พบผลลัพธ์ทั้งหมด 71 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9303/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ละเลยหน้าที่จัดการวัสดุราชการ: ความรับผิดชอบของเจ้าหน้าที่ และขอบเขตความร่วมมือในการชดใช้ค่าเสียหาย
จำเลยที่ 1 และที่ 2 มีหน้าที่ปฏิบัติราชการตามคำสั่งของฝ่ายพัสดุที่กำหนดให้จำเลยที่ 1 มีหน้าที่เบิกจ่ายและให้ยืมวัสดุแบบพิมพ์แก่หน่วยงานของโจทก์ที่ขอเบิกและยืม เก็บรักษาใบยืมและติดตามหน่วยงานที่ขอยืมให้ทำใบเบิกเพื่อชดใช้การยืมให้เสร็จสิ้น และจำเลยที่ 2 มีหน้าที่เช่นเดียวกับจำเลยที่ 1 การปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวข้างต้นไม่ปรากฏว่าการเบิกจ่ายวัสดุแบบพิมพ์ของโจทก์ได้กระทำโดยไม่ชอบด้วยระเบียบแบบแผนของทางราชการหรือฝ่าฝืนคำสั่งของผู้บังคับบัญชา ส่วนหลักฐานการลงบัญชีรับ-จ่าย การเก็บรักษาวัสดุแบบพิมพ์ของเจ้าหน้าที่ก็มีการปฏิบัติตามระเบียบขั้นตอนของทางราชการทุกประการ แม้ผู้ยืมจะรับวัสดุแบบพิมพ์ไปก่อนโดยเขียนใบยืมไว้แต่ยังไม่ตัดจ่ายออกจากบัญชี ดังนั้นจำนวนวัสดุแบบพิมพ์คงเหลือจึงน้อยกว่าจำนวนคงเหลือในบัญชี เมื่อมีการตรวจนับในภายหลังทำให้ของขาดบัญชีได้และทางปฏิบัติในการยืมยังไม่รัดกุมพอ ไม่มีการทำทะเบียนควบคุมใบยืมและใบยืมไม่มีการอนุมัติตามขั้นตอน โดยจำเลยที่ 1 และที่ 2 ละเลยไม่สนใจติดตามให้ผู้ยืมทำใบเบิกเพื่อตัดออกจากบัญชีหรือทำใบยืมสูญหาย แต่เมื่อวัสดุแบบพิมพ์ของโจทก์ได้ถูกยืมไปใช้ในทางราชการ ไม่ได้สูญหายไปโดยเหตุอื่น การละเลยของจำเลยที่ 1และที่ 2 จึงเป็นเรื่องการบกพร่องในการปฏิบัติหน้าที่ ไม่ถึงขนาดที่จะถือว่าได้ปฏิบัติหน้าที่โดยไม่ชอบ โดยจงใจหรือประมาทเลินเล่ออันเป็นการละเมิดเป็นเหตุให้โจทก์เสียหาย ส่วนจำเลยที่ 3 และที่ 4 เป็นลูกจ้างประจำตามคำสั่งของฝ่ายพัสดุกำหนดให้เป็นผู้ช่วยจำเลยที่ 2 ประจำห้องคลังวัสดุสำนักงานและแบบพิมพ์ที่ 1 ปฏิบัติหน้าที่ตามคำสั่งของจำเลยที่ 2 ไม่มีหน้าที่เก็บรักษาลูกกุญแจเปิดปิดห้องคลังวัสดุ และไม่มีหน้าที่เกี่ยวกับเอกสารใบเบิกหรือใบยืม จำเลยที่ 3 และที่ 4 มีหน้าที่เพียงจัดขนส่งวัสดุแบบพิมพ์มอบให้แก่หน่วยงานที่ขอเบิกหรือขอยืมตามคำสั่งของจำเลยที่ 2 เท่านั้นจำเลยที่ 3 และที่ 4 จึงไม่ได้ร่วมกันทำละเมิดต่อโจทก์ในเหตุที่วัสดุแบบพิมพ์ของโจทก์ขาดจากบัญชีดังกล่าวข้างต้นด้วย
จำเลยที่ 3 และที่ 4 ให้การว่า ยอมร่วมชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ตามรายการ...ดังนั้น เมื่อโจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งสี่ร่วมกันกระทำละเมิดต่อโจทก์ คำให้การของจำเลยที่ 3 และที่ 4 จึงหมายความว่า ยอมร่วมกับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้โจทก์ตามรายการดังกล่าว ในกรณีที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ต้องรับผิดเท่านั้น มิใช่คำให้การยอมรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ เมื่อจำเลยที่ 1 และที่ 2 ให้การปฏิเสธซึ่งย่อมเป็นประโยชน์แก่จำเลยที่ 3 และที่ 4 ด้วย และเมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยทั้งสี่ไม่ได้กระทำละเมิดต่อโจทก์ จึงไม่มีมูลที่จะให้จำเลยที่ 3 และที่ 4 รับผิดต่อโจทก์อีก
