พบผลลัพธ์ทั้งหมด 25 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6808/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีทรัพย์สินทางปัญญา: การซื้อกิจการ ไม่ใช่การรับโอนสิทธิเรียกร้อง ทำให้ศาลไม่รับวินิจฉัยประเด็นนี้
เมื่อตามคำฟ้องโจทก์กล่าวอ้างว่าโจทก์ได้รับสิทธิมาโดยการเข้าซื้อกิจการของบริษัท ซ. มิใช่อ้างว่าได้สิทธิมาโดยการรับโอนสิทธิเรียกร้อง แม้จำเลยจะให้การต่อสู้ว่า โจทก์ไม่ได้บอกกล่าวการโอนสิทธิเรียกร้องให้จำเลยทราบ ทำนองว่าการโอนสิทธิเรียกร้องระหว่างบริษัท ซ. กับโจทก์ไม่ชอบด้วยกฎหมาย คดีก็ไม่มีประเด็นข้อพิพาทเรื่องการโอนสิทธิเรียกร้อง ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า การโอนสิทธิเรียกร้องระหว่างโจทก์กับบริษัท ซ. กับโจทก์ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ และโจทก์มีอำนาจฟ้องหรือไม่ แล้ววินิจฉัยว่า การโอนสิทธิเรียกร้องดังกล่าวไม่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องแล้วพิพากษายกฟ้องจึงไม่ชอบ อุทธรณ์ของโจทก์ในปัญหานี้จึงถือเป็นข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง ไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 38 (เดิม) ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5598-5599/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองที่ดิน: ฟ้องขับไล่จากผู้รับโอนสิทธิจากเจ้าของเดิม การครอบครองโดยอาศัยสิทธิเช่า ไม่ถือเป็นการได้มาซึ่งสิทธิที่ดีกว่า
ป.วิ.พ. มาตรา 88 วรรคหนึ่ง กำหนดให้คู่ความที่มีความจำนงจะอ้างอิงพยานหลักฐานสนับสนุนข้ออ้างหรือข้อเถียงของตน ต้องยื่นบัญชีระบุพยานต่อศาลก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน หากคู่ความประสงค์จะยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติม ให้ยื่นคำแถลงขอระบุพยานเพิ่มเติมต่อศาลพร้อมบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมภายในสิบห้าวันนับแต่วันสืบพยานตามวรรคสองแห่งบทมาตราดังกล่าว แต่หากกำหนดเวลาดังกล่าวล่วงพ้นไปแล้ว คู่ความฝ่ายใดซึ่งยังมิได้ยื่นบัญชีระบุพยาน มีความจำนงจะอ้างพยานหลักฐานเพื่อสนับสนุนข้ออ้างหรือข้อเถียงของตน คู่ความฝ่ายใดนั้น ต้องยื่นคำร้องขออนุญาตอ้างพยานหลักฐานเช่นว่านั้นต่อศาลพร้อมบัญชีระบุพยานก่อนพิพากษาคดี โดยต้องแสดงให้เป็นที่พอใจแก่ศาลได้ว่า มีเหตุอันสมควรที่ไม่สามารถมายื่นบัญชีระบุพยานตามกำหนดเวลาดังกล่าวได้และศาลจะอนุญาตตามคำร้องเมื่อเห็นว่า เพื่อให้การวินิจฉัยชี้ขาดข้อสำคัญแห่งประเด็นเป็นไปโดยเที่ยงธรรม จำเป็นต้องสืบพยานหลักฐานเช่นว่านั้น ตามที่บัญญัติไว้ในวรรคสามแห่งบทกฎหมายข้างต้น
