คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ละเลย

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 86 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6473/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฉ้อโกง: การละเลยฟ้องร้องเกิน 3 เดือน ทำให้สิทธิในการฟ้องระงับ
โจทก์ร่วมรู้เรื่องความผิดที่ถูกฉ้อโกง และรู้ตัวผู้กระทำ ความผิดว่าจำเลยเป็นคนฉ้อโกงตั้งแต่ก่อนวันที่ ๑ มิถุนายน ๒๕๓๓ แล้วเพิ่งมาร้องทุกข์เมื่อวันที่ ๗ ธันวาคม ๒๕๓๓ ซึ่งเกิน ๓ เดือน นับแต่วันที่รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิด คดีโจทก์ และโจทก์ร่วมเป็นอันขาดอายุความตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๙๖ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไป ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา ความอาญา มาตรา ๓๙(๖) โจทก์และโจทก์ร่วมจึงไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6473/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฉ้อโกง: การละเลยการร้องทุกข์เกิน 3 เดือน ทำให้สิทธิในการฟ้องระงับ
โจทก์ร่วมรู้เรื่องความผิดที่ถูกฉ้อโกงและรู้ตัวผู้กระทำความผิดว่าจำเลยเป็นคนฉ้อโกงตั้งแต่ก่อนวันที่1มิถุนายน2533แล้วเพิ่งมาร้องทุกข์เมื่อวันที่7ธันวาคม2533ซึ่งเกิน3เดือนนับแต่วันที่รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิดคดีโจทก์และโจทก์ร่วมเป็นอันขาดอายุความตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา96สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา39(6)โจทก์และโจทก์ร่วมจึงไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 373/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ละเลยเวนคืนแจ้งเจ้าของ-เจ้าพนักงานที่ดิน ทำให้เสียหายจากการเวนคืน ชดใช้ค่าเสียหายเฉพาะส่วนที่เหลือ
พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2497มาตรา9บัญญัติไว้โดยเด็ดขาดว่านอกจากจะต้องประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้เจ้าหน้าที่มอบสำเนาอันแท้จริงแห่งพระราชกฤษฎีกาและพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในมาตรา6และมาตรา8พร้อมทั้งแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกาและพระราชบัญญัตินั้นๆไว้ณสถานที่ที่ทำการเจ้าหน้าที่ที่ทำการผู้ว่าราชการจังหวัดและที่ว่าการอำเภอหรือหอทะเบียนที่ดินในตำบลซึ่งทรัพย์สินที่ต้องเวนคืนนั้นตั้งอยู่เมื่อจำเลยที่1ในฐานะเจ้าหน้าที่มิได้ปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวจึงเป็นการละเว้นไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายเป็นผลโดยตรงก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ที่ไม่ทราบว่าที่ดินซึ่งเป็นที่ตั้งของอาคารพิพาทที่โจทก์ซื้อมาจากบริษัท ธ. ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างอาคารจะต้องถูกเวนคืนทำให้อาคารพิพาทที่โจทก์ซื้อต้องถูกรื้อย่อมเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ส่วนจำเลยที่2ซึ่งเป็นผู้แทนของจำเลยที่1แม้มิได้แจ้งให้บริษัท ธ. ทราบเรื่องดังกล่าวขณะขออนุญาตปลูกสร้างอาคารก็หาได้มีนิติสัมพันธ์กับโจทก์ไม่ถือไม่ได้ว่าความเสียหายของโจทก์เป็นผลโดยตรงจากการทำละเมิดของจำเลยที่2จึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่2ทำละเมิดต่อโจทก์ แม้โจทก์จะได้ทราบถึงการแจ้งการครอบครองและให้รื้อถอนอาคารพิพาทตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์2526แต่ในขณะนั้นอาคารพิพาทยังไม่ถูกเข้าครอบครองและรื้อถอนมูลละเมิดจึงยังไม่เกิดเมื่อจำเลยที่1ได้ส่งเจ้าหน้าที่เข้าครอบครองและรื้อถอนอาคารพิพาทเมื่อวันที่14ตุลาคม2529ถือว่ามูลละเมิดเกิดขึ้นนับตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปโจทก์ฟ้องคดีวันที่1มิถุนายน2530ยังไม่เกิน1ปีคดีจึงยังไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 201/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หน้าที่ผู้จัดการมรดก: การไม่แบ่งปันทรัพย์มรดกนานเกินไปถือละเลยหน้าที่
หน้าที่สำคัญของผู้จัดการมรดกคือ รวบรวมทรัพย์มรดกของผู้ตายมาแบ่งปันให้แก่ทายาทผู้มีสิทธิ หากผู้ร้องเห็นว่า ตนมีสิทธิในทรัพย์มรดกดังกล่าวเพียงผู้เดียวก็ชอบที่จะเรียกร้องเอาทรัพย์ดังกล่าวจากฝ่ายที่โต้แย้งโดยตรงอย่างคดีมีข้อพิพาท เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า ผู้ร้องไม่ยินยอมแบ่งปันทรัพย์มรดกให้แก่ทายาทอื่น ๆ เป็นเวลาประมาณ 2 ปี นับแต่ศาลมีคำสั่งให้ตั้งผู้ร้องและผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกร่วมกัน จึงถือได้ว่าผู้ร้องละเลยมิได้ปฏิบัติการตามหน้าที่ผู้จัดการมรดก หากให้ผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกต่อไปย่อมจะล่าช้า ก่อให้เกิดความเสียหายแก่กองมรดกและทายาทได้ จึงมีเหตุสมควรให้ศาลถอนผู้ร้องออกจากการเป็นผู้จัดการมรดก ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1727วรรคแรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 396/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทนายจำเลยขาดนัดพิจารณาคดีด้วยเหตุผลส่วนตัว ถือเป็นการจงใจละเลยหน้าที่
ศาลชั้นต้นกำหนดวันเวลานัดสืบพยานโจทก์และทนายจำเลยได้ทราบกำหนดนัดแล้ว ครั้นถึงวันนัดทนายจำเลยไม่ไปศาลตามกำหนดนัดการที่ทนายจำเลยอ้างว่าเดินทางไปต่างจังหวัดและเกิดท้องเดินต้องรักษาตัวที่คลีนิกของแพทย์ที่ต่างจังหวัดจนถึงวันนัดสืบพยานโจทก์อาการดีขึ้นจึงเดินทางกลับกรุงเทพมหานคร ในวันรุ่งขึ้นมาปฏิบัติราชการได้ตรวจสมุดนัดความจึงทราบว่าไม่ได้มาศาลในวันสืบพยานนั้นแม้เหตุดังกล่าวจะเป็นความจริงดังที่ทนายจำเลยอ้างก็ตามทนายจำเลยก็เป็นพนักงานอัยการย่อมรู้กฎหมายและกระบวนวิธีพิจารณาคดีของศาลดีว่า ความสำคัญของผลคดีที่ขาดนัดพิจารณานั้นเป็นอย่างไร เมื่อทนายจำเลยเองทราบว่าในเข้าวันนัดสืบพยานโจทก์นั้น ตนเองมาปฏิบัติราชการไม่ได้ก็น่าจะขวนขวายดำเนินการโทรศัพท์ถามไปยังจำเลยตัวความ หรือโทรศัพท์ไปยังผู้บังคับบัญชาให้ช่วยตรวจสอบว่า