พบผลลัพธ์ทั้งหมด 25 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1043/2482
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขัดคำสั่งเจ้าพนักงานรื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง แม้โต้แย้งกรรมสิทธิ ก็มีความผิด
กรมการอำเภอสั่งให้จำเลยรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกไปจากที่ที่หวงห้ามไว้เพื่อสาธารณะประโยชน์ถ้าจำเลยขัดขืน แม้จะได้โดยโต้เถียงกรรมสิทธิก็มีผิดฐานขัดคำสั่งเจ้าพนักงาน
อ้างฎีกาที่ 709/2482 ที่ 803/2482
อ้างฎีกาที่ 709/2482 ที่ 803/2482
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5215/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเหนือพื้นดิน, การบอกเลิกสิทธิ, การรื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง, และการฟ้องเรียกค่าเสียหายจากละเมิด
โจทก์บรรยายฟ้องว่าที่ดินเป็นของโจทก์ ขอให้พิพากษาขับไล่จำเลยทั้งสองและบริวารกับให้รื้อถอนโครงหลังคาเหล็กและสิ่งปลูกสร้างทั้งหมดออกไปจากที่ดินของโจทก์ พร้อมทั้งให้ชำระค่าเสียหายนับแต่วันฟ้อง ดังนี้ คำฟ้องของโจทก์ได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาแล้วว่า จำเลยทั้งสองกระทำละเมิดต่อโจทก์ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย โดยมีข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่า เมื่อโจทก์ประสงค์ให้จำเลยทั้งสองออกไปจากที่ดินของโจทก์ จำเลยทั้งสองจึงไม่มีสิทธิใดตามกฎหมายที่จะอยู่หรือใช้สอยประโยชน์ในที่ดินของโจทก์ต่อไป คำฟ้องของโจทก์จึงบรรยายครบถ้วนแล้ว ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสอง ส่วนที่ว่าโครงหลังคาเหล็กปลูกสร้างตั้งแต่เมื่อใด โจทก์เสียหายอย่างไรและคำนวณค่าเสียหายจากฐานข้อมูลใด รวมทั้งข้อเท็จจริงเกี่ยวกับภาระผูกพันของเจ้าของที่ดินเดิมนั้นล้วนเป็นข้อเท็จจริงที่นำสืบในชั้นพิจารณาได้ คำฟ้องของโจทก์ไม่เคลือบคลุม
คดีก่อนจำเลยที่ 1 คดีนี้เป็นโจทก์ฟ้อง โจทก์คดีนี้เป็นจำเลยที่ 1 อ้างว่าเป็นเจ้าของสิ่งปลูกสร้างบนที่ดินคดีนี้และเรียกค่าเสียหายจากโจทก์ที่กระทำละเมิดต่อจำเลยที่ 1 ส่วนคดีนี้เป็นเรื่องโจทก์ฟ้องอ้างว่า เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดิน ขอบังคับให้จำเลยทั้งสองรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกไปและเรียกค่าเสียหายที่จำเลยทั้งสองกระทำละเมิดต่อโจทก์ ดังนั้น ทรัพย์ที่อ้างเพื่อเรียกร้องสิทธิแห่งตนจึงเป็นทรัพย์คนละอย่างต่างกันเพราะคดีก่อนโต้เถียงกันว่าฝ่ายใดเป็นเจ้าของสิ่งปลูกสร้างบนที่ดินและเรียกค่าเสียหายจากการรบกวนการครอบครองสิ่งปลูกสร้าง ส่วนคดีนี้โจทก์รับว่าสิ่งปลูกสร้างเป็นของจำเลยทั้งสองแต่ที่ดินเป็นของโจทก์ ขอให้รื้อถอนออกไปและเรียกค่าเสียหายที่ยังคงอยู่บนที่ดิน คดีทั้งสองนี้จึงมีประเด็นพิพาทไม่เหมือนกัน ฟ้องของโจทก์คดีนี้ไม่เป็นฟ้องซ้อนหรือดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำกับคดีก่อน ไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1) และมาตรา 144
โจทก์ฟ้องอ้างว่า เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทขอให้บังคับจำเลยทั้งสองรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกไปและเรียกค่าเสียหายนับแต่วันฟ้อง จำเลยทั้งสองให้การต่อสู้ว่า จำเลยทั้งสองสร้างสิ่งปลูกสร้างบนที่ดินได้โดยชอบเพราะมีสิทธิเหนือพื้นดิน ตามข้อต่อสู้ของจำเลยทั้งสองไม่ได้โต้แย้งกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท แต่อ้างว่ามีกรรมสิทธิ์ในสิ่งปลูกสร้างที่อยู่บนที่ดิน คำฟ้องของโจทก์จึงไม่ใช่คดีมีทุนทรัพย์ แต่เป็นคำฟ้องที่ขอปลดเปลื้องทุกข์อันมิอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ซึ่งต้องชำระค่าธรรมเนียมศาล ตามตาราง 1 ค่าธรรมเนียมศาล (ค่าขึ้นศาล) (2) และ (4)
