พบผลลัพธ์ทั้งหมด 88 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1822/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีและการใช้ดุลพินิจของเจ้าพนักงานบังคับคดีที่ต้องเป็นธรรมและคำนึงถึงราคาประเมินทรัพย์
ตามคำร้องของจำเลยไม่เพียงแต่อ้างว่าราคาที่เจ้าพนักงานบังคับคดีเคาะไม้ขายให้แก่ผู้ซื้อทรัพย์ได้ราคาต่ำอย่างเดียว แต่ยังได้บรรยายถึงการที่เจ้าพนักงานบังคับคดีใช้ดุลพินิจไม่ถูกต้องด้วย เนื่องจากได้ราคาต่ำกว่าราคาประเมินของเจ้าพนักงานฝ่ายประเมินราคาทรัพย์ สำนักงานวางทรัพย์กลาง กรมบังคับคดีและราคาประเมินในช่วงเวลาที่มีการขายทรัพย์นั้นมาก ถือได้ว่าคำร้องของจำเลยได้คัดค้านว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการบังคับคดีฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่งกฎหมาย เป็นเหตุให้จำเลยซึ่งเป็นผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีได้รับความเสียหายแล้ว
การที่จะวินิจฉัยว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการบังคับคดีฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่งกฎหมายหรือไม่นั้น ต้องพิเคราะห์ถึงการใช้ดุลพินิจในการดำเนินการขายทอดตลาดว่าเหมาะสมและเป็นธรรมหรือไม่ มิใช่ว่าถ้าไม่มีกฎหมายห้ามแล้วเจ้าพนักงานบังคับคดีมีอำนาจที่จะตกลงขายเสมอไป หากได้กระทำไปเป็นที่เสียหายแก่ผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีอย่างเห็นได้ชัดก็อาจเป็นการกระทำที่ไม่ชอบได้
การขายทอดตลาดตาม ป.พ.พ.ได้บัญญัติไว้ในบรรพ 3 ลักษณะ 1หมวด 4 ส่วนที่ 3 มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดความเป็นธรรม และเพื่อให้ได้ราคาสูงที่สุดแก่เจ้าของทรัพย์ที่ขายทอดตลาด โดยเฉพาะอย่างยิ่งเจ้าพนักงานบังคับคดีเป็นเจ้าพนักงานของศาลจะต้องมีหน้าที่ระวังผลประโยชน์แก่คู่ความหรือผู้มีส่วนได้เสียในคดีให้มากที่สุด จึงจะถือได้ว่าปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาล ได้ความว่าที่ดินพิพาทซึ่งมีเนื้อที่ 132 ตารางวา มีราคาประเมินที่กรมที่ดินกำหนดไว้เป็นเงิน 6,600,000 บาท และเจ้าพนักงานบังคับคดีก็ได้รับทราบราคาประเมินของกรมที่ดินดังกล่าวก่อนที่จะขายทรัพย์พิพาทให้แก่ผู้ซื้อทรัพย์ดังนี้การใช้ดุลพินิจในการตกลงขายทรัพย์พิพาทซี่งมีทั้งที่ดินและสิ่งปลูกสร้างในราคา1,900,000 บาทนั้น ต่ำกว่าราคาประเมินเป็นอันมาก นอกจากนี้ในการดำเนินการขายทอดตลาดครั้งแรกซึ่งมีผู้เสนอราคาสูงสุดถึง 2,800,000 บาท เจ้าพนักงานบังคับคดียังไม่ขายอ้างว่าราคาต่ำไป เห็นได้ชัดว่าจำเลยย่อมได้รับความเสียหายเป็นการดำเนินการบังคับคดีที่ฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่งลักษณะการบังคับคดีตาม ป.วิ.พ.