มีคดีที่ตนรับผิดชอบนัดพิจารณาในวันนั้นหรือไม่เพื่อจะได้ดำเนินการขอเลื่อนหรือแก้ไขต่อไป แต่ทนายจำเลยก็หาได้กระทำไม่ ทั้งได้ความจากทนายจำเลยเองว่า ที่คลินิกที่ทนายจำเลยพักรักษาตัวอยู่นั้นก็มีโทรศัพท์แต่ทนายจำเลยไม่ได้โทรศัพท์แจ้งให้ทางที่ทำงานทราบ นอกจากนี้ยังได้ความอีกว่า ทนายจำเลยไม่ได้คิดเรื่องงานเลย ประกอบกับเมื่อทนายจำเลยทราบวันเวลานัดในวันรุ่งขึ้นแล้ว ทนายจำเลยน่าจะกระตือรือร้นรีบยื่นคำร้องขอพิจารณาคดีใหม่โดยเร็ว แต่กลับปล่อยเวลาให้ล่วงเลยไปประมาณ 25 วันทนายจำเลยมีหน้าที่ต้องเอาใจใส่ในการต่อสู้คดีของตัวความการที่ทนายจำเลยไม่ขวนขวายดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งและปล่อยปละละเลยดังกล่าวมา จึงเป็นการไม่เอาใจใส่ในหน้าที่และเป็นความบกพร่องของทนายจำเลยเอง กรณีเช่นนี้ต้องถือว่าการขาดนัดพิจารณาของจำเลยเป็นไปโดยจงใจไม่มีเหตุอันสมควร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3940/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การมอบอำนาจฟ้องคดีล้มละลายครอบคลุมการขอรับชำระหนี้ หากละเลยการดำเนินการตามกำหนด เจ้าหนี้ใช้สิทธิไม่สุจริต
หนังสือมอบอำนาจมีข้อความว่า เจ้าหนี้มอบอำนาจให้ ม. มีอำนาจดำเนินการฟ้องร้องหรือดำเนินการตามกฎหมายทั้งปวง รวมทั้งดำเนินคดีล้มละลายเจ้าหนี้ไม่ได้เจาะจงให้ ม. ดำเนินคดีเรื่องหนึ่งเรื่องใดเป็นการเฉพาะแทน ใบมอบอำนาจเป็นการตั้งตัวแทนเฉพาะการเพื่อให้ฟ้องคดีหาใช่เป็นการตั้งตัวแทนเฉพาะการเพื่อฟ้องร้องดำเนินคดีเรื่องหนึ่งเรื่องใดเป็นการเฉพาะไม่ ส่วนคำว่าให้มีอำนาจดำเนินคดีล้มละลายได้นั้น ก็ไม่ได้เจาะจงว่าคดีล้มละลายเรื่องใด ย่อมหมายถึงคดีล้มละลายทุกคดีที่เกี่ยวกับเจ้าหนี้ ไม่ว่าเจ้าหนี้จะเป็นเจ้าหนี้หรือลูกหนี้ ม. ก็มีอำนาจดำเนินการแทนได้และการดำเนินคดีล้มละลายนั้นหมายความรวมถึงการขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ด้วย เมื่อ ม. เป็นตัวแทนเจ้าหนี้ในการดำเนินคดีล้มละลาย แต่ ม. กลับละเลยมิได้ขอรับชำระหนี้แทนเจ้าหนี้จนพ้นกำหนดสองเดือนนับแต่วันโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด แล้วจึงให้เจ้าหนี้มอบอำนาจใหม่ให้บุคคลอื่นมาขอรับชำระหนี้แทน และขอขยายกำหนดเวลาขอรับชำระหนี้ นับว่าเจ้าหนี้ใช้สิทธิโดยไม่สุจริตไม่สมควรที่จะขยายกำหนดเวลาขอรับชำระหนี้ให้ แม้เจ้าหนี้จะอยู่นอกราชอาณาจักรก็ตาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 48/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของหัวหน้างานการเงินต่อความเสียหายจากการทุจริตของลูกน้อง กรณีละเลยการควบคุมดูแลการเก็บรักษาเงินและใบเสร็จ
