พบผลลัพธ์ทั้งหมด 54 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1031/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้ขนส่งหลายทอดร่วมรับผิดชอบความเสียหายสินค้า การรับขนส่งทางทะเล
สายการเดินเรือช. รับจ้างขนส่งสินค้าจากต่างประเทศมายังประเทศไทยแต่ไม่มีสาขาในประเทศไทยจึงให้จำเลยที่1ดำเนินการแทนระหว่างเดินทางเรือบรรทุกสินค้าของสายการเดินเรือช.เกิดเพลิงไหม้ทำให้สินค้าเสียหายบางส่วนต้องขนสินค้าที่เสียหายขึ้นที่เมืองฮ่องกง จำเลยที่1มีหนังสือถึงผู้เกี่ยวข้องกับสินค้าบนเรือขอให้ใช้กฎแห่งการเฉลี่ยทั่วไปในรูปแบบของหลักประกันเฉลี่ยของบริษัทลอยด์ จำกัดจากผู้รับตราส่งสินค้าเรียกหนังสือค้ำประกันเพื่อกฎแห่งการเฉลี่ยอย่างไม่จำกัดจำนวนจากผู้รับประกันภัยสินค้าและขอให้ลงชื่อในแบบฟอร์มหลักประกันเฉลี่ยและหนังสือค้ำประกันเมื่อเรือสินค้ามาถึงประเทศไทยจำเลยที่1เป็นผู้แจ้งเรือเข้าต่อกรมเจ้าท่าและต่อการท่าเรือแห่งประเทศไทยแจ้งให้กรมศุลกากรทราบว่าสินค้าที่บรรทุกมาบนเรือมีอะไรบ้างประกาศหนังสือพิมพ์ให้ผู้รับตราส่งทราบเพื่อให้นำใบตราส่งมาแลกกับใบปล่อยสินค้าซึ่งจำเลยที่1เป็นผู้ออกให้เพื่อไปรับสินค้าจากคลังสินค้าของการท่าเรือแห่งประเทศไทยจำเลยที่1เป็นผู้รับค่าระวางขนส่งจากผู้รับตราส่งมีหน้าที่ขนถ่ายสินค้าบนเรือทั้งหมดไปเก็บไว้ในคลังสินค้าและเมื่อเรือบรรทุกสินค้าไม่สามารถแล่นผ่านปากแม่น้ำเจ้าพระยาจำเลยที่1ต้องหาเรือลำเลียงมาขนถ่ายสินค้าการดำเนินการดังกล่าวของจำเลยที่1เป็นวิธีการรับขนทางทะเลมีลักษณะร่วมกันขนส่งสินค้าโดยเฉพาะอย่างยิ่งการที่จำเลยที่1ประกาศหนังสือพิมพ์ให้ผู้รับตราส่งทราบเพื่อให้นำใบตราส่งมาแลกกับใบปล่อยสินค้าซึ่งจำเลยที่1เป็นผู้ออกให้เพื่อนำไปรับสินค้าจากคลังสินค้าของการท่าเรือแห่งประเทศไทยเป็นขั้นตอนสำคัญของการรับขนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา615และมาตรา622จำเลยที่1จึงเป็นผู้ขนส่งหลายคนหลายทอดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา618จึงต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์ เมื่อเรือบรรทุกสินค้าบรรทุกน้ำหนักให้มากไม่สามารถเข้ามาที่ปากแม่น้ำเจ้าพระยาได้จำเลยที่1ได้ให้จำเลยที่2เป็นผู้ขนถ่ายสินค้าจากเรือบรรทุกสินค้าจากเกาะสีชังมากรุงเทพมหานครจำเลยที่2ได้ว่าจ้างจำเลยที่4และที่5ขนถ่ายสินค้าโดยมีจำเลยที่3เป็นคนขับเรือเล็กจำเลยที่2ที่4และที่5เป็นผู้ดำเนินการขนถ่ายสินค้าจากเรือใหญ่สู่เรือเล็กแล้วนำเข้าเก็บไว้ในคลังสินค้าจึงถือได้ว่าจำเลยที่2ที่4และที่5เป็นผู้ร่วมขนส่งสินค้าพิพาทกับจำเลยที่1เพื่อให้สินค้าถึงผู้ซื้อในการขนส่งช่วงสุดท้ายจึงต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์ จำเลยที่3มีฐานะเป็นเพียงลูกจ้างของจำเลยที่4และที่5ซึ่งเป็นผู้ร่วมขนส่งสินค้าพิพาทจำเลยที่3จึงย่อมไม่ใช่ผู้ร่วมขนส่งหลายทอด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 773/2538 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หุ้นส่วนจำกัดความรับผิดร่วมรับผิดในหนี้ห้างหุ้นส่วน และสิทธิยกอายุความ
