือนค่าจ้างอัตราสุดท้าย 180 วัน แม้ข้อ 48 วรรคสอง ในหมวด 7 บทเฉพาะกาล ของระเบียบดังกล่าวจะกำหนดว่า รัฐวิสาหกิจใดจัดสิทธิประโยชน์ให้แก่พนักงานสูงกว่าสิทธิประโยชน์ตามระเบียบนี้แล้ว ให้รัฐวิสาหกิจนั้นถือปฏิบัติตามระเบียบ ข้อบังคับ หรือข้อกำหนดเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์เดิมต่อไปได้ และคณะรัฐมนตรีมีมติให้สถาบันการเงินที่เป็นรัฐวิสาหกิจเพราะกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินเข้าแทรกแซงได้รับการยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามระเบียบของทางราชการในเรื่องเงินเดือน สวัสดิการและผลประโยชน์ตอบแทนของพนักงาน โดยให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และหรือเงื่อนไขในการจ้างเดิมของสถาบันการเงินนั้น ซึ่งเป็นระเบียบและมติที่มีเจตนาให้ลูกจ้างที่เป็นพนักงานรัฐวิสาหกิจโดยผลของการเปลี่ยนฐานะของจำเลยไม่ต้องเสียสิทธิประโยชน์ที่เคยได้รับอยู่ก่อนก็ตาม แต่ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยในขณะที่มีฐานะเป็นบริษัทมหาชนจำกัดที่เป็นหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการจ้างเดิมก็กำหนดว่า พนักงานซึ่งทำงานกับจำเลยติดต่อกันครบ 3 ปี ขึ้นไปโดยรวมวันหยุด วันลา และวันที่จำเลยสั่งให้หยุดงานเพื่อประโยชน์ของจำเลย จำเลยจะจ่ายค่าชดเชยให้ไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 180 วัน ซึ่งค่าชดเชยที่โจทก์มีสิทธิได้รับตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานดังกล่าวก็เท่ากับค่าชดเชยที่โจทก์มีสิทธิจะได้รับตามระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง มาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2534ข้อ 45 (3) โจทก์จึงไม่เสียสิทธิประโยชน์ที่จะพึงได้รับค่าชดเชย โจทก์ซึ่งทำงานติดต่อกันครบ 3 ปี ขึ้นไปย่อมมีสิทธิได้ค่าชดเชยตาม พ.ร.บ.พนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์พ.ศ. 2534 และระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง มาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2534 ข้อ 45 (3) เท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย180 วัน หาใช่มีสิทธิได้รับค่าชดเชยเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 240 วัน ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 84/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สถานะเปลี่ยนจากบริษัทเป็นรัฐวิสาหกิจ กฎหมายแรงงานรัฐวิสาหกิจใช้บังคับ ค่าชดเชย 180 วัน
เดิมจำเลยเป็นสถาบันการเงินและเป็นบริษัทมหาชนจำกัดต่อมาเมื่อวันที่ 14สิงหาคม 2541 กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินเข้าแทรกแซงกิจการของจำเลยโดยถือหุ้นเกินร้อยละ 50 ฐานะของจำเลยจึงเปลี่ยนเป็นรัฐวิสาหกิจตั้งแต่วันดังกล่าวตามพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2502 มาตรา 4 และพระราชบัญญัติพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2534 มาตรา 4(2) โจทก์ย่อมเปลี่ยนจากการเป็นลูกจ้างจำเลยในฐานะบริษัทมหาชนจำกัดมาเป็นพนักงานของจำเลยในฐานะรัฐวิสาหกิจตั้งแต่วันดังกล่าวเช่นเดียวกัน สิทธิของโจทก์ที่จะได้รับค่าชดเชยกรณีถูกเลิกจ้างหรือไม่เพียงใด จึงต้องบังคับตามบทบัญญัติของพระราชบัญญัติพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2534 