พบผลลัพธ์ทั้งหมด 27 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1124/2512
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฝากเงินเพื่อลงทุนโดยผิดกฎหมายธนาคารพาณิชย์ สัญญาไม่เป็นโมฆะหากผู้ฝากไม่รู้เห็น
การประกอบกิจการรับฝากเงินซึ่งต้องจ่ายคืนเมื่อทวงถาม โดยให้ผลประโยชน์ตอบแทนแก่ผู้ฝากเป็นดอกเบี้ย. และใช้ประโยชน์เงินฝากนั้นในการให้พ่อค้าและผู้รู้จักชอบพอกู้ยืมโดยเรียกค่านายหน้าค่ารางวัล และดอกเบี้ยจากผู้กู้ยืมมีจำนวนสูงกว่าดอกเบี้ยที่จะจ่ายแก่ผู้ฝาก. หากกระทำเป็นปกติธุระย่อมเป็นการประกอบการธนาคารพาณิชย์ซึ่งจะต้องได้รับอนุญาตตามกฎหมาย.
การใดอันมีวัตถุประสงค์ต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายซึ่งตกเป็นโมฆะกรรมนั้น ในสัญญาซึ่งเป็นนิติกรรมทำโดยบุคคลสองฝ่าย. ประโยชน์อันเป็นผลสุดท้ายที่ทั้งสองฝ่ายต้องการคู่กรณีทั้งสองฝ่ายจะต้องร่วมรู้กัน จึงจะเป็นวัตถุที่ประสงค์ของนิติกรรมสัญญานั้น.ถ้าคู่สัญญาแต่ฝ่ายเดียวรู้ถึงการกระทำของตนว่าเป็นการต้องห้ามโดยกฎหมาย. โดยอีกฝ่ายมิได้ร่วมรู้ด้วย. จะถือว่านิติกรรมสัญญานั้นมีวัตถุที่ประสงค์เป็นการต้องห้ามโดยกฎหมายหาได้ไม่.
แม้ผู้รับฝากเงินจะประกอบการธนาคารพาณิชย์โดยมิได้รับอนุญาต. แต่ผู้ฝากมิได้ร่วมรู้.ในการกระทำของผู้รับฝากซึ่งมีวัตถุที่ประสงค์เป็นการต้องห้ามโดยกฎหมาย. ดังนี้นิติกรรมรับฝากเงินระหว่างผู้ฝากกับผู้รับฝากย่อมไม่เป็นโมฆะ. ผู้ฝากมีสิทธิเรียกเงินฝากคืนจากผู้รับฝากได้.
คดีล้มละลายที่ได้ยื่นฟ้องก่อนวันที่พระราชบัญญัติล้มละลาย (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2511 ใช้บังคับ. และยังค้างพิจารณาอยู่ในศาลหรืออยู่ในระหว่างปฏิบัติการของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์. แม้จะมีการอุทธรณ์ฎีกา คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลหลังจากใช้บังคับพระราชบัญญัติฉบับนี้แล้ว. ค่าธรรมเนียมในการอุทธรณ์ฎีกาก็ยังคงเสียตามอัตราเดิมที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483.
การใดอันมีวัตถุประสงค์ต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายซึ่งตกเป็นโมฆะกรรมนั้น ในสัญญาซึ่งเป็นนิติกรรมทำโดยบุคคลสองฝ่าย. ประโยชน์อันเป็นผลสุดท้ายที่ทั้งสองฝ่ายต้องการคู่กรณีทั้งสองฝ่ายจะต้องร่วมรู้กัน จึงจะเป็นวัตถุที่ประสงค์ของนิติกรรมสัญญานั้น.ถ้าคู่สัญญาแต่ฝ่ายเดียวรู้ถึงการกระทำของตนว่าเป็นการต้องห้ามโดยกฎหมาย. โดยอีกฝ่ายมิได้ร่วมรู้ด้วย. จะถือว่านิติกรรมสัญญานั้นมีวัตถุที่ประสงค์เป็นการต้องห้ามโดยกฎหมายหาได้ไม่.
แม้ผู้รับฝากเงินจะประกอบการธนาคารพาณิชย์โดยมิได้รับอนุญาต. แต่ผู้ฝากมิได้ร่วมรู้.ในการกระทำของผู้รับฝากซึ่งมีวัตถุที่ประสงค์เป็นการต้องห้ามโดยกฎหมาย. ดังนี้นิติกรรมรับฝากเงินระหว่างผู้ฝากกับผู้รับฝากย่อมไม่เป็นโมฆะ. ผู้ฝากมีสิทธิเรียกเงินฝากคืนจากผู้รับฝากได้.