จำเลยทั้งสองได้สิทธิเหนือพื้นดินจากเจ้าของที่ดินโดยไม่ได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ย่อมไม่บริบูรณ์ ไม่อาจยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้บุคคลภายนอกได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1298 ประกอบมาตรา 1299 วรรคหนึ่ง ต่อมาเจ้าของที่ดินจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่โอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินให้แก่โจทก์ จำเลยทั้งสองจึงไม่อาจอ้างสิทธิเหนือพื้นดินนี้ต่อสู้โจทก์ได้
คดีก่อนจำเลยที่ 1 คดีนี้เป็นโจทก์ฟ้อง โจทก์คดีนี้เป็นจำเลยที่ 1 อ้างว่าเป็นเจ้าของสิ่งปลูกสร้างบนที่ดินคดีนี้และเรียกค่าเสียหายจากโจทก์ที่กระทำละเมิดต่อจำเลยที่ 1 ส่วนคดีนี้เป็นเรื่องโจทก์ฟ้องอ้างว่า เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดิน ขอบังคับให้จำเลยทั้งสองรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกไปและเรียกค่าเสียหายที่จำเลยทั้งสองกระทำละเมิดต่อโจทก์ ดังนั้น ทรัพย์ที่อ้างเพื่อเรียกร้องสิทธิแห่งตนจึงเป็นทรัพย์คนละอย่างต่างกันเพราะคดีก่อนโต้เถียงกันว่าฝ่ายใดเป็นเจ้าของสิ่งปลูกสร้างบนที่ดินและเรียกค่าเสียหายจากการรบกวนการครอบครองสิ่งปลูกสร้าง ส่วนคดีนี้โจทก์รับว่าสิ่งปลูกสร้างเป็นของจำเลยทั้งสองแต่ที่ดินเป็นของโจทก์ ขอให้รื้อถอนออกไปและเรียกค่าเสียหายที่ยังคงอยู่บนที่ดิน คดีทั้งสองนี้จึงมีประเด็นพิพาทไม่เหมือนกัน ฟ้องของโจทก์คดีนี้ไม่เป็นฟ้องซ้อนหรือดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำกับคดีก่อน ไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1) และมาตรา 144
โจทก์ฟ้องอ้างว่า เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทขอให้บังคับจำเลยทั้งสองรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกไปและเรียกค่าเสียหายนับแต่วันฟ้อง จำเลยทั้งสองให้การต่อสู้ว่า จำเลยทั้งสองสร้างสิ่งปลูกสร้างบนที่ดินได้โดยชอบเพราะมีสิทธิเหนือพื้นดิน ตามข้อต่อสู้ของจำเลยทั้งสองไม่ได้โต้แย้งกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท แต่อ้างว่ามีกรรมสิทธิ์ในสิ่งปลูกสร้างที่อยู่บนที่ดิน คำฟ้องของโจทก์จึงไม่ใช่คดีมีทุนทรัพย์ แต่เป็นคำฟ้องที่ขอปลดเปลื้องทุกข์อันมิอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ซึ่งต้องชำระค่าธรรมเนียมศาล ตามตาราง 1 ค่าธรรมเนียมศาล (ค่าขึ้นศาล) (2) และ (4)
จำเลยทั้งสองได้สิทธิเหนือพื้นดินจากเจ้าของที่ดินโดยไม่ได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ย่อมไม่บริบูรณ์ ไม่อาจยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้บุคคลภายนอกได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1298 ประกอบมาตรา 1299 วรรคหนึ่ง ต่อมาเจ้าของที่ดินจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่โอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินให้แก่โจทก์ จำเลยทั้งสองจึงไม่อาจอ้างสิทธิเหนือพื้นดินนี้ต่อสู้โจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 379/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองที่ดินรกร้างว่างเปล่า การพิสูจน์สิทธิครอบครอง และการฟ้องรื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง
คำว่า ที่ดินรกร้างว่างเปล่า ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1304 (1) หมายถึง ที่ดินที่เอกชนไม่เคยมีกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมายมาก่อนข้อเท็จจริงปรากฏว่าที่ดินพิพาทเดิมทางราชการเคยออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3) ให้โดยชอบ ที่ดินพิพาทจึงหาใช่ที่ดินรกร้างว่างเปล่าไม่
จำเลยให้การว่า จำเลยเข้าครอบครองทำประโยชน์ที่ดินรกร้างว่างเปล่าตั้งแต่ปี 2506 จนปัจจุบันที่ดินดังกล่าวจึงเป็นของจำเลย แสดงว่าจำเลยอ้างว่าเป็นเจ้าของผู้ครอบครองที่ดินพิพาทมาตั้งแต่ต้นมิได้แย่งการครอบครองไปจากโจทก์ เพราะการแย่งการครอบครองจะมีขึ้นได้แต่เฉพาะในที่ดินของผู้อื่นเท่านั้น จึงไม่มีประเด็นเรื่องแย่งการครอบครองตาม ป.พ.พ. 1375 วรรคสอง ที่ศาลล่างทั้งสองหยิบยกประเด็นดังกล่าวขึ้นวินิจฉัย จึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 142 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 243 ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้โจทก์จะไม่ฎีกาศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และมาตรา 247
จำเลยให้การว่า จำเลยเข้าครอบครองทำประโยชน์ที่ดินรกร้างว่างเปล่าตั้งแต่ปี 2506 จนปัจจุบันที่ดินดังกล่าวจึงเป็นของจำเลย แสดงว่าจำเลยอ้างว่าเป็นเจ้าของผู้ครอบครองที่ดินพิพาทมาตั้งแต่ต้นมิได้แย่งการครอบครองไปจากโจทก์ เพราะการแย่งการครอบครองจะมีขึ้นได้แต่เฉพาะในที่ดินของผู้อื่นเท่านั้น จึงไม่มีประเด็นเรื่องแย่งการครอบครองตาม ป.พ.พ. 1375 วรรคสอง ที่ศาลล่างทั้งสองหยิบยกประเด็นดังกล่าวขึ้นวินิจฉัย จึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 142 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 243 ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้โจทก์จะไม่ฎีกาศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และมาตรา 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2069/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องแพ่งไม่ซ้อนคดีอาญา: การรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างจากการบุกรุกที่ดิน แม้คดีอาญาไม่มีคำขอในส่วนแพ่ง
คดีอาญาซึ่งพนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งสองในคดีนี้บุกรุกที่ดินของผู้เสียหายซึ่งเป็นโจทก์คดีนี้ เป็นคดีที่มิใช่คดีใดคดีหนึ่งในคดีความผิด 9 สถาน ซึ่งบัญญัติไว้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 43 ที่ให้พนักงานอัยการเมื่อยื่นฟ้องคดีความผิดนั้นๆ มีอำนาจเรียกทรัพย์สินหรือราคาแทนผู้เสียหายด้วย ดังนั้น แม้พนักงานอัยการในคดีอาญาดังกล่าวมีคำขอให้จำเลยทั้งสองรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกจากที่ดินรวมทั้งให้จำเลยทั้งสองและบริวารออกจากที่ดินโดยโจทก์คดีนี้เข้าร่วมเป็นโจทก์ และศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าจำเลยทั้งสองไม่มีเจตนาบุกรุกอันจะเป็นความผิดตามฟ้อง แล้วพิพากษายกฟ้อง คดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 2 ก็ตาม เมื่อความผิดฐานบุกรุกไม่มีกฎหมายรับรองให้พนักงานอัยการมีคำขอในส่วนแพ่ง แม้โจทก์คดีนี้จะขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ในคดีอาญาดังกล่าว ก็มีผลเฉพาะในส่วนอาญาที่ขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองเท่านั้น