จำเลยที่ 3 ที่ 5 และที่ 6 เพิ่งยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นบัญชีระบุพยาน ภายหลังวันสืบพยานโจทก์เสร็จสิ้น โดยจำเลยที่ 3 อ้างเหตุว่า พยานบุคคลเพิ่งยืนยันจะมาเป็นพยานและเพิ่งค้นหาเอกสารที่จะนำมาสืบได้ ส่วนจำเลยที่ 5 และที่ 6 อ้างว่า บ้านพักของจำเลยที่ 5 และที่ 6 บนที่ดินพิพาทถูกน้ำท่วมต้องย้ายสิ่งของ เพิ่งค้นพบพยานหลักฐานที่จะนำมาประกอบการสืบพยาน และ พ. ทนายจำเลยที่ 3 ที่ 5 และที่ 6 ผู้ยื่นคำร้องดังกล่าว ได้แถลงต่อศาลชั้นต้นในวันสืบพยานจำเลย ว่า เพิ่งได้รับแต่งตั้งให้เป็นทนายจำเลยที่ 3 ที่ 5 และที่ 6 เข้าใจว่าทนายความคนเดิมได้ยื่นบัญชีระบุพยานไว้แล้ว แต่ข้อเท็จจริงกลับได้ความว่า จำเลยที่ 3 ที่ 5 และที่ 6 ยื่นคำให้การต่อสู้โต้เถียงสิทธิของโจทก์มาแต่ต้นอ้างเหตุว่า จำเลยที่ 3 ที่ 5 และที่ 6 ครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทด้วยเจตนาเป็นเจ้าของตั้งแต่ปี 2538 โดยเฉพาะจำเลยที่ 3 และที่ 5 ยังร่วมกับจำเลยที่ 1 ฟ้องแย้งว่า ตนเป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทห้ามโจทก์และบริวารเข้าเกี่ยวข้อง จำเลยที่ 3 ที่ 5 และที่ 6 ย่อมต้องทราบถึงพยานหลักฐานที่จะใช้อ้างอิงสนับสนุนข้ออ้างข้อเถียงของตน ประกอบกับ พ. ทนายจำเลยที่ 3 ที่ 5 และที่ 6 ได้รับแต่งตั้งให้เป็นทนายจำเลยที่ 3 และที่ 5 และเป็นทนายจำเลยที่ 6 ก่อนวันสืบพยานโจทก์ประมาณ 1 ปี ทั้งยังเข้าแก้ต่างคดีแทนจำเลยที่ 3 ที่ 5 และที่ 6 ตั้งแต่กระบวนพิจารณาในชั้นขอให้เจ้าพนักงานที่ดินรังวัดทำแผนที่พิพาทและการตรวจดูแผนที่พิพาทในวันนัดชี้สองสถาน อันเชื่อว่าจำเลยที่ 3 ที่ 5 และที่ 6 กับ พ. ต้องทราบดีถึงข้อต่อสู้และพยานหลักฐานที่จะใช้อ้างแสดงประกอบข้อต่อสู้ และเมื่อพิจารณาว่าพยานหลักฐานซึ่งจำเลยที่ 3 ที่ 5 และที่ 6 ประสงค์จะอ้างอิง เป็นเพียงการอ้างตัวจำเลยที่ 3 ที่ 5 ที่ 6 กับ ส. และพยานเอกสารที่อยู่ในความรู้เห็นและในครอบครองของจำเลยที่ 3 ที่ 5 และที่ 6 ตลอดจนตามคำร้องขอระบุพยานของจำเลยที่ 3 ที่ 5 และที่ 6 ก็อ้างเพียงว่า เพิ่งค้นหาเอกสารพบและเพิ่งตั้งทนายความคนใหม่ซึ่งขัดแย้งกับข้อเท็จจริงในทางพิจารณาที่ปรากฏชัดว่า พ. ทนายจำเลยที่ 3 ที่ 5 ที่ 6 ได้รับแต่งตั้งให้แก้ต่างคดีมาเป็นเวลาประมาณ 1 ปี ข้ออ้างตามคำร้องจึงมิใช่ข้อเท็จจริงที่พิสูจน์แสดงได้ว่าเป็นเหตุอันสมควรที่จำเลยที่ 3 ที่ 5 และที่ 6 ไม่สามารถยื่นบัญชีระบุพยานตามกำหนดเวลาที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 88 วรรคหนึ่ง และวรรคสอง กรณีย่อมไม่อาจรับฟังว่ามีเหตุอันสมควรที่จำเลยที่ 3 ที่ 5 และที่ 6 ไม่สามารถยื่นบัญชีระบุพยานตามกำหนดเวลาที่กฎหมายบัญญัติไว้ และเมื่อการอ้างพยานหลักฐานดังกล่าวเป็นไปเพื่อประโยชน์ของจำเลยที่ 3 ที่ 5 และที่ 6 ทั้งการอนุญาตให้ยื่นบัญชีพยานภายหลังกำหนดเวลาสิบห้าวันนับแต่วันสืบพยาน