คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
รุกล้ำที่ดิน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 213 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8300/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความเพื่อระงับข้อพิพาทการรุกล้ำที่ดิน โดยการแบ่งแยกที่ดินชดใช้
เจ้าพนักงานที่ดินได้ทำบันทึกถ้อยคำซึ่งเป็นข้อตกลงระหว่างโจทก์จำเลย และ บ. โดยบุคคลดังกล่าวได้ลงลายมือชื่อไว้ว่า ตามที่เจ้าหน้าที่มาทำรังวัดตรวจสอบเนื้อที่รายโจทก์จากการรังวัดปรากฏว่า อาณาเขตทางด้านทิศตะวันตกของที่ดินจำเลย ได้ทำการปลูกสร้างบ้านพักอาศัยให้เช่ารุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์ประมาณ 6 เมตร ปรากฏว่าคู่กรณีสามารถตกลงกันได้โดยจำเลยยินยอมแบ่งแยกที่ดินทางด้านทิศเหนือจากถนนสาธารณะประมาณ 4 เมตร โดยวัดเฉียงตรงมายังชายทะเลโดยที่ดินของจำเลยยังคงเหลือระยะ 68 เมตร เท่าเดิม ในการตกลงครั้งนี้จำเลยยินยอมตกลงว่าจะไปทำคำขอรังวัดแบ่งแยกให้โจทก์ภายในเวลา 1 เดือนนับจากวันตกลงนี้ ข้อตกลงในส่วนโจทก์กับจำเลยเป็นสัญญาซึ่งผู้เป็นคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายระงับข้อพิพาทซึ่งมีอยู่ให้เสร็จไปด้วยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กัน โดยจำเลยยอมแบ่งที่ดินของจำเลยบางส่วนชดใช้ให้แก่โจทก์เนื่องจากจำเลยได้ปลูกสร้างบ้านพักอาศัยให้เช่ารุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์ จึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความอันบังคับได้ตามกฎหมาย มิใช่สัญญาให้ทรัพย์สิน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 951/2542 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรุกล้ำที่ดินและการจดทะเบียนภาระจำยอม: โรงเรือนจำกัดเฉพาะบ้านพักอาศัยเท่านั้น
ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1312 ได้ระบุไว้ชัดแจ้งว่าสร้างโรงเรือนย่อมหมายถึงสร้างบ้านสำหรับอยู่อาศัยเท่านั้น ดังนั้น โรงรถ ท่อน้ำประปา ปั๊มน้ำและแท็งก์น้ำจึงมิใช่โรงเรือนตามความหมายของบทบัญญัติมาตรานี้ และไม่ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งส่วนใดของโรงเรือนด้วย แม้จำเลยจะสร้างหรือทำรุกล้ำเข้าไปในที่ดินโจทก์จำเลยโดยสุจริต ก็ไม่ได้รับความคุ้มครองตามมาตรา 1312 ดังกล่าว จำเลยต้องรื้อถอนออกจากที่ดินของโจทก์
ป.พ.พ.มาตรา 1312 บัญญัติให้จดทะเบียนสิทธิเป็นภาระจำยอมเฉพาะตัวโรงเรือนที่รุกล้ำเท่านั้น จึงไม่มีผลให้บุคคลผู้สร้างโรงเรือนรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของผู้อื่นได้สิทธิภาระจำยอมในที่ดินของผู้อื่นอีก แม้จะมีข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครเรื่อง ควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ. 2522 กำหนดให้อาคารที่ปลูกในที่ดินเอกชนให้ผนังด้านที่มีหน้าต่าง ประตูหรือช่องระบายอากาศอยู่ห่างเขตที่ดินได้สำหรับชั้นสองลงมาระยะไม่น้อยกว่า 2 เมตร ก็เป็นกรณีที่ผู้ปลูกสร้างอาคารจะต้องปฏิบัติตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครเท่านั้น แต่กรณีของจำเลยเป็นการสร้างโรงเรือนรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์ ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครดังกล่าวไม่มีผลให้โจทก์ต้องผูกพันในการกระทำของจำเลย โจทก์จึงไม่ต้องจดทะเบียนภาระจำยอมที่ดินของโจทก์ทั้งสองให้แก่จำเลยเพิ่มขึ้นตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครดังกล่าวเป็นเนื้อที่ถึง 13 ตารางวา ตาม ป.