คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ละเมิดสิทธิ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 128 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 926/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้เครื่องหมายการค้าที่คล้ายคลึงกันจนเกิดความสับสน แม้จะจดทะเบียนในประเภทสินค้าต่างกัน ถือเป็นการละเมิดสิทธิ
โจทก์จดทะเบียนเครื่องหมายการค้ากับสินค้าจำพวก10ซึ่งเป็นสินค้าเกี่ยวกับเครื่องบอกเวลาในประเทศไทยตั้งแต่ปี2494เครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นรูปมงกุฎห้ายอดบนยอดมงกุฎแต่ละยอดมีจุดกลมสีดำใต้มงกุฎมีอักษรโรมันคำว่าROLEX(โรเล็กซ์)ส่วนจำเลยเพิ่งจดทะเบียนเครื่องหมายการค้ากับสินค้าจำพวก39รายการดินสอและสินค้าจำพวก39ทั้งจำพวกเมื่อปี2524และปี2526โดยเครื่องหมายการค้าของจำเลยเป็นรูปมงกุฎห้ายอดมีจุดกลมสีดำอยู่บนมงกุฎเช่นเดียวกันใต้มงกุฎต่างมีอักษรโรมันคำว่าLolexซึ่งมีลักษณะตัวอักษรคล้ายคลึงกันทั้งยังอ่านออกเสียงคล้ายคำว่า"โรเล็กซ์"ด้วยเมื่อพิจารณารวมทั้งหมดจึงคล้ายคลึงกันมากแม้จำเลยจะจดทะเบียนในสินค้าต่างจำพวกกับสินค้าของโจทก์ก็นับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนให้หลงผิดเพราะผู้ซื้อหรือผู้ใช้สินค้าอาจหลงผิดว่าสินค้าของจำเลยเป็นสินค้าที่โจทก์ผลิตขึ้นแม้จำเลยจะยังมิได้นำสินค้าภายใต้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวออกจำหน่ายแต่การที่จำเลยนำเครื่องหมายการค้าดังกล่าวไปจดทะเบียนถือได้ว่าเป็นการใช้สิทธิไม่สุจริตทำให้โจทก์เสียหายโจทก์จึงมีสิทธิห้ามจำเลยใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวต่อไปได้ โจทก์ฟ้องว่าโจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้ามานานกว่า80ปีและได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าไว้แล้วทั้งในต่างประเทศและในประเทศไทยเป็นการอ้างว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดีกว่าจำเลยผู้ได้จดทะเบียนไว้ในประเทศไทยจึงขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยเป็นการใช้สิทธิตามพระราชบัญญัติ เครื่องหมายการค้าพ.ศ.2474มาตรา41(1)นอกเหนือจากการที่เคยใช้สิทธิโต้แย้งต่อนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามมาตรา22ไว้แล้วโจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4767/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจดทะเบียนบริษัทที่มีชื่อคล้ายคลึงกัน การละเมิดสิทธิในนาม และความรับผิดของผู้ก่อการ
ป.พ.พ. มาตรา 1115 วรรคหนึ่ง ไม่ได้บัญญัติบังคับให้ผู้มีส่วนได้เสียต้องฟ้องเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนหรือร้องขอให้ศาลสั่งบังคับให้เปลี่ยนชื่อในทันทีที่มีการจดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิของชื่อบริษัทที่พ้องหรือคล้ายคลึงกับชื่อบริษัทอื่นซึ่งได้จดทะเบียนแล้วหรือตั้งไว้ในหนังสือบริคณห์สนธิฉบับอื่นอันได้จดทะเบียนไว้แล้ว แม้โจทก์ที่ 2 จะมิได้ฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 2 ทันทีหลังจากที่จำเลยที่ 1 จดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิและประกาศในหนังสือราชกิจจานุเบกษาแล้วก็ตาม ก็หาทำให้โจทก์ที่ 2 เสียสิทธิฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 2 ไปไม่ การที่โจทก์ที่ 2 ฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต
โจทก์ที่ 2 จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดเมื่อพ.ศ.2520 โดยใช้ชื่อว่าบริษัทโอเรียนเต็ล แล็ปปิดารี่ จำกัด และมีชื่อภาษีอังกฤษว่า ORIENTAL CAPIDARY COMPANY LIMITED ส่วนจำเลยที่ 1จดทะเบียนนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด เมื่อ พ.ศ.2530 โดยใช้ชื่อว่าบริษัทโอเรียนเต็ลเจมส์แลปิดารี่ จำกัด มีชื่อเป็นภาษาอังกฤษว่า ORIENTAL GEMESLAPIDARY COMPANY LIMITED แม้ชื่อของโจทก์ที่ 2 มีสองคำ ส่วนชื่อของจำเลยที่ 1 มีสามคำก็ตาม แต่ชื่อคำแรกของโจทก์ที่ 2 และจำเลยที่ 1 เป็นคำคำเดียวกันคือ คำว่า "โอเรียนเต็ล" และ "ORIENTAL" ส่วนคำท้ายของชื่อโจทก์ที่ 2 กับคำท้ายของชื่อจำเลยที่ 1 นั้น แม้ในภาษาไทยจะสะกดต่างกันของโจทก์ที่ 2 สะกดว่า " แล็ปปิดารี่" ส่วนของจำเลยที่ 1 สะกดคำว่า"แลปิดารี่" ก็ตาม แต่คำทั้งสองก็เขียนและอ่านออกเสียงคล้ายคลึงกันมากทั้งในภาษาอังกฤษก็สะกดด้วยคำเดียวกันคือ "LAPIDARY" ชื่อของโจทก์ที่ 2และจำเลยที่ 1 คงมีชื่อแตกต่างกันเพียงว่าชื่อของจำเลยที่ 1 มีคำว่า "เจมส์"อยู่ตรงกลาง โดยชื่อของโจทก์ที่ 2 ไม่มีคำดังกล่าวเท่านั้น บุคคลทั่วไปเมื่อเห็นชื่อของโจทก์ที่ 2 และชื่อของจำเลยที่ 1 ทั้งที่เป็นภาษาไทยและภาษาต่างประเทศย่อมเห็นได้ว่าชื่อดังกล่าวคล้ายกัน โจทก์ที่ 2 และจำเลยที่ 1 ต่างเป็นนิติบุคคลประเภทเดียวกัน มีวัตถุประสงค์ในการประกอบการค้าเช่นเดียวกัน ทั้งต่างก็มีสถานประกอบการในกรุงเทพมหานครด้วยกัน โดยจำเลยที่ 1 จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลประกอบการค้าหลังจากโจทก์ที่ 2 เป็นเวลาถึง 10 ปี การกระทำของจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ผู้เริ่มก่อการจึงเป็นการเลียนแบบชื่อของโจทก์ที่ 2ให้คล้ายคลึงกันจนน่าจะลวงให้มหาชนหลงไปได้ เป็นการละเมิดต่อสิทธิในนามของโจทก์ที่ 2 ซึ่งจำเลยที่ 1 ต้องรับผิดต่อโจทก์ที่ 2 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 18 ประกอบด้วยมาตรา 420 และจำเลยที่ 2 ผู้เริ่มก่อการของจำเลยที่ 1 ต้องรับผิดต่อโจทก์ที่ 2 ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1115 วรรคหนึ่ง
แม้โจทก์ที่ 2 นำสืบไม่ได้แน่ชัดว่าความเสียหายของโจทก์ที่ 2จากการที่จำเลยที่ 1 ใช้ชื่อคล้ายกับชื่อของโจทก์ที่ 2 เป็นจำนวนแน่นอนเพียงใดศาลก็มีอำนาจกำหนดค่าเสียหายให้โจทก์ที่ 2 ได้ตามที่เห็นสมควร
ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1115 วรรคหนึ่ง ค่าสินไหมทดแทนที่ผู้เริ่มกิจการบริษัทจะต้องรับผิดต่อบุคคลผู้มีส่วนได้เสีย หมายความเฉพาะค่าสินไหมทดแทนความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่บริษัทแรกที่ได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลแล้ว หรือได้จดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิก่อนแล้ว อันเนื่องมาจากการที่มีการตั้งชื่อบริษัทแล้วในหนังสือบริคณห์สนธิฉบับหลังพ้องหรือคล้ายคลึงกับชื่อของบริษัทแรกนั้นจนน่าจะลวงให้มหาชนหลงไปได้ในช่วงระยะเวลาระหว่างที่มีการจดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิของบริษัทแล้วดังกล่าวจนถึงเวลาที่ได้จดทะเบียนให้บริษัทหลังนั้นเป็นนิติบุคคลเท่านั้นส่วนความเสียหายที่เกิดขึ้นต่อไปจากการใช้ชื่อพ้องหรือคล้ายคลึงกับชื่อของบริษัทแรกภายหลังจากที่บริษัทหลังได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลแล้วนั้น เมื่อบริษัทหลังมีฐานะเป็นนิติบุคคลแล้ว บริษัทนั้นก็ย่อมเป็นผู้ที่จะต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนในการละเมิดต่อสิทธิในนามของบริษัทแรกตามป.พ.พ.มาตรา 18 ประกอบด้วยมาตรา 420 ต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4767/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้ชื่อบริษัทคล้ายกันจนน่าจะลวงประชาชน ละเมิดสิทธิในนาม, ผู้เริ่มก่อการรับผิดค่าเสียหายเฉพาะช่วงก่อนจดทะเบียนนิติบุคคล