โดยไม่บังคับตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ลงวันที่ 16 เมษายน 2515 ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามความในข้อ 2 และข้อ 14 แห่งประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 ลงวันที่ 16 มีนาคม 2515เพราะมีประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กำหนดกิจการที่ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 ลงวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2515 ไม่ใช้บังคับ กำหนดไว้ในข้อ 2 ให้รัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์เป็นกิจการที่ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 ลงวันที่ 16 มีนาคม 2515 ไม่ใช้บังคับ ประกาศกระทรวงมหาดไทยฉบับนี้ประกาศ ณ วันที่ 12 กันยายน 2534 จึงเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในวันที่จำเลยมีฐานะเป็นรัฐวิสาหกิจ แม้ต่อมาเมื่อพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานพ.ศ. 2541 มีผลใช้บังคับและเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับขณะที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ได้มีการยกเลิกประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 ลงวันที่ 16 มีนาคม 2515 ไปแล้วตามมาตรา 3(1) ก็ตาม แต่มาตรา 4(2) ก็ได้บัญญัติมิให้นำพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานพ.ศ. 2541 มาใช้บังคับแก่รัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์กรณีจึงไม่อาจนำมาตรา 13 ของพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาใช้บังคับแก่กรณีของโจทก์ได้
ตามพระราชบัญญัติพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2534 และระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง มาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2534 ข้อ 45(3) กำหนดว่า พนักงานซึ่งทำงานติดต่อกันครบ 3 ปี ขึ้นไปโดยรวมวันหยุด วันลา และวันที่รัฐวิสาหกิจสั่งให้หยุดงานเพื่อประโยชน์ของรัฐวิสาหกิจ ให้รัฐวิสาหกิจจ่ายค่าชดเชยแก่พนักงานไม่น้อยกว่าเงินเดือนค่าจ้างอัตราสุดท้าย 180 วัน แม้ข้อ 48 วรรคสอง ในหมวด 7 บทเฉพาะกาล ของระเบียบดังกล่าวจะกำหนดว่า รัฐวิสาหกิจใดจัดสิทธิประโยชน์ให้แก่พนักงานสูงกว่าสิทธิประโยชน์ตามระเบียบนี้แล้ว ให้รัฐวิสาหกิจนั้นถือปฏิบัติตามระเบียบ ข้อบังคับ หรือข้อกำหนดเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์เดิมต่อไปได้ และคณะรัฐมนตรีมีมติให้สถาบันการเงินที่เป็นรัฐวิสาหกิจเพราะกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินเข้าแทรกแซงได้รับการยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามระเบียบของทางราชการในเรื่องเงินเดือน สวัสดิการและผลประโยชน์ตอบแทนของพนักงาน โดยให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และหรือเงื่อนไขในการจ้างเดิมของสถาบันการเงินนั้น ซึ่งเป็นระเบียบและมติที่มีเจตนาให้ลูกจ้างที่เป็นพนักงานรัฐวิสาหกิจโดยผลของการเปลี่ยนฐานะของจำเลยไม่ต้องเสียสิทธิประโยชน์ที่เคยได้รับอยู่ก่อนก็ตาม แต่ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยในขณะที่มีฐานะเป็นบริษัทมหาชนจำกัดที่เป็นหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการจ้างเดิมก็กำหนดว่า