จำเลยที่ 3 และที่ 4 ให้การว่า ยอมร่วมชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ตามรายการ...ดังนั้น เมื่อโจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งสี่ร่วมกันกระทำละเมิดต่อโจทก์ คำให้การของจำเลยที่ 3 และที่ 4 จึงหมายความว่า ยอมร่วมกับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้โจทก์ตามรายการดังกล่าว ในกรณีที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ต้องรับผิดเท่านั้น มิใช่คำให้การยอมรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ เมื่อจำเลยที่ 1 และที่ 2 ให้การปฏิเสธซึ่งย่อมเป็นประโยชน์แก่จำเลยที่ 3 และที่ 4 ด้วย และเมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยทั้งสี่ไม่ได้กระทำละเมิดต่อโจทก์ จึงไม่มีมูลที่จะให้จำเลยที่ 3 และที่ 4 รับผิดต่อโจทก์อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 65/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางแพ่งของกรรมการสุขาภิบาลต่อความเสียหายจากการทุจริตและการละเลยหน้าที่
ข้ออ้างว่าฟ้องเคลือบคลุมตามอุทธรณ์ของจำเลยเป็นคนละเหตุกับที่อ้างต่อสู้มาในคำให้การ อุทธรณ์ของจำเลยดังกล่าวจึงไม่ใช่ข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น ต้องห้ามอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225
ตามระเบียบระบุให้ปลัดสุขาภิบาลเป็นผู้รับผิดชอบร่วมกับกรรมการอื่นในการเก็บและรักษาเงิน หากมีการทุจริตเกี่ยวกับการรักษาเงินโดยการปล่อยปละละเลยหรือประมาทเลินเล่อจากการปฏิบัติหน้าที่ต้องรับผิดชอบชดใช้คืนจำเลยที่ 3 เป็นปลัดสุขาภิบาลโจทก์ แต่ไม่ได้รับแต่งตั้งจากโจทก์ให้มีหน้าที่ควบคุมดูแลเกี่ยวกับการเงินของโจทก์ ในทางปฏิบัติของโจทก์เอง จำเลยที่ 3 จึงไม่มีหน้าที่เข้าไปควบคุมดูแลเกี่ยวกับการเงินของโจทก์โดยตรง ดังนั้นการปล่อยปละละเลยหรือประมาทเลินเล่ออันเกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ย่อมเกิดขึ้นไม่ได้ กรณีไม่ต้องตามระเบียบที่จะให้จำเลยที่ 3 ชดใช้เงินแก่โจทก์
ในการถอนเงินฝากมีระเบียบให้เป็นหน้าที่ของประธานสุขาภิบาล ปลัดสุขาภิบาล และหัวหน้าหน่วยการคลังลงชื่อถอนร่วมกันการไปรับหรือส่งเงินที่ธนาคารหรือที่แห่งใด ห้ามมิให้เจ้าหน้าที่สุขาภิบาลไปรับหรือส่งเงินลำพังผู้เดียว ต้องมีกรรมการไปรับหรือส่งเงินร่วมกันรับผิดชอบเป็นคณะกรณีจำนวนเงินเกิน 30,000 บาท จะต้องมีกรรมการควบคุมร่วมกันอย่างน้อย3 คน ระเบียบดังกล่าวมีจุดประสงค์ เพื่อป้องกันการผิดพลาดเกี่ยวกับตัวเงินที่อาจขาดจำนวนหรือสูญหาย และเพื่อไม่ให้ผู้เกี่ยวข้องทุจริต การที่จำเลยที่ 1เป็นประธานกรรมการสุขาภิบาลโจทก์ปล่อยให้ ร.สมุห์บัญชีของโจทก์ถอนเงินตามลำพังและเบียดบังเอาเงินไป จึงเป็นความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 1ต้องรับผิดใช้เงินจำนวนดังกล่าวแก่โจทก์
จำเลยที่ 2 และที่ 4 เป็นปลัดสุขาภิบาลโจทก์ และได้รับแต่งตั้งให้เป็นกรรมการเก็บรักษาเงินของโจทก์โดยเฉพาะจำเลยที่ 4 ยังเป็นหัวหน้าหน่วยการคลังของโจทก์อีกตำแหน่งหนึ่งด้วย มีเงินผลประโยชน์ของโจทก์ประเภทต่าง ๆ ไม่นำส่งเป็นรายได้ของโจทก์ เงินของโจทก์ที่เบิกมาใช้จ่ายในรายการต่าง ๆ ไม่มีหลักฐานการรับจ่าย และเงินที่ขาดหายไปเพราะลงบัญชีผิดพลาดจำเลยที่ 2 และที่ 4 เป็นกรรมการเก็บรักษาเงินของโจทก์โดยหน้าที่นอกจากเป็นกรรมการเก็บรักษากุญแจตู้นิรภัยแล้ว ยังต้องร่วมกันตรวจสอบตัวเงินและหลักฐานแทนตัวเงินและรายงานคงเหลือประจำวันตามระเบียบ แต่ไม่ปรากฎว่าในช่วงเวลาที่มีการทุจริตเบียดบังเงินของโจทก์ไปได้มีการตรวจสอบรายงานคงเหลือประจำวันรวมทั้งบัญชีต่าง ๆ จึงเป็นช่องทางให้ ร.ทำการทุจริตขึ้นได้จำเลยที่ 2 และที่ 4 ในฐานะผู้บังคับบัญชาของ ร.และมีหน้าที่โดยตรงในการตรวจสอบเงินของโจทก์เป็นรายวันจะอ้างว่า ร.ไม่ให้ความร่วมมือในการตรวจสอบไม่ได้ จำเลยที่ 2 และที่ 4 ปล่อยปละละเลยและประมาทเลินเล่อทำให้โจทก์เสียหายต้องรับผิด
คณะกรรมการสอบสวนหาผู้รับผิดทางแพ่งรายงานผลการสอบสวนว่ามีบุคคลใดบ้างที่ต้องรับผิดทางแพ่งซึ่งรวมถึงจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4ด้วย ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดทราบและผู้ว่าราชการจังหวัดสั่งให้เรียกร้องแก่ผู้ต้องรับผิดทางแพ่งใช้เงินแก่โจทก์ ต้องถือว่าโจทก์โดยผู้ว่าราชการจังหวัดผู้มีอำนาจสั่งการรู้ตัวผู้จะพึงใช้ค่าสินไหมทดแทนนับแต่วันที่คณะกรรมการสอบสวนได้รายงานผลการสอบสวน ไม่ใช่นับแต่วันที่ผู้ว่าราชการจังหวัดรู้ว่า ร.เป็นผู้ทำละเมิดเพราะจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 เป็นผู้ต้องร่วมรับผิดทางแพ่งที่ได้ทำละเมิดต่อโจทก์ต่างรายไปจาก ร.โจทก์ฟ้องคดียังไม่พ้น 1 ปี นับแต่วันที่โจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงใช้ค่าสินไหมทดแทนดังกล่าว คดีโจทก์ยังไม่ขาดอายุความ
ตามระเบียบระบุให้ปลัดสุขาภิบาลเป็นผู้รับผิดชอบร่วมกับกรรมการอื่นในการเก็บและรักษาเงิน หากมีการทุจริตเกี่ยวกับการรักษาเงินโดยการปล่อยปละละเลยหรือประมาทเลินเล่อจากการปฏิบัติหน้าที่ต้องรับผิดชอบชดใช้คืนจำเลยที่ 3 เป็นปลัดสุขาภิบาลโจทก์ แต่ไม่ได้รับแต่งตั้งจากโจทก์ให้มีหน้าที่ควบคุมดูแลเกี่ยวกับการเงินของโจทก์ ในทางปฏิบัติของโจทก์เอง จำเลยที่ 3 จึงไม่มีหน้าที่เข้าไปควบคุมดูแลเกี่ยวกับการเงินของโจทก์โดยตรง ดังนั้นการปล่อยปละละเลยหรือประมาทเลินเล่ออันเกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ย่อมเกิดขึ้นไม่ได้ กรณีไม่ต้องตามระเบียบที่จะให้จำเลยที่ 3 ชดใช้เงินแก่โจทก์
ในการถอนเงินฝากมีระเบียบให้เป็นหน้าที่ของประธานสุขาภิบาล ปลัดสุขาภิบาล และหัวหน้าหน่วยการคลังลงชื่อถอนร่วมกันการไปรับหรือส่งเงินที่ธนาคารหรือที่แห่งใด ห้ามมิให้เจ้าหน้าที่สุขาภิบาลไปรับหรือส่งเงินลำพังผู้เดียว ต้องมีกรรมการไปรับหรือส่งเงินร่วมกันรับผิดชอบเป็นคณะกรณีจำนวนเงินเกิน 30,000 บาท จะต้องมีกรรมการควบคุมร่วมกันอย่างน้อย3 คน ระเบียบดังกล่าวมีจุดประสงค์ เพื่อป้องกันการผิดพลาดเกี่ยวกับตัวเงินที่อาจขาดจำนวนหรือสูญหาย และเพื่อไม่ให้ผู้เกี่ยวข้องทุจริต การที่จำเลยที่ 1เป็นประธานกรรมการสุขาภิบาลโจทก์ปล่อยให้ ร.สมุห์บัญชีของโจทก์ถอนเงินตามลำพังและเบียดบังเอาเงินไป จึงเป็นความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 1ต้องรับผิดใช้เงินจำนวนดังกล่าวแก่โจทก์
จำเลยที่ 2 และที่ 4 เป็นปลัดสุขาภิบาลโจทก์ และได้รับแต่งตั้งให้เป็นกรรมการเก็บรักษาเงินของโจทก์โดยเฉพาะจำเลยที่ 4 ยังเป็นหัวหน้าหน่วยการคลังของโจทก์อีกตำแหน่งหนึ่งด้วย มีเงินผลประโยชน์ของโจทก์ประเภทต่าง ๆ ไม่นำส่งเป็นรายได้ของโจทก์ เงินของโจทก์ที่เบิกมาใช้จ่ายในรายการต่าง ๆ ไม่มีหลักฐานการรับจ่าย และเงินที่ขาดหายไปเพราะลงบัญชีผิดพลาดจำเลยที่ 2 และที่ 4 เป็นกรรมการเก็บรักษาเงินของโจทก์โดยหน้าที่นอกจากเป็นกรรมการเก็บรักษากุญแจตู้นิรภัยแล้ว ยังต้องร่วมกันตรวจสอบตัวเงินและหลักฐานแทนตัวเงินและรายงานคงเหลือประจำวันตามระเบียบ แต่ไม่ปรากฎว่าในช่วงเวลาที่มีการทุจริตเบียดบังเงินของโจทก์ไปได้มีการตรวจสอบรายงานคงเหลือประจำวันรวมทั้งบัญชีต่าง ๆ จึงเป็นช่องทางให้ ร.ทำการทุจริตขึ้นได้จำเลยที่ 2 และที่ 4 ในฐานะผู้บังคับบัญชาของ ร.และมีหน้าที่โดยตรงในการตรวจสอบเงินของโจทก์เป็นรายวันจะอ้างว่า ร.ไม่ให้ความร่วมมือในการตรวจสอบไม่ได้ จำเลยที่ 2 และที่ 4 ปล่อยปละละเลยและประมาทเลินเล่อทำให้โจทก์เสียหายต้องรับผิด