การที่จะวินิจฉัยว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการบังคับคดีฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่งกฎหมายหรือไม่นั้น ต้องพิเคราะห์ถึงการใช้ดุลพินิจในการดำเนินการขายทอดตลาดว่าเหมาะสมและเป็นธรรมหรือไม่ มิใช่ว่าถ้าไม่มีกฎหมายห้ามแล้วเจ้าพนักงานบังคับคดีมีอำนาจที่จะตกลงขายเสมอไป หากได้กระทำไปเป็นที่เสียหายแก่ผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีอย่างเห็นได้ชัดก็อาจเป็นการกระทำที่ไม่ชอบได้
การขายทอดตลาดตาม ป.พ.พ.ได้บัญญัติไว้ในบรรพ 3 ลักษณะ 1หมวด 4 ส่วนที่ 3 มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดความเป็นธรรม และเพื่อให้ได้ราคาสูงที่สุดแก่เจ้าของทรัพย์ที่ขายทอดตลาด โดยเฉพาะอย่างยิ่งเจ้าพนักงานบังคับคดีเป็นเจ้าพนักงานของศาลจะต้องมีหน้าที่ระวังผลประโยชน์แก่คู่ความหรือผู้มีส่วนได้เสียในคดีให้มากที่สุด จึงจะถือได้ว่าปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาล ได้ความว่าที่ดินพิพาทซึ่งมีเนื้อที่ 132 ตารางวา มีราคาประเมินที่กรมที่ดินกำหนดไว้เป็นเงิน 6,600,000 บาท และเจ้าพนักงานบังคับคดีก็ได้รับทราบราคาประเมินของกรมที่ดินดังกล่าวก่อนที่จะขายทรัพย์พิพาทให้แก่ผู้ซื้อทรัพย์ดังนี้การใช้ดุลพินิจในการตกลงขายทรัพย์พิพาทซี่งมีทั้งที่ดินและสิ่งปลูกสร้างในราคา1,900,000 บาทนั้น ต่ำกว่าราคาประเมินเป็นอันมาก นอกจากนี้ในการดำเนินการขายทอดตลาดครั้งแรกซึ่งมีผู้เสนอราคาสูงสุดถึง 2,800,000 บาท เจ้าพนักงานบังคับคดียังไม่ขายอ้างว่าราคาต่ำไป เห็นได้ชัดว่าจำเลยย่อมได้รับความเสียหายเป็นการดำเนินการบังคับคดีที่ฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่งลักษณะการบังคับคดีตาม ป.วิ.พ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1822/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีขายทอดตลาดต้องใช้ดุลพินิจให้เหมาะสมและเป็นธรรม หากราคาต่ำกว่าราคาประเมินมากอาจเป็นการกระทำที่ไม่ชอบ
ตามคำร้องของจำเลยไม่เพียงแต่อ้างว่าราคาที่เจ้าพนักงานบังคับคดีเคาะไม้ขายให้แก่ผู้ซื้อทรัพย์ได้ราคาต่ำอย่างเดียว แต่ยังได้บรรยายถึงการที่เจ้าพนักงานบังคับคดีใช้ดุลพินิจไม่ถูกต้องด้วย เนื่องจากได้ราคาต่ำกว่าราคาประเมินของเจ้าพนักงานฝ่ายประเมินราคาทรัพย์สำนักงานวางทรัพย์กลาง กรมบังคับคดีและราคาประเมินในช่วงเวลาที่มีการขายทรัพย์นั้นมาก ถือได้ว่าคำร้องของจำเลยได้คัดค้านว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการบังคับคดีฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่งกฎหมาย เป็นเหตุให้จำเลยซึ่งเป็นผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีได้รับความเสียหายแล้ว การที่จะวินิจฉัยว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการบังคับคดีฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่งกฎหมายหรือไม่นั้น ต้องพิเคราะห์ถึงการใช้ดุลพินิจในการดำเนินการขายทอดตลาดว่าเหมาะสมและเป็นธรรมหรือไม่ มิใช่ว่าถ้าไม่มีกฎหมายห้ามแล้วเจ้าพนักงานบังคับคดีมีอำนาจที่จะตกลงขายเสนอไป หากได้กระทำไปเป็นที่เสียหายแก่ผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีอย่างเห็นได้ชัดก็อาจเป็นการกระทำที่ไม่ชอบได้ การขายทอดตลาดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ได้บัญญัติไว้ในบรรพ 3 ลักษณะ 1 หมวด 4 ส่วนที่ 3 มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดความเป็นธรรม และเพื่อให้ได้ราคาสูงที่สุดแก่เจ้าของทรัพย์ที่ขายทอดตลาด