ฎีกาจำเลยที่ 2 ที่ว่า กรมการขนส่งทางบกโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเพราะตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 3(พ.ศ. 2523) ออกตามความในพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. 2522 ข้อ 1 กำหนดให้เงินภาษีรถประจำปีเป็นเงินของจังหวัด หาใช่เงินของกรมการขนส่งทางบกไม่แม้สำนักงานขนส่งจังหวัดอุบลราชธานีจะยังไม่ได้นำส่งแก่คลังจังหวัดอุบลราชธานี ตามระเบียบของราชการ ก็ถือว่าเป็นเงินรายได้ของจังหวัดอุบลราชธานี เมื่อเจ้าหน้าที่สำนักงานขนส่งจังหวัดอุบลราชธานียักยอกเงินค่าภาษีรถประจำปี จังหวัดอุบลราชธานีจึงเป็นผู้เสียหายไม่ใช่โจทก์นั้น จำเลยที่ 2 มิได้ยกปัญหาดังกล่าวขึ้นต่อสู้เป็นประเด็นในคำให้การไว้ตั้งแต่ศาลชั้นต้น ต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 แม้ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แต่ศาลฎีกาไม่เห็นสมควรที่จะยกขึ้นวินิจฉัยให้ จึงไม่ยกขึ้นวินิจฉัยตามนัยแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 142(5) ระเบียบการเก็บรักษาเงิน และการนำเงินส่งคลังของส่วนราชการ พ.ศ. 2520 ข้อ 73 และมติคณะรัฐมนตรีตามหนังสือนว.155/2503 ลงวันที่ 1 ธันวาคม 2503 ที่กำหนดให้ผู้ว่าราชการจังหวัดตั้งกรรมการสอบสวนเพื่อหาตัวผู้รับผิดในทางแพ่งคณะกรรมการต้องเสนอผลการสอบสวนระบุตัวผู้รับผิดให้ผู้ว่าราชการจังหวัดทราบ เพื่อเรียกให้ผู้รับผิดชดใช้เงินหากผู้ต้องรับผิดไม่ชดใช้ก็ให้ส่งเรื่องแก่พนักงานอัยการดำเนินคดีได้ทันที ไม่ต้องส่งให้กระทรวงหรือกรมเจ้าสังกัดสั่งการนั้นเป็นเรื่องการตั้งกรรมการสอบสวนเพื่อหาตัวผู้รับผิดในทางแพ่งเท่านั้นส่วนผู้ที่มีอำนาจฟ้องเป็นเรื่องที่กำหนดไว้ในกฎหมายซึ่งผู้เสียหายเท่านั้นที่จะฟ้องได้ ระเบียบดังกล่าวมิได้กำหนดให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นโจทก์ฟ้องได้ ดังนั้นเมื่อคณะกรรมการสอบสวนเพื่อหาตัวผู้รับผิดในทางแพ่งสอบสวนเรื่องที่เจ้าหน้าที่ของสำนักงานขนส่งจังหวัดอุบลราชธานียักยอกเงินค่าภาษีรถประจำปีเสร็จส่งเรื่องให้ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานีพิจารณาและผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี ได้ส่งเรื่องให้อธิบดีของกรมการขนส่งทางบกโจทก์ดำเนินคดีแก่ผู้ต้องรับผิดในทางแพ่งเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2526 และอธิบดีได้รับหนังสือเมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2526 ถือว่าโจทก์ได้ทราบตัวผู้ต้องรับผิดในวันดังกล่าว โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2527 ยังไม่พ้น 1 ปี นับแต่วันรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน ยังไม่ขาดอายุความตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 448 วรรคแรก จำเลยที่ 2 ได้รับแต่งตั้งเป็นหัวหน้างานการเงิน บัญชีและธุรการสารบรรณทั้งหมด รับผิดชอบในการกำกับ ควบคุมงานการเงินบัญชีและธุรการให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับหรือคำสั่งของผู้บังคับบัญชาจำเลยที่ 2 ต้องรับผิดชอบงานดังกล่าว และมีหน้าที่เก็บรักษาใบเสร็จรับเงินทั้งหมดด้วย จำเลยที่ 2 ไม่ปฏิบัติตามระเบียบการเก็บรักษาเงินและการนำเงินส่งคลังของส่วนราชการพ.