คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
รับประกันภัย

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 88 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6808/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ รับประกันภัยขนส่ง: การรับช่วงสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากผู้รับจ้างขนถ่ายสินค้า
องค์การคลังสินค้าได้สั่งซื้อสินค้าปูนซีเมนต์จากประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ผู้ขายได้ว่าจ้างบริษัทซ. เป็นผู้ขนส่งสินค้ามายังประเทศไทยโดยเรือเดินทะเลเมื่อเรือบรรทุกสินค้าปูนซีเมนต์มาถึงท่าเรือกรุงเทพและจอดเรือรอขนถ่ายปลดเปลื้องสินค้าองค์การคลังสินค้าได้ว่าจ้างจำเลยที่2ขนถ่ายสินค้าโดยเรือฉลอมจากเรือเดินทะเลมายังคลังสินค้าขององค์การคลังสินค้าบริษัทซ.ไม่ใช่ผู้ว่าจ้างจำเลยที่2ให้ขนถ่ายสินค้าจำเลยที่2จึงไม่ใช่ผู้ขนส่งหลายทอดตามวิธีการขนส่งทางทะเลแต่จำเลยที่2ต้องรับผิดต่อองค์การคลังสินค้าตามสัญญาว่าจ้างที่ทำไว้กับองค์การคลังสินค้าเมื่อโจทก์ผู้รับประกันภัยการขนส่งสินค้าได้ชำระค่าเสียหายให้แก่องค์การคลังสินค้าแล้วโจทก์จึงรับช่วงสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากจำเลยที่2ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6617/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับประกันภัยหลังผู้เอาประกันเสียชีวิต และอำนาจฟ้องของโจทก์ต่อผู้รับประกันภัย
จำเลยที่ 2 ทำสัญญารับประกันภัยค้ำจุนรถยนต์บรรทุกคันเกิดเหตุไว้โดยในกรมธรรม์ระบุวันทำสัญญาประกันภัยเป็นวันหลังจากที่ พ.ถึงแก่ความตายแต่ระบุชื่อผู้เอาประกันคือพ. หลังจากพ.ถึงแก่กรรมจำเลยที่1ในฐานะผู้จัดการมรดกของพ.ได้ดำเนินกิจการแทน พ.และได้จ้างอ.เป็นลูกจ้าง และในระหว่างอายุสัญญาประกันภัย อ. ได้ขับรถยนต์บรรทุกคันดังกล่าวไปในทางการที่จ้างด้วยความประมาทเป็นเหตุให้เกิดการละเมิดต่อโจทก์ทั้งสองแม้ พ. ได้ถึงแก่กรรมไปก่อนวันที่ทำสัญญาประกันภัยก็ตาม แต่เมื่อเหตุเกิดขึ้นแล้วจำเลยที่ 2 ได้จ่ายค่าสินไหมทดแทนสำหรับการที่รถยนต์บรรทุกสินค้าที่รับประกันภัยไว้เสียหายตามที่กำหนดไว้ในกรมธรรม์ให้แก่จำเลยที่ 1 ไป จึงเป็นเรื่องที่จำเลยที่ 1ในฐานะผู้จัดการมรดกของ พ. เป็นผู้ทำสัญญาประกันภัยค้ำจุนกับจำเลยที่ 2 โดยตรงเหตุที่กรมธรรม์ประกันภัยระบุว่า พ.เป็นผู้เอาประกันภัยเป็นเรื่องผิดพลาดไป หรือเป็นการเข้าใจผิดของคู่กรณีเท่านั้น หาได้หมายความว่าจำเลยทั้งสองมิได้ทำสัญญาประกันภัยต่อกันไม่ ดังนี้เมื่อจำเลยที่ 2 เป็นผู้รับประกันภัยค้ำจุนรถยนต์บรรทุกคันเกิดเหตุ โจทก์ทั้งสองจึงฟ้องให้จำเลยที่ 2รับผิดชดใช้ค่าเสียหายอันเกิดจากรถที่รับประกันภัยไว้ได้ก่อให้เกิดขึ้นตามที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ได้ ปัญหาว่าเหตุละเมิดเกิดจากความประมาทเลินเล่อของผู้ขับรถยนต์บรรทุกที่จำเลยที่ 2 รับประกันภัยไว้หรือไม่ และจำเลยที่ 2ต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ทั้งสองเพียงใด เป็นปัญหาข้อเท็จจริง เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 2 ร่วมรับผิดชำระเงินแก่โจทก์ที่ 1 จำนวน 30,000 บาท แก่โจทก์ที่ 2 จำนวน50,000 บาท ทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ในส่วนของโจทก์ที่ 1และที่ 2 แต่ละคนจึงไม่เกิน 50,000 บาท ต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 วรรคหนึ่งแม้ศาลฎีกาจะเห็นว่าโจทก์ทั้งสองมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2ก็วินิจฉัยปัญหาดังกล่าวให้ไม่ได้ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย อัตราค่าทนายความตามตาราง 6ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง กำหนดอัตราขั้นสูงในศาลชั้นต้นไว้ว่าทุนทรัพย์เกิน 25,000 บาท อัตราค่าทนายความในศาลชั้นต้นขั้นสูงร้อยละ 5 นั้น การกำหนดค่าทนายความดังกล่าวคิดจากทุนทรัพย์ที่โจทก์เรียกร้อง หาใช่คิดจากจำนวนที่ศาลพิพากษาให้ไม่ เพราะมิฉะนั้นแล้งหากศาลพิพากษายกฟ้องจะกำหนดค่าทนายความให้ไม่ได้เลย เมื่อทุนทรัพย์ตามฟ้องของโจทก์ที่ 1 จำนวน 40,000 บาทและโจทก์ที่ 2 จำนวน 521,700 บาท การที่ศาลชั้นต้นกำหนดค่าทนายความให้จำเลยทั้งสองร่วมกันรับผิดจำนวน 25,000 บาทจึงไม่เกินอัตราขั้นสูงที่กฎหมายกำหนด แต่ที่ศาลชั้นต้นกำหนดให้จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้ค่าทนายความแทนโจทก์ทั้งสองรวมกันมาโดยไม่ได้แยกว่าให้ใช้แทนโจทก์คนไหนเท่าใดและให้จำเลยที่ 2ร่วมใช้แทนด้วยทั้งหมดเป็นการไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาเห็นควรกำหนดเสียใหม่ให้ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2839/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้รับประกันภัยเมื่อจำเลยที่ 2 ถูกจำหน่ายคดี และการพิสูจน์ความสัมพันธ์นายจ้าง-ลูกจ้างเพื่อความรับผิดทางละเมิด
เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งจำหน่ายคดีจำเลยที่2ผู้เอาประกันภัยคงมีผลเพียงว่าจำเลยที่2ไม่มีฐานะเป็นคู่ความในคดีและศาลไม่สามารถบังคับคดีแก่จำเลยที่2ได้แต่หาทำให้หนี้หรือความรับผิดของจำเลยที่2ระงับสิ้นไปไม่จำเลยที่3ผู้รับประกันภัยจึงยังอาจถูกพิพากษาให้รับผิดได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6608/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้รับประกันภัยค้ำจุนต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาประกันภัย แม้ผู้เอาประกันภัยไม่แจ้งอุบัติเหตุ และฟ้องร้องภายในอายุความ
จำเลยร่วมเป็นผู้รับประกันภัยค้ำจุนจำเลยที่1จำเลยร่วมย่อมต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนในนามของจำเลยที่1ผู้เอาประกันภัยเพื่อความวินาศภัยอันเกิดแก่อีกบุคคลหนึ่งและซึ่งจำเลยที่1ผู้เอาประกันภัยจะต้องรับผิดชอบตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา887ทั้งนี้แม้จำเลยที่1ไม่ได้แจ้งอุบัติเหตุให้จำเลยร่วมทราบตามเงื่อนไขแห่งกรมธรรม์ประกันภัยก็ตามก็เป็นเรื่องระหว่างจำเลยร่วมกับจำเลยที่1เท่านั้นโจทก์เป็นบุคคลภายนอกสัญญาจำเลยร่วมในฐานะผู้รับประกันภัยค้ำจุนจะนำเงื่อนไขดังกล่าวในกรมธรรม์ประกันภัยมาใช้บังคับโจทก์ด้วยไม่ได้ คดีนี้โจทก์ฟ้องตามสัญญาประกันภัยเพื่อเรียกให้จำเลยร่วมผู้รับประกันภัยรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนจึงมีอายุความ2ปีนับแต่วันวินาศภัยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา882วรรคหนึ่งคดีนี้เกิดวินาศภัยในวันที่23เมษายน2534แต่โจทก์ขอให้ศาลมีคำสั่งเรียกจำเลยร่วมเข้ามาเป็นจำเลยร่วมวันที่27กรกฎาคม2535จึงยังไม่เกิน2ปีนับแต่วันวินาศภัยคดีของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6405/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้ขนส่งสินค้าทางทะเล กรณีสินค้าเสียหายจากพายุ และประเด็นการรับช่วงสิทธิของผู้รับประกันภัย
จำเลยเป็นผู้ขนส่งสินค้าอ้างว่าสินค้าได้รับความเสียหายเพราะเหตุสุดวิสัยจำเลยจึงไม่ต้องรับผิดจำเลยมีหน้าที่นำสืบว่าสินค้าดังกล่าวได้รับความเสียหายเพราะเหตุสุดวิสัยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา616 ในการขนส่งสินค้าทางทะเลข้อที่จำเลยนำสืบคงได้ความเพียงว่าในระหว่างการขนสินค้าได้เกิดพายุขึ้นและมีคลื่นใหญ่เท่านั้นจำเลยมิได้นำสืบว่ากรณีดังกล่าวมีความร้ายแรงผิดปกติจนไม่อาจคาดหมายได้หรือมิอาจป้องกันมิให้สินค้าเสียหายได้ข้อเท็จจริงจึงฟังไม่ได้ว่าคลื่นลมและสภาวะอากาศดังกล่าวเป็นเหตุสุดวิสัยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา8 ผู้ร้องสอดใช้สิทธิร้องสอดเข้าแทนที่โจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา57(2)จึงมีฐานะเสมอด้วยโจทก์ซึ่งเป็นคู่ความที่ผู้ร้องสอดเข้าแทนที่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา58วรรคสองเมื่อจำเลยไม่ได้ยกอายุความขึ้นต่อสู้โจทก์จำเลยย่อมไม่มีสิทธิยกข้อต่อสู้ดังกล่าวขึ้นต่อสู้ผู้ร้องสอด พระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเลพ.ศ.2534ไม่มีผลย้อนหลังเมื่อปรากฏว่าพระราชบัญญัติดังกล่าวมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่21กุมภาพันธ์พ.ศ.2535ซึ่งเป็นเวลาหลังจากเกิดเหตุคดีนี้จึงไม่มีผลบังคับแก่คดีนี้ฎีกาของจำเลยที่ว่าจำเลยไม่ใช่ผู้ขนส่งตามความหมายในพระราชบัญญัติดังกล่าวจึงไม่จำต้องวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2425/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีละเมิดและการรับประกันภัย: การรับช่วงสิทธิและข้อยกเว้นอายุความ
จำเลยทั้งสามขออนุญาตยื่นอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาศาลชั้นต้นต้องพิจารณาว่าเป็นอุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายและสั่งอนุญาตให้ยื่นอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาได้หรือไม่การที่ศาลชั้นต้นสั่งในคำร้องขออนุญาตอุทธรณ์ต่อศาลฎีกาของจำเลยทั้งสามว่าสำเนาให้โจทก์รวมสั่งในอุทธรณ์และสั่งในอุทธรณ์ว่าจำเลยยื่นอุทธรณ์ภายในกำหนดรับเป็นอุทธรณ์ของจำเลยทั้งสามโดยมิได้สั่งอนุญาตให้จำเลยทั้งสามอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาก็พออนุโลมได้ว่าศาลชั้นต้นอนุญาตให้ฎีกาโดยตรงต่อศาลฎีกาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา223ทวิวรรคแรกแล้ว โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยรับช่วงสิทธิจากผู้เอาประกันภัยฟ้องให้จำเลยทั้งสามร่วมกันชำระค่าเสียหายแก่โจทก์โดยให้จำเลยที่1รับผิดในฐานะผู้กระทำละเมิดในทางการที่จ้างของจำเลยที่2และจำเลยที่3ในฐานะผู้รับประกันภัยรถยนต์ของจำเลยที่2จึงต้องฟ้องจำเลยที่1และที่2ภายใน1ปีนับแต่วันที่ผู้เอาประกันภัยรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา448วรรคแรกมิฉะนั้นคดีขาดอายุความส่วนความรับผิดของจำเลยที่3นั้นเกิดขึ้นตามสัญญาประกันภัยจึงต้องนำอายุความ2ปีนับแต่วันเกิดวินาศภัยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา882วรรคหนึ่งมาปรับแก่คดีเมื่อโจทก์ฟ้องยังไม่พ้นกำหนด2ปีนับแต่วันเกิดวินาศภัยคดีเกี่ยวกับจำเลยที่3จึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 53/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้รับประกันภัยค้ำจุนเมื่อผู้เอาประกันภัยต้องร่วมรับผิด และอายุความของสัญญาประกันภัย
แม้โจทก์จะไม่ได้ฟ้องห้างฯ น.ผู้เอาประกันภัยเป็นจำเลยด้วยแต่เมื่อได้ความว่าผู้เอาประกันภัยต้องร่วมรับผิดในผลแห่งละเมิดแล้ว จำเลยที่ 3ผู้รับประกันภัยค้ำจุนก็ต้องรับผิดในฐานะผู้รับประกันภัยค้ำจุน เพราะโจทก์ชอบจะได้รับค่าสินไหมทดแทนจากผู้รับประกันภัยได้โดยตรง ตาม ป.พ.พ. มาตรา 887
โจทก์ที่ 9 ที่ 10 ฟ้องจำเลยที่ 3 ผู้รับประกันภัยค้ำจุนให้รับผิดโดยอาศัยมูลหนี้ตามสัญญาประกันภัย จึงมีอายุความ 2 ปี นับแต่วันเกิดวินาศภัยตาม ป.พ.พ.มาตรา 882 วรรคแรก จะนำอายุความ 1 ปี ตาม มาตรา 448วรรคแรก มาบังคับไม่ได้
จำเลยที่ 3 ฎีกาว่า ศาลอุทธรณ์กำหนดค่าเสียหายให้โจทก์ที่ 2ถึงที่ 10 รวม ๆ กันมาโดยไม่ใช่ค่าเสียหายที่แท้จริง จำเลยที่ 3 ไม่ได้ยกเหตุขึ้นอ้างอิงว่าศาลอุทธรณ์วินิจฉัยไม่ถูกต้องด้วยเหตุใด และค่าเสียหายที่แท้จริงของโจทก์แต่ละคนควรจะเป็นเท่าใด จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 53/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้รับประกันภัยค้ำจุน แม้ไม่ได้ฟ้องผู้เอาประกันภัยโดยตรง และอายุความฟ้องร้องตามสัญญาประกันภัย
แม้โจทก์จะไม่ได้ฟ้องห้างฯ น.ผู้เอาประกันภัยเป็นจำเลยด้วยแต่เมื่อได้ความว่าผู้เอาประกันภัยต้องร่วมรับผิดในผลแห่งละเมิดแล้ว จำเลยที่ 3 ผู้รับประกันภัยค้ำจุนก็ต้องรับผิดในฐานะผู้รับประกันภัยค้ำจุน เพราะโจทก์ชอบจะได้รับค่าสินไหมทดแทนจากผู้รับประกันภัยได้โดยตรงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 887 โจทก์ที่ 9 ที่ 10 ฟ้องจำเลยที่ 3 ผู้รับประกันภัยค้ำจุนให้รับผิดโดยอาศัยมูลหนี้ตามสัญญาประกันภัย จึงมีอายุความ 2 ปี นับแต่วันเกิดวินาศภัยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 882 วรรคแรกจะนำอายุความ 1 ปี ตาม มาตรา 448 วรรคแรก มาบังคับไม่ได้ จำเลยที่ 3 ฎีกาว่า ศาลอุทธรณ์กำหนดค่าเสียหายให้โจทก์ที่ 2ถึงที่ 10 รวม ๆ กันมาโดยไม่ใช่ค่าเสียหายที่แท้จริง จำเลยที่ 3ไม่ได้ยกเหตุขึ้นอ้างอิงว่าศาลอุทธรณ์วินิจฉัยไม่ถูกต้องด้วยเหตุใดและค่าเสียหายที่แท้จริงของโจทก์แต่ละคนควรจะเป็นเท่าใด จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3558/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดร่วมกันในผลละเมิดจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ และการรับประกันภัย