โดยเฉพาะอย่างยิ่งเจ้าพนักงานบังคับคดีเป็นเจ้าพนักงานของศาลจะต้องมีหน้าที่ระวังผลประโยชน์แก่คู่ความหรือผู้มีส่วนได้เสียในคดีให้มากที่สุด จึงจะถือได้ว่าปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาล ได้ความว่าที่ดินพิพาทซึ่งมีเนื้อที่ 132 ตารางวา มีราคาประเมินที่กรมที่ดินกำหนดไว้เป็นเงิน 6,600,000 บาท และเจ้าพนักงานบังคับคดีก็ได้รับทราบราคาประเมินของกรมที่ดินดังกล่าวก่อนที่จะขายทรัพย์พิพาทให้แก่ผู้ซื้อทรัพย์ดังนี้การใช้ดุลพินิจในการตกลงขายทรัพย์พิพาทซึ่งมีทั้งที่ดินและสิ่งปลูกสร้างในราคา 1,900,000 บาท นั้นต่ำกว่าราคาประเมินเป็นอันมาก นอกจากนี้ในการดำเนินการขายทอดตลาดครั้ง>แรกซึ่งมีผู้เสนอราคาสูงสุดถึง 2,800,000 บาทเจ้าพนักงานบังคับยังไม่ขายอ้างว่าราคาต่ำไป เห็นได้ชัดว่าจำเลยย่อมได้รับความเสียหายเป็นการดำเนินการบังคับคดีที่ฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่งลักษณะการบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1822/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีขายทอดตลาดต้องใช้ดุลพินิจโดยคำนึงถึงราคาประเมินและราคาตลาด เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมและป้องกันความเสียหายแก่ผู้มีส่วนได้เสีย
ตามคำร้องของจำเลยไม่เพียงแต่อ้างว่าราคาที่เจ้าพนักงานบังคับคดีเคาะไม้ขายให้แก่ผู้ซื้อทรัพย์ได้ราคาต่ำอย่างเดียวแต่ยังได้บรรยายถึงการที่เจ้าพนักงานบังคับคดีใช้ดุลพินิจไม่ถูกต้องด้วยเนื่องจากได้ราคาต่ำกว่าราคาประเมินของเจ้าพนักงานฝ่ายประเมินราคาทรัพย์สำนักงานวางทรัพย์กลางกรมบังคับคดีและราคาประเมินในช่วงเวลาที่มีการขายทรัพย์นั้นมากถือได้ว่าคำร้องของจำเลยได้คัดค้านว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการบังคับคดีฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่งกฎหมายเป็นเหตุให้จำเลยซึ่งเป็นผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีได้รับความเสียหายแล้ว การที่จะวินิจฉัยว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการบังคับคดีฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่งกฎหมายหรือไม่นั้นต้องพิเคราะห์ถึงการใช้ดุลพินิจในการดำเนินการขายทอดตลาดว่าเหมาะสมและเป็นธรรมหรือไม่มิใช่ว่าถ้าไม่มีกฎหมายห้ามแล้วเจ้าพนักงานบังคับคดีมีอำนาจที่จะตกลงขายเสนอไปหากได้กระทำไปเป็นที่เสียหายแก่ผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีอย่างเห็นได้ชัดก็อาจเป็นการกระทำที่ไม่ชอบได้ การขายทอดตลาดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ได้บัญญัติไว้ในบรรพ3ลักษณะ1หมวด4ส่วนที่3มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมและเพื่อให้ได้ราคาสูงที่สุดแก่เจ้าของทรัพย์ที่ขายทอดตลาดโดยเฉพาะอย่างยิ่งเจ้าพนักงานบังคับคดีเป็นเจ้าพนักงานของศาลจะต้องมีหน้าที่ระวังผลประโยชน์แก่คู่ความหรือผู้มีส่วนได้เสียในคดีให้มากที่สุดจึงจะถือได้ว่าปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาลได้ความว่าที่ดินพิพาทซึ่งมีเนื้อที่132ตารางวามีราคาประเมินที่กรมที่ดินกำหนดไว้เป็นเงิน6,600,000บาทและเจ้าพนักงานบังคับคดีก็ได้รับทราบราคาประเมินของกรมที่ดินดังกล่าวก่อนที่จะขายทรัพย์พิพาทให้แก่ผู้ซื้อทรัพย์ดังนี้การใช้ดุลพินิจในการตกลงขายทรัพย์พิพาทซึ่งมีทั้งที่ดินและสิ่งปลูกสร้างในราคา1,900,000บาทนั้นต่ำกว่าราคาประเมินเป็นอันมากนอกจากนี้ในการดำเนินการขายทอดตลาดครั้ง>แรกซึ่งมีผู้เสนอราคาสูงสุดถึง2,800,000บาทเจ้าพนักงานบังคับยังไม่ขายอ้างว่าราคาต่ำไปเห็นได้ชัดว่าจำเลยย่อมได้รับความเสียหายเป็นการดำเนินการบังคับคดีที่ฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่งลักษณะการบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9871/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินค่าทดแทนที่ดินเวนคืน: หลักเกณฑ์ตามมาตรา 21 และราคาประเมินที่สอดคล้องกับราคาตลาด
การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ที่พิพาทเป็นการดำเนินการตามพระราชกฤษฎีกา กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่ตำบลสุรวงศ์ฯ พ.ศ. 2511 และพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่แขวงสุรวงศ์ฯ พ.ศ. 2516แต่ภายหลังจากพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ. 2530 และประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติฉบับที่ 44 เรื่องการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์มีผลใช้บังคับแล้ว การดำเนินการในเรื่องค่าทดแทนตามฟ้องยังไม่เสร็จสิ้น ดังนั้น การดำเนินการต่อไปในเรื่องนี้จึงต้องบังคับตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 21(1)-(5) โดยกำหนดให้คิดราคาในปีที่พระราชกฤษฎีกาใช้บังคับ การที่พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่พิพาทมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 ตุลาคม 2511 แล้วฝ่ายจำเลยไม่ดำเนินการกำหนดค่าทดแทนภายในเวลาอันควรปล่อยระยะเวลามา เนิ่นนานกว่า 20 ปี เป็นการกระทำที่ทำให้โจทก์เสียหายเมื่อได้ความว่าฝ่ายจำเลยได้แต่งตั้งคณะกรรมการฯ กำหนดราคาเบื้องต้นของที่ดินของโจทก์ที่ถูกเวนคืนเมื่อวันที่ 22มกราคม 2531 และได้ประชุมกำหนดค่าทดแทนให้แก่โจทก์อันเนื่องจากอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกเวนคืน แล้วแจ้งราคาให้แก่โจทก์ทราบ การดำเนินการเพื่อจ่ายเงินค่าทดแทนในกรณีนี้เริ่มต้นใหม่ในปี 2531 ดังนั้น การใช้หลักเกณฑ์ตามมาตรา 21(1)-(5) จึงเปลี่ยนจากวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกาเป็นปี 2531 อันเป็นปีที่มีการเริ่มดำเนินการเพื่อจ่ายค่าทดแทนใหม่ โจทก์นำสืบถึงบัญชีราคาประเมินที่ดินเพื่อเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมซึ่งกรมที่ดินได้กำหนดในปี 2533 เพื่อให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทยจ่ายค่าทดแทนให้แก่ผู้ถูกเวนคืน และที่ดินที่พิพาทก็อยู่ในบริเวณดังกล่าวด้วย จึงเชื่อว่าในปี 2533ที่ดินที่ถูกเวนคืนตามฟ้องมีราคาที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดใกล้เคียงหรือสูงต่ำกว่าตารางวาละ 60,000 บาทตามที่ปรากฏในราคาประเมินของกรมที่ดินดังกล่าวไม่มาก และราคาดังกล่าวนี้เป็นราคาที่เพิ่มขึ้นจากปี 2531 เป็นเวลา2 ปี ดังนั้นในปี 2531 ที่ดินที่ถูกเวนคืนตามฟ้องย่อมมีราคาต่ำกว่าตารางวาละ 60,000 บาท ไม่มากเช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6591/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระค่าธรรมเนียมโอนที่ดิน: ราคาประเมิน ณ วันเกิดข้อพิพาทสำคัญกว่าวันจดทะเบียน
โจทก์จำเลยพิพาทกันโดยตรงว่าโจทก์หรือจำเลยจะต้องชำระค่าธรรมเนียมการโอน ค่าอากรแสตมป์ และภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในการที่จำเลยจะจดทะเบียนโอนขายในราคาตามสัญญาจะซื้อขายให้แก่โจทก์ตามคำพิพากษาในส่วนที่เกินจากราคาประเมินที่ออกกันฝ่ายละครึ่ง โดยโจทก์จำเลยตกลงไปจดทะเบียนโอนขายกันที่สำนักงานที่ดินจังหวัดสมุทรปราการ สาขาบางพลี ในวันที่ 26 ตุลาคม2532 เมื่อถึงวันนัดไม่อาจจดทะเบียนโอนขายกันได้เนื่องจากโจทก์จำเลยต่างโต้แย้งการชำระค่าธรรมเนียมในส่วนที่ราคาเกินจากราคาประเมินจึงเกิดข้อพิพาทกันดังกล่าว