คดีล้มละลายที่ได้ยื่นฟ้องก่อนวันที่พระราชบัญญัติล้มละลาย (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2511 ใช้บังคับ. และยังค้างพิจารณาอยู่ในศาลหรืออยู่ในระหว่างปฏิบัติการของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์. แม้จะมีการอุทธรณ์ฎีกา คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลหลังจากใช้บังคับพระราชบัญญัติฉบับนี้แล้ว. ค่าธรรมเนียมในการอุทธรณ์ฎีกาก็ยังคงเสียตามอัตราเดิมที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 439/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ธนาคารต้องรับผิดต่อการรับฝากเงินของผู้จัดการสาขา แม้รับฝากนอกสถานที่หรือนอกเวลาทำการ
กิจการของธนาคารมีการรับฝากเงินเป็นประการสำคัญ ดังนั้น ผู้จัดการธนาคารกระทำการรับฝากเงิน ก็เป็นกิจการที่ธนาคารมอบหมายให้กระทำ ข้อที่ผู้จัดการสาขาไปรับฝากเงินถึงบ้านผู้ฝาก และรับฝากในวันธนาคารหยุด การฝากเงินนอกสถานที่เป็นกิจการของธนาคาร จำเลยจะอ้างว่าผู้จัดการสาขากระทำโดยปราศจากอำนาจหรือนอกเหนืออำนาจหาได้ไม่
ผู้จัดการสาขาธนาคารรับฝากเงินมาแล้ว ไม่เอาเข้าบัญชีธนาคาร ซึ่งเป็นเรื่องตัวแทนไม่ส่งทรัพย์สินที่ได้มาแก่ตัวการ ตัวการจะปฏิเสธความรับผิดว่าทำนอกเหนืออำนาจย่อมไม่ได้
หนังสือแจ้งยอดคงเหลือ ซึ่งหนังสือของธนาคารสาขาของธนาคารจำเลยมีถึงโจทก์ ย่อมเป็นหนังสือของธนาคารจำเลย จำเลยจะอ้างว่าเป็นหนังสือส่วนตัวของผู้จัดการสาขาหาได้ไม่ เพราะจำเลยแต่งตั้งให้ทำหน้าที่ผู้จัดการมีอำนาจเป็นตัวแทนจำเลย
การที่โจทก์ซึ่งเป็นผู้ฝากเงินต่อผู้จัดการสาขาธนาคารแจ้งว่าผู้จัดการนั้นไม่เอาเงินเข้าบัญชี เป็นการยักยอกเงินโจทก์ คำแจ้งความเช่นนี้ไม่ทำให้ธนาคารจำเลยไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ผู้ฝาก
ผู้จัดการสาขาธนาคารรับฝากเงินมาแล้ว ไม่เอาเข้าบัญชีธนาคาร ซึ่งเป็นเรื่องตัวแทนไม่ส่งทรัพย์สินที่ได้มาแก่ตัวการ ตัวการจะปฏิเสธความรับผิดว่าทำนอกเหนืออำนาจย่อมไม่ได้
หนังสือแจ้งยอดคงเหลือ ซึ่งหนังสือของธนาคารสาขาของธนาคารจำเลยมีถึงโจทก์ ย่อมเป็นหนังสือของธนาคารจำเลย จำเลยจะอ้างว่าเป็นหนังสือส่วนตัวของผู้จัดการสาขาหาได้ไม่ เพราะจำเลยแต่งตั้งให้ทำหน้าที่ผู้จัดการมีอำนาจเป็นตัวแทนจำเลย
การที่โจทก์ซึ่งเป็นผู้ฝากเงินต่อผู้จัดการสาขาธนาคารแจ้งว่าผู้จัดการนั้นไม่เอาเงินเข้าบัญชี เป็นการยักยอกเงินโจทก์ คำแจ้งความเช่นนี้ไม่ทำให้ธนาคารจำเลยไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ผู้ฝาก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 439/2510
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจตัวแทนธนาคาร: ธนาคารต้องรับผิดชอบการรับฝากเงินของผู้จัดการสาขา แม้เป็นการรับฝากนอกสถานที่หรือนอกเวลาทำการ
