คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ลงลายมือชื่อ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 79 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2417/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงชื่อสลักหลังเช็คด้วยชื่อร้านค้า ถือเป็นการลงลายมือชื่อของตนตามกฎหมาย
คำว่า บุคคลผู้ลงลายมือชื่อของตนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 900 วรรคแรก หมายถึง บุคคลธรรมดาที่เขียนลายมือชื่อด้วยตนเองหรือนิติบุคคลตามกฎหมายที่ผู้แทนผู้มีอำนาจกระทำการแทนลงลายมือชื่อกระทำการแทน โดยจะลงชื่อสมมติหรือนามแฝงหรือชื่อเสียงที่ใช้ในทางการค้าซึ่งเป็นที่แน่นอนว่าหมายถึงบุคคลใด โดยมีเจตนาให้ลายมือชื่อที่ลงในตั๋วเงินเป็นชื่อของตน การที่จำเลยที่ 2เขียนคำว่า แสงรุ้งเรือง ซึ่งเป็นชื่อร้านของจำเลยที่ 2ลงด้านหลังเช็คพิพาททั้งสองฉบับ ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 เป็นผู้ลงลายมือชื่อของตนในเช็คดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 169/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงลายมือชื่อในคำพิพากษาและการร่วมปรึกษาคดี: ผลต่อการพิจารณาความเห็นแย้ง
คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์มีหนังสือรับรองของอธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ มีข้อความว่า ป. ซึ่งมิได้ลงชื่อในคำพิพากษาได้ร่วมปรึกษาคดีและมีความเห็นพ้องกัน ดังได้ลงลายมือชื่อในต้นร่างคำพิพากษาแล้ว แสดงว่า ป. มิได้มีความเห็นแย้งต่อองค์คณะที่พิพากษาคดี แต่ได้มีความเห็นพ้องกับองค์คณะในคำพิพากษาศาลอุทธรณ์จึงเป็นคำพิพากษาที่ชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3901/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจการขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย: การมอบอำนาจให้ทนายความลงลายมือชื่อในคำขอ
ตามหนังสือมอบอำนาจโจทก์ได้มอบอำนาจให้ น. เป็นผู้ยื่นด้วยขอรับชำระหนี้ และดำเนินกระบวนพิจารณาคดีล้มละลายนี้แทน ฯลฯฉะนั้น น. จึงมีสิทธิที่จะดำเนินคดีเรื่องนี้แทนโจทก์ได้ตลอดทั้งการขอรับชำระหนี้ด้วย เพราะการขอชำระหนี้เป็นเรื่องของกระบวนพิจารณาที่โจทก์จะต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายในกำหนดตามมาตรา 91 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483การที่ น. ลงลายมือชื่อในคำขอรับชำระหนี้หาใช่เป็นการลงลายมือแทนโจทก์ไม่ หากแต่เป็นการกระทำแทนโจทก์ซึ่งเป็นตัวการตามที่ได้รับมอบหมายให้ทำการขอรับชำระหนี้แทนตามหนังสือมอบอำนาจ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 329/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทิ้งฟ้องฎีกา: ผลของการรับทราบคำสั่งศาล และการลงลายมือชื่อรับทราบ
ฎีกาของจำเลยที่ 2 มีข้อความประทับด้วยตรายางของศาลชั้นต้นว่า "ให้มาทราบคำสั่งในวันที่ 22 มีนาคม 2533 ถ้าไม่มาให้ถือว่าทราบคำสั่งแล้ว" โดยมีจำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อไว้และศาลชั้นต้นสั่งให้จำเลยที่ 2 นำส่งสำเนาฎีกาให้โจทก์ใน 7 วัน แม้ศาลชั้นต้นจะสั่งในวันที่ 21มีนาคม 2533 ซึ่งเป็นวันรุ่งขึ้นหลังจากจำเลยที่ 2 ยื่นฎีกาก็ตาม แต่การที่จำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อรับทราบวันนัดให้มาฟังคำสั่งศาลชั้นต้นนั้น เป็นการแสดงเจตนายอมรับว่าจะมาฟังคำสั่งในวันดังกล่าวถ้าไม่มาให้ถือว่าทราบคำสั่งแล้ว จึงต้องถือว่าจำเลยที่ 2 ทราบคำสั่งศาลชั้นต้นแล้วตั้งแต่วันที่ 22มีนาคม 2533 เมื่อจำเลยที่ 2 เพิกเฉยไม่จัดการนำส่งสำเนาฎีกาภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้จึงเป็นการทิ้งฟ้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 174 (2)
