พบผลลัพธ์ทั้งหมด 161 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5573/2538 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดุลพินิจผู้พิพากษาในการรับรองฎีกาข้อเท็จจริง แม้ไม่ได้ยื่นคำร้อง
การรับรองให้ฎีกาในข้อเท็จจริงเป็นดุลพินิจของผู้พิพากษาที่ได้นั่งพิจารณาคดี บทบัญญัติใน ป.วิ.พ.มาตรา 248 วรรคสี่ ที่บัญญัติว่า การขอให้ผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีรับรองว่ามีเหตุสมควรที่จะฎีกาได้ ให้ผู้ยื่นฎีกายื่นคำร้องพร้อมฎีกานั้นเป็นเพียงแบบวิธีการขอให้รับรอง ดังนี้ แม้ผู้ฎีกายังไม่ยื่นคำร้องและฎีกา ผู้พิพากษาดังกล่าวย่อมใช้ดุลพินิจรับรองให้ฎีกาข้อเท็จจริงไว้ในคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นฎีกาของผู้ฎีกาได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5573/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับรองให้ฎีกาในข้อเท็จจริงเป็นดุลพินิจของผู้พิพากษา แม้มิได้ยื่นคำร้องพร้อมฎีกา
การรับรองให้ฎีกาในข้อเท็จจริงเป็นดุลพินิจของผู้พิพากษาที่ได้นั่งพิจารณาคดี บทบัญญัติในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคสี่ ที่บัญญัติว่าการขอให้ผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีรับรองว่ามีเหตุสมควรที่จะฎีกาได้ ให้ผู้ยื่นฎีกายื่นคำร้องพร้อมฎีกานั้นเป็นเพียงแบบวิธีการขอให้รับรอง ดังนี้ แม้ผู้ฎีกายังไม่ยื่นคำร้องและฎีกา ผู้พิพากษาดังกล่าวย่อมใช้ดุลพินิจรับรองให้ฎีกาข้อเท็จจริงไว้ในคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นฎีกาของผู้ฎีกาได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5434/2538 เวอร์ชัน 6 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์และฎีกาในข้อเท็จจริง: เงื่อนไขการรับรองและการเพิกถอนคำสั่งที่ไม่ชอบ
คดีผู้ร้องที่ 1 และที่ 3 มีราคาทรัพย์สินที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ไม่เกิน 50,000 บาท และต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ผู้ร้องที่ 1 และที่ 3ย่อมมีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นรับรองว่าคดีผู้ร้องที่ 1 และที่ 3 มีเหตุอันควรอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงได้ ผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นจึงมีหน้าที่พิจารณาเพียงว่า มีเหตุอันควรอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงได้หรือไม่เท่านั้น
การที่ผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า คดีนี้ไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ จึงไม่จำต้องรับรองและมีคำสั่งรับอุทธรณ์ของผู้ร้องทั้งสามจึงเป็นการสั่งคดีในส่วนของผู้ร้องที่ 1 และที่ 3 โดยผิดหลงและเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบ ไม่ได้ปฏิบัติให้เป็นไปตามบทบัญญัติว่าด้วยการพิจารณาคดีถือไม่ได้ว่าผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นได้รับรองว่ามีเหตุอันควรอุทธรณ์ได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 224 วรรคหนึ่งแล้ว และแม้ต่อมาในชั้นฎีกาผู้ร้องที่ 1 และที่ 3 ยื่นคำร้องร่วมกับผู้ร้องที่ 2 ต่อศาลชั้นต้นขอให้ผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นรับรองว่าคดีมีเหตุสมควรที่จะฎีกาในข้อเท็จจริงได้ และผู้พิพากษาที่นั่ง-พิจารณาคดีในศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า รับรองว่าคดีมีเหตุสมควรที่จะฎีกาในข้อเท็จจริงได้และมีคำสั่งรับฎีกาของผู้ร้องทั้งสามก็ตาม ก็เป็นการสั่งคดีในส่วนของผู้ร้องที่ 1 และที่ 3 โดยผิดหลงและเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบเช่นกัน ผู้ร้องที่ 1 และที่ 3 จึงไม่มีสิทธิที่จะฎีกาในข้อเท็จจริงได้ และศาลฎีกามีอำนาจที่จะหยิบยกขึ้นวินิจฉัยให้เพิกถอนคำสั่งและการดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นที่ไม่ชอบเสียได้ ตามป.วิ.พ.มาตรา 243 (1) และมาตรา 27 ประกอบด้วยมาตรา 246 และมาตรา 247ศาลฎีกาให้ยกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่เกี่ยวกับผู้ร้องที่ 1 และที่ 3 และเพิกถอนคำสั่งศาลชั้นต้นที่ว่า "คดีนี้ไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ จึงไม่จำต้องรับรอง" และให้ยกคำสั่งรับอุทธรณ์ของผู้ร้องที่ 1 และที่ 3 เสีย ให้ศาลชั้นต้นดำเนินการให้ผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณา-คดีในศาลชั้นต้นพิจารณาคำร้องของผู้ร้องที่ 1 และที่ 3 ว่าจะรับรองหรือไม่แล้วดำเนินการต่อไป กับให้ยกฎีกาของผู้ร้องที่ 1 และที่ 3
การที่ผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า คดีนี้ไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ จึงไม่จำต้องรับรองและมีคำสั่งรับอุทธรณ์ของผู้ร้องทั้งสามจึงเป็นการสั่งคดีในส่วนของผู้ร้องที่ 1 และที่ 3 โดยผิดหลงและเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบ ไม่ได้ปฏิบัติให้เป็นไปตามบทบัญญัติว่าด้วยการพิจารณาคดีถือไม่ได้ว่าผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นได้รับรองว่ามีเหตุอันควรอุทธรณ์ได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 224 วรรคหนึ่งแล้ว และแม้ต่อมาในชั้นฎีกาผู้ร้องที่ 1 และที่ 3 ยื่นคำร้องร่วมกับผู้ร้องที่ 2 ต่อศาลชั้นต้นขอให้ผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นรับรองว่าคดีมีเหตุสมควรที่จะฎีกาในข้อเท็จจริงได้ และผู้พิพากษาที่นั่ง-พิจารณาคดีในศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า รับรองว่าคดีมีเหตุสมควรที่จะฎีกาในข้อเท็จจริงได้และมีคำสั่งรับฎีกาของผู้ร้องทั้งสามก็ตาม ก็เป็นการสั่งคดีในส่วนของผู้ร้องที่ 1 และที่ 3 โดยผิดหลงและเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบเช่นกัน ผู้ร้องที่ 1 และที่ 3 จึงไม่มีสิทธิที่จะฎีกาในข้อเท็จจริงได้ และศาลฎีกามีอำนาจที่จะหยิบยกขึ้นวินิจฉัยให้เพิกถอนคำสั่งและการดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นที่ไม่ชอบเสียได้ ตามป.วิ.พ.มาตรา 243 (1) และมาตรา 27 ประกอบด้วยมาตรา 246 และมาตรา 247ศาลฎีกาให้ยกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่เกี่ยวกับผู้ร้องที่ 1 และที่ 3 และเพิกถอนคำสั่งศาลชั้นต้นที่ว่า "คดีนี้ไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ จึงไม่จำต้องรับรอง" และให้ยกคำสั่งรับอุทธรณ์ของผู้ร้องที่ 1 และที่ 3 เสีย ให้ศาลชั้นต้นดำเนินการให้ผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณา-คดีในศาลชั้นต้นพิจารณาคำร้องของผู้ร้องที่ 1 และที่ 3 ว่าจะรับรองหรือไม่แล้วดำเนินการต่อไป กับให้ยกฎีกาของผู้ร้องที่ 1 และที่ 3