การที่ผู้ร้องซึ่งเป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดของห้าง-หุ้นส่วนจำกัด พ.ให้การต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เกี่ยวกับมูลหนี้ตามบันทึกรับสภาพหนี้ของห้างหุ้นส่วนจำกัด พ.ก่อนที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทวงหนี้ไปยังผู้ร้อง ไม่ใช่ผู้ร้องยอมรับในส่วนของผู้ร้องว่าเป็นหนี้จำเลย บันทึกคำให้การของผู้ร้องไม่ใช่การรับสภาพ-ความรับผิดโดยสัญญาตาม ป.พ.พ. มาตรา 188 วรรคสาม (เดิม)
แม้ผู้ร้องต้องร่วมรับผิดในหนี้ของห้างโดยไม่จำกัดจำนวนตามป.พ.พ. มาตรา 1077 แต่ผู้ร้องก็อยู่ในฐานะลูกหนี้ร่วมกับห้างซึ่งมีสิทธิยกอายุความขึ้นต่อสู้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 295 แม้ห้างถูกเจ้าพนักงาน-พิทักษ์ทรัพย์ทวงหนี้จนศาลได้ออกคำบังคับเพราะเป็นหนี้เด็ดขาดตาม พ.ร.บ.ล้มละลายพ.ศ.2483 มาตรา 119 แล้วก็ตาม เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทวงหนี้ไปยังผู้ร้องให้ร่วมรับผิดในหนี้ของห้างเมื่อพ้น 2 ปี นับแต่ห้างผิดนัดชำระหนี้ในมูลหนี้ผู้เป็นพ่อค้าเรียกเอาค่าที่ได้ส่งมอบของ สิทธิเรียกร้องให้ผู้ร้องชำระหนี้ย่อมขาดอายุความ
แม้ผู้ร้องต้องร่วมรับผิดในหนี้ของห้างโดยไม่จำกัดจำนวนตามป.พ.พ. มาตรา 1077 แต่ผู้ร้องก็อยู่ในฐานะลูกหนี้ร่วมกับห้างซึ่งมีสิทธิยกอายุความขึ้นต่อสู้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 295 แม้ห้างถูกเจ้าพนักงาน-พิทักษ์ทรัพย์ทวงหนี้จนศาลได้ออกคำบังคับเพราะเป็นหนี้เด็ดขาดตาม พ.ร.บ.ล้มละลายพ.ศ.2483 มาตรา 119 แล้วก็ตาม เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทวงหนี้ไปยังผู้ร้องให้ร่วมรับผิดในหนี้ของห้างเมื่อพ้น 2 ปี นับแต่ห้างผิดนัดชำระหนี้ในมูลหนี้ผู้เป็นพ่อค้าเรียกเอาค่าที่ได้ส่งมอบของ สิทธิเรียกร้องให้ผู้ร้องชำระหนี้ย่อมขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 312/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือขอออก L/C ไม่ใช่การค้ำประกัน แต่เป็นการยอมชำระหนี้โดยตรง จำเลยที่ 3 ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1
จำเลยที่1ขอให้โจทก์ออกเลตเตอร์ออฟเครดิตเพื่อสั่งซื้อไม้ซุงท่อนจากต่างประเทศจำเลยที่3มีหนังสือถึงโจทก์ขอให้ออกเลตเตอร์ออฟเครดิตแก่จำเลยที่1โดยจำเลยที่3ยินยอมรับรองตั๋วแลกเงินทุกฉบับที่ส่งมาและจะชำระเงินพร้อมค่าธรรมเนียมเมื่อถึงวันกำหนดตามเงื่อนไขที่แจ้งไว้หนังสือของจำเลยที่3ดังกล่าวมีลักษณะแห่งความผูกพันที่จำเลยที่3ยอมชำระหนี้เองไม่มีความหมายในทางว่าจะชำระหนี้ในเมื่อจำเลยที่1ไม่ชำระหนี้นั้นจึงมิใช่สัญญาค้ำประกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา680วรรคแรก เมื่อจำเลยที่3มีหนังสือขอให้โจทก์ออกเลตเตอร์ออฟเครดิตเพื่อจำเลยที่1และโจทก์ดำเนินการตามคำขอของจำเลยที่3ทั้งได้ชำระเงินแทนจำเลยที่1จนจำเลยที่1ได้รับสินค้าไปแล้วเป็นการสมประโยชน์ของจำเลยที่1และอยู่ในขอบข่ายหนังสือรับรองของจำเลยที่3จำเลยที่3ย่อมต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่1จำเลยที่3จะยกเหตุว่าผู้รับมอบสินค้าไม่ใช่กรรมการของจำเลยที่1และมิได้ลงชื่อรับมอบสินค้าให้ครบ2คนตามเงื่อนไขที่แจ้งไว้เพื่อบอกปัดการชำระหนี้หาได้ไม่ จำเลยที่3มีหน้าที่ต้องร่วมชำระหนี้แก่โจทก์แต่ผิดนัดไม่ชำระหนี้ให้จำเลยที่3จึงต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดซึ่งโจทก์เรียกมาตามฟ้องในอัตราร้อยละ12ต่อปีจำเลยที่3มิได้ให้การโต้แย้งอัตราดอกเบี้ยเป็นอย่างอื่นต้องถือว่าจำเลยที่3ยอมรับอัตราดอกเบี้ยตามฟ้องโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3744/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ดูแลผู้เยาว์และการร่วมรับผิดในละเมิด
จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้เยาว์เป็นบุตรของจำเลยร่วมและเป็นน้องชายของจำเลยที่ 2 จำเลยร่วมต้องย้ายภูมิลำเนาไปประกอบอาชีพในที่ต่าง ๆ หลายแห่งบ่อย ๆ จึงได้ส่งจำเลยที่ 1 ไปอยู่กับจำเลยที่ 2 เพื่อให้เรียนหนังสือตั้งแต่จำเลยที่ 1ยังมีอายุประมาณ 10 ปี ตลอดมาเป็นเวลา 8 - 9 ปีแล้ว จำเลยร่วมส่งเสียให้เล่าเรียนโดยให้เบิกเงินจากจำเลยที่ 2 ทั้งหลังเกิดเหตุเมื่อมีการตกลงชดใช้ค่าเสียหายที่สถานี-ตำรวจก็ได้ระบุในข้อตกลงว่า จำเลยที่ 2 เป็นผู้ปกครองของจำเลยที่ 1 ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้เยาว์อยู่ในความดูแลของจำเลยที่ 2 ดังนั้นเมื่อจำเลยที่ 1 ทำละเมิดต่อโจทก์โดยจำเลยที่ 2 ไม่ใช้ความระมัดระวังดูแลจำเลยที่ 1 ตามสมควร จึงต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 ด้วยตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 430 โดยจำเลยที่ 2หาจำต้องเป็นผู้ปกครองของจำเลยที่ 1 ตามกฎหมายไม่
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ให้ร่วมกันรับผิดต่อโจทก์อย่างลูกหนี้ร่วม ดังนั้นโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ชอบจะเรียกชำระหนี้จากลูกหนี้คือจากจำเลยคนใดคนหนึ่งสิ้นเชิงหรือแต่โดยส่วนก็ได้ตามแต่จะเลือก แต่ลูกหนี้ทั้งปวงก็ยังคงต้องผูกพันอยู่ทั่วทุกคนจนกว่าหนี้นั้นจะได้ชำระเสร็จสิ้นเชิงทั้งนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 291ดังนั้นการที่โจทก์ได้รับชดใช้ค่าเสียหายจากจำเลยที่ 3 จำนวน 40,000 บาท แล้วได้ถอนฟ้องสำหรับจำเลยที่ 3 นั้น จึงเป็นสิทธิของโจทก์ที่จะกระทำได้ การที่โจทก์ถอนฟ้องจำเลยที่ 3 จึงหาใช่โจทก์สละสิทธิเรียกค่าเสียหายไม่
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ให้ร่วมกันรับผิดต่อโจทก์อย่างลูกหนี้ร่วม ดังนั้นโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ชอบจะเรียกชำระหนี้จากลูกหนี้คือจากจำเลยคนใดคนหนึ่งสิ้นเชิงหรือแต่โดยส่วนก็ได้ตามแต่จะเลือก แต่ลูกหนี้ทั้งปวงก็ยังคงต้องผูกพันอยู่ทั่วทุกคนจนกว่าหนี้นั้นจะได้ชำระเสร็จสิ้นเชิงทั้งนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 291ดังนั้นการที่โจทก์ได้รับชดใช้ค่าเสียหายจากจำเลยที่ 3 จำนวน 40,000 บาท แล้วได้ถอนฟ้องสำหรับจำเลยที่ 3 นั้น จึงเป็นสิทธิของโจทก์ที่จะกระทำได้ การที่โจทก์ถอนฟ้องจำเลยที่ 3 จึงหาใช่โจทก์สละสิทธิเรียกค่าเสียหายไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2971/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การร่วมรับผิดในละเมิด: จำเลยที่ 3 ไม่ต้องรับผิดเพราะไม่ได้เป็นนายจ้างของลูกจ้างที่ก่อละเมิด