ดังนี้ราคาประเมินตามคำพิพากษาศาลล่างทั้งสองนั้นย่อมมีความหมายถึงราคาประเมินที่ใช้อยู่ในขณะเกิดข้อพิพาทเมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2532 หาใช่มีความหมายถึงราคาประเมินในขณะทำการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์พิพาทเมื่อวันที่ 28 กันยายน 2537 ซึ่งเกิดขึ้นภายหลังไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6591/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระค่าธรรมเนียมการโอนที่ดิน: ราคาประเมินที่ใช้คือราคา ณ วันที่เกิดข้อพิพาท ไม่ใช่ ณ วันจดทะเบียน
ศาลพิพากษาให้จำเลยจดทะเบียนโอนขายที่ดินให้โจทก์ในราคาตามสัญญาจะซื้อขาย โดยให้จำเลยเป็นฝ่ายชำระค่าธรรมเนียมการโอน ค่าอากรแสตมป์ และค่าภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในส่วนที่เกี่ยวกับราคาซื้อขายตามบัญชีกำหนดจำนวนทุนทรัพย์ในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับที่ดิน (ราคาประเมิน)ที่กำหนดไว้สำหรับที่ดินนั้น โดยให้โจทก์และจำเลยชำระค่าธรรมเนียมการโอน ค่าอากรแสตมป์ และค่าภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในส่วนที่เกินจากราคาประเมินฝ่ายละครึ่ง ซึ่งราคาประเมินตามคำพิพากษาหมายถึงราคาประเมินที่ใช้อยู่ในขณะเกิดข้อพิพาทเนื่องจากเป็นวันที่ทั้งสองฝ่ายตกลงจะโอนที่ดินกันแต่ต่างโต้แย้งการชำระค่าธรรมเนียมในส่วนที่ราคาเกินจากราคาประเมิน จึงทำให้เกิดข้อพิพาทขึ้น หาใช่เป็นราคาประเมินในขณะทำการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ทรัพย์พิพาทในภายหลังไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6591/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทค่าธรรมเนียมโอนที่ดิน: ราคาประเมินที่ใช้คือราคา ณ วันเกิดข้อพิพาท ไม่ใช่วันจดทะเบียน
โจทก์จำเลยพิพาทกันโดยตรงว่าโจทก์หรือจำเลยจะต้องชำระค่าธรรมเนียมการโอนค่าอากรแสตมป์และภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในการที่จำเลยจะจดทะเบียนโอนขายในราคาตามสัญญาจะซื้อขายให้แก่โจทก์ตามคำพิพากษาในส่วนที่เกินจากราคาประเมินที่ออกกันฝ่ายละครึ่งโดยโจทก์จำเลยตกลงไปจดทะเบียนโอนขายกันที่สำนักงานที่ดินจังหวัดสมุทรปราการสาขาบางพลี ในวันที่26ตุลาคม2532เมื่อถึงวันนัดไม่อาจจดทะเบียนโอนขายกันได้เนื่องจากโจทก์จำเลยต่างโต้แย้งการชำระค่าธรรมเนียมในส่วนที่ราคาเกินจากราคาประเมินจึงเกิดข้อพิพาทกันดังกล่าวดังนี้ราคาประเมินตามคำพิพากษาศาลล่างทั้งสองนั้นย่อมมีความหมายถึงราคาประเมินที่ใช้อยู่ในขณะเกิดข้อพิพาทเมื่อวันที่36ตุลาคม2532หาใช่มีความหมายถึงราคาประเมินในขณะทำการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์พิพาทเมื่อวันที่28กันยายน2537ซึ่งเกิดขึ้นภายหลังไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5445/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีขายทอดตลาดต้องไม่เกินความจำเป็นและต้องรักษาผลประโยชน์ลูกหนี้ หากขายราคาต่ำกว่าประเมินถือเป็นการฝ่าฝืนกฎหมาย
การขายทอดตลาดทรัพย์มีความมุ่งหมายที่จะนำเงินมาชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาพร้อมด้วยค่าฤชาธรรมเนียมในคดีและค่าธรรมเนียมในการบังคับคดีและในขณะเดียวกันเจ้าพนักงานบังคับคดีต้องให้ความคุ้มครองลูกหนี้ไม่ให้เกิดความเสียหายด้วยโดยต้องไม่ขายทรัพย์สินเกินความจำเป็นและเมื่อได้เงินมาพอจำนวนที่จะชำระหนี้แล้วก็ห้ามไม่ให้เอาทรัพย์สินอื่นที่ยึดหรืออายัดไว้ออกขายทอดตลาดหรือจำหน่ายโดยวิธีอื่นอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4848/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกำหนดค่าทดแทนที่ดินเวนคืนตามราคาประเมินและดอกเบี้ยตามกฎหมาย
