คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ลวงสาธารณชน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 55 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1930/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสละเครื่องหมายการค้าและขอบเขตการคุ้มครอง: การเลียนแบบเครื่องหมายการค้าต้องถึงขนาดลวงสาธารณชน
เมื่อโจทก์และจำเลยที่ 1 ต่างสละรูปภาชนะบรรจุสินค้าและข้อความที่บรรยายทางการค้า ซึ่งเป็นสิ่งที่ใช้กันสามัญในการค้าขาย ตามที่นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าได้มีคำสั่งให้โจทก์และจำเลยที่ 1 สละแล้วนั้นย่อมหมายความรวมถึงการวางรูปของเครื่องหมายการค้าและข้อความที่บรรยายในทางการค้าและข้อความที่บรรยายในทางการค้าหรือสิ่งอื่นใด ในเครื่องหมายการค้าที่โจทก์และจำเลยที่ 1 ได้ยินยอมสละ แล้วด้วย เครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำว่า "CARGLO" ของโจทก์ที่ได้รับการจดทะเบียน ได้รับจดทะเบียนเฉพาะคำเท่านั้น ไม่รวมถึงการวางรูปของเครื่องหมายการค้า ดังนั้น รูปลักษณะ ภาชนะบรรจุสินค้า รวมทั้งการวางรูปของเครื่องหมายการค้า และคำบรรยายที่ภาชนะดังกล่าว โจทก์และจำเลยที่ 1 จึงไม่อาจ ถือสิทธิแต่เพียงผู้เดียว การที่จำเลยที่ 1 ผลิตสินค้า มีรูปลักษณะของภาชนะและคำบรรยายเกี่ยวกับสินค้าอย่างเดียวกับ สินค้าของโจทก์ โจทก์จึงอ้างไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 ใช้สิทธิไม่สุจริต โจทก์และจำเลยที่ 1 ต่างได้รับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า อักษรโรมันคำว่า "CARGLO" หรือ "คาร์โกล้" และ "DINCO" หรือ "ดิงโก้" ตามลำดับ ซึ่งแตกต่างกันทั้งตัวอักษรที่เขียนและสำเนียงเรียกขาน แม้เครื่องหมายการค้าของโจทก์และ จำเลยที่ 1 ใช้กับสินค้าจำพวกยาขัดล้าง รถยนต์ แต่บุคคลบางประเภทเท่านั้นที่ใช้สินค้าดังกล่าว ไม่ใช่สินค้าที่ประชาชนทั่วไปใช้สอยจึงเป็นไปได้ยากที่ผู้ใช้จะหลงผิดเข้าใจว่ายาขัดล้างรถยนต์ภายใต้เครื่องหมายการค้า "DINCO"หรือ "ดิงโก้" ของจำเลยที่ 1 เป็นยาขัดล้าง รถยนต์ ภายใต้เครื่องหมายการค้า "CARGLO" หรือ "คาร์โกล้" ของโจทก์ถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้เอาชื่อรูปรอยประดิษฐ์ในทางการค้าของโจทก์มาใช้ และเลียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1929/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่คล้ายคลึงกันจนลวงสาธารณชน และความไม่สุจริตของผู้ยื่นขอจดทะเบียน
เครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยมีสาระสำคัญของลักษณะบ่งเฉพาะอยู่ที่ตัวอักษรโรมันคำว่า BROTHER และbrother แม้จำเลยจะจดทะเบียนและยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำว่า brother โดยมีคำว่า triอยู่ด้านหน้า กับคำว่า TRADEMARK อยู่ด้านล่างและมีรูปห่วงวงกลม3ห่วง วางเรียงกันอยู่เหนือคำว่า brotherคำว่า tri และ TRADEMARK เป็นเพียงส่วนประกอบนอกจำนวนว่าเป้ฯ tribrother หรือสามพี่น้อง ส่วนคำว่าTRADEMARK แปลว่า เครื่องหมายการค้า ไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะแต่อย่างใด สำหรับรูปห่วงวงกลม3ห่วง ที่วางเรียงกันก็ไม่มีลักษณะพิเศษไม่ถึงกับเป็นลักษณะบ่งเฉพาะอันอาจแสดงให้เห็นว่าเครื่องหมายการค้าของจำเลยแตกต่างไปจากเครื่องหมายการค้าของโจทก์ได้ และจำเลยได้ใช้หรือจะใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวของจำเลยกับสินค้าจำพวก 6 และชนิดสินค้าจักรเย็บผ้าเช่นเดียวกันกับของโจทก์ และจำเลยเคยเป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้าจักรเย็บผ้าภายใต้เครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำว่า BROTHER ของโจทก์มาก่อน ทั้งจำเลยเคยยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำว่า brotherใช้กับสินค้าจำพวก 13 ชนิดสินค้า ขาจักรเย็บผ้า จนนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าและคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าได้ยกคำขอของจำเลยมาแล้ว แสดงให้เห็นความไม่สุจริตของจำเลยที่จะทำให้เครื่องหมายการค้าของจำเลยเหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์จนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนมาโดยตลอด โจทก์จึงมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดังกล่าวดีกว่าจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1929/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เครื่องหมายการค้าคล้ายกันจนลวงสาธารณชน: ความสุจริตของผู้ประกอบการและผลกระทบต่อผู้บริโภค
เครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยมีสาระสำคัญของลักษณะบ่งเฉพาะอยู่ที่ตัวอักษรโรมันคำว่าBROTHERและbrotherแม้เครื่องหมายการค้าของจำเลยจะมีคำว่าtriอยู่ด้านหน้า กับคำว่าTRADEMARKอยู่ด้านล่าง และมีรูปห่วงวงกลม3ห่วง วางเรียงกันอยู่เหนือคำว่าbrotherคำว่าtriและTRADEMARKเป็นเพียงส่วนประกอบบอกจำนวนว่าเป็นtribrotherหรือสามพี่น้องส่วนคำว่าTRADEMARKแปลว่า เครื่องหมายการค้า ไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะแต่อย่างใด สำหรับรูปห่วงวงกลม3ห่วง ที่วางเรียงกันก็ไม่มีลักษณะพิเศษไม่ถึงกับเป็นลักษณะบ่งเฉพาะอันอาจแสดงให้เห็นว่าเครื่องหมายการค้าของจำเลยแตกต่างไปจากเครื่องหมายการค้าของโจทก์ เมื่อจำเลยได้ใช้หรือจะใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวกับสินค้าเช่นเดียวกับสินค้าของโจทก์ทำให้เห็นได้ว่าเครื่องหมายการค้าของจำเลยคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์อันอาจทำให้สาธารณชนสับสนหลงผิดได้ว่าจักรเย็บผ้าหรือมอเตอร์จักรเย็บผ้าที่ใช้เครื่องหมายการค้าของจำเลยเป็นสินค้าของโจทก์ และจำเลยเคยเป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้าของโจทก์แสดงให้เห็นถึงความไม่สุจริตของจำเลยที่จะทำให้เครื่องหมายการค้าของจำเลยเหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ จนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชน โจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดังกล่าวดีกว่าจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1334/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาความเหมือน/คล้ายของเครื่องหมายการค้าต้องพิจารณาทั้งหมดประกอบกัน ไม่ถือเพียงบางส่วน