จำเลยที่ 3 มีรถสำหรับท่องเที่ยวเป็นของตนเองเพื่อให้เช่าขณะที่ ส. ผู้แทนโจทก์และคณะทำสัญญาเช่ารถ จำเลยที่ 3 ยังไม่ทราบว่ารถมีไม่พอให้เช่า จึงต้องเช่ารถจากจำเลยที่ 2 เพื่อบริการแก่คณะของโจทก์แทน และจำเลยที่ 2 ผู้ให้เช่ารถจัดให้จำเลยที่ 1ซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 2 ขับรถพาคณะของโจทก์ไปยังจุดหมายตามข้อตกลง ฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 นำรถเข้าร่วมบริการกับจำเลยที่ 3โดยรับผลประโยชน์ร่วมกัน จึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 2 นั้นเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 3 อันจะเป็นเหตุให้จำเลยที่ 3 ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ในผลแห่งละเมิดที่จำเลยที่ 1 ก่อขึ้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2149/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องเช็ค: คำฟ้องชัดเจนถึงการร่วมรับผิดของจำเลยทั้งสอง และการพิสูจน์การรับโอนเช็คโดยชอบ
คำฟ้องของโจทก์ได้บรรยายว่า จำเลยที่ 1 สั่งจ่ายเช็คพิพาทซึ่งสั่งจ่ายเงินแก่ผู้ถือ โดยจำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อและประทับตราสำคัญของจำเลยที่ 1 โจทก์เป็นผู้ทรงเช็คดังกล่าวโดยได้รับมอบเช็คมาจากผู้มีชื่อซึ่งนำมาชำระหนี้ ต่อมาธนาคารตามเช็คได้ปฏิเสธการจ่ายเงิน จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้สั่งจ่ายและจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1จึงต้องร่วมกันรับผิดชำระเงินตามเช็คพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์สภาพแห่งข้อหาก็คือจำเลยที่ 1 สั่งจ่ายเช็คพิพาทแก่ผู้ถือเมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็ค จำเลยที่ 1 จะต้องรับผิดชำระเงินตามเช็คพร้อมดอกเบี้ยแก่ผู้ทรง จำเลยที่ 2เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 จะต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ด้วย ทั้งโจทก์ได้มีคำขอบังคับให้จำเลยชำระเงินตามเช็คพร้อมดอกเบี้ยไว้แล้ว จึงเป็นคำฟ้องที่ครบถ้วนสมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 วรรคสองข้อเท็จจริงที่โจทก์มิได้บรรยายไว้ว่าจำเลยที่ 2 จะต้องรับผิดในฐานะใด โจทก์ได้รับเช็คพิพาทจากใคร ชำระหนี้ค่าอะไรนั้นมิใช่สภาพแห่งข้อหาคงเป็นเพียงรายละเอียดที่จะนำสืบในชั้นพิจารณา แม้โจทก์จะไม่ได้บรรยายไว้ก็ไม่ทำให้คำฟ้องของโจทก์เคลือบคลุม แม้คำขอท้ายฟ้องของโจทก์จะระบุไว้เพียงว่า ขอให้บังคับจำเลยชำระเงินตามเช็คพร้อมดอกเบี้ยจำนวน 53,750 บาทและดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี จากต้นเงินจำนวน50,000 บาท นับถัดจากวันฟ้องจนกว่าจำเลยจะชำระเงินเสร็จแก่โจทก์โดยมิได้ระบุว่าให้จำเลยทั้งสองรับผิดดังกล่าวก็ตามแต่คำฟ้องของโจทก์ได้ระบุว่าขอยื่นฟ้องจำเลยทั้งสองไว้โดยชัดแจ้งทั้งบรรยายฟ้องว่า