ฎีกาของจำเลยที่ 3 มีข้อความประทับด้วยตรายางของศาลชั้นต้นว่า "ให้มาทราบคำสั่งในวันที่ 23 มีนาคม 2533 ถ้าไม่มาให้ถือว่าทราบคำสั่งแล้ว" แต่ผู้ที่ลงลายมือชื่อไว้ใต้ตราประทับดังกล่าวไม่ใช่จำเลยที่ 3 หรือทนายจำเลยที่ 3 ทั้งไม่ปรากฏว่าเกี่ยวข้องกับจำเลยที่ 3 หรือทนายจำเลยที่ 3 อย่างไร ดังนั้นการที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำเลยที่ 3 นำส่งสำเนาฎีกาให้โจทก์ใน 7 วันแต่เป็นการสั่งในวันที่ 21 มีนาคม 2533 ซึ่งเป็นวันรุ่งขึ้นหลังจากจำเลยที่ 3 ยื่นฎีกา จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 3 ทราบคำสั่งศาลชั้นต้นแล้ว แม้จำเลยที่ 3 ไม่นำส่งสำเนาฎีกาภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้ ก็ไม่เป็นการทิ้งฟ้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 174 (2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3675/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ธนาคารไม่ต้องรับผิดตามเช็ค หากไม่ได้ลงลายมือชื่อ และไม่มีสัญญาเป็นประโยชน์แก่บุคคลภายนอก
โจทก์เป็นผู้ทรงเช็คพิพาทซึ่งเป็นเช็คธนาคารจำเลยโดยมี พ.เป็นผู้สั่งจ่ายแต่ธนาคารจำเลยปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คพิพาททั้ง ๆ ที่บัญชีกระแสรายวันของ พ. พอที่จะจ่ายได้ ทั้งนี้เพราะนายจ้างของ พ. มีหนังสือแจ้งมายังธนาคารจำเลยขออายัดการจ่ายเงินตามเช็คพิพาท เนื่องจาก พ. ได้ฉ้อโกงเงินของนายจ้างดังนี้โจทก์ฟ้องธนาคารจำเลยให้ใช้เงินตามเช็คพิพาทไม่ได้ สิทธิของโจทก์ในฐานะผู้ทรงเช็คพิพาทเมื่อธนาคารจำเลยปฏิเสธการจ่ายเงินก็ได้แต่จะฟ้องไล่เบี้ย เอาแก่บุคคลทั้งหลายที่ลงลายมือชื่อในเช็คพิพาทเท่านั้น บทบัญญัติใน ป.พ.พ. มาตรา 991 นั้นถ้า จำเลยไม่ใช้เงินแก่โจทก์โดยไม่มีข้อแก้ตัวตามมาตรา 991(1) หรือ (2) หรือ (3)ธนาคารจำเลยก็จะต้องรับผิดต่อผู้เคยค้า คือ พ. ผู้สั่งจ่ายเท่านั้น เพราะเป็นคู่สัญญาของจำเลยตามสัญญาฝากเงินบัญชีกระแสรายวัน และมาตรา 991 มีวัตถุประสงค์เพื่อปลดเปลื้องความรับผิดของธนาคารที่มีต่อผู้เคยค้าเท่านั้น การที่ พ. ได้เปิดบัญชีกระแสรายวันไว้กับธนาคารจำเลยและมีข้อตกลงว่าการเบิกเงินจากบัญชีต้องใช้เช็คในการสั่งจ่ายเงินข้อสัญญาดังกล่าวระหว่างจำเลยกับ พ. ผู้เคยค้าไม่มีลักษณะเป็นสัญญาเพื่อประโยชน์แก่บุคคลภายนอกตาม ป.พ.พ. มาตรา 374,375.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5404/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พยานทำพินัยกรรม: การมีอยู่จริงกับการลงลายมือชื่อตามกฎหมาย
พยานในพินัยกรรมซึ่งจะเป็นผู้รับทรัพย์ตามพินัยกรรมนั้นไม่ได้ตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1653วรรคหนึ่ง หมายถึงพยานซึ่งต้องลงลายมือชื่อในแบบพินัยกรรมที่ทำขึ้นนั้น ส่วนการที่จำเลยซึ่งเป็นผู้รับทรัพย์ตามพินัยกรรมนั่งอยู่ด้วยในขณะที่ผู้ทำพินัยกรรมทำพินัยกรรม แต่มิได้ลงลายมือชื่อเป็นพยานในพินัยกรรม หาเป็นพยานในพินัยกรรมตามบทบัญญัติดังกล่าวไม่ พินัยกรรมดังกล่าวจึงไม่ตกเป็นโมฆะ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5404/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พยานในพินัยกรรม: การมีอยู่ร่วมขณะทำพินัยกรรม ไม่ถือเป็นพยานตามกฎหมายหากไม่ได้ลงลายมือชื่อ