การพิจารณาว่าเครื่องหมายการค้าใดเหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าอื่น จนนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนหรือไม่นั้นจะต้องพิจารณาส่วนประกอบของเครื่องหมายการค้าทั้งหมดรวมกัน แม้เครื่องหมายการค้าคำว่า "DUNLOPILLO" ของโจทก์และเครื่องหมายการค้าคำว่า "DELIGHTPILLO"ของจำเลยเป็นอักษรโรมันด้วยกัน มีลักษณะลีลาการเขียนคล้ายกัน แต่เครื่องหมายการค้าของโจทก์ประกอบด้วยอักษรโรมัน 10 ตัว ในขณะที่เครื่องหมายการค้าของจำเลย ประกอบด้วยอักษรโรมัน 12 ตัว อยู่ในกรอบรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าแต่ตรงเหลี่ยมประดิษฐ์ให้เป็นรูปมน เครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลย แม้ต่างออกเสียงเป็นสี่พยางค์ โดยออกเสียงพยางค์ท้ายตรงกันว่า "พิลโล" ก็ตาม แต่เครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยสองพยางค์แรกอ่านออกเสียงต่างกัน โดยเครื่องหมายการค้าของโจทก์สองพยางค์แรกอ่านออกเสียงว่า "ดันล๊อป" ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยอ่านออกเสียงว่า "ดีไลท์" ซึ่งเมื่ออ่านเครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยทั้งสี่พยางค์รวมกันแล้วปรากฏว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยอ่านออกเสียงต่างกันมากอย่างเห็นได้ชัด ลำพังแต่อักษรตัวแรกในแต่ละพยางค์ ประกอบด้วยอักษรตัวเดียวกันไม่อาจทำให้หลงผิดแต่อย่างใด เครื่องหมายการค้าคำว่า "D" ของโจทก์ เป็นอักษรโรมันตัวเดียวอยู่ในวงกลมซึ่งมีลูกศรชี้ไปทางขวามือ ส่วนเครื่องหมายการค้าคำว่า "D.R." ของจำเลยเป็นอักษรโรมัน 2 ตัว อยู่ในวงกลม หลังอักษรแต่ละตัวมีเครื่องหมายจุด (.) รูปรอยประดิษฐ์อักษรตัวดีมีลักษณะลีลาการเขียนที่แตกต่างกันอย่างชัดแจ้ง เครื่องหมายการค้าของโจทก์กับเครื่องหมายการค้าของจำเลยไม่เหมือนหรือคล้ายกันอันจะทำให้สาธารณชนเข้าใจได้ว่า สินค้าของจำเลยเป็นสินค้าของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5321/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลียนแบบเครื่องหมายการค้าจนลวงสาธารณชน การพิจารณาความคล้ายคลึงของเครื่องหมายการค้าและสินค้า