พระราชกฤษฎีกากำหนดแนวทางหลวงที่จะสร้างทางหลวงแผ่นดินสายคลองตัน - หนองงูเห่า และทางแยกเข้าหนองงูเห่า...พ.ศ. 2522 ได้ตราออกใช้บังคับโดยอาศัยอำนาจตามข้อ 78 แห่งประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 ลงวันที่ 28พฤศจิกายน 2514 อายุการบังคับใช้ของพระราชกฤษฎีกาจึงต้องเป็นไปตามที่กำหนดไว้ในประกาศของคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าว ข้อ 79 พระราชกฤษฎีกากำหนดแนวทางหลวงให้ใช้ได้มีกำหนด 10 ปี นับแต่วันที่ 10 พฤศจิกายน 2522 แม้ต่อมาได้มีพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 ลงวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2515(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2530 ใช้บังคับ ซึ่งมาตรา 7 ให้ยกเลิกความในส่วนที่ 3 การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างหรือขยายทางหลวงข้อ 63 ถึงข้อ 80 แห่งประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295...แล้วก็ตามแต่มาตรา 9 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่าพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนพระราชกฤษฎีกากำหนดแนวทางหลวงที่จะสร้างและประกาศกระทรวงคมนาคมกำหนดทางหลวงที่มีความจำเป็นต้องสร้างโดยเร่งด่วนซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 ให้คงใช้บังคับได้ตามอายุของพระราชกฤษฎีกานั้น และวรรคสองของมาตรานี้บัญญัติทำนองเดียวกันกับมาตรา 36 วรรคสองแห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 ว่า การเวนคืนและการปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยทางหลวงที่ได้ปฏิบัติไปแล้วก่อนวันใช้บังคับพระราชบัญญัตินี้ให้เป็นอันใช้ได้ แต่การดำเนินการต่อไปให้ดำเนินการตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 ดังนั้นพระราชกฤษฎีกากำหนดแนวทางหลวงดังกล่าวจึงมีผลใช้บังคับจนถึงวันที่ 1พฤศจิกายน 2532 และพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ ในท้องที่แขวงหัวหมาก...เพื่อสร้างทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 343 สายคลองตัน - ลาดกระบัง พ.ศ. 2532มีผลใช้บังคับวันที่ 7 กันยายน 2532 ซึ่งอยู่ภายในกำหนดระยะเวลาการบังคับใช้พระราชกฤษฎีกากำหนดแนวทางหลวงฯ การเวนคืนรายนี้จึงเป็นกรณีที่ถือได้ว่ามีการออก พระราชกฤษฎีกาตามมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 และหลังจากพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 ลงวันที่ 28พฤศจิกายน พ.ศ. 2515(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2530 และพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มีผลใช้บังคับแล้ว การดำเนินการในเรื่องค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ยังไม่เสร็จสิ้น การดำเนินการต่อไปในเรื่องนี้จึงต้องดำเนินการตามบทบัญญัติแห่ง พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 และในขณะดำเนินคดีนี้ได้มีประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 44 เรื่องการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ ออกใช้บังคับซึ่งข้อ 1 บัญญัติว่าให้ยกเลิกความในวรรคสี่และวรรคห้าของมาตรา 9 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน "ในการกำหนดราคาเบื้องต้นของอสังหาริมทรัพย์และจำนวนเงินค่าทดแทนให้คณะกรรมการกำหนดโดยอาศัยหลักเกณฑ์ตามมาตรา 18 มาตรา 21 มาตรา 22 และมาตรา 24..." และข้อ 5 