พยานในพินัยกรรมซึ่งจะเป็นผู้รับทรัพย์ตามพินัยกรรมนั้นไม่ได้ตามความหมายแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 1653 วรรคหนึ่ง หมายถึงพยานซึ่งต้องลงลายมือชื่อในแบบพินัยกรรมที่ทำขึ้นนั้น การที่จำเลยซึ่งเป็นผู้รับทรัพย์ตามพินัยกรรมนั่งอยู่ด้วยในขณะที่ผู้ทำพินัยกรรมทำพินัยกรรม แต่มิได้ลงลายมือชื่อเป็นพยานในพินัยกรรม หาเป็นพยานในพินัยกรรมตามบทบัญญัติดังกล่าวไม่ ดังนี้ พินัยกรรมดังกล่าวจึงไม่ตกเป็นโมฆะ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5404/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พยานในพินัยกรรมต้องลงลายมือชื่อ การมีอยู่ด้วยขณะทำพินัยกรรมไม่ถือเป็นพยาน
พยานในพินัยกรรมซึ่งจะเป็นผู้รับทรัพย์ตามพินัยกรรมนั้นไม่ได้ตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1653วรรคหนึ่ง หมายถึงพยานซึ่งต้องลงลายมือชื่อในแบบพินัยกรรมที่ทำขึ้นนั้น ส่วนการที่จำเลยซึ่งเป็นผู้รับทรัพย์ตามพินัยกรรมนั่งอยู่ด้วยในขณะที่ผู้ทำพินัยกรรมทำพินัยกรรม แต่มิได้ลงลายมือชื่อเป็นพยานในพินัยกรรม หาเป็นพยานในพินัยกรรมตามบทบัญญัติดังกล่าวไม่ พินัยกรรมดังกล่าวจึงไม่ตกเป็นโมฆะ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5253/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับตามสัญญาประนีประนอมยอมความ: อำนาจศาลสั่งให้จำเลยลงลายมือชื่อถอนเงินแทนการแสดงเจตนา
ศาลได้มีคำพิพากษาตามยอมและจำเลยได้ปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความ คือได้ร่วมกับโจทก์นำเงินไปเปิดบัญชีเงินฝากที่ธนาคารให้โจทก์ 7 ล้านบาท โดยตกลงกันว่า เมื่อโจทก์ประสงค์จะถอนเงินดังกล่าวมาใช้ประโยชน์ จำเลยจะต้องร่วมลงลายมือชื่อถอนเงินนั้น เมื่อในสัญญาประนีประนอมยอมความมิได้มีข้อความที่แสดงว่าคู่กรณีตกลงให้จำเลยควบคุมการใช้เงินของโจทก์ ดังนี้ จำเลยจะไม่ยอมลงลายมือชื่อถอนเงินโดยอ้างว่าโจทก์มิได้แจ้งจุดประสงค์ในการใช้เงินให้จำเลยทราบตามเจตนารมณ์ของสัญญาประนีประนอมยอมความหาได้ไม่ และกรณีนี้จำเลยจะต้องชำระหนี้ด้วยการร่วมลงลายมือชื่อกับโจทก์ถอนเงินจากธนาคาร อันเป็นการทำนิติกรรมอย่างหนึ่งศาลจึงมีอำนาจสั่งบังคับว่าหากจำเลยไม่ปฏิบัติตามให้ถือเอาคำสั่งศาลแทนการแสดงเจตนาของจำเลยได้ ไม่เป็นการสั่งนอกเหนือไปจากสัญญาประนีประนอมยอมความหรือเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมคำพิพากษาตามยอม.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5253/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความ: การบังคับให้ร่วมลงลายมือชื่อถอนเงินตามสัญญา
โจทก์จำเลยที่ 1 และที่ 2 ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันศาลมีคำพิพากษาตามยอม โดยจำเลยที่ 1 และที่ 2 ยอมชำระเงินให้โจทก์ 14 ล้านบาท ภายในวันที่ 15 กรกฎาคม 2531 ชำระเป็นแคชเชียร์เช็ค 7 ล้านบาท ส่วนอีก 7 ล้านบาท โจทก์และจำเลยที่ 2จะนำไปฝากประจำธนาคารภายในวันที่ 15 กรกฎาคม 2531 โดยโจทก์และจำเลยที่ 2 จะลงชื่อร่วมกันเป็นผู้ฝาก และการถอนต้องลงลายมือชื่อโจทก์และจำเลยที่ 2 ร่วมกัน ไม่ปรากฏว่าคู่กรณีมีความประสงค์ให้โจทก์ต้องแจ้งจุดประสงค์ในการใช้เงินให้จำเลยที่ 2 ทราบเพื่อให้จำเลยที่ 2 เข้ามาควบคุมการใช้เงินของโจทก์ จำเลยที่ 2 ปฏิเสธไม่ยอมร่วมลงลายมือชื่อกับโจทก์ในการถอนเงินจากธนาคารโดยอ้างว่าโจทก์มิได้แจ้งจุดประสงค์ในการใช้เงินให้จำเลยที่ 2 ทราบหาได้ไม่ดังนี้ ศาลมีอำนาจสั่งบังคับว่าหากจำเลยที่ 2 ไม่ปฏิบัติตามนั้นให้ถือเอาคำสั่งศาลแทนการแสดงเจตนาของจำเลยที่ 2 ได้.
of 8