พบผลลัพธ์ทั้งหมด 82 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5736/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สินส่วนตัวก่อนสมรส: ที่ดินรับมรดกก่อนแต่งงานเป็นสินส่วนตัว แม้ทำกินร่วมกัน
บิดาผู้ร้องยกที่ดินและบ้านพิพาทให้แก่ผู้ร้องก่อนที่ผู้ร้องกับจำเลยจะจดทะเบียนสมรสกัน ย่อมถือได้ว่าที่ดินและบ้านพิพาทเป็นทรัพย์สินที่ผู้ร้องมีอยู่ก่อนสมรสและเป็นสินส่วนตัวของผู้ร้องตามมาตรา 1471(1) แห่ง ป.พ.พ. บรรพ 5 ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2519 การที่บิดาผู้ร้องยกที่ดินและบ้านพิพาทให้แก่ผู้ร้องในระหว่างที่ผู้ร้องอยู่กินฉันสามีภริยากับจำเลย แม้ว่าจะเป็นเพียงการยกสิทธิครอบครองให้โดยไม่ได้ทำเป็นหนังสือ และผู้ร้องกับจำเลยได้ทำกินและอยู่อาศัยในที่ดินและบ้านพิพาทตลอดมา ก็ถือไม่ได้ว่าจำเลยเป็นเจ้าของร่วมกับผู้ร้อง เพราะการที่จำเลยทำกินและอาศัยอยู่ในที่ดินและบ้านพิพาทร่วมกับผู้ร้องเนื่องจากอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยาเช่นนี้ ย่อมไม่อาจถือได้ว่าจำเลยได้เปลี่ยนเจตนาหรือลักษณะแห่งการครอบครองเป็นการยึดถือเพื่อตนอันจักทำให้จำเลยเกิดสิทธิครอบครองในทรัพย์สินที่พิพาท กรณีที่จะเป็นสินสมรสตาม ป.พ.พ. มาตรา 1474 นั้น จะต้องเป็นทรัพย์สินที่คู่สมรสได้มาระหว่างสมรสเท่านั้น กฎหมายหาได้บัญญัติให้ทรัพย์สินที่คู่สมรสร่วมกันเป็นเจ้าของอยู่ก่อนสมรส กลายเป็นสินสมรสเมื่อได้มีการสมรสไม่ แม้ว่าหนี้ที่จำเลยเป็นหนี้โจทก์ตามคำพิพากษาจะเป็นหนี้ร่วมระหว่างจำเลยกับผู้ร้องก็ตาม แต่เมื่อโจทก์มิได้ฟ้องผู้ร้องเป็นจำเลยด้วย โจทก์ก็ย่อมไม่มีอำนาจยึดสินส่วนตัวของผู้ร้องบังคับชำระหนี้แก่โจทก์ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5716/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิรับมรดกของบุตรที่ได้รับการรับรองโดยคำพิพากษา: อำนาจฟ้องและผลของกฎหมาย
คำสั่งศาลที่ว่าจำเลยเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของ ช. ผู้ตายมีผลทำให้ผู้ตายและจำเลยมีฐานะเป็นบิดาและบุตรชอบด้วยกฎหมายนับแต่วันที่มีคำพิพากษาถึงที่สุด ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1557(3) การที่จำเลยจะเกิดสิทธิรับมรดกของผู้ตายย้อนหลังไปถึงวันที่ผู้ตายถึงแก่กรรมหรือไม่ เป็นผลอันเกิดจากบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1558 หาได้มีผลมาจากคำพิพากษาในคดีก่อนไม่ เมื่อไม่มีบทกฎหมายสารบัญญัติใดให้สิทธิฟ้องขอเพิกถอนคำพิพากษาดังกล่าวว่าเด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายไว้เช่นกรณีอื่น จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ทั้งสองถูกจำเลยโต้แย้งสิทธิในการรับมรดกของผู้ตาย โจทก์ทั้งสองไม่มีอำนาจฟ้อง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 983/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ห้องแถวเป็นส่วนควบของที่ดินเมื่อทายาทรับมรดก ยินยอมโอนกรรมสิทธิ์