ต้องเป็นกรณีศาลเห็นว่าเพื่อให้การวินิจฉัยชี้ขาดข้อสำคัญแห่งประเด็นเป็นไปโดยเที่ยงธรรม จำเป็นจะต้องสืบพยานหลักฐานเช่นว่านั้น ไม่อาจยกเหตุเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมขึ้นเป็นข้ออ้างในการพิจารณาอนุญาต กรณีไม่มีเหตุอันสมควรจะอนุญาตให้จำเลยที่ 3 ที่ 5 และที่ 6 ยื่นบัญชีระบุพยานภายหลังวันสืบพยานโจทก์เสร็จสิ้น ดังนั้น การสืบพยานหลักฐานของจำเลยที่ 3 ที่ 5 และที่ 6 ตามบัญชีระบุพยานดังกล่าวที่เป็นไปเพื่อประโยชน์ของจำเลยที่ 3 ที่ 5 และที่ 6 ทั้งมิใช่พยานหลักฐานอันสำคัญเกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในคดี ย่อมเป็นการสืบพยานโดยไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 87
แม้ที่ดินพิพาทมีหลักฐานแห่งสิทธิเป็นแบบแจ้งการครอบครองที่ดิน (ส.ค.1) ระบุชื่อ ส. เป็นผู้แจ้งการครอบครอง และโจทก์ไม่มีหลักฐานการให้ที่ดินพิพาทมาแสดงก็ตาม แต่แบบแจ้งการครอบครองที่ดิน (ส.ค. 1) เป็นหลักฐานสิทธิที่ไม่อาจจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมต่อทางราชการและที่ดินพิพาทก็มีสภาพเป็นที่ดินมือเปล่าที่มีเพียงสิทธิครอบครอง อันสามารถโอนไปซึ่งการครอบครองด้วยการส่งมอบการครอบครอง
จำเลยที่ 3 ที่ 5 และที่ 6 เพิ่งยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นบัญชีระบุพยาน ภายหลังวันสืบพยานโจทก์เสร็จสิ้น โดยจำเลยที่ 3 อ้างเหตุว่า พยานบุคคลเพิ่งยืนยันจะมาเป็นพยานและเพิ่งค้นหาเอกสารที่จะนำมาสืบได้ ส่วนจำเลยที่ 5 และที่ 6 อ้างว่า บ้านพักของจำเลยที่ 5 และที่ 6 บนที่ดินพิพาทถูกน้ำท่วมต้องย้ายสิ่งของ เพิ่งค้นพบพยานหลักฐานที่จะนำมาประกอบการสืบพยาน และ พ. ทนายจำเลยที่ 3 ที่ 5 และที่ 6 ผู้ยื่นคำร้องดังกล่าว ได้แถลงต่อศาลชั้นต้นในวันสืบพยานจำเลย ว่า เพิ่งได้รับแต่งตั้งให้เป็นทนายจำเลยที่ 3 ที่ 5 และที่ 6 เข้าใจว่าทนายความคนเดิมได้ยื่นบัญชีระบุพยานไว้แล้ว แต่ข้อเท็จจริงกลับได้ความว่า จำเลยที่ 3 ที่ 5 และที่ 6 ยื่นคำให้การต่อสู้โต้เถียงสิทธิของโจทก์มาแต่ต้นอ้างเหตุว่า จำเลยที่ 3 ที่ 5 และที่ 6 ครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทด้วยเจตนาเป็นเจ้าของตั้งแต่ปี 2538 โดยเฉพาะจำเลยที่ 3 และที่ 5 ยังร่วมกับจำเลยที่ 1 ฟ้องแย้งว่า ตนเป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทห้ามโจทก์และบริวารเข้าเกี่ยวข้อง จำเลยที่ 3 ที่ 5 และที่ 6 ย่อมต้องทราบถึงพยานหลักฐานที่จะใช้อ้างอิงสนับสนุนข้ออ้างข้อเถียงของตน ประกอบกับ พ. ทนายจำเลยที่ 3 ที่ 5 และที่ 6 ได้รับแต่งตั้งให้เป็นทนายจำเลยที่ 3 และที่ 5 และเป็นทนายจำเลยที่ 6 ก่อนวันสืบพยานโจทก์ประมาณ 1 ปี ทั้งยังเข้าแก้ต่างคดีแทนจำเลยที่ 3 ที่ 5 และที่ 6 ตั้งแต่กระบวนพิจารณาในชั้นขอให้เจ้าพนักงานที่ดินรังวัดทำแผนที่พิพาทและการตรวจดูแผนที่พิพาทในวันนัดชี้สองสถาน