วรรคหนึ่งบัญญัติว่า บทบัญญัติมาตรา 9 วรรคสี่และวรรคห้า... แห่ง พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติฉบับนี้ให้มีผลใช้บังคับแก่การเวนคืนซึ่งการกำหนดราคาเบื้องต้น การจัดซื้อการจ่ายหรือการวางเงินค่าทดแทน การอุทธรณ์หรือการฟ้องคดียังไม่เสร็จเด็ดขาดในวันที่ประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติฉบับนี้ใช้บังคับด้วย ดังนั้น การกำหนดค่าทดแทนที่ดินของโจทก์จึงต้องดำเนินการตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 21 ที่ให้กำหนดเงินค่าทดแทนที่จะให้แก่ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนโดยคำนึงถึงอนุมาตรา (1) ถึง (5) เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ผู้ถูกเวนคืนและสังคม อันเป็นหลักการสำคัญของการกำหนดเงินค่าทดแทนให้แก่ผู้ถูกเวนคืน
สำหรับคดีนี้ พระราชกฤษฎีกากำหนดแนวทางหลวงที่จะสร้างทางหลวงแผ่นดินสายคลองตัน - หนองงูเห่า และทางแยกเข้าหนองงูเห่า พ.ศ. 2522 มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 2 พฤศจิกายน 2522 แล้ว แต่กรมทางหลวง จำเลยที่ 1 เพิ่งวางเงินค่าทดแทนให้แก่โจทก์ ณ สำนักงานวางทรัพย์ เมื่อวันที่ 4 มกราคม 2533 การที่จำเลยที่ 1 และอธิบดีกรมทางหลวง จำเลยที่ 2 ไม่ดำเนินการชดใช้ค่าทดแทนภายในเวลาอันควร แต่ปล่อยระยะเวลามาเนิ่นนานกว่า 10 ปี เป็นการดำเนินการที่มิได้เป็นไปตามครรลองของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2521 มาตรา 33 วรรคสาม ซึ่งใช้บังคับในขณะที่ที่ดินของโจทก์ถูกกำหนดเป็นเขตแนวทางหลวงตามพระราชกฤษฎีกาฉบับดังกล่าวทำให้โจทก์ขาดโอกาสที่จะนำเอาเงินค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ไปซื้อที่ดินแปลงใหม่ที่มีราคาใกล้เคียงหรือสูงกว่าที่ดินของโจทก์ที่ถูกเวนคืนไม่มากนักได้ ก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ ดังนั้นการกำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินของโจทก์โดยคำนึงถึงมาตรา 21 เฉพาะอนุมาตรา (1) ถึง (4) คือ ราคาที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดประกอบราคาที่มีการตีราคาไว้เพื่อประโยชน์แก่การเสียภาษีบำรุงท้องที่ประกอบราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม ประกอบสภาพและที่ตั้งของที่ดินของโจทก์ใน พ.ศ. 2522 อันเป็นปีที่ใช้บังคับ พระราชกฤษฎีกา กำหนดแนวทางหลวงที่จะสร้างทางหลวงแผ่นดินสายคลองตัน - หนองงูเห่า... พ.ศ. 2522 อย่างกรณีปกติย่อมไม่เป็นธรรมแก่โจทก์ สำหรับคดีนี้ศาลฎีกาเห็นว่าเงินค่าทดแทนที่ดินที่เป็นธรรมแก่โจทก์ ควรเป็นราคาตามราคาประเมินที่ดินเพื่อใช้เป็นทุนทรัพย์สำหรับเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมระหว่าง พ.ศ. 2531-2534 ของกรมที่ดินซึ่งใช้ก่อนและในช่วงเวลาที่จำเลยที่ 1 วางเงินค่าทดแทนให้แก่โจทก์ ณสำนักงานวางทรัพย์
สำหรับคดีนี้ พระราชกฤษฎีกากำหนดแนวทางหลวงที่จะสร้างทางหลวงแผ่นดินสายคลองตัน - หนองงูเห่า และทางแยกเข้าหนองงูเห่า พ.ศ. 2522 มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 2 พฤศจิกายน 2522 แล้ว แต่กรมทางหลวง จำเลยที่ 1 เพิ่งวางเงินค่าทดแทนให้แก่โจทก์ ณ สำนักงานวางทรัพย์ เมื่อวันที่ 4 มกราคม 2533 การที่จำเลยที่ 1 และอธิบดีกรมทางหลวง จำเลยที่ 2 ไม่ดำเนินการชดใช้ค่าทดแทนภายในเวลาอันควร แต่ปล่อยระยะเวลามาเนิ่นนานกว่า 10 ปี เป็นการดำเนินการที่มิได้เป็นไปตามครรลองของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2521 มาตรา 33 วรรคสาม