คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
รับโอน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 38 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 421/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ในรถของกลาง: การรับโอนหลังศาลสั่งริบไม่ทำให้ได้กรรมสิทธิ์ รถตกเป็นของแผ่นดิน
ผู้ร้องรับโอนรถจักรยานยนต์ของกลางภายหลังศาลสั่งริบย่อมไม่ได้กรรมสิทธิ์เพราะรถของกลางตกเป็นของแผ่นดินแล้วจึงร้องขอให้ศาลสั่งคืนรถจักรยานยนต์ไม่ได้.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2746/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การได้กรรมสิทธิ์โดยครอบครองปรปักษ์ และสิทธิของผู้รับโอนที่จดทะเบียนโดยสุจริต
จำเลยที่ 1 ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินมีโฉนดโดยการครอบครองปรปักษ์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 เป็นการได้ทรัพย์สิทธิ อันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์โดยทางอื่นนอกจากนิติกรรม เมื่อจำเลยที่ 1 ยังไม่ได้จดทะเบียนการได้มา จำเลยที่ 1 จะยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้โจทก์ ผู้รับโอนกรรมสิทธิ์มาโดยเสียค่าตอบแทนและโดยสุจริตและได้ จดทะเบียนสิทธิโดยสุจริตแล้วหาได้ไม่ ตามมาตรา 1299 วรรคสอง และตามมาตรา 6 ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าบุคคลทุกคนกระทำการโดยสุจริต เมื่อจำเลยที่ 1 มิได้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ว่าโจทก์รับโอนที่ดินมาโดยไม่สุจริตจึงต้องฟังว่าโจทก์ได้รับโอนมาโดยเสียค่าตอบแทนและ โดยสุจริต และได้จดทะเบียนโดยสุจริตแล้ว จำเลยที่ 1 จึงอ้างกรรมสิทธิ์ในที่ดิน ที่ได้มาโดยการครอบครองปรปักษ์ยันโจทก์ ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2111-2112/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เลิกสัญญาก่อนเช็คถึงกำหนด สิทธิเรียกร้องเช็คสิ้นสุด โจทก์รับโอนเช็คโดยไม่สุจริต
จำเลยทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินกับส.โดยส.มิได้มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินนั้นและได้ออกเช็คพิพาททั้งสามฉบับลงวันที่ล่วงหน้ามอบให้ส.เพื่อเป็นการชำระราคาส่วนหนึ่งตามสัญญาจะซื้อจะขายนั้นก่อนเช็คพิพาทถึงกำหนดใช้เงินจำเลยไม่ชำระราคาส่วนที่เหลือแก่ส.ส.จึงมีหนังสือทวงให้จำเลยชำระเงินค่าที่ดินตามสัญญาทั้งหมดหากไม่ชำระภายในกำหนดจะถือว่าสละสิทธิตามสัญญาทั้งหมดหลังจากนั้นได้มีการตกลงกันระหว่างผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายและได้มีการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินตามสัญญาจะซื้อขายให้แก่บุคคลภายนอกที่มิใช่คู่สัญญาต่อมาฝ่ายจำเลยมีหนังสือทวงเช็คพิพาทคืนโดยอ้างถึงหนังสือของส.ว่าได้มีการยกเลิกสัญญาจะซื้อขายแล้วส.จึงมีหนังสือแจ้งบอกเลิกสัญญาจะซื้อจะขายมาเป็นครั้งที่สองและขอให้จำเลยนำเงินตามเช็คพิพาททั้งสามฉบับไปชำระให้ดังนี้เห็นได้ว่าทั้งส.และจำเลยต่างได้ตกลงเลิกสัญญาจะซื้อขายดังกล่าวกันแล้วจึงทำให้สัญญาจะซื้อขายเลิกกันและคู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะเดิมก่อนที่จะมีการทำสัญญาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา391ส.จึงต้องคืนเช็คพิพาททั้งสามฉบับให้แก่จำเลยจะยึดถือเช็คไว้หรือเรียกร้องให้จำเลยใช้เงินตามเช็คพิพาทโดยอ้างว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาหาได้ไม่ดังนั้นเมื่อส.โอนเช็คพิพาทให้โจทก์โดยกรรมการผู้จัดการของโจทก์เข้าไปเกี่ยวข้องและรับทราบเรื่องราวเกี่ยวกับการซื้อขายที่ดินระหว่างส.กับจำเลยมาโดยตลอดเป็นลำดับจนกระทั่งมีการตกลงเลิกสัญญากันทำให้เช็คพิพาทไม่มีมูลหนี้และส.ต้องคืนให้จำเลยดังกล่าวถือได้ว่าโจทก์รับโอนเช็คพิพาทจากส.โดยไม่สุจริตและการโอนเช็คระหว่างส.กับโจทก์มีขึ้นโดยคบคิดกันฉ้อฉลโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องเรียกเงินตามเช็คจำเลยไม่ต้องรับผิดตามเช็คนั้นต่อโจทก์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3413-3415/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับโอนเช็คพิพาทโดยไม่สุจริต ทำให้ขาดอำนาจฟ้องคดีอาญา
การที่โจทก์รับโอนเช็คพิพาทจาก ส. ทั้งที่ไม่มีมูลหนี้ต่อกัน โดยยอมให้ ส.ยืมมือโจทก์นำเช็คพิพาทมาฟ้องคดีอาญาแก่จำเลย เป็นการรับโอน เช็คพิพาทโดยไม่สุจริต โจทก์ย่อมไม่ใช่ผู้ทรงเช็คโดยชอบด้วยกฎหมาย และไม่เป็นผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(4) จึงไม่มีอำนาจฟ้องคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 28(2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3413-3415/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับโอนเช็คพิพาทโดยไม่สุจริต ทำให้ขาดอำนาจฟ้องคดีอาญา
การที่โจทก์รับโอนเช็คพิพาทจากส.ทั้งที่ไม่มีมูลหนี้ต่อกันโดยยอมให้ ส.ยืมมือโจทก์นำเช็คพิพาทมาฟ้อง คดีอาญาแก่จำเลยเป็นการรับโอน เช็คพิพาทโดยไม่สุจริตโจทก์ย่อมไม่ใช่ผู้ทรงเช็คโดยชอบด้วยกฎหมาย และไม่ เป็นผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(4) จึงไม่มีอำนาจฟ้องคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 28(2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2431/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับโอนทรัพย์สินโดยไม่สุจริตของผู้ซื้อที่ทราบข้อพิพาทเดิมของผู้ขายและสิทธิของผู้อื่น ย่อมอาจถูกเพิกถอนได้
ย. ผู้จัดการมรดกได้แบ่งมรดกซึ่งมีที่ดินและตึกแถวพิพาทเป็นส่วนหนึ่งให้แก่ จ. สามีจำเลยแล้ว จ.และครอบครัวอยู่ในตึกแถวเป็นการครอบครองอย่างเจ้าของ แม้ จ. ตายแล้วจำเลยกับบุตรก็ยังครอบครองต่อมารวมเป็นเวลา 17 ปีแล้ว แต่ยังไม่ได้จดทะเบียน หุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนโจทก์เคยอาศัยอยู่กับ ย. โจทก์ทราบก่อนซื้อแล้วว่า จำเลยกำลังพิพาทกับย. ที่ศาล เมื่อโจทก์ซื้อมาทั้งที่รู้อยู่ โจทก์ย่อมเป็นผู้รับโอนที่กระทำการโดยไม่สุจริต การรับโอนของโจทก์ย่อมเป็นทางเสียเปรียบแก่จำเลยผู้อยู่ในฐานะอันจะจดทะเบียนสิทธิของตนได้อยู่ก่อน จำเลยอาจเรียกให้โจทก์เพิกถอนทะเบียนได้ โจทก์จึงไม่มีสิทธิขับไล่จำเลยออกจากที่ดินและตึกแถวดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1612/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรุกล้ำที่ดินโดยสุจริตของผู้รับโอน สิทธิเรียกร้องค่าที่ดิน มิใช่การรื้อถอน