อันเชื่อว่าจำเลยที่ 3 ที่ 5 และที่ 6 กับ พ. ต้องทราบดีถึงข้อต่อสู้และพยานหลักฐานที่จะใช้อ้างแสดงประกอบข้อต่อสู้ และเมื่อพิจารณาว่าพยานหลักฐานซึ่งจำเลยที่ 3 ที่ 5 และที่ 6 ประสงค์จะอ้างอิง เป็นเพียงการอ้างตัวจำเลยที่ 3 ที่ 5 ที่ 6 กับ ส. และพยานเอกสารที่อยู่ในความรู้เห็นและในครอบครองของจำเลยที่ 3 ที่ 5 และที่ 6 ตลอดจนตามคำร้องขอระบุพยานของจำเลยที่ 3 ที่ 5 และที่ 6 ก็อ้างเพียงว่า เพิ่งค้นหาเอกสารพบและเพิ่งตั้งทนายความคนใหม่ซึ่งขัดแย้งกับข้อเท็จจริงในทางพิจารณาที่ปรากฏชัดว่า พ. ทนายจำเลยที่ 3 ที่ 5 ที่ 6 ได้รับแต่งตั้งให้แก้ต่างคดีมาเป็นเวลาประมาณ 1 ปี ข้ออ้างตามคำร้องจึงมิใช่ข้อเท็จจริงที่พิสูจน์แสดงได้ว่าเป็นเหตุอันสมควรที่จำเลยที่ 3 ที่ 5 และที่ 6 ไม่สามารถยื่นบัญชีระบุพยานตามกำหนดเวลาที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 88 วรรคหนึ่ง และวรรคสอง กรณีย่อมไม่อาจรับฟังว่ามีเหตุอันสมควรที่จำเลยที่ 3 ที่ 5 และที่ 6 ไม่สามารถยื่นบัญชีระบุพยานตามกำหนดเวลาที่กฎหมายบัญญัติไว้ และเมื่อการอ้างพยานหลักฐานดังกล่าวเป็นไปเพื่อประโยชน์ของจำเลยที่ 3 ที่ 5 และที่ 6 ทั้งการอนุญาตให้ยื่นบัญชีพยานภายหลังกำหนดเวลาสิบห้าวันนับแต่วันสืบพยาน ต้องเป็นกรณีศาลเห็นว่าเพื่อให้การวินิจฉัยชี้ขาดข้อสำคัญแห่งประเด็นเป็นไปโดยเที่ยงธรรม จำเป็นจะต้องสืบพยานหลักฐานเช่นว่านั้น ไม่อาจยกเหตุเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมขึ้นเป็นข้ออ้างในการพิจารณาอนุญาต กรณีไม่มีเหตุอันสมควรจะอนุญาตให้จำเลยที่ 3 ที่ 5 และที่ 6 ยื่นบัญชีระบุพยานภายหลังวันสืบพยานโจทก์เสร็จสิ้น ดังนั้น การสืบพยานหลักฐานของจำเลยที่ 3 ที่ 5 และที่ 6 ตามบัญชีระบุพยานดังกล่าวที่เป็นไปเพื่อประโยชน์ของจำเลยที่ 3 ที่ 5 และที่ 6 ทั้งมิใช่พยานหลักฐานอันสำคัญเกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในคดี ย่อมเป็นการสืบพยานโดยไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 87
แม้ที่ดินพิพาทมีหลักฐานแห่งสิทธิเป็นแบบแจ้งการครอบครองที่ดิน (ส.ค.1) ระบุชื่อ ส. เป็นผู้แจ้งการครอบครอง และโจทก์ไม่มีหลักฐานการให้ที่ดินพิพาทมาแสดงก็ตาม แต่แบบแจ้งการครอบครองที่ดิน (ส.ค. 1) เป็นหลักฐานสิทธิที่ไม่อาจจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมต่อทางราชการและที่ดินพิพาทก็มีสภาพเป็นที่ดินมือเปล่าที่มีเพียงสิทธิครอบครอง อันสามารถโอนไปซึ่งการครอบครองด้วยการส่งมอบการครอบครอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4466/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อน: ผู้รับโอนสิทธิจากเจ้าของกรรมสิทธิ์เดิมฟ้องขับไล่ซ้ำในคดีที่ยังพิจารณาค้างอยู่