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1115วรรคหนึ่งไม่ได้บัญญัติบังคับให้ผู้มีส่วนได้เสียต้องฟ้องเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนหรือร้องขอให้ศาลสั่งบังคับให้เปลี่ยนชื่อในทันทีที่มีการจดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิของชื่อบริษัทที่พ้องหรือคล้ายคลึงกับชื่อบริษัทอื่นซึ่งได้จดทะเบียนแล้วหรือตั้งไว้ในหนังสือบริคณห์สนธิฉบับอื่นอันได้จดทะเบียนไว้แล้วแม้โจทก์ที่2จะมิได้ฟ้องจำเลยที่1และที่2ทันทีหลังจากที่จำเลยที่1จดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิและประกาศในหนังสือราชกิจจานุเบกษาแล้วก็ตามก็หาทำให้โจทก์ที่2เสียสิทธิฟ้องจำเลยที่1และที่2ไปไม่การที่โจทก์ที่2ฟ้องจำเลยที่1และที่2จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต โจทก์ที่2จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดเมื่อพ.ศ.2520โดยใช้ชื่อว่าบริษัทโอเรียลเต็ลแล็ปปิดารี่จำกัดและมีชื่อภาษาอังกฤษว่าORIENTALCAPIDARYCOMPANYLIMITEDส่วนจำเลยที่1จดทะเบียนนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดเมื่อพ.ศ.2530โดยใช้ชื่อว่าบริษัทโอเรียนเต็ลเจมส์แลปิดารี่จำกัดมีชื่อเป็นภาษาอังกฤษว่าORIENTALGEMESLAPIDARYCOMPANYLIMITEDแม้ชื่อของโจทก์ที่2มีสองคำส่วนชื่อของจำเลยที่1มีสามคำก็ตามแต่ชื่อคำแรกของโจทก์ที่2และจำเลยที่1เป็นคำเดียวกันคือคำว่า"โอเรียนเต็ล"และ"ORIENTAL"ส่วนคำท้ายของชื่อโจทก์ที่2กับคำท้ายของชื่อจำเลยที่1นั้นแม้ในภาษาไทยจะสะกดต่างกันของโจทก์ที่2สะกดว่า"แล็ปปิดารี่"ส่วนของจำเลยที่1สะกดคำว่า"แล็ปปิดารี่"ก็ตามแต่คำทั้งสองก็เขียนและอ่านออกเสียงคล้ายคลึงกันมากทั้งในภาษาอังกฤษก็สะกดด้วยคำเดียวกันคือ"LAPIDARY"ชื่อของโจทก์ที่2และจำเลยที่1คงมีชื่อแตกต่างกันเพียงว่าชื่อของจำเลยที่1มีคำว่า"เจมส์"อยู่ตรงกลางโดยชื่อของโจทก์ที่2ไม่มีคำกล่าวเท่านั้นบุคคลทั่วไปเมื่อเห็นชื่อของโจทก์ที่2และชื่อของจำเลยที่1ทั้งที่เป็นภาษาไทยและภาษาต่างประเทศย่อมเห็นได้ว่าชื่อดังกล่าวคล้ายกันโจทก์ที่2และจำเลยที่1ต่างเป็นนิติบุคคลประเภทเดียวกันทั้งต่างก็มีสถานประกอบการในกรุงเทพมหานครด้วยกันโดยจำเลยที่1จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลประกอบการค้าหลังจากโจทก์ที่2เป็นเวลาถึง10ปีการกระทำของจำเลยที่1โดยจำเลยที่1โดยจำเลยที่2ผู้เริ่มก่อการจึงเป็นการเลียนแบบชื่อของโจทก์ที่2ให้คล้ายคลึงกันจนน่าจะลวงให้มหาชนหลงไปได้เป็นการละเมิดต่อสิทธิในนามของโจทก์ที่2ซึ่งจำเลยที่1ต้องรับผิดต่อโจทก์ที่2ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา18ประกอบด้วยมาตรา420และจำเลยที่2ผู้เริ่มก่อการของจำเลยที่1ต้องรับผิดต่อโจทก์ที่2ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1115วรรคหนึ่ง แม้โจทก์ที่2นำสืบไม่ได้แน่ชัดว่าความเสียหายของโจทก์ที่2จากการที่จำเลยที่1ใช้ชื่อคล้ายกับชื่อของโจทก์ที่2เป็นจำนวนแน่นอนเพียงใดศาลก็มีอำนาจกำหนดค่าเสียหายให้โจทก์ที่2ได้ตามที่เห็นสมควร ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1115วรรคหนึ่งค่าสินไหมทดแทนที่ผู้เริ่มก่อกิจการบริษัทจะต้องรับผิดต่อบุคคลผู้มีส่วนได้เสียหมายความเฉพาะค่าสินไหมทดแทนความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่บริษัทแรกที่ได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลแล้วหรือได้จดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิก่อนแล้วอันเนื่องมาจากการที่มีการตั้งชื่อบริษัทแล้วในหนังสือบริคณห์สนธิฉบับหลังพ้องหรือคล้ายคลึงกับชื่อของบริษัทแรกนั้นจนน่าจะลวงให้มหาชนหลงไปได้ในช่วงระยะเวลาระหว่างที่มีการจดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิของบริษัทแล้วดังกล่าวจนถึงเวลาที่ได้จดทะเบียนให้บริษัทหลังนั้นเป็นนิติบุคคลเท่านั้นส่วนความเสียหายที่เกิดขึ้นต่อไปจากการใช้ชื่อพ้องหรือคล้ายคลึงกับชื่อของบริษัทแรกภายหลังจากที่บริษัทหลังได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลแล้วนั้นเมื่อบริษัทหลังมีฐานะเป็นนิติบุคคลแล้วบริษัทนั้นก็ย่อมเป็นผู้ที่จะต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนในการละเมิดต่อสิทธิในนามของบริษัทแรกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา18ประกอบด้วยมาตรา420ต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4562/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิไถ่การขายฝาก, การครอบครองที่ดินร่วม, และขอบเขตการละเมิดสิทธิของเจ้าของร่วม
โจทก์ทั้งสองฟ้องขับไล่จำเลยทั้งสองออกจากที่ดินที่โจทก์ทั้งสองรับซื้อฝากมาจากจำเลยที่1กับส. เมื่อข้อเท็จจริงปรากฎว่าจำเลยที่1ได้ใช้สิทธิขอไถ่การขายฝากในกำหนดและมีสิทธิที่จะจดทะเบียนให้เป็นที่ดินของตนตามเดิมส่วนที่ดินที่เป็นของส. แม้ศาลจะยกฟ้องแย้งของจำเลยที่1ที่ใช้สิทธิขอไถ่การขายฝากจำเลยที่1เป็นเจ้าของร่วมกันส. ส่วนของส. ตกเป็นของโจทก์ที่2จำเลยที่1กับโจทก์ที่2เป็นเจ้าของร่วมกันถือว่ามีสิทธิอยู่ทุกส่วนของที่ดินจนกว่าจะแบ่งแยกกันเป็นส่วนสัดจำเลยทั้งสองอาศัยอยู่ในที่ดินดังกล่าวย่อมไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์จนกว่าจะแบ่งแยกว่าส่วนใดเป็นของโจทก์ที่2หรือจำเลยที่1

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 284/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้ชื่อบริษัทและเครื่องหมายการค้าที่คล้ายกันเป็นละเมิดสิทธิ และการใช้เครื่องหมายการค้าที่ทำให้สาธารณชนสับสน
โจทก์เป็นผู้ผลิตและจำหน่ายสินค้าคอมพิวเตอร์ ภายใต้เครื่องหมายการค้าคำว่า "UNIX" ทั้งในต่างประเทศและประเทศไทยและสำหรับในประเทศไทยโจทก์ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวสำหรับสินค้าจำพวกที่ 8 ชนิดสินค้าคอมพิวเตอร์ ส่วนและอุปกรณ์เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ซึ่งอยู่ในจำพวกนี้รวมทั้งโปรแกรมคอมพิวเตอร์และคอมพิวเตอร์ซอฟต์แวร์ พร้อมทั้งได้โฆษณาเผยแพร่สินค้าคอมพิวเตอร์ ของโจทก์มาก่อนที่จำเลยจะยื่นขอจดทะเบียนเป็นบริษัทจำกัดและใช้ชื่อบริษัททั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษว่า"บริษัทยูนิกซ์คอมพิวเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด" และ"UNIXCOMPUTER(THAILAND)COMPANYLIMITED" คำว่า "UNIX"ที่จำเลยนำไปจดทะเบียนเป็นส่วนหนึ่งของชื่อบริษัทจำเลยและเป็นส่วนหนึ่งของตรา บริษัท จำเลยเหมือนกันกับเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนคำว่า "UNIX" ซึ่งใช้กับสินค้าคอมพิวเตอร์ ของโจทก์จำเลยประกอบธุรกิจจำหน่ายรับซ่อมเครื่องคอมพิวเตอร์ และจัดทำโปรแกรมคอมพิวเตอร์จำเลยอยู่ในวงการธุรกิจคอมพิวเตอร์ ทราบดีว่าคำว่า "UNIX" เป็นเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนที่ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่โจทก์ผลิตและจำหน่าย การที่จำเลยนำคำว่า"UNIX" ซึ่งเป็นเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนของโจทก์ไปจดทะเบียนเป็นส่วนหนึ่งของชื่อและตราของบริษัทจำเลยและจำเลยรับเป็นตัวแทนจำหน่ายเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า"ONIX" ซึ่งเป็นเครื่องหมายการค้าที่คล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์มากย่อมทำให้สาธารณชนสับสนหลงผิดว่าสินค้าคอมพิวเตอร์หรือการค้าของจำเลยเป็นสินค้าหรือการค้าของโจทก์เป็นการแสวงหาประโยชน์จากชื่อเสียงและเกียรติคุณในเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนของโจทก์โดยมิได้รับอนุญาต