คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ลดหย่อนภาษี

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 25 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2951/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ รายจ่ายที่ไม่สามารถนำมาหักลดหย่อนภาษีได้: ค่าเดินทาง, ค่ารับรอง, ค่าของขวัญ, และโบนัส
รายจ่ายค่าเดินทางของกรรมการผู้จัดการบริษัท ซึ่งใช้จ่ายในการเดินทางไปในเรื่องส่วนตัวของกรรมการผู้นั้น มิใช่รายจ่ายเพื่อหากำไรหรือเพื่อกิจการโดยเฉพาะ บริษัทย่อมไม่มีสิทธินำมาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี (3) (13)
รายจ่ายค่ารับรองซึ่งไม่ปรากฏว่าจ่ายเพื่อรับรองผู้ใดและจ่ายในกิจการใด ถือเป็นรายจ่ายในเรื่องส่วนตัว และรายจ่ายค่าของขวัญไม่ใช่เป็นรายจ่ายเพื่อการกุศลสาธารณะ และมิใช่จ่ายเพื่อเป็นค่ารับรองแต่เป็นรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการส่วนตัวหรือการให้โดยเสน่หารายจ่ายดังกล่าวไม่ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิตามมาตรา 65 ตรี (3)
เงินโบนัสของบริษัทที่กำหนดจ่ายจากผลกำไรที่ได้เมื่อสิ้นสุดรอบระยะเวลาบัญชี บริษัทไม่มีสิทธินำค่าโบนัสดังกล่าวมาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิตาม มาตรา65 ตรี (19)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8516/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิลดหย่อนภาษีค่าอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดา: บุตรบุญธรรมไม่มีสิทธิเท่าบุตรชอบด้วยกฎหมาย
ป.รัษฎากร มาตรา 47 (1) (ญ) กำหนดให้ลดหย่อนภาษีสำหรับค่าอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดาของผู้มีเงินได้ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีประกาศกำหนด ซึ่งเจตนารมณ์ของบทบัญญัติดังกล่าวปรากฏตามเหตุผลในการประกาศใช้ พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 36) พ.ศ.2548 คือ โดยที่มาตรา 17 แห่ง พ.ร.บ.ผู้สูงอายุ พ.ศ.2546 กำหนดให้ผู้อุปการะเลี้ยงดูบุพการีซึ่งเป็นผู้สูงอายุที่ไม่มีรายได้เพียงพอแก่การยังชีพ ดังนั้น เพื่อเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนการอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดาผู้ให้กำเนิดบุตร สมควรกำหนดให้ผู้มีเงินได้ซึ่งอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดาของตนหรือสามีภริยาของตน นำค่าอุปการะเลี้ยงดูดังกล่าวมาหักลดหย่อนในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ดังนี้ การหักลดหย่อนดังกล่าวย่อมไม่รวมถึงผู้มีเงินได้ซึ่งเป็นบุตรบุญธรรมที่ได้อุปการะเลี้ยงดูผู้รับบุตรบุญธรรมแต่อย่างใด ทั้งตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรก็กำหนดไว้ว่า ผู้มีเงินได้จะต้องเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของบิดามารดาของตนจึงจะใช้สิทธิหักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูได้ โจทก์จึงไม่มีสิทธิหักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตาม ป.รัษฎากร มาตรา 47 (1) (ญ) ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 17217/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อหน่วยลงทุน RMF เกินสิทธิลดหย่อนภาษี สามารถขายได้โดยไม่ครบ 5 ปี และไม่กระทบสิทธิลดหย่อนเดิม
ผู้มีเงินได้ซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดก็สามารถทำได้เพราะไม่มีกฎหมายบัญญัติห้ามไว้ แต่ส่วนที่เกินกว่ากฎหมายกำหนดไว้จะไม่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ ดังนั้น หากผู้มีเงินได้ต้องการขายในส่วนที่ซื้อไว้เกินกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้ก่อนครบ 5 ปี ก็ย่อมกระทำได้ โจทก์จึงมีสิทธิที่จะขายหน่วยลงทุนที่เหลือเกินจากการใช้สิทธินำไปหักลดหย่อนภาษีดังกล่าวได้โดยไม่จำต้องถือไว้จนครบ 5 ปี และได้รับประโยชน์จากส่วนต่างของราคาหน่วยลงทุนที่เพิ่มขึ้น 1,545.84 บาท ซึ่งโจทก์ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจากส่วนต่างดังกล่าวในปีที่ขายหน่วยลงทุน โดยโจทก์ยังมีสิทธิได้รับยกเว้นภาษีเงินได้จากการซื้อหน่วยลงทุนในส่วนที่มีสิทธิหักลดหย่อนได้ตามกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7847/2560