จำเลยทั้งสองจะต้องร่วมกันรับผิดชำระเงินตามเช็คและดอกเบี้ยแก่โจทก์ จึงเป็นที่เข้าใจได้แล้วว่า ขอให้จำเลยทั้งสองร่วมรับผิดชำระเงินตามเช็คและดอกเบี้ยแก่โจทก์ตามคำบรรยายในตอนต้นนั้นเอง การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระเงินแก่โจทก์ตามฟ้องจึงไม่เกินคำขอ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2722/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องร่วมรับผิดในหนี้เงินกู้, อำนาจฟ้อง, การชำระหนี้บางส่วน, และผลกระทบต่อลูกหนี้ร่วม
จำเลยให้การว่าเป็นหนี้เงินกู้โจทก์จริง แต่จำนวนหนี้ไม่มากเท่ากับที่โจทก์ฟ้อง ดังนี้เป็นเรื่องที่จำเลยยกขึ้นต่อสู้เพียงว่าจะต้องรับผิดเพียงใดเท่านั้น การที่จำเลยฎีกาว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเนื่องจากโจทก์ได้รับเงินต้นคืนบางส่วน จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวเป็นประเด็นมาแต่ศาลชั้นต้น ต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองร่วมกันรับผิดในหนี้เงินกู้ เป็นการฟ้องให้ชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้เมื่อศาลฎีกาฟังว่าจำเลยที่ 1 ชำระเงินต้นให้แก่โจทก์ไปแล้วบางส่วน คงเหลือหนี้ต้นเงินอีกบางส่วนศาลฎีกาย่อมพิพากษาให้มีผลไปถึงจำเลยที่ 2 ซึ่ง มิได้ฎีกาได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5114/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภริยาและทายาทร่วมรับผิดหนี้ภาษีค้างชำระจากเงินได้และรายรับร่วมกัน การบังคับคดีกับทรัพย์มรดก
หนี้ภาษีอากรรายพิพาทเจ้าพนักงานประเมินของโจทก์เรียกเก็บจากจำเลยที่ 1 และสามี จำเลยที่ 1 และสามีอุทธรณ์การประเมิน คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ผ่อนผันลดเงินเพิ่มลงและแจ้งให้จำเลยที่ 1 กับสามีชำระ แต่ก็ไม่ได้ชำระและมิได้อุทธรณ์คำวินิจฉัยต่อศาลภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด ทั้งเมื่อถูกฟ้องคดีนี้ จำเลยที่ 1 รับว่าการประเมินถูกต้อง หนี้ภาษีรายพิพาทจึงยุติว่าจำเลยที่ 1 มีเงินได้พึงประเมินและมีรายรับอันจะต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีการค้าร่วมกับสามี เพราะการประเมินรายนี้ถือว่าเป็นเงินได้และรายรับร่วมกัน แม้โจทก์มิได้ฟ้องให้จำเลยที่ 1รับผิดฐานไม่ปฏิบัติตามสัญญาที่จำเลยที่ 1 เคยตกลงยอมชำระหนี้ค่าภาษีอากรที่พิพาทก็ตามแต่เมื่อภาษีอากรรายพิพาทเป็นภาษีอากรค้าง จำเลยที่ 1 จึงต้องร่วมรับผิดกับสามี ตามประมวลรัษฎากร มาตรา57 ตรี วรรคแรก
ศาลภาษีอากรกลางพิพากษาให้จำเลยทั้งสองในฐานะทายาทของสามีจำเลยที่ 1 ชำระหนี้ค่าภาษีอากรตามฟ้อง แต่ทั้งนี้ต้องไม่เกินจำนวนทรัพย์มรดกที่ตกได้แก่จำเลยทั้งสอง ให้จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้จัดการมรดกนำเงินจากกองมรดกหากมีไปชำระภาษี มิได้หมายความว่าจะต้องเอาเฉพาะมรดกที่เป็นเงินไปชำระภาษีโดยไม่ต้องรับผิดในทรัพย์สินอื่นที่เป็นมรดก เพราะความตอนต้นบ่งชัดแล้วว่าจำเลยที่ 2ในฐานะทายาทต้องชำระหนี้ค่าภาษีอากรตามฟ้อง คำพิพากษาดังกล่าวจึงย่อมบังคับคดีแก่ทรัพย์สินทุกชนิดที่เป็นมรดกของผู้ตาย.