การที่บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทยซึ่งเป็นโจทก์ในคดีเดิมฟ้องขับไล่จำเลยที่ 1 ออกจากที่ดินและสิ่งปลูกสร้างโดยเรียกค่าเสียหาย เป็นการใช้สิทธิในฐานะเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ฟ้องขับไล่จำเลยที่ 1 ซึ่งไม่มีสิทธิอยู่ในที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ต่อมาได้โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างให้แก่โจทก์ เมื่อโจทก์ในคดีนี้เป็นผู้ซื้อทรัพย์พิพาทจากบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทยโดยชอบด้วยกฎหมายตาม พ.ร.ก.บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย พ.ศ.2544มาตรา 76 โจทก์จึงเป็นผู้สืบสิทธิจากบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทยซึ่งเป็นโจทก์ในคดีก่อน เมื่อคดีเดิมอยู่ระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา การที่โจทก์ฟ้องขอให้ขับไล่จำเลยที่ 1 ออกจากที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พร้อมเรียกค่าเสียหายเป็นคดีนี้อีก จึงเป็นการยื่นคำฟ้องเรื่องเดียวกัน อันเป็นฟ้องซ้อนซึ่งต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 637/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทางจำยอมโดยการใช้ต่อเนื่อง และการรับโอนสิทธิพร้อมที่ดิน
โจทก์เป็นบุตรของ ท. เมื่อ ท. ถึงแก่กรรม ทรัพย์มรดกของ ท. ย่อมตกทอดแก่ทายาทตาม ป.พ.พ. มาตรา 1599 ดังนั้น ที่ดินโฉนดเลขที่ 18488 ซึ่งมี ท. เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ย่อมตกทอดเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ แม้โฉนดที่ดินดังกล่าวยังไม่ได้มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงชื่อในโฉนดที่ดินจาก ท. มาเป็นชื่อโจทก์ก็ตามโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องคดีนี้ และปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้มิได้ว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลชั้นต้น ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นมาวินิจฉัยได้
ที่ดินของโจทก์และจำเลยทั้งสองเป็นที่ดินแปลงเดียวกันมาก่อนโดยมีชื่อ ท. บิดาโจทก์ และ ป. บิดาของจำเลยทั้งสองเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวม ตามโฉนดเลขที่ 18488 ต่อมาในปี 2529 ได้มีการแบ่งแยกที่ดินเป็นโฉนดเลขที่ 17055 มีชื่อ ป. เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดิน ส่วน ท. เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินโฉนดเลขที่ 18488 ในส่วนที่เหลือเมื่อแบ่งแยกที่ดินกันแล้วทำให้ที่ดินแปลงของ ท. ไม่มีทางออกสู่สาธารณะ ป. ยินยอมให้ ท. ใช้ทางพิพาทเป็นทางออกสู่ทางสาธารณะ ท. จึงใช้ทางพิพาทออกสู่ทางสาธารณะตั้งแต่ปี 2529 และ ท. ถึงแก่กรรม ดังนั้น ท. จึงใช้ทางพิพาทมานานเกินกว่า 10 ปีแล้ว โดยไม่ปรากฏว่าจำเลยทั้งสองได้ห้ามปรามหรือขัดขวางทางพิพาทจึงตกเป็นภาระจำยอมแก่ที่ดินโฉนดเลขที่ 18488 และเมื่อ ท. ตายที่ดินโฉนดเลขที่ 18488 จึกตกเป็นกรรมสิทธิ์โจทก์ โจทก์จึงรับโอนมาทั้งสิทธิและหน้าที่และโจทก์ก็ได้ใช้ทางพิพาทตลอดมา ดังนั้น ทางพิพาทจึงตกเป็นภาระจำยอมแก่ที่ดินโฉนดเลขที่ 18488