ห้องแถวพิพาทปลูกอยู่ในที่ดินของ พ. ตั้งแต่ก่อนจำเลยที่ 2แต่งงานกับ พ.จึงตกเป็นส่วนควบกับที่ดินดังกล่าวเมื่อพ.ตาย ย. บ. และจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นทายาทได้ยื่นคำขอรับมรดกที่ดินแปลงนี้ของ พ. จำเลยที่ 2 ก็ไม่คัดค้านพฤติการณ์ของจำเลยที่ 2 เช่นนี้แสดงว่าจำเลยที่ 2 ยินยอมยกที่ดินให้ย. บ. และจำเลยที่ 1 แล้ว เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้ตามคำขอรับมรดก ย. บ. และจำเลยที่ 1จึงเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินดังกล่าว ห้องแถวพิพาทซึ่งเป็นส่วนควบกับที่ดินจึงตกเป็นกรรมสิทธิ์ของบุคคลทั้งสามด้วยตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 107 วรรคสอง โดยไม่จำต้องจดทะเบียนรับมรดกห้องแถวพิพาทอีกแต่อย่างใด.(ที่มา-ส่งเสริม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 983/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ห้องแถวเป็นส่วนควบที่ดินเมื่อทายาทรับมรดกที่ดินโดยไม่คัดค้าน
ห้องแถวพิพาทปลูกอยู่ในที่ดินของ พ.ตั้งแต่ก่อนจำเลยที่ 2แต่งงานกับ พ.จึงตกเป็นส่วนควบกับที่ดินดังกล่าวเมื่อพ.ตายย.บ.และจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นทายาทได้ยื่นคำขอรับมรดกที่ดินแปลงนี้ของ พ.จำเลยที่2ซึ่งเป็นภรรยาของพ.ก็ไม่คัดค้าน พฤติการณ์ของจำเลยที่ 2 เช่นนี้แสดงว่าจำเลยที่ 2 ยินยอมยกที่ดินให้ ย.บ.และจำเลยที่ 1 แล้ว เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้ตามคำขอรับมรดก ย.บ.และจำเลยที่ 1 จึงเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินดังกล่าว ห้องแถวพิพาทซึ่งเป็นส่วนควบกับที่ดินจึงตกเป็นกรรมสิทธิ์ของบุคคลทั้งสามด้วยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 107 วรรคสอง โดยไม่จำต้องจดทะเบียนรับมรดกห้องแถวพิพาทอีกแต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2426/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องเรียกค่าเสียหายจากทายาทผู้รับมรดก กรณีผู้ตายขับรถประมาท ชนเสียหาย ศาลรับฟ้องได้
แม้ชื่อ จำเลยในช่อง คู่ความและคำขอท้ายฟ้องโจทก์จะไม่ได้ระบุว่า โจทก์ฟ้องจำเลย ทั้งแปดให้รับผิดในฐานะ อะไรก็ตามแต่ คำฟ้องของโจทก์ได้ บรรยายว่าจำเลยทั้งแปดเป็นทายาทโดยธรรมผู้มีสิทธิรับมรดกของ ก. ผู้ตาย โดย จำเลยที่ 1 เป็นคู่สมรสของ ก. จำเลยที่ 2, 3, 4 เป็นบุตรผู้สืบสันดานของ ก.ผู้ตายเกิดจากจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 5, 6 เป็นผู้สืบสันดานของ ก. ผู้ตาย เกิดจาก ร. จำเลยที่ 7 เป็นบิดาผู้ตาย จำเลยที่ 8เป็นมารดาผู้ตาย และได้ บรรยายด้วย ว่า ก. ขับรถยนต์ โดยประมาทชนกับรถยนต์ คันที่โจทก์รับประกันภัยไว้ได้รับความเสียหาย และ ก. ตาย ในที่เกิดเหตุ ย่อมพอเข้าใจได้ ว่าโจทก์ฟ้องจำเลยทั้งแปดให้รับผิดในฐานะ ผู้รับมรดกของ ก. ผู้ตาย หาใช่ฟ้องให้รับผิดเป็นส่วนตัวไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3277/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องและการพิสูจน์ข้อเท็จจริงในคดีละเมิด ทายาทผู้รับมรดก