เจ้าของเดิมได้ปลูกสร้างตึกแถวเลขที่ 40, 41 และ 42 ลงบนที่ดิน 2 แปลงของตนคือที่ดินโฉนดที่ 811 และ ที่ 237 ปรากฏว่าตึกแถวเลขที่ 41 ได้ปลูกล้ำเข้าไปในที่ดินโฉนดที่ 811 ต่อมาที่ดินโฉนดที่ 811 พร้อมตึกแถวได้ตกเป็นของโจทก์ส่วนที่ดินโฉนดที่ 237 พร้อมทั้งตึกแถวได้ตกเป็นของจำเลยกรณีนี้ ไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะต้องนำบทกฎหมายที่ใกล้เคียงมาใช้บังคับคือประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1312 การที่ตึกแถวเลขที่ 41 ปลูกล้ำเข้าไปในโฉนดที่ 811 ของโจทก์นั้น เจ้าของเดิมเป็นผู้ปลูกหาใช่จำเลยไม่โจทก์จำเลยต่างรับโอนที่ดินและตึกแถวมาอีกทอดหนึ่งถือได้ว่าการรุกล้ำดังกล่าวเป็นมาโดยสุจริต จะให้จำเลยรื้อถอนไปหาชอบด้วยความยุติธรรมไม่และจะนำมาตรา 1310 มาปรับกับกรณีนี้ก็ไม่ได้ เพราะมาตรา 1310 เป็นบทบัญญัติกรณีที่ปลูกสร้างโรงเรือนลงในที่ดินผู้อื่นทั้งหลัง มิใช่ปลูกสร้างรุกล้ำเข้าไปในที่ดินผู้อื่นเพียงบางส่วนเช่นกรณีนี้โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องบังคับให้จำเลยรื้อถอนฝาห้องเลขที่ 41 ออกไปจากที่ดินโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2389/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ซื้อขายที่ดิน ส.ค.1 ผู้ซื้อผิดสัญญาเมื่อไม่ไปรับโอนแม้ผู้ขายดำเนินการออก น.ส.3 แล้ว
ซื้อขายที่ดิน ส.ค.1 อาจขอ น.ส.3 พร้อมกับโอนขายได้การที่ผู้ขายไปหอทะเบียนเพื่อออก น.ส.3 กับขอขาย แต่ผู้ซื้อไม่ไปรับโอน ผู้ซื้อเป็นผู้ผิดสัญญา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1704-1705/2515 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายที่ดินโดยเจตนาลวงและการรับโอนโดยไม่สุจริต ทำให้เพิกถอนนิติกรรมได้
จำเลยที่ 1 ขอยืมที่ดินของโจทก์เพื่อนำไปจำนองเป็นประกันเงินกู้ที่จำเลยที่ 1 กู้จากธนาคาร โจทก์จึงแบ่งแยกที่ดินของโจทก์ส่วนหนึ่งแล้วใส่ชื่อจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของโดยตกลงกันว่า เมื่อจำเลยที่ 1 ชำระหนี้ธนาคารหมดแล้วจะคืนที่ดินให้โจทก์เป็นการแสดงเจตนาลวง ที่ดินยังคงเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์อยู่จำเลยตกอยู่ในความผูกพันที่จะต้องโอนที่ดินคืนให้โจทก์ไม่มีสิทธิที่จะเอาที่ดินไปขายให้ผู้อื่น
จำเลยที่ 2 ที่ 3 ซื้อที่ดินจากจำเลยที่ 1 โดย ทราบถึงการแสดงเจตนาลวงเป็นการรับโอนโดยไม่สุจริต โจทก์มีสิทธิขอให้เพิกถอนนิติกรรมซื้อขายระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ที่ 3 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1704-1705/2515

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายที่ดินโดยเจตนาลวงและการรับโอนโดยไม่สุจริต โจทก์มีสิทธิเพิกถอนนิติกรรม
จำเลยที่ 1 ขอยืมที่ดินของโจทก์เพื่อนำไปจำนองเป็นประกันเงินกู้ที่จำเลยที่ 1 กู้จากธนาคาร โจทก์จึงแบ่งแยกที่ดินของโจทก์ส่วนหนึ่งแล้วใส่ชื่อจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของโดยตกลงกันว่า เมื่อจำเลยที่ 1 ชำระหนี้ธนาคารหมดแล้วจะคืนที่ดินให้โจทก์เป็นการแสดงเจตนาลวง ที่ดินยังคงเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์อยู่จำเลยตกอยู่ในความผูกพันที่จะต้องโอนที่ดินคืนให้โจทก์ไม่มีสิทธิที่จะเอาที่ดินไปขายให้ผู้อื่น
จำเลยที่ 2 ที่ 3 ซื้อที่ดินจากจำเลยที่ 1 โดย ทราบถึงการแสดงเจตนาลวงเป็นการรับโอนโดยไม่สุจริต โจทก์มีสิทธิขอให้เพิกถอนนิติกรรมซื้อขายระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ที่ 3 ได้
of 4