ข้อที่จำเลยที่ 3 และที่ 4 ฎีกาว่า จำเลยที่ 2 ไม่ได้ขับรถโดยประมาทเลินเล่อนั้นชั้นอุทธรณ์ จำเลยที่ 3 และที่ 4 ไม่ได้อุทธรณ์ข้อนี้ คงอุทธรณ์แต่เพียงว่าเหตุรถชนกันเกิดจากความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 1 มากกว่าเท่านั้น ฎีกาของจำเลยที่ 3 และที่ 4 ข้อนี้จึงเป็นฎีกาข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลอุทธรณ์ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา249 วรรคแรก ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า เหตุรถชนกันครั้งนี้เกิดจากความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 2 ด้วยเท่า ๆ กับความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 1 แม้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ต่างคนต่างประมาทเลินเล่อก็ตาม แต่ได้ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รถยนต์ที่โจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกได้รับประกันภัยไว้ จึงต้องถือว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 ล้วนมีส่วนก่อให้เกิดความเสียหายดังกล่าวทั้งหมด จำเลยที่ 1และจำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมกันรับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้นอย่างลูกหนี้ร่วม โดยจำเลยทั้งสองหรือคนใดคนหนึ่งต้องรับผิดต่อโจทก์ผู้รับช่วงสิทธิเต็มจำนวนความเสียหายโดยจะแบ่งความรับผิดต่อโจทก์หาได้ไม่ เมื่อจำเลยที่ 2 ต้องร่วมรับผิดในผลละเมิดทั้งหมด จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นนายจ้างและจำเลยที่ 4 ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยจึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 2 ในผลแห่งละเมิดดังกล่าวทั้งหมดเช่นกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3947/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับฟังสำเนาเอกสารกรณีต้นฉบับอยู่กับผู้หลบหนี และภาระการพิสูจน์ของผู้รับประกันภัย
เมื่อต้นฉบับใบอนุญาตขับรถยนต์อยู่ในความครอบครองของ น.ซึ่งหลบหนีคดีอาญา จึงเป็นกรณีเข้าข้อยกเว้นที่ไม่สามารถนำต้นฉบับมาได้โดยประการอื่นชอบที่โจทก์ที่ 1 จะอ้างสำเนาหรือภาพถ่ายเอกสารได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 93(2) จำเลยให้การรับว่า ได้รับประกันภัยรถยนต์ของโจทก์ที่ 1ไว้จริงแต่จำเลยไม่ต้องรับผิดตามสัญญาประกันภัยเพราะผู้ขับรถยนต์ไม่ได้รับอนุญาตให้ขับรถยนต์ได้ตามกฎหมายซึ่งเป็นข้อยกเว้นความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัย จำเลยจึงมีหน้าที่นำสืบในข้อนี้
of 9