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5434/2538 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์ข้อเท็จจริงในคดีที่มีราคาทรัพย์สินไม่เกิน 50,000 บาท และการรับรองเหตุอุทธรณ์ของผู้พิพากษา
คดีของผู้ร้องมีราคาทรัพย์สินที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ไม่เกิน 50,000 บาท และต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริงผู้ร้องย่อมมีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นรับรองว่าคดีผู้ร้องมีเหตุอันควรอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงได้ เมื่อผู้ร้องยื่นคำร้องดังกล่าวผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นมีหน้าที่พิจารณาเพียงว่ามีเหตุอันควรอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงได้หรือไม่เท่านั้นการที่ผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าคดีนี้ไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ จึงไม่จำต้องรับรองและมีคำสั่งรับอุทธรณ์ของผู้ร้อง จึงเป็นการสั่งโดยหลงผิดและเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบ ไม่ได้ปฏิบัติให้เป็นไปตามบทบัญญัติว่าด้วยการพิจารณาคดี ถือไม่ได้ว่าผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นได้รับรองว่ามีเหตุอันควรอุทธรณ์ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 224 วรรคหนึ่งแล้ว ศาลฎีกาพิพากษายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ให้ศาลชั้นต้นดำเนินการให้ผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นพิจารณาคำร้องของผู้ร้องว่าจะรับรองหรือไม่ แล้วดำเนินการต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5169/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิทายาทนอกกฎหมายที่ได้รับการรับรอง และการแต่งตั้งผู้จัดการมรดกโดยคำนึงถึงประโยชน์แห่งความยุติธรรม
ผู้คัดค้านเป็นบุตรผู้เยาว์ของ ศ. และเป็นบุตรนอกกฎหมายที่ผู้ตายซึ่งเป็นบิดารับรองแล้วเป็นทายาทโดยธรรมมีสิทธิรับมรดกของผู้ตายจึงมีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ตั้ง ศ. เป็นผู้จัดการมรดกได้ผู้ร้องไม่พอใจที่ผู้ตายมีบุตรกับ ศ. และไม่ยอมรับว่าผู้คัดค้านเป็นทายาทของผู้ตายประกอบกับ ศ. มีคุณสมบัติไม่ต้องห้ามเป็นผู้จัดการมรดกจึงสมควรตั้ง ศ. เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายร่วมกับผู้ร้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 381/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิทายาทบุตรนอกกฎหมายที่บิดารับรอง: การรับมรดกแทนที่
การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 ไม่รับวินิจฉัยปัญหาใดโดยให้เหตุผลว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น หากจำเลยไม่เห็นด้วยก็ชอบที่จะฎีกาคัดค้านว่าไม่ถูกต้องอย่างไร ที่ถูกต้องแล้วจะต้องวินิจฉัยอย่างไร ด้วยเหตุผลใดแต่หาได้ทำเช่นนั้นไม่ คงฎีกาว่าคำวินิจฉัยดังกล่าวคลาดเคลื่อนต่อความเป็นจริง เพราะจำเลยได้ยกขึ้นต่อสู้มาตั้งแต่ต้นและเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลสูงย่อมยกขึ้นวินิจฉัยได้นั้น เป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