เครื่องหมายการค้าจดทะเบียนคำว่า LODINE และโลดีน ของ โจทก์กับเครื่องหมายการค้าซึ่งจดทะเบียนภายหลังคำว่า LODINOX และโลดินอกซ์ ของ จำเลย ต่างเป็นเครื่องหมายการค้าประเภทเครื่องหมายคำโดยใช้ตัวอักษรโรมันธรรมดา และตัวอักษรไทยรูปแบบธรรมดาเป็นคำอ่านออกเสียงรูปแบบอักษรโรมันไม่มีลวดลายหรือลักษณะพิเศษแตกต่างกัน การออกสำเนียงในการอ่านคำในสองพยางค์หน้าของเครื่องหมายการค้าทั้งสองคล้ายคลึงและใกล้เคียงกัน แม้จำเลย จะต่อเติมอักษรโรมันในพยางค์หลังและอธิบายว่าคำว่า LODINOX มีที่ มาจากถ้อยคำของสูตรตัวยาแก้ท้องเสีย 2 ตัว คือ LOPERAMIDE และFURASOLIDINE และต่อเติมคำว่า NOX อ้างว่าให้มีความหมายว่า หยุดก็เป็นเพียงความประสงค์ของจำเลยเองที่ไม่ถูกต้องตรงกับความหมายของถ้อยคำและตัวอักษรที่ย่อเอามากล่าวคือ คำว่า NOX เป็นคำที่ไม่ปรากฏความหมายในพจนานุกรม และคำว่า LODINOX ก็ไม่ตรงกับ ตัวอักษรLO และ LID ที่จำเลยอ้างว่านำมาจากสูตรตัวยา 2 ตัว ดังกล่าวแล้วนำมารวมกัน เครื่องหมายการค้าของจำเลยส่อแสดง ให้เห็นว่าจำเลยจงใจเลียนแบบเครื่องหมายการค้าของโจทก์ ทั้งเครื่องหมายการค้าของจำเลย ใช้กับสินค้าจำพวกที่ 3 ตามรายการ จำพวกสินค้าเดียวกันกับสินค้าของโจทก์ สาธารณชนย่อมยากที่จะแยก ได้ว่าสินค้ายาเครื่องหมายการค้าใดเป็นสินค้าของโจทก์หรือ ของจำเลย และอาจทำให้ผู้ซื้อยาเกิดความสับสนหลงผิดว่าสินค้า ของจำเลยเป็นสินค้าที่โจทก์ผลิตขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้ที่ไม่มีความรู้ภาษาอังกฤษหรือรู้น้อยย่อมเกิดความสับสนหรือหลงผิดได้ง่าย ถือได้ว่าเครื่องหมายการค้าของจำเลยคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์จนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนตามมาตรา 16 แห่ง พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5321/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่คล้ายคลึงกันจนลวงสาธารณชน เป็นการละเมิดสิทธิเครื่องหมายการค้า
เครื่องหมายการค้าจดทะเบียนคำว่า LODINE และ โลดีน ของโจทก์กับเครื่องหมายการค้าซึ่งจดทะเบียนภายหลังคำว่า LODINOX และโลดินอกซ์ ของจำเลย ต่างเป็นเครื่องหมายการค้าประเภทเครื่องหมายคำโดยใช้ตัวอักษรโรมันธรรมดา และตัวอักษรไทยรูปแบบธรรมดาเป็นคำอ่านออกเสียงรูปแบบอักษรโรมันไม่มีลวดลายหรือลักษณะพิเศษแตกต่างกัน การออกสำเนียงในการอ่านคำในสองพยางค์หน้าของ เครื่องหมายการค้าทั้งสองคล้ายคลึงและใกล้เคียงกัน แม้จำเลยจะต่อเติมอักษรโรมันในพยางค์หลังและอธิบายว่าคำว่า LODINOXมีที่มาจากถ้อยคำของสูตรตัวยาแก้ท้องเสีย 2 ตัว คือ LOPERAMIDE และFURASOLIDINE และต่อเติมคำว่า NOX อ้างว่าให้มีความหมายว่าหยุด ก็เป็นเพียงความประสงค์ของจำเลยเองที่ไม่ถูกต้องตรงกับความหมายของถ้อยคำและตัวอักษรที่ย่อมเอามา กล่าวคือ คำว่า NOXเป็นคำที่ไม่ปรากฏความหมายในพจนานุกรม และคำว่า LODINOX ก็ไม่ตรงกับ ตัวอักษร LO และ LID ที่จำเลยอ้างว่านำมาจากสูตรตัวยา 2 ตัวดังกล่าวแล้วนำมารวมกัน เครื่องหมายการค้าของจำเลยส่อแสดงให้เห็นว่าจำเลยจงใจเลียนแบบเครื่องหมายการค้าของโจทก์ ทั้งเครื่องหมายการค้าของจำเลยใช้กับสินค้าจำพวกที่ 3 ตามรายการจำพวกสินค้าเดียวกันกับสินค้าของโจทก์ สาธารณชนย่อมยากที่จะแยกได้ว่าสินค้ายาเครื่องหมายการค้าใดเป็นสินค้าของโจทก์หรือของจำเลย