การใช้คำว่า "UNIX" เป็นส่วนหนึ่งของชื่อและตรา บริษัท จำเลยจึงเป็นการใช้โดยไม่สุจริตเป็นเหตุให้โจทก์เสียหาย ฝ่าฝืนบทบัญญัติมาตรา 30 แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 อันเป็นบทกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะโจทก์ถูกโต้แย้งสิทธิ การกระทำของจำเลยเป็นการละเมิดสิทธิในเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนของโจทก์ โจทก์ผู้เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนคำว่า "UNIX" ย่อมมีสิทธิขัดขวางมิให้จำเลยนำคำดังกล่าวไปใช้เป็นส่วนหนึ่งของชื่อและตรา บริษัท จำเลยและเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้ การที่จำเลยรู้อยู่แล้วยังจำหน่ายสินค้าเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีเครื่องหมายการค้าคำว่า "ONIX" ซึ่งเหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนคำว่า "UNIX" ที่ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ของโจทก์ที่ผลิตออกจำหน่ายจนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนให้สับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของสินค้าหรือแหล่งกำเนิดของสินค้าย่อมถือได้ว่าเป็นการใช้เครื่องหมายการค้าที่เหมือนหรือคล้ายดังกล่าวซึ่งติดมากับสินค้านั้นอยู่ในตัว ดังนี้แม้จำเลยจะมิใช่ผู้ผลิตสินค้านั้นและคิดประดิษฐ์เครื่องหมายการค้าคำว่า "ONIX" การกระทำของจำเลยก็เป็นการใช้เครื่องหมายการค้าโดยละเมิดสิทธิในเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนคำว่า "UNIX"ของโจทก์แล้ว ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยใช้ค่าทนายความชั้นอุทธรณ์ 2,000 บาทแทนโจทก์ คดีนี้เป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ อัตราค่าทนายความในศาลอุทธรณ์ชั้นสูงตามตาราง 6 ท้าย กำหนดไว้เพียง 1,500 บาทการกำหนดค่าทนายความชั้นอุทธรณ์ให้จำเลยใช้แก่โจทก์จึงเกินอัตราดังกล่าว เป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาชอบที่จะแก้ไขเสียให้ถูกต้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8513/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้เครื่องหมายการค้าตราอูฐโดยไม่สุจริต ละเมิดสิทธิเครื่องหมายการค้าเดิม ศาลสั่งเพิกถอนทะเบียน
เครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นรูปอูฐประดิษฐ์ตัวเดียวกับอักษรโรมันคำว่าCAMELPAINTและเป็นรูปอูฐตัวเดียวกับอักษรโรมันคำว่าCAMELBRANDส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยเป็นรูปอูฐ2ตัวกับมีอักษรโรมันคำว่าOASISสิ่งที่มองเห็นได้เด่นชัดคือรูปอูฐรูปลักษณะของอูฐในเครื่องหมายการค้าของจำเลยอยู่ในท่ายืนและหันหน้าไปทางซ้ายเช่นเดียวกันกับรูปอูฐของโจทก์อักษรโรมันคำว่าCAMELPAINTและCAMELBRANDของโจทก์กับคำว่าOASISของจำเลยดังกล่าวเป็นเพียงส่วนปลีกย่อยสาธารณชนซึ่งส่วนมากไม่สันทัดในภาษาอังกฤษหรืออักษรโรมันย่อมยากที่จะจำแนกถึงความแตกต่างของตัวอักษรคำว่าCAMELPAINTและCAMELBRANDกับคำว่าOASISนอกจากจะยึดถือเอาเครื่องหมายการค้ารูปตราอูฐเป็นสำคัญส่วนรูปชาวอาหรับจูงอูฐและภาพภูเขากับต้นไม้2ต้นหลังตัวอูฐในเครื่องหมายการค้าของจำเลยนั้นมีขนาดเล็กมากเมื่อเทียบกับขนาดของตัวอูฐสาธารณชนเรียกสินค้าของโจทก์และจำเลยว่าสินค้าตราอูฐเครื่องหมายการค้าของโจทก์กับเครื่องหมายการค้าของจำเลยจึงเหมือนกันหรือคล้ายกันจนถึงนับได้ว่าเป็นการ ลวงสาธารณชนให้สับสนในความเป็นเจ้าของของสินค้าการที่จำเลยนำเครื่องหมายการค้ารูปตราอูฐของโจทก์ไปใช้เป็นเครื่องหมายการค้าของจำเลยในการจำหน่ายสินค้าจำพวกและชนิดเดียวกันกับสินค้าของโจทก์ทั้งๆที่จำเลยก็เคยเป็นบริษัทในเครือของบริษัทซึ่งเป็นตัวแทนในการผลิตและจำหน่ายสินค้าของโจทก์ภายใต้เครื่องหมายการค้าตราอูฐมาก่อนย่อมชี้ชัดว่าจำเลยมีเจตนาไม่สุจริตโดยมุ่งหมายที่จะลวงให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดเมื่อโจทก์ใช้เครื่องหมายการค้าจดทะเบียนตราอูฐของโจทก์มาก่อนจำเลยโจทก์ย่อมมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนรูปอูฐ2ตัวกับคำว่าOASISของจำเลยดีกว่าจำเลยโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขอให้ศาลสั่ง เพิกถอนทะเบียน และห้ามใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวได้ ปัญหาในเรื่องการละเมิดสิทธิในชื่อทางการค้าต้องพิจารณาตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา18ว่าจำเลยนำเอาชื่อของโจทก์ไปใช้เป็นชื่อของจำเลยหรือไม่ ก่อนจำเลยจะเปลี่ยนชื่อเป็นบริษัท สีตราอูฐ(แอล.ที.ซี.) จำกัดจำเลยทราบดีว่าโจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนรูปอูฐและคำว่าCAMELPAINTซึ่งแปลว่า สีตราอูฐ ใช้กับสินค้าจำพวกสีและผลิตสีชนิดต่างๆออกจำหน่ายในประเทศไทยภายใต้เครื่องหมายการค้าจดทะเบียนดังกล่าวมาหลายปีจนสาธารณชนเรียกขานสินค้าของโจทก์ว่า สีตราอูฐ การที่จำเลยนำคำว่าCAMELPAINTซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนของโจทก์และคำว่าสีตราอูฐ ซึ่งเป็นความหมายของคำว่าCAMELPAINTมาเป็นส่วนหนึ่งของชื่อและดวงตราของจำเลยกับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้ารูปอูฐ2ตัวเพื่อใช้กับสินค้าสีซึ่งเป็นสินค้าชนิดเดียวกันกับของโจทก์ย่อมแสดงให้เห็นเจตนาของจำเลยอย่างชัดแจ้งว่าจำเลยประสงค์จะลวงสาธารณชนผู้บริโภคให้สับสนหลงผิดว่าสินค้าสีตราอูฐของจำเลยเป็นสินค้าตราอูฐที่โจทก์ผลิตการใช้ชื่อดังกล่าวของจำเลยจึงเป็นการใช้โดยไม่สุจริตเป็นการฝ่าฝืนบทบัญญัติมาตรา30แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ.2474ซึ่งเป็นบทกฎหมายที่ใช้บังคับในขณะโจทก์ถูกโต้แย้งสิทธิโจทก์ย่อมมีสิทธิขัดขวางจำเลยมิให้นำส่วนหนึ่งของเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนของโจทก์ไปเป็นส่วนหนึ่งของชื่อและดวงตราของจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3072/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้ชื่อทางการค้าและเครื่องหมายการค้า SAB ของโจทก์โดยจำเลยในการประกวดราคา ไม่ถือเป็นการละเมิดสิทธิทรัพย์สินทางปัญญา
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งสองโดยไม่สุจริตได้ร่วมกันกระทำละเมิดด้วยการเอาชื่อทางการค้าคำว่า SAB และเครื่องหมายการค้าของโจทก์ตามเอกสารท้ายฟ้องไปใช้ในการประกวดราคาผลิตภัณฑ์เครื่องร่นแท่งห้ามล้ออัตโนมัติทั้งสองครั้งโดยไม่ได้รับอนุญาตจากโจทก์ และร่วมกันจัดทำแคตตาล็อกผลิตภัณฑ์ดังกล่าวของ SABที่มีรูปแบบ ภาพจำลอง คำบรรยายเหมือนคล้าย และละเมิดลิขสิทธิ์ในรูปภาพจำลองเป็นเหตุให้คณะกรรมการเปิดซองประกวดราคาหลงเชื่อว่าผลิตภัณฑ์ตามใบประกวดราคาทั้งสองครั้งที่จำเลยทั้งสองร่วมกันทำและยื่นต่อคณะกรรมการเปิดซองประกวดเป็นผลิตภัณฑ์ของโจทก์และอยู่ภายใต้เครื่องหมายการค้าของโจทก์ และได้พิจารณาซื้อเครื่องร่นแท่งห้ามล้ออัตโนมัติตามใบประกวดราคาทั้งสองครั้งที่จำเลยทั้งสองได้ร่วมกันเสนอแทนการรับซื้อผลิตภัณฑ์เครื่องร่นแท่งห้ามล้ออัตโนมัติของแท้ของโจทก์ ทำให้โจทก์เสียหายโดยไม่อาจขายสินค้าของโจทก์ได้ ขอให้บังคับจำเลยทั้งสองชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ ดังนี้ เห็นว่าคำฟ้องของโจทก์ได้บรรยายโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ รวมทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเกี่ยวกับความเสียหายของโจทก์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสอง แล้ว ส่วนรายละเอียดว่าโจทก์เสียหายอย่างไรจึงเป็นค่าเสียหายจำนวนตามฟ้องนั้น เป็นเรื่องที่โจทก์สามารถนำสืบได้ในชั้นพิจารณา ฟ้องของโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
จำเลยทั้งสองได้เสนอขายสินค้าแก่ ร. โดยระบุไปตามความเป็นจริงว่าสินค้านั้นเป็นสินค้าที่ผลิตในประเทศโปแลนด์ มิใช่สินค้าของโจทก์ที่ผลิตในประเทศสวีเดน จำเลยทั้งสองหาได้ระบุว่าสินค้าที่เสนอขายเป็นผลิตภัณฑ์ของโจทก์ที่ประเทศสวีเดนไม่ ทั้งปรากฎตามเงื่อนไขรายละเอียดของการประกวดราคาว่า ร. ต้องการซื้อเครื่องร่นแท่งห้ามล้ออัตโนมัติที่ผลิตโดย SAB ประเทศสวีเดน หรือเทียบเท่า มิได้ระบุว่าต้องการซื้อเฉพาะสินค้าของโจทก์เท่านั้นประกอบกับเหตุที่ประธานกรรมการเปิดซองประกวดราคาของ ร.รับซื้อสินค้าของจำเลยที่ 1 เนื่องจากราคาต่ำสุดและใช้แทนของเดิมได้ จึงได้เสนอให้ ร.รับซื้อไว้ ขณะตรวจรับก็ได้ทำการทดสอบและตรวจสอบก่อนปรากฎว่าใช้การได้กรรมการตรวจสอบมิได้หลงเชื่อหรือหลงผิดในข้ออ้างที่ว่าเป็นผลิตภัณฑ์ของ SABหรือไม่ ดังนี้ การกระทำของจำเลยทั้งสองยังไม่เป็นการละเมิดสิทธิในชื่อทางการค้าคำว่า SAB ของโจทก์
แม้รูปแบบภาพจำลองและคำบรรยายในแคตตาล็อกผลิตภัณฑ์เครื่องร่นแท่งห้ามล้ออัตโนมัติที่ทำขึ้นในประเทศสวีเดนเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2521 อันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่โจทก์อ้างว่าถูกโต้แย้งสิทธิและโจทก์เป็นเจ้าของงานอันมีลิขสิทธิ์นั้น แต่แคตตาล็อกที่จำเลยทั้งสองเสนอต่อ ร.เป็นแคตตาล็อกที่จำเลยทั้งสองได้รับมาจากประเทศโปแลนด์ มิใช่แคตตาล็อกที่จำเลยทั้งสองจัดทำขึ้นโดยลอกเลียนแคตตาล็อกของโจทก์ การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงยังไม่เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2591/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรอนสิทธิทางเดินและการละเมิดสิทธิในที่ดิน: ศาลฎีกาพิพากษาให้รื้อถอนสิ่งกีดขวางทางเดินที่รอนสิทธิของผู้อื่น
โจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่าทางพิพาทเป็นทางภารจำยอมและคำขอบังคับท้ายฟ้องโจทก์มิได้ขอให้พิพากษาว่าทางพิพาทเป็นทางภารจำยอมโจทก์เพียงแต่ขอให้จำเลยทั้งสองถอนเสาไม้แก่นและต้นมะพร้าวที่จำเลยทั้งสองนำมาปลูกและปักเอาไว้ทั้งหมดออกไปให้พ้นจากช่องทางเข้าออกบ้านโจทก์และทำที่ดินตรงนั้นให้อยู่ในสภาพเรียบร้อยคดีจึงไม่มีประเด็นว่าทางพิพาทเป็นทางภารจำยอมหรือไม่ที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์วินิจฉัยในประเด็นว่าทางพิพาทเป็นทางภารจำยอมหรือไม่จึงเป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องนอกประเด็น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2529/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในเครื่องหมายการค้าที่เป็นสินสมรสและการละเมิดสิทธิ
แม้ตาม พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 มาตรา 33ซึ่งใช้บังคับอยู่ขณะเกิดข้อพิพาทจะได้บัญญัติถึงการโอนสิทธิในเครื่องหมายการค้าว่าจะสมบูรณ์ได้ก็ต่อเมื่อต้องจดทะเบียนเสียก่อนก็ตาม แต่เมื่อปรากฏว่าโจทก์ได้คิดและออกแบบเครื่องหมายการค้า CLOY เครื่องหมายการค้าตราหัวช้าง และเครื่อง-หมายการค้าตราหญิงกระโดดเชือก แล้วนำไปจดทะเบียนโดยใช้ชื่อสามีโจทก์เป็นผู้-จดทะเบียนในระหว่างเป็นสามีภริยากันเช่นนี้ เครื่องหมายการค้าพิพาททั้งสามลักษณะเป็นทรัพย์สินที่สามีโจทก์กับโจทก์ผู้เป็นคู่สมรสได้มาระหว่างสมรส จึงเป็นสินสมรสทั้งสามีโจทก์และโจทก์ย่อมเป็นเจ้าของสิทธิร่วมกันในเครื่องหมายการค้าทั้งสามลักษณะดังกล่าวแม้โจทก์จะมิได้มีชื่อเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าทั้งสามในทะเบียนเครื่อง-หมายการค้าก็ตาม