ศ. 2520 ข้อ 8 โดยจำเลยที่ 2 เป็นผู้รับมอบพัสดุต่าง ๆ จากคณะกรรมการตรวจรับพัสดุ ซึ่งเป็นใบเสร็จรับเงินค่าภาษี 200 เล่มรวมอยู่ด้วย ซึ่งจำเลยที่ 2 มีหน้าที่ดูแลเก็บรักษาไว้ แต่จำเลยที่ 2 กลับละเว้นปล่อยให้จำเลยที่ 1 เป็นผู้เก็บไว้เป็นการเปิดโอกาสให้จำเลยที่ 1 ทุจริตนำใบเสร็จรับเงินเล่มที่ยังไม่ถึงกำหนดนำออกใช้เอาออกมาใช้รับเงินค่าภาษีรถและไม่ลงบัญชีไม่นำส่งเงินตามระเบียบ ได้เบียดบังเอาไปเป็นประโยชน์ส่วนตัวจึงเป็นความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1968/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายเวลาอุทธรณ์ เหตุสุดวิสัย ความผิดทนาย และการละเลยของโจทก์
โจทก์ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาในการยื่นอุทธรณ์เมื่อสิ้นระยะเวลาอุทธรณ์แล้ว อ้างเหตุว่าเพิ่งมาฟังคำพิพากษาเนื่องจากจำวันผิดพลาด โดยศาลนัดฟังคำพิพากษาวันที่ 13 กรกฎาคม 2533แต่โจทก์เข้าใจว่าเป็นวันที่ 13 สิงหาคม 2533 ซึ่งเป็นวันสุดท้ายของการยื่นอุทธรณ์และทนายโจทก์ป่วยเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล เหตุที่โจทก์อ้างดังกล่าวไม่เป็นเหตุสุดวิสัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23 เพราะทนายโจทก์ได้มอบฉันทะให้เสมียนทนายไปตรวจดูวันฟังคำพิพากษาที่ศาลชั้นต้นสั่งเลื่อนไปเป็นวันที่ 13กรกฎาคม 2533 และแจ้งให้ทนายโจทก์ทราบแล้ว ถือว่าโจทก์ได้ทราบคำพิพากษาของศาลชั้นต้นนับแต่วันอ่าน โจทก์มีเวลาพอที่จะทำอุทธรณ์ยื่นต่อศาลได้ทันตามกำหนดเวลา แม้ทนายโจทก์ป่วยก็สามารถแต่งตั้งทนายความคนใหม่เรียงอุทธรณ์ให้ แต่โจทก์ละเลยเสียปล่อยให้เวลาผ่านไปจนสิ้นกำหนดระยะเวลาอุทธรณ์ โจทก์จึงอ้างเหตุสุดวิสัยเพื่อขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ออกไปหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4478/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความประมาทเลินเล่อจากการจุดไฟเผาในที่โล่งและละเลยการเตรียมการดับไฟ
จำเลยจุดไฟเผากองฟางในลานนวดข้าวในเวลาแดดร้อนจัด และไม่ได้เตรียมการดับไฟที่อาจลุกลามไปได้ไว้ให้พร้อมที่จะดับไฟได้ทันทีดังนี้ เป็นการกระทำโดยประมาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4465/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานพรากผู้เยาว์ แม้ผู้เสียหายยินยอม และบิดามารดาละเลยการดูแล
ผู้เสียหายอายุ 16 ปีเศษ ยังอาศัยและอยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูของบิดามารดา แม้ผู้เสียหายจะไปเที่ยวที่ไหน กลับเมื่อใดก็ได้ผู้เสียหายก็ยังอยู่ในอำนาจปกครองของบิดามารดา การที่จำเลยพบกับผู้เสียหายที่งานบวชพระแล้วพาผู้เสียหายไปกระทำชำเราด้วยความสมัครใจของผู้เสียหายย่อมเป็นการล่วงอำนาจปกครองของบิดามารดาจึงเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 319 การพรากผู้เยาว์กฎหมายบัญญัติเป็นความผิดไม่ว่าผู้เยาว์จะเต็ม ใจไปด้วยหรือไม่ โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษตาม ป.อ. มาตรา 318 แต่ทางพิจารณาฟังได้ว่าจำเลยกระทำความผิดตามมาตรา 319 ศาลย่อมปรับบทลงโทษตามมาตรา 319 ได้ มิใช่เป็นเรื่องข้อเท็จจริงในทางพิจารณาแตกต่างกับฟ้อง.
of 9