พบผลลัพธ์ทั้งหมด 109 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6418/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าใช้ที่ดินรุกล้ำ: ศาลยืนราคาเหมาะสม แม้ราคาประเมินต่ำกว่า พิจารณาประโยชน์ที่โจทก์เสียไปและอนาคต
ที่ดินพิพาทเนื้อที่7.9ตารางวาแม้มีราคาประเมินตารางวาละ750บาทแต่จำเลยได้ปลูกสร้างโกดังเก็บสินค้าหรือโรงเก็บรถยนต์บนที่ดินพิพาทติดกับร้านค้าของจำเลยแสดงให้เห็นว่าที่ดินพิพาทอยู่ในที่เจริญหากจำเลยไม่ปลูกสร้างโกดังเก็บสินค้าหรือโรงเก็บรถยนต์รุกล้ำโจทก์อาจนำที่ดินพิพาทไปปลูกสร้างอาคารให้เช่าหรือปลูกอาคารพาณิชย์หาประโยชน์ได้ทั้งสภาพของโกดังเก็บสินค้าหรือโรงเก็บรถยนต์ดังกล่าวเป็นคอนกรีตเสริมเหล็กมีสภาพมั่นคงแข็งแรงสามารถใช้งานได้10ถึง20ปีกว่าจะสลายไปตามสภาพซึ่งเป็นเหตุให้โจทก์ขาดประโยชน์ไม่ได้ใช้ที่ดินพิพาทเป็นอย่างมากแม้ราคาที่ดินหากซื้อขายกันในขณะนี้จะมีราคาต่ำกว่าค่าใช้ที่ดินที่ศาลกำหนดให้แต่หากพิจารณาถึงอนาคตแล้วราคาที่ศาลอุทธรณ์ภาค2กำหนดให้ใช้จำนวน200,000บาทนั้นจึงเป็นจำนวนที่เหมาะสมแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6141/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรื้อถอนกำแพงรุกล้ำและค่าเสียหายจากละเมิด: ปัญหาความเสียหายที่ไม่สามารถคำนวณเป็นราคาได้
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยรื้อกำแพงคอนกรีตที่สร้างต่อเติมติดกับบ้านโจทก์ออกและทำให้กลับสู่สภาพเดิม และจากการที่จำเลยทุบคานและฝาผนังภายในบ้านจำเลย ทำให้บ้านโจทก์แตกร้าวเสียหาย ให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหาย85,000 บาท แก่โจทก์ ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยใช้ค่าเสียหาย 30,000 บาทแก่โจทก์ คำขออื่นให้ยก โจทก์และจำเลยอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่าให้จำเลยรื้อกำแพงที่สร้างต่อเติมด้านที่ติดกับบ้านโจทก์ออกและทำรั้วบ้านและฝาผนังบ้านกลับสู่สภาพเดิม ผลเท่ากับพิพากษายืนคำพิพากษาศาลชั้นต้นในกรณีที่จำเลยทำละเมิดโจทก์ ให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหาย 30,000 บาท ที่จำเลยฎีกาว่าการกระทำของจำเลยมิได้ก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์และค่าเสียหายโจทก์ไม่เกิน 10,000 บาท เป็นฎีกาในข้อเท็จจริง ทุนทรัพย์ที่ฎีกาไม่เกินสองแสนบาท-ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248
คดีมีปัญหาว่า กำแพงที่จำเลยสร้างต่อเติมด้านที่ติดกับบ้านโจทก์บังทิศทางลมที่พัดมาจากทะเลสู่ห้องนอนโจทก์หรือไม่ เป็นปัญหาขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ไม่ต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริง
คดีมีปัญหาว่า กำแพงที่จำเลยสร้างต่อเติมด้านที่ติดกับบ้านโจทก์บังทิศทางลมที่พัดมาจากทะเลสู่ห้องนอนโจทก์หรือไม่ เป็นปัญหาขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ไม่ต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2446/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายที่ดิน เจ้าของรวมไม่ยินยอม สัญญาไม่ผูกพัน การรุกล้ำที่ดินและประเด็นนอกประเด็น