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ รายจ่ายลงทุนในบริษัทลูกเพื่อประโยชน์บริษัทแม่ ไม่ใช่รายจ่ายเพื่อหากำไร ต้องห้ามลดหย่อนภาษี
บริษัทโจทก์ บริษัท อ. และบริษัท ฮ. ต่างเป็นบริษัทลูกของบริษัทแม่ด้วยกันย่อมรู้ข้อมูลทางการเงินซึ่งกันและกันเป็นอย่างดี วันที่ 9 กันยายน 2549 โจทก์ให้บริษัท ฮ. กู้ยืมเงินเพื่อนำไปชำระหนี้ให้แก่บริษัท อ. ตามความต้องการของบริษัทแม่ วันที่ 6 ตุลาคม 2549 บริษัท ฮ. ออกหุ้นเพิ่มทุน 252,500,000 บาท ขายให้โจทก์แต่ผู้เดียว โดยโจทก์ออกตั๋วสัญญาใช้เงินชำระค่าหุ้น แล้ว บริษัท ฮ. สลักตั๋วให้โจทก์เพื่อชำระหนี้เงินกู้ ต่อมาวันที่ 9 พฤศจิกายน 2549 บริษัท ฮ. จดทะเบียนเลิกบริษัท และวันที่ 26 ธันวาคม 2549 จดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชี ขณะโจทก์ซื้อหุ้นเพิ่มทุนของบริษัท ฮ. ปรากฏว่าผลการดำเนินงานของบริษัท ฮ. มีผลขาดทุนสะสมมาตลอด และได้หยุดการดำเนินกิจการชั่วคราวบริษัท ฮ. ไม่ได้นำเงินที่ได้จากการเพิ่มทุนไปดำเนินการตามวัตถุประสงค์ในการแปลงหนี้เป็นทุนตามที่โจทก์อ้างว่าซื้อหุ้นเพิ่มทุนเพื่อหวังเงินปันผลจากการดำเนินกิจการของบริษัท ฮ. รายจ่ายผลขาดทุนจากการซื้อหุ้นเพิ่มทุน 252,500,000 บาท จึงมิใช่รายจ่ายเพื่อหากำไรหรือเพื่อกิจการโดยเฉพาะ ต้องห้ามนำเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรขาดทุนสุทธิตาม ป.รัษฎากร มาตรา 65 ตรี (13)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2114/2560

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลดหย่อนภาษีโรงเรือนกรณีติดตั้งเครื่องจักรในโรงงาน แม้ผู้ให้เช่าไม่ได้ประกอบกิจการเอง
ตามแบบแจ้งรายการเพื่อเสียภาษีโรงเรือนและที่ดิน ประจำปี 2555 และปี 2556 มีการแสดงรายการทรัพย์สินที่มีเครื่องจักรอยู่ในแบบ ประกอบกับโจทก์ร้องขอให้พิจารณาใหม่ในประเด็นลดค่ารายปีตามมาตรา 13 แห่ง พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 พร้อมแนบสัญญาเช่าที่ดินและอาคาร สัญญาซื้อขายเครื่องปรับอากาศ สัญญาซื้อขายอุปกรณ์ เครื่องปรับอากาศและติดตั้งอุปกรณ์ สัญญาจ้างเหมาติดตั้งระบบดับเพลิง ใบเสนอราคางานระบบไฟฟ้าและระบบเตือนภัย และงานติดตั้งระบบไฟฟ้าแรงสูง โดยจำเลยที่ 2 ได้มีคำชี้ขาดในประเด็นการขอลดค่ารายปีแล้ว ถือได้ว่าโจทก์ได้ปฏิบัติตามมาตรา 33 แล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
มาตรา 13 แห่ง พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 บัญญัติว่า "ถ้าเจ้าของโรงเรือนใดติดตั้งส่วนควบที่สำคัญมีลักษณะเป็นเครื่องจักรกลไก เครื่องกระทำหรือเครื่องกำเนิดสินค้าเพื่อใช้ดำเนินการอุตสาหกรรมบางอย่าง เช่น โรงสี โรงเลื่อยฯลฯ ขึ้นในโรงเรือนนั้น ๆ ในการประเมินท่านให้ลดค่ารายปีลงเหลือหนึ่งในสามของค่ารายปีของทรัพย์สินนั้น รวมทั้งส่วนควบดังกล่าวแล้วด้วย" บทบัญญัติของมาตรานี้มิได้กำหนดว่าต้องเป็นเจ้าของโรงเรือนประกอบกิจการอุตสาหกรรมเองจึงได้ลดค่ารายปีลง ดังนั้น กรณีโจทก์นำโรงเรือนให้บริษัท ฟ. เช่า ก็ไม่ทำให้โจทก์เสียสิทธิไป
of 3