และอาจทำให้ผู้ซื้อยาเกิดความสับสนหลงผิดว่าสินค้าของจำเลยเป็นสินค้าที่โจทก์ผลิตขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่ไม่มีความรู้ภาษาอังกฤษหรือรู้น้อยย่อมเกิดความสับสนหรือหลงผิดได้ง่าย ถือได้ว่าเครื่องหมายการค้าของจำเลยคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์จนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนตามมาตรา 16 แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4786/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เครื่องหมายการค้าคล้ายกันจนลวงสาธารณชน แม้โจทก์มีสิทธิก่อน แต่ยังไม่จดทะเบียน จึงไม่มีสิทธิฟ้องห้าม
เครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลย ต่างเป็นรูปปลาโลมาที่มีลักษณะกระโจนตัวลอย ลำตัวโค้ง หัวปลาอยู่ทางซ้ายและหางปลาอยู่ทางขวาแบบเดียวกัน มีขนาดใกล้เคียงกัน ต่างใช้กับสินค้าพื้นรองเท้ายางที่ผลิตออกจำหน่าย ซึ่งเป็นสินค้าชนิดเดียวกัน แม้ โจทก์และจำเลยจะขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าว ใช้กับสินค้าคนละจำพวก กล่าวคือโจทก์ใช้กับสินค้าจำพวก 40 พื้นรองเท้ายาง ส่วนจำเลยใช้กับสินค้าจำพวก 50 พื้นรองเท้าก็ตาม แต่ ก็เป็นสินค้าชนิดเดียวกันคือพื้นรองเท้ายางดังกล่าว แม้รูปตัว ปลาโลมาตามคำขอจดทะเบียนของโจทก์มีสีดำทึบ ส่วนรูปตัวปลาโลมาตาม คำขอจดทะเบียนของจำเลยเป็นตัวปลาโปร่งมีลาย เส้นประ ตาม ลำตัวปลาก็ตาม แต่เมื่อใช้หล่อติดเป็นเครื่องหมายการค้ากับพื้น รองเท้ายางแล้วย่อมจะไม่ปรากฏให้เห็นสีของตัวปลาว่าแตกต่างกัน อย่างไร นอกจากนี้ ในการเรียกขาน สินค้าที่โจทก์และจำเลยผลิตออก จำหน่ายนั้นทั้งผู้ซื้อและผู้ขายย่อมจะเรียกกันว่าพื้นรองเท้าตรา ปลาโลมาเท่านั้น ความสำคัญที่เด่นชัดของเครื่องหมายการค้าของ โจทก์และของจำเลยจึงอยู่ที่ตัวปลาโลมา แม้จะมีตัวหนังสืออักษรโรมัน ซึ่งมีตัวสะกดและอ่านออกเสียงแตกต่างกันโดยของโจทก์ใช้คำว่า DOLPHIN ส่วนของจำเลยใช้คำว่า PORPOISE แต่ก็ปรากฏว่ามี คำแปลอย่างเดียวกันว่าปลาโลมาอักษรโรมันที่เป็นตัวหนังสือดังกล่าว จึงเป็นเพียงส่วนประกอบของเครื่องหมายการค้าที่มีความสำคัญน้อยกว่า รูปตัวปลาโลมาเป็นอันมากเครื่องหมายการค้าทั้งสองดังกล่าวมีลักษณะ ทำนองเดียวกันอันอาจทำให้ประชาชนทั่วไปหลงผิดได้ว่า สินค้า ของโจทก์และจำเลยเป็นสินค้าของเจ้าของเดียวกัน ดังนี้ กรณีจึงถือ ได้ว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยเหมือนหรือคล้ายกันจนถึง นับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชน แม้โจทก์จะมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทดีกว่าจำเลย แต่เครื่องหมายการค้าของโจทก์ยังไม่ได้รับการจดทะเบียน โจทก์จึง ไม่มีสิทธิฟ้องขอให้ห้ามจำเลยมิให้ใช้เครื่องหมายการค้านั้นอันเป็น การฟ้องคดีเพื่อป้องกันการล่วงสิทธิเครื่องหมายการค้าที่ไม่ จดทะเบียนได้ ทั้งนี้เพราะต้องห้ามตาม มาตรา 29 วรรคแรก แห่ง พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้าฯกรณีจึงไม่อาจบังคับตามคำขอท้ายฟ้อง ของโจทก์ที่ให้ห้ามจำเลยดังกล่าวได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4786/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เครื่องหมายการค้าเหมือน/คล้ายกันจนลวงสาธารณชน แม้โจทก์มีสิทธิก่อน แต่ยังไม่ได้จดทะเบียน จึงไม่มีสิทธิฟ้องห้าม
เครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยต่างเป็นรูปปลาโลมาที่มีลักษณะกระโจนตัวลอย ลำตัวโค้ง หัวปลาอยู่ทางซ้ายและหางปลาอยู่ทางขวาแบบเดียวกันมีขนาดใกล้เคียงกัน ต่างใช้กับสินค้าพื้นรองเท้ายางที่ผลิตออกจำหน่าย ซึ่งเป็นสินค้าชนิดเดียวกันแม้โจทก์และจำเลยจะขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวใช้กับสินค้าคนละจำพวก กล่าวคือ โจทก์ใช้กับสินค้าจำพวก 40พื้นร้องเท้ายาง ส่วนจำเลยใช้กับสินค้าจำพวก 50 พื้นรองเท้าก็ตาม แต่ก็เป็นสินค้าชนิดเดียวกันคือพื้นรองเท้ายางดังกล่าวแม้รูปตัวปลาโลมาตามคำขอจดทะเบียนของโจทก์มีสีดำทึบ ส่วนรูปตัวปลาโลมาตามคำขอจดทะเบียนของจำเลยเป็นตัวปลาโปร่งมีลายเส้นประ ตามลำตัวปลาก็ตาม แต่เมื่อใช้หล่อติดเป็นเครื่องหมายการค้ากับพื้นรองเท้ายางแล้วย่อมจะไม่ปรากฏให้เห็นสีของตัวปลาว่าแตกต่างกันอย่างไร นอกจากนี้ ในการเรียกขานสินค้าที่โจทก์และจำเลยผลิตออกจำหน่ายนั้น ทั้งผู้ซื้อและผู้ขายย่อมจะเรียกกันว่าพื้นรองเท้าตราปลาโลมาเท่านั้น ความสำคัญที่เด่นชัดของเครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยจึงอยู่ที่ตัวปลาโลมาแม้จะมีตัวหนังสืออักษรโรมันซึ่งมีตัวสะกดและอ่านออกเสียงแตกต่างกัน โดยของโจทก์ใช้คำว่า DOLPHIN ส่วนของจำเลยใช้คำว่า PORPOISEแต่ก็ปรากฏว่ามีคำแปลอย่างเดียวกันว่าปลาโลมา อักษรโรมันที่เป็นตัวหนังสือดังกล่าวจึงเป็นเพียงส่วนประกอบของเครื่องหมายการค้าที่มีความสำคัญน้อยกว่ารูปตัวปลาโลมาเป็นอันมากเครื่องหมายการค้าทั้งสองดังกล่าวมีลักษณะทำนองเดียวกันอันอาจทำให้ประชาชนทั่วไปหลงผิดได้ว่า สินค้าของโจทก์และจำเลยเป็นสินค้าของเจ้าของเดียวกันดังนี้ กรณีจึงถือได้ว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยเหมือนหรือคล้ายกันจนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชน แม้โจทก์จะมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทดีกว่าจำเลยแต่เครื่องหมายการค้าของโจทก์ยังไม่ได้รับการจดทะเบียน โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องขอให้ห้ามจำเลยมิให้ใช้เครื่องหมายการค้านั้นอันเป็นการฟ้องคดีเพื่อป้องกันการล่วงสิทธิเครื่องหมายการค้าที่ไม่จดทะเบียนได้ ทั้งนี้ เพราะต้องห้ามตาม มาตรา 29 วรรคแรกแห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 กรณีจึงไม่อาจบังคับตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ที่ให้ห้ามจำเลยดังกล่าวได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3741/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เครื่องหมายการค้าไม่เหมือนหรือคล้ายกันจนลวงสาธารณชน แม้มีคำ ‘กุ๊ก’ ร่วมกัน ศาลยืนคำพิพากษายกฟ้อง