ม.และโจทก์ที่ 1 ได้แสดงความเกี่ยวข้องฉันบิดากับบุตรโดยให้ความอุปการะเลี้ยงดูให้ใช้นามสกุลเดียวกัน เป็นพฤติการณ์ที่รู้กันโดยทั่วไปตลอดมาว่าโจทก์ที่ 1 เป็นบุตร โจทก์ที่ 1 จึงเป็นบุตรนอกกฎหมายที่บิดารับรองแล้ว ถือว่าเป็นผู้สืบสันดานเป็นทายาทโดยธรรมมีสิทธิรับมรดกของ ม. แต่เมื่อ ม.ซึ่งเป็นบุตรของเจ้ามรดกตายไปก่อนเจ้ามรดก โจทก์ที่ 1 จึงมีสิทธิรับมรดกของเจ้ามรดกแทนที่ม.ได้
ม.และโจทก์ที่ 1 ได้แสดงความเกี่ยวข้องฉันบิดากับบุตรโดยให้ความอุปการะเลี้ยงดูให้ใช้นามสกุลเดียวกัน เป็นพฤติการณ์ที่รู้กันโดยทั่วไปตลอดมาว่าโจทก์ที่ 1 เป็นบุตร โจทก์ที่ 1 จึงเป็นบุตรนอกกฎหมายที่บิดารับรองแล้ว ถือว่าเป็นผู้สืบสันดานเป็นทายาทโดยธรรมมีสิทธิรับมรดกของ ม. แต่เมื่อ ม.ซึ่งเป็นบุตรของเจ้ามรดกตายไปก่อนเจ้ามรดก โจทก์ที่ 1 จึงมีสิทธิรับมรดกของเจ้ามรดกแทนที่ม.ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2986/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับรองการค้ำประกันด้วยคำให้การ ย่อมใช้แทนหลักฐานหนังสือค้ำประกันได้ แม้เอกสารไม่สมบูรณ์
หนังสือค้ำประกันปิดอากรแสตมป์ไม่ถูกต้องตามกฎหมายแต่เมื่อจำเลยที่ 2 รับแล้วว่า จำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1 จริง ก็ไม่จำต้องอาศัยหนังสือค้ำประกันของจำเลยที่ 2 เป็นหลักฐานในคดี ศาลพิพากษาให้จำเลยที่ 2รับผิดได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2986/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับรองการค้ำประกันย่อมมีผลผูกพัน แม้เอกสารค้ำประกันไม่สมบูรณ์
หนังสือค้ำประกันปิดอากรแสตมป์ไม่ถูกต้องตามกฎหมายแต่เมื่อจำเลยที่2รับแล้วว่าจำเลยที่2เป็นผู้ค้ำประกันจำเลยที่1จริงก็ไม่จำต้องอาศัยหนังสือค้ำประกันของจำเลยที่2เป็นหลักฐานในคดีศาลพิพากษาให้จำเลยที่2รับผิดได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2755/2538 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฐานะลูกหนี้ตั๋วแลกเงิน: เจ้าหนี้ผู้รับรองมีสิทธิไล่เบี้ยหรือไม่
เจ้าหนี้ซึ่งเป็นผู้จ่ายและได้รับรองตั๋วแลกเงินอันต้องผูกพันจ่ายเงินตามเนื้อความแห่งคำรับรองของตนตาม ป.พ.พ. มาตรา 937 ย่อมอยู่ในฐานะลูกหนี้ชั้นต้นอย่างเดียวกับลูกหนี้ซึ่งเป็นผู้สั่งจ่ายตั๋วแลกเงิน ลูกหนี้ไม่ได้อยู่ในฐานะที่มีความผูกพันอยู่แล้วก่อนเจ้าหนี้ตามมาตรา 967 วรรคสาม เจ้าหนี้จึงไม่มีสิทธิไล่เบี้ยบังคับเอาแก่ลูกหนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2755/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิไล่เบี้ยตั๋วแลกเงิน: เจ้าหนี้ผู้รับรองไม่มีสิทธิไล่เบี้ยจากผู้สั่งจ่าย
เจ้าหนี้ซึ่งเป็นผู้จ่ายและได้รับรองตั๋วแลกเงินอันต้องผูกพันจ่ายเงินตามเนื้อความแห่งคำรับรองของตนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา937ย่อมอยู่ในฐานะลูกหนี้ชั้นต้นอย่างเดียวกับลูกหนี้ที่1ซึ่งเป็นผู้สั่งจ่ายตั๋วแลกเงินลูกหนี้ที่1ไม่ได้อยู่ในฐานะที่มีความผูกพันอยู่แล้วก่อนเจ้าหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา967วรรคสามเจ้าหนี้จึงไม่มีสิทธิไล่เบี้ยบังคับเอาแก่ลูกหนี้ที่1ได้