วิ.พ.มาตรา161 วรรคสอง บัญญัติว่า ถ้ามิได้ระบุค่าฤชาธรรมเนียมชนิดใดไว้โดยเฉพาะ ค่าฤชา-ธรรมเนียมนั้นให้รวมถึงค่าป่วยการพยาน ค่าทนายความ ค่าธรรมเนียมในการส่งเอกสารและบังคับคดี และค่าฤชาธรรมเนียมหรือค่าธรรมเนียมอื่น ๆ บรรดาที่กฎหมายบังคับให้เสีย ดังนั้น คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่พิพากษาว่าค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสองศาลให้เป็นพับโดยมิได้สั่งค่าทนายความ จึงรวมถึงค่าทนายความทั้งสองศาลให้เป็นพับด้วยแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 951/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรุกล้ำที่ดินโดยสุจริต: สิทธิภารจำยอมเฉพาะโรงเรือน, การรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างอื่น, และขอบเขตการชดใช้ค่าที่ดิน
เมื่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1312ได้ระบุไว้ชัดแจ้งว่า สร้างโรงเรือน ย่อมหมายถึงสร้างบ้านสำหรับอยู่อาศัยเท่านั้น โรงรถ ท่อน้ำประปา ปั๊มน้ำ และแท็งก์น้ำ จึงมิใช่โรงเรือนตามความหมายของ บทบัญญัติมาตรานี้ และไม่ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งส่วนใด ของโรงเรือนด้วย ดังนี้แม้จำเลยจะสร้างหรือ ทำรุกล้ำเข้าไปในที่ดินโจทก์โดยสุจริต จำเลยก็ไม่ได้รับ ความคุ้มครองตามมาตรา 1312 ดังกล่าว จำเลยต้องรื้อถอน ออกจากที่ดินของโจทก์ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1312 บัญญัติให้จดทะเบียนสิทธิเป็นภารจำยอมเฉพาะตัวโรงเรือนที่รุกล้ำเท่านั้นจึงไม่มีผลให้บุคคลผู้สร้างโรงเรือนรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของผู้อื่นได้สิทธิภารจำยอมในที่ดินของผู้อื่นอีก แม้จะมีข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง ควบคุมการก่อสร้างอาคารพ.ศ. 2522 กำหนดให้อาคารที่ปลูกในที่ดินเอกชน ให้ผนังด้านที่มีหน้าต่าง ประตูหรือช่องระบายอากาศอยู่ห่างเขตที่ดินได้สำหรับชั้นสองลงมาระยะไม่น้อยกว่า 2 เมตรก็เป็นกรณีที่ผู้ปลูกสร้างอาคารจะต้องปฏิบัติตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครเท่านั้น แต่กรณีของจำเลยเป็นการสร้างโรงเรือนรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์ ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครดังกล่าวไม่มีผลให้โจทก์ต้องผูกพันในการกระทำ ของจำเลย โจทก์จึงไม่ต้องจดทะเบียนภารจำยอมที่ดินของ โจทก์ทั้งสองให้แก่จำเลยเพิ่มขึ้นตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครดังกล่าว ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 161 วรรคสองบัญญัติว่า ถ้ามิได้ระบุค่าฤชาธรรมเนียมชนิดใดไว้โดยเฉพาะค่าฤชาธรรมเนียมนั้นให้รวมถึงค่าป่วยการพยาน ค่าทนายความค่าธรรมเนียมในการส่งเอกสารและบังคับคดี และค่าฤชาธรรมเนียมหรือค่าธรรมเนียมอื่น ๆ บรรดาที่กฎหมายบังคับให้เสียดังนั้น คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่พิพากษาว่าค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสองศาลให้เป็นพับ โดยมิได้สั่งค่าทนายความ จึงรวมถึงค่าทนายความทั้งสองศาลให้เป็นพับด้วยแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 951/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรุกล้ำที่ดินและสิทธิภารจำยอม: การชดใช้ค่าที่ดินและขอบเขตสิทธิเฉพาะส่วนโรงเรือน