และแม้ต่อมาภายหลังจะได้มีการหย่าขาดและทำสัญญาแบ่งทรัพย์สินกัน แต่สิทธิในเครื่องหมายการค้าดังกล่าวของบุคคลทั้งสองก็ยังคงมีอยู่ร่วมกันจนกว่าจะได้มีการจดทะเบียนโอนสิทธิในเครื่องหมายการค้านั้นเป็นของโจทก์แต่ลำพังผู้เดียวตามข้อตกลง การที่จำเลยทั้งสองนำเครื่องหมายการค้าพิพาททั้งสามลักษณะไปแสดงให้ปรากฏที่ถุงกระดาษที่จำเลยใช้ใส่สินค้าที่ขายให้แก่ลูกค้าของตนในระหว่างที่โจทก์เป็นเจ้าของสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทร่วมกับสามีโจทก์ ย่อมเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตและเป็นการละเมิดสิทธิในเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนของโจทก์ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องขอให้ห้ามจำเลยทั้งสองใช้เครื่องหมายการค้าทั้งสามและเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้ตามมาตรา 27 แห่ง พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะเกิดข้อพิพาท
ตามปกติโจทก์ก็ต้องทำการโฆษณาสินค้าของโจทก์อยู่แล้ว จึงไม่อาจถือได้ว่าค่าโฆษณาดังกล่าวเป็นค่าเสียหายที่เกิดขึ้นจากการทำละเมิดของจำเลยโดยตรง อย่างไรก็ดี เครื่องหมายการค้าจดทะเบียนของโจทก์มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันทั่วไป การที่จำเลยทั้งสองนำเครื่องหมายการค้าของโจทก์ไปใช้กับสินค้าของจำเลยทั้งสองโดยไม่สุจริตเพื่อหลอกลวงให้สาธารณชนหลงผิดในแหล่งกำเนิดสภาพ และคุณภาพของสินค้า ย่อมเป็นการละเมิดและทำให้ค่านิยมทางการค้าของโจทก์ได้รับความกระทบกระเทือนเสียหาย ซึ่งตามพฤติการณ์แห่งคดีศาลชอบที่จะกำหนดให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ได้ตามควร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2529/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในเครื่องหมายการค้าหลังสมรส: การโอนสิทธิและละเมิดสิทธิแม้ยังไม่ได้จดทะเบียน
แม้ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ.2474มาตรา33ได้บัญญัติถึงการโอนสิทธิในเครื่องหมายการค้าว่าจะสมบูรณ์ได้ก็ต่อเมื่อต้องจดทะเบียนเสียก่อนก็ตามแต่เมื่อโจทก์ได้คิดและออกแบบเครื่องหมายการค้าแล้วนำไปจดทะเบียนโดยใช้ชื่อส.สามีโจทก์เป็นผู้จดทะเบียนในระหว่างเป็นสามีภรรยากันเครื่องหมายการค้าเป็นทรัพย์สินที่ส.กับโจทก์ผู้เป็นคู่สมรสได้มาระหว่างสมรสจึงเป็นสินสมรสส. และโจทก์ย่อมเป็นเจ้าของสิทธิร่วมกันในเครื่องหมายการค้าแม้โจทก์จะมิได้มีชื่อเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าในทะเบียนเครื่องหมายการค้าและต่อมาได้มีการหย่าขาดและทำสัญญาแบ่งทรัพย์สินกันแต่สิทธิในเครื่องหมายการค้าของบุคคลทั้งสองก็ยังคงมีอยู่ร่วมกันจนกว่าจะได้มีการจดทะเบียนโอนสิทธิในเครื่องหมายการค้าเป็นของโจทก์แต่ลำพังผู้เดียวตามข้อตกลงการที่จำเลยละเมิดสิทธิในเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนของโจทก์โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องขอให้ห้ามจำเลยใช้เครื่องหมายการค้าเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้ตามมาตรา27 ตามปกติโจทก์ต้องทำการโฆษณาสินค้าของโจทก์อยู่แล้วจึงไม่อาจถือว่าค่าโฆษณาสินค้าเป็นค่าเสียหายที่เกิดขึ้นจากการทำละเมิดของจำเลยโดยตรงแต่เครื่องหมายการค้าของโจทก์มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันทั่วไปการที่จำเลยนำเครื่องหมายการค้าของโจทก์ไปใช้กับสินค้าของจำเลยย่อมทำให้ค่านิยมทางการค้าของโจทก์ได้รับความกระทบกระเทือนเสียหายศาลจึงกำหนดให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายเป็นเงินจำนวนหนึ่งตามพฤติการณ์แห่งละเมิด
of 13