ในชั้นชี้สองสถานศาลชั้นต้นมิได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทไว้ว่าจำเลยที่ 1 ปลูกสร้างอาคารรุกล้ำที่ดินโจทก์โดยสุจริต ประเด็นข้อนี้จึงมิใช่ข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น และมิใช่ปัญหาอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน การที่ศาลอุทธรณ์หยิบยกข้อเท็จจริงดังกล่าวขึ้นมาวินิจฉัย จึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น
ที่ดินพิพาทเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินโฉนดเลขที่ 323 ซึ่งเดิมโจทก์และ จ. เป็นเจ้าของร่วมกัน ต่อมาศาลฎีกาพิพากษาให้แบ่งแยก โจทก์ได้ด้านทิศเหนือคือที่ดินพิพาท ส่วน จ. ได้ด้านทิศใต้ จ. และจำเลยที่ 2 ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินโฉนดเลขที่ 323 ทั้งแปลงโดยสัญญาจะซื้อจะขายระบุเนื้อที่และที่ตั้งของที่ดินพิพาทไว้ อันเป็นการซื้อขายตัวทรัพย์ มิใช่เป็นการขายกรรมสิทธิ์เฉพาะส่วนของ จ. เมื่อโจทก์เป็นเจ้าของรวมมิได้ยินยอมจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทด้วย สัญญาจะซื้อจะขายดังกล่าวจึงไม่ผูกพันโจทก์ โจทก์ยังคงเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาท ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1361 วรรคสอง
ที่ดินพิพาทเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินโฉนดเลขที่ 323 ซึ่งเดิมโจทก์และ จ. เป็นเจ้าของร่วมกัน ต่อมาศาลฎีกาพิพากษาให้แบ่งแยก โจทก์ได้ด้านทิศเหนือคือที่ดินพิพาท ส่วน จ. ได้ด้านทิศใต้ จ. และจำเลยที่ 2 ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินโฉนดเลขที่ 323 ทั้งแปลงโดยสัญญาจะซื้อจะขายระบุเนื้อที่และที่ตั้งของที่ดินพิพาทไว้ อันเป็นการซื้อขายตัวทรัพย์ มิใช่เป็นการขายกรรมสิทธิ์เฉพาะส่วนของ จ. เมื่อโจทก์เป็นเจ้าของรวมมิได้ยินยอมจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทด้วย สัญญาจะซื้อจะขายดังกล่าวจึงไม่ผูกพันโจทก์ โจทก์ยังคงเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาท ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1361 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2439/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิใช้ทางจำเป็นในที่ดินของผู้อื่นเมื่อไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะ และการรุกล้ำกีดขวางทาง
ที่ดินของโจทก์แยกออกมาจากที่ดินของจำเลยที่ 1เมื่อไม่มีทางออกไปสู่ทางสาธารณะ โจทก์มีสิทธิใช้ทางจำเป็นในที่ดินของจำเลยที่ 1 โดยไม่ต้องใช้ค่าทดแทนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1350 ปัจจุบันรถยนต์ถือว่าเป็นสิ่งจำเป็นในความเป็นอยู่ของประชาชนโดยทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งโจทก์เป็นผู้ที่มีอาชีพหาซื้อสุกรมาชำระแหละเนื้อสุกรขาย การใช้รถยนต์ผ่านเข้าออกทางพิพาทมิได้เป็นเรื่องเกินความจำเป็น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 220/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การก่อสร้างรุกล้ำกีดขวางสิทธิของผู้อื่น แม้สร้างในที่ดินของตนเอง ก็เป็นการละเมิด
แม้โจทก์ก่อสร้างตึกผิด พ.ร.บ.ควบคุมอาคารและเทศบัญญัติก็เป็นเรื่องที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะต้องดำเนินการกับโจทก์ จำเลยไม่มีสิทธิอ้างเหตุดังกล่าวก่อสร้างแผ่นเหล็กกั้นจนเป็นเหตุให้ปิดกั้นแสงแดดและทางลมที่จะเข้าตึกโจทก์ได้ และแม้จำเลยจะก่อสร้างในเขตที่ดินของจำเลยก็เป็นการใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่น ซึ่งเป็นการละเมิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 421