คณะกรรมการสอบสวนหาผู้รับผิดทางแพ่งรายงานผลการสอบสวนว่ามีบุคคลใดบ้างที่ต้องรับผิดทางแพ่งซึ่งรวมถึงจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4ด้วย ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดทราบและผู้ว่าราชการจังหวัดสั่งให้เรียกร้องแก่ผู้ต้องรับผิดทางแพ่งใช้เงินแก่โจทก์ ต้องถือว่าโจทก์โดยผู้ว่าราชการจังหวัดผู้มีอำนาจสั่งการรู้ตัวผู้จะพึงใช้ค่าสินไหมทดแทนนับแต่วันที่คณะกรรมการสอบสวนได้รายงานผลการสอบสวน ไม่ใช่นับแต่วันที่ผู้ว่าราชการจังหวัดรู้ว่า ร.เป็นผู้ทำละเมิดเพราะจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 เป็นผู้ต้องร่วมรับผิดทางแพ่งที่ได้ทำละเมิดต่อโจทก์ต่างรายไปจาก ร.โจทก์ฟ้องคดียังไม่พ้น 1 ปี นับแต่วันที่โจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงใช้ค่าสินไหมทดแทนดังกล่าว คดีโจทก์ยังไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5296/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การละเลยหน้าที่ของพนักงานส่งเอกสารกระทบความเชื่อถือของบริษัท จำเลยมีสิทธิเลิกจ้างโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
การดำเนินกิจการของจำเลยในการให้บริการรับส่งเอกสารและพัสดุภัณฑ์ด่วนพิเศษขึ้นอยู่กับความเชื่อถือของลูกค้าในการให้บริการที่ต้องนำส่งเอกสารและพัสดุภัณฑ์ให้แก่ลูกค้าอย่างรวดเร็วและถูกต้องเมื่อโจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยที่มีหน้าที่ดังกล่าวละเลยไม่นำเอกสารไปส่งให้แก่ลูกค้าจำเลยย่อมส่งผลกระทบกระเทือนต่อความเชื่อถือของลูกค้าที่มีแก่บริการรับส่งเอกสารของจำเลยถือว่าเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานกรณีร้ายแรงจำเลยมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5296/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างกรณีละเลยหน้าที่จนกระทบความเชื่อถือของกิจการส่งเอกสาร ถือเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับร้ายแรง
กิจการของจำเลยในการให้บริการรับส่งเอกสารและพัสดุภัณฑ์ด่วนพิเศษจะดำเนินการอยู่ได้หรือไม่ขึ้นอยู่กับความเชื่อถือของลูกค้าในการให้บริการของจำเลยที่จะต้องจัดการนำส่งเอกสารและพัสดุภัณฑ์ให้แก่ลูกค้าอย่างรวดเร็วและถูกต้องปรากฏว่าเอกสารของลูกค้าจำเลยส่งมาถึงจำเลยตั้งแต่วันที่25กรกฎาคม2538พนักงานแยกเอกสารได้นำเอกสารดังกล่าวไปใส่ในช่องเอกสารของโจทก์แล้วแต่โจทก์ละเลยไม่นำเอกสารไปส่งให้แก่ลูกค้าจำเลยจนเป็นเหตุให้ลูกค้าต้องโทรศัพท์ทวงถามเอกสารจากจำเลยในวันที่29กรกฎาคม2538จึงได้มีการตรวจค้นพบเอกสารอยู่ในกระเป๋าใส่เอกสารประจำตัวของโจทก์ซึ่งทิ้งไว้ที่บริษัทจำเลยพฤติการณ์การกระทำของโจทก์ย่อมส่งผลกระทบกระเทือนต่อความเชื่อถือของลูกค้าที่มีแก่บริการรับส่งเอกสารของจำเลยเป็นอย่างยิ่งถือได้ว่าเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานข้อ70ข้อ96และข้อ99.6กรณีร้ายแรงจำเลยมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ47(4)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 98/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำเลยละเลยหน้าที่ยื่นขออนุญาตโอนที่ดินในเขตจัดรูปที่ดิน ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ศาลพิพากษายืนตามศาลล่าง
โจทก์ทำสัญญาจะซื้อที่ดินพิพาทจากจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นสามีภริยากันในราคา230,000บาทโจทก์ได้ชำระค่าที่ดินให้แก่จำเลยที่1ไปทั้งสิ้น205,000บาทคงเหลืออยู่อีก15,000บาทนับว่าเป็นจำนวนเพียงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับเงินที่โจทก์ได้ชำระให้แก่จำเลยทั้งสองแล้วแม้ที่ดินพิพาทอยู่ในเขตจัดรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมซึ่งขณะที่โจทก์กับจำเลยทั้งสองทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทและวันครบกำหนดจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทยังอยู่ภายในกำหนดเวลาห้ามโอนแต่มีข้อยกเว้นว่าจะโอนได้ต่อเมื่อได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากคณะกรรมการจัดรูปที่ดินจึงเป็นหน้าที่ของจำเลยที่1ซึ่งเป็นผู้มีชื่อในโฉนดที่ดินพิพาทจะต้องยื่นคำขออนุญาตต่อคณะกรรมการจัดรูปที่ดินจำเลยที่1เบิกความรับว่าจำเลยที่1กับโจทก์ไม่เคยไปติดต่อที่สำนักงานจัดรูปที่ดินแสดงว่าจำเลยที่1ไม่ได้ยื่นคำขออนุญาตโอนที่ดินพิพาทต่อคณะกรรมการจัดการรูปที่ดินถือได้ว่าจำเลยที่1ละเลยประกอบกับพยานคนกลางผู้ไกล่เกลี่ยกรณีของโจทก์กับจำเลยทั้งสองเบิกความว่าโจทก์ประสงค์จะรับโอนที่ดินพิพาทแต่จำเลยทั้งสองจะขอซื้อที่ดินพิพาทคืนจึงตกลงกันไม่ได้พยานหลักฐานของ โจทก์มีน้ำหนักดีกว่าพยานหลักฐานของจำเลยทั้งสองฟังได้ว่า จำเลยทั้งสองเป็นฝ่าย ผิดสัญญา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 989/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ละเลยหน้าที่นายทะเบียนคนต่างด้าว, การปฏิเสธโดยปริยาย, สิทธิในการขอใบสำคัญ
โจทก์ยื่นคำร้องขอใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวต่อจำเลยซึ่งเป็นนายทะเบียนคนต่างด้าวเวลาล่วงเลยมา2ปีเศษแต่ไม่ปรากฏว่าจำเลยได้พิจารณาคำร้องของโจทก์ตามอำนาจหน้าที่แต่อย่างใดการที่จำเลยจะต้องส่งคำร้องไปให้กองทะเบียนคนต่างด้าวและภาษีอากรตรวจสอบก่อนตามระเบียบก็เป็นเรื่องภายในของจำเลยการปล่อยเวลาให้ล่วงเลยไปถึง2ปีเศษโดยไม่ได้คัดค้านดำเนินการอย่างใดในเรื่องนี้นั้นเป็นการชี้ชัดให้เห็นถึงความละเลยเพิกเฉยไม่ติดตามดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ที่มีอยู่ก่อให้เกิดความทุกข์ร้อนและเสียหายแก่โจทก์ถือได้โดยปริยายว่าจำเลยปฏิเสธที่จะออกใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวให้โจทก์เป็นการโต้แย้งสิทธิโจทก์มีอำนาจฟ้อง ตามมาตรา8แห่งพระราชบัญญัติการทะเบียนคนต่างด้าวพ.ศ.2493เป็นเพียงบทบังคับให้ผู้เสียสัญชาติไทยต้องไปร้องขอใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวจากนายทะเบียนท้องที่ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รู้หรือควรรู้ว่าตนได้เสียไปซึ่งสัญชาติไทยมิฉะนั้นจะต้องมีความผิดและต้องรับโทษทางอาญาตามมาตรา21เท่านั้นการ้องขอเมื่อพ้นระยะเวลาดังกล่าวมิได้ทำให้เสียสิทธิอันมีอยู่แล้วแต่อย่างใดโจทก์จึงมีสิทธิยื่นคำร้องขอได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8028/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความประมาทเลินเล่อของผู้มีหน้าที่ตรวจสอบเอกสารค้ำประกันสัญญา ความผิดพลาดของเอกสารและการละเลยหน้าที่
จำเลยเป็นผู้อำนวยการกองอาคารสถานที่ของโจทก์ มีหน้าที่รับผิดชอบในการทำสัญญาจ้างห้างหุ้นส่วนจำกัด ศ. โดยจำเลยเป็นผู้รับหนังสือค้ำประกันมาจากห้างหุ้นส่วนจำกัด ศ.เพื่ออ้างอิงว่ามีหนังสือค้ำประกันของธนาคารที่ผู้รับจ้างต้องนำมาเป็นหลักประกันในการทำสัญญาจ้างและต้องลงรายการของหนังสือค้ำประกันแล้ว แต่จำเลยไม่ได้ทำการตรวจสอบหนังสือค้ำประกันเท่าที่ควรจะกระทำเช่น ตรงช่องรายการ "ตามสัญญาจ้าง" ของหนังสือค้ำประกัน ไม่มีเลขที่ของสัญญาจ้าง คงมีแต่วันที่ของสัญญาจ้างเท่านั้น และในหนังสือค้ำประกันของธนาคาร สัญญาลงวันที่ 27 พฤษภาคม 2530 แต่ตรงช่องรายการ "ตามสัญญาจ้าง สธ.32/2530"กลับลงวันที่เป็น "วันที่ 28 พฤษภาคม 2530" ซึ่งหากเป็นสัญญาในวันที่ลงในหนังสือค้ำประกันวันที่ 27 พฤษภาคม 2530 แล้วจะไปค้ำประกันสัญญาจ้างลงวันที่ 28พฤษภาคม 2530 ซึ่งยังไม่ได้ทำสัญญาจ้างกันเลยได้อย่างไร เมื่อหนังสือค้ำประกันของธนาคารมีพิรุธ จึงเป็นหน้าที่ของจำเลยที่ต้องตรวจสอบว่าทำไมหนังสือค้ำประกันจึงมีพิรุธเช่นนี้หรือสั่งให้เจ้าหน้าที่ผู้ใต้บังคับบัญชาตรวจสอบเอกสารนี้ให้ปรากฏความจริงเสียก่อน