พนักงานซึ่งทำงานกับจำเลยติดต่อกันครบ 3 ปี ขึ้นไปโดยรวมวันหยุด วันลา และวันที่จำเลยสั่งให้หยุดงานเพื่อประโยชน์ของจำเลย จำเลยจะจ่ายค่าชดเชยให้ไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 180 วัน ซึ่งค่าชดเชยที่โจทก์มีสิทธิได้รับตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานดังกล่าวก็เท่ากับค่าชดเชยที่โจทก์มีสิทธิจะได้รับตามระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง มาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2534 ข้อ 45(3) โจทก์จึงไม่เสียสิทธิประโยชน์ที่จะพึงได้รับค่าชดเชย โจทก์ซึ่งทำงานติดต่อกันครบ 3 ปี ขึ้นไปย่อมมีสิทธิได้ค่าชดเชยตามพระราชบัญญัติพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2534 และระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง มาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.2534 ข้อ 45(3) เท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 180 วัน หาใช่มีสิทธิได้รับค่าชดเชยเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 240 วัน ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 84/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิค่าชดเชยพนักงานรัฐวิสาหกิจ: การเปลี่ยนแปลงสถานะจากบริษัทเอกชน ไม่เข้าข่ายกฎหมายคุ้มครองแรงงาน
เดิมจำเลยเป็นสถาบันการเงินและเป็นบริษัทมหาชนจำกัด ต่อมาวันที่ 14 สิงหาคม 2541 กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินเข้าแทรกแซงกิจการของจำเลยโดยถือหุ้นเกินร้อยละ 50 ฐานะของจำเลยจึงเปลี่ยนเป็นรัฐวิสาหกิจตั้งแต่วันดังกล่าวตามพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2502 มาตรา 4และพระราชบัญญัติพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2534 มาตรา 4(2)โจทก์ย่อมเปลี่ยนจากการเป็นลูกจ้างจำเลยในฐานะบริษัทมหาชนจำกัดมาเป็นพนักงานของจำเลยในฐานะรัฐวิสาหกิจตั้งแต่วันดังกล่าวเช่นเดียวกัน สิทธิของโจทก์ที่จะได้รับค่าชดเชยกรณีถูกเลิกจ้างหรือไม่เพียงใดต้องเป็นไปตามบทบัญญัติของพระราชบัญญัติพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ฯ ไม่บังคับ ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯ แห่งประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 ซึ่งกำหนดว่าให้รัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์เป็นกิจการที่ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 ไม่ใช้บังคับ อันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในวันที่จำเลยมีฐานะเป็นรัฐวิสาหกิจ แม้ต่อมาเมื่อพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานพ.ศ. 2541 มีผลใช้บังคับและเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับขณะที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ได้มีการยกเลิกประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 ไปแล้วตามมาตรา 3(1) ก็ตาม แต่มาตรา 4(2) ได้บัญญัติมิให้นำพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานฯ มาใช้บังคับแก่รัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ กรณีจึงไม่อาจนำมาตรา 13 ของพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานฯ มาใช้บังคับแก่กรณีของโจทก์ได้
ตามพระราชบัญญัติพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2534 และระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง มาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2534 ข้อ 45(3) กำหนดว่าพนักงานซึ่งทำงานติดต่อกันครบ 3 ปี ขึ้นไปโดยรวมวันหยุด วันลา และวันที่รัฐวิสาหกิจสั่งให้หยุดงานเพื่อประโยชน์ของรัฐวิสาหกิจ ให้รัฐวิสาหกิจจ่ายค่าชดเชยแก่พนักงานไม่น้อยกว่าเงินเดือนค่าจ้างอัตราสุดท้าย 180 วันแม้ข้อ 48 วรรคสอง ในหมวด 7 บทเฉพาะกาล ของระเบียบดังกล่าวจะกำหนดว่ารัฐวิสาหกิจใดจัดสิทธิประโยชน์ให้แก่พนักงานสูงกว่าสิทธิประโยชน์ตามระเบียบนี้แล้วให้รัฐวิสาหกิจนั้นถือปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับหรือข้อกำหนดเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์เดิมต่อไปได้ และคณะรัฐมนตรีมีมติให้สถาบันการเงินที่เป็นรัฐวิสาหกิจเพราะกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินเข้าแทรกแซงได้รับการยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามระเบียบของทางราชการในเรื่องเงินเดือน สวัสดิการ และผลประโยชน์ตอบแทนของพนักงานโดยให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และหรือเงื่อนไขในการจ้างเดิมของสถาบันการเงินนั้นซึ่งเป็นระเบียบและมติที่มีเจตนาให้ลูกจ้างที่เป็นพนักงานรัฐวิสาหกิจโดยผลของการเปลี่ยนฐานะของจำเลยไม่ต้องเสียสิทธิประโยชน์ที่เคยได้รับอยู่ก่อนก็ตามแต่ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยในขณะที่มีฐานะเป็นบริษัทมหาชนจำกัดที่เป็นหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการจ้างเดิมก็กำหนดว่าพนักงานซึ่งทำงานกับจำเลยติดต่อกันครบ 3 ปี ขึ้นไปโดยรวมวันหยุด วันลา และวันที่จำเลยสั่งให้หยุดงานเพื่อประโยชน์ของจำเลย จำเลยจะจ่ายค่าชดเชยให้ไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 180 วัน ซึ่งค่าชดเชยที่โจทก์สิทธิได้รับตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานดังกล่าวก็เท่ากับค่าชดเชยที่โจทก์มีสิทธิจะได้รับตามระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง มาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจฯ ข้อ 45(3) โจทก์จึงไม่เสียสิทธิประโยชน์ที่จะพึงได้รับค่าชดเชยแต่อย่างใด ดังนั้นโจทก์ซึ่งทำงานติดต่อกันครบ 3 ปี ขึ้นไปย่อมมีสิทธิได้ค่าชดเชยตามพระราชบัญญัติพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ฯ และระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง มาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจฯ ข้อ 45(3) เท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 180 วัน หาใช่มีสิทธิได้รับค่าชดเชยเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 240 วัน ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานฯ ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5489/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลของมติคณะรัฐมนตรีต่อสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจหลังเปลี่ยนสถานะ - เงินช่วยเหลือพิเศษและค่าจ้าง
++ เรื่อง คดีแรงงาน ++
++ คดีแดงที่ 5489-5494/2543
++ ทดสอบการทำงานในระบบ CW เพื่อค้นหาข้อมูลทาง online ++
++ ย่อข้อกฎหมายอย่างไม่เป็นทางการ
++ ขอชุดตรวจได้ที่งานย่อข้อกฎหมายระบบ CW โถงกลางชั้น 3 ++
++
++