กิจการของธนาคารมีการรับฝากเงินเป็นประการสำคัญ ดังนั้นผู้จัดการธนาคารกระทำการรับฝากเงิน ก็เป็นกิจการที่ธนาคารมอบหมายให้กระทำ ข้อที่ผู้จัดการสาขาไปรับฝากเงินถึงบ้านผู้ฝากและรับฝากในวันธนาคารหยุดการฝากเงินนอกสถานที่เป็นกิจการของธนาคารจำเลยจะอ้างว่าผู้จัดการสาขากระทำโดยปราศจากอำนาจหรือนอกเหนืออำนาจหาได้ไม่
ผู้จัดการสาขาธนาคารรับฝากเงินมาแล้ว ไม่เอาเข้าบัญชีธนาคารซึ่งเป็นเรื่องตัวแทนไม่ส่งทรัพย์สินที่ได้มาแก่ตัวการ ตัวการจะปฏิเสธความรับผิดว่าทำนอกเหนืออำนาจย่อมไม่ได้
หนังสือแจ้งยอดคงเหลือ ซึ่งเป็นหนังสือของธนาคารสาขาของธนาคารจำเลยมีถึงโจทก์ ย่อมเป็นหนังสือของธนาคารจำเลยจำเลยจะอ้างว่าเป็นหนังสือส่วนตัวของผู้จัดการสาขาหาได้ไม่ เพราะจำเลยแต่งตั้งให้ทำหน้าที่ผู้จัดการมีอำนาจเป็นตัวแทนจำเลย
การที่โจทก์ซึ่งเป็นผู้ฝากเงินต่อผู้จัดการสาขาธนาคารแจ้งว่าผู้จัดการนั้นไม่เอาเงินเข้าบัญชี เป็นการยักยอกเงินโจทก์คำแจ้งความ เช่นนี้ไม่ทำให้ธนาคารจำเลยไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ผู้ฝาก
ผู้จัดการสาขาธนาคารรับฝากเงินมาแล้ว ไม่เอาเข้าบัญชีธนาคารซึ่งเป็นเรื่องตัวแทนไม่ส่งทรัพย์สินที่ได้มาแก่ตัวการ ตัวการจะปฏิเสธความรับผิดว่าทำนอกเหนืออำนาจย่อมไม่ได้
หนังสือแจ้งยอดคงเหลือ ซึ่งเป็นหนังสือของธนาคารสาขาของธนาคารจำเลยมีถึงโจทก์ ย่อมเป็นหนังสือของธนาคารจำเลยจำเลยจะอ้างว่าเป็นหนังสือส่วนตัวของผู้จัดการสาขาหาได้ไม่ เพราะจำเลยแต่งตั้งให้ทำหน้าที่ผู้จัดการมีอำนาจเป็นตัวแทนจำเลย
การที่โจทก์ซึ่งเป็นผู้ฝากเงินต่อผู้จัดการสาขาธนาคารแจ้งว่าผู้จัดการนั้นไม่เอาเงินเข้าบัญชี เป็นการยักยอกเงินโจทก์คำแจ้งความ เช่นนี้ไม่ทำให้ธนาคารจำเลยไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ผู้ฝาก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 568/2483
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยักยอกทรัพย์โดยการรับฝากเงินแล้วปฏิเสธการคืนเงิน ถือเป็นความผิดทางอาญา
การที่จำเลยรับฝากเงินของโจทก์ไว้ ครั้นโจทก์ได้นัดให้จำเลยนำเงินนี้ไปไถ่ถอน จำนองจำเลยก็ไม่ปฏิบัติตาม ในที่สุดกลับปฏิเสธว่ามิได้รับฝากเงินของโจทก์ไว้ดังนี้ เป็นผิดฐานยักยอก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 701/2471
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ยักยอกทรัพย์: การรับฝากเงินเพื่อส่งมอบให้ผู้อื่นแล้วไม่ส่งมอบ
รับฝากทรัพย์ เพื่อเอาไปให้ผู้อื่น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15952/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักกลบลบหนี้ระหว่างเจ้าหนี้และลูกหนี้ตามคำพิพากษาและการรับฝากเงิน จำเลยมีสิทธิหักกลบลบได้