ซึ่งใช้บังคับในขณะที่ที่ดินของโจทก์ถูกกำหนดเป็นเขตแนวทางหลวงตามพระราชกฤษฎีกาฉบับดังกล่าวทำให้โจทก์ขาดโอกาสที่จะนำเอาเงินค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ไปซื้อที่ดินแปลงใหม่ที่มีราคาใกล้เคียงหรือสูงกว่าที่ดินของโจทก์ที่ถูกเวนคืนไม่มากนักได้ ก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ ดังนั้นการกำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินของโจทก์โดยคำนึงถึงมาตรา 21 เฉพาะอนุมาตรา (1) ถึง (4) คือ ราคาที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดประกอบราคาที่มีการตีราคาไว้เพื่อประโยชน์แก่การเสียภาษีบำรุงท้องที่ประกอบราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม ประกอบสภาพและที่ตั้งของที่ดินของโจทก์ใน พ.ศ. 2522 อันเป็นปีที่ใช้บังคับ พระราชกฤษฎีกา กำหนดแนวทางหลวงที่จะสร้างทางหลวงแผ่นดินสายคลองตัน - หนองงูเห่า... พ.ศ. 2522 อย่างกรณีปกติย่อมไม่เป็นธรรมแก่โจทก์ สำหรับคดีนี้ศาลฎีกาเห็นว่าเงินค่าทดแทนที่ดินที่เป็นธรรมแก่โจทก์ ควรเป็นราคาตามราคาประเมินที่ดินเพื่อใช้เป็นทุนทรัพย์สำหรับเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมระหว่าง พ.ศ. 2531-2534 ของกรมที่ดินซึ่งใช้ก่อนและในช่วงเวลาที่จำเลยที่ 1 วางเงินค่าทดแทนให้แก่โจทก์ ณสำนักงานวางทรัพย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4848/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกำหนดค่าทดแทนที่ดินเวนคืนตามราคาประเมินและดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้อง
พระราชกฤษฎีกากำหนดแนวทางหลวงที่จะสร้างทางหลวงแผ่นดินสายคลองตันหนองงูเห่าและทางแยกเข้าหนองงูเห่าพ.ศ.2522ได้ตราออกใช้บังคับโดยอาศัยอำนาจตามข้อ78แห่งป.ว.295อายุการบังคับใช้ของพระราชกฤษฎีกาจึงต้องเป็นไปตามที่กำหนดไว้ในป.ว.295ซึ่งได้บัญญัติไว้ในข้อ79ว่าพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวมีผลบังคับใช้ได้10ปีและหลังจากพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมป.ว.295(ฉบับที่2)พ.ศ.2530และพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530มีผลใช้บังคับแล้วการดำเนินการในเรื่องค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ยังไม่เสร็จสิ้นการดำเนินการต่อไปในเรื่องนี้จึงต้องดำเนินการตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯและในขณะดำเนินคดีนี้ได้มีประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติฉบับที่44เรื่องการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ออกใช้บังคับดังนั้นการกำหนดค่าทดแทนที่ดินของโจทก์จึงต้องดำเนินการตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯมาตรา21ซึ่งมาตรา21ให้กำหนดเงินค่าทดแทนที่จะให้แก่ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนโดยคำนึงถึง(1)ถึง(5)เงินค่าทดแทนที่ดินที่เป็นธรรมแก่โจทก์ผู้ถูกเวนคืนที่ดินและสังคมควรเป็นราคาตามราคาประเมินที่ดินเพื่อใช้เป็นทุนทรัพย์สำหรับเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมระหว่างพ.ศ.2531-2534ของกรมที่ดินซึ่งใช้ก่อนและในช่วงเวลาที่จำเลยที่1วางเงินค่าทดแทนให้แก่โจทก์ สำหรับดอกเบี้ยนั้นตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯมาตรา26วรรคสามโจทก์มีสิทธิได้รับดอกเบี้ยจากเงินค่าทดแทนที่รัฐมนตรีฯและศาลฎีกาวินิจฉัยให้ชำระเพิ่มขึ้นนับแต่จำเลยที่1วางเงินค่าทดแทนในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประจำของธนาคารออมสิน ส่วนจะได้รับอัตราเท่าใดต้องเป็นไปตามประกาศของธนาคารออมสินที่ประกาศอัตราดอกเบี้ยขึ้นลงแต่ต้องไม่เกินตามคำขอของโจทก์ด้วย