คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ละทิ้งหน้าที่

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 90 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3567-3568/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การละทิ้งหน้าที่งานต่อเนื่องโดยไม่มีเหตุสมควรเป็นเหตุให้เลิกจ้างได้ ศาลยืนตามคำตัดสินเดิม
การที่ผู้คัดค้านทั้งสองเข้ามาในสถานประกอบการของผู้ร้องมีการลงบันทึกเวลาเข้าและออกจากที่ทำงานและมีการจ่ายค่าจ้างให้แก่ผู้คัดค้านทั้งสองแต่เมื่อผู้คัดค้านทั้งสองไม่ยอมเข้าทำงานตามที่ผู้ร้องมอบหมายถือได้ว่าเป็นการละทิ้งหน้าที่โดยปราศจากเหตุอันสมควรผู้ร้องกล่าวในคำร้องโดยชัดแจ้งว่าผู้คัดค้านทั้งสองละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาเกินกว่า3วันทำงานติดต่อกันโดยไม่มีเหตุสมควรจึงเป็นมูลเหตุที่ผู้ร้องประสงค์เพื่อขอให้ศาลอนุญาตให้เลิกจ้างผู้คัดค้านทั้งสองดังนั้นที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยให้ผู้ร้องเลิกจ้างผู้คัดค้านทั้งสองได้จึงไม่เป็นการวินิจฉัยขัดต่อพยานหลักฐานที่ปรากฏในสำนวน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7909/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลาออก/ละทิ้งหน้าที่ - การนับวันขาดงาน - การเลิกจ้าง - ค่าชดเชย - การตอกบัตรลงเวลาไม่ใช่สาระสำคัญ
โจทก์มาทำงานในวันที่ 6 กันยายน 2537 การที่โจทก์ออกจากที่ทำงานไปก่อนเวลาเลิกงานโดยไม่ได้ตอกบัตรลงเวลา เลิกงาน แม้จะถือว่าเป็นการละทิ้งหน้าที่แต่มิใช่เป็นการ ละทิ้งหน้าที่ตลอดทั้งวัน จะนำมารวมกับวันที่ 7 และ 8 กันยายน 2537 ซึ่งเป็นวันทำงานแต่โจทก์ไม่ได้มาทำงานเพื่อ ให้เข้ากรณีตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47(5) ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5050/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างและการละทิ้งหน้าที่: ศาลฎีกายกอุทธรณ์เพราะเป็นการโต้แย้งดุลพินิจข้อเท็จจริงที่ศาลแรงงานฟัง
การที่บริษัทจำเลยโดยกรรมการผู้จัดการเลิกจ้างโจทก์ด้วยวาจาโดยให้มีผลตั้งแต่วันรุ่งขึ้นแล้วโจทก์ไม่ได้มาทำงานตั้งแต่วันดังกล่าวจนถึงวันที่จำเลยปิดประกาศปลดโจทก์ออกจากงานซึ่งเกิน3วันมิใช่เป็นการละทิ้งหน้าที่เป็นเวลา3วันทำงานติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันสมควรจำเลยอุทธรณ์ว่าเลิกจ้างโจทก์ในวันที่ปิดประกาศมิใช่วันที่เลิกจ้างด้วยวาจาเป็นการโต้แย้งดุลพินิจของศาลแรงงานกลางที่ฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์วันใดเพื่อนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมายที่ว่าในวันแรกที่โจทก์ไม่ได้มาทำงานนั้นโจทก์มีสิทธิฟ้องหรือไม่เป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯมาตรา54

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7420/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประท้วงหยุดงานโดยไม่แจ้งข้อเรียกร้อง ถือเป็นการละทิ้งหน้าที่และผิดสัญญาจ้าง
ลูกจ้างมีหน้าที่ต้องปฏิบัติงานให้แก่นายจ้างตามสัญญาจ้างการที่นายจ้างยังไม่ได้ประกาศจ่ายเงินโบนัสแก่ลูกจ้าง ไม่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายใดให้สิทธิแก่ลูกจ้างในการที่จะประท้วงด้วยการหยุดงาน การประท้วงหยุดงานของลูกจ้างจึงเป็นการผิดสัญญาจ้าง ถือได้ว่าเป็นการละทิ้งหน้าที่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3817/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปฏิบัติหน้าที่ของผู้พิพากษาสมทบและการละทิ้งหน้าที่: ข้อเท็จจริงสำคัญกว่าการอ้างอิงกฎหมายที่ไม่ตรงประเด็น
ศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่า การมาปฏิบัติหน้าที่ผู้พิพากษาสมทบศาลแรงงานกลางของโจทก์ บางวันโจทก์มาปฏิบัติหน้าที่ช่วงเช้าบางวันมาปฏิบัติหน้าที่ช่วงบ่าย แต่โจทก์รายงานต่อจำเลยและผู้บังคับบัญชาว่าปฏิบัติหน้าที่ทั้งวันเป็นประจำและเป็นเช่นนี้มาตลอดทั้ง ๆ ที่มิได้มาปฏิบัติงานทั้งวันที่โจทก์อุทธรณ์ว่า แม้โจทก์จะมิได้มาปฏิบัติหน้าที่ทั้งวัน แต่โจทก์ก็ไม่มีหน้าที่ต้องกลับไปปฏิบัติงานให้แก่จำเลยในช่วงเวลาส่วนที่เหลือหลังจากเสร็จการพิจารณาคดี กรณีจึงไม่เป็นการละทิ้งหน้าที่ โดยโจทก์ยกเอามติคณะรัฐมนตรีและ ป.พ.พ.ขึ้นมาสนับสนุน ซึ่งมติคณะรัฐมนตรีและ ป.พ.พ.ที่โจทก์ยกขึ้นมานั้น มิได้มีหรือบัญญัติไว้ดังที่โจทก์อ้างหรืออาจแปลความเช่นนั้นได้ เป็นเรื่องที่โจทก์เข้าใจและถือเอาเองจึงเป็นการอุทธรณ์ในสิ่งที่ไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้ว่ามีกฎหมายบัญญัติไว้ อันจะนำไปสู่ข้อโต้แย้งว่าโจทก์มิได้ละทิ้งหน้าที่การงานอุทธรณ์ของโจทก์จึงเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2476/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างกรณีฝ่าฝืนข้อบังคับและละทิ้งหน้าที่ โดยต้องจ่ายค่าชดเชย
โจทก์ละทิ้งหน้าที่ในระหว่างเวลาทำงานและฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานด้วยการดื่มเบียร์ในระหว่างเวลาทำงาน ถือได้ว่าเป็นการละทิ้งหน้าที่การงานไปเสียและเป็นการจงใจขัดคำสั่งนายจ้างอันชอบด้วยกฎหมาย จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างย่อมเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583 จำเลยจึงไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้โจทก์
ลักษณะงานที่โจทก์ทำอยู่คือหน้าที่ขัดเงาในบริษัทจำเลยซึ่งประกอบกิจการผลิตเครื่องประดับกาย มิใช่งานที่หากผู้ปฏิบัติงานมึนเมาแล้วอาจจะเกิดความเสียหายร้ายแรงแก่นายจ้างหรือเป็นอันตรายต่อบุคคลหนึ่งบุคคลใด ทั้งเป็นการดื่มเบียร์ในขณะที่โจทก์ละทิ้งหน้าที่ที่ทำอยู่ไปและไม่ปรากฎว่าโจทก์มึนเมาหรือไม่เพียงใด การฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของโจทก์ จึงมิใช่กรณีที่ร้ายแรงตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47 (4) แม้จำเลยจะกำหนดไว้ในข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานว่า จำเลยจะเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชยถ้าพนักงานเสพสุรามึนเมาในขณะปฏิบัติงาน ก็มิใช่จะต้องถือว่าการกระทำผิดวินัยดังกล่าวเป็นกรณีที่ร้ายแรงทุกเรื่องไป เมื่อไม่ปรากฎว่าจำเลยได้เคยตักเตือนโจทก์เป็นหนังสือในเรื่องดังกล่าวมาก่อน จำเลยเลิกจ้างโจทก์ก็ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์
ค่าชดเชยเป็นเงินที่นายจ้างจะต้องจ่ายให้แก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้าง จำเลยไม่จ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์ จึงต้องถือว่าผิดนัดนับแต่วันที่เลิกจ้างเป็นต้นไป ต้องชดใช้ดอกเบี้ยร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีให้แก่โจทก์ตั้งแต่วันดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2476/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างที่ละทิ้งหน้าที่และดื่มเบียร์ในเวลางาน: ค่าชดเชยและการจ่ายดอกเบี้ย
การที่โจทก์ละทิ้งหน้าที่ในระหว่างเวลาทำงานและฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานด้วยการดื่มเบียร์ในระหว่างเวลาทำงานถือได้ว่าเป็นการละทิ้งหน้าที่การงาน และจงใจขัดคำสั่งนายจ้างอันชอบด้วยกฎหมาย จำเลยจึงเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าและไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า โจทก์ละทิ้งหน้าที่เฉพาะในวันที่ 16 ตุลาคม 2536 ตั้งแต่เวลา 16.20 นาฬิกา มิใช่ละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกันตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ 47(4) ลักษณะงานที่โจทก์ทำมิใช่งานที่หากผู้ปฏิบัติงานมึนเมาแล้วจะเกิดความเสียหายร้ายแรงแก่นายจ้าง และไม่ปรากฏว่าโจทก์มึนเมาเพียงใด แม้ตามข้อบังคับของจำเลยกำหนดให้เลิกจ้างได้โดยไม่จ่ายค่าชดเชยก็มิใช่จะต้องถือว่าการทำผิดวินัยดังกล่าวเป็นกรณีร้ายแรง เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่เคยตักเตือนจำเลยจึงต้องจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์ ค่าชดเชยเป็นเงินที่นายจ้างต้องจ่ายให้ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้างจำเลยไม่จ่ายค่าชดเชยให้โจทก์ จึงต้องถือว่าผิดนัดนับแต่วันที่เลิกจ้างเป็นต้นไป จำเลยจึงต้องชดใช้ดอกเบี้ยร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3532/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างที่นัดหยุดงานแล้วละทิ้งหน้าที่โดยไม่มีเหตุผลอันสมควร
สหภาพแรงงานได้ยื่นข้อเรียกร้องต่อนายจ้างเพื่อขอแก้ไขเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้าง และต่อมามีการทำข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างโดยกำหนดให้ลูกจ้างที่นัดหยุดงานกลับเข้าทำงานภายในเวลาที่กำหนด ระหว่างนั้นลูกจ้างบางส่วนได้ร่วมกันทุกทำลายทรัพย์สินของนายจ้างได้รับความเสียหายนายจ้างจึงมีอำนาจออกใบรายงานตัวให้ลูกจ้างลงชื่อก่อนเข้าทำงานได้ เมื่อลูกจ้างไม่ยอมลงชื่อในใบรายงานตัวและไม่ยอมเข้าทำงานในช่วงเวลาที่กำหนดโดยไม่มีเหตุอันจะอ้างได้ตามกฎหมาย ย่อมเป็นการละทิ้งหน้าที่โดยไม่มีเหตุผลอันสมควร นายจ้างเลิกจ้างได้หากลูกจ้างนั้นละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกันขึ้นไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3532/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างที่ละทิ้งหน้าที่หลังเกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินนายจ้าง การวางเงื่อนไขในใบรายงานตัวไม่ถือเป็นการขัดขวางการทำงาน
สหภาพแรงงานได้ยื่นข้อเรียกร้องต่อนายจ้างเพื่อขอแก้ไขเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้าง และต่อมามีการทำข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างโดยกำหนดให้ลูกจ้างที่นัดหยุดงานกลับเข้าทำงานภายในเวลาที่กำหนด ระหว่างนั้นลูกจ้างบางส่วนได้ร่วมกันทุบทำลายทรัพย์สินของนายจ้างได้รับความเสียหาย นายจ้างจึงมีอำนาจออกใบรายงานตัวให้ลูกจ้างลงชื่อก่อนเข้าทำงานได้เมื่อลูกจ้างไม่ยอมลงชื่อในใบรายงานตัวและไม่ยอมเข้าทำงานในช่วงเวลาที่กำหนดโดยไม่มีเหตุอันจะอ้างได้ตามกฎหมายย่อมเป็นการละทิ้งหน้าที่โดยไม่มีเหตุผลอันสมควร นายจ้างเลิกจ้างได้หากลูกจ้างนั้นละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกันขึ้นไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2477/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การละทิ้งหน้าที่กรรมการลูกจ้าง: การมาทำงานแต่ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งย้ายงานเป็นเหตุเลิกจ้างได้
นายจ้างสั่งให้ลูกจ้างซึ่งเป็นกรรมการลูกจ้างไปทำงานที่เครื่องอัดอะลูมิเนียมเครื่องเล็กโดย ได้แจ้งการโยกย้ายให้ลูกจ้างทราบตั้งแต่วันที่ 21 มกราคม 2535 ทั้งได้อธิบายให้ทราบด้วยว่า การทำงานของเครื่องอัดอะลูมิเนียมเครื่องเล็กมีขั้นตอนการทำงานน้อยกว่าเครื่องใหญ่เมื่อลูกจ้างได้ทราบคำสั่งแล้วเพียงแต่มาที่ทำงานเพื่อลงเวลาเข้าทำงานและเลิกงานตามปกติ โดยไม่ยอมไปปฏิบัติงานตามคำสั่งของนายจ้างในวันที่ 20 ถึงวันที่ 22กุมภาพันธ์ 2535 การกระทำของลูกจ้างย่อมเป็นการละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกันโดย ไม่มีเหตุอันสมควร และเป็นการฝ่าฝืนต่อระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของนายจ้างกรณีมีเหตุที่นายจ้างจะเลิกจ้างซึ่งเป็นกรรมการลูกจ้างได้
of 9