ที่ดินของโจทก์และจำเลยทั้งสองเป็นที่ดินแปลงเดียวกันมาก่อนโดยมีชื่อ ท. บิดาโจทก์ และ ป. บิดาของจำเลยทั้งสองเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวม ตามโฉนดเลขที่ 18488 ต่อมาในปี 2529 ได้มีการแบ่งแยกที่ดินเป็นโฉนดเลขที่ 17055 มีชื่อ ป. เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดิน ส่วน ท. เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินโฉนดเลขที่ 18488 ในส่วนที่เหลือเมื่อแบ่งแยกที่ดินกันแล้วทำให้ที่ดินแปลงของ ท. ไม่มีทางออกสู่สาธารณะ ป. ยินยอมให้ ท. ใช้ทางพิพาทเป็นทางออกสู่ทางสาธารณะ ท. จึงใช้ทางพิพาทออกสู่ทางสาธารณะตั้งแต่ปี 2529 และ ท. ถึงแก่กรรม ดังนั้น ท. จึงใช้ทางพิพาทมานานเกินกว่า 10 ปีแล้ว โดยไม่ปรากฏว่าจำเลยทั้งสองได้ห้ามปรามหรือขัดขวางทางพิพาทจึงตกเป็นภาระจำยอมแก่ที่ดินโฉนดเลขที่ 18488 และเมื่อ ท. ตายที่ดินโฉนดเลขที่ 18488 จึกตกเป็นกรรมสิทธิ์โจทก์ โจทก์จึงรับโอนมาทั้งสิทธิและหน้าที่และโจทก์ก็ได้ใช้ทางพิพาทตลอดมา ดังนั้น ทางพิพาทจึงตกเป็นภาระจำยอมแก่ที่ดินโฉนดเลขที่ 18488
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5655-5656/2561
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟอกเงิน: สิทธิของเจ้าของทรัพย์สินที่แท้จริง ผู้รับโอนสิทธิ และการบังคับใช้กฎหมายฟอกเงินย้อนหลัง
แม้มีการบัญญัติเพิ่มเติมความผิดมูลฐานภายหลังจากที่ได้มีการกระทำความผิดมูลฐานนั้นก็ตาม ทรัพย์สินที่เกี่ยวกับความผิดมูลฐานที่บัญญัติเพิ่มเติมดังกล่าวย่อมตกอยู่ภายใต้บังคับย้อนหลังไปทันที นับแต่วันที่มีการกระทำความผิดมูลฐานนั้น
ขณะผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดตกเป็นของแผ่นดิน ยังไม่มีการแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติวรรคหก ของมาตรา 49 แห่ง พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 ที่บัญญัติว่าผู้ร้องต้องร้องขอให้ศาลสั่งให้นำทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดไปคืนหรือชดใช้คืนให้แก่ผู้เสียหายแทนการสั่งให้ทรัพย์สินดังกล่าวตกเป็นของแผ่นดินไปในคราวเดียวกัน และผู้ร้องก็มิได้มีคำร้องขอดังกล่าวเพิ่มเติมมาในภายหลังที่มีการแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัตินี้ ศาลจึงไม่อาจสั่งให้นำทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดคืนหรือชดใช้คืนให้แก่ผู้เสียหาย
เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏชัดว่าเงินที่ ส. กับพวกชิงทรัพย์ไปเป็นของผู้เสียหายที่ได้มาโดยสุจริต ผู้เสียหายจึงมีสิทธิติดตามและเอาคืนซึ่งเงินของตนจาก ส. ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 ผู้คัดค้านทั้งสอง ซึ่งรับช่วงสิทธิจากผู้เสียหายจึงเป็นผู้มีสิทธิในฐานะเจ้าของเงินที่แท้จริง และยังถือได้ว่าเป็นผู้รับโอนสิทธิโดยสุจริตและมีค่าตอบแทนที่จะติดตามเอาเงินคืนจาก ส. กับพวกตามมาตรา 50 วรรคหนึ่ง แห่ง พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 ด้วย เมื่อ ส. นำเงินของผู้เสียหายไปซื้อหุ้นและวางเป็นหลักประกันในบัญชี (ซื้อขาย) หลักทรัพย์ และได้เงินปันผลจากหุ้นที่ซื้อซึ่งเป็นทรัพย์สินและดอกผลของผู้เสียหายที่ ส. ต้องคืนแก่ผู้เสียหาย ทรัพย์สินนั้นจึงไม่ตกเป็นของแผ่นดิน โดยผู้คัดค้านทั้งสองเป็นผู้รับช่วงสิทธิรับเงินหรือทรัพย์สินดังกล่าวนี้แทน
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 15/2561)
ขณะผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดตกเป็นของแผ่นดิน ยังไม่มีการแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติวรรคหก ของมาตรา 49 แห่ง พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 ที่บัญญัติว่าผู้ร้องต้องร้องขอให้ศาลสั่งให้นำทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดไปคืนหรือชดใช้คืนให้แก่ผู้เสียหายแทนการสั่งให้ทรัพย์สินดังกล่าวตกเป็นของแผ่นดินไปในคราวเดียวกัน และผู้ร้องก็มิได้มีคำร้องขอดังกล่าวเพิ่มเติมมาในภายหลังที่มีการแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัตินี้ ศาลจึงไม่อาจสั่งให้นำทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดคืนหรือชดใช้คืนให้แก่ผู้เสียหาย
เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏชัดว่าเงินที่ ส. กับพวกชิงทรัพย์ไปเป็นของผู้เสียหายที่ได้มาโดยสุจริต ผู้เสียหายจึงมีสิทธิติดตามและเอาคืนซึ่งเงินของตนจาก ส. ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 ผู้คัดค้านทั้งสอง ซึ่งรับช่วงสิทธิจากผู้เสียหายจึงเป็นผู้มีสิทธิในฐานะเจ้าของเงินที่แท้จริง และยังถือได้ว่าเป็นผู้รับโอนสิทธิโดยสุจริตและมีค่าตอบแทนที่จะติดตามเอาเงินคืนจาก ส. กับพวกตามมาตรา 50 วรรคหนึ่ง แห่ง พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 ด้วย เมื่อ ส. นำเงินของผู้เสียหายไปซื้อหุ้นและวางเป็นหลักประกันในบัญชี (ซื้อขาย) หลักทรัพย์ และได้เงินปันผลจากหุ้นที่ซื้อซึ่งเป็นทรัพย์สินและดอกผลของผู้เสียหายที่ ส. ต้องคืนแก่ผู้เสียหาย ทรัพย์สินนั้นจึงไม่ตกเป็นของแผ่นดิน โดยผู้คัดค้านทั้งสองเป็นผู้รับช่วงสิทธิรับเงินหรือทรัพย์สินดังกล่าวนี้แทน
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 15/2561)