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1312ได้ระบุไว้ชัดแจ้งว่าสร้างโรงเรือนย่อมหมายถึงสร้างบ้าน สำหรับอยู่อาศัยเท่านั้น ดังนั้น โรงรถ ท่อน้ำประปา ปั๊มน้ำ และแท็งก์น้ำจึงมิใช่โรงเรือนตามความหมายของบทบัญญัติ มาตรานี้ และไม่ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งส่วนใดของโรงเรือนด้วย แม้จำเลยจะสร้างหรือทำรุกล้ำเข้าไปในที่ดินโจทก์โดยสุจริต ก็ไม่ได้รับความคุ้มครองตามมาตรา 1312 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1312 บัญญัติให้ จดทะเบียนสิทธิเป็นภารจำยอมเฉพาะตัวโรงเรือนที่รุกล้ำเท่านั้น จึงไม่มีผลให้บุคคลผู้สร้างโรงเรือนรุกล้ำเข้าไปในที่ดิน ของผู้อื่นได้สิทธิภารจำยอมในที่ดินของผู้อื่นอีก 2 เมตร แม้จะมีข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร กำหนดให้อาคารที่ปลูกใน ที่ดินเอกชนให้ผนังด้านที่มีหน้าต่าง ประตูหรือช่องระบายอากาศ อยู่ห่างเขตที่ดินได้สำหรับชั้นสองลงมาระยะไม่น้อยกว่า 2 เมตร ก็เป็นกรณีที่ผู้ปลูกสร้างอาคารจะต้องปฏิบัติตาม ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครเท่านั้น แต่กรณีของจำเลยเป็นการ สร้างโรงเรือนรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์ ข้อบัญญัติดังกล่าว ไม่มีผลให้โจทก์ต้องผูกพันในการกระทำของจำเลย โจทก์จึง ไม่ต้องจดทะเบียนภารจำยอมที่ดินของโจทก์ให้แก่จำเลย เพิ่มขึ้นตามข้อบัญญัติดังกล่าวอีก ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 161 วรรคสองบัญญัติว่า ถ้ามิได้ระบุค่าฤชาธรรมเนียมชนิดใดไว้โดยเฉพาะค่าฤชาธรรมเนียมนั้นให้รวมถึงค่าป่วยการพยาน ค่าทนายความค่าธรรมเนียมในการส่งเอกสารและบังคับคดี และค่าฤชาธรรมเนียมหรือค่าธรรมเนียมอื่น ๆ บรรดาที่กฎหมายบังคับให้เสียดังนั้น ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาว่าค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสองให้เป็นพับโดยมิได้สั่งค่าทนายความจึงหมายความรวมถึงค่าทนายความทั้งสองศาลให้เป็นพับด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 824/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องรื้อถอนอาคารรุกล้ำที่ดิน: คำฟ้องชัดเจน แม้รายละเอียดสิทธิและหน้าที่ยังไม่ครบถ้วนก็ไม่ถือว่าฟ้องเคลือบคลุม
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์ได้ทำสัญญาให้ห้างหุ้นส่วนจำกัดธ.ปรับปรุงที่ดินและก่อสร้างศูนย์การค้าโดยยกกรรมสิทธิ์ในสิ่งปลูกสร้างให้โจทก์ทำการจัดหาผลประโยชน์ต่อมาจำเลยทำการก่อสร้างอาคารพาณิชย์รุกล้ำที่ดินแปลงดังกล่าว ขอให้บังคับจำเลยรื้อถอนไปนั้น เป็นการบรรยายฟ้องโดยแจ้งชัดแล้วส่วนที่โจทก์จะได้มีการตรวจสอบเขตที่ดินให้แน่นอนก่อนฟ้องหรือไม่ และที่โจทก์ไม่บรรยายฟ้องถึงสิทธิและหน้าที่ระหว่างโจทก์กับห้างหุ้นส่วนจำกัด ธ. ตามสัญญาก่อสร้างศูนย์การค้านั้นเป็นเพียงรายละเอียดที่โจทก์สามารถนำสืบในชั้นพิจารณาได้ คำฟ้องที่บรรยายไว้โดยแจ้งชัดแล้ว แม้โจทก์จะนำสืบข้อเท็จจริงแตกต่างไปจากคำฟ้อง ก็ไม่ทำให้คำบรรยายฟ้องที่แจ้งชัดกลายเป็นคำบรรยายฟ้องที่ไม่แจ้งชัดไปได้คำฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4490/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรุกล้ำที่ดินและการทำละเมิดต่อกรรมสิทธิ์หลังเปลี่ยนเจ้าของกรรมสิทธิ์ ความยินยอมเดิมไม่ผูกพันเจ้าของรายใหม่