++ ข้อเท็จจริงเป็นยุติว่า โจทก์ทั้งหกต่างเป็นลูกจ้างจำเลย ทำงานติดต่อกันมาคนละครบ 10 ปีขึ้นไป มีอายุครบเกณฑ์เกษียณอายุตามระเบียบของจำเลยในปี 2541 เดิมจำเลยเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทมหาชนจำกัด
++ มีข้อบังคับการทำงานเกี่ยวกับการพ้นสภาพจากการเป็นพนักงานเพราะเกษียณอายุ การจ่ายค่าชดเชยให้แก่พนักงานที่เกษียณอายุและการจ่ายเงินช่วยเหลือพิเศษให้แก่พนักงานที่ทำงานจนถึงเดือนธันวาคมว่า พนักงานที่มีอายุครบเกณฑ์เกษียณอายุในปีใดให้พ้นจากตำแหน่งหน้าที่ในวันที่ 31 ธันวาคมของปีนั้น โดยจำเลยจะจ่ายค่าชดเชยให้แก่พนักงานที่เกษียณอายุตามกฎหมายแรงงานและจะจ่ายเงินช่วยเหลือพิเศษให้แก่พนักงานที่ทำงานจนถึงเดือนธันวาคมตามที่คณะกรรมการบริหารกำหนดเป็นคราว ๆ
++ ซึ่งปรากฏว่า ในปี 2541 จำเลยจ่ายเงินช่วยเหลือพิเศษให้แก่พนักงานที่ทำงานจนถึงเดือนธันวาคม 2541 เท่ากับเงินเดือนคนละ 1 เดือน
++ ประมาณกลางปี 2541 ธนาคารแห่งประเทศไทยโดยกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินได้เข้าถือหุ้นของจำเลยเกินร้อยละห้าสิบ มีผลทำให้จำเลยเปลี่ยนสถานะเป็นรัฐวิสาหกิจและโจทก์ทั้งหกเป็นพนักงานรัฐวิสาหกิจต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ.2534 พระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.2518 พระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2502 และระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์เรื่อง มาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.2534
++ ซึ่งสรุปได้ว่า พนักงานที่เกษียณอายุในปีใดให้พ้นจากตำแหน่งในวันที่ 30 กันยายน ของปีนั้น และถ้าพนักงานนั้นได้ปฏิบัติงานในช่วงก่อนเกษียณอายุติดต่อกันครบ 5 ปีขึ้นไป ให้ได้รับเงินเพื่อตอบแทนความชอบในการทำงานเท่ากับเงินเดือนค่าจ้างอัตราสุดท้าย180 วัน ถ้ารัฐวิสาหกิจใดมีระเบียบในการจ่ายเงินค่าชดเชยกรณีพ้นจากตำแหน่งเพราะเหตุเกษียณอายุ ให้ถือว่าเงินดังกล่าวเป็นเงินส่วนหนึ่งหรือทั้งหมดที่จ่ายให้เพื่อตอบแทนความชอบในการทำงานแล้ว
++ ต่อมาวันที่ 18 สิงหาคม 2541 จำเลยออกคำสั่งให้โจทก์ทั้งหกพ้นจากการเป็นพนักงานเนื่องจากเกษียณอายุในวันที่ 1ตุลาคม 2541 ครั้นเดือนกันยายน 2541 กระทรวงการคลังทำเรื่องหารือคณะรัฐมนตรีขอยกเว้นให้สถาบันการเงินที่ถูกกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินเข้าถือหุ้นเกินกว่าร้อยละห้าสิบไม่ต้องปฏิบัติตามคำสั่ง กฎ ระเบียบและมติคณะรัฐมนตรีที่ใช้บังคับแก่รัฐวิสาหกิจทั่วไป ตามเอกสารหมาย จ.ล.2 คณะรัฐมนตรีมีมติให้สถาบันการเงินดังกล่าวได้รับยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามระเบียบของทางราชการในเรื่องเงินเดือน สวัสดิการ และผลประโยชน์ค่าตอบแทนของพนักงาน โดยให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และหรือเงื่อนไขการจ้างเดิมของสถาบันการเงินนั้น ตามเอกสารหมายจ.ล.3
++
++ มีปัญหาวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของโจทก์ทั้งหกและจำเลยว่า มติคณะรัฐมนตรีดังกล่าวมีผลทำให้สิทธิเกี่ยวกับการพ้นสภาพจากการเป็นพนักงานเนื่องจากการเกษียณอายุ และสิทธิได้รับค่าชดเชยของโจทก์ทั้งหกยังคงมีอยู่ตามข้อบังคับการทำงานของจำเลยเดิมหรือไม่
++