และหากยังเป็นที่สงสัยอยู่อีก จำเลยก็ต้องตรวจสอบไปยังธนาคารผู้ออกหนังสือค้ำประกันดังกล่าวนั้นว่าได้ออกหนังสือค้ำประกันดังกล่าวจริงหรือไม่เพราะสัญญาค้ำประกันมีมูลค่าสูงถึง 20,000,000 บาท การละเลยของจำเลยเช่นนี้จึงถือว่าจำเลยประมาทเลินเล่อไม่ได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรในการปฏิบัติหน้าที่แล้ว จำเลยจะอ้างว่าในขณะทำสัญญาจ้างและขณะนำหนังสือค้ำประกันมาประกอบสัญญาจ้างไม่มีระเบียบให้ต้องตรวจสอบไปยังธนาคารผู้ออกหนังสือค้ำประกันหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7496/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าพนักงานละเลยหน้าที่ออกใบอนุญาตก่อสร้างตามกฎหมาย ทำให้เจ้าของที่ดินเสียหาย ต้องชดใช้ค่าเสียหาย
ตาม พ.ร.บ. ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 26บัญญัติในวรรคหนึ่งว่า "เมื่อได้รับคำขอตามมาตรา 21 มาตรา 22 มาตรา 23หรือมาตรา 24 ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นตรวจพิจารณาและออกใบอนุญาตหรือมีหนังสือแจ้งคำสั่งไม่อนุญาตพร้อมด้วยเหตุผลให้ผู้ขอรับใบอนุญาตทราบภายในสี่สิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับคำขอ" ในวรรคสองว่า "ในกรณีมีเหตุจำเป็นที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่อาจออกใบอนุญาตหรือยังไม่อาจมีคำสั่งไม่อนุญาตให้ภายในกำหนดเวลาตามวรรคหนึ่ง ให้ขยายเวลาไปได้อีกไม่เกินสองคราว คราวละไม่เกินสี่สิบห้าวันแต่ต้องมีหนังสือแจ้งการขยายเวลาและเหตุจำเป็นแต่ละคราวให้ผู้ขอรับใบอนุญาตทราบก่อนสิ้นกำหนดเวลาตามวรรคหนึ่งหรือตามที่ได้ขยายไว้นั้น แล้วแต่กรณี" และในวรรคสามว่า "ในกรณีที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นหรือมีคำสั่งไม่อนุญาตให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นแจ้งให้ผู้ขอรับใบอนุญาตทราบโดยมิชักช้า" และในส่วนที่เกี่ยวกับการพิจารณาสั่งอนุญาตหรือไม่อนุญาตของเจ้าพนักงานท้องถิ่น มาตรา 27 บัญญัติในวรรคหนึ่งว่า"ในการตรวจพิจารณาคำขอตามมาตรา 26 ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้ผู้ขอรับใบอนุญาตแก้ไขเปลี่ยนแปลงแผนผังบริเวณ แบบแปลนรายการประกอบแบบแปลนหรือรายการคำนวณที่ได้ยื่นไว้ เพื่อให้ถูกต้องและเป็นไปตามกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา 8 หรือข้อบัญญัติท้องถิ่นที่ออกตามมาตรา 9 หรือมาตรา 10 และให้นำมาตรา 26 วรรคสาม มาใช้บังคับโดยอนุโลม" และในวรรคสองว่า "ถ้าผู้ขอรับใบอนุญาตได้แก้ไขเปลี่ยนแปลงแผนผัง บริเวณ แบบแปลน รายการประกอบแบบแปลนหรือรายการคำนวณตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นแล้ว ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นตรวจพิจารณาและออกใบอนุญาตภายในสามสิบวัน แต่ถ้าผู้ขอรับใบอนุญาตได้แก้ไขเปลี่ยนแปลงในสาระสำคัญผิดจากคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นนี้ให้ถือว่าเป็นการยื่นคำขอใหม่และให้ดำเนินการตามมาตรา 26 ต่อไป" กำหนดเวลาตามบทบัญญัติดังกล่าวเป็นกำหนดเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้เป็นการเด็ดขาดเมื่อผู้ขอใบอนุญาตเสนอแบบแปลน แผนผังบริเวณ รายการประกอบแบบแปลนและรายการคำนวณถูกต้องตามกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา 8 และข้อบัญญัติท้องถิ่นที่ออกตามมาตรา 9 หรือมาตรา 10 แล้ว เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะต้องออกใบอนุญาตหรือมีคำสั่งไม่อนุญาตและแจ้งคำสั่งให้ผู้ขอรับใบอนุญาตทราบโดยตรงไม่ชักช้า แต่ต้องไม่เกินกำหนดระยะเวลาตามมาตรา 26 และมิอาจอ้างเหตุอื่นนอกจากที่บัญญัติไว้ในมาตรา 