แม้จำเลยจะได้รับความยินยอมจากเจ้าของที่ดินเดิมให้ก่อสร้างรั้วพิพาทรุกล้ำเข้าไปในที่ดินได้และการกระทำของจำเลยไม่อาจถือว่าเป็นการทำละเมิดแต่เมื่อเจ้าของเดิมได้ขายที่ดินให้แก่บุคคลอื่นต่อไป จนในที่สุดที่ดินตกเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ ความยินยอมดังกล่าวย่อมไม่ผูกพันโจทก์ให้ต้องยอมรับสิทธิของจำเลยต่อไป เพราะโจทก์ทั้งสองก็ย่อมมีอำนาจในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1336 ที่จะขัดขวางมิให้จำเลยหรือบุคคลอื่นสอดเข้ามาเกี่ยวข้องกับที่ดินของตนโดยมิชอบด้วยกฎหมายได้เมื่อโจทก์ไม่ประสงค์จะให้รั้วพิพาทอยู่ในที่ดินของตนอีกต่อไปและได้แจ้งให้จำเลยจัดการรื้อถอนแล้วแต่แทนที่จำเลยจะรื้อรั้วพิพาทออกไปเสียทั้งหมดกลับเหลือทิ้งไว้ในที่ดินของโจทก์บางส่วนการกระทำของจำเลยจึงเป็นการทำละเมิดต่อโจทก์ การไม่รื้อถอนรั้วพิพาทให้หมดสิ้นย่อมทำให้โจทก์ไม่สามารถใช้สอยประโยชน์ในที่ดินส่วนนั้นได้ซึ่งแม้ว่าจะมีเนื้อที่เพียงเล็กน้อยโจทก์ก็ได้รับความเสียหายซึ่งอาจเปรียบเทียบค่าเสียหายสำหรับที่ดินส่วนดังกล่าวจากที่ดินในบริเวณใกล้เคียงได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3565/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเรียกค่าเสียหายจากการรุกล้ำที่ดิน: ศาลไม่อนุญาตให้คิดค่าใช้ที่ดินหากฟ้องแต่ค่าเสียหายจากการรุกล้ำ
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์บอกกล่าวให้จำเลยรื้อถอนโรงเรือนและสิ่งปลูกสร้างไปจากที่ดินโจทก์แล้ว จำเลยทั้งสองเพิกเฉย เป็นการละเมิดต่อโจทก์ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายไม่สามารถที่จะเข้าไปใช้หรือเข้าไปทำประโยชน์ในที่ดินของโจทก์ได้ หากที่ดินพิพาทให้บุคคลอื่นเช่าจะได้ค่าเช่าไม่น้อยกว่าเดือนละ10,000 บาท ซึ่งโจทก์ขอถือเอาเป็นค่าเสียหายของโจทก์ โดยโจทก์มิได้ฟ้องเรียกค่าใช้ที่ดินจากจำเลย จำเลยต่อสู้ว่า จำเลยซื้อที่ดินมาจากผู้มีชื่อโดยมีโรงเรือนและสิ่งปลูกสร้างอยู่แล้ว เป็นการปลูกสร้างโดยสุจริตและต่อสู้เรื่องค่าเสียหาย คดีจึงไม่มีประเด็นเรื่องค่าใช้ที่ดิน การที่ศาลอุทธรณ์ฟังว่าโจทก์เรียกค่าเสียหายเนื่องจากโรงเรือนของจำเลยทั้งสองรุกล้ำที่ดินโจทก์ เท่ากับโจทก์เรียกค่าใช้ที่ดินของโจทก์จากจำเลยจึงไม่ชอบ ศาลฎีกาย่อมพิพากษายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในส่วนที่ให้จำเลยชำระค่าใช้ที่ดินแก่โจทก์ แต่ไม่ตัดสิทธิคู่ความที่จะไปว่ากล่าวกันตาม ป.พ.พ.มาตรา 1312