ในคดีที่โจทก์ฟ้องจำเลยให้รับผิดชดใช้ค่าเสียหายในฐานะเป็นทายาทของผู้ตายซึ่งกระทำละเมิดต่อโจทก์ เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์โดยเหตุที่โจทก์มิได้นำสืบให้เห็นว่าจำเลยที่ 2 เป็นภริยาชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย และผู้ตายมีทรัพย์มรดกตกทอดแก่ทายาทอย่างใดหรือไม่ แม้โจทก์จะอุทธรณ์เฉพาะปัญหาดังกล่าว เมื่อศาลอุทธรณ์เห็นว่าการกระทำของผู้ตายไม่เป็นละเมิดโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องแล้ว ศาลอุทธรณ์ก็อาจยกฟ้องโจทก์โดยเหตุดังกล่าวได้โดยไม่จำต้องวินิจฉัยความรับผิดของจำเลยตามข้ออุทธรณ์ของโจทก์แต่อย่างใด.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 773/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิรับมรดกของบุตรบุญธรรม: ไม่ใช่ผู้สืบสันดานโดยตรง จึงไม่มีสิทธิรับมรดกแทนที่
ผู้สืบสันดานโดยตรงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1643 หมายถึงผู้สืบสันดานในทางสืบสายโลหิตโดยแท้จริง
บุตรบุญธรรมนั้นกฎหมายถือว่าเป็นผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย มีสิทธิได้รับมรดกของผู้รับบุตรบุญธรรมแต่บุตรบุญธรรมหาใช่ผู้สืบสันดานโดยตรงของผู้รับบุตรบุญธรรมไม่ จึงไม่มีสิทธิรับมรดกแทนที่ผู้รับบุตรบุญธรรม
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 2/2528)
บุตรบุญธรรมนั้นกฎหมายถือว่าเป็นผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย มีสิทธิได้รับมรดกของผู้รับบุตรบุญธรรมแต่บุตรบุญธรรมหาใช่ผู้สืบสันดานโดยตรงของผู้รับบุตรบุญธรรมไม่ จึงไม่มีสิทธิรับมรดกแทนที่ผู้รับบุตรบุญธรรม
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 2/2528)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 433/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับมรดกและการปิดบังทรัพย์มรดก การระบุทายาทไม่ครบถ้วนไม่ถือเป็นการปิดบัง
โจทก์ทั้งสามกับจำเลยทั้งสามและ น. กับ ส. ต่างเป็นทายาทของเจ้ามรดก จำเลยทั้งสามไปขอรับมรดกที่ดินพิพาทโดยระบุบัญชีหรือเครือญาติของเจ้ามรดกว่ามีเฉพาะจำเลยทั้งสามกับ น. และ ส. โดยไม่ระบุโจทก์ทั้งสามด้วย ดังนี้ ยังถือไม่ได้ว่าเป็นเรื่องปิดบังทรัพย์มรดก อันจะเป็นเหตุให้จำเลยทั้งสามถูกกำจัดมิให้รับทรัพย์มรดกตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1605
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3786/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิรับมรดกของบุตรนอกกฎหมายที่บิดารับรอง และอายุความฟ้องคดีจัดการมรดก
บุตรนอกกฎหมายที่บิดารับรองแล้วถือว่าเป็นผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1627 จึงมีสิทธิรับมรดกของบิดาได้