++ ศาลฎีกาเห็นว่า แม้มติคณะรัฐมนตรีจะไม่ใช่กฎหมาย ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงกฎหมายได้ แต่จำเลยเป็นรัฐวิสาหกิจ และโจทก์ทั้งหกเป็นพนักงานรัฐวิสาหกิจจึงต้องอยู่ภายใต้บังคับของมติคณะรัฐมนตรี เว้นเสียแต่ว่ามติคณะรัฐมนตรีนั้นจะฝ่าฝืนต่อกฎหมาย มติคณะรัฐมนตรีตามเอกสารหมาย จ.ล.3 เป็นมติที่เกิดขึ้นและอนุวัตตามการขอยกเว้นให้สถาบันการเงินที่ถูกกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินเข้าถือหุ้นเกินกว่าร้อยละห้าสิบไม่ต้องปฏิบัติตามคำสั่ง กฎ ระเบียบและมติคณะรัฐมนตรีที่ใช้บังคับแก่รัฐวิสาหกิจทั่วไปของกระทรวงการคลัง ตามเอกสารหมาย จ.ล.2 ซึ่งมีเจตนาให้ลูกจ้างที่เป็นพนักงานรัฐวิสาหกิจโดยผลของการเปลี่ยนแปลงสถานะของจำเลยไม่ต้องเสียสิทธิประโยชน์ที่เคยได้รับอยู่ก่อน ทั้งมติคณะรัฐมนตรีที่กล่าวมานี้มิได้ขัดหรือแย้งต่อกฎหมาย จึงมีผลใช้บังคับ
++ แต่มติคณะรัฐมนตรีดังกล่าวในส่วนที่เกี่ยวกับคดีนี้ให้จำเลยได้รับการยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามระเบียบของทางราชการ โดยให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และหรือเงื่อนไขในการจ้างเดิมของจำเลยเฉพาะแต่ในเรื่องเงินเดือน สวัสดิการ และผลประโยชน์ค่าตอบแทนของพนักงานตามที่ปรากฏอยู่ในเอกสารหมาย จ.ล.2 ข้อ 2.3.2 เท่านั้น หาได้ยกเว้นให้ไม่ต้องปฏิบัติตามกฎหมายที่ใช้บังคับแก่โจทก์ทั้งหกและจำเลยด้วยไม่
++ ดังจะเห็นได้จากข้อความในเอกสารหมาย จ.ล.2 ข้อ 2.4 ที่มติคณะรัฐมนตรี ตามเอกสารหมาย จ.ล.3ระบุถึง
++ ดังนั้น สิทธิเกี่ยวกับการพ้นสภาพจากการเป็นพนักงานเนื่องจากการเกษียณอายุและสิทธิที่จะได้รับเงินเพื่อตอบแทนความชอบในการทำงานของโจทก์ทั้งหก จึงต้องเป็นไปตามพระราชบัญญัติพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ.2534 พระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.2518 พระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2502 และระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่องมาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.2534
++ กล่าวคือ โจทก์ทั้งหกต้องพ้นจากการเป็นพนักงานของจำเลยเนื่องจากเกษียณอายุในวันที่ 30 กันยายน2541 และมีสิทธิได้รับเงินเพื่อตอบแทนความชอบในการทำงานเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 180 วัน
++ จำเลยจึงมีสิทธิให้โจทก์ทั้งหกพ้นจากการเป็นพนักงานในวันที่ 1ตุลาคม 2541 ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าจ้างระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2541 ถึงวันที่31 ธันวาคม 2541 ให้โจทก์ทั้งหก
++ เมื่อโจทก์ทั้งหกไม่มีสิทธิทำงานจนถึงเดือนธันวาคม2541 จำเลยจึงไม่ต้องจ่ายเงินช่วยเหลือพิเศษให้แก่โจทก์ทั้งหก
++ และการที่จำเลยจ่ายค่าชดเชยกรณีพ้นจากตำแหน่งหน้าที่เพราะเหตุเกษียณอายุให้โจทก์ทั้งหกเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 180 วัน ถือได้ว่าเป็นการจ่ายเงินเพื่อตอบแทนความชอบในการทำงานถูกต้องแล้ว
++ เมื่อจำเลยไม่ต้องจ่ายเงินใด ๆ ให้โจทก์ทั้งหกอีก จำเลยจึงไม่ต้องจ่ายค่าภาษีเงินได้สำหรับเงินนั้นให้โจทก์ทั้งหก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5286-5363/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจ คณะรัฐมนตรีปรับลดโบนัสรัฐวิสาหกิจในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจ ไม่ขัดต่อข้อตกลงสภาพการจ้าง