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3565/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเรียกค่าเสียหายจากการรุกล้ำที่ดิน: ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าการพิพากษาให้ชดใช้ค่าใช้ที่ดินเป็นการนอกประเด็นฟ้อง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์บอกกล่าวให้จำเลยรื้อถอนโรงเรือนและสิ่งปลูกสร้างไปจากที่ดินโจทก์แล้วจำเลยเพิกเฉย เป็นการละเมิดต่อโจทก์ทำให้โจทก์ได้รับ ความเสียหายไม่สามารถที่จะเข้าไปใช้หรือเข้าไปทำประโยชน์ ในที่ดินของโจทก์ได้ หากที่ดินพิพาทให้บุคคลอื่นเช่าจะได้ค่าเช่า ไม่น้อยกว่าเดือนละ 10,000 บาท ซึ่งโจทก์ขอถือเอา เป็นค่าเสียหายของโจทก์โดยโจทก์มิได้ฟ้องเรียกค่าใช้ที่ดิน จากจำเลย จำเลยต่อสู้ว่า จำเลยซื้อที่ดินมาจากผู้มีชื่อ โดยมีโรงเรือนและสิ่งปลูกสร้างอยู่แล้ว เป็นการปลูกสร้าง โดยสุจริตและต่อสู้เรื่องค่าเสียหาย คดีจึงไม่มีประเด็น เรื่องค่าใช้ที่ดิน การที่ศาลอุทธรณ์ฟังว่าโจทก์เรียกค่าเสียหาย เนื่องจากโรงเรือนของจำเลยรุกล้ำที่ดินโจทก์ เท่ากับโจทก์เรียกค่าใช้ที่ดินของโจทก์จากจำเลยจึงไม่ชอบศาลฎีกาย่อม พิพากษายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในส่วนที่ให้จำเลย ชำระ ค่าใช้ที่ดินแก่โจทก์ แต่ไม่ตัดสิทธิคู่ความที่จะไปว่ากล่าวกัน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1312

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3565/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องละเมิดเรียกค่าเสียหายจากการรุกล้ำที่ดิน ศาลฎีกาพิพากษายกประเด็นค่าเช่าที่ดิน หากฟ้องไม่ชัดเจน
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์บอกกล่าวให้จำเลยรื้อถอนโรงเรือนและสิ่งปลูกสร้างไปจากที่ดินโจทก์แล้ว จำเลยทั้งสองเพิกเฉย เป็นการละเมิดต่อโจทก์ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายไม่สามารถที่จะเข้าไปใช้หรือเข้าไปทำประโยชน์ในที่ดินของโจทก์ได้ หากที่ดินพิพาทให้บุคคลอื่นเช่าจะได้ค่าเช่าไม่น้อยกว่าเดือนละ 10,000 บาท ซึ่งโจทก์ขอถือเอาเป็นค่าเสียหายของโจทก์ โดยโจทก์มิได้ฟ้องเรียกค่าใช้ที่ดินจาก จำเลย จำเลยต่อสู้ว่า จำเลยซื้อที่ดินมาจากผู้มีชื่อโดยมีโรงเรือนและสิ่งปลูกสร้างอยู่แล้ว เป็นการปลูกสร้างโดยสุจริตและต่อสู้เรื่องค่าเสียหาย คดีจึงไม่มีประเด็นเรื่องค่าใช้ที่ดินการที่ศาลอุทธรณ์ฟังว่าโจทก์เรียกค่าเสียหายเนื่องจากโรงเรือนของจำเลยทั้งสองรุกล้ำที่ดินโจทก์ เท่ากับโจทก์เรียกค่าใช้ที่ดินของโจทก์จากจำเลยจึงไม่ชอบ ศาลฎีกาย่อมพิพากษายกคำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ในส่วนที่ให้จำเลยชำระค่าใช้ที่ดินแก่โจทก์ แต่ไม่ ตัดสิทธิคู่ความที่จะไปว่ากล่าวกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1312

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2129/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปลูกสร้างอาคารรุกล้ำที่ดิน: สิทธิของเจ้าของที่ดินโอนรับทราบการรุกล้ำก่อน
หนังสือยินยอมให้ทำการปลูกสร้างอาคารร่วมผนังซึ่งเป็นข้อตกลงระหว่างจำเลยกับ ส. เจ้าของที่ดินเดิมในการก่อสร้างอาคารชิดแนวเขตที่ดินของตนและใช้โครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กกับผนังอาคารด้านติดกันร่วมกัน แม้จะมีเฉพาะฐานรากใต้ดินเท่านั้นที่รุกล้ำเข้าไปในที่ดินของ ส. ซึ่งเกิดจากจำเลยกระทำไปตามข้อตกลงในหนังสือยินยอมดังกล่าว ดังนั้นแม้จะมีส่วนที่รุกล้ำอยู่บ้าง ก็ไม่เป็นการทำละเมิดต่อ ส. เมื่อโจทก์ทั้งสองรับโอนที่ดินของ ส. มาในสภาพที่มีการรุกล้ำอยู่ก่อนแล้ว โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากจำเลยเกี่ยวกับการรุกล้ำดังกล่าว
of 22