โจทก์บรรยายฟ้องว่าโจทก์เป็นบุตรโดยชอบ ด้วยกฎหมายของ ป. แต่นำสืบว่าโจทก์เป็นบุตรที่ป.รับรองแล้วไม่เป็นการนำสืบนอกฟ้อง
ปัญหาว่าฟ้องโจทก์เคลือบคลุมหรือไม่ มิใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน เมื่อจำเลยมิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่+วินิจฉัย
โจทก์บรรยายฟ้องว่า ป. เป็นผู้มีสิทธิรับมรดกเฉพาะส่วนของ ส. แล้วนำสืบว่า ป. มีสิทธิรับมรดกเพราะ ส. ทำพินัยกรรมยกทรัพย์ให้ ป. หาใช่เป็นการนำสืบนอกฟ้องนอกประเด็นไม่
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์เป็นทายาทของป. จำเลยเป็นผู้จัดการมรดกไม่จัดการทรัพย์มรดกโจทก์ จึงขอให้บังคับให้จำเลยจัดการโอนให้ ดังนี้ เป็นคดีเกี่ยวกับการจัดการมรดกทายาทมีสิทธิฟ้องคดี ภายใน 5 ปี นับแต่การจัดการมรดกสิ้นสุดลง ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1733 วรรคสอง
โจทก์บรรยายฟ้องว่าโจทก์เป็นบุตรโดยชอบ ด้วยกฎหมายของ ป. แต่นำสืบว่าโจทก์เป็นบุตรที่ป.รับรองแล้วไม่เป็นการนำสืบนอกฟ้อง
ปัญหาว่าฟ้องโจทก์เคลือบคลุมหรือไม่ มิใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน เมื่อจำเลยมิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่+วินิจฉัย
โจทก์บรรยายฟ้องว่า ป. เป็นผู้มีสิทธิรับมรดกเฉพาะส่วนของ ส. แล้วนำสืบว่า ป. มีสิทธิรับมรดกเพราะ ส. ทำพินัยกรรมยกทรัพย์ให้ ป. หาใช่เป็นการนำสืบนอกฟ้องนอกประเด็นไม่
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์เป็นทายาทของป. จำเลยเป็นผู้จัดการมรดกไม่จัดการทรัพย์มรดกโจทก์ จึงขอให้บังคับให้จำเลยจัดการโอนให้ ดังนี้ เป็นคดีเกี่ยวกับการจัดการมรดกทายาทมีสิทธิฟ้องคดี ภายใน 5 ปี นับแต่การจัดการมรดกสิ้นสุดลง ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1733 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1493/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: ผู้จัดการมรดกฟ้องคดีซ้ำกับคดีเดิมที่ศาลจำหน่ายคดีเนื่องจากไม่ยื่นคำร้องขอรับมรดกภายในกำหนด
เดิม จ.เป็นโจทก์ฟ้องจำเลยให้ชำระหนี้เงินกู้ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง จ.อุทธรณ์และถึงแก่กรรมในระหว่างอุทธรณ์โจทก์ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกของ จ.โดยคำสั่งศาลยื่นคำร้องขอเข้าเป็นคู่ความแทนที่เกินกำหนดหนึ่งปีศาลอุทธรณ์ไม่อนุญาตและจำหน่ายคดีจากสารบบความคำพิพากษาศาลชั้นต้นย่อมถึงที่สุดนับแต่วันที่ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งดังกล่าวตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 147 วรรคสองเมื่อโจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกฟ้องจำเลยให้ชำระหนี้ตามสัญญากู้ฉบับเดียวกันนั้นอีก เช่นนี้ถือได้ว่าโจทก์เป็นคู่ความรายเดียวกับเจ้ามรดก และคดีทั้งสองมีประเด็นอย่างเดียวกันซึ่งจะต้องวินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันจึงเป็นฟ้องซ้ำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148