26 มาเป็นเหตุไม่มีคำสั่งอนุญาตหรือไม่อนุญาตตามคำขอได้ การที่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้แทนของจำเลยที่ 1 มิได้มีคำสั่งอนุญาตหรือไม่อนุญาตตามคำขอของโจทก์ที่ขอรับใบอนุญาตก่อสร้างอาคารจนพ้นกำหนดเวลาตามมาตรา 26 จึงเป็นการกระทำที่ฝ่าฝืนต่อกฎหมายดังกล่าวแม้ข้ออ้างในการที่จะไม่มีคำสั่งตามกำหนดเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้จะเป็นเรื่องของการรักษาผลประโยชน์สาธารณะตามอำนาจหน้าที่อย่างหนึ่งของจำเลยที่ 1ดังที่นำสืบมาก็ตาม แต่จำเลยที่ 1 ก็ไม่อาจอ้างผลประโยชน์สาธารณะทำให้โจทก์ต้องรับภาระนั้นแต่ผู้เดียวได้ตามกฎหมาย จำเลยที่ 1 ต้องชดใช้ความเสียหายจากการที่โจทก์มิได้ใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินของตนตามบทกฎหมายและกฎข้อบังคับที่ชอบด้วยกฎหมายในขณะนั้นตามส่วนที่ควรจะเป็น จำเลยที่ 1จึงต้องรับผิดชดเชยความเสียหายให้แก่โจทก์ ส่วนจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้แทนของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐ เนื่องจากอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายของจำเลยที่ 2 ในฐานะดังกล่าวเป็นอำนาจหน้าที่ในการสั่งการวินิจฉัย ที่จำเลยที่ 2 มิได้มีคำสั่งอนุญาตหรือไม่อนุญาตตามคำขอของโจทก์ตามอำนาจหน้าที่จนพ้นกำหนดเวลาที่กฎหมายกำหนดอันเป็นการฝ่าฝืนกฎหมายก็เพราะจำเลยที่ 2 คำนึงถึงนโยบายของจำเลยที่ 1 และรัฐบาลที่จะอนุรักษ์บริเวณที่โจทก์ขอใบอนุญาตก่อสร้างไว้ โดยไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 มีเจตนาไม่สุจริตหรือกลั่นแกล้งโจทก์ การสั่งการวินิจฉัยของจำเลยที่ 2 ในพฤติการณ์ดังกล่าวย่อมอยู่ภายในขอบเขตของอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายของจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2จึงได้รับการยกเว้นตามกฎหมายที่ไม่ต้องรับผิดเป็นส่วนตัว จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ชดเชยความเสียหายให้แก่โจทก์
ค่าเสียหายเป็นค่ามัดจำที่ดินที่โจทก์จะซื้อเพื่อใช้ในการก่อสร้าง เมื่อโจทก์ไม่ได้รับอนุมัติให้ก่อสร้าง โจทก์ไม่ได้ซื้อจึงถูกริบมัดจำเป็นค่าเสียหายพิเศษ จำเลยไม่ทราบความเสียหายที่จะเกิดขึ้นนี้มาก่อนทั้งโจทก์ไม่เคยแจ้งเตือนจำเลยมาก่อน เป็นค่าเสียหายไกลกว่าเหตุ โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าออกแบบ ค่าคำนวณการก่อสร้าง เมื่อโจทก์จะก่อสร้างอาคารตามที่ขออนุญาตโจทก์ต้องยื่นแบบแปลนรายการคำนวณและผังแบบแปลนตามกฎหมาย ค่าใช้จ่ายของโจทก์ส่วนนี้เมื่อโจทก์ไม่ได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด โจทก์ย่อมได้รับความเสียหายจ้าง ศาลกำหนดให้ตามที่เห็นสมควร ค่าศึกษาโครงการ แม้โจทก์ได้จ่ายค่าจ้างศึกษาโครงการแล้ว แต่การศึกษาโครงการ โจทก์จะตัดสินใจดำเนินการหรือไม่อยู่ที่ว่าโครงการนั้นคุ้มค่าลงทุนหรือไม่ หากไม่คุ้มค่าลงทุนโจทก์ก็ต้องงดโครงการ และย่อมต้องเสียค่าศึกษาโครงการอยู่ดี ค่าศึกษาโครงการจึงเป็นค่าเสียหายที่ไกลกว่าเหตุส่วนค่าเสียโอกาสและเวลา ค่าเสียหายส่วนนี้ยังไม่มีความแน่นอนโครงการของโจทก์หากได้รับอนุญาตแล้ว กิจการของโจทก์อาจไม่ประสบความสำเร็จและประสบการขาดทุนก็ได้ การที่โจทก์ไม่ได้ก่อสร้างอาคารตามโครงการจึงจะถือว่าเป็นการเสียโอกาสและเวลาที่จำเลยจะต้องรับผิดชดใช้ให้ไม่ได้