ศาลในคดีอาญาไม่อาจพิพากษาบังคับให้จำเลยทั้งสองรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างและออกไปจากที่ดินที่บุกรุก มูลคดีของโจทก์ในคดีนี้เป็นเรื่องทางแพ่งโดยเฉพาะ มิใช่เรื่องเดียวกันกับคดีอาญาในความหมายที่บัญญัติไว้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1) ฟ้องโจทก์ไม่เป็นฟ้องซ้อน โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2365/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบุกรุกที่ดินสาธารณประโยชน์ ชายทะเล การพิพากษาให้รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างและการบังคับใช้กฎหมายที่ดิน
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ที่ดินที่เกิดเหตุเป็นที่ชายทะเล และอยู่นอกเขต น.ส. 3 ก. ของบิดาจำเลย โดยไม่ปรากฏว่าบุคคลใดมีเอกสารสิทธิในที่ดินดังกล่าว จึงถือว่าเป็นที่ดินของรัฐ โจทก์มีอำนาจฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม ป.ที่ดิน มาตรา 9 (1) (2), 108 ทวิ วรรคสอง โดยไม่จำต้องปฏิบัติตามขั้นตอนที่บัญญัติไว้ใน ป.ที่ดิน มาตรา 108 วรรคหนึ่ง หรือต้องมีการเวนคืนให้ที่ดินตกมาเป็นของรัฐ หรือร้องขอต่อศาลให้มีคำสั่งเพิกถอนหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินเสียก่อน
พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 52 วรรคห้า บัญญัติว่า ในระหว่างอุทธรณ์ ไม่ให้ผู้อุทธรณ์หรือเจ้าพนักงานท้องถิ่นกระทำการใดแก่อาคารอันเป็นมูลกรณีแห่งการอุทธรณ์ ซึ่งไม่เกี่ยวกับการดำเนินคดีในข้อหาความผิดตาม ป.ที่ดิน แต่อย่างใด โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม ป.ที่ดิน มาตรา 9 (1) (2), 108 ทวิ วรรคสอง ระหว่างจำเลยใช้สิทธิอุทธรณ์คำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 52 ได้
เมื่อจำเลยกระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 360 และ ป.ที่ดิน มาตรา 9 (1) (2), 108 ทวิ วรรคสอง โดยมีสิ่งปลูกสร้างเป็นอาคารพักอาศัยอยู่ด้วย ซึ่งเป็นการเข้าไปยึดถือครอบครองที่ดินของรัฐโดยไม่มีสิทธิตามกฎหมาย ศาลย่อมมีอำนาจพิพากษาให้จำเลยรื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง และให้จำเลยกับบริวารออกจากที่ดินของรัฐตาม ป.ที่ดิน มาตรา 108 ทวิ วรรคสี่ ได้ โดยไม่จำต้องไปฟ้องเป็นคดีแพ่งต่างหาก เพราะเป็นการบังคับให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย หาใช่เป็นการพิพากษาเกินคำขอไม่
พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 52 วรรคห้า บัญญัติว่า ในระหว่างอุทธรณ์ ไม่ให้ผู้อุทธรณ์หรือเจ้าพนักงานท้องถิ่นกระทำการใดแก่อาคารอันเป็นมูลกรณีแห่งการอุทธรณ์ ซึ่งไม่เกี่ยวกับการดำเนินคดีในข้อหาความผิดตาม ป.ที่ดิน แต่อย่างใด โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม ป.ที่ดิน มาตรา 9 (1) (2), 108 ทวิ วรรคสอง ระหว่างจำเลยใช้สิทธิอุทธรณ์คำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 52 ได้
เมื่อจำเลยกระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 360 และ ป.ที่ดิน มาตรา 9 (1) (2), 108 ทวิ วรรคสอง โดยมีสิ่งปลูกสร้างเป็นอาคารพักอาศัยอยู่ด้วย ซึ่งเป็นการเข้าไปยึดถือครอบครองที่ดินของรัฐโดยไม่มีสิทธิตามกฎหมาย ศาลย่อมมีอำนาจพิพากษาให้จำเลยรื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง และให้จำเลยกับบริวารออกจากที่ดินของรัฐตาม ป.ที่ดิน มาตรา 108 ทวิ วรรคสี่ ได้ โดยไม่จำต้องไปฟ้องเป็นคดีแพ่งต่างหาก เพราะเป็นการบังคับให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย หาใช่เป็นการพิพากษาเกินคำขอไม่