ธนาคารออมสิน จำเลย เป็นกิจการของรัฐ จำเลยจึงเป็นรัฐวิสาหกิจตาม พ.ร.บ.พนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ.2534 มาตรา 4 และโจทก์ทั้งหมดมีสถานะเป็นพนักงานรัฐวิสาหกิจด้วย โจทก์ทั้งหมดและจำเลยจึงต้องอยู่ภายใต้บังคับของมติคณะรัฐมนตรีเช่นเดียวกัน แม้จำเลยใช้หลักเกณฑ์การจ่ายเงินโบนัสโดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงมาเป็นเวลานาน ถือได้ว่าเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง และ พ.ร.บ.พนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ.2534 จะมีบทเฉพาะการในมาตรา 54 วรรคสอง บัญญัติให้ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างดังกล่าวซึ่งมีอยู่ก่อนวันใช้ พ.ร.บ.พนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ.2534 ยังคงใช้บังคับต่อไป ก็มิได้หมายความว่าห้ามไม่ให้มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลง แต่การแก้ไขเปลี่ยนแปลงในเรื่องนี้ไม่อาจดำเนินการตามขั้นตอนใน พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 ซึ่งบัญญัติถึงวิธีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างไว้โดยให้นายจ้างหรือลูกจ้างสามารถเรียกร้องให้มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างด้วยการแจ้งข้อเรียกร้องเป็นหนังสือให้อีกฝ่ายหนึ่งทราบ เพราะกฎหมายดังกล่าวใช้บังคับระหว่างนายจ้างและลูกจ้างในกิจการของเอกชนเท่านั้น ไม่ได้ใช้บังคับแก่กิจการรัฐวิสาหกิจด้วย ทั้ง พ.ร.บ.พนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ.2534 ก็มิได้มีบทบัญญัติในลักษณะเช่นนั้น ประกอบกับรัฐวิสาหกิจเป็นกิจการของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่ออำนวยประโยชน์แก่ประเทศชาติและประชาชน เมื่อประเทศชาติตกอยู่ในสภาวะวิกฤติทางเศรษฐกิจ การปรับลดเงินโบนัสของรัฐวิสาหกิจจะช่วยให้รัฐวิสาหกิจนำเงินที่ประหยัดได้ไปเพิ่มวงเงินเพื่อใช้ในการลงทุน ซึ่งจะทำให้วงเงินลงทุนที่เบิกจ่ายได้จริงมีจำนวนสูงขึ้นและรัฐวิสาหกิจยังไม่ได้จ่ายเงินโบนัสประจำปี 2541 ให้แก่พนักงาน คณะรัฐมนตรีย่อมมีมติให้ปรับลดเงินโบนัสของพนักงานรัฐวิสาหกิจประจำปี 2541 ลงได้ไม่เป็นการลงมติย้อนหลัง และมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าวให้ปรับลดเงินโบนัสกรรมการและพนักงานฝ่ายบริหารของรัฐวิสาหกิจต่าง ๆ ลงทุกแห่ง ทุกคน ไม่เป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคลใด มติคณะรัฐมนตรีจึงมีผลใช้บังคับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4565-4576/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สถานธนานุบาลกรุงเทพมหานครเป็นรัฐวิสาหกิจหรือไม่? และมีผลต่อสิทธิการได้รับค่าชดเชยของลูกจ้างอย่างไร
โจทก์อุทธรณ์ว่า สถานธนานุบาลกรุงเทพมหานครมิได้เป็นหน่วยธุรกิจที่รัฐเป็นเจ้าของตามคำนิยามคำว่า รัฐวิสาหกิจ ในมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ.พนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2534 โดยอ้างว่าพนักงานของสถานธนานุบาลกรุงเทพมหานครทุกคนเป็นสมาชิกกองทุนประกันสังคม แสดงว่าสถานธนานุบาลกรุงเทพมหานครไม่ใช่รัฐวิสาหกิจ มิฉะนั้นแล้วพนักงานของสถานธนานุบาลกรุงเทพมหานครทุกคนคงไม่ต้องเป็นสมาชิกกองทุนประกันสังคม และหากสถานธนานุบาลกรุงเทพมหานครเป็นรัฐวิสาหกิจตามคำวินิจฉัยของศาลแรงงานกลางแล้ว ผลกำไรที่ได้จากการประกอบธุรกิจจะต้องนำส่งเพื่อเป็นรายได้ของกรุงเทพมหานคร แต่กรณีของสถานธนานุบาลกรุงเทพมหานคร ปรากฏว่าไม่ได้ใช้เงินงบประมาณจากกรุงเทพมหานคร เงินเดือนของพนักงานก็ใช้เงินจากการประกอบกิจการของสถานธนานุบาลเอง การประกอบกิจการพาณิชย์ดังกล่าวมีผลกำไรก็ไม่ต้องนำส่งผลกำไรเพื่อเป็นรายได้ของกรุงเทพมหานคร ในปัญหานี้ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่า สถานธนานุบาลกรุงเทพมหานครเป็นหน่วยงานธุรกิจที่กรุงเทพมหานครจัดตั้งขึ้นเพื่อดำเนินการพาณิชย์ ถือเป็นหน่วยงานธุรกิจที่รัฐเป็นเจ้าของ อุทธรณ์ของโจทก์จึงเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมาย ซึ่งถือว่าเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง
แม้สถานธนานุบาลกรุงเทพมหานครจะมิใช่ราชการส่วนท้องถิ่น แต่เป็นหน่วยงานธุรกิจที่รัฐเป็นเจ้าของตามคำนิยามของคำว่า รัฐวิสาหกิจ ในมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ.พนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2534 กรณีไม่อาจนำประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ลงวันที่ 16 เมษายน 2515 หรือ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาใช้บังคับแก่โจทก์ได้ แต่ต้องนำ พ.ร.บ.พนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2534 มาใช้บังคับเทียบเคียงแก่กรณีของโจทก์ ซึ่งมีผลให้โจทก์ที่ต้องพ้นจากตำแหน่งเพราะเหตุเกษียณอายุตามระเบียบข้อบังคับหรือข้อกำหนดของรัฐวิสาหกิจไม่มีสิทธิได้รับค่าชดเชยตามฟ้อง ดังนั้น ที่โจทก์อุทธรณ์ว่า เมื่อสถานธนานุบาลกรุงเทพมหานครมิใช่ราชการส่วนท้องถิ่น ไม่เข้าข้อยกเว้นที่มิให้นำประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ลงวันที่ 16 เมษายน 2515 หรือ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาใช้บังคับ เมื่อโจทก์ออกจากงานเพราะเหตุเกษียณอายุซึ่งถือว่าเป็นการเลิกจ้าง จำเลยจึงต้องจ่ายค่าชดเชยให้โจทก์ตามฟ้อง โดยนำประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ลงวันที่ 16 เมษายน 2515 หรือ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาใช้บังคับแก่กรณีของโจทก์ จึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยเพราะไม่ทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลงไป ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณา คดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4565-4576/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สถานะรัฐวิสาหกิจของสถานธนานุบาลกรุงเทพมหานคร และสิทธิประโยชน์ของพนักงานเมื่อเกษียณอายุ
สถานธนานุบาลกรุงเทพมหานครเป็นหน่วยงานธุรกิจที่รัฐเป็นเจ้าของตามคำนิยามของคำว่า รัฐวิสาหกิจ ในมาตรา 4แห่งพระราชบัญญัติพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2534กรณีไม่อาจนำประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานลงวันที่ 16 เมษายน2515 หรือพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานพ.ศ. 2541มาใช้บังคับได้แต่ต้องนำพระราชบัญญัติพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์พ.ศ. 2534 มาใช้บังคับเทียบเคียง ซึ่งมีผลให้โจทก์ที่ต้องพ้นจากตำแหน่งเพราะเหตุเกษียณอายุตามระเบียบข้อบังคับหรือข้อกำหนดของรัฐวิสาหกิจไม่มีสิทธิได้รับค่าชดเชย
of 18