ค่าเสียหายเป็นค่ามัดจำที่ดินที่โจทก์จะซื้อเพื่อใช้ในการก่อสร้าง เมื่อโจทก์ไม่ได้รับอนุมัติให้ก่อสร้าง โจทก์ไม่ได้ซื้อจึงถูกริบมัดจำเป็นค่าเสียหายพิเศษ จำเลยไม่ทราบความเสียหายที่จะเกิดขึ้นนี้มาก่อนทั้งโจทก์ไม่เคยแจ้งเตือนจำเลยมาก่อน เป็นค่าเสียหายไกลกว่าเหตุ โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าออกแบบ ค่าคำนวณการก่อสร้าง เมื่อโจทก์จะก่อสร้างอาคารตามที่ขออนุญาตโจทก์ต้องยื่นแบบแปลนรายการคำนวณและผังแบบแปลนตามกฎหมาย ค่าใช้จ่ายของโจทก์ส่วนนี้เมื่อโจทก์ไม่ได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด โจทก์ย่อมได้รับความเสียหายจ้าง ศาลกำหนดให้ตามที่เห็นสมควร ค่าศึกษาโครงการ แม้โจทก์ได้จ่ายค่าจ้างศึกษาโครงการแล้ว แต่การศึกษาโครงการ โจทก์จะตัดสินใจดำเนินการหรือไม่อยู่ที่ว่าโครงการนั้นคุ้มค่าลงทุนหรือไม่ หากไม่คุ้มค่าลงทุนโจทก์ก็ต้องงดโครงการ และย่อมต้องเสียค่าศึกษาโครงการอยู่ดี ค่าศึกษาโครงการจึงเป็นค่าเสียหายที่ไกลกว่าเหตุส่วนค่าเสียโอกาสและเวลา ค่าเสียหายส่วนนี้ยังไม่มีความแน่นอนโครงการของโจทก์หากได้รับอนุญาตแล้ว กิจการของโจทก์อาจไม่ประสบความสำเร็จและประสบการขาดทุนก็ได้ การที่โจทก์ไม่ได้ก่อสร้างอาคารตามโครงการจึงจะถือว่าเป็นการเสียโอกาสและเวลาที่จำเลยจะต้องรับผิดชดใช้ให้ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 362/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางแพ่งของเจ้าหน้าที่รัฐและผู้บังคับบัญชาต่อความเสียหายจากละเลยหน้าที่
จำเลยที่2เป็นผู้บังคับบัญชาจำเลยที่1มีหน้าที่ตรวจสอบรายงานเงินคงเหลือประจำทุกวันแต่กลับไม่ตรวจสอบไม่ลงลายมือชื่อเป็นกรรมการรักษาเงินในรายงานเงินคงเหลือประจำวันและไม่กวดขันให้กรรมการรักษาเงินคนอื่นตรวจสอบหลักฐานการรับเงินและตัวเงินสดและลงลายมือชื่อในรายงานเงินคงเหลือประจำวันเป็นการไม่ปฏิบัติตามคำสั่งและระเบียบแบบแผนของโจทก์ไม่ควบคุมดูแลผู้ใต้บังคับบัญชาให้ปฏิบัติหน้าที่ตามคำสั่งและระเบียบแบบแผนของโจทก์เมื่อผลของการกระทำดังกล่าวเป็นเหตุให้จำเลยที่1ยักยอกเงินของโจทก์ไปการกระทำของจำเลยที่2จึงเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ จำเลยที่2มีตำแหน่งเป็นเร่งรัดพัฒนาชนบทจังหวัดเป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุดของหน่วยงานมีหน้าที่ควบคุมดูแลรับผิดชอบบังคับบัญชากิจการต่างๆของสำนักงานปล่อยปละละเลยไม่ควบคุมดูแลรับผิดชอบบังคับบัญชาจำเลยที่1และที่3ให้ปฏิบัติตามคำสั่งและระเบียบแบบแผนของโจทก์จำเลยที่2จึงต้องรับผิดมากกว่าจำเลยที่3 จำเลยที่3ทราบดีอยู่แล้วว่าจำเลยที่1และที่2ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งและระเบียบแบบแผนของโจทก์อาจจะเกิดความเสียหายแก่โจทก์ขึ้นได้แต่จำเลยที่3ก็มิได้รายงานเรื่องให้ผู้บังคับบัญชาชั้นเหนือจำเลยที่2ขึ้นไปทราบเสียในทันทีเพื่อจะได้สั่งการแก้ไขการที่จำเลยที่3ปล่อยปละละเลยจนเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายขึ้นจำเลยที่3ในฐานะผู้บังคับบัญชาโดยตรงของจำเลยที่1จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่1ด้วย ผู้ว่าราชการจังหวัดโจทก์ลงนามรับทราบเรื่องในวันใดถือว่าโจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนในวันดังกล่าวอายุความละเมิดเริ่มนับแต่วันนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3414/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้จัดการมรดกจดทะเบียนรับโอนทรัพย์มรดกแต่ผู้เดียวเป็นเหตุให้ถูกถอนจากการเป็นผู้จัดการมรดก
จำเลยในฐานะเป็นผู้จัดการมรดกไปจดทะเบียนรับโอนที่พิพาทซึ่งเป็นทรัพย์มรดกของผู้ตายมาเป็นของจำเลยแต่เพียงผู้เดียวโดยไม่แบ่งปันให้แก่ทายาทเป็นการกระทำโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายเป็นการละเลยไม่กระทำตามหน้าที่ของผู้จัดการมรดก จึงมีเหตุถอนจำเลยจากการเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1727 วรรคแรก