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1581/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ละเมิดจากฮวงซุ้ยรุกล้ำ + เจ้าหน้าที่ใช้ดุลพินิจถูกต้องตามกฎหมาย
จำเลยที่1ได้ฝังศพส. สามีจำเลยที่1ไว้ก่อนแล้วจึงได้ขออนุญาตฝังศพต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นในภายหลังแม้จำเลยที่1จะได้รับอนุญาตก็มีผลเพียงทำให้จำเลยที่1ไม่เป็นผู้กระทำผิดต่อพระราชบัญญัติสุสานและฌาปนสถานพ.ศ.2528อีกต่อไปไม่ได้มีผลทำให้จำเลยมีอำนาจกระทำการใดๆให้โจทก์ได้รับความเสียหาย จำเลยที่1ได้สร้างหลุมฝังศพหรือฮวงซุ้ยลงในที่ดินของจำเลยที่1เป็นเหตุให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินซึ่งอยู่ติดกันได้รับความเสียหายและเดือดร้อนเกินที่ควรคิดหรือคาดหมายได้ว่าจะเป็นไปตามปกติและเหตุอันควรในเมื่อเอาสภาพและตำแหน่งที่อยู่แห่งที่ดินมาคำนึงประกอบต้องด้วยมาตรา1337แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์การกระทำของจำเลยที่1จึงเป็นละเมิดต่อโจทก์ พระราชบัญญัติสุสานและฌาปนสถานพ.ศ.2528มาตรา10และมาตรา25ให้อำนาจแก่เจ้าพนักงานท้องถิ่นที่จะใช้ดุลพินิจสั่งให้ผู้ฝ่าฝืนมาตรา10รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างหรือเคลื่อนย้ายศพที่ฝังไว้ออกไปหรือไม่ก็ได้เมื่อจำเลยที่2และที่3ในฐานะเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้ใช้ดุลพินิจอนุญาตให้ฝังศพส. สามีจำเลยที่1ไว้ที่ที่ดินเดิมซึ่งอยู่ติดกับที่ดินของโจทก์โดยไม่ใช้อำนาจสั่งให้จำเลยที่1รื้อถอนหลุมฝังศพหรือฮวงซุ้ยออกไปได้อาศัยข้อมูลและความเห็นที่สอดคล้องต้องกันของผู้ที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ตามสมควรแล้วการกระทำของจำเลยที่2และที่3จึงไม่เป็นการฝ่าฝืนต่อมาตรา10หรือมาตรา25ไม่เป็นละเมิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1541/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเจ้าของทรัพย์รุกล้ำ-ละเมิด: ฟ้องบังคับรื้อได้ไม่ติดอายุความ, กรรมการบริษัทร่วมรับผิด
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสามรื้อกำแพงของจำเลยที่ปิดกั้นที่ดินโจทก์และให้รื้อหลังคาที่คร่อมที่ดินโจทก์ออกไปเป็นคดีที่โจทก์ใช้สิทธิการเป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์เรียกร้องให้ขจัดความเดือดร้อนรำคาญให้สิ้นไปตราบใดที่จำเลยที่1ยังก่อความเดือดร้อนรำคาญอยู่โจทก์ย่อมฟ้องร้องขอให้บังคับได้มิใช่ฟ้องเรียกค่าเสียหายในทางละเมิดจึงไม่อยู่ในบังคับแห่งอายุความ1ปี จำเลยที่1เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดซึ่งการแสดงออกย่อมกระทำโดยทางกรรมการเมื่อหลังคาโรงงานของจำเลยที่1รุกล้ำเป็นละเมิดต่อที่ดินของโจทก์จำเลยที่3ซึ่งเป็นกรรมการผู้มีอำนาจจึงต้องร่วมรับผิดในการกระทำละเมิดด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1192/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการใช้ที่ดินของผู้อื่นเพื่อซ่อมแซมทรัพย์สิน และการฟ้องแย้งเรื่องละเมิดจากการรุกล้ำที่ดิน เป็นประเด็นต่างกัน