ศาลภาษีอากรกลางพิพากษาให้จำเลยทั้งสองในฐานะทายาทของสามีจำเลยที่ 1 ชำระหนี้ค่าภาษีอากรตามฟ้อง แต่ทั้งนี้ต้องไม่เกินจำนวนทรัพย์มรดกที่ตกได้แก่จำเลยทั้งสอง ให้จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้จัดการมรดกนำเงินจากกองมรดกหากมีไปชำระภาษี มิได้หมายความว่าจะต้องเอาเฉพาะมรดกที่เป็นเงินไปชำระภาษีโดยไม่ต้องรับผิดในทรัพย์สินอื่นที่เป็นมรดก เพราะความตอนต้นบ่งชัดแล้วว่าจำเลยที่ 2ในฐานะทายาทต้องชำระหนี้ค่าภาษีอากรตามฟ้อง คำพิพากษาดังกล่าวจึงย่อมบังคับคดีแก่ทรัพย์สินทุกชนิดที่เป็นมรดกของผู้ตาย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5114/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภริยาต้องร่วมรับผิดภาษีเงินได้ร่วมกับสามี แม้หย่าแล้ว และบังคับคดีได้ทั้งทรัพย์มรดก
หนี้ภาษีอากรรายพิพาทเจ้าพนักงานประเมินของโจทก์เรียกเก็บจากจำเลยที่ 1 และสามี จำเลยที่ 1 และสามีอุทธรณ์การประเมินคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ผ่อนผันลดเงินเพิ่มลงและแจ้งให้จำเลยที่ 1 กับสามีชำระ แต่ก็ไม่ได้ชำระและมิได้อุทธรณ์คำวินิจฉัยต่อศาลภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด ทั้งเมื่อถูกฟ้องคดีนี้ จำเลยที่ 1 รับว่าการประเมินถูกต้อง หนี้ภาษีรายพิพาทจึงยุติว่าจำเลยที่ 1 มีเงินได้พึงประเมินและมีรายรับอันจะต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีการค้าร่วมกับสามี เพราะการประเมินรายนี้ถือว่าเป็นเงินได้และรายรับร่วมกัน แม้โจทก์มิได้ฟ้องให้จำเลยที่ 1รับผิดฐานไม่ปฏิบัติตามสัญญาที่จำเลยที่ 1 เคยตกลงยอมชำระหนี้ค่าภาษีอากรที่พิพาทก็ตามแต่เมื่อภาษีอากรรายพิพาทเป็นภาษีอากรค้าง จำเลยที่ 1 จึงต้องร่วมรับผิดกับสามี ตามประมวลรัษฎากร มาตรา57 ตรี วรรคแรก ศาลภาษีอากรกลางพิพากษาให้จำเลยทั้งสองในฐานะทายาทของสามีจำเลยที่ 1 ชำระหนี้ค่าภาษีอากรตามฟ้อง แต่ทั้งนี้ต้องไม่เกินจำนวนทรัพย์มรดกที่ตกได้แก่จำเลยทั้งสอง ให้จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้จัดการมรดกนำเงินจากกองมรดกหากมีไปชำระภาษี มิได้หมายความว่าจะต้องเอาเฉพาะมรดกที่เป็นเงินไปชำระภาษีโดยไม่ต้องรับผิดในทรัพย์สินอื่นที่เป็นมรดก เพราะความตอนต้นบ่งชัดแล้วว่าจำเลยที่ 2ในฐานะทายาทต้องชำระหนี้ค่าภาษีอากรตามฟ้อง คำพิพากษาดังกล่าวจึงย่อมบังคับคดีแก่ทรัพย์สินทุกชนิดที่เป็นมรดกของผู้ตาย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2452/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การร่วมรับผิดในความเสียหายจากการเดินรถแท็กซี่ แม้มิได้เป็นลูกจ้าง หากยอมให้ใช้ชื่อและได้รับประโยชน์
ผู้มีชื่อนำรถแท็กซี่มาจดทะเบียนเป็นชื่อของบริษัทจำเลยที่2 ซึ่งมีวัตถุประสงค์ประกอบการเดินรถยนต์บรรทุกคนโดยสาร แล้วจำเลยที่ 2 ยอมให้จำเลยที่ 1 นำรถคันดังกล่าวออกวิ่งรับคนโดยสารโดยมีตราบริษัทจำเลยที่ 2 ติดอยู่ข้างรถ และจำเลยที่ 2 ได้รับผลประโยชน์จากการนี้ด้วย ดังนี้ เท่ากับจำเลยที่ 2 เชิดให้จำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนในการรับจ้างบรรทุกคนโดยสาร จำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์ผู้ได้รับความเสียหายจากการทำละเมิดของจำเลยที่ 1