ข้อเท็จจริงรับฟังได้ในเบื้องต้นว่า โจทก์กับมารดาโจทก์เปิดบัญชีร่วมกันประเภทบัญชีเงินฝากประจำและฝากเงินไว้ต่อธนาคารจำเลยสาขาฝาง ว. ทำสัญญากู้และรับเงินกู้ไปจากจำเลย โดยจำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างเป็นประกัน และ ส. กับโจทก์ทำสัญญาค้ำประกันยอมรับผิดร่วมกับ ว. อย่างลูกหนี้ร่วม ว. ผิดนัดผิดสัญญา จำเลยฟ้อง ว. ส. และโจทก์ให้รับผิดชำระหนี้ตามสัญญากู้และสัญญาค้ำประกันดังกล่าวศาลชั้นต้นพิพากษาให้ ว. ส. และโจทก์ร่วมกันชำระหนี้ หากไม่ชำระหรือชำระไม่ครบให้บังคับคดีเอาจากทรัพย์จำนอง หากได้เงินไม่พอชำระหนี้ให้ยึดทรัพย์สินอื่นของบุคคลทั้งสามออกขายทอดตลาดนำเงินมาชำระหนี้แก่จำเลยจนครบ จำเลยนำหนี้ที่เป็นเจ้าหนี้อยู่นั้นฟ้องบุคคลทั้งสามเป็นคดีล้มละลาย ต่อมาจำเลยพบว่าโจทก์กับมารดาโจทก์มีบัญชีเงินฝากดังกล่าวอยู่ที่จำเลยสาขาฝาง จำเลยจึงดำเนินการหักเงินจากบัญชีดังกล่าวมาชำระหนี้จำเลย ต่อมาจำเลยถอนฟ้องคดีล้มละลาย
มีปัญหาวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยว่า จำเลยมีสิทธินำเงินจากบัญชีเงินฝากของโจทก์ที่ฝากไว้ต่อจำเลยมาหักกับหนี้ตามคำพิพากษาที่โจทก์เป็นหนี้จำเลยอยู่หรือไม่ เห็นว่า ตามฟ้องและคำให้การคดีนี้เป็นเรื่องจำเลยหักกลบลบหนี้กับโจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 341 และ 342 ซึ่งโจทก์และจำเลยมีความผูกพันซึ่งกันและกันโดยมูลหนี้ที่จะต้องชำระเงินแก่กันอันเป็นมูลหนี้ที่มีวัตถุเป็นอย่างเดียวกัน กล่าวคือโจทก์เป็นหนี้จำเลยที่จะต้องชำระเงินแก่จำเลยตามคำพิพากษา ส่วนจำเลยก็เป็นหนี้โจทก์ที่จะต้องชำระเงินที่โจทก์ฝากไว้แก่โจทก์ จำเลยย่อมหักกลบลบหนี้ได้ และตามข้อเท็จจริงที่รับฟังมาดังกล่าวเห็นได้ว่าจำเลยแสดงเจตนาต่อโจทก์ขอหักกลบลบหนี้และได้ดำเนินการหักกลบลบหนี้แล้ว การหักกลบลบหนี้ย่อมมีผลสมบูรณ์ตามบทกฎหมายมาตราดังกล่าว ซึ่งไม่ได้กำหนดเป็นเงื่อนไขไว้แต่ประการใดว่า การหักกลบลบหนี้ระหว่างกันนั้นจะต้องตกลงกันหรือได้รับอนุญาตหรือได้รับความยินยอมของอีกฝ่ายหนึ่งหรือต้องแจ้งเจ้าพนักงานบังคับคดีก่อน เมื่อข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าทั้งสองฝ่ายได้แสดงเจตนาไม่ให้นำหนี้ที่มีอยู่แก่กันนั้นมาหักกลบลบกัน จำเลยย่อมมีสิทธิที่จะนำหนี้ดังกล่าวมาหักกลบลบหนี้กันได้ แม้โจทก์ไม่เคยตกลงและไม่อนุญาตให้จำเลยหักเงิน จำเลยหักเงินของโจทก์ไปเองโดยไม่แจ้งเจ้าพนักงานบังคับคดีตามที่โจทก์ฟ้องและนำสืบก็หาเป็นการละเมิดหรือผิดสัญญารับฝากเงินตามที่โจทก์ฟ้องไม่
มีปัญหาวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยว่า จำเลยมีสิทธินำเงินจากบัญชีเงินฝากของโจทก์ที่ฝากไว้ต่อจำเลยมาหักกับหนี้ตามคำพิพากษาที่โจทก์เป็นหนี้จำเลยอยู่หรือไม่ เห็นว่า ตามฟ้องและคำให้การคดีนี้เป็นเรื่องจำเลยหักกลบลบหนี้กับโจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 341 และ 342 ซึ่งโจทก์และจำเลยมีความผูกพันซึ่งกันและกันโดยมูลหนี้ที่จะต้องชำระเงินแก่กันอันเป็นมูลหนี้ที่มีวัตถุเป็นอย่างเดียวกัน