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยยอมให้โจทก์ใช้ที่ดินของจำเลยด้านที่ติดต่อกับที่ดินโจทก์ทำการซ่อมแซมตึกโจทก์โจทก์ได้ซ่อมแซมด้านทิศตะวันตกไปแล้วแต่จำเลยไม่ยอมให้ซ่อมแซมด้านทิศเหนือขอให้บังคับจำเลยยอมให้โจทก์ใช้ที่ดินของจำเลยเพียงที่จำเป็นในการซ่อมแซมตึกของโจทก์จำเลยฟ้องแย้งว่าโจทก์กระทำละเมิดโดยสร้างกันสาดด้านเหนือและปลูกสร้างตึกด้านตะวันออกรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของจำเลยขอให้บังคับโจทก์รื้อถอนกันสาดและตึกพร้อมคานคอดินส่วนที่รุกล้ำออกไปดังนี้ตามคำฟ้องและคำให้การคดีมีประเด็นจะต้องวินิจฉัยว่าโจทก์มีสิทธิบังคับจำเลยยอมให้โจทก์ใช้ที่ดินของจำเลยเพียงที่จำเป็นในการซ่อมแซมตึกของโจทก์หรือไม่ส่วนฟ้องแย้งและคำให้การแก้ฟ้องแย้งเป็นกรณีต้องวินิจฉัยว่าโจทก์กระทำละเมิดต่อจำเลยหรือไม่ประเด็นที่วินิจฉัยตามคำฟ้องและฟ้องแย้งจึงเป็นคนละเรื่องกันและมิได้อาศัยเหตุอย่างเดียวกันในการวินิจฉัยฟ้องแย้งของจำเลยจึงเป็นเรื่องอื่นที่ไม่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 737/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การต่อเติมอาคารรุกล้ำ ทำให้เกิดความเดือดร้อนกับข้างบ้าน เจ้าของต้องรับผิดชอบแก้ไข
รั้วที่กั้นเขตบ้านและที่ดินระหว่างโจทก์กับจำเลย เดิมเมื่อจำเลยยังมิได้ต่อเติมอาคารโดยใช้กำแพงรั้วดังกล่าวเป็นฝาห้อง น้ำฝนก็จะสาดและไหลเป็นปกติทั้งสองด้านไม่มีผู้ใดเดือดร้อน ครั้นจำเลยต่อเติมอาคารขึ้นน้ำฝนไม่สาดเข้าไปโดนทรัพย์สินของจำเลยและไหลไปในที่ดินของโจทก์มากกว่าปกติ ซึ่งย่อมจะก่อให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญเกินที่ควรคาดคิดหรือคาดหมายได้ว่าจะเกิดขึ้นตามปกติเป็นหน้าที่ของจำเลยที่จะต้องป้องกันหรือแก้ไข เมื่อโจทก์แจ้งให้จำเลยทราบจำเลยมิได้จัดการแก้ไขเพื่อบรรเทาผลร้ายของฝ่ายของฝ่ายโจทก์ การกระทำของจำเลยที่ต่อเติมอาคาร จึงเป็นการใช้สิทธิอันมีแต่จะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น ตาม ป.พ.พ. มาตรา 421 และโจทก์มีสิทธิที่จะปฏิบัติการเพื่อยังให้ความเสียหายหรือความเดือดร้อนรำคาญนั้นสิ้นไปได้ตามมาตรา 1337
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 737/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การต่อเติมอาคารรุกล้ำทำให้เกิดความเดือดร้อนแก่เพื่อนบ้าน ถือเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สมควร
รั้วที่กั้นเขตบ้านและที่ดินระหว่างโจทก์กับจำเลยเดิมเมื่อจำเลยยังมิได้ต่อเติมอาคารโดยใช้กำแพงรั้วดังกล่าวเป็นฝาห้อง น้ำฝนก็จะสาดและไหลเป็นปกติทั้งสองด้านไม่มีผู้ใดเดือดร้อนครั้นจำเลยต่อเติมอาคารขึ้นน้ำฝนไม่สาดเข้าไปโดนทรัพย์สินของจำเลยและไหลไปในที่ดินของโจทก์มากกว่าปกติซึ่งย่อมจะก่อให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญเกินที่ควรคาดคิดหรือคาดหมายได้ว่าจะเกิดขึ้นตามปกติเป็นหน้าที่ของจำเลยที่จะต้องป้องกันหรือแก้ไข เมื่อโจทก์แจ้งให้จำเลยทราบจำเลยมิได้จัดการแก้ไขเพื่อบรรเทาผลร้ายของฝ่ายของฝ่ายโจทก์การกระทำของจำเลยที่ต่อเติมอาคาร จึงเป็นการใช้สิทธิอันมีแต่จะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 421 และโจทก์มีสิทธิที่จะปฏิบัติการเพื่อยังให้ความเสียหายหรือความเดือดร้อนรำคาญนั้นสิ้นไปได้ตามมาตรา 1337