เครื่องหมายการค้าของจำเลยเป็นรูปพ่อครัวถือจานอาหารมืออีกข้างหนึ่งชู นิ้วหัวแม่มืออยู่ในวงกลมลวดลายประดิษฐ์ มีอักษรไทยคำว่า "มิสเตอร์กุ๊ก" และอักษรโรมันคำว่า "M.R.COOK"อยู่ด้านบนและรูปแถบคล้ายริบบิ้น อยู่ด้านล่าง ส่วนของโจทก์เป็นอักษรไทยคำว่า "กุ๊ก" และอักษรโรมันคำว่า "COOK" กับเป็นรูปการ์ตูนคล้ายขวดบรรจุน้ำมันพืชมีอักษรไทย คำว่า "กุ๊ก" และอักษรโรมันคำว่า "COOK" อยู่บนลำตัวของรูปดังกล่าว แม้ของจำเลยจะมีคำว่า "กุ๊ก" และคำว่า "COOK" เป็นสาระสำคัญส่วนหนึ่งในเครื่องหมายการค้าซึ่งเป็นคำเดียวกันกับคำในเครื่องหมายการค้าของโจทก์ก็ตาม แต่คำดังกล่าวเป็นคำสามัญทั่ว ๆ ไป มิใช่คำประดิษฐ์ซึ่งโจทก์ไม่มีสิทธิหวงกันไม่ให้ผู้อื่นใช้คำดังกล่าว และเครื่องหมายการค้าของทั้งสองฝ่ายก็มีเสียงเรียกขานแตกต่างกันโดยของโจทก์เรียกว่า กุ๊ก ส่วนของจำเลยเรียกว่า มีสเตอร์กุ๊กสินค้าที่โจทก์ผลิตออกจำหน่ายในท้องตลาดภายใต้เครื่องหมายการค้าของโจทก์มีเพียงชนิดเดียว คือ น้ำมันพืชเท่านั้น ส่วนสินค้าของจำเลยเป็นน้ำปลา ซอส ชูรส น้ำมันหมู น้ำส้มสายชูและไส้กรอก ไม่มีน้ำมันพืช แสดงว่าจำเลยมิได้มีเจตนาที่จะทำให้สาธารณชนหลงผิดดังนี้เครื่องหมายการค้าของโจทก์และจำเลยมีความแตกต่างกันอย่างชัดเจน ถือไม่ได้ว่าเครื่องหมายการค้าของจำเลยเหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์จนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 629/2533 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาความเหมือนหรือความคล้ายคลึงของเครื่องหมายการค้า เพื่อวินิจฉัยการลวงสาธารณชน
เครื่องหมายการค้าของโจทก์แบบหนึ่งเป็นตัวอักษรโรมันอ่านว่าสแตนเล่ย์ อีกแบบหนึ่งเป็นตัวอักษรโรมันอยู่ด้านบนตัวอักษรไทยอยู่ด้านล่างทั้งตัวอักษรโรมันและตัวอักษรไทยอ่านว่า สแตนเล่ย์ ทั้งสองแบบอยู่ในกรอบสี่เหลี่ยมผืนผ้ารูปคล้ายใบมีดโกน ตัวอักษรสีโปร่ง แต่กรอบสีทึบ ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยเป็นอักษรโรมันอ่านว่า แสตนอัพ อยู่ในกรอบสี่เหลี่ยม รูปร่างคล้ายไม้นวดแป้ง ตัวอักษรสีทึบ ส่วนกรอบสี่เหลี่ยมสีโปร่งเครื่องหมายการค้าของโจทก์ตัวอักษรอยู่ติดกันทั้งหมด ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยตัวอักษรแยกกันเป็นสองส่วน คือคำว่าแสตนกับคำว่า อัพ อยู่ห่างกัน เห็นได้ว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์และจำเลยมีลักษณะแตกต่างกันทั้งตัวอักษร สี และกรอบ คำว่า สแตนเล่ย์เป็นชื่อเฉพาะไม่มีความหมาย ส่วนคำว่าแสตนอัพ นั้น เป็นภาษาอังกฤษแปลว่ายืนขึ้น เครื่องหมายการค้าของจำเลยจึงไม่เหมือนหรือคล้ายเครื่องหมายการค้าของโจทก์ จนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนให้หลงผิดได้ว่า เครื่องหมายการค้าของจำเลยคือเครื่องหมายการค้าของโจทก์
of 6