กล่าวคือโจทก์เป็นหนี้จำเลยที่จะต้องชำระเงินแก่จำเลยตามคำพิพากษา ส่วนจำเลยก็เป็นหนี้โจทก์ที่จะต้องชำระเงินที่โจทก์ฝากไว้แก่โจทก์ จำเลยย่อมหักกลบลบหนี้ได้ และตามข้อเท็จจริงที่รับฟังมาดังกล่าวเห็นได้ว่าจำเลยแสดงเจตนาต่อโจทก์ขอหักกลบลบหนี้และได้ดำเนินการหักกลบลบหนี้แล้ว การหักกลบลบหนี้ย่อมมีผลสมบูรณ์ตามบทกฎหมายมาตราดังกล่าว ซึ่งไม่ได้กำหนดเป็นเงื่อนไขไว้แต่ประการใดว่า การหักกลบลบหนี้ระหว่างกันนั้นจะต้องตกลงกันหรือได้รับอนุญาตหรือได้รับความยินยอมของอีกฝ่ายหนึ่งหรือต้องแจ้งเจ้าพนักงานบังคับคดีก่อน เมื่อข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าทั้งสองฝ่ายได้แสดงเจตนาไม่ให้นำหนี้ที่มีอยู่แก่กันนั้นมาหักกลบลบกัน จำเลยย่อมมีสิทธิที่จะนำหนี้ดังกล่าวมาหักกลบลบหนี้กันได้ แม้โจทก์ไม่เคยตกลงและไม่อนุญาตให้จำเลยหักเงิน จำเลยหักเงินของโจทก์ไปเองโดยไม่แจ้งเจ้าพนักงานบังคับคดีตามที่โจทก์ฟ้องและนำสืบก็หาเป็นการละเมิดหรือผิดสัญญารับฝากเงินตามที่โจทก์ฟ้องไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15693/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฝากเงินกลุ่มออมทรัพย์ไม่เป็นโมฆะ แม้จะมีการประกอบธุรกิจคล้ายธนาคาร หากผู้ฝากไม่รู้เห็น
ในสัญญาซึ่งเป็นนิติกรรมทำโดยบุคคลสองฝ่าย ประโยชน์อันเป็นผลสุดท้ายที่ทั้งสองฝ่ายต้องการ คู่กรณีทั้งสองฝ่ายจะต้องร่วมรู้กัน จึงจะเป็นวัตถุที่ประสงค์ของนิติกรรมสัญญานั้น ถ้าคู่สัญญาแต่ฝ่ายเดียวรู้ถึงการกระทำของตนว่าเป็นการฝ่าฝืนต้องห้ามโดยกฎหมาย โดยอีกฝ่ายมิได้ร่วมรู้ด้วยนั้น จะว่านิติกรรมสัญญานั้น มีวัตถุประสงค์เป็นการฝ่าฝืนต้องห้ามโดยกฎหมาย ตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 ไม่ได้ การที่โจทก์ที่ 1 กับพวกนำเงินมาฝากกับจำเลยทั้งสามก็เป็นเพราะต้องการได้ดอกเบี้ยหรือเงินปันผลตอบแทนและเมื่อเรียกเงินคืนก็จะได้เงินคืนครบจำนวนตามมาตรา 672 เพียงเท่านั้น ส่วนที่จำเลยทั้งสามจะร่วมกันนำเงินที่รับฝากไปหาประโยชน์ในลักษณะการประกอบธุรกิจประเภทรับฝากเงินที่ต้องจ่ายคืนเมื่อทวงถาม หรือใช้ประโยชน์เงินนั้นในทางหนึ่งหรือหลายทาง โดยทำเป็นปกติธุระหรือไม่ อย่างไร จะเป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายหรือไม่ ล้วนเป็นเรื่องที่จำเลยทั้งสามดำเนินการไปเอง โจทก์ที่ 1 กับพวกมิได้ร่วมรู้เห็นและเป็นเรื่องนอกเหนือเจตนาของโจทก์ที่ 1 กับพวก จำเลยทั้งสามจึงไม่อาจยกข้อต่อสู้ว่าวัตถุประสงค์ในประกอบกิจการหาประโยชน์จากเงินที่รับฝากของกลุ่มออมทรัพย์ต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายขึ้นอ้างยันโจทก์ที่ 1 กับพวกได้ นิติกรรมรับฝากเงินระหว่างโจทก์ที่ 1 กับจำเลยทั้งสาม จึงไม่เป็นโมฆะ โจทก์ที่ 1 กับพวกมีสิทธิเรียกเงินฝากคืนได้